ทฤษฎี รถประหยัดน้ำมัน ( จะเป็นไปได้มั๊ย? )




ทฤษฎี รถประหยัดน้ำมัน ( มั่วเองอย่าเชื่อมาก )

ก็อย่างที่รู้ๆกัน ปัญหาทรัพยากรขาดแคลน โดยเฉพาะทรัพยากรน้ำมัน กำลังเป็นปัญหาของโลก ไม่ใช่สาเหตุของใครคนใดคนหนึ่ง

รถยนต์ ถูกมองว่าเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดการขาดแคลนนี้ ด้วยปริมาณรถยนต์บนท้องถนนที่เพิ่มมากขึ้น ทุกวันๆ นโยบายประหยัดน้ำมันจึงถูกนำมาใช้กับเครื่องยนต์ของรถเป็นอันดับแรก


มีการแก้ไขปัญหานี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ อย่างการพยายามลดปริมาณรถยนต์ หรือ การรณรงค์ให้เปลี่ยนไปใช้พลังงานทางเลือกอื่น ซึ่งดูเหมือนผลที่ได้รับ จะไม่ถึงเสี้ยวหนึ่งของเป้าหมาย!!


และหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว คือการเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้า ในทางทฤษฏีนับว่าเป็นทางออกที่สวยหรูทีเดียว กับความเร็ว 120กิโลเมตรต่อชั่วโมง น่าจะจูงใจให้คนมาใช้ได้มาก

แต่ขอโทษ สารพัดปัญหาจิปาถะก็ตามมา ปัญหาหลักคือ ไฟฟ้าที่ได้จากแผงแบ๊ตเตอรี่ ยังไม่ต่อเนื่องพอให้รถวิ่งทางไกลได้ ด้วยข้อจำกัดในการประจุไฟ และน้ำหนักของตัวแบ๊ตเตอรี่ที่แปลผกผันกับพลังงานที่ต้องใช้ นี่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้รถในฝันต้องอยู่ในฝันต่อไป



นั่นแหละคือประเด็นหลักของเรื่อง หากปัญหาการขาดแคลนพลังงานน้ำมันถูกแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้ได้จริง (ซึ่งก็น่าจะได้ผล) ปัญหาเดียวที่มีอยู่ตอนนี้ คือขนาดการประจุไฟฟ้าของตัวรถ


ถ้าเรามองในมุมกลับ แทนที่เราจะห่วงกังวลกับปริมาณการประจุไฟในแต่ละครั้ง มิสู้เราเอาเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามายัดไว้ในรถเลย ไม่ดีกว่าหรือ??


ทฤษฎีนี้จะตั้งอยู่บนพื้นฐานดังนี้

1. รถไฟฟ้า สามารถวิ่งได้โดยอาศัยไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว

2. เครื่องกำเนิดไฟ ที่ต่อพ่วงเข้ากับแบ๊ตเตอรี่ สามารถผลิตไฟอย่างต่อเนื่องเพียงพอต่อการใช้งาน


ถ้าทำได้ดังนี้ รถในฝันก็สามารถเอามาใช้งานจริงได้ ถูกมั๊ย??

รถสามารถวิ่งได้โดยไม่ต้องจอดประจุไฟเพิ่ม !!


แต่ก็อย่างว่า เครื่องกำเนิดไฟเองก็จำเป็น ต้องได้รับพลังงานจากภายนอก แล้วจะเอาอะไรมาเป็นแหล่งพลังงานละ ??

ไม่น่าเชื่อเลยเนอะ พอผ่านปัญหาหนึ่งไปได้ ก็เจออีกปัญหาหนึ่งตามมา แต่ไม่เป็นไร เรามีคำตอบ

แหล่งพลังงานของเครื่องกำเนิดไฟในรถ ก็ได้พลังงานมาจากล้อทั้งสี่ที่กำลังหมุนอยู่นั่นแหละ จับเอาพลังงานที่เสียไป มารีไซเคิลย้อนกลับมาเข้าแบ๊ตเตอรี่อีกครั้ง



เฮ้ย!! พลังงานมันไม่สามารถย้อนกลับมาใช้ได้ทั้งหมดนะ... มันต้องมีคนพูดแบบนี้แน่ 555+ เพราะฉะนั้นจึงต้องใช้พลังงานอื่นมาเสริมไง

"น้ำมัน"ย้อนกลับมาเป็นพระเอกของเรื่องอีกครั้ง โดยใช้น้ำมันนี่แหละ ทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงาน ส่งไฟเข้าแบ๊ตเตอรี่อีกครั้ง


เฮ้ย !! (อีกครั้ง) งี้มันก็ไม่ประหยัดน้ำมันดิ...


