bloggang.com mainmenu search











เพลงไทยเดิม ใช่ว่าจะมีแต่ทำนองเนิบนาบชวนง่วงนอน เพลงจังหวะสนุกๆก็มีหลายเพลงอยู่
อย่างวันนี้นำเพลง "ค้างคาวกินกล้วย" มาเปิดฟัง เชื่อว่าหลายๆคนคงได้ยินเพลงนี้กันมาพอสมควร อากาศ
ร้อนๆอย่างนี้ฟังแล้วน่าจะคึกคักดี หวังอย่างนั้นค่ะ


---------- ----------


เพลง "ค้างคาวกินกล้วย" เป็นเพลงสั้นๆ นิยมใช้บรรเลงร้องเล่นประกอบการ"แสดงละคร" ในฉากที่เป็น
ป่าเขาลำเนาไพร หรือใช้บรรเลงเพื่อประกอบกิริยาการเดินทางของตัวละครที่เป็นตัวตลก เนื่องจากทำนองเพลงส่อเค้า
อารมณ์เป็นเช่นนั้น

เพลงนี้จัดอยู่ในประเภทเพลงที่เรียกว่า "เพลงเกร็ด" ส่วนใหญ่นิยมบรรเลงขับร้องกันในการแสดงละคร
ซึ่งคนสมัยนี้อาจจะไม่ค่อยมีโอกาสได้ชมหรือได้ฟังกันบ่อยนัก จึงไม่ทราบว่ายังมีเพลงไทยที่มีท่วงทำนองรวดเร็ว
สนุกสนาน น่าฟังประเภทนี้อยู่ ตัวอย่างของเพลงไทยประเภทนี้ในปัจจุบันมีอยู่เพลงหนึ่ง ซึ่งดูจะเป็นที่รู้จัก
กันทั่วไป .. หากได้ยินทำนองเพลงนี้แล้วทุกคนจะรู้สึกคุ้นหูและรู้จักกันดี เนื่องจากเป็นเพลงที่นักดนตรีไทยและนักดนตรี
สากลนิยมนำมาบรรเลงให้ได้ยินกันบ่อยๆ ตามสื่อต่างๆเช่น วิทยุ โทรทัศน์ เทป ซีดีเพลง ฯลฯ
รู้จักกันในชื่อ "เพลงค้างคาวกินกล้วย"









เพลง “ค้างคาวกินกล้วย” จริงๆ แล้วมีชื่อว่า เพลง “ลิงกับเสือ” (เดิมชื่อเพลง “ลิงถอกกระดอเสือ”
แต่นิยมเลี่ยงมาเรียกสั้นๆ ว่าเพลง “ลิงกับเสือ”) เป็นเพลงเก่าที่ถูกแต่งขึ้นในสมัยอยุธยา โดยปรากฏเป็นส่วนหนึ่งใน
“เพลงเรื่องเขมรใหญ่” ซึ่งในบทเพลง ชุดดังกล่าวนั้น จะมีเพลง “ค้างคาวกินกล้วย” ซึ่งเป็นอีกเพลงหนึ่ง
ที่มีท่วงทำนองคล้ายคลึงกันประกอบอยู่ด้วย ดังนั้นเมื่อมีการแยกเอามาบรรเลงต่อเนื่องกัน
จึงอาจเป็นเหตุให้เกิดความเข้าใจผิดไป




โน้ตเพลงลิงกับเสือ (รู้จักกันในชื่อ ค้างคาวกินกล้วย)

-ร-ด ดด-ล --ดล --ซล --ดล --ซล ดลซฟ -ซ-ล
-ร-ด ดด-ล --ดล --ซล --ดล --ซล ดลซฟ -ซ-ฟ
---- -ซ-ซ --ลซ ฟซ-- ลซฟซ ลซฟม รดรม -ฟ-ซ
---- -ซ-ซ --ลซ ฟซ-- ลซฟซ ลฟซล ดลซฟ -ม-ร
---- -ร-ร --ฟร ดล-ด -ล-ร ดล-ด รดลด รฟ-ร
---- -ร-ร --ฟร ดล-ด -ล-ร ดล-ด -ล-ซ ดลลล



