@@@///--มุ่งมั่นต่อไปก็เพื่อชีวิต--///@@@
Group Blog
 
<<
มกราคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
31 มกราคม 2549
 
All Blogs
 

เคล้า แก้วเพชร


ชีวิตและทัศนะ นายเคล้า แก้วเพชร

เคล้า แก้วเพชร
"ความจนฝึกฝนการออม"

บนเส้นทางสายหาดใหญ่ - นราธิวาส จากแยกจะนะผ่านเทศบาลตำบลป่าชิง เข้าสู่บ้านทุ่งพระ ผ่านเลยไปยังบ้านนาหว้า หมู่ที่ 1 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา บริเวณที่ว่างนั้น เป็นที่ตั้งของศาลาประชาธิปไตย อันถือเป็นสถานที่ทำการสารพัดอย่างของชุมชนนับตั้งแต่ศูนย์การเรียนชุมชน ศูนย์สาธิตตลาดการเกษตร ศูนย์กิจกรรมการศึกษา ตลอดจนที่ทำการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า ทุกกิจกรรมนำโดยผู้นำตามธรรมชาติ ชื่อ นายเคล้า แก้วเพชร ที่วันนี้มิได้เป็นเพียงสุภาพบุรุษบ้านนาหว้าเท่านั้น หากทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้แขนงสหกรณ์ออมทรัพย์ให้แก่คนไทยทั้งแผ่นดิน

นายเคล้า แก้วเพชร วันที่อายุย่างเข้า 65 ปี เป็นผู้หนึ่งที่มีกลเม็ดในการถ่ายทอดความรู้อย่างฉะฉานด้วยโวหารเปรียบเปรยที่ฟังเข้าใจง่าย ส่วนหนึ่งนั้นเป็นวาทะที่อ้างอิงศาสนาอันได้มาแต่สมัยอยู่ใต้ร่มกาสาวพัตร นายเคล้าเติบโตมาด้วยข้าวก้นบาตร เล่าเรียนทางโลกจบชั้น ป. 4 แล้วจึงบวชเรียนเข้าศึกษาทางธรรมเป็นเวลา 5 ปี จนได้ชั้นนักธรรมตรี ลาสิกขาออกมาแต่งงานมีครอบครัว มีบุตร 5 คน อาศัยการทำนา ตัดยางเลี้ยงชีพ ชีวิตครอบครัวเริ่มด้วยความยากลำบาก กู้เงินเขามาลงทุนขยับขยายหนทางทำกินก่อหนี้พอกพูน จึงคิดหาทางลดหย่อนหนี้ด้วยการสรรหาแหล่งเงินทุนรอนดอกเบี้ยยุติธรรม กล่าวได้ว่าแรงบันดาลใจตั้งกลุ่มออมทรัพย์ของนายเคล้ามีความจนเป็นที่ตั้ง เมื่อมีแรงหนุนจากนักพัฒนาชุมชนช่วย จึงคิดขยายผล หากทางเดินของกลุ่มออมทรัพย์ในระยะแรกก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ด้วยหนี้สินที่ตามติดตัวมาหลายพันบาท เมื่อนายเคล้าไปป่าวประกาศให้นำเงินมาฝากรวมกลุ่มสหกรณ์ ก็ไม่มีผู้ใดเชื่อถือเกรงว่าจะนำเงินไปใช้จ่ายอย่างอื่น นายเคล้าบอกว่าความจนไม่มีใครเชื่อ ใช้เวลาสามปีกว่าจะรวบรวมสมาชิกได้ ครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม 2522 ระดมชื่อได้ 86 รายชื่อ แต่มาตามนัดหมายจริงแค่ 56 คน มีคนลงขัน 860 บาท รวมค่าสมัคร 560 บาท เป็นเงินจำนวนทั้งหมด 1,420 บาท จนกระทั่งปัจจุบันรวมกลุ่มได้มีสมาชิก 1,740 คน มีเงินทุนหมุนเวียน ณ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545 จำนวน 33,533,892 บาท

เงินหมุนเวียนให้สมาชิกกู้ยืมจำนวน 33 ล้านเศษ คือความสำเร็จของกระบวนการบริหารจัดการของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้าและที่ทำการของกลุ่ม คือ ที่ทำการของธนาคารชาวบ้านที่เห็นผลได้ชัดเจนโดยแท้ พนักงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้ามี 12 ชีวิต โดยมีนายเคล้า แก้วเพชร ทำหน้าที่เป็นเหรัญญิก และทำหน้าที่เป็นเหรัญญิกของคณะกรรมการกลุ่มในคราเดียวกัน ตำแหน่งเหรัญญิกดูจะเป็นตำแหน่งที่เสี่ยงต่อความผิดพลาด จึงกลายเป็นตำแหน่งอาถรรพ์ที่สมัยแรกเริ่มรวมกลุ่มไม่มีใครลงสมัครถึงสองครั้ง นายเคล้าจึงต้องสละตำแหน่งประธานมาทำหน้าที่นี้เสียเอง

" การเลือกประธานสมัยแรกเสนอให้ นายเคล้า แก้วเพชร เป็นประธาน หารองประธาน และคณะกรรมการได้หมดแล้ว ขาดแต่เพียงเหรัญญิก เลือกอยู่ 2 รอบ ก็ยังหาไม่ได้อีก ผมเลยต้องแก้ปัญหาด้วยการเลือกคนอื่นเป็นประธาน แล้วมาทำหน้าที่นี้เอง"

ดูเสมือนว่าความลงตัวในหน้าที่เหรัญญิก ได้ถูกจัดวางให้นายเคล้าได้สร้างตำนานความซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน และแม่นยำ เป็นต้นแบบให้ลูกหลานบ้านนาหว้าได้สืบทอดต่อมา

วันนี้เงินทุนหมุนเวียนให้สมาชิกกู้ยืมได้ผลิดอกออกผล สร้างอาชีพ สร้างรายได้ หมุนเวียนอยู่ในชุมชน เงินกองกลางของกองทุนอีกประมาณ 5 ล้านบาท เก็บผลจากดอกเบี้ยคืนกำไรเป็น สวัสดิการให้แก่ชุมชนนับตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย กำหนดเป็นเงินขวัญถุงแก่สมาชิกใหม่ตั้งแต่ลืมตาดูโลก นายเคล้าเห็นว่าก่อนที่จะแก่ชราคนเราจะต้องผ่านการเจ็บป่วยหลายครั้งหลายครา จึงจัดลำดับสวัสดิการที่ความเจ็บมาก่อน สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ทุกครอบครัวจะได้รับค่ารักษาพยาบาล และเมื่อเสียชีวิตก็จะได้รับค่าทำศพ 4,000 บาท ให้ยืมเงินจัดงาน 20,000 บาท ส่วนผู้สูงอายุมีเงินเลี้ยงชีพรองรับ 20 บาทต่อเดือน นอกจากนี้คนพิการและผู้ยากไร้ในหมู่บ้านก็ไม่ถูกละเลย กลุ่มออมทรัพย์จัดสรรเงินสวัสดิการให้คนเหล่านี้เดือนละ 200 บาท

ดอกผลของการจัดการออมทรัพย์ที่นำมาจัดสรรเป็นเงินสวัสดิการต่าง ๆ ยึดถือตามแนวคิดว่าต้องสร้างกองทุนเล็กขยายไปสู่กองทุนใหญ่ เพื่อความมั่นคงของกองทุน จวบจนวันนี้กองทุนรวมทั้งสิ้น 83 กองทุน รวมเรียกว่า กองทุนสวัสดิการชุมชน แบ่งได้เป็นกองทุนพัฒนาอาชีพ กองทุนเครื่องใช้สอยเพื่ออาชีพและคุณภาพชีวิต กองทุนเพื่อการศึกษา กองทุนพิธีกรรมและประเพณี กองทุนชมรม ศูนย์ และกลุ่ม กองทุนพิเศษและฉุกเฉิน และกองทุนฌาปนกิจและเกี่ยวกับการตาย แต่ละกองทุนเหล่านี้กระจายอำนาจบริหารจัดการอย่างทั่วถึง ทำให้บ้านนาหว้ามีคณะกรรมการบริหารกองทุนทั้งหมดรวม 63 กองทุน จากชาวบ้านทั้งหมดเพียงประมาณ 180 กว่าหลังคาเรือน

นายเคล้าบอกว่าปีหน้าตนก็จะเกษียณอายุสำหรับการเป็นพนักงานของกองทุนแล้วและจะได้รับเงินเดือนเดือนละ 500 บาท เหมือนข้าราชการบำนาญ

" เห็นได้ว่าเราไม่จำเป็นต้องไปสมัครทำงานราชการ หรือไปสมัครงานกับใครเราก็สามารถให้สวัสดิการที่ดีแก่ชีวิตของเราได้ หากเรารู้จักสร้างงานของเราขึ้นมาเอง เรียกว่า เราตั้งบริษัทชุมชนของเราเองขึ้นมา"

นายเคล้าเชื่อว่าการสร้างความนิยมให้ชุมชนเป็นผู้ผลิตเอง เลี้ยงตัวเองได้ ส่วนเหลือก็แบ่งขาย คือ หลักการวิสาหกิจแบบชุมชนที่แท้จริง หาใช่การเร่งผลิตเพื่อส่งออกหรือรอคอยซื้อหาจากที่อื่นไม่ หากชาวบ้านปลูกพืชผักของตนเองในทุกครัวเรือนจนไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้น ถือว่าการผลิตในชุมชนนั้นสัมฤทธิ์ผลแล้ว

" การออมทำให้ชีวิตของชาวบ้านดีขึ้น มีศักยภาพในการซื้อเพิ่มขึ้น เช่น เวลาฝนตกต้องนำเงินไปซื้อร่มจากตลาด เวลาอยากได้รองเท้าก็ต้องไปซื้อจากตลาด พ่อค้าแม่ค้าจะได้เงินออมของชาวบ้าน และนำไปฝากธนาคารต่อไป เกิดเป็นเงินหมุนเวียนในแผ่นดินต่อไปอย่างไม่หยุดนิ่ง

เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักธุรกิจ พนักงานธนาคารบางคนคิดว่าทำไมชาวบ้านไม่นำเงินออมฝากธนาคาร หรือกลุ่มออมทรัพย์ของชาวบ้านเป็นธนาคารเถื่อน ในทางกลับกันน่าจะคิดว่าหากชุมชนมีเงินออม จะเกิดผลเกี่ยวโยงตามมา เมื่อชุมชนมีอยู่มีกิน มีเงินใช้ เศรษฐกิจดี มีความสามารถในการบริหารจัดการผลิต และมีความสามารถในการจัดการบริหารการเงินของตนเอง จะทำให้สังคมส่วนรวมเข้มแข็งเพราะมีฐานล่างและฐานรากที่มั่นคงแข็งแรง"

ชาวบ้านนาหว้าในวันนี้คิดทำการใดก็มีเงินหมุนเวียนโดยสะดวก แต่บางครั้งความอยากได้ของคนไม่สิ้นสุด เมื่อสามารถกู้ยืมได้ง่ายและใช้คืนไนอัตราดอกเบี้ยราคายุติธรรม ทำให้เกิดภาวะหนี้สินไปทั่ว เป็นปัญหาหนักอกให้นายเคล้าและคณะกรรมการคิดแก้ไข วันนี้นายเคล้าจึงพยายามจุดประกายให้ชุมชนนาหว้าคิดสร้างอาชีพเพิ่มเติมเพื่อปลดภาระหนี้สิน โดยปันเงินกองกลาง 1 ล้าน ซื้อสวนยางให้สมาชิกแบ่งกรีดแบ่งผลผลิตกับกองทุนครึ่งต่อครึ่ง กว่าจะเดินทางไปถึงจุดหมายครั้งนี้ นายเคล้ากล่าวว่า คงต้องยึดแนวทาง 4 ประการ คือ สร้างความน่าเชื่อถือ สร้างความศรัทธา ชักจูงให้เกิดความร่วมมือ และสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นก่อนมีจิตสำนึกเป็นของเรา

หนทางการรวมกลุ่มกองทุนกว่าจะเติบใหญ่เช่นวันนี้ ต้องอาศัยเวลาแบบค่อยเป็นค่อยไป นายเคล้ากล่าวว่า การรวมกลุ่มออมทรัพย์เหมือนการทำงานของแมลงผึ้งมักน้อยแต่ขยายผลใหญ่และยั่งยืน รากฐานของชุมชนที่แข็งแกร่งคือการมีกลุ่มออมทรัพย์ที่ขยับจากชุมชนฐานราก ค่อยขยายไปสู่เบื้องบน หาใช่การสร้างกลุ่มมาจากข้างบนเข้าหาส่วนล่างไม่ หากกลุ่มออมทรัพย์ของชาวบ้านเข้มแข็ง ชุมชนมีอยู่มีกิน มีเศรษฐกิจดี มีหรือที่ประเทศชาติจะไม่เข้มแข็งตาม ทั้งก่อให้เกิดผลพวงตามมาอย่างมิอาจประมาณค่าได้ กลุ่มออมทรัพย์ของชาวบ้านสนับสนุนให้ชาวบ้านมีกำลังซื้อ นำเงินไปหมุนเวียนในตลาด หมุนเวียนในอำเภอ สู่จังหวัด สู่ประเทศ หักเป็นภาษีให้ชาติบ้านเมืองต่อไป เศรษฐศาสตร์แบบชาวบ้านฉบับนายเคล้าง่ายแสนง่าย แต่ไม่อาจทำได้โดยง่ายดาย ความมานะบากบั่นของผู้นำและสมาชิกเท่านั้น ที่ช่วยผลักดันให้ความหวังของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้ารุ่งเรืองขึ้นได้

ประสบการณ์บริหารกองทุนมา 23 ปี นายเคล้า พบว่าการบริหารเงินไม่ใช่เรื่องยุ่งยากระหว่างเงินร้อยบาทกับเงินล้าน ต่างกันเพียงมีเลขศูนย์เพิ่มมากขึ้นเท่านั้นเอง เงินจำนวนมากสามารถบริหารได้คล่องกว่าเงินจำนวนน้อย เพราะสามารถให้บริการสมาชิกได้ทั่วถึง ส่วนกองทุนอื่น ๆ ที่ล้มไปนั้นเป็นเพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อกันนั่นเอง

ชายวัย 65 ผู้เชี่ยวชาญงานไร่งานสวน เปลี่ยนมานับเงินคำนวณเลขอย่างคล่องแคล่วเดือนละ 2 ครั้ง ภายใต้ผมสั้นเกรียน สีดอกเลา ในรูปหน้ารีแหลมยังคงมีดวงตาที่ฉายแววความจำ ทุกปรากฎการณ์ของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้าอย่างแม่นยำ ตัวเลขความเคลื่อนไหวของกลุ่มออมทรัพย์ทุกยุคสมัยยังคงเอื้อนเอ่ยมาจากปากวาทะศิลป์อย่างฉับไว นายเคล้า แก้วเพชร ในวันนี้เต็มไปด้วยความมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดวิชาความรู้ที่ได้มาจากประสบการณ์ตรง แก่คนรุ่นหลัง ทุกวันนี้ต้องเดินสายไปสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และถ่ายทอดวิชาว่าด้วย สหกรณ์และกลุ่มออมทรัพย์ให้แก่ผู้สนใจอยู่ไม่ได้ขาด นอกจากทำหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติยังทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดภูมิความรู้ได้เป็นอย่างดี จึงได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติหลายรางวัล อาทิ รางวัลคนดีศรีสังคมปี 2541 และรางวัลผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม จังหวัดสงขลา สาขา ภูมิปัญญาชาวบ้านปี 2543

เจ้าสำนักวิชาหรือเจ้าทฤษฎีต่าง ๆ ล้วนได้วิธีคิดทรงคุณค่าจากกระบวนการทดลอง พิสูจน์ให้รู้จริงเห็นแจ้ง เก็บสะสมเป็นข้อมูลหรือองค์ความรู้ถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังยึดถือปฏิบัติ สมัยแรกเริ่มทฤษฎีต่าง ๆ หาได้ก่อเกิดให้ห้องเรียนไม่ โลกแห่งความเป็นจริงต่างหากที่ก่อเกิดนักคิดมามากมายหากจะกล่าวว่านายเคล้า แก้วเพชร คือผู้หนึ่งที่จัดตั้งสำนักวิชากลุ่มออมทรัพย์ฉบับชาวบ้านนาหว้าก็คงจะไม่ผิดนัก กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้าคือโรงเรียนขัดเกลาคมความคิด อันจะขยายผลสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน สะสมนิสัยมัธยัถต์ ขยัน อดทน เป็นเอกลักษณ์ของชาวนาหว้าสืบไป

ปัญหามาปัญญาเกิด

" เคยมีนักศึกษาปริญญาโทถามผมว่า ผมคิดอย่างไรกับปัญหา ทีแรกผมก็งงเหมือนกันแต่เมื่อมาคิด ๆ ดูแล้ว ผมว่า มีด หิน ถ้าไม่นำมาถูไถไม่เกิดความคม ปัญหาก็เหมือนช่วยให้เราเกิดประเด็น มีความฉลาด คือ คิดหาหนทางแก้ไขปัญหา คงต้องขอบคุณปัญหาเหมือนกันที่นำเอาปัญญามาให้ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกองทุนมาจนถึงปัจจุบัน แทบจะไม่มีครั้งใดที่ไม่มีปัญหา กระทั่งทุกวันนี้ที่ว่ากันว่าเราประสบความสำเร็จในการจัดตั้งกองทุนนี่แหละ เราก็มีรูปแบบของปัญหาแตกต่างกันให้ช่วยกันแก้ไขได้ไม่หยุด บางครั้งเราก็ต้องเรียนรู้จากปัญหาที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาด อย่างการออกเอกสารจัดทำบัญชีต่าง ๆ ผมเคยคิดเงินผิดพลาดต้องจ่ายเงินชดเชย ก็ต้องออกเอกสารใหม่ให้รัดกุมและตรวจสอบได้ง่าย เราปรับปรุงไปเรื่อย ๆ ตามปัญหาที่เกิดขึ้น สำหรับผมก็ต้องเตรียมพร้อมที่จะเผชิญปัญหาอยู่เสมอ"

การกระทำผิดถูกแต่ละครั้งล้วนก่อเกิดประสบการณ์เรียนรู้แก้ไข สมาชิกทุกคนคือครู เมื่อใดก็ตามที่สมาชิกสะท้อนปัญหา เมื่อนั้นศาสตร์หรือองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาก็จะเกิดขึ้นตามมา นี่คือหลักปรัชญาที่นายเคล้ายึดถือมาโดยตลอด ในความเป็นจริงแล้วแม้กองทุนจะรวมตัว กันได้อย่างแข็งแกร่งและมีทิศทางการบริหารจัดการที่ราบรื่น สวยงามแต่ปัญหาก็ย่อมเกิดขึ้นเสมอ หากมีการทำงานเกิดขึ้น กองทุนออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้ามีปัญหาเก่าใหม่ หมุนเวียนเข้ามาครั้งแล้วครั้งเล่า ทุกครั้งก็จุดประกายให้เกิดการระดมสมองหาทางเยียวยาปัญหาเกิดความรู้ ครั้งใหม่เป็นประสบการณ์ตรงที่ไม่ต้องเดินทางไปแสวงหายังที่ใด ๆ

