bloggang.com mainmenu search





วันนี้ภูมิใจนำเสนอแววมยุราพุ่มเล็กๆหน้าบ้าน ที่ภูมิใจเพราะว่าทั้งหมดนี้เกิดจากการเพาะเมล็ดเอง เพื่อนที่ห้องต้นไม้ส่งเมล็ดพันธุ์แบบคละสีมาให้ลองเพาะดู ใช้เวลาในการเพาะประมาณเกือบ 2 อาทิตย์ ก็งอก

เราตื่นเต้นมาก ที่เพาะแววมยุราสำเร็จ เพิ่งเคยเพาะเป็นครั้งแรกนี่ล่ะ ดีใจสุดๆ เข้าใจมาตลอดว่าแววมยุราไม่มีเมล็ด รู้จากเพื่อนห้องต้นไม้บอก แถมส่งมาเมล็ดมาใ้ห้เพาะอีก ต้องขอขอบคุณด้วยนะคะ






พอโตได้ที่ก็เอาลงดิน ปลูกให้โดนแดดหน่อย พักเดียวงามไม่รู้เรื่องเลย แตกกิ่งก้านเลื้อยเป็นวงกว้าง พอเมล็ดแก่ก็ร่วงงอกเป็นต้นใหม่อยู่ตรงนั้นล่ะ






แววมยุรา เป็นไม้ที่ค่อนข้างจะกินน้ำเก่ง เคยลืมรดแค่วันเดี่ยว เหี่ยวคอพับคออ่อนกันทีเดียว พอได้น้ำเท่านั้นล่ะ เด้งดึ๋ง สดชื่นทันตาเห็น ต้นตั้งตรงเหมือนเดิม






ต้องการแสงปานกลางแต่ไม่ชอบแสงแดดโดยตรง






ให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักละลายน้ำรดเดือนละครั้ง แค่นี้ก็งามอลัง






มีสีชมพูด้วย






หลากสีสัน






ลาไปด้วยภาพนี้ แล้วพบกันใหม่ค่ะ




แววมยุรา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Torenia fournieri Lindl. ex Fourn.
ชื่อวงศ์ : Scrophulariaceae
ชื่อสามัญ : Wishbone flower, Bluewings, Torenia
ชื่อพื้นเมือง : เกล็ดหอย แววมยุเรศ สามสี หญ้าลิ้นเงือก หญ้าลำโพง

ลักษณะทั่วไป
ไม้ดอกล้มลุก ลำต้นและกิ่งเป็นเหลี่ยม แตกกิ่งก้านมาก
ใบ : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบรูปไข่ถึงรูปรีแคบ กว้าง 1.5-4.5 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบบาง สีเขียว เส้นใบเป็นร่อง
ดอก : สีแดง ชมพู ม่วงเข้ม ม่วงอ่อน โคนกลีบสีขาวกลีบล่างอาจมีแต้มสีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อ กระจะตามซอกใบที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน ดอกบาน เต็มที่กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร
ผล : ผลแห้งแตก รูปรีหรือทรงกระบอก มีเมล็ดจำนวนมาก
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด และการตัดชำ
ควรป้องกันไรแดง ที่จะพบมากในฤดูร้อน ด้วยการฉีดพ่นละอองน้ำให้กับใบพอจะช่วยได้ แต่ถ้า ระบาดหนักก็ฉีดพ่นด้วย มาลาไธออน หรือ ไดอาชินอน ทุกๆ 2 สัปดาห์

ที่มา:วิกิพีเดีย









Secrets of my heart
Ernesto Cortazar

Create Date :21 ธันวาคม 2555 Last Update :21 ธันวาคม 2555 10:25:14 น. Counter : 19117 Pageviews. Comments :65