*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
การพัฒนาและสนับสนุนงานตำรวจในสหรัฐฯ

องค์กรตำรวจของสหรัฐฯ ก่อนปี ๑๘๐๐ จะมีเฉพาะเมืองใหญ่ ในลักษณะเหมือนยาม (Watchman) ตามแบบฉบับของอังกฤษ ซึ่งจะมีหน้าที่ดูแลในเวลากลางคืน

ต่อมาผู้บริหารเมืองต่าง ๆ ออกกฎหมาย จัดตั้งระบบตำรวจขึ้นแทนที่ Watchman โดยในช่วงแรกรัฐบาลกลางสหรัฐ (Federal Government) จะไม่มีอำนาจเข้ายุ่งเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐเลย รัฐบาลกลางจึงได้ตั้งองค์กรบังคับใช้กฎหมายของตนเองขึ้นมาบ้าง แต่เพิ่งจะมาเป็นรูปเป็นร่างจริง ๆ ก็ในช่วงปี ค.ศ. ๑๘๗๐ ที่จัดตั้งกระทรวงยุติธรรม (Department of Justice) และจัดตั้ง FBI ในปี ค.ศ. ๑๙๒๔ เป็นต้น

การพัฒนาตำรวจ แต่ละรัฐ ก็พัฒนาไปตามมีตามเกิด ตำรวจจะถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองและฝ่ายการเมืองก็ปกป้องตำรวจ จนประชาชนเดือดร้อนมาก ตำรวจที่ไม่มีเส้นสายก็เดือดร้อนเช่นกัน รัฐบาลกลางได้ออกกฎหมายข้าราชการพลเรือน (Pendelton Act) ในปี ๑๘๘๓ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันการแทรกแซงการบริหารงานจากฝ่ายการเมือง ตำรวจเป็นแบบกึ่งลูกจ้างกึ่งทหาร จึงมีสิทธิได้รับความคุ้มกันจากกฎหมายดังกล่าว และมีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงาน (Police Union) เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิของตนเอง ในการต่อรองด้านสิทธิประโยชน์และเงื่อนไขการทำงานกับรัฐ

รัฐบาลกลาง ออกกฎหมาย George-Dean Act of ๑๙๓๖ เพื่อพัฒนาตำรวจในระดับมลรัฐ โดยให้ทุนการศึกษาแก่ตำรวจ และทำงานตอบแทน ทั้งนี้ เนื่องจากตำรวจส่วนใหญ่ มีระดับการศึกษา เพียงมัธยมศึกษาตอนปลาง ทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ไม่ดีเท่าที่ควร ในขณะเดียวกันรัฐบาลกลาง ก็สนับสนุนการปฏิบัติงานของตำรวจของทุกรัฐและทุกเมือง ในด้านเทคโนโลยี และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (Forensic Laboratory) โดยให้เงินพัฒนาห้องปฎิบัติการของ FBI เพื่อสนับสนุนการทำงานของตำรวจท้องถิ่นอย่างเต็มที่และอย่างต่อเนื่อง

การพัฒนาห้องปฎิบัติการทางนิติวิทยาศาสตร์

การพัฒนาห้องปฎิบัติการทางนิติวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าประเทศไหน ๆ ในโลกนี้ ก็มีการพัฒนาไปในแนวทางเดียวกัน คือ การจัดตั้ง Forensic Laboratories หรือ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อตรวจพิสูจน์หลักฐาน ไว้ในสถานีตำรวจทุกแห่ง โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น หรือ ประเทศจีน และ ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ก็จะจัดตั้งห้องปฎิบัติการเพื่อสนับสนุนการสืบสวนสอบสวน (Investigation) และการฟ้องร้อง (Prosecution)ไว้ในสถานีตำรวจทั้งสิ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ประเทศสหรัฐอเมริกานี้ ตำรวจในระดับเมืองและระดับรัฐ ล้วนแต่มีห้องปฏิบัติการของตัวเอง ซึ่งแยกต่างหากจากห้องปฏิบัติการฯ ของ F.B.I. ที่ขึ้นอยู่กับ Department of Justice ที่เป็นของรัฐบาลกลาง (Federal Government) ทั้งสิ้น รัฐบาลกลางสหรัฐฯ มีแนวคิดที่สำคัญ ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๖๐ เป็นต้นมา ว่าจะต้องสนับสนุนด้านเงินและด้านเทคโนโลยีในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมให้กับตำรวจในระดับท้องถิ่นและระดับรัฐ โดยการเสริมเขี้ยวเล็บ และทุ่มเททรัพยากรลงไปในการพัฒนาห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์หลักฐานของตำรวจระดับท้องถิ่นและระดับมลรัฐฯ มาจนถึงปัจจุบัน

