กรกฏาคม 2551

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
โต้ -ข้อเสนอปฎิวัติประชาธิปไตยของหมอประเวศ -ทำนอง ไปไหนมา สามวาสองศอก?
หลักการปฏิวัติประชาธิปไตยของหมอประเวศ

1.ปฏิวัติจิตสำนึกประชาธิปไตย
2.กระจายอำนาจ อย่างทั่วถึง
3.สิทธิในการสื่อสารโดยประชาชน
4.การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางนโยบายในการพัฒนาโครงการและในการตรวจสอบอำนาจรัฐทุกระดับ
5.ระบบความยุติธรรมที่อิสระและเข้มแข็ง
6.เสรีภาพของสื่อมวลชน
7.กลไกการตรวจสอบและคานอำนาจฝ่ายบริหาร
8.คุณภาพของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
9.การเมืองภาคประชาชน

ขออภัยในความไม่สะดวก !
ผมจะเขียน-วิจารณ์หลักการฯข้างต้นของหมอประเวศ ด้วยความเคารพและศรัทธา -เป็นส่วนมาก (ยกเว้นในบางเรื่อง ที่ไม่ศรัทธา) เมื่อพร้อมในไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า

22/07/51

ก่อนจะเขียน จะกล่าวอะไรต่อไป ผู้เขียนอยากจะสารภาพกับท่านผู้อ่าน สักเล็กน้อยว่า จริงๆ แล้ววันนี้ ผู้เขียนยอมรับว่า รู้สึกเหนื่อยกับงาน อันเป็นเรื่องส่วนตัวของผู้เขียนจริงๆ. งานนั้นเป็นเรื่องของการทำมา หาเลี้ยงชีพ เฉกเช่นประชาชนโดยเฉลี่ย ทั่วไป.
แต่เนื่องจากว่า ผู้เขียนได้โปรยเรื่องปิดท้ายบทความเอาไว้ว่า ผู้เขียน-จะเขียน-วิจารณ์ เมื่อผู้เขียนพร้อม ในไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า จึงบังคับ ทำให้ผู้เขียนต้องรับผิดชอบ ในสิ่งที่ผู้เขียนกล่าวปิดเอาไว้ เมื่อวาน.แต่โดยดี แม้ไม่ค่อยมั่นใจว่าจะเขียนได้จบ เสร็จสิ้นกระบวนความ ตามที่ตัวเองต้องการหรือไม่ เพียงใด?

อีกข้อหนึ่ง ที่ทำให้ผู้เขียนยอมรับว่าเหนื่อย และหน่าย มากขึ้น ก็เนื่องมาจากปัญหาความวุ่นวาย ทางการเมืองที่ปรากฎอยู่ ทุกเมื่อเชื่อวันนี้ ซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อใดจะจบสิ้นลง เสียที.

แต่ที่ทำให้เครียดมากที่สุด ก็คือบทความที่จั่วหัวไว้ข้างบนนั้น เป็นโจทย์ข้อใหญ่ ที่ผู้เขียนต้องพยายามแก้ไขให้ตกไป และต้องแก้ด้วยความมีเหตุมีผลเที่ยงตรง อย่างที่สุด นั่นก็เพราะว่า สิ่งผู้ที่ผู้เขียนจะวิเคราะห์-วิจารณ์ถึง นั้น ถือว่าเป็นความคิด ความอ่านของบุคคลที่เรียกได้ว่า มีต้นทุนทางสังคมสูง และมีความรู้ด้านพุทธศาสตร์ที่สามารถ แม่นยำในการอ้างอิง คนหนึ่งของไทย.

