พัฒนาชีวิตด้วยปัญญา และความดี
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2559
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
8 มิถุนายน 2559
 
All Blogs
 
ประสบการณ์ลงทุนหุ้นโภคภัณฑ์



ประสบการณ์ลงทุนหุ้นโภคภัณฑ์

หุ้นโภคภัณฑ์ หรือ หุ้นที่ผลิตสินค้า commodity เป็นหุ้นที่ลงทุนยากที่สุดในความคิดของนักลงทุนระยะยาว แต่ผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นประเภทนี้ก็สูงจนน่าสนใจในมุมมองของผมเอง...

money sonที่ผ่านมาพอร์ตการลงทุนส่วนตัวของผมแบ่งหุ้นออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ หุ้นโตเร็ว หุ้นปันผล หุ้นกลับตัว หุ้นวัฏจักร (โภคภัณฑ์) และหุ้นสินทรัพย์แฝง ... สำหรับหุ้นโตเร็ว และหุ้นปันผล จะเป็น “หุ้นประจำพอร์ต” และสร้างกระแสเงินสดทั้งจากส่วนต่างของราคา และเงินปันผลรับในแต่ละปี ทำให้ผมมีกระแสเงินสดมาใช้จ่าย เหลือจึงค่อยนำไปลงทุนทบต้น

อย่างไรก็ตาม... เมื่อฤดูการเพาะปลูกมาถึง ผมเองมักจะหันมามองหุ้นวัฏจักร หรือ หุ้นโภคภัณฑ์ และทยอยซื้อเก็บเข้าพอร์ตทุกครั้งที่ราคาล่วงลงมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งฤดูกาลเพาะปลูกมักจะมาหลังจากผ่านหน้าแล้งครั้งใหญ่ ผมจึงเริ่มเก็บสะสมหุ้นโภคภัณฑ์เอาไว้ในพอร์ต รอฤดูการ “เก็บเกี่ยว” หวนคืนกลับมาอีกครั้ง

หุ้นที่ผมเริ่มเก็บเข้าพอร์ต และหุ้นที่กำลังเฝ้าติดตามมีดังต่อไปนี้ครับ

ตัวแรก “หุ้นถ่านหิน”

สำหรับหุ้นถ่านหินผมเฝ้ารอวันตกต่ำมานาน หลายคนคงจำภาพได้หุ้นบ้านปูที่เคยทำจุดสูงสุดเกือบ 1 พันบาทต่อหุ้น แต่เมื่อราคาขึ้นไปสูงมากๆ มันก็เริ่มพังถล่มลงมา ราคาไหลลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันหลายปี จนบัดนี้ราคาที่ถูกแตกพาร์แล้วเหลือเพียง 12 บาทกว่า ... ผมเริ่มลงทุนหุ้นตัวนี้เมื่อได้ข่าว “เพิ่มทุน และแจกวอร์แรนต์” พอผมได้ข่าวว่าหุ้นบ้านปูจะเพิ่มทุน และแจกวอร์ฯ ผมก็วาดภาพของราคาหุ้นทันที และพบว่า...

banpu

ราคาหุ้นหลังมีข่าวราคาตกลงเหลือราว 11 บาทต่อหุ้น นั่นคือจังหวะการเก็บของ ผมจึงเข้าเก็บหุ้น BANPU เอาไว้จำนวนหนึ่ง และคิดว่า... ในวันใกล้ประกาศผู้ได้รับสิทธิ์เพิ่มทุน ราคาน่าจะขึ้นสูงอีกครั้ง และก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ราคาหลังจากประกาศวันได้รับสิทธิ์ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงวันขึ้นเครื่องหมายได้รับสิทธิ์ราคาก็ไปหยุดที่ราว 14 บาทต่อหุ้น ผมจึงขายออกทันที และได้รับสิทธิ์เพิ่มทุน 2:1 (สองหุ้นเดิมต่อหนึ่งหุ้นใหม่) แถมยังได้รับแจกวอร์แรนต์อีกในจำนวนเท่ากับที่ได้รับการเพิ่มทุน ... เมื่อผมทำการเพิ่มทุนเสร็จ ทุนบ้านปูของผมจึงอยู่ราวๆ 5 บาทต่อหุ้นเท่านั้นเอง