ประหยัดดิครับ ทำไมจะไม่ประหยัด ลองนึกดูดีๆนะ เครื่องปั่นไฟเครื่องนึง ใช้น้ำมันสักเท่าไหร่เชียว สำหรับการสร้างกระแสไฟให้รถพอวิ่งไปได้เนี่ย

ถ้ามองตามความเป็นจริง ก็คงประมาณนี้

รถ A ใช้น้ำมัน G ลิตร วิ่งได้ระยะทาง C กิโลเมตร

ถ้ารถ A ใช้ไฟฟ้าจำนวน B วิ่งได้ C กิโลเมตร
ไฟฟ้าจำนวน B ส่วนนึงมาจาก แรงที่ล้อทั้งสี่ D บวกกับ พลังงานน้ำมัน F ลิตร

ถ้าจะให้รถในฝันเป็นจริง สมการก็ต้องออกมาแบบนี้

A/C < F+D/C


ที่นี้ก็ถึงคำถามล่ะ มีใครพอจะพิสูจน์สมการนี้ให้ผมได้มั๊ยครับ ว่ามันถูกหรือมันผิด???

 



UPDATE : ตอนนี้บล๊อกเราขยายคอนเทนท์เพิ่มขึ้นอีกช่องทางนะครับ เป็นช่อง youtube สำหรับเด็กๆ ใครเป็นเด็ก หรือสนใจคอนเทนท์แบบเด็กๆ หรือมีลูก มีหลาน ก็รบกวนกดติดตามกันสักนิด เป็นแรงให้เรามีกำลังใจผลิตคอนเทนท์ดีๆออกมาอีกครับ ขอบคุณครับ


Youtube  ว่ายน้ำกับพี่น้ำมนต์คร่าา.....


#หมูน้อยร้อยชั่ง



Create Date : 19 กันยายน 2550
Last Update : 9 มีนาคม 2562 0:04:05 น.
Counter : 1458 Pageviews.

8 comments
แคดเมียม Cadmium ความอันตรายของมัน สมาชิกหมายเลข 4149951
(8 เม.ย. 2567 07:11:22 น.)
สรุปวิชาโลกดาราศาสตร์และอวกาศชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.5) เรื่องทรัพยากรธรณี นายแว่นขยันเที่ยว
(28 ก.พ. 2567 00:03:41 น.)
มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 347 Rain_sk
(28 ก.พ. 2567 08:43:19 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
  
พลังงานที่ใส่เข้าไป = พลังงานที่ได้ + การสูญเสีย

พลังงานในน้ำมันที่เติมเครื่องปั่นไฟ = พลังงานไฟฟ้าที่ได้ออกมา + loss(ความร้อน,แรงเสียดทาน,ฯ)

ดังนั้น ผมว่า เป็นไปไม่ได้
โดย: ขันนอต IP: 202.142.195.77 วันที่: 19 กันยายน 2550 เวลา:16:38:29 น.
  
เรื่องการนำพลังงานการหมุนของล้อมาทำให้ล้อวิ่งได้อีกนั้น ไม่ว่าจะผ่านจากการแปลงพลังงานในรูปแบบใดๆ เพื่อให้กลกลับมาเป็นกลอีกครั้งหนึ่งนั้น จะเหลือเพียงพลังงานจลเท่านั้นครับ ไม่ว่าจะเอามาจากสี่ล้อหรือล้อเดียวก็ตาม
ดังนั้น ด้วยระบบนี้ถ้าแต่แรกเราออกแรงเข็นไปเพื่อให้มันวิ่งได้ตลอดไปแล้ว มันจะไปได้ระยะทางที่น้อยกว่ารถที่มีแต่ล้อเปล่าๆแต่ไม่มีเครื่องเลยครับ


เมื่อการนำพลังงานจากล้อมาใช้มีค่าเป็น 0 แล้ว ก็เหลือเรื่องเครื่องปั่นไฟฟ้าเท่านั่นครับ เหลือเพียงปัญหาว่า "เครื่องปั่นไฟเครื่องนึง ใช้น้ำมันสักเท่าไหร่เชียว" ซึ่งเป็นเรื่องทางวิศวกรรมการประดิษฐ์ ว่าการนำน้ำมันมาปั่นไฟฟ้าแล้วเอาไปปั่นล้อหมุนนั้น ประหยัดกว่าหลักการปกติในรถหรือไม่

ยังไงต้องไม่ลืมว่า จะเอาน้ำมันมาใช้ให้เครื่องอะไรหมุนได้ ก็ต้องมีลูกสูบภายใน ไม่ว่ารถหรือเครื่องปั่นไฟก็ตาม เมื่อมีลูกสูบเหมือนกัน ก็อาจจะหมดความจำเป็นที่ต้องแปลงเป็นไฟฟ้าก่อน โดยต่อจากกลไปสู่กลได้เลยครับ
โดย: สมภพ เจ้าเก่า วันที่: 19 กันยายน 2550 เวลา:19:57:30 น.
  
