*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
ร่างบันทึกแนะนำในการปฏิบัติเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะ

เนื่องจากช่วงนี้ มีปรากฎการณ์กำลังฮิต คือ การเสนอแช่แข็งประเทศไทย  จึงเห็นว่ามีส่วนที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ จะต้องไปเกี่ยวข้องอย่างมากมาย  กระผมจึงได้ร่างบันทึกแนะนำในการปฏิบัติเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะไว้บางส่วน .... แต่ยังไม่ได้ออกมาเป็นบันทึกสั่งการ ตร. 

อย่างไรก็ตาม  แนวทางนี้ ได้สรุปมาจากหนังสือคู่มือการปฏิบัติงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  จึงน่าจะเป็นประโยชน์บ้าง  เลยถือโอกาสนำมาเผยแพร่ ดังนี้ 






                         บันทึกข้อความ

ส่วนราชการ   กองกฎหมาย   สำนักงานกฎหมายและคดี 

ที่ ๐๐๑๑.๑๔/ วันที่ สิงหาคม๒๕๕๕

เรื่อง แนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายและการจัดการการชุมนุม

ผบช.น.,ก., ส., ภ.๑-๙, และ ศชต.


เนื่องจากตร. มีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมโดยส่วนรวม ในขณะที่ประชาชนมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบเปิดเผยและปราศจากอาวุธเพื่อแสดงความคิดเห็น เสนอข้อเรียกร้อง หรือต่อต้านการบริหารราชการของรัฐบาลซึ่งเสรีภาพดังกล่าวอาจถูกจำกัดได้โดยกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะได้ใช้ที่สาธารณะหรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือในระหว่างเวลาที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก ตามนัย มาตรา๖๓ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่บัญญัติเพื่อใช้ในการจัดการชุมนุมสาธารณะแต่ประการใดทำให้ ตร. ประสบความยากลำบากในการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการชุมนุมสาธารณะเปลี่ยนแปลงรูปแบบไป มีความร้ายแรงถึงขนาดที่จะต้องใช้กำลังในการยุติการชุมนุม

เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปโดยถูกต้องตามหลักกฎหมายและหลักกฎการใช้กำลัง(Rule of Engagement) ศปก.ตร. จึงได้จัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมายกับการชุมนุมโดยฝ่าฝืนกฎหมายสำหรับในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แจกจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ และนำลงเผยแพร่ในเว็บไซต์ กม. ใน //www.tsd.police.go.th ในเอกสารลำดับที่ ๓๑ แล้วแต่เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการชุมนุมสาธารณะจึงกำหนดหลักเกณฑ์ ดังนี้

๑.เจ้าหน้าที่ตำรวจพึงระลึกว่าประชาชนย่อมมีเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญในการชุมนุมโดยสงบเปิดเผยและปราศจากอาวุธ ในขณะเดียวกันการใช้เสรีภาพดังกล่าวก็จะต้องไม่กระทบสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอื่นจนเกินสมควรเช่น สิทธิและเสรีภาพในการเดินทางและสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองที่ดำรงชีวิตเป็นปกติสุขดังนั้น การใช้เสรีภาพในการชุมนุมที่ขัดต่อหลักการดังกล่าวจึงถือเป็นการชุมนุมที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ เช่นการชุมนุมเพื่อปิดล้อมประตูเพื่อมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าออกที่ทำการการใช้ไม้รั้วลวดหนาม ยางรถยนต์ราดน้ำมันขวางถนนไว้เพื่อให้ผู้อื่นเกิดความหวาดกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพจนไม่กล้าที่จะเข้าไปหรือออกจากที่ทำการราชการอันเป็นการกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นย่อมไม่ถือว่าเป็นการชุมนุมโดยสงบที่จะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญตามนัยคำพิพากษาศาลปกครอง ที่ ๑๖๐๕/๒๕๕๑ ลง ๙ ต.ค.๕๑

๒.ในกรณีที่ไม่ถือว่าเป็นการชุมนุมที่สงบอันจะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดอาญาและการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติพ.ศ.๒๕๔๗ มาตรา ๖ (๓) และ (๔) ย่อมมีอำนาจที่จะยุติการชุมนุมได้โดยจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่จะเป็นและเหมาะสมตามหลักสากลที่ใช้ในการยุติการชุมนุมของประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ เพื่อให้ภารกิจในการบริหารราชการแผ่นดินและการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