จึงสรุปได้ว่าไม่มีประเทศใดโลกนี้ (ตั้งแต่มีโลกใบนี้มา) ที่มีแนวคิดแบบประเทศไทย ที่จะต้องแยกสำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ออกจากตำรวจ เพราะเป็นการตัดมือตัดไม้ในการพิสูจน์หลักฐานและช่วยเหลือการในการสืบสวนสอบสวนของตำรวจ ในทุกประเทศ จึงมีแต่แนวคิดที่พัฒนางานนิติวิทยาศาสตร์ให้เป็นที่เชื่อถือได้ และถูกต้องมากที่สุด เพื่อให้การดำเนินการสืบสวนสอบสวนและฟ้องร้องคดีเป็นไปโดยถูกต้อง แต่ประเทศไทย มีแนวคิดจากบุคคลที่ไม่มีความรู้ความด้านการสืบสวบสอบสวน เสนอความคิดว่าจะต้องแยกสถาบันนิติเวชศาสตร์ออกไปจากตำรวจให้ได้

คำถามในใจ คือ ผู้ที่ผลักดันเรื่องนี้ ท่านต้องการอะไรกันแน่ มันเป็นเกมส์แห่งอำนาจใช่หรือไม่ เพราะการแยกสถาบันนิติเวช หรือหน่วยงานพิสูจน์หลักฐานของตำรวจไปสังกัดกระทรวงที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ ก็ไม่ได้ช่วยประกันความเป็นอิสระให้แก่ผู้ทำการตรวจพิสูจน์หลักฐาน หรือประกันมาตรฐานการตรวจพิสูจน์ว่าจะถูกต้องไร้ข้อผิดพลาดไปได้ เพราะแม้แต่ ประเทศสหรัฐอเมริกาเอง ที่พัฒนาความรู้เกี่ยวกับ Forensic Science มาโดยตลอด จากการศึกษาของ กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice หรือ DoJ) เมื่อประมาณปี ๑๙๙๐ ก็พบว่า หน่วยงานตรวจพิสูจน์หลักฐานของมลรัฐและท้องถิ่นที่ได้รับการสนับสนุนทางวิชาการและการเงินจากรัฐบาลกลาง มาอย่างต่อเนื่อง ก็มีข้อผิดพลาดอย่างมหาศาล จนต้องมีการทบทวนการวางมาตรฐานกันใหม่ โดยศาลสูงสุดของสหรัฐ เรียกว่า Daubert Standard ซึ่งกำหนดให้ศาลชั้นต้น ทำกาารไต่สวนและวิเคราะห์ว่า นักวิทยาศาสตร์ที่ทำการตรวจพิสูจน์หลักฐานนั้น ใช้หลักการทางวิชาการ (methodology) อะไร น่าเชื่อถือหรือไม่ มีการนำความรู้ดังกล่าวมาวิเคราะห์กับข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานนั้นอย่างถูกต้องสมเหตุสมผลหรือไม่ สามารถแสดงอัตราการผิดพลาดได้หรือไม่ มีวัตถุตัวอย่างในการควบคุมคุณภาพการทดลองและวิเคราะห์พยานหลักฐานในคดีเพียงพอหรือไม่ เป็นต้น