" สำหรับคณะกรรมการกองทุนเราให้สิทธิ์ให้เสียงในการสะท้อนปัญหา การบริหารจัดการแต่ละแห่งจะไม่เหมือนกัน แต่ละหมู่บ้านก็จะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน ผมถือหลักว่าดนตรีต้องตีจึงจะมีเสียงดัง และต้องตีให้เป็นจังหวะ สลับทำนองให้สอดคล้องกันจึงจะเกิดเป็นเพลงขึ้นมาได้ คณะกรรมการก็ต้องแสดงความคิดถกเถียงกันและก็หาข้อสรุปร่วมกัน ไม่ใช่มีคนใดคนหนึ่งพูดอยู่อย่างเดียว สรุปก็คือ เราดีได้ก็เพราะปัญหา"

ชาวบ้านนาหว้าในวันนี้คิดทำการใดก็มีเงินหมุนเวียนได้โดยสะดวก แต่บางครั้งความปรารถนาของคนไม่สิ้นสุด เมื่อกู้ยืมได้ง่ายและใช้คืนในอัตราดอกเบี้ยราคายุติธรรม ก็กระตุ้นให้มีการกู้ฟุ้งเฟ้อ ทำให้เกิดภาวะหนี้สิน ก่อปัญหาหนักอกให้นายเคล้าและคณะกรรมการคิดแก้ไข วันนี้นายเคล้าจึงพยายามจุดประกายให้ชุมชนนาหว้าคิดสร้างอาชีพเพิ่มเติมเพื่อปลดภาระหนี้สิน โดยปันเงินกองกลางซื้อสวนยางให้สมาชิกได้กรีดยาง แบ่งผลประโยชน์ครึ่งต่อครึ่งกับกองทุน กว่าจะเดินทางไปถึงจุดหมายครั้งนี้ นายเคล้ากล่าวว่าคงต้องยึดแนวทาง 4 ประการ คือ สร้างความ น่าเชื่อถือ สร้างความศรัทธา ชักจูงใจให้เกิดความร่วมมือ และสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นให้ได้

" พอเรามีกองทุนหมุนเวียนได้คล่อง ชาวบ้านก็อยากจะกู้เพิ่มขึ้น อยากได้โน่นได้นี่ไม่หยุด แต่เขามีสิทธิ์ที่จะกู้เงินถูกต้องทุกประการ เราก็ต้องให้กู้ ทำให้ชาวบ้านมีหนี้สิน เงินที่หมุนเวียนให้กู้ 33 ล้าน มีเงินเหลือฝากธนาคารเพียงไม่มีแสน ตอนนี้จึงคิดโครงการใหญ่จะปันเงินกองกลางมาสัก 1 ล้านบาท เพื่อซื้อสวนยางให้ชาวบ้านแบ่งกรีดคนละครึ่งกับกองทุน อันดับแรกผมคิดว่าทำอย่างไรที่จะต้องให้ชาวบ้านเกิดความเชื่อถือสำหรับความเชื่อถือนี้ประสบการณ์ ในการบริหารกองทุน 23 ปี 3 เดือน น่าจะเป็นตัวชี้วัด เพราะชาวบ้านนาหว้าเกือบ 100% ในขณะนี้เป็นสมาชิกของกองทุน เมื่อสร้างความเชื่อถือแล้วเราต้องสร้างความศรัทธา คณะกรรมการมีการบริหารงานอย่างชัดเจนและโปร่งใส ขั้นต่อไปก็ต้องสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นให้ได้ ขั้นสุดท้ายก็คือสร้างความเข้าใจให้ชาวบ้านรู้สึกว่าเงินกองทุนเหล่านี้เป็นเงินของเรา ด้วยหลัก 4 ประการนี้ผมคิดว่าจะทำให้การพัฒนากองทุนใด ๆ ก็ตามแต่ที่เข้ามาสามารถประสบผลสำเร็จโดยดี"

การกระจายอำนาจกระจายคน

กองสวัสดิการของบ้านนาหว้าแยกย่อยออกเป็น 83 กองทุน เพื่อกระจายการบริหารจัดการออกไปสู่สมาชิกให้มากที่สุด โดยกลุ่มออมทรัพย์จะแต่งตั้งกรรมการ ดูแลรับผิดชอบกองทุนสวัสดิการกองทุนละ 1 คน กรรมการมีหน้าที่จัดทำบัญชี ดูแลการดำเนินงานให้ดำเนินไปด้วยดี วิธีการเช่นนี้ถือเป็นการเปิดโอกาส ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลกองทุนของตนเอง เรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกัน เรียนรู้ที่จะบริหารจัดการทรัพย์สินส่วนรวม ช่วยทำให้ผลิดอกออกผล เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กองทุนทั้งหมดมียอดเงินเมื่อตรวจสอบได้ในเดือนเมษายน 2545 มีจำนวนเงินทั้งหมด 6,336,266 บาท ดังมีรายการ ชื่อกองทุน เจ้าของกองทุน คนรับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ผู้รับประโยชน์ ดังนี้

1. กองทุนปุ๋ยหมู่บ้าน ศูนย์ประสานงานทหารกองหนุนแห่งชาติ สนับสนุนนายเคล้า แก้วเพชร ผู้ควบคุมรับผิดชอบ วัตถุประสงค์ รวมกันซื้อแยกกันใช้ ผู้รับประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินกองทุนจำนวน 720,966 บาท

2. กองทุนเยาวชนหมู่ที่ 1 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ สนับสนุนเยาวชนหมู่ที่ 1 ผู้รับประโยชน์ กลุ่มเยาวชนหมู่ที่ 1 ยอดเงินจำนวน 7,417 บาท

3. กองทุนบัตรสุขภาพหมู่ที่ 1 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนางน้อย นิลสุวรรณ ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ส่งเสริมสุขภาพในชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชนหมู่ที่ 1 ยอดเงินจำนวน 9,463 บาท

4. กองทุนสังกะสีหมู่ที่ 1 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ไว้ใช้เวลาจัดงาน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชนหมู่ที่ 1 ยอดเงินจำนวน 4,279 บาท

5. กองทุนอาหารนักเรียน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนางน้อย แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ สนับสนุนอาหารนักเรียน ผู้รับผลประโยชน์ นักเรียนบ้านนาหว้าหมู่ที่ 1 ยอดเงินจำนวน 18,264 บาท

6. กองทุนยาไก่ รับรางวัลจากปศุสัตว์กองทุนหมู่บ้าน สนับสนุนนายสุนิตย์ กาญจนรัตน์ ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ สนับสนุนในการซื้อยารักษาสัตว์ ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชนหมู่ที่ 1 ยอดเงินจำนวน 2,904 บาท

7. กองทุนเฉลี่ยคืนเงินกู้ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ให้ขวัญและกำลังใจผู้ส่งเงินกู้ ผู้รับประโยชน์ สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฯ ยอดเงินจำนวน 83,353 บาท

8. กองทุนยากลุ่มเลี้ยงโค รับรางวัลจากปศุสัตว์กองทุนหมู่บ้าน สนับสนุนนายคณิต แก้วอินทร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ สนับสนุนในการซื้อยารักษาสัตว์ ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชนหมู่ที่ 1 ยอดเงินจำนวน 23,221 บาท

9. กองทุนสนับสนุนกิจกรรม กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ สนับสนุนการทำงาน ผู้รับประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 3,391 บาท

10. กองทุนพัฒนาหมู่ที่ 12 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนายคลี่ แก้วเกตุ ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ไว้พัฒนาหมู่ที่ 12 ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในหมู่ที่ 12 ยอดเงินจำนวน 2,081 บาท

11. กองทุนพัฒนายางกลุ่ม กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนายสากล ดำแก้ว ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ พัฒนากลุ่มยางบ้านนาหว้า ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 5,939 บาท

12. กองทุนรถลากศพ ชุมชนบ้านนาหว้า สนับสนุนนางสิ้ม พุฒแก้ว ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ขนย้ายศพไปสู้สุสาน ผู้รับผลประโยชน์ ชุมชนบ้านนาหว้า ยอดเงินจำนวน 2,707 บาท

13. กองทุนจานกระเบื้อง กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนางสมมาส ชูชื่น ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกกับชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 6,480 บาท

14. กองทุนช้อนและลูกถ้วย กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนางเลื่อน จอดเมือง ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกกับชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 1,057 บาท

15. กองทุนโรงศพ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนายชำนาญ หนูทอง ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกกับชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกที่ถึงแก่กรรมในชุมชน ยอดเงินจำนวน 10,224 บาท

16. กองทุนร้านค้า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนางนภาพร หนูแก้ว ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์รวมกันคิดรวมกันซื้อแยกกันใช้ ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 1,532 บาท

17. กองทุนร้านเสริมสวย กลุ่มออมทรัพย์บ้านนาหว้า สนับสนุนนางเอื้อเฟื้อ แก้วอินทร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกกับชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 4,340 บาท

18. กองทุนกลุ่มเลี้ยงโค กนช ศูนย์ประสานงานทหารกองหนุนแห่งชาติ สนับสนุน นายวิจิต หนูเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ส่งเสริมอาชีพให้สมาชิก ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 10,719 บาท

19. กองทุนเครื่องบดและเครื่องมีด กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุน นายเพิ่ม สังข์เวช ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกกับชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 3,558 บาท

20. กองทุนโต๊ะ-เก้าอี้ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนายวอน หนูทอง ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกกับชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 10,261 บาท

21. กองทุนผู้สูงอายุ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนายสากล ดำแก้ว ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ให้ขวัญกำลังใจแก่ผู้สูงอายุ ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกผู้สูงอายุ ยอดเงินจำนวน 7,332 บาท

22. กองทุนโรงหนังตะลุง กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนายเจริญ แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกกับชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 7,215 บาท

23. กองทุนหม้อข้าวเหยือกน้ำ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุน นางวรรณา แก้วทอง ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกกับชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 842 บาท