๓.ในภาวะปกติที่ยังไม่มีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น โดยปกติย่อมเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและก่อนที่จะมีการใช้กำลังตามกฎการใช้กำลังในการยุติการชุมนุม ผู้รับผิดชอบเหตุการณ์จะต้องเตรียมการดังนี้

๓.๑การสืบสวนและสอบสวนเพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์และการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดตามกฎหมายต่างๆ (รายละเอียดปรากฏตาม คู่มือหน้า ๑๙ – ๒๖) ในภายหลัง ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์ในการระหว่างการชุมนุมอาจจะไม่เอื้ออำนวยต่อการจับกุมผู้กระทำผิดดำเนินคดีในทันทีซ้ำยังก่อให้เกิดการยั่วยุให้เกิดความรุนแรงยิ่งขึ้น ผู้บัญชาการเหตุการณ์ จึงต้องดำเนินการพิจารณาจัดตั้งห้องปฏิบัติในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อสั่งการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ตลอดจนการอำนวยการแฝงตัวเพื่อหาข่าวตลอดจนจัดให้มีการจัดเก็บพยานหลักฐานในการดำเนินคดีเมื่อสถานการณ์เหมาะสมในภายหลังได้โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่บันทึกภาพและเสียงคำปราศรัย ตลอดจนพฤติการณ์ต่าง ๆในระหว่างการชุมนุม โดยการบันทึกข้อเท็จจริงให้ต่อเนื่องโดยไม่ตัดต่อเท่าที่จะทำได้รวมถึงการจัดให้มีการประชาสัมพันธ์หรือปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร (Information Operation) เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบและเข้าใจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการชุมนุมและแนวทางปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

๓.๒การแต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนและการรวบรวบพยานหลักฐาน ให้ดำเนินการเมื่อพิจารณาเห็นว่าการดำเนินการสืบสวนสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนท้องที่ไม่สามารถดำเนินการได้ โดยให้ผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งคณะพนักงานสอบสวนระดับบก. บช. หรือ เสนอให้ ตร. แต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน (รายละเอียดปรากฏตามคู่มือ หน้า ๕๒ – ๕๖)

๓.๓การจับกุมและการควบคุม เมื่อมีการจับกุมผู้กระทำผิดแล้วให้พิจารณาความเหมาะสมในการจัดหาสถานที่ควบคุมตัวผู้กระทำผิดให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและขีดความสามารถในการป้องกันมิให้เกิดเหตุร้ายจากการจับกุมตัวผู้กระทำผิดได้ ซึ่งปกติจะควบคุมที่สถานีตำรวจแห่งท้องที่นั้นแต่ถ้าพิจารณาแล้วการควบคุมตัวจะทำให้เกิดความความไม่ปลอดภัยหรือผู้ต้องหามีจำนวนมาก ก็ให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อใช้สถานที่อื่นในการควบคุมตัวผู้กระทำผิดเป็นการชั่วคราวได้ ทั้งนี้เป็นไปตาม ป.ระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะ ๖ บทที่ ๒ ข้อ ๑๓๙ (รายละเอียดปรากฏตาม คู่มือ หน้า ๕๖ – ๕๗ )

๓.๔การสรุปสำนวนการสอบสวน การทำความเห็นทางคดี และ สืบพยานล่วงหน้าเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง และความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐอำนาจการสั่งคดีเป็นของ ผบ.ตร. จึงให้ให้หัวหน้าพนักงานสอบสวน สรุปมีความเห็นเสนอผบ.ตร. ต่อไป ในกรณีที่จำเป็นต้องคุ้มครองพยานหรือสืบพยานไว้ล่วงหน้าเนื่องจากพยานมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศหรือทางคดีมีลักษณะยุ่งยากหรือจะมีการทำลายพยานหลักฐาน หรือข่มขู่พยาน ก็ให้พนักงานสอบสวนประสานงานยังพนักงานอัยการเพื่อพยานไว้ล่วงหน้าและให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนติดตามผลคดีอย่างต่อเนื่อง ( รายละเอียดปรากฏตาม คู่มือ หน้า ๕๗-๕๘)

