บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
 
กันยายน 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
24 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๑ - ปาราชิกกัณฑ์ ปฐมปาราชิกสิกขาบท (๒)

ปาราชิกกัณฑ์
ปฐมปาราชิกสิกขาบท




เรื่องลิงตัวเมีย


[๒๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเอาเหยื่อล่อลิงตัวเมียในป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี แล้วเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนั้นเสมอ ครั้นเวลาเช้า ภิกษุนั้นครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตในพระนครเวสาลี

ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเที่ยวจาริกตามเสนาสนะ เดินผ่านเข้าไปทางที่อยู่ของภิกษุนั้น ลิงตัวเมียนั้นแลเห็นภิกษุเหล่านั้นกำลังเดินมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ยกสะเอวบ้าง โก่งหางบ้าง แอ่นตะโพกบ้าง ทำนิมิตบ้าง เบื้องหน้าภิกษุเหล่านั้น จึงภิกษุ เหล่านั้นสันนิษฐานว่า ภิกษุเจ้าของถิ่นเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนี้แน่ ไม่ต้องสงสัย แล้วแฝง
อยู่ ณ ที่กำบังแห่งหนึ่ง.

เมื่อภิกษุเจ้าของถิ่นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครเวสาลี ถือบิณฑบาตกลับมาแล้ว ลิงตัวเมีย นั้นได้เข้าไปหา ครั้นภิกษุเจ้าของถิ่นฉันบิณฑบาตนั้นส่วนหนึ่งแล้ว ได้ให้แก่มันส่วนหนึ่งเมื่อมันกินอาหารส่วนนั้นแล้วได้แอ่นตะโพกให้ จึงภิกษุนั้นเสพเมถุนธรรมในมัน.

ทันใด ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า อาวุโส พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้วมิใช่หรือ เหตุไร คุณจึงได้เสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนี้เล่า?

จริงขอรับ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว ภิกษุนั้นสารภาพแล้วค้านว่าแต่พระบัญญัตินั้นเฉพาะหญิงมนุษย์ ไม่เกี่ยวถึงสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย.

อาวุโส พระบัญญัตินั้น ย่อมเป็นเหมือนกันทั้งนั้นมิใช่หรือ? การกระทำของคุณนั่นไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ คุณไม่บวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีอย่างนี้แล้ว ไฉนจึงไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตเล่า.

อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความถือมั่นมิใช่หรือ เมื่อธรรมชื่อนั้น อันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว เพื่อคลายความกำหนัด คุณยังจักคิดเพื่อมีความกำหนัด เมื่อทรงแสดงเพื่อความพราก คุณยังจักคิดเพื่อความประกอบ เมื่อทรงแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น คุณยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น.

อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่ดับแห่งตัณหา เพื่อออกไปจากตัณหาชื่อวานะ มิใช่หรือ?

อาวุโส การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม พระผู้มีพระภาคตรัสบอกไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ?

อาวุโส การกระทำของคุณนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของคุณนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.

ภิกษุเหล่านั้น ติเตียนภิกษุนั้นโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.


ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติอนุบัญญัติ ๑


[๒๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า ดูกรภิกษุ ข่าวว่าเธอเสพเมถุนธรรม ในลิงตัวเมีย จริงหรือ?

จริง พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุนั้นทูลสารภาพ?

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ เธอบวชในธรรมวินัยอันเรากล่าวไว้ดี อย่างนี้แล้ว ไฉนจึงไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตเล่า.

ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความถือมั่นมิใช่หรือ? เมื่อธรรมชื่อนั้น อันเราแสดงแล้วเพื่อคลายความกำหนัด เธอยังจักคิดเพื่อมีความกำหนัด เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เราแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น เธอยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น.

ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัยเพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่ดับแห่งตัณหา เพื่อออกไปจากตัณหาชื่อวานะ มิใช่หรือ?

ดูกรโมฆบุรุษ การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม เราบอกไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ?

ดูกรโมฆบุรุษ องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าในปากอสรพิษที่มีพิษร้าย ยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของลิงตัวเมีย ไม่ดีเลย องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าในปากงูเห่า ยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่สอดเข้าในองค์กำเนิดของลิงตัวเมีย ไม่ดีเลย องค์กำเนิดอันเธอสอด เข้าในหลุมถ่านที่ไฟติดลุกโชน ยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของลิงตัวเมีย ไม่ดีเลย.