24. กองทุนหีบศพ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนายชำนาญ หนูทอง ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกกับชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชนที่ถึงแก่กรรม ยอดเงินจำนวน 27,973 บาท

25. กองทุนเครื่องนึ่งข้าว กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนางโผ สุวรรณรัตน์ ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกกับชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 2,630 บาท

26. กองทุนศาลาป่าช้า ชุมชนบ้านนาหว้าสนับสนุน นายสากล ดำแก้ว ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ กองทุนสร้างศาลาป่าช้า ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกชุมชนบ้านนาหว้า ยอดเงินจำนวน 2,523 บาท

27. กองทุนหม้อแก๊สหุงข้าว กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุน นางเตือนใจ หนูชูแก้ว ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกกับชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 8,257 บาท

28. กองทุนพัฒนาหมู่ที่ 1 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนายสากล ดำแก้ว ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกในการบริหารหมู่บ้าน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 35,029 บาท

29. กองทุนเตาแก๊สหุงต้ม กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนายวิรัช หนูมนต์ ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกให้กับสมาชิก ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 3,332 บาท

30. กองทุนชุดน้ำสังข์ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนางแหลม แก้วดำ ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกให้กับสมาชิก ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 32,634 บาท

31. กองทุนกลุ่มเลี้ยงโค ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สนับสนุนนายคณิต แก้วอินทร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกให้กับชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 1,781 บาท

32. กองทุนรถกลุ่มเลี้ยงโคเยาวชน กรมพัฒนาสนับสนุน นายสากล ดำแก้ว ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ส่งเสริมอาชีพและฝึกงานให้เยาวชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 3,708 บาท

33. กองทุนมหรสพ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้าสนับสนุน นายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์อำนวยความสะดวกกับชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 36,902 บาท

34. กองทุนเข็มจักรเย็บผ้า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนางวรรณา แก้วทอง ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกกับชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 1,450 บาท

35. กองทุนโรงสีข้าว ศูนย์ประสานงานทหารกองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ สนับสนุน นายเพิ่ม สังข์เวช ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ เพื่อความปลอดภัยของชุมชน ผู้รับผลประโยชน์สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 2,912 บาท

36. กองทุนศูนย์ประสานงาน สรบ. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุน นายวิจิตร หนูเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ เพื่อความปลอดภัยของชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 2,777 บาท

37. กองทุนร้านค้าชุมชน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนางนภาพร หนูแก้ว ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกกับชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 8,614 บาท

38. กองทุนกลุ่มเลี้ยงโค ศูนย์ประสานงาน รพช. สนับสนุนนายคณิต แก้วอินทร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ส่งเสริมอาชีพให้สมาชิกในกลุ่มเลี้ยงโคทำงานเป็นกลุ่ม ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 2,835 บาท

39. กองทุนพัฒนากลุ่มเลี้ยงโค สมาชิกกลุ่มเลี้ยงโค สนับสนุนนายคณิต แก้วอินทร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ส่งเสริมอาชีพด้วยการจัดตั้งกองทุนกลุ่ม ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในกลุ่ม ยอดเงินจำนวน 25,129 บาท

40. กองทุนเต็นท์หมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนางประภา แก้วอินทร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกให้กับชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 19,799 บาท

41. กองทุนตัดเสื้อผ้า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนางประภา แก้วอินทร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกให้กับชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 17,017 บาท

42. ร้านอาหารวาสนา กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนางวาสนา หนูเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกให้กับชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 8,779 บาท

43. กองทุนน้ำดื่ม กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนางจิรายุ แก้ววิจิตร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกให้กับชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 13,136 บาท

44. กองทุนส่งเสริมอาชีพดอกเบี้ยต่ำ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุน นางจิรายุ แก้ววิจิตร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ส่งเสริมการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 1,149,600 บาท

45. กองทุนผู้มาดูงาน กลุ่มออมทรัพย์ฯร่วมกับผู้มาดูงาน สนับสนุนนางจิรายุ แก้ววิจิตร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกกับผู้มาดูงานในการการต้อนรับ ผู้รับผลประโยชน์ชุมชนที่มาศึกษาดูงาน ยอดเงินจำนวน 28,695 บาท

46. กองทุนพัฒนากลุ่ม กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากลุ่มให้เข้มแข็ง ผู้รับผลประโยชน์ ชุมชนบ้านนาหว้า ยอดเงินจำนวน 58,994 บาท

47. กองทุนศึกษานักเรียน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ให้ทุนนักเรียนโรงเรียนบ้านนาหว้า ผู้รับผลประโยชน์ นักเรียนโรงเรียนบ้านนาหว้า ยอดเงินจำนวน 16,756 บาท

48. กองทุนศึกษาอบรม กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความรู้คนบ้านนาหว้า ผู้รับผลประโยชน์ คนชุมชนบ้านนาหว้า ยอดเงินจำนวน 235,537 บาท

49. กองทุนเงินซิบ กองทุนเงินซิบเมนูห้าพิเศษ สนับสนุนโดยอาจารย์ชบ ยอดแก้ว นายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ใช้เป็นทุนประกอบอาชีพ ผู้รับผลประโยชน์สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 2,382,792 บาท

50. กองทุนเงินค่ารักษาพยาบาล กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุน นายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ให้สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ ยอดเงินจำนวน 467,335 บาท

51. กองทุนชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนางวาสนา หนูเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ให้สวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ ผู้รับประโยชน์ ผู้สูงอายุในชุมชน ยอดเงินจำนวน 2,151 บาท

52. กองทุนเอกสาร กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนางจิรายุ แก้ววิจิตร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ไว้จัดซื้ออุปกรณ์การเขียน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ ยอดเงินจำนวน 14,489 บาท

53. กองทุนปุ๋ยกลุ่มเลี้ยงโค กรมส่งเสริมสนับสนุนให้ นายคณิต แก้วอินทร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ พัฒนากลุ่มปลูกหญ้าทุกชนิด ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในกลุ่ม ยอดเงินจำนวน 22,344 บาท

54. กองทุนดอกไม้จัน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนางพเยาว์ ชฎารัตน์ ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวก ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกที่ถึงแก่กรรม ยอดเงินจำนวน 3,734 บาท

55. กองทุนโทรศัพท์ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้าสนับสนุนนางจิรายุ แก้ววิจิตร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ สะดวกในการสื่อสาร ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 57,149 บาท

56. กองทุนการศึกษานักเรียนนางปิ้ม แก้วเพชร นางปิ้ม แก้วเพชร สนับสนุนนายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ให้ทุนการศึกษานักเรียน ผู้รับผลประโยชน์ นักเรียนโรงเรียนบ้านนาหว้า ยอดเงินจำนวน 24,164 บาท

57. กองทุนศึกษานักเรียนนายกล่อม อินทรกร นายกล่อม อินทรกร สนับสนุน นายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ให้ทุนการศึกษานักเรียน ผู้รับผลประโยชน์นักเรียนโรงเรียนบ้านนาหว้า ยอดเงินจำนวน 38,792 บาท

58. กองทุนศึกษานักเรียนนายเคล้า นางเพื่อม แก้วเพชร นายเคล้า นางเพื่อม แก้วเพชร สนับสนุนนายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ให้ทุนการศึกษานักเรียน ผู้รับผลประโยชน์ นักเรียนโรงเรียนบ้านนาหว้า ยอดเงินจำนวน 21,404 บาท

59. กองทุนพิเศษสำรอง กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ไว้แก้ปัญหาการเงิน ผู้รับผลประโยชน์ พนักงานและเจ้าหน้าที่ ยอดเงินจำนวน 467,335 บาท

60. กองทุนศึกษานักเรียนนายบุญทอง แก้วเอียด นายบุญทองและญาติ สนับสนุน นายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ให้ทุนการศึกษานักเรียน ผู้รับผลประโยชน์ นักเรียนโรงเรียนบ้านนาหว้า ยอดเงินจำนวน 18,649 บาท

61. กองทุนศึกษานักเรียนนายเคล้า นางเพื่อม แก้วเพชร นายเคล้า นางเพื่อม แก้วเพชร สนับสนุน นายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ให้ทุนการศึกษานักเรียน ผู้รับผลประโยชน์ นักเรียนโรงเรียนวัดทุ่งพระ ยอดเงินจำนวน 12,207 บาท

62. กองทุนศึกษานักเรียนนายเอื้อน นางจันทรแก้ว หนูแก้ว นายเอื้อน นางจันทรแก้ว สนับสนุน นายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ให้ทุนการศึกษานักเรียน ผู้รับผลประโยชน์ นักเรียนโรงเรียนบ้านนาหว้า ยอดเงินจำนวน 15,200 บาท

63. กองทุนสำรองพนักงาน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ไว้แก้ปัญหากับพนักงาน ผู้รับผลประโยชน์ พนักงานของกลุ่ม ยอดเงินจำนวน 137,343 บาท

64. กองทุนศึกษานักเรียนนางทิพย์ เขียวเพ็ง นางทิพย์ สนับสนุนนายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ให้ทุนการศึกษานักเรียน ผู้รับผลประโยชน์ นักเรียนโรงเรียนบ้านนาหว้า ยอดเงินจำนวน 7,748 บาท

65. กองทุนมูลนิธิสวัสดี มูลนิธิสวัสดี สนับสนุนนายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ช่วยเหลือชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 1,997 บาท

66. กองทุนสำรองศูนย์สาธิต กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ไว้แก้ปัญหาศูนย์สาธิต ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกทุกคน ยอดเงินจำนวน 35,573 บาท

67. กองทุนศูนย์สาธิตการตลาด สมาชิกกลุ่ม สนับสนุนนายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ สนับสนุนการซื้อขาย ผู้รับประโยชน์ สมาชิกกลุ่ม ยอดงเงินจำนวน 90,070 บาท

68. กองทุนค่าไฟและแก๊ส กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนายวิรัช หนูมนต์ ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยความสะดวกให้ชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 9,620 บาท

