โครงการรุ่งอรุณสำหรับสมาชิกผู้เข้าสู่วัยทอง-วัยเกษียณในทศวรรษนี้
โครงการรุ่งอรุณยึดหลัก : ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน ในเนื้อที่ขนาด : เนื้อที่ 100-400 ตารางวา ควรเป็นพื้นที่สงบๆเล็กๆสบายๆ แบบนกน้อยทำรังแต่พอตัว อย่าไปมีสมบัติพัสถานให้รุงรังมาก เอาแค่สิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นสำหรับผู้สูงวัย ซึ่งควรมีกิจกรรมเหมาะกับวัย ควรได้อยู่กับธรรมชาติที่สงบ สะอาด ปลอดภัย อยู่ท่ามกลางพืชสมุนไพร ผักยืนต้น ผลไม้ที่ชอบ กล้วย มะละกอ มะนาว มะม่วง มะขาม อย่างละ 3 ต้น มีไม้ดอกไม้หอมตามชอบ สนามหญ้าเล็กๆ ไว้รับแขก จิบน้ำชา อาบแดด และ มีเก้าอี้นั่งชมดาวเดือน ฟังเพลงหมอลำ โอ้หน่อ. โอ้หน่อ ...ระยะระหว่างบ้าน ควรจะมีไม้ใหญ่ ไม้ป่า พยอม แดง ยาง ขี้เหล็ก ตะเคียน กั้นขวาง 2-3 แถว ไม่ไกลมากนัก พอได้ยินเสียงครกบ้านใกล้เรือนเคียงตำส้มบักหุ่ง มีถนนผ่านและแวะเข้าแต่ละหลัง กว้างพอเดิน ไสรถ ถีบจักรยาน กว้างประมาณ 5 เมตร เผื่อรถปิคอัพขนส่งของที่จำเป็น ควรมีรั้วรอบขอบชิดด้านนอก ด้านในแต่ละบ้านควรเป็นผักระบบชิดเป็นรั้ว ควรแบ่งพื้นที่ปลูกผัก ในแปลง/ในกระถาง ไม่มากนัก อยู่ขอบสนามหญ้า เพื่อยืดเส้นยืดสายออกกำลังกายเบาๆ ควรมีพื้นที่ส่วนกลาง ปลูกข้าว พืชอาหาร เลี้ยงไก่ไข่ เพื่อผลิตอาหารอินทรีย์ไว้ดูแลสมาชิกยามขาดๆเกินๆ ปัจจัยจำเป็นอื่นๆ น้ำ ไฟฟ้า wifi มีอินเตอร์เน็ตให้สามารถติดต่อทั่วโลก กฎกติกาก็ช่วยกันตั้งช่วยกันปฏิบัติ เรื่องดูแลสุขภาพ ก็ชวนหมอ-พยาบาล มาอยู่ด้วย มีเครื่องไม้เครื่องมือฉุกเฉินในการปฐมพยาบาล สำหรับแบบบ้าน ก็แล้วแต่ สมาชิกจะพิจารณา. (ทีมา: Sutthinun Pratchayapruet/facebook)

