ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 
30 ปี เมืองร้าง เมืองผี เชอร์โนบิล

27 ปีที่ผ่านมา  ภัยพิบัติจากโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล

สรุปสาระสำคัญ

     เช้าวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2529 เกิดอุบัติภัยนิวเคลียร์ครั้งสำคัญในเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในประเทศยูเครน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในสมัยนั้น มีการปลดปล่อยกัมมันตรังสีขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งนับว่ามีปริมาณมากกว่าการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ในจังหวัดฮิโรชิมาและนางาซากิของประเทศญี่ปุ่นนับพัน ๆ เท่า การระเบิดของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์นี้นับว่าเป็นอุบัติภัยนิวเคลียร์พลเรือนครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ และยังคงส่งผลกระทบมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะผ่านพ้นไปเป็นเวลา 27ปีแล้ว

26 เม.ย. 2529 เหตุการณ์ที่ เชอร์โนบิล
26 เมษายน พ.ศ. 2529 เวลา 1.23 น. ในชั่วพริบตา ระบบทดสอบเตาปฏิกรณ์กลายเป็นภัยพิบัติ

     การเกิดระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลเริ่มจากการทดสอบ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้ทดสอบว่ากังหันไฟฟ้าจะผลิตพลังงานได้เพียงพอหรือไม่ที่จะทำให้ปั๊มหล่อเย็นทำงาน หากเกิดกรณีไฟฟ้าตกในช่วงเวลาก่อนที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลฉุกเฉินจะเริ่มทำงาน ตารางเวลาการทดสอบได้ถูกเลื่อนจากช่วงเวลากลางวันเป็นกลางคืนเนื่องจากต้องการทดสอบว่าเตาปฏิกรณ์จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอกับความต้องการในช่วงกลางคืนซึ่งเป็นช่วงที่มีอัตราการใช้ไฟฟ้าสูงได้หรือไม่

     ก่อนที่การทดสอบจะเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 1.23 น. ไม่มีเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการเข้าเวรในช่วงเวลาดังกล่าว อีกทั้งระบบรักษาความปลอดภัยถูกปิดโดยเจตนา หลังจากการทดสอบเริ่มขึ้น เตาปฏิกรณ์ก็เริ่มอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถควบคุมได้ แกนเชื้อเพลิงในเตาปฏิกรณ์ปะทุออกทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง ฝาครอบน้ำ หนัก 1,000 ตันที่คลุมอาคารเตาปฏิกรณ์ระเบิดออก อุณหภูมิกว่า 2,000 องศาเซลเซียสทำให้แท่งเชื้อเพลิงหลอมละลาย แท่งกราไฟต์ที่หุ้มเตาปฏิกรณ์ติดไฟและลุกไหม้เป็นเวลา 9 วัน

File:Chernobyl Nuclear Power Plant.PNG

มีความพยายามในการดับไฟนานหลายวัน และได้มีการสร้าง “โลงหินโบราณ” เพื่อปกคลุมเตาปฏิกรณ์ที่ได้รับความเสียหาย 

     หลังจากใช้เวลาก่อสร้าง 10 ชั่วโมงเจ้าหน้าที่ก็ละทิ้งพื้นที่โดยทันที จากวันที่ 27 เมษายนถึงวันที่ 5 พฤษภาคม เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบินอยู่เหนือบริเวณที่เกิดการเผาไหม้ เพื่อโปรยตะกั่วปริมาณ 2,400 ตัน และทรายปริมาณ 1,800 ตันลงสู่เปลวไฟที่ลุกโชนเพื่อดูดซับกัมมันตรังสี ความพยายามครั้งนั้นกลับไม่เป็นผลสำเร็จ แต่กลับยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงเนื่องจากเกิดการสะสมของความร้อนภายใต้กองวัสดุที่ทิ้งลงไป อุณหภูมิในเตาปฏิกรณ์พุ่งสูงขึ้น อีกทั้งยังมีกัมมันตรังสีพวยพุ่งออกมาจำนวนมาก ในระยะสุดท้ายของการผจญเพลิง แกนเชื้อเพลิงของเตาปฏิกรณ์ถูกทำให้เย็นลงด้วยสารไนโตรเจน กว่าเจ้าหน้าที่จะสามารถควบคุมไฟและการปล่อยกัมมันตรังสีไว้ได้ก็ล่วงเลยเข้าวันที่ 6 พฤษภาคมแล้ว

