มิถุนายน 2551

1
2
3
4
5
6
7
8
9
11
12
13
15
18
19
20
21
22
23
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
บทส่งท้าย "วาทกรรมระบอบทักษิณ" กับรายจ่ายที่แสนแพง?
ก่อนที่จะเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน วาทกรรม"ระบอบทักษิณ" ซึ่งเป็นถ้อยคำ "การเมือง" ที่มีพลังงานอย่างมาก ได้ถูกใช้อย่างติดปาก มีเสียงกระหึ่ม อย่างกว้างขวาง ในฝ่ายต้านทักษิณ ทั้งในหมู่นักวิชาการทั้งหลาย ในมหาวิทยาลัย สื่อมวลชน นักกฎหมาย นายทหาร เอ็นจีโอ นักศีกษา ประชาชน รวมทั้งราษฎรอาวุโส ซึ่งต้องยอมรับว่า สุดท้ายได้นำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาลทักษิณ และฉีกรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปี 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญ ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามีที่มา และศักดิ์แห่งกฎหมายที่น่าศรัทธา เพราะแก่นแกนของรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ ได้งอกเงยมาจากสิ่งที่เรียกว่า “ความเชื่อมั่น ไว้วางใจในประชาชน เชื่อในศักยภาพ และขีดความสามารถของประชาชน” ซึ่งนั่นคือหัวใจของระบอบประชาธิปไตย เพราะการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น หมายถึงการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน( สังเกตุ หรือไม่ว่า คำกล่าวนี้ มีนัยยะของ สิ่งที่ไม่ใช่ประชาชนแฝงอยู่ในถ้อยคำ และนั่นแหละคือ สิ่งที่ประชาธิปไตย จะต้องไปให้พ้น)
การฉีกรัฐธรรมนูญ ปี 2540 นั้น เป็นเพราะหลายคนเกิดความหลงผิด เพราะไม่รู้ตัว และ/หรือ ได้เผลอออกไปจากพื้นที่ของระบอบประชาธิปไตย ไปสู่พื้นที่ของเผด็จการ ซึ่งหลายคนคิดว่า การทำเช่นนั้น "ไม่มีรายจ่าย" หรือ มองว่า"ไม่มีความเสียหายที่เกิดขึ้น" ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ผิด อย่างมาก นักวิชาการ สื่อมวลชน นักกฎหมาย หลายคนได้บอกว่า ระบอบทักษิณ ทำให้องค์กรอิสระต่างๆ ในรัฐธรรมนูญ ไม่ทำงาน ถูกแทรกแซง ระบอบประชาธิปไตยได้ถูกทักษิณ ทำลายไปแล้ว ดังนั้น "การรัฐประหารครั้งนี้ จึงมีความชอบธรรม และเป็นรัฐประหารที่ดี ผู้ที่ทำไม่มีลักษณะของเผด็จการ มีคุณธรรม มีเนื้อใน เนื้อหา ที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งดีกว่า การอยู่ในระบอบประชาธิปไตย ที่เป็นเพียงแต่รูปแบบ เต็มไปด้วยนักเลือกตั้งสามานย์ ที่เข้าสู่ระบบ อย่างไม่ชอบธรรม และเข้าไปคอรัปชั่น" ดังนั้น การรัฐประหารจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และยอมรับได้ แต่หารู้ไม่ว่าการทำเช่นนั้น เท่ากับได้ทำลายรูปแบบ หรือโครงสร้าง ของระบอบประชาธิปไตย ลงไปด้วย ซึ่งรูปแบบหรือโครงสร้างของระบอบประชาธิปไตยนั้น ถือเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุด ยิ่งกว่าเนื้อหา ที่สามารถปรับเปลี่ยน แก้ไขไปได้ แต่สำหรับโครงสร้าง หรือรูปแบบ นั้นต้องคงอยู่ และนี่คือประเด็นที่เป็นจุดพลิกผันที่สำคัญ ในเหตุแห่งความยุ่งเหยิงวุ่นวายของบ้านเมืองในครั้งนี้

มีคำอยู่สอง คำที่เราต้องให้ความสนใจอย่างสูงสุด และเราต้องนำมาถกเถียงกันให้เกิดความชัดเจน ณ ที่นี้ นั่นก็คือคำว่า

"รูปแบบ "
และ"เนื้อหา"