๔.ในกรณีที่จะต้องมีการใช้กำลังเพื่อยุติการชุมนุม ให้ผู้บัญชาการเหตุการณ์ประเมินสถานการณ์และสั่งให้มีการปฏิบัติตามขั้นตอนการของการใช้กฎการใช้กำลังโดยเคร่งครัดซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละกรณีไป โดยอาจจะสรุปขั้นตอนได้ ดังนี้

๔.๑การเจรจา และขอความร่วมมือให้ชุมนุมโดยสงบ และไม่กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งจะเรียกว่า“แนวเจรจาขั้นสุดท้าย”

๔.๒ประชาสัมพันธ์ และแจ้งเตือนให้ทราบขั้นตอนการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ทุกขั้นตอน โดยการใช้เครื่องขยายเสียงและป้ายคำเตือนประกอบการใช้เครื่องขยายเสียงนั้น โดยจัดทำป้ายประกาศต่อผู้ชุมนุมและบันทึกภาพและเสียงประกอบกันไว้ เช่น 

โปรดชุมนุมโดยสงบ,การปิดเส้นทางจราจร ถือว่าเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ, 

การปิดกั้นหรือกระทำการขัดขวางการเข้าออกสถานที่ราชการถือเป็นการชุมนุมไม่สงบ, 

ห้ามผู้ชุมนุมรุกล้ำเข้าไปในสถานที่ราชการ, 

หากรุกล้ำเข้าสถานที่ราชการ เจ้าหน้าที่ตำรวจจำเป็นต้องใช้มาตรการเพื่อยุติการยุติการชุมนุม ฯลฯ ”


๔.๓เมื่อได้แจ้งเตือน ภายหลังขั้นตอน “แนวเจรจาขั้นสุดท้าย” แล้ว อาจจะการกระทบกระทั่งระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุมเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องยึดหลักว่า การใช้กำลังจะต้อง “กระทำเพื่อป้องกันตนเองหรือบุคคลอื่นตามสมควรและได้หลักสัดส่วนของภยันตรายเท่านั้น” โดยแถวแนวของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องห่างจากแนวผู้ชุมนุมไม่น้อยกว่า ๒๕ เมตรเพื่อให้เป็นไปตามระยะปลอดภัยในการใช้สารเคมีภัณฑ์ เช่น แก๊สน้ำตา ส่วนการใช้อาวุธปืนในการป้องกันตนเองนั้นให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อป้องกันตนเองหรือบุคคลอื่นแต่เฉพาะภยันตรายที่ร้ายแรงถึงแก่ชีวิตและใกล้จะถึงเท่านั้น และในการยิงด้วยอาวุธปืนจะต้องยิงในจุดที่ไม่ทำให้ผู้ชุมนุมอาจเสียชีวิตได้เท่านั้น

ก่อนการใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องประกาศให้ยุติการชุมนุม มิฉะนั้นจะเป็นความผิดตาม ป.อาญามาตรา ๒๑๖ และ จะมีการใช้กำลังในการยุติการชุมนุมต่อไป สำหรับการใช้กำลังจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

(๑)การแสดงกำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยการจัดรูปขบวนประกอบโล่และกระบอง ต่อผู้ชุมนุม

(๒) การใช้คำสั่งเตือนว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป โดยการประกาศและป้ายข้อความประกอบกัน

(๓)การใช้มือเปล่าจับกุม หรือมือเปล่าจับล็อกบังคับ

(๔)การใช้เครื่องพันธนาการ ปืนยิงตาข่าย

(๕)การใช้คลื่นเสียง ซึ่งจะต้องเปิดดังไม่เกิน ๑๖๐ เดซิเบลเพื่อมิให้เกิดอันตรายเกินสมควร

(๖)การใช้น้ำฉีด โดยการฉีดลงพื้น หรือฉีดใส่ตัวผู้ชุมนุมแต่จะต้องระมัดระวังมิให้ฉีดในบริเวณที่บอบบางของร่างกาย เช่น ดวงตา เป็นต้น