ข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร?

เพราะบุคคลผู้สอดองค์กำเนิดเข้าในปากอสรพิษเป็นต้นนั้น พึงถึงความตาย หรือความทุกข์เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัย เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้ทำการสอดองค์กำเนิดเข้าในองค์กำเนิดของลิงตัวเมียนั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก ซึ่งมีการกระทำนี้เป็นเหตุ.

ดูกรโมฆบุรุษ เมื่อการกระทำนั้นมีโทษอยู่ เธอยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรม อันเป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ำ อันชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด มีในที่ลับ เป็นของคนคู่ อันคนคู่พึงร่วมกันเป็นไป การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว... ๑- ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอ
พึงยกสิขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๑


๑. อนึ่ง ภิกษุใดเสพเมถุนธรรมโดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยประการฉะนี้.

เรื่องลิงตัวเมีย ๒- จบ.




เรื่องภิกษุวัชชีบุตร


[๒๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรชาวพระนครเวสาลีหลายรูป ฉันอาหารพอแก่ความต้องการ จำวัดพอแก่ความต้องการ สรงน้ำพอแก่ความต้องการ ครั้นแล้วทำในใจ โดยไม่แยบคาย ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง ได้เสพเมถุนธรรม สมัยอื่น วัชชีบุตรพวกนั้น ถูกความพินาศแห่งญาติกระทบแล้วบ้าง ถูกความวอดวายแห่งโภคะพะพานแล้วบ้าง ถูกความเสื่อมคือโรคเบียดเบียนแล้วบ้าง จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท์ เจ้าข้า พวกกระผมไม่ใช่เป็นคนติเตียนพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เป็นคนติเตียนพระธรรม ไม่ใช่เป็นคนติเตียนพระสงฆ์ พวกกระผมเป็นคนติเตียนตน ไม่ใช่เป็นคนติเตียนคนอื่น พวกกระผมซึ่งบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีอย่างนี้แล้ว ไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตนั้นแหละ เป็นคนไม่มีวาสนา เป็นคนมีบุญน้อย ท่านพระอานนท์เจ้าข้า แม้บัดนี้ ถ้าพวกกระผมพึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาค แม้บัดนี้พวกกระผมจะพึงเป็นผู้เห็นแจ้งซึ่งกุศลธรรม หมั่นประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรมอยู่ตลอดเบื้องต้นแห่งราตรีและเบื้องปลายแห่งราตรี ท่าน

พระอานนท์เจ้าข้า พวกกระผมขอโอกาส ขอท่านได้โปรดกรุณากราบทูลความข้อนี้ แด่พระผู้มีพระภาค.

ได้ จ้ะ ท่านพระอานนท์รับคำของพวกวัชชีบุตรชาวพระนครเวสาลี แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ การที่ตถาคตจะพึงถอนปาราชิกสิกขาบทที่บัญญัติ แล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งพวกวัชชีหรือพวกวัชชีบุตรนั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.


ทรงบัญญัติอนุบัญญัติ ๒


[๒๔] ครั้งนั้นพระองค์ทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลเป็นภิกษุ ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรม ผู้นั้นมาแล้ว สงฆ์ไม่พึงอุปสมบทให้ ส่วนผู้ใดแล เป็นภิกษุ บอกคืนสิกขา ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง แล้วเสพเมถุนธรรม ผู้นั้นมาแล้ว สงฆ์พึงอุปสมบทให้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ ๒


๑. อนึ่ง ภิกษุใด ถึงพร้อมซึ่งสิกขาบทและสาชีพของภิกษุทั้งหลายแล้ว ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาส มิได้.


สิกขาบทวิภังค์


[๒๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.

[๒๖] บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็น ผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์ พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะนี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

[๒๗] บทว่า สิกขา ได้แก่สิกขา ๓ ประการคือ อธิสีลสิขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา บรรดาสิกขา ๓ ประการเหล่านั้น อธิสีลสิกขานี้ ชื่อว่า สิกขา ที่ทรงประสงค์ใน อรรถนี้.

[๒๘] ชื่อว่า สาชีพ อธิบายว่า สิกขาบทใด ที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ สิกขาบทนั้น ชื่อว่า สาชีพ ภิกษุศึกษาในสาชีพนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า ถึงพร้อมซึ่งสาชีพ.