ถ้าทำได้ก็แจ๋วครับ หุหุ
โดย: pattapon วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:20:30:15 น.
  
อืม... งั้นความเป็นไปได้ทั้งหมดก็อยู่ที่ระบบทางวิศวกรรมการสร้างเครื่องปั่นไฟ ใช่มั๊ยครับ ??


เครื่องปั่นไฟที่ว่า ต้องมีคุณสมบัติ

1. น้ำหนักเบา ไม่กินแรงเครื่องยนต์เพิ่มมากนัก

2. ใช้น้ำมันน้อยกว่า สำหรับแรงไฟฟ้าที่ใช้ในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์ เมื่อเทียบต่อปริมาณการใช้น้ำมันสู่เครื่องยนต์โดยตรง
โดย: ฟาฬ IP: 58.10.65.196 วันที่: 21 กันยายน 2550 เวลา:9:47:03 น.
  
พลังงานที่ได้จากน้ำมัน สมมติ 100 J จะเปลี่ยนเป็นพลังงานกลได้ไม่ถึง 100 J เนื่องจากส่วนหนึ่งกลายไปเป็นความร้อน และเสียให้กับแรงเสียดทานในเครื่องยนต์ ยังไงๆ พลังงานกลก็จะไม่ถึง 100 J เมื่อเอาไปปั่น gen ก็จะมีค่า eff ของ gen ซึ่งไม่มีทางเป็น 100% มี loss แน่นอน ดังนั้น พลังงานไฟฟ้าที่ได้ก็ยิ่งน้อยลงไปอีก เอาไปขับมอเตอร์ ก็มีค่า eff เช่นกัน ซึ่งไม่มีทางถึง 100% แน่นอนพลังงานที่ที่เข้ามาน้อย ก็หายไปกับ loss อีก
ถ้าจะให้ประหยัดที่สุด ต้องผ่านอุปกรณน้อยที่สุดครับ เพราะในอุปกรณ์ต่างๆ มันมี loss
ถ้าให้อุปกรณ์ทุกชิ้นไม่มี loss มี eff 100% ก็จะได้เท่าที่ใส่เข้าไป เช่น เครื่องยนต์ วิ่ง 30 กม./ลิตร ถ้าต่อเข้า เข้า gen แล้ว ต่อเข้ามอเตอร์ เอาไปวิ่ง ทำไงก็ได้ไม่เกิน 30กม./ลิตร ตามกฎอนุรักษ์พลังงาน
พลังงานที่ใส่เข้าไป = พลังงานที่ได้ออกมา
โดย: 123456 IP: 202.142.195.77 วันที่: 21 กันยายน 2550 เวลา:10:37:55 น.
  
ทำไมไม่ลองสร้างดูละ ทฤษฏีต้องพิสูจน์ได้
โดย: Ghost IP: 202.28.117.232 วันที่: 17 มกราคม 2551 เวลา:16:59:50 น.
  
อยากทำแหละ แต่มะมีตังค์ -_-"
โดย: ฟาฬ IP: 119.42.67.80 วันที่: 28 เมษายน 2551 เวลา:9:13:58 น.
  
ทำแล้วหละ ใช้มอเตอร์22KWควบคุมด้วยกล่องอินเวอร์เตอร์ ใช้แบตเตอรี่12V80A 40ลูก น้ำหนักรถ2300กก โครงรถใช้ปิคอัพเก่าเอาเครื่องออกความเร็ววิ่งได้100กม/ชม เกินนี้กลัวยางระเบิดเพราะมันเก่า พวงมาลัยค่อนข้างว่างภาวะปกติวิ่งประมาณ60-70กม/ชม เวลาลงเนินจะมีกระแสย้อนกลับเข้าชาร์จแบตชาร์จไฟหนึ่งครั่งวิ่งได้100กม ถ้าจะไปไกลกว่านั้นต้องพกเครื่องปั่นไฟซัก15KVAไปด้วยอีกหนึ่งตัวนนแค่ร้อยกว่ากิโลแต่ราคาซื้อไม่ลงแสนกว่าเลยเอาไว้วิ่งเล่นในรัศมี50กมดีกว่าผมติดมิเตอร์เอาไว้ดูเวลาชาร์จไฟเฉลี่ยแล้วค่าไฟกมละ1บาทก็ดีกว่าขับดีแมกกมละ4บาทรอซักสิบปีรอFUEl Cell ,แบตเตอรี่ไฮโดรเจนน้ำหนักคงลดไปอีกหลายร้อยกิโลกรัม ใครมีข่าวสารเรื่องแบตเตอรี่ไฮโดรเจนเมล์มาบอกด้วยเด้อ จบข่าว
โดย: supachaihardware@hotmail.com IP: 118.172.247.38 วันที่: 22 มิถุนายน 2551 เวลา:19:36:00 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Farn.BlogGang.com

ฟาฬ
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]

บทความทั้งหมด