เมื่อเป็นเช่นนี้ จะนับประสาอะไรกับหน่วยงานที่เกิดขึ้นใหม่อย่างนี้ และที่สำคัญ Forensic Science ไม่ใช่แค่มีแค่แพทย์ซึ่งได้ผ่านการอบรมเกี่ยวกับความรู้เบื้องตั้นทางนิติเวชศาสตร์ แล้วจะทำงานนี้ได้สำเร็จ จะต้องมีนักวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ ที่มีความรู้เชี่ยวชาญ และสามารถประยุกต์ใช้วิชาการนั้นกับข้อเท็จจริงที่เป็นปัญหาได้อย่างน่าเชื่อถือและถูกต้อง (reliability and validity)

แนวคิดเรื่องการแยกนิติวิทยาศาสตร์ออกจากตำรวจ จึงเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดและขัดแย้งกับแนวคิดของทั่วโลก รัฐบาลควรที่จะต้องหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักวิชาการในการตรวจพิสูจน์หลักฐานให้น่าเชื่อถือ กับองค์กรที่มีพื้นฐานของการปฏิบัติงานมายาวนาน โดยมีการลงทุนอย่างจริงจังและจะต้องมีกฎหมายที่จะประกันความเป็นอิสระให้กับหน่วยงานทางการตรวจพิสูจน์หลักฐาน พร้อมทั้งพัฒนาด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ฯ การจัดการด้านเทคโนโลยี ที่ดีพอ เพื่อให้หน่วยงานตำรวจและหน่วยบังคับใช้กฎหมาย สามารถขอรับการสนับสนุนการตรวจพิสูจน์หลักฐานผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ

อีกประการหนึ่ง จะต้องมีหลักกฎหมายและหลักการบริหารที่ป้องกันการแทรกแซงจากผู้มีอำนาจในการสั่งการถูกผิดของผู้มีอำนาจได้ .... ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงไม่ควรตกเป็นเครื่องมือของเกมส์แห่งอำนาจของใคร ... ไม่ว่าภาพของเขา หรือ ของเธอ จะดีเพียงใดก็ตาม แต่ต้องคำนึงถึงหลักการเป็นสำคัญ มากกว่าภาพ (ลวงตา) ครับ



Create Date : 11 พฤษภาคม 2548
Last Update : 21 มิถุนายน 2553 7:42:26 น. 3 comments
Counter : 782 Pageviews.

 
อยากได้ข้อมูลการพัฒนาบุคคลกรของตำรวจไทยครับ


โดย: kimhun_m@hotmail.com IP: 124.120.25.110 วันที่: 3 กรกฎาคม 2549 เวลา:12:49:32 น.  

 
ผมน้องนรต.รุ่นที่ 62 ครับ
อยากเรียนถามพี่ว่า
หลักนิยม ของตำรวจ สหรัฐ และ ญี่ปุ่น ฝรั๋งเศส
เป็นอย่างไรครับ
( จะเอาไว้ตอบข้อสอบครับ )


โดย: gigabite_46@hotmail.com IP: 202.29.103.6 วันที่: 26 กรกฎาคม 2551 เวลา:23:56:28 น.  

 
เรียน พันตำรวจโท ดร.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ

ดิฉัน นักศึกษา ป.โท ม.ปทุมธานี ค่ะ เรียนถามท่านว่า ท่านมี ข้อมูลเกี่ยวกับ องค์กรกลางที่รับผิดชอบในการบริหารงานทรัพยากรบุคคลของตำรวจอเมริกา หรือเปล่าค่ะ พอดีได้ทำรายงานเกี่ยวกับด้านนี้ค่ะ ขอความอนุเคราะห์จากท่านด้วยนะค่ะ ขอบพระคุณค่ะ


โดย: kanit-tha@hotamil.com IP: 125.26.8.128 วันที่: 26 มกราคม 2553 เวลา:9:55:00 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.