คำสองคำนี้ ถือเป็นแก่นแกนทัศนะ ที่มีการปะทะกันระหว่าง สองฟากนักวิชาการ ปัญญาชน สื่อมวลชน อย่างมาก แต่ไม่มีใคร หยิบยกขึ้นมา โต้เถียงกันตรงๆ โดดๆ ซึ่งขอให้สังเกตุคำสองคำนี้ ให้ดี เพราะนี้คือ สิ่งที่ทำให้ เกิดอวิชชา และความหลงผิด ได้ง่ายมาก

ก่อนที่จะกล่าว ต่อไป ผู้เขียนจะต้องหาเรื่อง- ตัวอย่างมาเปรียบเทียบให้ เกิดภาพที่ชัดเจนว่า ระหว่าง "รูปแบบ" และ"เนื้อหา" ของสิ่งที่เรียกว่า ระบอบประชาธิปไตย ว่ามีความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กัน อย่างไร

ถ้าเปรียบคำว่าระบอบประชาธิปไตย เป็นดุจแตงโม ลูกหนึ่งจะได้หรือไม่?
หากเราจะสอนลูกของเรา ซึ่งยังเด็กอยู่ ให้รู้จักแตงโม เมื่อลูกเราถามว่า แตงโมหน้าตาเป็นอย่างไร เราจะอธิบายรูปลักษณะของแตงโม ว่าอย่างไร
หนึ่ง เราจะต้องบอกถึงรูปร่าง(Shape)หรือฟอร์มของแตงโมเสียก่อนว่า มันเป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปทรง กลมรี หรือมีลักษณะเกือบเป็นทรงกลม เปลือกของมันโดยทั่วไป มีสีเขียว บางพันธ์มีสีเขียวลาย มีขนาดเล็กกว่าลูกฟุตบอล หรือมีขนาดประมาณ ลูกวอลเลย์บอล และสองจะต้องอธิบายเนื้อในของมันว่า พันธุ์ที่ต้องการ จะนำมาปลูก เป็นพันธุ์ที่มีสีอะไร แตงโมเดี๋ยวนี้ มีเนื้อหลายสี โครงสร้างของมวลเนื้อของมันมีลักษณะ คล้ายเยื่อบางๆ เกาะเกี่ยวกันไปอย่างไร และมีเมล็ดแปะอยู่ตามวงเนื้อที่เป็น รูๆคล้ายรังผึ้ง อย่างไรมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากน้อยแค่ไหน


นี่คือการอธิบายลักษณะของแตงโม ว่า สิ่งที่จะเรียกกันว่าแตงโมได้นั้น จะต้องมีรูปร่างหน้าตา ภายนอกเป็นอย่างไร และเนื้อในควรจะต้องเป็นอย่างไร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เราจะต้องอธิบายทั้งรูปแบบ หรือโครงสร้าง และเนื้อใน หรือเนื้อหาของแตงโมว่า มีลักษณะอย่างไร จึงจะสรุปได้ว่า นั่นคือผลไม้ที่เรียกกันว่า แตงโมหรือไม่ ถ้าอธิบายผิดไป เช่นไปอธิบายรูปร่างหรือเนื้อหาผิดไป ก็ย่อมไม่ใช่แตงโม แต่อาจจะเป็น แตงกวา หรือแตงร้านไปก็ได้
โปรดสังเกตุว่า ก่อนที่เราจะอธิบายเนื้อหา เราจะต้องอธิบาย หรือวาดภาพของโครงสร้างของแตงโม ให้ทุกคนได้เข้าใจ ให้เห็นเป็นรูปแตงโมเสียก่อน เราถึงจะอธิบาย หรือใส่เนื้อในของแตงโมเข้าไปเกาะเกี่ยว โครงสร้างนั้นได้ และหลังจากอธิบายรูปแบบของแตงโมแล้ว เราถึงจะได้อธิบายต่อไปว่า เนื้อใน ของแตงโม นั้นจะต้องเป็นอย่างไร ถึงจะเรียกว่า แตงโม สมบูรณ์แบบ

นี่คือตัวอย่างของหลักการที่เกี่ยวพัน ระหว่างสิ่งที่เรียกว่า "รูปแบบ" และ"เนื้อหา"!

