เพลง "รักของแม่"
![]()
![]() "สอนให้ลูก เรียนรู้ สู้ปัญหา พัฒนา ด้วยตน จนเติบใหญ่ เพราะคนแกร่ง จะก้าว ได้ยาวไกล เพื่อมาเป็น กำลังไทย ให้แข็งแรง" นั่นคือคำขวัญ "วันแม่แห่งชาติ ปีนี้ วันเสาร์ที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๐ ซึ่งนับเป็นปีมหามงคลยิ่ง เนื่องจาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่๙ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำขวัญนี้ ![]() แต่เดิมนั้น วันที่ ๑๒ สิงหาคม มิได้เป็น วันแม่แห่งชาติ อย่างเช่นในปัจจุบัน แต่ได้มีการกำหนดเอาวันที่ ๑๕ เมษายนของทุก ๆ ปีเป็น วันแม่แห่งชาติ โดยเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีที่ได้ประกาศรับรองเอาไว้เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๙๓ คือหลังจากเพลง "ค่าน้ำนม" ฉบับ ชาญ เย็นแข ออกมาได้้ ๑ ปี โดยมี สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นผู้จัดงานวันแม่มาตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ เป็นต้นมา ในรัฐบาลของ ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปมักเรียกกันว่า วันแม่แห่งชาติ ![]() ต่อมา ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ ทางราชการได้เปลี่ยนแปลงวันแม่ใหม่ โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ซึ่งก็คือวันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็น วันแม่แห่งชาติ โดยเริ่มประกาศใช้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นต้นมา ![]() แม้ "วันแม่แห่งชาติ" ปีนี้ผ่านไปแล้ว แต่ความรักความอาลัยของลูก ๆ ชาวไทยยังอัดแน่นอยู่เต็มหัวอก ทั้งลูกไทยภายในประเทศและในต่างแดน ยิ่งใก้ลกำหนดวันสำหรับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ บรรยากาศของความโศกเศร้า ว้าเหว่ อาดูร ก็ยังครอบคลุมสังคมไทยอยู่ทั่วไปเหมือนเมฆฝนคลุมฟ้า ![]() คืนวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ วันเสด็จสวรรคตองค์ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เกิดปรากฏการณ์ "หมอกธุมเกตุ" ซึ่งตำรากล่าวถึงว่ามักจะมีในเวลาที่มีเหตุใหญ่ ๆ เกิดขึ้น เช่นเหตุการณ์สวรรคตของพระเจ้าแผ่นดินมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งองค์ในหลวงรัชกาลที่ ๕ เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ก็เกิดปรากฏการณ์ "หมอกธุมเกตุ" นี้เช่นเดียวกัน ภาพและข้อมูลจาก กระทู้ ปรากฏการณ์ "หมอกธุมเกตุ" ในวันนี้ เวลาที่พ่อต้องจากไป เหลือแต่แม่ที่แก่เฒ่ากับลูก ๆ ที่เศร้าสร้อยด้วยความอาลัยรัก และความกังวลใจในปัญหาของครอบครัวที่ยังเผชิญกันอยู่ทั้งในวันนี้และวันหน้า กับเสียงเพลงวันแม่ที่บรรเลงให้ฟังทั้งเช้าค่ำตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ยากนักที่ลูกทั้งหลายจะไม่สะเทือนสะท้านอยู่ในความรู้สึกที่คล้าย ๆ กัน เทียมรักแม่ได้ มีแต่อภัยและปรานี ยามนอนแม่คอยพัดวี ให้ลูกนี้สุข ไร้ทุกขเมื่อยามนิทรา..." ![]() ภาพจาก youtube.com เพลงนี้ชื่อ "รักของแม่" มีผู้ขับร้องสองท่านคือ ชาญ เย็นแข และ สวลี ผกาพันธุ์ ศิลปินแห่งชาติ นางเอกตลอดกาลในดวงใจของนักนิยมเพลงทั้งประเทศ ผู้ขับร้องเพลงนี้ครั้งแรกคือ ชาญ เย็นแข แต่ไม่ค่อยจะได้ฟังกันบ่อยนัก คงเป็นเพราะ ชาญ เย็นแข ร้องเพลงที่เกี่ยวกับพระคุณของแม่ไว้หลายเพลง เช่น "ค่าน้ำนม", "โอ้ชนกชนนี", "อ้อมอกแม่" รวมถึงเพลง "รักของแม่" เพลงนี้ด้วย ดังนั้นเมื่อพูดกันถึงเพลง รักของแม่" บรรดาคอเพลงส่วนใหญ่จึงมักจะนึกถึงฉบับที่เป็นเสียงร้องของ สวลี ผกาพันธุ์ ราวกับได้ยินเสียงผู้ขับร้องแว่วหวานมาในความทรงจำ แม่ก็เฝ้าทน ขอเพียงให้ลูกเติบโตมา คอยกลัวจะหายคลาดตา ข้าวปลาคอยป้อน ลูกอ้อนก็ทนทรมา...." ![]() ภาพจาก youtube.com ![]() ภาพจาก youtube.com เนื้อเพลงเป็นผลงานการประพันธ์ที่ฟังแล้วก็รู้ได้ว่า เป็นความรู้สึกที่ถอดหัวใจออกมาเขียน โดยบรมครูเพลงศิลปินแห่งชาติ สง่า อารัมภีรผู้แต่งทั้งคำร้องและทำนองคือ ครูแจ๋ว สง่า อารัมภีร ศิลปินแห่งชาติ เราจะได้ยินเพลงนี้กันมาตั้งแต่เมื่อประมาณช่วงปี ๒๕๐๐ ทั้งสองฉบับต่างก็มีความไพเราะกันไปคนละแบบ แต่เป็นเพลงแม่ที่มีความบริสุทธิ์อ่อนหวานมาก เป็นแนวเพลงแบบฉบับของต้นตำรับเพลงหวาน คือแบบของ ครูแจ๋ว สง่า อารัมภีร นั่นเอง เนื่องจากมีคำชื่นชมของชาวไทยสากลในอดีตได้กล่าวขวัญกันไว้อย่างเป็นหลักเป็นฐานว่า ![]() ครูสง่า อารัมภีรและครูสมาน กาญจนผลิน นักประพันธ์เพลงคู่บุญ เจ้าของฉายา "เพลงรัก...ครูสมาน เพลงหวาน...ครูสง่า" ภาพจากเวบ komchadluek.net หมายถึงถ้าเพลงแนวไทยหรือลูกไทย ๆ ต้อง สมาน กาญจนะผลิน แต่ถ้าหากแนวหวานละก็ ไม่มีใครเกิน ต้อง สง่า อารัมภีร ซึ่งก็ได้พิสูจน์ความจริงเช่นนี้มานานแสนนาน จนเป็นที่จำยอมต้องน้อมรับกันโดยทั่วไป เพราะฉะนั้น เพลง "รักของแม่" จึงเป็น "เพลงแม่" ในแนวหวาน ![]() ภาพจาก mp3red.me จึงใคร่ของฝากชาวเพลงของเรากันไว้ว่า เวลาจะผ่นไปอีกนานสักเท่าใด อย่างน้อยเมื่อถึงเทศกาลวันแม่ในปีใด จะเปิดเพลงแม่เพลงไหน ๆ ฟังกันแล้วก็ตาม แต่อย่าลืมถามหา "รักของแม่" เพลงนี้ให้ได้ฟังพอกันลืมกันบ้าง โดยเฉพาะควรได้ฟังความหวานกันทั้งสองต้นฉบับ คือหวานแบบ สวลี ผกาพันธุ์ และหวานแบบ ชาญ เย็นแข ![]() ภาพจาก บล็อกคุณสะใภ้เมืองแพร่ สมกับคำกล่าวที่ว่า "รักของแม่คือรักแท้ที่แสนหวาน" นั่นคือเพลง "รักของแม่" เสียงร้องของ สวลี ผกาพันธุ์ ที่ขับร้องเพลงนี้ นับว่ามีความแตกต่างจากเพลงอื่น ๆ ที่ร้องไว้เป็นอย่างยิ่ง เป็นน้ำเสียงที่เรียบง่าย แต่งามสง่า มีกังวานแจ่มใสบริสุทธิ์ แต่หนักแน่นมั่นคง แทนความรักของแม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ทำให้เนื้อหาของท่อนแยกซึ่งเป็นวรรคทองของเพลงมีความโดดเด่นและชัดเจนอย่างยิ่ง ในขณะที่เสียงของ ชาญ เย็นแข จะฟังดูอบอุ่นละมุนละไมอ่อนหวาน ทำให้อยากร้องไห้คิดถึงแม่สุดที่รักของเรายิ่งนัก หากใครฟังเพลงนี้ในเวลาที่เงียบสงัดจึงยากที่จะกลั้นน้ำตาไว้ได้ เหมือนเนื้อร้องช่วงท่อนแยกของเพลงนี้ที่ให้คำอธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า สวยงามผุดผ่องละมุนละไมอ่อนหวาน รักของแม่ชื่นบาน โชติตระการตราบจนโลกมลาย..." ![]() ภาพจาก deezer.com บูรพา อารัมภีร อดีตนายก สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ทายาทของ ครูแจ๋ว สง่า อารัมภีร เคยเล่าให้ฟังว่า "คุณพ่อท่านแต่งเพลงนี้ไว้นานแล้ว น่าจะก่อนปี พ.ศ. ๒๐๐๐ สักสองสามปี ท่านบอกว่าท่านอยากแต่งเพลงให้กับแม่เหมือนกับนักแต่งเพลงคนอื่น ๆ บ้าง แต่ชีวิตของท่านนั้นมีแม่สองคน คนหนึ่งคือ แม่พิศ อารัมภีร ซึ่งเป็นแม่ผู้ให้กำเนิด แม่อีกคนคือ หม่อมหลวงทรงสะอางค์ ทิฆัมพร ผู้ก่อตั้งคณะละคร "ศิวารมย์" ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดชีวิตในวงการศิลปินของท่าน เพลง "รักของแม่" จึงเป็นเพลงที่ท่านแต่งให้กับแม่ของท่านทั้งสองคนนี้" ![]() ครูสง่า และ คุณบูรพา อารัมภีร ภาพจาก บล็อกเพลง "ดวงใจ" ![]() ภาพจากาimagesfullhd.blogspot.com ข้อมูลจาก ryt9.com นสพ.แทบลอยด์ ไทยโพสต์ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๐ ![]() บีจีจากคุณเนยสีฟ้า ไลน์จากคุณญามี่ กรอบจากคุณ ebaemi Free TextEditor |
บทความทั้งหมด
|