bloggang.com mainmenu search




ช่วงนี้น้ำฝนโปรยลงมาชุมฉ่ำไม่เว้นแต่ละวัน พุทธรักษาสีปูนที่ปลูกไว้ในอ่างบัว
แตกกอแตกใบพร้อมผลิดอกช่อโตหลายช่อ อวดดอกสวยอู้ฟู่ ดอกสีหวานเย็นตา ชมความงามคนเดียว มัน
ไม่ฉ่ำใจ เลยเก็บภาพมาแบ่งปันให้เพื่อนๆได้ชมด้วย จะได้สุขตาสุขใจไปด้วยกัน


พุทธรักษาต้นนี้ ปรกติก็ออกดอกให้ชมตลอด เพียงแต่หน้าฝนนี่จะออกถี่หน่อย
ดอกช่อโตและมีขนาดใหญ่กว่าในฤดูอื่นๆ เอาล่ะค่ะ! ไม่พูดเยอะ เจ็บคอ มาชมความงามของดอกกันเลย
ดีกว่า




------------------------------------

------------------------------------











--------------------------------------
------------------

--------------------------------------
------------------


















ผักเสี้ยนขน (Spider weed)
วัชพืชดอกสีม่วงอ่อน


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cleome rutidosperma DC.
ชื่อวงศ์ : Capparaceae
ถิ่นกำเนิด อัฟริกากลาง
พบครั้งแรก ในประเทศไทยใน พ.ศ. 2489
CR:https://bit.ly/2v300FE



ผักเสี้ยนขน
เป็นวัชพืชคู่บ้านริมคลองมานานแสนนาน มักมาให้เห็นช่วงหน้าฝน
ขึ้นเขียวงามเป็นดง แตกยอดอ่อนพึ่บพั่บ ต้นเมื่อโตแล้วจะทอดยาวออกแนวเลื้อยหน่อยๆ ใบสีเขียวอ่อนๆ
เป็นแฉก3แฉก สวยดีเหมือนกัน ยอดอ่อนๆนี่ถ้ากินได้ จะเก็บไปดองกินกับน้ำพริกเสียให้เข็ด!
ติดอยู่ว่าผักเสี้ยนชนิดนี้กินไม่ได้ เลยแต่ชมความงามของมันเพลินๆไป






ดอก


ส่วนดอกมีขนาดเล็กมาก จริงๆแล้วอย่าใช้คำว่า "เล็ก" เลย ใช้คำว่าว่า "จิ๋ว" น่าจะเหมาะกว่า
เพราะจิ๋วจริงๆ ทำให้เก็บภาพลำบาก ต้นก็เตี้ย เวลาจะแชะภาพแทบจะต้องลงนอนกับพื้นถึงจะเก็บภาพได้
ตามต้องการ หลานชายวัย 8 ขวบมาเห็น ถามว่า เวลาถ่ายรูปทำไมย่าต้องทำท่าแปลกๆอย่างนั้นด้วยล่ะ? 55
คนถ่ายรูปนี่กว่าจะเก็บภาพได้แต่ละภาพ มักมีท่าทางพิลึกพิลั่น ให้คนที่พบเห็นสงสัยเสมอ โดยเฉพาะ
ถ่ายภาพดอกไม้ ที่จะต้องเก็บภาพหลากหลายมุม ท่าทางในการแชะเลยจะเยอะหน่อย^^

ดอก
ออกเดี่ยวที่ปลายยอดหรือตามซอกใบ
มี 4 กลีบ กลีบดอกรูปรี โค้งคล้ายพระจันทร์เสี้ยว มีเกสรตัวผู้ 6 อัน มีอับเรณูสีเทาอยู่ตรงปลาย







กลีบดอกสีม่วงเหลือบขาวและชมพู แต่งแต้มอยู่อย่างละนิดอย่างละหน่อย












ดอกจิ๋วมากนักใช่ไหม?
นี่แน่ะ! จับ 2 ดอกมาวางซ้อนกัน แล้วซูม ทีนี้ก็ได้ชมเต็มตาหน่อย






**ผักเสี้ยนขน
ถึงจะเป็นแค่วัชพืช แต่ก็มีประโยชน์พอสมควรทีเดียว**


คือเป็นอาหารของสัตว์กินพืชทั่วไป และใช้เป็นพืชคลุมดิน นอกจากนี้เกษตรกรได้นำผักเสี้ยนขน
ไปเป็นส่วนผสมในการทำปุ๋ยหมัก หรือปลูกเพื่อไล่หญ้าคาด้วย น้ำสกัดจากใบและน้ำมันจากเมล็ด ทาแก้โรค
ผิวหนังและปวดข้อ





Home&Garden





Create Date :03 สิงหาคม 2561 Last Update :3 สิงหาคม 2561 7:17:22 น. Counter : 2830 Pageviews. Comments :54