     8 เดือนหลังเกิดเหตุระเบิด ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2529 ได้มีการสร้าง “โลงหินโบราณ” หรือสิ่งปกคลุมขนาดใหญ่ที่ทำจากเหล็กกล้าหนัก 7, 000 ตัน และคอนกรีต 410,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อปกคลุมเตาปฏิกรณ์ที่ระเบิด และเพื่อเป็นการหยุดการปลดปล่อยกัมมันตรังสีขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ หลังจากเหตุอุบัติภัยนิวเคลียร์ครั้งนี้ผ่านพ้นไป 3 ปี รัฐบาลสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตก็หยุดการก่อสร้างเตาปฏิกรณ์ที่ 5 และ 6 ที่เชอร์โนบิล หลังการเจรจาต่อรองในระดับนานาชาติซึ่งกินเวลามายาวนาน มีมติให้ปิดพื้นที่นั้น ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2543 นับเป็นเวลา 14 ปีหลังเกิดอุบัติเหตุ 


ผลลัพธ์จากอุบัติภัยนิวเคลียร์ที่เกิดจากมนุษย์ครั้งร้ายแรงที่สุดนี้ ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของกัมมันตรังสีในวงกว้าง เกิดการอพยพย้ายถิ่นฐาน รวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพระยาว ที่ยังคงส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน

     ในแต่ละเดือน เจ้าหน้าที่ เซย์เก อากีโมวิช คราซิคอฟต้องนั่งรถไฟข้ามผืนดินที่ถูกท้ิงร้างใกล้โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เชอร์โนบิล 12 ครั้ง เพื่อเข้าไปทำงานในอาคารที่สร้างครอบเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 อาคารหลังนี้เป็นที่รู้จักกันในนาม   “โลงหินโบราณ”

     ภารกิจหนึ่งของเขาซึ่งมีอยู่มากมายคือการสูบของเหลวปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่ไหลลงไปรวมอยู่ภายในเตาปฏิกรณ์ที่ไหม้ไฟออกมา ของเหลวนี้จะต้องถูกสูบออกมาเมื่อมีฝนหรือหิมะตก
     อาคารครอบหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อ 25 ปีก่อนด้วยความตื่นกลัวเนื่องจากหลังจากเตาปฏิกรณ์ระเบิด รังสีได้แพร่กระจายไปสู่บริเวณที่มีผู้คนอาศัยอยู่ ปัจจุบันอาคารนี้เต็มไปด้วยรอยแตก
     น้ำจะเข้าไปสัมผัสสิ่งที่อยู่ลึกเข้าไปในเตาปฏิกรณ์ไม่ได้ สิ่งนั้นคือเชื้อเพลิงที่หลอมละลายและเศษซากปรักต่างๆประมาณ 200 ตัน ซึ่งลุกไหม้ผ่านพื้นลงไปแข็งตัวที่บริเวณหนึ่งเป็นรูปตีนช้าง ก้อนเชื้อเพลิงนี้ยังคงมีกัมมันตภาพรังสีในระดับที่สูงจนนักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถเข้าใกล้ได้ บริเวณหลังคาอาคารวัดค่ารังสีได้ประมาณสามเร็มต่อชั่วโมง ที่ระดับนั้น เมื่อสัมผัสเพียง 45 นาที คนงานจะได้รับรังสีถึงขีดจำกัดที่แนะนำให้รับได้ในหนึ่งปี นักวิทยาศาสตร์คำนวณว่าระดับรังสีสูงสุดใกล้ก้อนเชื้อเพลิงนั้นเท่ากับ 800 เร็มต่อชั่วโมง
     คราซิคอฟซึ่งมีไหล่กว้างและตาสีฟ้าสดใส เป็นคนงานคนหนึ่งที่ดูแลโรงงานนรกแห่งนี้มาเป็นเวลาแปดปีแล้ว เขาจะทำงานที่นี่จนเกษียณ แล้วจะมอบภารกิจแก่อีกคนซึ่งคนนั้นก็จะรับหน้าที่นี้ต่อไปจนเขาเกษียณ เมื่อถามว่าภารกิจนี้จะต่อเนื่องไปอีกนานเท่าใด เขายักไหล่
 “ร้อยปีมั้ง” เขาตอบ “บางทีเมื่อถึงตอนนั้น อาจมีคนประดิษฐ์อะไรบางอย่างขึ้นมาแล้วก็ได้”
     ขณะที่ธาตุกัมมันตรังสีบางชนิดในเชื้อเพลิงนิวเคลียร์สลายตัวไปอย่างรวดเร็ว ซีเซียมมีค่าครึ่งชีวิต 30 ปี ส่วนสตรอนเชียมมีค่าครึ่งชีวิต 29 ปี นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่า กว่าชีวิตและกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจต่างๆจะสามารถหวนกลับมาสู่พื้นที่ได้ จะต้องปล่อยให้ธาตุเหล่านี้สลายตัวไปเป็นเวลาสิบถึง 13 ช่วงครึ่งชีวิต นั่นหมายความว่า พื้นที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสีซึ่งรัฐสภายูเครนกำหนดไว้ 38,850 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะได้รับผลกระทบจากรังสีนานกว่า 300 ปี