(๗) การใช้อุปกรณ์เคมี เช่น แก๊สน้ำตา สเปรย์พริกไท ทั้งนี้การใช้แก๊สน้ำตา จะต้องเริ่มจากปริมาณน้อย เพื่อให้ผู้ชุมนุมแตกกระจายตัวออกจากกันแล้วจึงเริ่มใช้แก๊สน้ำตาในปริมาณมากขึ้น ทั้งนี้ การขว้างแก๊สน้ำตา จุดตกของแก๊สจะต้องห่างจากฝูงชนในกรณีที่เป็นที่คับแคบ อากาศไม่ถ่ายเท ไม่ควรใช้แก๊สน้ำตา และจะหลีกเลี่ยงไม่ขว้างใส่บุคคลโดยตรง

(๘)การใช้กระบอง หรืออุปกรณ์การตีซึ่งจะต้องไม่ตีในจุดสำคัญที่อาจทำให้ผู้ถูกตีเสียชีวิตได้

สำหรับรายละเอียดวิธีการปฏิบัตินั้นของกองบัญชาการ กองทัพภาคที่ ๑ กองทัพบก จะมีรายละเอียด ดังนี้

(๑)กฎการใช้กำลังของทหาร มี ๓ ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ๑) เจรจา ๒) แจ้งเตือน และ ๓)การใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก

(๒)มาตรการจากเบาไปหาหนัก เมื่อมีการชุมนุมไม่งบให้ดำเนินการ ๗ ขั้นตอนจากเบาไปหาหนัก ได้แก่ ๑) การจัดรูปขบวนประกอบโล่ กระบอง ๒)การแจ้งเตือนผู้ชุมนุมให้ทราบถึงขึ้นตอนว่าจะมีการใช้กำลังต่อผู้ชุมนุม ๓)การใช้โล่ผลักดันผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ ๔) การใช้คลื่นเสียงและการใช้น้ำฉีด ๕)การใช้อุปกรณ์เคมี หรือแก๊สน้ำตาชนิดขว้าง ๖) การใช้กระบอง และ ๗)การใช้กระสุนยางที่ยิงจากปืนลูกซอง

(๓)ขั้นตอนการใช้กำลัง จากข้อ (๒) ใน ๑) – ๔) เป็นอำนาจหน้าที่ของ ผู้บัญชาการเหตุการณ์ที่จะต้องตัดสินใจ ส่วนการใช้มาตรการ ข้อ (๒) ใน ๕) – ๗)เป็นหน้าที่หน้าที่ของผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการใหญ่ ทั้งนี้เพื่อดำเนินการในแต่ละขั้นตอนเสร็จสิ้นลงจะต้องมีการแจ้งเตือนผู้ชุมนุมถึงขั้นตอนการปฏิบัติต่อไปทุกครั้ง

๕.กรณีที่สถานการณ์รุนแรง จนรัฐบาลประกาศสถานการณ์ความมั่นคงหรือสถานการณ์ฉุกเฉินแล้วให้ถือปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายและสอดคล้องกับหลัก นิติรัฐและนิติธรรม สำหรับขั้นตอนการปฏิบัติเป็นไปตาม คู่มือ หน้า๒๖ – ๕๐

อนึ่งในการสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติการใด ๆ ผู้บังคับบัญชาจะต้องคำนึงถึงหลักสิทธิเสรีภาพของประชาชนและหลักผลประโยชน์สาธารณะของรัฐโดยส่วนรวม การใช้มาตรการใด ๆ ตามกฎหมาย จึงจำต้องสอดคล้องกับหลักความชอบด้วยกฎหมายหลักสัดส่วน และหลักความรุนแรงน้อยที่สุดที่มาตรการดังกล่าวยังสามารถทำให้รักษาผลประโยชน์สาธารณะของรัฐไว้ได้ มาตรการต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นจึงเป็นเพียงแนวทางในการปฏิบัติซึ่งผู้ปฏิบัติจะต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบในการดำเนินการให้สอคล้องกับสถานการณ์ตามข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีโดยผู้บัญชาการเหตุการณ์จะต้องประเมินสถานการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นตลอดเวลาและสั่งการให้ใช้มาตรการที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงเป็นรายกรณีไป ทั้งนี้ ปฏิบัติอื่น ๆ ให้ยึดถือตามนโยบายรัฐบาล คู่มือ และคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

จึงแจ้งให้ทราบและถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด

พล.ต.อ.

                                   ( .............................. )

ผบ.ตร.




Create Date : 15 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2555 2:14:34 น. 0 comments
Counter : 1072 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.