69. กองทุนทอดกฐินนางพริ้ม รัตนะ สนับสนุนนางพริ้ม รัตนะ ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ เพื่อทำการกุศลเพื่อสัพสัตย์ ผู้รับผลประโยชน์ วัดวาอารามหรือสำนักสงฆ์ ยอดเงินจำนวน 2,573 บาท

70. กองทุนโต๊ะนาหว้า ทุนโครงการนักกีฬาไก่ชนสนับสนุน นายวิจิตร หนูเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน ผู้รับผลประโยชน์สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 1,460 บาท

71. กองทุนเครื่องหีบอ้อย กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนางจิรายุ แก้ววิจิตร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ ส่งเสริมอาชีพการปลูกอ้อย ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 3,826 บาท

72. กองทุนชมรมโค ชมรมเลี้ยงโค สนับสนุนนายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ เพื่อประสานงานระหว่างชมรมด้วยกัน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกของชมรม ยอดเงินจำนวน 15,684 บาท

73. กองทุนมิยาสาว่า รัฐบาล สนับสนุนนายวิจิตร หนูเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ส่งเสริมอาชีพสมาชิกให้สมาชิก ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 101,760 บาท

74. กองทุนหลอดไฟฟ้า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนายสมชาย คงแก้ว ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนวยแสงสว่างในชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 2,708 บาท

75. กองทุนเช่าร้านกำพล กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนางจิรายุ แก้ววิจิตร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ เพื่อบริการชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 902 บาท

76. กองทุนร้านนางวรรณา ร้านนางวรรณา สนับสนุนนางจิรายุ แก้ววิจิตร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์รักษาความถูกต้องตามระเบียบ ผู้รับผลประโยชน์สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 151 บาท

77. กองทุนร้านค้าแม่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า สนับสนุนนางจิรายุ แก้ววิจิตร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ เพื่อรักษาความถูกต้อง ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 10,415 บาท

78. กองทุนเกษตรยั่งยืน ศูนย์ที่ดินเขต 12 สนับสนุนนางจิรายุ แก้ววิจิตร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือองค์กร ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในกลุ่ม ยอดเงินจำนวน 500 บาท

79. กองทุนน้ำยางโรงงานแปรรูปยางแผ่น สนับสนุนนางจิรายุ แก้ววิจิตร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือองค์กร ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 3,355 บาท

80. กองทุนศิษย์เก่าโรงเรียน ศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านนาหว้า สนับสนุนนางจิรายุ แก้ววิจิตร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือศิษย์เก่า ผู้รับผลประโยชน์ ศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านนาหว้า ยอดเงินจำนวน 6,070 บาท

81. กองทุนการแสดงแม่บ้าน แม่บ้านนาหว้า สนับสนุนนางจิรายุ แก้ววิจิตร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือการแสดงของแม่บ้าน ผู้รับผลประโยชน์ กลุ่มแม่บ้าน ยอดเงินจำนวน 322 บาท

82. กองทุนโรงน้ำปลา สมาชิกโรงน้ำปลา สนับสนุนนางจิรายุ แก้ววิจิตร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างอาชีพให้สมาชิก ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 18,002 บาท

83. กองทุนครูภูมิปัญญาไทย กระทรวงศึกษาธิการ สนับสนุนนายเคล้า แก้วเพชร ผู้รับผิดชอบ วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้กับชุมชน ผู้รับผลประโยชน์ สมาชิกในชุมชน ยอดเงินจำนวน 48,002 บาท
ยอดเงินทุนจำนวนเงิน 6,336,266 บาท นี้ดึงดอกผล 80% จัดตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการ ส่วน 20% ที่เหลือสมทบเข้ากองทุนเดิมเพื่อขยายให้กองทุนโตขึ้น กองทุนทั้ง 83 กองทุนนี้ช่วยยกระดับชุมชนขึ้นมาได้ส่วนหนึ่ง

Ref :: //www.thaiwisdom.org/p_pum/move/move_news/klo.htm




 

Create Date : 31 มกราคม 2549
8 comments
Last Update : 31 มกราคม 2549 7:38:24 น.
Counter : 1862 Pageviews.

 

เศรษฐศาสตร์ การเงินชุมชน
23 ปี 83 กองทุน
ของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า
หมู่ที่ 1 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

ข้าพเจ้านายเคล้า แก้วเพชร เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2480 ที่บ้านนาหว้า บ้านเลขที่ 13 หมู่ที่ 1 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายจันทร นางนุ้ย แก้วเพชร มีพี่ชายร่วมบิดามารดาด้วยกัน 1 คน ชื่อนายแคล้ว แก้วเพชร และมีพี่สาวต่างมารดา 1 คน ชื่อนางเลื่อน ปลอดคง

ปัจจุบันมีอายุ 64 ปี 9 เดือน จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้วบวชเป็นพระและสามเณรอยู่ 5 ปี สอบนักธรรมชั้นตรีได้ ติดทหารเกณฑ์ 1 ปี 4 เดือน สอบสิบตรีกองประจำการได้ แล้วแต่งงานกับนางเพื่อม จันทรทอง อาชีพทำสวน อยู่ด้วยกัน 24 ปี มีบุตรธิดาด้วยกัน 5 คน เป็นผู้ชาย 2 คน เป็นผู้หญิง 3 คน เมื่อปี 2524 นางเพื่อมได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็ง ข้าพเจ้าจึงเลี้ยงลูกมาตลอด จนถึงปัจจุบันไม่คิดจะแต่งงานใหม่ สนับสนุนให้ลูกมีการศึกษา จนจบอุดมศึกษาและปริญญาตรี ปริญญาโท ดังนี้

1. ลูกคนที่ 1 เป็นผู้ชาย ชื่อนายสุคนธ์ แก้วเพชร เรียนจบ ม. 3 แล้วสอบเข้าเรียนอนามัยได้ ปัจจุบันทำงานอนามัยแล้วเรียนเพิ่มเติมจนจบปริญญาตรี
2. ลูกคนที่ 2 เป็นผู้หญิง ชื่อนางวรรณา ศรีจันบาล เรียนจบอุดมศึกษา แล้วสอบเข้าเรียนพยาบาลได้ ปัจจุบันเป็นพยาบาล แล้วเรียนเพิ่มเติมจนจบปริญญาตรี
3. ลูกคนที่ 3 เป็นผู้หญิง ชื่อนางพรทิพย์ ชูทอง เรียนจบ ปวท. แล้วสอบเข้าทำงาน อบต. ได้ ปัจจุบันทำงาน อบต. ฝ่ายการคลัง
4. ลูกคนที่ 4 เป็นผู้ชาย ชื่อนายสุพจน์ แก้วเพชร เรียนจบอนุปริญญา แล้วเข้าสอบโรงเรียนพลตำรวจได้ ปัจจุบันทำงานเป็นตำรวจ
5. ลูกคนที่ 5 เป็นผู้หญิง ชื่อนางสาวสุภัค แก้วเพชร เรียนจบปริญญาตรีของโครงการคุรุทาญาติได้เป็นครูเข้าสอนที่โรงเรียนจะนะวิทยา แล้วเรียนต่อเพิ่มเติมจนจบปริญญาโท


ส่วนตัวข้าพเจ้านายเคล้า แก้วเพชร ได้รับรางวัลเกียรติคุณ รางวัลดีเด่น รางวัลยอดเยี่ยมจากหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ มีโล่อาสาพัฒนาดีเด่น จากกรมพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย โล่ผู้ประสานงานทหารเพื่อความมั่นคงแห่งชาติดีเด่น จากระทรวงกลาโหม โล่เกียรติคุณของคนดีศรีสังคม จากองค์กรเอกชน โล่เกียรติคุณ สาขาภูมิปัญญาชาวบ้าน จากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติดีเด่นของกระทรวงศึกษาธิการ และโล่รางวัลอาชีพดีเด่นหลายสิบรางวัล ปัจจุบันข้าพเจ้าถือปรัชญาว่า ถ้าจะอยู่ให้สบายตลอดชีวิต ให้คิดช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อเขาเดือดร้อนเท่าที่เราจะทำได้

คำว่า "บ้านนาหว้า"

เมื่อประมาณสี่ร้อยกว่าปีมาแล้ว พื้นที่นาหว้าตรงนี้เป็นที่ตั้งของชาวไทยมุสลิม ตามหลักฐานที่มี คือ ก้อนหินซึ่งเป็นเครื่องหมายในการฝังศพของคนที่นับถือศาสนาอิสลาม หรือที่เรียกว่า "สุสานของโต๊ะนาหว้า" กลายเป็นสถานที่ที่คนไทยทั้งพุทธและมุสลิมให้ความนับถือมาจนถึงบัดนี้

ตามตำนานเล่าไว้ว่า เมื่อประมาณ "สี่ร้อยกว่าปีที่ผ่านมา" เจ้าเมืองรัฐไทรบุรีคิดแข่งเมืองขึ้นกับเมืองสิงหรานคร (เมืองสงขลา) ได้จัดทัพมาโจมตีเมืองสิงหรานคร เมื่อเมืองสิงหรานครได้รับข่าว ได้มาจัดคูค่ายไว้ต้อนรับทำการต่อสู้กัน ระหว่าง ตำบลนาหว้า กับ ตำบลป่าชิง ตามหลักฐานปรากฏ คือ คูค่ายระหว่างตำบล ผู้ปกครองบ้านที่บ้านนาหว้าปัจจุบันตอนนั้นชื่อ โต๊ะนะหวา สงครามครั้งนั้นปรากฏว่า ทางเมืองไทรบุรีแพ้สงคราม ทางเมืองสิงหรานครเป็นฝ่ายชนะสงคราม สงครามสมัยนั้น ถ้าใครแพ้ต้องถูกริบทรัพย์สิน ลูกเมีย ข้าทาส บริวาร บ่าว ไพร่ ทั้งหมดตามที่จะมี ฉะนั้นโต๊ะนะหวาที่มีลูกสาวสวยมากอยู่หนึ่งคนตลอดเมียก็งาม เลยฆ่าตัวตายให้บ่าวไพร่เอาศพฝังเรียงกันไว้ตามหลักฐานปรากฏในปัจจุบัน เรียกกันว่า "กุโบโต๊ะนะหวา" เลยเพี้ยนกันมา จากโต๊ะนะหวามาเป็นโต๊ะนาหว้า มาจนถึงปัจจุบันเลยเรียกวันว่า "บ้านนาหว้า"