แต่เอาเถอะ ในเมื่อเรายอมรับกันแล้วไม่ใช่เหรอว่าประเทศเรา อยู่ในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น การแสดงความเห็นโดยสุจริตใจ จึงน่าจะเป็นเรื่องที่ได้รับการส่งเสริม
ถ้าคิดแต่ว่า ตัวเรานี้เป็นผู้น้อย แต่ตัวท่านเป็นผู้ใหญ่ เราจึงเคารพ ไม่ควรเห็นแย้ง เห็นแปลก ออกไปจากผู้ใหญ่ มีแต่ต้องเชื่อฟัง ทำตามแต่สถานเดียวนั้น ย่อมเป็นการไม่เหมาะสมที่เราจะบอกกับตัวเราเอง และคนอื่น ว่าเราเป็นประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย อย่างแน่นอน.


เอาละครับ เราควรจะเข้าเรื่อง "โต้" กันได้เสียที
แต่กระนั้น ก็ต้องขอท้าวความ สักนิดว่า ถ้าใครได้อ่าน ข่าวจากหนังสือพิมพ์หลายฉบับ รวมทั้งบางเว็บไซต์ หลายท่าน คงจะได้ยินได้ฟัง ได้อ่านกันไปแล้ว ผู้เขียนจะไม่นำ มากล่าวย้ำ ซ้ำอีก เพียงแต่จะกล่าวอ้างถึง ตามความจำเป็น
สิ่งที่อาจารย์ประเวศ ได้กล่าวนำ ก่อนที่จะพูดถึงหลักการปฏิวัติประชาธิปไตยของไทย มีประเด็นหลักอยู่ที่ว่า
ท่านว่า คนไทยโดยรวม มีสัตว์ร้ายอยู่ภายในใจ 3 ตัว ที่ทำให้ประเทศไทย เป็นประชาธิปไตยแต่เพียงรูปแบบ ไม่ได้เป็นโดยเนื้อหาสาระ หลังการปฎิวัติใน ปี 2475 เป็นต้นมา ความสั้นๆมีอยู่ว่า
สัตว์ร้าย 3 ตัวนั้น ประกอบด้วย ตัณหา มานะ ทิฐิ
ตัณหา ทำให้เกิดความโลภ ความอยากได้ใคร่มี อยากร่ำรวย
มานะ คือการใช้อำนาจเหนือคนอื่น
ทิฐิ คือการเอาความเห็นของตัวเองเป็นใหญ่
สัตว์ร้าย 3 ตัวนี้ ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม ก่อให้เกิดการรวมศูนย์อำนาจ ทำให้ไม่ประชาธิปไตยโดยเนื้อหาสาระ ก่อให้เกิดความแตกแยก

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการปฏิวัติประชาธิปไตย!

มีรายละเอียดหลักการปฏิวัติตามข้อ 1-9 ข้างต้น

แต่แม้ว่าผู้เขียนจะเห็นแย้ง ในวิธีการมองปัญหา และวิธีการแก้ปัญหา แต่ผู้เขียนก็เชื่อโดยสนิทใจว่า ข้อเขียนท่านเกิดขึ้นจาก ความหวังดี ต่อประเทศชาติบ้านเมืองโดยแท้ หากแต่ท่านจะยึดถือเอาความเห็นของท่านเป็นใหญ่ หรือไม่นั้น ยังเป็นที่สงสัย..

เมื่ออ่านอย่างวิเคราะห์แล้ว ผู้เขียนเชื่อว่า บทความของท่านเกิดขึ้น เพราะท่านมีความต้องการที่จะสื่อสารกับคน "ทั่วไป" ซึ่งไม่ใช่เฉพาะคนกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง เพราะคำว่า"คนไทยทั้งมวล"นั้น เป็นคำพูดที่กว้างมาก
พูดตามภาษาการตลาด ก็ต้องบอกว่า "ไม่โฟกัสกรุ๊บ" คนที่จะฟัง
จึงเท่ากับเป็นการสื่อสารกับคนไทยทั่วทั้งประเทศ

นอกจากนั้นแล้ว เชื่อว่าขณะที่ท่านพูด(เขียน) ท่านคงจะมีจินตภาพถึงคนไทยทั่วไปอยู่ในมโนนึกของท่านด้วย