ทำไมผมจึงซื้อบ้านปู เพราะผมคิดว่าโอกาสที่จะได้หุ้นราคาถูกๆ มาแล้ว... มีคนหยิบยื่นโอกาสแบบนี้ให้ทำไมผมจะไม่รับล่ะครับ? แถมหุ้นบ้านปูยังมีสินทรัพย์เป็นเหมืองถ่านหินอีกกว่า 700 ล้านตัน ในราคาเก่า หากราคาถ่านหินปรับตัวสูงขึ้นมูลค่าหุ้นก็ต้องเพิ่มตาม ยังไม่นับโครงการโรงไฟฟ้าของบริษัทย่อยอีก (อ่านเต็มที่นี่ครับ “คลิ๊กอ่านโรงไฟฟ้าบ้านปู”) ยังมีอีก... บ้านปูเริ่มมีแผนพัฒนาการของแผนกลยุทธ์และการลงทุนในธุรกิจก๊าซธรรมชาติอีกด้วย เรียกได้ว่าในขณะที่วัฏจักรถ่านหินตกต่ำ แต่บ้านปูก็ไม่ได้หยุดนิ่งแต่อย่างใดครับ

ตัวที่สอง “หุ้นโรงกลั่น”

สำหรับหุ้นโรงกลั่นน้ำมันนั้นปัจจัยหลักๆ ที่จะทำให้กำไร หรือขาดทุนก็คือ “ค่าการกลั่น” สำหรับโรงกลั่นทีผมเข้าเก็บนั้นมีค่าการกลั่นที่ตกต่ำมานานเนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ค่าการกลั่นตกต่ำกว่า 3 เหรียญต่อบาเรลล์ เลยทีเดียว ราคาหุ้นก็ตกตามไปด้วย และสถานะทางการเงินของหุ้นโรงกลั่นก็ไม่ได้ดีนัก

Fin 288ผมเห็นโอกาส ประกอบกับการคิดด้วยส่วนตัวว่า หากค่าการกลั่นตกต่ำแบบนี้นานๆ โรงกลั่นคงต้องปิดกิจการเนื่องจากแบกรับขาดทุนไม่ไหว ผมเองลองเข้าไปเจาะงบการเงินของกิจการและพบว่า หนี้สินต่อทุนปรับตัวสูงขึ้น สภาพคล่องตกต่ำลง (ต่ำกว่า 1 เท่า) ถึงแม้จะรู้สึกว่าเสี่ยง แต่คิดว่าค่าการกลั่นจะตกต่ำแบบนี้ไปตลอดเชียวหรือ? ทำให้ผมลองตัดสินใจซื้อหุ้นโรงกลั่นมาหนึ่งตัว

ปัจจุบันค่าการกลั่นปรับตัวสูงขึ้นเป็น 7 เหรียญต่อบาเรลล์ ทำให้กำไรสุทธิของกิจการดีขึ้นมาก แต่ราคาก็ยังไม่กลับมาอย่างที่ควรจะเป็น ผมจึงตัดสินใจถือต่อไป เพื่อดูว่าตลาดจะตอบสนองอย่างไร หรือราคาน้ำมันยังไม่มีแววว่าจะเป็นขาขึ้น ไม่เป็นไรครับ รับเงินปันผลไปก่อนล่ะกัน ...