เมื่อเป็นหมู่บ้านที่รกร้างมาประมาณสี่ร้อยกว่าปี จึงมีบุคคลสองตระกูลได้อพยพมาอยู่คือ ตระกูลแก้วเพชร กับ ตระกูลแก้วอินทร์ ซึ่งมาจากจังหวัดพัทลุง มาบุกเบิก ทำไร่ ทำนา ทำสวน และคนอื่น ๆ ก็ตามมา จนเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่โต เมื่อกระทรวงมหาดไทยเขาคิดแบ่งเขตบ้านเมืองขึ้นเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภาค และประเทศ หมู่บ้านนาหว้าหมู่บ้านหนึ่งที่ได้เป็นหมู่บ้านแกนนำ ได้ร่วมกับบ้านเกาะทากเหนือ บ้านเกาะทากใต้ บ้านคลองบอน บ้านประจ่าเหนือ บ้านประจ่าใต้ บ้านนาใน บ้านควนไม้ไผ่ บ้านควนขี้แรด บ้านหว้าหลัง บ้านควนยาง บ้านแม่เตย เป็นตำบลหนึ่ง เรียกว่า "ตำบลนาหว้า" จนถึงปัจจุบัน แบ่งเขตการปกครองออกเป็นสิบสองหมู่บ้าน ขึ้นกับอำเภอจะนะมีสิบสี่ตำบล ร้อยสามสิบหมู่บ้านกับสองเขตเทศบาล ได้รับงบสนับสนุนจากรัฐบาลในปี 2544 จำนวน 135 ล้าน กระจายลงสู่หมู่บ้านเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้พอเพียงแบบพึ่งตนเอง ตามวัตถุประสงค์ของรัฐ

ฐานะของหมู่บ้านนาหว้า เมื่อ 26 ปีที่แล้ว

หมู่บ้านนาหว้าเมื่อ 26 ปีที่แล้ว เป็นหมู่บ้านที่ยากจนมากหมู่บ้านหนึ่ง คือ เรือนใส่จากฟากไม้ไผ่ ถนนใช้คันนา สะพานใช้ไม้มะพร้าวทอดข้ามคลอง ยานพาหนะใช้รถจักรยานสองล้อ (รถถีบ) บรรทุกสินค้าออกจากบ้านตลอดจนหาบและทูนไปตามตลาดนัดที่ใกล้ที่สุดเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้ากัน แต่อาหารการกินสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ในป่ามีพืชผักและผลไม้ให้กินตลอดปี แต่ปัจจุบันได้หมดไปกับมือมนุษย์ เพราะชาบ้านอยากรวยคิดปลูกพืชเชิงเดียว เลยทำลายธรรมชาติที่มีอยู่เดิมเสียเกือบหมด มานึกได้ตอนหลังแต่ยังไม่สาย มาคิดพึ่งตนเองแบบพัฒนาด้วยร่วมกันคิดแยกกันทำแล้วรวมกันขาย โดยการรวบรวมเงินทุนของชาวบ้าน ที่อยู่กระจัดกระจายเข้าเป็นกลุ่มก้อนแล้วให้กู้ยืมไปประกอบอาชีพโดยยึดเอาเงินเป็นสื่อในการพัฒนา "คน" ให้คนพัฒนา "งาน" ให้งานพัฒนา "เงิน" ให้เงินพัฒนา "องค์กร" โดยใช้การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ให้มีสภาพเหมือนรัฐ โดยรัฐมีการปกครองอยู่ 4 สภา คือ

1. สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนที่ชาวบ้านเลือกเข้าไปทุกสี่ปี ที่เรียกว่า ส.ส. หรือมีอีกหนึ่งสภาที่เรียกว่า สมาชิกวุฒิสภาที่เลือกกันทุกหกปี ที่เรียกกันว่า ส.ว. นี้สภาที่หนึ่งไว้ประชุมกันในเรื่องบริหารระดับประเทศ

2. สภาจังหวัด ซึ่งมีสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร่วมกับหน่วยงานราชการที่ชาวบ้านเลือกเข้าไปทุกสี่ปี ที่เรียกว่า ส.จ. หรือที่เรียกว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดนี้ เป็นสภาที่สองไว้ประชุมกันวางแผนในการบริหารระดับจังหวัด

3. สภากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยและสารวัตรกำนัน ที่เข้าร่วมประชุมกันทุกเดือนที่นายอำเภอกำหนดในวันที่ 2 , 3 ของเดือน เพื่อวางแผนพัฒนาอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐร่วมกับประชาคมของหมู่บ้านตามฐานรากหญ้า เพื่อพัฒนาอาชีพให้อยู่ดีกินดีตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและกลี้ยกล่อมกรณีพิพาทของสมาชิก

4. สภาตำบล ซึ่งมีสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ชาวบ้านเลือกเข้ามาบริหารตำบลทุกสี่ปี ที่เรียกว่า อบต. ที่มีหน้าที่จัดสรรงบประมาณและเก็บภาษีต่าง ๆ แล้วางแผนจ่ายงบประมาณ ให้เป็นธรรมเพื่อความถูกต้องตามระบบประชาธิปไตยตามความจำเป็นก่อนหลัง หรือตามความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะสภาตำบลอยู่ใกล้ชิดประชาชนรู้เหตุการณ์ได้เร็ว และตัดสินใจได้เร็วไม่ให้ปัญหาลุกลาม ที่เรียกว่าตัดไฟเสียแต่ต้นลมนี้ เป็นสภาที่สี่ของรัฐ

ส่วนหมู่ที่ 1 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งสภาเป็นสภาที่ห้า เรียกว่า "สภาชุมชน" มีการประชุมกันเดือนละเจ็ดครั้ง ตามคณะกรรมการเฉพาะกิจสมาชิกเข้าร่วมซ้ำกันบ้างบางคณะ

ส่วนสถาบันการเงินของหมู่ที่ 1 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ได้เริ่มคิดเมื่อ 2519 เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยได้เริ่ม พัฒนาประเทศโดยมอบหมายให้กรมพัฒนาชุมชนเป็นผู้ดำเนินงาน ทางอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ได้ส่งพัฒนากรลงมาที่หมู่บ้านนาหว้า หมู่ที่ 1 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มาในปี 2519 ชื่อนายถวิล โคปาโล มาพบผู้ใหญ่บ้าน คือ นายนิคม แก้วเพชร ได้เรียกข้าพเจ้านายเคล้า แก้วเพชร ซึ่งเป็นผู้ช่วยอยู่ในขณะนั้นมาปรึกษากันว่าจะพัฒนาหมู่บ้านของเรากันอย่างไร ผู้ใหญ่บ้านนิคม แก้วเพชร ได้มอบหมายให้กระผมนายเคล้า แก้วเพชร กับพัฒนากร คือ นายถวิล โคปาโล ร่วมกันคิดวางแผนพัฒนาหมู่บ้านจากปี 2519 วันแรกเริ่มคิดทำถนนก่อน โดยผู้ใหญ่บ้านนิคม แก้วเพชร ตีเกราะเรียกประชุมลูกบ้าน แล้วชี้แจงว่าเราต้องทำถนนตัดผ่านที่ดินของชาวบ้าน เพื่อยายถนนออกตามส่วนของถนนตามสายทางเดิมเพื่อออกสู่ผ่านตำบล ออกสู่อำเภอจะนะ โดยที่ทำกับจอบกับเสียมทุกวันอาทิตย์ เดือนละ 4 ครั้ง

หนึ่งปีผ่านไปเข้าปี 2520 ได้จัดอบรมอาสาพัฒนาขึ้น 1 รุ่น จำนวน 40 คน ใช้เวลา 3 วัน ด้วยการร่วมมือของผู้ใหญ่บ้านนิคม แก้วเพชร นายถวิล โคปาโล นายเคล้า แก้วเพชร ร่วมกันเสนอโครงการ เมื่อได้รับโครงการแล้ว จัดอบรมเป็นเวลา 3 วัน วันที่ 1 กับวันที่ 2 พูดกันเรื่องพัฒนาหมู่บ้านให้เจริญขึ้นโดยพึ่งตนเอง แต่หมู่ที่ 1 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นหมู่บ้านที่ยากจนเรือนใส่จากฟากไม้ไผ่ ถนนใช้คันนา พาหนะใช้รถจักยาน ฐานะการเงินมีน้อย ถ้าใช้เงินลำบาก ถ้าใช้แรงสบายมาก เมื่อเข้าอบรมในวันที่ 3 วิทยากรเป็นพัฒนาการอำเภอ ท่านมาแต่เช้ามากมาเขียนหัวข้อเรื่องอบรมวันนี้ไว้ว่า "กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต" ข้าพเจ้านายเคล้า แก้วเพชร อ่านแล้วนึกไม่ออกว่า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตนั้นคืออะไร เมื่อผู้เข้าอบรมมาพร้อมกันแล้วทั้งจำนวน 40 คน พัฒนาการอำเภอซึ่งเป็นวิทยากรเข้ามาพูดว่า วันนี้เรามาคิดวางแผนจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตกัน กระผมนายเคล้า แก้วเพชร ยกมือขึ้นถามทันทีว่า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตนั้นคืออะไร พัฒนากรอำเภอตอบทันใดว่า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตนั้น คือ ธนาคารของชาวบ้านที่มีวัตถุประสงค์ให้ชาวบ้านรวบรวมเงินทุนของชาวบ้าน ที่อยู่กระจัดกระจายเข้าเป็นกลุ่มก้อนแล้วให้กู้ยืมไปประกอบอาชีพ กระผมนายเคล้า แก้วเพชร เลยถามอีกว่า พวกกระผมมีสิทธิทำได้หรือไม่ พัฒนาการอำเภอตอบเลยว่า นี่แหละกระผมมาพูดให้พี่น้องน้าป้าพ่อลุง รวมกันจัดตั้งกลุ่ม กระผมนายเคล้า แก้วเพชร ก็เลยถามสมาชิกที่เข้าร่วมอบรมว่าเอาไหม ทุกคนอยากเป็นนายธนาคารก็เลยรับว่าเอาทุกคน