พูดง่ายๆ ท่านพูดไปแบบ รวมๆ
และวิธีการปฏิวัติ ท่านก็พูดในหลักการ ที่เป็นการทั่วไป.
ที่น่าสนใจ ก็คือว่า ท่านผูกโยงเรื่อง "เนื้อหา" กับ"รูปแบบ" และ"จิตสำนึก" เข้าร้อยเป็นปัญหาเดียวกัน
โดยสรุป ท่านคงจะพูดว่าปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ในทุกวันนี้ เป็นเพราะประเทศ คนไทย เป็นประชาธิปไตยกันแต่เพียงใน"รูปแบบ" แต่โดย"เนื้อหา"แล้ว ไม่ใช่ประชาธิปไตย ดังนั้นวิธีแก้ประการแรก ก็คือปฏิวัติ "จิตสำนึก" ในระบอบประชาธิปไตยของคนไทย ทุกคน

ท้ายที่สุดตามข้อเสนอ ความคิดและหลักการต่างๆ ของหมอประเวศ ที่ต้องการจะสื่อสารกับคนไทยทั่วไป ซึ่งบัดนี้ได้รวมผู้เขียนเข้าไปด้วยนั้น ผม-ผู้เขียนขอยอมรับตรงๆว่า ไม่เชื่อว่าจะแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ได้ เพราะผมมองไม่เห็น"ร่องรอยของปัญหาและชีวิตที่แท้จริงของประชาชน" จากหลักการและข้อเสนอต่างๆของท่าน ซึ่งทำให้ท่านอาจจะตั้งสมมุติฐานผิด เพราะเป็นหลักการ ที่ไม่มีชีวิต ชีวา ไม่ได้ยืนอยู่บนความจริง ขาดความเชื่อมโยงในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป จึงอยากจะโต้ตอบกับท่านในลักษณะวิธีแบบคำพังเพยที่เรียกกันว่า "ไปไหนมา" และ"สามวาสองศอก"
และข้อเสนอทั้งหมดข้างต้น ของหมอประเวศ ผมจะขอแทนด้วยคำว่า

ไปไหนมา?

และต่อไปนี้ คือ

"สามวาสองศอก"? ของผม-ผู้เขียน

1.ก่อนที่ท่านจะปฏิวัติจิตสำนึกระบอบประชาธิปไตย ท่านตระหนักหรือไม่ว่า คนไทยในปัจจุบันนี้ คิดอะไรในแต่ละวัน อะไรคือจิตสำนึกของคนไทย อะไรคือปัญหาของคนไทย?
ยกตัวอย่างเช่น
-ผม-ผู้เขียนตื่นเช้าขึ้นมา ผมก็คิดว่าผมจะทำอะไรบ้างในวันนี้ อะไรคืองานที่ผมต้องทำ ง่ายๆคือ
- น้ำมันรถของผมหมดหรือยัง ผมจะเติมน้ำมันที่ไหน ขณะนี้ราคาน้ำมันเป็นอย่างไร
-ผมมีสตางค์ในกระเป๋าเหลืออยู่กี่บาท ต้องแวะกดเอาที่ ATM หรือไม่ เงินใน ATM เหลือกี่บาท
-ผมจะกินข้าวที่ไหน ซื้อหนังสือพิมพ์อ่านที่ร้านไหน
-ผมจะต้องเตือนตัวเองให้ขับรถระมัดระวัง บนท้องถนนอย่างไร
-วันนี้ผมขับถ่ายหรือยัง
-ภรรยาของผม ไม่สบายต้องพาไปหาหมอหรือไม่
-ผมมักนอนไม่ค่อยหลับกลางคืน วันนี้ร่างกายอาจจะเพลียๆ จะทำอย่างไร
-เกือบทุกวันผมจะถามตัวเองว่าผมจะหาเงินอย่างไร ถึงจะเพียงพอกับความต้องการของผม เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ค่าเทอมของลูกๆ ปัญหาของลูกๆ ในวัยเรียน จะต้องดูแล เอาใจใส่อย่างไร
-ผมจะจัดการกับปัญหาของหุ้นส่วนบริษัทฯอย่างไร เพื่อให้บริษัทเติบโตไปได้
-เวลาโต้เถียงกัน เราจะควบคุมอารมย์เรา อย่างไร เพื่อแสวงหาทางออกของปัญหา หรือเหตุผลที่ดีที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่ผมมักจะโกรธ และลืมยาก แม้ว่าจะรู้ตัวอยู่ก็ตาม