โน้ตเพลงข้างบนเป็นทำนองเพลงที่นักดนตรีไทยส่วนใหญ่เรียกว่าเพลง "ลิงกับเสือ"
ซึ่งเป็น "เพลงเกร็ด" เพลงหนึ่ง ที่บรรเลงต่อเนื่องกันอยู่ในชุดเดียวกับเพลงค้างคาวกินกล้วย ท่วงทำนองเพลงนี้
เมื่อฟังให้ดีจะเห็นว่า มีลีลาคล้ายกับลิงกำลังทำท่าขย่มตัวหลอกล้อเสือเล่น แต่ปรากฏว่า
ปัจจุบันทำนองเพลงนี้กลับรู้จักกันในชื่อ "เพลงค้างคาวกินกล้วย" จึงน่าสงสัยว่าที่จริงแล้วเพลงนี้
คือเพลงอะไรกันแน่ ?


ในภายหลังว่าบทเพลงทั้ง 2 เป็นเพลงเดียวกันในชื่อ “ค้างคาวกินกล้วย” และด้วยท่วงทำนอง
ที่รวดเร็ว สนุกสนาน และโดดเด่น จึงอาจเป็นเหตุให้ทำนองเพลง “ลิงกับเสือ” กลายมาเป็นที่รู้จักในชื่อ
ของเพลง “ค้างคาวกินกล้วย” ไปในที่สุด



บทร้องเพลงค้างคาวกินกล้วย


ตัวอะไร เกาะไม้หัวห้อย ไปดูกันหน่อยว่าตัวอะไร
ไหน ที่ไหนมัน เกาะอยู่แห่งใด
อ๋อ ตัวนี้ไง เรียกว่าค้างคาว กลางวันหวั่นภัย เร้นกายหลบนอน
กลางคืนซอกซอน ออกหากินตาวาว มันกินอะไรรู้ไหมเล่าเธอ
กินกล้วยซิเกลอ แทะทั้งเครือยาวยาว










โน้ตเพลงค้างคาวกินกล้วย (ที่คุณหญิงชิ้นบันทึกไว้ในวิทยุโรงเรียน)

-รรร -ล-ร --ลร -ด-ล -รรร -ด-ล -ซ-ด --รม
ไหน ที่ไหนมัน เกาะอยู่ แห่งใด อ๋อ ตัวนี้ไง เรียกว่า ค้างคาว
-ซ -- มซ-ม --รด -ร-ม -ซ -- มซ-ม --รด -ร-ด
กลางวัน หวั่นภัย เร้นกาย หลบนอน กลางคืน ซอกซอน ออกหากิน ตาวาว
-ดดด -ล-ด รมรด -ล-ด -ดดด -ล-ด -ลรด -ลลล
มันกิน อะไร รู้ไหม เล่าเธอ กินกล้วย ซิเกลอ แทะทั้งเครือ ยาวยาว
-ดดด -ล-ด รมรด -ล-ด -ดดด -ล-ด -ลรด -ลลล




เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบดูทำนองของโน้ตชุดใหม่นี้ กับโน้ตเพลงลิงกับเสือ ซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นเพลงค้างคาว
กินกล้วย แล้ว จะพบว่ามีความแตกต่างกันคือ ถ้าบรรเลงด้วยโน้ตชุดแรก ทำนองดนตรีกับคำร้องจะไม่สามารถเข้ากันได้
แต่ถ้าบรรเลงด้วยโน้ตชุดหลัง ทำนองดนตรีกับทำนองร้องจะเข้ากันได้พอดี จึงน่าจะเชื่อได้ว่า
ทำนองดนตรีที่คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง เรียกว่า "ค้างคาวกินกล้วย" นั้น น่าจะถูกต้อง ดังตัวอย่างบทร้องที่ยกมาจาก
หนังสือที่ระลึกงานฉลอง 80 ปี ของคุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง ก่อนหน้านี้




มีผู้นำเพลง "ค้างคาวกินกล้วย" ไปบรรเลงดนตรีในหลายรูปแบบ มีทั้ง ระนาดเอก ขลุ่ย กีร์ต้าโปร่ง
ออเครสต้า ไวโอลิน และ เปียโน ซึ่งแต่ละเวอร์ชั่นบรรเลงได้ไพเราะแตกต่างกันไป
ลองคลิกฟังดูค่ะ^___^







CR:goo.gl/GRUq4R
CR:goo.gl/ez3uJg













Create Date :23 มีนาคม 2560 Last Update :23 มีนาคม 2560 7:14:08 น. Counter : 18103 Pageviews. Comments :29