เมื่ออบรมเสร็จวันนั้นเขาสมมุติให้กระผมนายเคล้า แก้วเพชร เป็นประธาน แล้วก็เลยแยกกันกลับบ้านสู่ครัวเรือนของตนเอง ผู้หญิงก็กลับไปบอกสามี ผู้ชายก็กลับไปบอกภรรยาว่า เณรเคล้า แก้วเพชร เขาจะตั้งธนาคารที่เรียกว่ากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต โดยให้พวกเราร่วมกันฝากเงินคนละ 5 บาท 10 บาท รวมกันแล้วให้พวกเรากู้ยืมกันไปประกอบอาชีพ สามีภรรยาของผู้เข้าอบรมบางคนพูดว่า พวกมึงถูกเณรเคล้า แก้วเพชร หลอกเอาเงินไปใช้หนี้ เพราะตอนนั้นข้าพเจ้านายเคล้า แก้วเพชร ได้สร้างบ้านหนึ่งหลังเป็นอาคาร 2 ชั้น ในวงเงินราคาจำนวน 36,000 บาทเศษ และมีหนี้อยู่ประมาณจำนวน 7,000 บาท โครงการเลยล้ม นี่แหละคนคิดอะไร ถ้าฐานะของตนไม่ดีแล้วทำงานสำเร็จยาก ถ้าไม่รัก ไม่อดทน ไม่ซื่อสัตย์ ไม่กล้าซักถาม รู้แล้วไม่อกผู้อื่นเพื่อขยายผล ทำงานยาก แต่ถ้ามีความรัก มีความอดทน มีความซื่อสัตย์ ถ้าสงสัยแล้วกล้าซักถาม เมื่อรู้แล้วแนะนำผู้อื่นเพื่อขยายผลต่อไป ด้วยความมุ่งมานะงานจึงสำเร็จและมีคุณภาพ

เมื่อปี 2520 ผ่านไปปี 2521 ขึ้นมา ข้าพเจ้านายเคล้า แก้วเพชร ได้รับตำแหน่งอีกตำแหน่งหนึ่งเพิ่มจากผู้ช่วย คือ ตำแหน่งอาสาพัฒนา หรือที่เรียกว่า อช. ทางกรมพัฒนาชุมชนส่งไปอบรมที่เขต 9 จังหวัดยะลา อบรมอยู่ วัน ที่นั่นวิทยากร เขาพูดกันแต่เรื่องกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นหลัก เมื่อข้าพเจ้านายเคล้า แก้วเพชร กับพัฒนากร คือ นายถวิล โคปาโล นั่งรถไฟกลับบ้านจากสถานีรถไฟยะลากว่าจะถึงสถานีรถไฟจะนะ ได้นั่งคุยกันเรื่องจัดตั้งกลุ่มออกทรัพย์เพื่อการผลิตว่าจะทำกันอย่างไร ข้าพเจ้านายเคล้า แก้วเพชร ได้เสนอกับนายถวิล โคปาโล ว่าต้องหาแนวร่วมให้ได้สัก 10 คน ให้พัฒนากร คือ นายถวิล โคปาโล จัดพิมพ์ใบสมัครขึ้นสัก 100 ใบ แล้วแจกให้แนวร่วมคนละ 10 ใบ ใครสนิทกับใครไปหาคนนั้นใช้เวลา 15 วัน ใบสมัครกลับคืนมาที่ข้าพเจ้าจำนวน 86 ใบ เท่ากับ 86 คน แต่จะสิ้นปี 2521 แต่ได้กำหนดเอาวันที่ 16 มกราคม 2522 เป็นวันเริ่มออมทรัพย์ของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า เริ่มจากเวลา 14.00 น. ของวันที่ 16 มกราคม 2522 ข้าพเจ้านายเคล้า แก้วเพชร มาถึงศาลาเว้นที่ใส่จากฟากไม้หมากเป็นคนแรก แล้วลงบัญชีฝากหมายเลขที่ 1 ชื่อนายเคล้า แก้วเพชร ฝากเงินสัจจะจำนวน 25 บาท ค่าสมัครค่าธรรมเนียมแรกเข้าจำนวน 10 บาท จนถึงเวลา 16.00 น. รวมสมาชิกฝากทั้งหมดจำนวน 56 คน ที่ฝากสูงสุดหนึ่งคนจำนวน 30 บาท คิดเป็นเงินสัจจะจำนวนฝากครั้งแรกเป็นเงิน 860 บาท ค่าสมัครค่าธรรมเนียมจำนวน 560 บาท รวมแล้วเป็นเงินจำนวน 1,420 บาท แล้วนำฝากสหกรณ์การเกษตรจะนะ จำกัด จากวันนั้นจนถึงวันนี้ วันที่ 15 กรกฎาคม 2545 เป็นเวลา 23 ปี 7 เดือนเต็ม มีสมาชิกจำนวน 1,741 คน มีเงินทุนหมุนเวียนอยู่จำนวน 33,792,580 บาท มีกองทุนสวัสดิการอยู่จำนวน 83 กองทุน กองทุนสวัสดิการ 83 กองทุน มีตั้งแต่เกิดจนตาย ให้เป็นสวัสดิการแก่สมาชิกเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น ของใช้ต่าง ๆ เก็บค่าบริการในอัตราครึ่งหนึ่ง เฉพาะสมาชิก ส่วนบุคคลภายนอกเก็บเต็มราคา เช่น บุคคลภายนอกเก็บจำนวน 400 บาท สมาชิกเก็บจำนวน 200 บาท ไว้เพื่อซ่อมแซมหรือบำรุงรักษาอุปกรณ์ของกองทุนต่อไป ไว้ใช้ได้ตลอดถึงลูกหลาน

ส่วนกองทุนทั้ง 83 กองทุนนั้นย่อให้เหลือได้แค่ 4 กองทุน คือ เกิด เจ็บ แก่ ตาย ดังมีรายละเอียดดังนี้

1. "เกิด" เมื่อสมาชิกเกิดลูก แล้วไปสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า ทางกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า มอบของขวัญฝากเงินประเดิมให้เป็นทุนการศึกษาคนละจำนวน 1,000 บาท แล้วพ่อแม่ฝากสมทบให้ต่อไปเดือนละเท่าไรก็ได้ ตลอดจนครบอายุ 20 หรือ จบการเรียนชั้นอุดมศึกษาจนเข้ามหาวิทยาลัย ดอกทบต้น ถ้าขาดติดต่อกัน 3 เดือน ทางกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้าริบเงินฝากจำนวน 1,000 บาท คืนทันที

2. "เจ็บ" เมื่อใครเจ็บป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลของรัฐ เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ 50% จากใบเสร็จตัวจริงของสถานพยาบาลของรัฐแต่ไม่เกิน 3,000 บาทต่อครอบครัวต่อปี

3. "แก่" เมื่อสมาชิกอายุได้ 60 ปีขึ้นไป จะได้รับสวัสดิการ ตอนนี้ผู้สูงอายุในหมู่ที่ 1 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มีจำนวน 110 คน จัดผู้ชรา พิการ ที่สุด ๆ ได้จำนวน 16 คน ให้เงินบำรุงขวัญและกำลังใจคนละจำนวน 20 บาทต่อเดือน เป็นเงินจำนวน 3,200 บาทต่อเดือน ตลอดปีเป็นเงินจำนวน 38,400 บาท ผู้สูงอายุที่ไม่สุด ๆ อีก จำนวน 94 คน ให้คนละ 20 บาทต่อเดือน เป็นขวัญและกำลังใจในฐานะที่มีอายุอยู่ได้ถึง 60 ปี คิดเป็นเงินตลอดปีเป็นเงินได้จำนวน 22,560 บาท รวมสวัสดิการให้ขวัญกำลังใจผู้สูงอายทั้งหมดตลอดปีเป็นเงินจำนวน 60,960 บาทต่อปี ได้ปรึกษากับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปว่าท่านมีอายุ 60 ปี มีกำลังอยู่พอที่จะปลูกพริกได้สัก 9 กอ ขมิ้นสัก 4 กอ ตะไคร้สัก 3 กอ กล้วยสัก 2 กอ ได้หรือไม่ ทุกคนตอบว่าได้ แล้วจะทำไม กระผมจึงตอบว่าถ้าคุณปลูกได้ครบทั้ง 4 อย่าง เมื่อพริกเป็นดอกเมื่อใดให้คุณ ๆ ทุกคนไปเบิกเงินได้จากกุล่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตได้คนละ 100 บาทต่อคนต่อชุดต่อปีได้ทุกปี เมื่อผู้สูงอายุ ปลูกพริก 9 ต้น ปลูกขมิ้น 4 กอ ปลูกตะไคร้ 3 กอ ปลูกกล้วย 2 กอ ได้แล้ว ตามที่สมาชิกทางภาคอีสานเขาว่า ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืชฆ่าคน ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ฆ่าดินจึงสนับสนุนให้สร้างโรงงาน ผลิตปุ๋ยธรรมชาติขึ้นคนละหนึ่งโรงพร้อมเครื่องตัดหญ้าด้วยคนละหนึ่งเครื่อง คือ ให้เลี้ยงแม่โค (แม่วัว) คนละ 1 ตัว ไว้ให้กินหญ้าข้างบ้านแทนเครื่องตัดหญ้า เพราะแม่โคกินหญ้าแล้วถ่ายมูลออกมา (ขี้วัว) ได้ตัวละประมาณ 1,000 กิโลกรัมต่อปีต่อตัว ใส่พริก 9 ต้น ขมิ้น 4 กอ ตะไคร้ 3 กอ กล้วย 2 กอ คิดว่าพอ เมื่อแม่โคเกิดลูกให้ขวัญและกำลังใจแก่เจ้าของตัวละ 100 บาท เมื่อลูกโคตัวนั้นโตให้เข้าโครงการโคขุนขายตอนแรก เมื่อเข้าโครงการลูกโคราคาไม่ต่ำกว่า 3,000 บาท ขึ้นไปให้เงินสนับสนุนก่อนจำนวนเงิน 200 บาท เมื่อเอาไปซื้ออุปกรณ์ในการเลี้ยง เมื่อขายได้ราคาเกิน 3,000 บาท ทางกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้ามอบให้อีกจำนวนเงิน 300 บาท เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจรวมเป็นเงินจำนวนตัวละ 600 บาท ให้เลี้ยงไก่ครอบครัวละ 20 ตัวขึ้นไป แรกให้ตัวละ 2 บาท เมื่อขายให้อีกตัวละ 3 บาท ถ้าตายเหลือ 10 ตัว ไม่จ่าย 3 บาทหลัง ถ้าเหลือ 11 ตัว จ่าย 11 ตัว รวมแล้วจ่ายตัวละ 5 บาท ตั้งงบไว้ 10,000 บาทต่อปี ทั้งหมดนี้พยายามกระตุ้นให้สมาชิกช่วยกันสร้างเม็ดเงินช่วยชาติแก้วิกฤตของประเทศ