ทั้งหมด ผม-ผู้เขียน ไม่รู้ว่าทำไปภายใต้จิตสำนึกประชาธิปไตย หรือไม่
วิธีคิด และวิถีชีวิตของผมดำเนินไป ภายใต้จิตสำนึกระบอบประชาธิปไตย หรือไม่ ถ้าไม่ผมควรจะปรับปรุงตัวอย่างไร ต้องกินข้าวกี่มื้อ ขับรถความเร็วเท่าไหร่ ไหว้พระทำบุญกี่ครั้งต่อเดือน
หรือผมต้องทำมากกว่า การไปเลือกตั้งลงคะแนนให้ ส.ส. สว. สจ.
แต่ว่า ผมก็เคยไปประท้วงกับเขาเหมือนกันนะ. แล้วจะถือว่าผมมีจิตสำนึกประชาธิปไตยได้หรือไม่?

ผู้เขียนอยากถามว่า ในทางปฏิบัติเราจะสร้างจิตสำนึกในระบอบประชาธิปไตย อย่างไร?
และอะไรเป็นตัวชี้ว่า มี หรือไม่มีจิตสำนึกในระบอบประชาธิปไตย
หรือจะต้องเรียนจบชั้นไหน ต้องมีอายุเท่าไหร่ ?
สุดท้ายผมเชื่อว่า จิตสำนึกทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ที่ถูกต้องต้องประจำการและเกลือกกลั้วอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เราถึงจะจัดการกับมันได้ และตรวจสอบมันได้.

ท่านกล่าวด้วยว่า ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยกันแต่เพียง"รูปแบบ "ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยโดย"เนื้อหาสาระ"
ดังนั้น ท่านจึงไม่คัดค้านที่มีการรัฐประหาร! ซึ่งเท่าเป็นสนับสนุนการทำลายโครงสร้างภายใน ของสิ่งที่เรียกว่า "โครงสร้างจิตสำนึกทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย"
และท่านยังบอกว่า เมื่ออำนาจในระบอบประชาธิปไตย จัดการกับ"ทักษิณ"ไม่ได้ ท่านจึงสนับสนุน ให้มีการนำอำนาจภายนอก อำนาจนอกระบบ เข้ามาจัดการอำนาจในระบอบประชาธิไตย ซึ่งเป็นอำนาจที่มาจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยที่ท่านมองว่า ถูกซื้อเสียงมาโดยนักการเมืองสามานย์ แต่ถ่ายเดียว ทั้งๆที่ทักษิณนั้น ได้รับการกดดัน และกำลังจะวางมือทางการเมือง อย่างน้อย 5 ปี และนั่นหมายถึงว่า สิทธิและพลังในทางการเมืองของผู้กดดันนั้น ได้ชัยชนะและสัมฤทธิผลไปแล้ว ในระบอบประชาธิปไตย

ดังนั้นการที่ท่านบอกว่าต้องทำให้ประชาชนคนไทย มีจิตสำนึกประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึง 1.จิตใหญ่ที่เคารพศักดิ์ศรี คุณค่าความเป็นคนอย่างเท่าเทียม 2.เคารพสิทธิมนุษย์ชน 3.เคารพความสุจริต 4.ความยุติธรรม 5.เคารพประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าส่วนตัว 6.มีขันติธรรม มีอหิงสา 7.ใช้สันติวิธีในการแก้ไขปัญหา ความมนุษย์ 8. เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยความปรารถนาความถูกต้องเป็นธรรม

จึงเป็นเรื่องที่น่าสับสน!