ตัวที่สาม “หุ้นเหล็ก”

หุ้นเหล็กผมเคยเขียนไว้ในตอนที่ผ่านๆ มา (อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก “หุ้นเหล็กตัวเล็ก แต่ใจใหญ่”) ที่ผมตัดสินใจซื้อหุ้นตัวนี้เนื่องจากสถานการณ์เหล็กในประเทศไทยน่าจะดีขึ้น เพราะมีโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นถนน ทางรถไฟ รถไฟฟ้า แม้แต่คอนโดมิเนียม อสังหาริมทรัพย์ก็น่าจะปรับตัวคึกคักขึ้น

แน่นอนที่สุดว่า... หากราคาเหล็กกลับมาดี หุ้นก็จะขึ้น แต่เราต้องระมัดระวังไว้หน่อย เพราะหุ้นเหล็กนั้นมีคู่แข่งหลายเจ้ามากมาย และใครๆ ก็กลับมาเพิ่มกำลังการผลิตเหล็กได้หากความต้องการกลับมา ... มีอีกจุดหนึ่งที่ทำให้ผมสนใจหุ้นกลุ่มนี้ เพราะหุ้นบางตัวมีความเป็น "หุ้นสินทรัพย์แฝง" คือ หุ้นเหล็กบางตัวมีที่ดินที่ยังไม่ถูก "ปลดล็อก" หรือมีสินทรัพย์แฝงอื่นๆ ที่น่าสนใจ แต่การเล่นหุ้นประเภทสินทรัพย์นั้น กุญแจไขหีบสมบัติไม่ได้อยู่กับเรา แต่อยู่กับเจ้าของกิจการ เราจึงไม่ควรคาดหวังในจุดนี้ให้มากนัก นอกจากจะถึงเวลาปลดล็อกแล้วจริงๆ จึงน่าสนใจลงทุน

อย่างไรก็ตาม... การลงทุนในหุ้นวัฏจักรนั้นต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก แต่ผมถือคติ “ซื้อทางต่ำ” และตั้งจุด CUT LOSS เอาไว้ไม่เกิน 10% หากปัจจัยไม่เป็นไปตามที่คาด ก็ต้องพร้อมที่จะตัดขาดทุน เพื่อรักษาเงินต้นเอาไว้ แม้การลงทุนในหุ้นโภคภัณฑ์สำหรับผมจะเป็นสัดส่วนที่น้อยไม่ถึง 10% ของพอร์ต แต่ก็ต้องปลอดภัยไว้ก่อน เพราะเงินนั้นหายาก ถ้าไม่มั่นใจจริงๆ การหลีกเลี่ยงหุ้นกลุ่มนี้ถือเป็นความคิดที่ชาญฉลาดเช่นกันครับ

คำเตือน การวิเคราะห์หุ้น การลงทุนรูปแบบต่างๆ และเทคนิคการลงทุนในหุ้นเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร ผู้เขียนบทความไม่รับผิดชอบต่อความเสี่ยง หรือความเสียหายในการลงทุนของผู้รับข้อมูลนะครับ

หนังสืออสังหาฯ เปลี่ยนชีวิต : ลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ผ่านหุ้นอสังหาฯ

ปก หุ้นอสังหาที่มาของหนังสือเล่มนี้มาจากการที่ผม นายแว่นธรรมดา ได้กระโดดเข้าสู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ 3 ธุรกิจ อันได้แก่

1) ผมลงทุนเก็งกำไร กับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการซื้อคอนโดมิเนียมปล่อยเช่า ซื้อคอนโดมิเนียมปล่อยขาย ซื้อทาวน์เฮ้าส์ปล่อยเช่า และปล่อยขาย

2) ผมทำกิจการ “สื่อ” ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการก่อตั้งเว็บ //www.topofliving.com

3) ผมลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ผ่านการซื้อหุ้นอสังหาฯ

การที่ผมเข้าไป “คลุกคลี” กับวงการอสังหาฯ ทำให้ผมรู้สึกว่า... “อสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่จุดเปลี่ยนสำคัญ” นั่นคือจะมีการเติบโตครั้งใหม่เกิดขึ้น!

ทำไมผมจึงคิดเช่นนั้น? ไปหาคำตอบกันเลยครับ...

บทนำ : “ภาพใหญ่” ของประเทศไทยในอนาคตจะเป็นอย่างไร? เกี่ยวข้องกับหุ้นอสังหาหรือไม่?

บทที่ 1 : ภาพตลาดโดยรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย

บทที่ 2 : ข่าวในวงการอสังหาริมทรัพย์ บอกอะไรเราได้บ้าง

บทที่ 3 : Back Log หุ้นอสังหาริมทรัพย์ บอกอะไรเราได้บ้าง

บทที่ 4 : ทำไมคอนโดติดสถานีรถไฟฟ้าจึงเป็นที่นิยม

บทที่ 5 : เรื่องที่ต้องรู้ เมื่อวิเคราะห์หุ้นอสังหาริมทรัพย์

บทที่ 6 : เปรียบเทียบการลงทุน

บทที่ 7 : วิเคราะห์งบการเงิน หุ้นอสังหาริมทรัพย์ บอกอะไรเราบ้าง?

คลิ๊กรายละเอียดหนังสือที่นี่เลยครับ

อ่านหุ้นที่เกี่ยวข้อง และหุ้นโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ "คลิ๊กเลย"

อ่านทุกเรื่องราวของความสำเร็จที่คุณทำได้อย่างแน่นอน "คลิ๊กอ่านที่นี่"

#ช่องทางการติดตามข้อมูล #นายแว่นธรรมดา

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการติดตามข้อมูล โดยเฉพาะสมาชิกเว็บ www.naiwaen.com ท่านสามารถติดต่อโดยตรงได้ที่ naiwaentammada@gmail.com

หรือเข้าไปติดตามบทความในรูปแบบคลิ๊ปเสียงที่ https://www.youtube.com/channel/UCcQxvgiObaaA2DI3UOqrXZw

เพื่อนๆ ยังสามารถเข้าไปติดตามความเคลื่อนไหวใหม่ล่าสุดที่บล็อกพันทิป //www.bloggang.com/mainblog.php?id=naiwaentammada(ปัจจุบันมียอดเพจวิวกว่า 3.1 ล้านวิว)

หรือยังไม่จุใจท่านยังสามารถเข้าไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกันที่นี่ครับ https://plus.google.com/u/0/118319315169248364407

สำหรับเรื่องราวของอสังหาริมทรัพย์... เพื่อนๆ สามารถเข้าไปหาข้อมูลที่ต้องการได้ที่นี่ www.topofliving.com

และเตรียมพบกับเว็บบอร์ดคุยเรื่องหุ้นเร็วๆ นี้นะครับ

ยินดีต้อนรับทุกท่าน อีโมติคอน grin
สำหรับ "นายแว่นธรรมดา" แล้วเราจะทำให้เพื่อนๆ ทุกท่าน

"มีชีวิตที่ง่าย และดี"

ขอแนะนำเว็บไซค์เกี่ยวกับบ้าน และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ //www.topofliving.com

mini LOGO TOP




Create Date : 08 มิถุนายน 2559
Last Update : 8 มิถุนายน 2559 12:27:29 น. 0 comments
Counter : 818 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ตี๋2555
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 165 คน [?]




สวัสดีครับผม "นายแว่นธรรมดา" ผู้เขียนหนังสือขายดี "รวยหุ้นแบบ VI ไม่เสี่ยง" หนังสือ "หุ้น 5 พารวย" และเป็นผู้ก่อตั้ง http://www.naiwaen.com เว็บไซค์การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และ Money Market อีกมากมาย
และ http://www.topofliving.com เว็บไซค์เกี่ยวกับการเลือกซื้อบ้านหลังแรก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยนิยามส่วนตัวก็คือ ทำให้ความมั่งคั่ง กลายเป็นเรื่อง "สนุก"
หากต้องการข้อมูลข่าวสารการลงทุนอย่างรวดเร็ว และเชื่อถือได้ แวะไปกด LIKE ที่นี่นะครับ https://www.facebook.com/NaiwaenTammada

ผมยินดีที่ได้รู้จักเพื่อนๆ นักลงทุนทุกท่าน ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ
Free counters!
New Comments
Friends' blogs
[Add ตี๋2555's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.