    Pripyat เคยเป็นที่อยู่อาศัยของประชากร 50,000 คนรวมทั้งแรงงานจากโรงงานเชอร์โนบิลซึ่งอยู่ใกล้เคียง จนกระทั่งหลังการระเบิดของเตาปฏิกรณ์ 36 ชั่วโมง ได้มีการอพยพออกไป โดยบอกพวกเขาว่าจะอพยพไปเพียงสองสามวันเท่านั้น แต่ชาวเมืองก็ไม่ได้กลับมายังที่อาศัยของพวกเขาอีกเลย


ทุกวันนี้เป็นเวลากว่าสองทศวรรษแล้ว ถนนของเมืองรก โรงเรียน อพาทเมนท์ และร้านค้า พังทลายตามกาลเวลา ตั้งแต่ของเล่นในโรงเรียนอนุบาล โฆษณาชวนเชื่อในยุคโซเวียต ที่ถูกลืม การเดินเล่นผ่าน Pripyat ทำให้รู้สึกเหมือนเป็นฉากหนึ่งในฮอลลีวูด



    หนึ่งในสถานที่ที่นักท่องเที่ยวอยากเข้าชมที่สุดคือสวนสนุกที่เปิดตัวในในช่วงไม่กี่วันก่อนเกิดการระเบิดของเตาปฏิกรณ์ ชิงช้าสวรรค์ที่ไม่เคยเปิดใช้ซึ่งบัดนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่ไม่อาจลืมของภัยพิบัติ











     ทางยูเครนได้ประกาศการจำกัดการเข้าชม ถึงแม้จะอนุญาติให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมได้ แต่ก็ยกเว้นบริเวณรัศมี 30 กิโลเมตรจากเครื่องปฏิกรณ์ที่ระเบิด

โฆษกรัฐยูเครนกล่าวว่า "การเดินทางไปเยี่ยมชมเชอร์โนบิลจะเปลี่ยนพวกเขา คนจะรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ควรตระหนักถึงจากกรณีภัยพิบัตินิวเคลียร์"

ชาวยูเครนบางส่วนที่หวังว่าการให้ความรู้กับบรรดาแฟนคลับฟุตบอลที่มุ่งหน้าสู่ฟุตบอลยูโร 2012 ซึ่งสาธารณรัฐโซเวียตร่วมเป็นเจ้าภาพกับโปแลนด์ โดยหากจะมีผู้สนับสนุนใดที่จัดการเดินทางควบไปยังพื้นที่ที่เคยประสบอุบัติเหตุนิวเคลียร์ของโลกที่เลวร้ายที่สุด ระหว่างรอชมการแข่งขันเพื่อเป็นประสบการณ์




















ที่มา: //pantip.com/topic/30669881
//th.wikipedia.org/wiki/ภัยพิบัติเชอร์โนบิล
//www.baanmaha.com/community/thread49842.html
//www.readersdigestthailand.co.th/chernobyl



Create Date : 24 ธันวาคม 2556
Last Update : 24 ธันวาคม 2556 23:23:15 น. 0 comments
Counter : 4672 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.