เพราะดูเหมือนว่าพฤติกรรมและวิธีคิด วิธีทำของท่านบางประการ ไม่ได้บางบอกว่า ท่านมีจิตสำนึกทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เอาเสียเลย เพราะท่านมองว่าประชาชนขายอำนาจของตัวเองไปให้นักการเมืองสามานย์ ไปเสียแล้ว ถามว่า การคิดเช่นนี้ เป็นการเคารพในคุณค่าความเป็นคน และเคารพสิทธิมนุษย์ชน หรือไม่
ดังนั้น เมื่อท่านพูดถึงจิตสำนึกทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ดูลึกๆ แล้ว จึงเป็นเรื่องน่าขบขัน!

ในข้อที่ 2 ท่านพูดถึงการกระจายอำนาจ
ถามว่าคำว่ากระจายอำนาจ แท้ที่จริง คืออะไร? ซึ่งแน่นอนว่า มิได้หมายถึงการสลัดอำนาจทิ้งไปไม่เหลืออำนาจไว้อีก เพราะถ้าเช่นนั้น เราจะปกครองได้อย่างไร การกระจายอำนาจในบริบทของคำนี้ จึงหมายถึงการมุ่งรักษาอำนาจเอาไว้ แต่เปลี่ยนวิธีการรักษา เท่านั้นเอง
ดังนั้น การกำกับดูแล ก็คือการใช้อำนาจ แบบหนึ่ง นั่นเอง และเมื่อถึงจุดๆหนึ่งของการกำกับ ท่านก็จะจำเป็นต้องล้วงลูก เพื่อนำ! คน..

ถามว่าแท้จริงแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่รับผิดชอบในนโยบาย ขึ้นและลง ดอกเบี้ยอย่างไร ถ้าส่งผลเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ท่านจะแสดงความรับผิดชอบ อย่างไร?...
ดังนั้นธนาคารแห่งประเทศไทย จะต้องมีอิสระ เท่าที่รัฐจะให้ได้เท่านั้น ไม่ใช่อิสระโดยสิ้นเชิง!

แท้ที่จริงแล้ว หลายคนอาจจะแสลงกับคำว่าอำนาจ จนทำให้กลัวการใช้อำนาจ เพราะอำนาจทำให้เกิดรายจ่าย และรายรับ
แต่โปรดจำไว้เลยว่า อำนาจก่อให้เกิดผล ทั้งบวกและลบ ถ้าท่านหมายจะใช้อำนาจในการจัดการอะไรก็ตาม ท่านต้องพร้อมที่จะยอมรับทั้ง เรื่องดี และเรื่องร้าย หากท่านจะเอาแต่เรื่องดีโดยส่วนเดียว ไม่เอาเรื่องร้ายเลยนั้น ย่อมเป็นเรื่องที่ผิดธรรมชาติ
แต่เราก็ทราบดีว่า อำนาจนั้นถ้าใช้อย่างมีใจเป็นธรรม ผลดีจะมีมากกว่า ผลเสียหายที่เกิดขึ้น
ถ้าท่านปรารถนา แต่จะให้คนรัก รับไม่ได้ที่จะให้คนเกลียด เท่ากับท่านหวาดกลัวที่จะใช้อำนาจ
ถ้าเช่นนั้น ท่านอย่าไปเป็นผู้ปกครอง!

ส่วนหลักการข้อที่เหลือ 3-9 คือ
3.สิทธิในการสื่อสารโดยประชาชน
4.การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางนโยบายในการพัฒนาโครงการและในการตรวจสอบอำนาจรัฐทุกระดับ
5.ระบบความยุติธรรมที่อิสระและเข้มแข็ง
6.เสรีภาพของสื่อมวลชน
7.กลไกการตรวจสอบและคานอำนาจฝ่ายบริหาร
8.คุณภาพของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
9.การเมืองภาคประชาชน

ว่ากันให้ถึงที่สุด ถามว่าในบั้นปลายแล้ว สุดท้ายหลักการนี้ควรจะรับใช้ประชาชนในแง่ไหน ถ้าไม่ใช่ผลประโยชน์ของประชาชน..
ไม่ใช่ปฏิวัติจิตสำนึกประชาธิปไตย เพื่อให้ประชาชน เป็นเทพฯ ทุกคน


