bloggang.com mainmenu search





วันก่อนเดินสำรวจดูต้นไม้ในบ้าน ดูแล้วยังมีอีกหลายต้นที่ยังไม่เคยเอามาลงบล็อกเลย
ด้วยหลากหลายเหตุผล บลาๆ ไปเรื่อยเปื่อย ด้วยต้นไม้ที่บ้านมีหลายชนิดพอเห็นต้นนั้นต้นโน้นออกดอก
สวยก็รีบไปเอามาโชว์ก่อน มันเป็นซะอย่างนั้น! ทำให้ลืมๆไม้อีกหลายๆต้นไป อย่าง "กาหลง"
ต้นนี้ ตั้งใจว่าจะเอามาลงตั้งแต่ปีก่อนนู้น ก็ลืมๆไป มาปีนี้ต้องเอามาลงซะที เดี๋ยวเกิดมันน้อยใจชิงไปเฝ้า
พระอินทร์ซะก่อนล่ะแบ๊ะๆเลยทีนี้!




"กาหลง" ต้นนี้ปลูกมาได้ประมาณ6-7 ปี โดยเพาะจากเมล็ดของน้องที่ห้องต้นไม้
ส่งมาให้เมื่อหลายปีมาแล้ว ก็ลองเพาะดู การเพาะเป็นไปอย่างง่ายดาย เพาะไม่กี่วันก็งอกเป็นต้น พอต้นโตก็
จับปลูกลงดินแล้วก็เลี้ยงดูเรื่อยมาด้วยความสบายใจ เพราะเป็นไม้ที่ปลูกง่ายๆ ง่ายจริงๆ ปลูกแล้วก็
รดน้ำแค่นั้น ต้นก็โตวันโตคืนดี ต้นของเรานี่นับเวลาจากเริ่มเพาะ แล้วเอาปลูกลงดิน รวมเวลาประมาณสาม
เดือนกว่าๆก็ออกดอกให้ชมแล้ว เสียดายที่ไม่ได้เก็บภาพช่วงนั้นไว้ คือไม่ได้คิดว่าจะเอาลงบล็อก
และไม่คิดว่าจะเล่นบล็อกยืดเยื้อมาถึงทุกวันนี้อ่ะจ้ะ หุหุ


จากที่ปลูกมาตอนนี้ต้นสูงเกือบสองเมตรเข้าไปแล้ว (ต้นกาหลงสูงได้ถึงสี่เมตร) พอต้นสูง
ดอกก็ไปออกที่กิ่งด้านบนซะเยอะ จะเก็บภาพก็ลำบากลำบน คงได้แต่แชะภาพดอกตามกิ่งเตี้ยๆมาแค่ไม่กี่
ดอกเท่านั้น .. ดอกของกาหลงมีสีขาว เกสรสีเหลือง ดูแล้วไม่จืดตา ส่วนกลิ่นไม่หอม คือต้นที่
บ้านนี่ไม่ได้กลิ่นเลย ยังแปลกใจว่าทำไมตามเว็บต่างๆจึงบอกว่ากาหลงดอกขาวมีกลิ่นหอม อ่านแล้วงงไป
อีก! 55 หอมตรงไหนอ่าาาา พูดก็พูดเถอะ! บางทีก็งงๆกับข้อมูลพวกนั้นมากนะ เพราะไม้หลายชนิด
ที่ปลูกหลายต้นความเป็นจริงไม่ตรงกับข้อมูลที่ในเว็บบอกไว้ เพราะเหตุนี้เราเลยไม่ค่อยเชื่อถือข้อมูลเหล่า
นั้นเท่าไหร่ ต้องพิสูจน์ด้วยการปลูกและเรียนรู้ด้วยตัวเองถึงจะโอเค เวลาเอาลงบล็อกจะพูดอะไร
มันก็เต็มปากเต็มคำดี ไม่ต้องกลัวหน้าแตกแหวกชิมิด้วยนะจ๊ะ!


สำหรับเราเจ้ากาหลงดอกไม่หอมไม่ใช่เรื่องซีเรียส แค่ดอกสวย+ใบ+ทรงต้นสวยถูกใจ
แค่นี้ก็ได้ใจเจ้ไปเต็มๆละจ้ะ .. ดอกกาหลง ออกดอกเป็นช่อกระจะแบบสั้นๆ ออกตามปลายกิ่ง ช่อละสองสาม
ดอก ..