[๒๙] คำว่า ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง ทรงอธิบายไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืนก็มี ภิกษุทั้งหลาย การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาเป็นอันบอกคืนก็มี.


ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน [๑๖๐ บท]


[๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การกระทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน เป็นอย่างไร?

กล่าวบอกคืนด้วยคำรำพึงว่าไฉนหนอ [๑๔ บท]


๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน

๓. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...

๔. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...

๕. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...

๖. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...

๗. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...

๘. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...

๙. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...

๑๐. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...

๑๑. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...

๑๒. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

๑๓. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...

๑๔. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำรำพึงว่า ไฉนหนอ [๘ บท]


๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...

๓. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...

๔. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...

๕. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...

๖. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...

๗. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...

๘. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็เชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวว่าบอกคืนด้วยคำปริกัป ว่า ก็ถ้าว่า [๑๔ บท]


๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...

๓. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...

๔. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...

๕. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...

๖. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...

๗. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...

๘. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...

๙. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...

๑๐. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...

๑๑. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...

๑๒. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

๑๓. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...

๑๔. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัป ว่า ก็ถ้าว่า [๘ บท]


๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...

๓. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...

๔. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...

๕. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...

๖. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...

๗. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...

๘. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวบอกคืนด้วยคำปริกัป ว่า หากว่า [๑๔ บท]


๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เป็นสมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็น อันบอกคืน.

๒. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...

๓. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...

๔. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...

๕. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...

๖. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...

๗. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...

๘. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...

๙. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...

๑๐. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิหาริก ...

๑๑. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...

๑๒. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

๑๓. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...

๑๔. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัป ว่า หากว่า [๘ บท]


๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...

๓. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...

๔. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...

๕. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...

๖. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...

๗. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...

๘. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวบอกคืนด้วยคำปริกัป ว่า ผิว่า [๑๔ บท]


๑. อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เป็นสมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...

๓. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...

๔. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...

๕. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...

๖. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...

๗. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...

๘. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...

๙. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...

๑๐. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...

๑๑. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...

๑๒. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

๑๓. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...

๑๔. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาบทไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัป ว่า ผิว่า [๘ บท]


๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...

๓. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...

๔. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...

๕. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...

๖. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...

๗. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...

๘. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวบอกคืนด้วยคำปริกัป ว่า มีความดำริ [๑๔ บท]


๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...

๓. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...

๔. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...

๕. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...

๖. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...

๗. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...

๘. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...

๙. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...

๑๐. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...

๑๑. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...

๑๒. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

๑๓. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...

๑๔. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัป ว่า มีความดำริว่า [๘ บท]


๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินยอม ใคร่จะเคลื่อนจากความ สมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน

๒. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...

๓. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...

๔. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...

๕. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...

๖. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...

๗. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...

๘. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

อ้างวัตถุที่รำลึก [๑๗ บท]


๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงมารดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงบิดา ...

๓. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงพี่ชายน้องชาย ...

๔. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงพี่หญิงน้องหญิง ...

๕. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงบุตร ...

๖. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงธิดา ...

๗. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงภริยา ...

๘. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงหมู่ญาติ ...

๙. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงหมู่มิตร ...

๑๐. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงบ้าน ...

๑๑. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงนิคม ...

๑๒. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงนา ...

๑๓. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงสวน ...

๑๔. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงเงิน ...

๑๕. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงทอง ...

๑๖. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงศิลปะ ...

๑๗. ... ข้าพเจ้าหวนรำลึกถึงการหัวเราะ การเจรจา การเล่นในครั้งก่อน.

ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

แสดงความห่วงใย [๙ บท]


๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า มารดาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูท่าน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขา ไม่เป็นอันบอกคืน.

๒. ... บิดาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูท่าน ...

๓. ... พี่ชายน้องชายของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...

๔. ... พี่หญิงน้องหญิงของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...

๕. ... บุตรของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...

๖. ... ธิดาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...

๗. ... ภริยาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...

๘. ... หมู่ญาติของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...

๙. ... หมู่มิตรของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

อ้างที่อยู่ที่อาศัย [๑๖ บท]


๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า มารดาของข้าพเจ้ามี ท่านจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒. ... บิดาของข้าพเจ้ามี ท่านจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...