ที่น่าสังเกตุก็คือ หลายคนอาจจะลืมคิดไปว่า นี่เป็นวิธีการคิดจากข้างบนอย่างแท้จริง
นี่คือการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ จากอำนาจส่วนข้างบนอย่างแท้จริง

โดยยังไม่ได้ถามประชาชน เจ้าของอำนาจว่าจะมี"วิธีการ"อย่างไรในการที่จะนำหลักการเหล่านี้ไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จ.
การปฏิบัติตามหลักการเหล่านี้ เพียงแค่จะให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมเท่านั้น ย่อมเป็นการไม่เพียงพอ
แต่ต้องให้ภารกิจ ให้หน้าที่ ให้อำนาจ และความรับผิดชอบแก่ประชาชนด้วย
ซึ่งคนที่จะกล้าให้ภารกิจ อำนาจ หน้าที่แก่ประชาชนได้ ต้องเคารพ และเชื่อมั่นในศักยภาพของประชาชน!

การให้ภารกิจ ให้อำนาจและความรับผิดชอบให้กับประชาชนจะทำให้ประชาชน ได้รับอะไรบ้าง?
คำตอบก็คือ จะทำให้ประชาชนได้เกิดการเรียนรู้! ซึ่งนี่คือสิ่งที่มีค่าที่สุดในระบอบประชาธิปไตย!
เพราะทำให้ประชาชนได้ตื่นตัว และรับผิดชอบในภารกิจ ในอำนาจ หน้าที่ของตัวเอง
โดยไม่ต้องรอรับความช่วยเหลือจากใครเลย..

และถ้าหากประชาชน มีประสบการณ์เรียนรู้ มีทักษะพร้อมเมื่อไหร่ นั่นหมายถึงอะไร?
นั่นย่อมหมายถึงว่าประชาชน พึ่งตัวเองได้.
การพึ่งตัวเองได้ ของประชาชน ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี และน่าจะเป็นผลลัพท์ของการปกครอง ที่ผู้ปกครองทุกคนย่อม ต้องการ เป็นที่สุด!

ถามว่าอะไรคือจุดอ่อนของหลักการปฏิวัติประชาธิปไตยของ คุณหมอประเวศ?

นั่นก็คือ การมองปัญหาจากมิติของการเมือง มากเกินไป หลักการข้างต้น จึงเป็นเรื่องของ"ภาคการเมือง" แทบทั้งสิ้น
ทั้งๆ ในระบบสังคมหนึ่งๆ ไม่สามารถจะดำเนินไปด้วย การเมืองอย่างโดดๆ ได้ แต่ยังเชื่อมโยงกับอีก อย่างน้อย 2 อย่างที่เป็นหัวใจคือ

2.การยังชีพ หรือการเศรษฐกิจทั้งในระดับ ครอบครัวและชุมชน

3.วิธีการใช้ชีวิต หรือวัฒนธรรม ประเพณี

ถ้ามองแต่เพียงด้านใด ด้านหนึ่ง ย่อมไม่ครบถ้วน สมบูรณ์แบบ เท่ากับจะทำให้ขาดความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสังคม ที่ก่อเกื้อให้กลายเป็นประเทศชาติ

ยกตัวอย่างเช่น ในขณะนี้ รัฐบาลกำลังจะทุ่มเงินมหาศาลเพื่อใช้ในการสร้างรถไฟฟ้า จำนวนหลายแสนล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ และคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ โดยหลายโครงการผ่านการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมเรียบร้อย พร้อมที่จะก่อสร้าง และนี่คือวาระเร่งด่วนของรัฐบาลและคนกรุงเทพฯ