ฉันใด ก็ฉันนั้น สิ่งที่เรียกว่า "ระบอบประชาธิปไตย" ก็เฉกเช่นเดียวกัน
เนื้อหาจะอยู่ได้ ก็ต้องเกาะเกี่ยวอาศัย ด้วยโครงสร้าง หรือรูปแบบ เป็นที่อยู่อาศัย
ดังนั้น การพูดว่า รัฐธรรมนูญปี 2540 สร้างประชาธิปไตยได้แต่เพียงรูปแบบ เราจึงควรสนับสนุนให้มีรัฐประหาร ให้มีการฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญปี 40 โดยคณะรัฐประหารและสร้างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ จึงเป็นวิธีคิดที่ผิดพลาด อย่างร้ายแรง โดยหารู้ไม่ว่า นั่นเท่ากับเป็นการทำลายโครงสร้าง หรือรูปแบบของระบอบประชาธิปไตยลงไป โดยเฉพาะได้ทำลายสิ่งที่เรียกว่า "โครงสร้าง" แห่งกระบวนการก่อเกิดรัฐธรรมนูญ " ที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และไม่รวม"โครงสร้างภายใน" ที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง นั่นคือ โครงสร้างทางจิตสำนึกทางการเมือง ที่มีความไว้วางใจเชื่อมั่นและศรัทธา ในประชาชน" ก็ได้ถูกทำลายลงไปพร้อมๆกับ รัฐธรรมนูญใหม่ ที่มีกำเนิดมาจากการรัฐประหาร และได้ดำเนินไป ภายใต้จิตสำนึกทางการเมือง ในรูปแบบใหม่ โดยไม่มีความไว้วางใจ ไม่เชื่อมั่น ศรัทธาในประชาชน อย่างแท้จริง
แทนที่เราจะรักษา โครงสร้าง รูปแบบเอาไว้ เพื่อปรับเปลี่ยนเฉพาะเนื้อหา ให้เหมาะสม สอดคล้อง กับภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดแปลกอะไร
แต่เรากลับสนับสนุน ในสิ่งที่ตรงกันข้าม นันก็คือปลิ้นเนื้อหาออกมา ตั้งวางไว้ แล้วก็ชี้บอกกันว่า "นี่ต่างหากคือระบอบประชาธิปไตย"
สุดท้ายก็เลยเกิดเหตุการณ์ ในทำนอง "เผาบ้านทั้งหลัง เพื่อไล่หนูตัวเดียว" เกิดขึ้นดังกล่าว

และสิ่งเหล่านี้ ได้ก่อผลสะเทือน อย่างมหาศาลแก่สังคมไทยโดยรวม และก่อให้เกิดความขัดแย้ง อย่างสูงในหมู่ประชาชน จวบจนถึงขณะนี้

นี่คือความผิดพลาดครั้งใหญ่ของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทย ที่ถือว่าเป็นรายจ่าย ที่แพงมหาศาล ซึ่งตีเป็นมูลค่าไม่ได้

ขอย้ำอีกครั้งว่า ประเด็นสำคัญอยู่ที่ความเข้าใจผิด เรื่องการทำลายรูปแบบ หรือระบอบการปกครอง โดยการใช้พื้นที่ยืนของเผด็จการ และเอาเนื้อหามาเป็นตัวตั้ง ซึ่งทำให้ทุกอย่าง พิกลพิการ บิดเบี้ยวไปหมด

อันที่จริงโครงสร้าง รูปแบบ หรือระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ต้องถือได้ว่าเป็นหัวใจของการปกครองเลยที่เดียว เพราะมันเป็นตัวควบคุมองคาพยพ ในทุกส่วนของระบบเอาไว้ เปิดโอกาสให้ทุกๆคน ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น แสดงตัวตนของตน ใช้สิทธิทางการเมือง และอาสาทำการเมือง ไม่ว่าใครคนนั้นจะเป็นใครก็ตาม เมื่อเข้ามาอยู่ในระบบก็ต้องอยู่ภายใต้กฎกติกาอันเดียวกัน ไม่เกียงด้วยว่า ใครจะเคยทำอะไรมาก่อน เป็นคนอย่างไร มีทัศนคติ อย่างไร ล้วนเปิดกว้างให้มีโอกาสเข้าสู่ระบบได้ทั้งสิ้น ซึ่งนี่คือสิ่งที่เรียกว่า "เนื้อหา" ทางการเมือง ซึ่งมีโอกาสที่จะปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม แก่สถานการณ์ จึงจะเห็นได้ว่า ตัวเนื้อหา มีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงได้ตลอด และโดยไม่จำกัด