กาหลง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-4 เมตร ถ้าไม่อยากให้สูงมาก
ก็หมั่นตัดแต่งกิ่งบ่อยๆ ปลูกเป็นทรงพุ่มเตี้ยๆก็สวยดี ดอกออกเต็มต้นเหมือนกัน ที่เราปล่อยให้ต้นสูงขนาด
นี้เพราะต้องการให้หน้าบ้านตรงส่วนนั้นมีความร่มรื่น ซึ่งกิ่งก้านของกาหลงและใบก็ให้ความร่มรื่น
ได้อย่างดีเลย .. รูปทรงดอกที่สวยโดดเด่น+มีเส่นห์ ชมไม่เบื่อ อย่าว่าแต่ "กาหลง" เลย คนก็ "หลง" นร้า
จร้าาาาา ฮิ้วววววววว! (มุขลิเกมากเรยลวกเพ่ คริๆ)







ชมต้นอ่อนซักนิดค่ะ อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่าเมล็ดเพาะง๊ายง่ายไม่กี่วันก็งอก
ขณะเป็นต้นอ่อน ปลายใบก็เว้าลึกเด่นชัด บ่งบอกเลยว่านู๋นี่คือต้น "กาหลง" แน่นอนฮ่ะ! เห็นใบแล้วไม่
ผิดแน่






ดอกสีขาว มีกลีบห้ากลีบ กลีบซ้อนเหลื่อมกัน
ตามกลีบมีลายเส้นคล้ายใบไม้ ใจกลางดอกมีเกสรเล็กๆสีเหลือง มีความตะะมุตะมิมากมาย
มองได้ทั้งวันไม่เบื่อ เวลาที่ออกดอกเยอะๆเต็มต้นจะสวยมาก มองไปนี่ดอกขาวโพลนเต็มต้น สีขาว
ตัดกับใบเขียวๆ สวยงามที่สุด ไว้รอให้ดอกเต็มต้นจะเอามาลงบล็อกอีกครั้ง
.. จากนี้ก็ชมภาพวนไปค่ะ ..



































































กาหลง : ต้นไม้แห่งภูมิภาคเอเชีย


กาหลงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bauhinia acuminata Linn.
อยู่ในวงศ์ Leguminosae (หรือบางแห่งว่า วงศ์ CaeSalpiniaceae)
ซึ่งเป็นจำพวกถั่ว เช่นเดียวกับคูน จามจุรี ทองกวาว เป็นต้น เป็นไม้พุ่มผลัดใบขนาดเล็ก
สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม กิ่งแก่ค่อนข้างเกลี้ยง

ปกติใบไม้ทั่วไปจะมีปลายใบแหลมตรงกลางที่เป็นเส้นกลางใบ เช่น ใบโพธิ์ ใบมะม่วง
ใบพลู เป็นต้น .. แต่ใบกาหลงกลับตรงกันข้าม กล่าวคือส่วนปลายของเส้นกลางใบกลับเว้าเข้าหาโคนใบ
ลึกลงเกือบถึงกลางใบ จึงมองดูคล้ายเป็น 2 ใบอยู่ติดกัน บนก้านเดียว ทำให้เกิดเข้าใจผิด หรือ "หลง"
ได้อีกเรื่องหนึ่ง นอกเหนือไปจากจำนวนกลีบของดอกที่มี 5 กลีบ แต่มีผู้นับเป็น 4 และ 6 กลีบ

ผู้ที่ตั้งชื่อต้นไม้ชนิดนี้ว่า "กาหลง" คงจะพบปรากฏการณ์ดังกล่าว มานี้เช่นเดียวกัน
จึงตั้งชื่อว่า "กาหลง" โดยเปรียบเทียบกับกา ซึ่งนับว่าเป็นสัตว์ฉลาดก็ยังหลงได้ ดังนั้น คนทั่วไปจึงอาจหลง
ไปด้วยเช่นกัน

CR:https:goo.gl/7yYgaW


ส่วน "ใบ" เราชอบใบของกาหลงมาก มีลักษณะเด่นแปลกตา ... ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ
ปลายใบเว้าลึกเข้ามาเกือบครึ่งใบ ทำให้ปลายแฉกสองข้างแหลม แยกเป็น 2 พู โคนใบมนเว้าเป็นรูป
หัวใจ มองเผินๆคล้ายๆใบของต้นชงโค







ลักษณะเด่นอีกอย่างของต้นกาหลงคือ "ฝัก" ติดฝักยอะมาก ฝักอ่อนมีสีเขียว
คล้ายฝักกระถิน ห้อยเป็นพวงโตงเตงเต็มต้นไปหมด












ฝักแก่ ถ้าแก่จัดก็จะหลุดจากขั้วร่วงลงพื้น ฝักปริแตกออก เมล็ดกระเด็นไปตกตรงไหน
ก็จะงอกเป็นต้นอ่อน























สรรพคุณและประโยชน์ของต้นกาหลง 13 ข้อ คลิก










Create Date :19 พฤษภาคม 2560 Last Update :20 พฤษภาคม 2560 14:18:07 น. Counter : 18688 Pageviews. Comments :49