๓. ... พี่ชายน้องชายของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...

๔. ... พี่หญิงน้องหญิงของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...

๕. ... บุตรของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...

๖. ... ธิดาของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...

๗. ... ภริยาของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...

๘. ... หมู่ญาติของข้าพเจ้ามี พวกเขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...

๙. ... หมู่มิตรของข้าพเจ้ามี พวกเขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...

๑๐. ... บ้านของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยบ้านนั้น ...

๑๑. ... นิคมของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยนิคมนั้น ...

๑๒. ... นาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยนานั้น ...

๑๓. ... สวนของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยสวนนั้น ...

๑๔. ... เงินของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยเงินนั้น ...

๑๕. ... ทองของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยทองนั้น ...

๑๖. ... ศิลปะของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยศิลปะนั้น ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

อ้างว่าพรหมจรรย์ทำได้ยาก [๘ บท]


๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า พรหมจรรย์ทำได้ยาก. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

๒. ... พรหมจรรย์ทำไม่ได้ง่าย ...

๓. ... พรหมจรรย์ประพฤติได้ยาก ...

๔. ... พรหมจรรย์ประพฤติไม่ได้ง่าย ...

๕. ... ข้าพเจ้าไม่อาจ ...

๖. ... ข้าพเจ้าไม่สามารถ ...

๗. ... ข้าพเจ้าไม่ยินดี ...

๘. ... ข้าพเจ้าไม่ยินดียิ่ง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.


รวมลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน ๑๖๐ บาท
ลักษณะสิกขาที่เป็นอันบอกคืน [๗๘ บท]
กล่าวบอกคืนด้วยคำเป็นปัจจุบัน [๑๔ บท]


[๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืนเป็นอย่างไร?

๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิกปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

๒. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรม ...

๓. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ ...

๔. ... ข้าพเจ้าบอกคืนสิกขา ...

๕. ... ข้าพเจ้าบอกคืนวินัย ...

๖. ... ข้าพเจ้าบอกคืนปาติโมกข์ ...

๗. ... ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศ ...

๘. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...

๙. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระอาจารย์ ...

๑๐. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...

๑๑. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระอันเตวาสิก ...

๑๒. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

๑๓. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...

๑๔. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำเป็นปัจจุบัน [๘ บท]


๑. อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

๒. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสก ...

๓. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอารามิก ...

๔. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นสามเณร ...

๕. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นเดียรถีย์ ...

๖. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นสาวกเดียรถีย์ ...

๗. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้มิใช่สมณะ ...

๘. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

กล่าวบอกคืนด้วยคำเป็นปัจจุบันว่าไม่เกี่ยวข้อง [๑๔ บท]


๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

๒. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระธรรม ...

๓. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระสงฆ์ ...

๔. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยสิกขา ...

๕. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยวินัย ...

๖. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยปาติโมกข์ ...

๗. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยอุเทศ ...

๘. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระอุปัชฌายะ ...

๙. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระอาจารย์ ...

๑๐. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระสัทธิวิหาริก ...

๑๑. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระอันเตวาสิก ...

๑๒. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

๑๓. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระผู้ร่วมอาจารย์ ...

๑๔. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระเพื่อนพรหมจารี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

กล่าวบอกคืนด้วยคำว่าจะต้องการอะไร [๑๔ บท]


๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

๒. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระธรรม ...

๓. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระสงฆ์ ...

๔. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยสิกขา ...

๕. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยวินัย ...

๖. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยปาติโมกข์ ...

๗. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยอุเทศ ...

๘. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระอุปัชฌายะ ...

๙. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระอาจารย์ ...

๑๐. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระสัทธิวิหาริก ...

๑๑. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระอันเตวาสิก ...

๑๒. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

๑๓. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระผู้ร่วมอาจารย์ ...

๑๔. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระเพื่อนพรหมจารี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

กล่าวบอกคืนด้วยคำว่า ไม่ต้องการ [๑๔ บท]


๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

๒. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระธรรม ...

๓. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระสงฆ์ ...

๔. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยสิกขา ...

๕. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยวินัย ...

๖. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยปาติโมกข์ ...

๗. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยอุเทศ ...

๘. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอุปัชฌายะ ...

๙. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอาจารย์ ...