ต่อไปนี้ ขอให้ฟังผม-ผู้เขียน ให้ดี !
ผมกำลังจะโยงให้เห็นว่า คนที่บอกว่า ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยแต่"รูปแบบ" แต่ไม่เป็นประชาธิปไตยโดย"เนื้อหา"
แต่ไม่คัดค้าน การระดมเงินมหาศาลเพื่อทุ่มให้คนกรุงเทพฯ มีรถไฟฟ้าใช้ แถมบางคนต้องการกระทั่ง อยากให้รถไฟฟ้าผ่านหัวกระใดบ้านตัวเอง ซึ่งเท่ากับสร้างความแตกต่างเชิงกายภาพ ของเมืองและชนบท-ต่างจังหวัด ให้มากยิ่งขึ้นไปอีกนั้น เท่ากับทำให้"คนที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน มีระบบวิธีคิดและ"ภาษา"ที่แตกต่างกันมากขึ้น" คิดไม่เหมือนกัน มากยิ่งขึ้น เพราะบริบทของชุมชน -ปัญหาแตกต่างกัน (ดูตัวอย่าง ชัดๆ ที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้)
แล้วเวลาที่คนชนบท กับคนชั้นกลางในกรุงเทพฯ คิดแตกต่างกัน ก็ไปดูถูกเขาว่า ไม่รู้เรื่อง เข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสาร และไม่ใช่ความเห็นเชิงคุณภาพอีก
ท้ายที่สุด คนอัปรีย์ที่ทำให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยแต่เพียงรูปแบบ ไม่ได้เป็นโดยเนื้อหา ก็คือคนกรุงเทพฯ และคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ นั่นเองแหละ (รวมผู้เขียนเข้าไปด้วย) นี่แหละคือสิ่งที่แสดงตัณหา ความโลภ ความอยากได้ใคร่มี อยากร่ำรวย ตามหลักการปฏิวัติประชาธิปไตย ที่หมอประเวศ พูดถึง เพราะประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ต้องการเอางบประมาณหลายแสนล้านบาท มากระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งก็คือการกระตุ้นตัณหา กระตุ้นการบริโภค นั่นเอง

ทีนี้ท่านเห็นหรือยังว่า "เศรษฐกิจ"กับ "การเมือง"เกี่ยวข้องกัน อย่างไร
ท่านเห็นหรือยังว่า ประชาธิปไตย ที่สมบูรณ์แบบทั้งรูปแบบและเนื้อหา เกี่ยวข้องกับ เศรษฐกิจ งบประมาณในการพัฒนาประเทศอย่างไร?

ดังนั้น สำหรับคนที่พูดว่าต้องการให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยทั้ง"รูปแบบและเนื้อหา" แต่ไม่รู้เรื่องว่า มันมีความเกี่ยวข้องกับงบประมาณในการพัฒนาเศรษฐกิจ อย่างไร เกี่ยวข้องกับ การจัดการในเรื่อง"ทุน" อย่างไร ถือว่า ไม่มีสติปัญญา และโง่เต่า เง่าตุ่นยิ่ง

แน่นอนที่สุด ผู้เขียนกล้าพูดได้เลยว่า ใครที่มองว่าประชาชนในชนบทและนักการเมืองเท่านั้น ที่มีปัญหา สร้างปัญหาให้กับสังคมประเทศชาติ อยู่ในเวลานี้ โดยไม่ได้กวาดตามองนักธุรกิจและชนชั้นนำ ทั้งหลายซึ่งส่วนมากซ่อนตัวอยู่หลังนักการเมือง ว่าพวกนี้เองคือตัวเลวร้าย ป่วนบ้านเมือง ย่อมไม่ใช่ปราชญ์ที่แท้จริง เพราะมองไม่เห็นต้นเหตุที่แท้จริงในความทุกข์ของแผ่นดิน.