กรณีศึกษา: แรงบันดาลใจจากความป่วยไข้ที่คุณหมอผ่าตัดหัวใจเจอเข้ากับตัวเอง จนนำสู่มาเป็นจุดเปลี่ยนหันหลังให้กับอาชีพที่เคยทำมากว่า 20 ปี ค้นพบคำตอบบนทางเดินสายใหม่ในวัย 56 ปี กับการหันกลับมาศึกษาด้านเวชศาสตร์ครอบครัว  “ ส่วนตัวสนใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพมานานแล้ว จริงๆสมัยเป็นนักศึกษาแพทย์ก็อยากจะทำงานด้านส่งเสริมสุขภาพ แต่ชีวิตก็ถูกผลักดันให้ไปเป็นหมอผ่าตัดหัวใจอยู่ 20 กว่าปี ณ จุดหนึ่งสุขภาพตัวเองเริ่มแย่ มีอาการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่สุดเลยตัดสินใจก้าวลงจากการเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลมาทำเรื่องสร้างเสริมสุขภาพเรื่องเดียว “ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 2 เล่าถึงแรงบันดาลใจ ไม่ใช่แค่สุขภาพกายที่ย่ำแย่ น้ำหนักตัวขึ้น พุงโร ไขมันในเลือดสูง เข้าข่ายโรคหัวใจขาดเลือด แต่สุขภาพใจก็ทรุดไม่น้อยไปกว่ากันด้วยอาการของ “โรคซึมเศร้า”ที่เข้ามาคุกคาม  แต่หลังจากลองปรึกษาแพทย์รุ่นน้องที่เชี่ยวชาญด้านจิตเวช ลองรักษาโดยกินยาอยู่ 2 เดือนกว่า ก็ตัดสินใจโยนยาทิ้ง เพราะภรรยาบอกว่ายิ่งกินยานาน อาการยิ่งแย่ ความที่ไม่อยากรักษาอาการเจ็บป่วยทั้งกายและใจโดยใช้ยา ทำให้คุณหมอเลือกใช้วิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  การถอยกลับมาดูแลตัวเอง ทำให้พบว่ามีหลักฐานงานวิจัยมากเกินพอที่จะสรุปได้ว่า ยาไม่ใช่คำตอบเดียวของการรักษา แต่การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างการออกกำลังกาย การกินอาหารที่ถูกต้อง การจัดการความเครียดที่เหมาะสม สามารถลดอัตราการตายจากโรคหัวใจได้ แถมยังใช้รักษาโรคเบาหวาน โรคความดัน โรคไขมันในเลือดสูงได้ดีกว่ายาเสียอีก รูปแบบที่สองที่ผมกำลังทดลองอยู่ คือ รูปแบบที่เรียกว่า Health Camp คือเอาคนกลุ่มหนึ่ง เช่น เจาะเฉพาะคนที่อ้วนอย่างเดียว หรือคนเกษียณ ไปเข้าคอร์สปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสถานที่และเวลา 5-7 วัน ทดลองทำว่าจะต้องทำอย่างไรแล้วก็แยกย้ายกันกลับบ้าน  ส่วนรูปแบบที่สามที่อยากจะเริ่มทำโดยการใช้องค์กรท้องถิ่น เช่น อบต. สมาคมแม่บ้านตามชุมชนต่างๆ ซึ่งเขาพยายามส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีอยู่แล้ว เช่น มีชมรมร้องเพลงเก่า ชมรมออกกำลังกายตอนเช้า มีรำวงย้อนยุค ถ้าเราเข้าไปเสริมตรงนี้ แล้วก็มีวิธีที่จะให้เขาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จัดการปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพอย่างเป็นระบบก็น่าจะเกิดผลลัพธ์ที่ดีและขยายผลได้” (ที่มา:ผ่านพ้นจึงค้นพบ นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์)


"บทเรียนจากความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตวัยกลางคน"

1. เริ่มต้นออมเงินช้าเกินไป 2. ไม่ดูแลสุขภาพ 3. เที่ยวกลางคืนบ่อยเกินไป 4. เรียนรู้เรื่องการลงทุนช้าไป (ไม่ก็เรียนรู้แบบมั่วๆ) 5. เมินเฉยต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว/คนรัก (เพราะสนใจเรื่องงานหรือการสร้างตัวมากเกินไป)  6. ให้คุณค่ากับบางสิ่งมากเกินไป (ไม่รู้จักปล่อยวาง) 7. รับผิดชอบเรื่องของคนอื่นมากเกินไป 8. ตรึงเครียดกับชีวิตมากเกินไป 9. เพิกเฉยต่อปัญหา ไม่เคยตั้งคำถามและเรียนรู้ในความล้มเหลวที่เกิดขึ้น ...credit #inspiremylife (Wealth Creation/facebook)







Create Date : 26 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 14 มกราคม 2559 13:30:09 น.
Counter : 414 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
พฤศจิกายน 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
28
29
30
 
 
All Blog