๑๐. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระสิทธิวิหาริก ...

๑๑. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอันเตวาสิก ...

๑๒. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

๑๓. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระผู้ร่วมอาจารย์ ...

๑๔. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระเพื่อนพรหมจารี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

กล่าวบอกคืนด้วยคำว่า พ้นดีแล้ว [๑๔ บท]


๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

๒. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระธรรม ...

๓. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระสงฆ์ ...

๔. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากสิกขา ...

๕. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากวินัย ...

๖. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากปาติโมกข์ ...

๗. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากอุเทศ ...

๘. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระอุปัชฌายะ ...

๙. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระอาจารย์ ...

๑๐. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระสัทธิวิหาริก ...

๑๑. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระอันเตวาสิก ...

๑๒. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

๑๓. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระผู้ร่วมอาจารย์ ...

๑๔. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระเพื่อนพรหมจารี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

รวมลักษณะสิกขาที่เป็นอันบอกคืน ๗๘ บท
ไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้น


ก็อีกอย่างหนึ่ง ไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าก็ดี ไวพจน์แห่งพระธรรมก็ดี ไวพจน์แห่งพระสงฆ์ก็ดี ไวพจน์แห่งสิกขาก็ดี ไวพจน์แห่งวินัยก็ดี ไวพจน์แห่งปาติโมกข์ก็ดี ไวพจน์แห่งอุเทศก็ดี ไวพจน์แห่งพระอุปัชฌายะก็ดี ไวพจน์แห่งพระอาจารย์ก็ดี ไวพจน์แห่งพระสัทธิวิหาริกก็ดี ไวพจน์แห่งพระอันเตวาสิกก็ดี ไวพจน์แห่งพระผู้ร่วมอุปัชฌายะก็ดี ไวพจน์แห่งพระผู้ร่วมอาจารย์ก็ดี ไวพจน์แห่งพระเพื่อนพรหมจารีก็ดี ไวพจน์แห่งคฤหัสถ์ก็ดี ไวพจน์แห่งอุบาสกก็ดี ไวพจน์แห่งอารามิกก็ดี ไวพจน์แห่งสามเณรก็ดี ไวพจน์แห่งเดียรถีย์ก็ดี ไวพจน์แห่งสาวกเดียรถีย์ก็ดี ไวพจน์แห่งบุคคลผู้มิใช่สมณะก็ดี ไวพจน์แห่งบุคคลผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตรก็ดี แม้อย่างอื่นใด มีอยู่ ภิกษุย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบด้วยไวพจน์เหล่านั้น อันเป็นอาการ เป็นลักษณะเป็นนิมิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.


ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน


[๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาไม่เป็นอันบอกคืนเป็นอย่างไร?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ย่อมเป็นอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ บอกคืนด้วยไวพจน์เหล่าใด อันเป็นอาการ เป็นเพศ เป็นนิมิต ภิกษุวิกลจริต บอกคืนสิกขาด้วยไวพจน์เหล่านั้น อันเป็นอาการ เป็นเพศ เป็นนิมิต สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน.

ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักภิกษุวิกลจริต สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน บอกคืนสิกขา สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุบอกคืนสิกขา ในสำนักภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา บอกคืนสิกขา สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุบอกคืนสิกขา ในสำนักภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติมิลักขะ ด้วยภาษาชนชาติอริยกะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติอริยกะ ด้วยภาษาชนชาติมิลักขะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติอริยกะ ด้วยภาษาชนชาติอริยกะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติมิลักขะ ด้วยภาษาชนชาติมิลักขะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยกล่าวเล่น สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยกล่าวพลาด สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุไม่ประสงค์จะประกาศ แต่เปล่งเสียงให้ได้ยิน สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุประสงค์จะประกาศ แต่ไม่เปล่งเสียงให้ได้ยิน สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุประกาศแก่ผู้ไม่เข้าใจความ สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุไม่ประกาศแก่ผู้เข้าใจความ สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

ก็หรือภิกษุไม่ประกาศโดยประการทั้งปวง สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืนด้วยเหตุอย่างนี้แล.


Create Date : 24 กันยายน 2552
Last Update : 26 กันยายน 2552 1:34:34 น. 0 comments
Counter : 804 Pageviews.

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.