พูดอย่างไม่เกรงใจ ตัวสะท้อนปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดอย่างหนึ่ง ในเวลานี้ ก็คือ ความเป็นกรุงเทพฯ

กรุงเทพฯ ใหญ่เกินไป มีความสำคัญมากเกินไป! ทำให้ต่างจังหวัดไร้ความสำคัญ และมีแต่ความขาดแคลน !
กรุงเทพฯเป็นแหล่งรวมทรัพยากรต่างๆ มากที่สุด โดยนำเข้าจากต่างจังหวัด และกินจุงบประมาณ ของประเทศ มากกว่าภูมิภาคอื่นหลายสิบเท่า!
คนกรุงเทพฯ เป็นผู้กำหนดค่านิยมของคนทั้งประเทศ กำหนดว่า สิ่งใด มีค่า และ ไม่มีค่า คนไหนมีค่า และคนไหน ไม่มีค่า.

คนไหน ราคา 120 บาท คนไหน ราคา 400 บาท.

และสุดท้ายคนกรุงเทพฯ ก็สามารถกำหนดกระทั่งได้ว่า "อะไรคือถูก อะไรคือผิด" แทนคนทั้งประเทศ!


ทีนี้ เราพอจะสรุปได้หรือยังว่า สิ่งที่เรียกว่า" ตัณหา ทิฐิ มานะ " ของหมอประเวศ นั้นมันสิงสถิตอยู่ในพื้นที่ส่วนใดของประเทศ ในเวลานี้ มากที่สุด.

และคนที่ควรจะนำหลักการปฏิวัติจิตสำนึกประชาธิปไตยไปปฏิบัติ -ใช้ ก่อนเป็นคนแรก ก็คือคนกรุงเทพฯ นั่นแหละ ไม่ใช่ใครที่ไหน!



............................ ขอบคุณที่ติดตามครับ....................................

01.31. 01/08/51











Create Date : 22 กรกฎาคม 2551
Last Update : 3 สิงหาคม 2551 17:11:04 น.
Counter : 687 Pageviews.

5 comments
  
โดย: arijinjan วันที่: 23 กรกฎาคม 2551 เวลา:12:09:24 น.
  
มองปัญหาได้ดีครับ
ช่องว่างของความสามารถและโอกาสในการเข้าถึงฐานทรัพยากรหลัก: การเมือง-เศรษฐกิจ-ข่าวสารและความจริง กลายเป็นพลวัตไปสู่พฤติกรรมยินยอมขายเสียง ของชนชั้นล่าง

วันหนึ่งเมื่อต้นปีนี้เอง เหตุเกิดที่อุดรธานี
ผู้ประกอบการรายเล็กกับพนักงาน ได้นำคอมพิวเตอร์เก่าโล๊ะทิ้งและของเล่นจำนวนหนึ่ง ไปบริจาคให้นักเรียนต่างอำเภอ...ครูที่นั่นรู้จักโปรแกรมรุ่นใหม่แล้ว แต่คอมพิวเตอร์ชุดนั้นบรรจุโปรแกรมรุ่นเก่า

ครูเกณฑ์นักเรียนมาเข้าแถวต้อนรับ....ผมไม่อยากเห็นภาพนี้เลย...นักเรียนเหล่านั้น เข้าแถวท่ามกลางแดดร้อน
และยังสวมใส่รองเท้าแตะเป็นจำนวนมาก...

"คอมพิวเตอร์กับรองเท้าแตะ"...เหตุการณ์และความนึกคิดของจิตวิญญาณณ.ที่นั้น จะดำเนินต่อไปอย่างไร?
โดย: , IP: 202.44.47.139 วันที่: 29 กรกฎาคม 2551 เวลา:10:42:14 น.
  
ขอบคุณ คุณ" ," ที่แวะมาเยี่ยมครับ
โดย: เนื่อง มาจากเหตุ วันที่: 27 กันยายน 2551 เวลา:11:48:32 น.
  
ขอบคุณ เป็นแนวที่น่าอ่านครับ ชอบครับ
โดย: มองที่เหตุและวิเคราะห์ผล IP: 58.181.135.227 วันที่: 24 ตุลาคม 2551 เวลา:8:43:26 น.
  
ขอบคุณที่มาเยี่ยมครับ
โดย: เนื่อง มาจากเหตุ วันที่: 27 ตุลาคม 2551 เวลา:14:31:28 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เนื่อง มาจากเหตุ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]