พูดง่ายๆว่า ถ้าเรายึดโครงสร้าง หรือรูปแบบของระบอบประชาธิปไตย เป็นหลัก และระบอบประชาธิปไตย มีความมั่นคง แข็งแรง ดีแล้ว ต่อให้คนที่มีลักษณะเผด็จการอย่าง"ฮิตเลอร์" หากกลับชาติมาเกิดได้ และนึกอยากจะมาสมัครเป็นผู้แทนกับเขา ระบอบประชาธิปไตย ก็จะต้องพร้อมที่จะเปิดรับ หรือไม่ควรจะไปกำจัดสิทธิอะไร ผู้เขียนเชื่อว่า ถ้าฮิตเลอร์ได้เข้าสู่ระบบอย่างถูกต้องตามครรลองของประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง มีกฎกติกา และระบบการตรวจสอบ ถ่วงดุล ในระบอบประชาธิปไตยที่แข็งแรงดีแล้ว เชื่อว่าฮิตเลอร์น่าจะเชื่องลง โดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้ ทั้งนี้ เพราะระบบที่ดีได้ครอบเขาเอาไว้.
เราอาจจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อควบคุมฮิตเลอร์ให้อยู่ในกรอบ และกฎกติกา ก็สามารถทำได้
หากฮิตเลอร์สร้างปัญหาให้เรา เราก็ต้องขับไล่เขาด้วยระบบรัฐสภา และเราไม่จำเป็นต้องขับไล่ฮิตเลอร์ ด้วยการเรียกร้องทหารให้ออกมา รัฐประหารเพื่อฉีกรัฐธรรมนูญ!

ผู้เขียนขอยอมรับว่า ไม่มีข้อมูลรอบด้าน สมบูรณ์แบบเพียงพอ ที่จะวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทยว่า มันเกิดขึ้นเพราะอะไร มีสาเหตุอะไร
อาจมีเรื่องซับซ้อน ซ่อนเงื่อนอยู่ ก็มีทางเป็นไปได้ แต่นั่นคงไม่ใช่เรื่องของประชาธิปไตยโดยตรง และน่าจะเป็นเรื่องผลประโยชน์โภชน์ผลเสียมากกว่า ดังนั้นบทความนี้ ไม่ต้องการจะคุยด้วย เพราะคงจะคุยกันไม่รู้เรื่อง!

แต่หากความวุ่นวายทางการเมือง ที่กำลังเกิดขึ้น และยังมองไม่เห็นทางที่จะจบลงนั้น เกิดขึ้นจากวิธีคิดหรือทัศนะที่สำคัญยิ่งอันหนึ่ง ที่ทำให้เกิดข้อถกเถียง ตีความ เกี่ยวกับเรื่อง"รูปแบบ" และ"เนื้อหา"ของระบอบประชาธิปไตย ดังที่ผู้เขียนได้วิเคราะห์เสนอมานี้ ก็ได้แต่หวังว่าบทความนี้ จะสามารถนำไปเป็นข้อคิดกระตุ้นเตือน แก่ผู้ที่เป็นปัญญาชนที่หลงผิด หรือเผลอเรอ ออกนอกพื้นที่ของระบอบประชาธิปไตยทั้งหลาย ให้หันกลับทบทวนมาหลักคิด และหลักวิชาการที่ถูกต้องของปรัชญาแห่งระบอบประชาธิปไตย เพื่อจะได้ ไม่ต้องล้มลุกคลุกคลาน วนเวียนอยู่ในวงจรอุบาทว์ของการรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญ -ร่างรัฐธรรมนูญ กันอยู่อย่างนี้ อีกต่อไป และหากเป็นเช่นนั้น ก็เท่ากับว่า บทความนี้ได้บรรลุจุดประสงค์แล้วอย่างสมบูรณ์




Create Date : 24 มิถุนายน 2551
Last Update : 26 มิถุนายน 2551 8:27:35 น.
Counter : 746 Pageviews.

3 comments
  
ค่ะรอติดตามตอนต่อไปค่ะ
โดย: Madame Kp วันที่: 24 มิถุนายน 2551 เวลา:3:42:52 น.
  
สรุปว่าสิ่งที่ทักกี้ทำไว้ถูกแล้วใช่ปะ
โดย: ติ๊ก IP: 202.91.18.192 วันที่: 25 มิถุนายน 2551 เวลา:19:27:53 น.
  
ขอบคุณความเห็นที่ 1 ครับ

คุณติ๊ก.. ไม่ทราบว่า คุณทำเป็นไม่เข้าใจ และแกล้งแหย่ผม หรือเปล่า เพราะประเด็นที่ผมพูดคือเรื่อง "รูปแบบ" และ"เนื้อหา" ของระบอบประชาธิปไตยครับ
โดย: เนื่อง มาจากเหตุ วันที่: 1 กรกฎาคม 2551 เวลา:16:54:13 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เนื่อง มาจากเหตุ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]