4. "ตาย" เมื่อตายทางกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้าทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตายจำนวนเงิน 4,000 บาท และสนับสนุนให้เงินไปจัดงานศพงานละ 20,000 บาท หนึ่งเดือนเอาคืนโดยไม่คิดดอกเบี้ย

ในการบริหารจัดการต่าง ๆ ข้าพเจ้ายึดหลักปรัชญา 4 ตอน ดังนี้

ปรัชญาตอนที่ 1 มีอยู่ 3 ข้อ ว่า

1. ระบบดี 2. ระเบียบสวย 3. รวยคุณธรรม

ระบบดี หมายถึง การจัดการวางระบบการทำงานของคณะกรรมการอย่างชัดเจน คณะกรรมการดำเนินงานกองทุนการออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า ประกอบด้วย คณะบริหาร คณะตรวจสอบ คณะกรรมการส่งเสริม และคณะกรรมการพิจารณาเงินกู้ แต่ละคณะจะประกอบไปด้วย ประธาน รองประธาน คณะกรรมการและเลขานุการ โดยมีบทบาทหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติแบ่งแยกจากกันอย่างชัดเจน

"ระเบียบสวย"
การร่างระเบียบมีอยู่ 3 วาระจึงจะสวยได้เมื่อสมาชิกยอมรับ
1. วาระที่ 1 มีผู้ร่างและผู้เขียนอย่างชัดเจน ตามหลักนโยบาย ตามระบอบประชาธิปไตยที่ชุมชนนั้นยอมรับ
2. วาระที่ 2 เมื่อผู้เขียนเสร็จแล้วเสนอคณะกรรมการพิจารณาว่าถูกต้องตามหลักกการและนโยบายหรือไม่ เมื่อคณะกรรมการยอมรับถือว่าผ่านวาระที่ 2
3. วาระที่ 3 เชิญสมาชิกทั้งหมดเข้าร่วมประชุมหรืออย่างน้อยครอบครัวละ 1 คน แล้วให้เลขานุการอ่านระเบียบให้สมาชิกฟังทีละข้อ ถามความเห็นของสมาชิกว่าใช้เป็นข้อบังคับของกลุ่มได้หรือไม่ โดยให้ยกมือยอมรับ ถ้าเสียงเกินครึ่งถือว่าใช้ได้ตามหลักของระบบประชาธิปไตย เมื่อผ่านวาระที่ 3 แล้ว ถือว่าระเบียบสวย ใช้ในการบริหารของกลุ่มได้ตามหลักการ

"รวยคุณธรรม" มี 5 ข้อ คือ
1. มีความซื่อสัตย์ 2. เสียสละเพื่อส่วนรวม 3. รับผิดชอบร่วมกัน 4. เห็นอกเห็นใจกัน 5. ไว้วางใจกัน กลุ่มใดที่มีคุณธรรมทั้ง 5 ประการนี้แล้วกฎหมายไม่ต้องใช้ก็ได้ เพราะคุณธรรมนำกฎหมาย คุณธรรมถ้าผิดแล้วผิดเลย เพราะฉะนั้นคุณธรรมแก้ไขอะไรไม่ได้ ทำผิดคนอื่นไม่รู้เรารู้ กฎหมายถ้าใครพูดเก่งชนะทำแล้วไม่สบายใจอยู่นั้น แล้วเป็นตัวหลอกหลอนตัวเราเองไปจนตาย ดังรายละเอียดของคุณธรรมทั้ง 5 ข้อดังนี้

1. ความซื่อสัตย์ กลุ่มใดถ้ามีความซื่อสัตย์ กลุ่มนั้นค่อยพัฒนาให้เจริญได้ไปเป็นลำดับจากเล็กขึ้นไปหาใหญ่ ตรงต่อเวลา ปัญหามีน้อย ถ้ามีแก้ไขได้ด้วยเหตุด้วยผล
2. เสียสละเพื่อส่วนรวม การเสียสละนั้นต้องแบ่งเป็นสองขั้นตอน ขั้นตอนที่หนึ่ง คณะกรรมการเจ้าหน้าที่พนักงานเสียสละเวลา เสียสละความคิด เสียสละแรงงาน ขั้นตอนที่สองสมาชิกเสียสละเงิน และสิ่งของบางส่วนให้เป็นค่าตอบแทน ให้กับคณะกกรมการเจ้าหน้าที่และพนักงานเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงาน
3. รับผิดชอบร่วมกัน การทำงานระดับกลุ่ม ระดับเครือข่าย ต้องรับผิดชอบร่วมกัน โดยใช้ระบอบประชาธิปไตย ด้วยเหตุด้วยผลมาชี้แจงหาหลักฐานมาประกอบแล้วพิจารณาว่า ผิดตรงไหน แล้วตัดสินกันด้วยเหตุด้วยผล โดยไม่ลำเอียงว่าใครจะเสียหรือได้ ตามหลักฐานที่ปรากฏให้ชัดเจนตามขั้นตอนที่ได้มา
4. เห็นอกเห็นใจกัน ใครทำผดไม่ซ้ำเติม หาเหตุหาผลว่าการกระทำเจตนาหรือไม่ หรือเจตนา จะเอาโทษตามระเบียบหรือลดย่อย ว่ากันไปตามข้อมูลหรือหลักฐาน จะรับสารภาพหรือไม่ตลอดจนให้กำลังใจแต่ต้องเด็ดขาด
5. ไว้วางใจกัน คือ มอบหมายให้ใครทำอะไรแล้วไม่ต้องระแวงว่าเขาจะทำได้ไม่ดี เพราะก่อนมอบหมายให้เขานั้นเราต้องแน่ใจก่อนจึงมอบหมายให้ทำ ถ้าไม่แน่ใจก่อนอย่ามอบให้ทำถ้าเกิดเสียหายขึ้นมาต้องรับผิดชอบร่วมกัน และหาทางออกแก้ไขให้ได้ แล้วปรับปรุงให้ดีขึ้น


ปรัชญาตอนที่ 2 มี 5 ข้อ คือ

1. ต้องมีความรัก 2. ต้องมีความอดทน 3. ต้องมีความซื่อสัตย์ 4. ถ้าเกิดความสงสัยแล้วต้องซักถามทันที 5. เมื่อรู้แล้วต้องแนะนำผู้อื่นด้วยเพื่อขยายผล ปรัชญาตอนที่สองนี้ เมื่อใครทำงานกับส่วนรวมแล้วต้องปฏิบัติให้ได้ ถ้าปฏิบัติไม่ได้ งานไม่เจริญก้าวหน้าแล้วอาจจะล้มเหลวจะเสียผู้เสียคนหายไปจากวงการได้เลย เพราะทำงานทุกอย่างต้องมีปัญหาจึงเจริญได้ ถ้าแก้ปัญหาไม่ได้งานนั้นก็พัง ถ้าไม่อยากให้พังต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย ไม่ใช้เอาแต่ใจของตนเอง ถือว่าความเห็นของผู้อื่นเป็นครูของเรา เหมือนมีดกับหิน มีดก็คือเหล็กที่มีเหล็กกล้าอยู่ข้างใน เหล็กเหนี่ยวอยู่ข้างนอกทั้งสองข้าง หินก็คือ หินเป็นหินหยาบหรือหินเนียน มีดเมื่อพบกับหินและน้ำถูไปถูมา หินก็สึก มีดคือเหล็กก็สึก น้ำก็แห้ง ผลที่เกิดมี คือ เหล็กเกิดความคม หินก็สึกไปเฉย ๆ น้ำก็แห้งไปเป็นธรรมดาไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ความคมเกิดขึ้นที่มีดเอาไปใช้งานได้ตามความต้องการ ด้วยความพอใจ สะดวกสบาย เหมือนงานที่ทำด้วยความรัก ความอดทน ความซื่อสัตย์ สงสัยแล้วซักถาม รู้แล้วแนะนำผู้อื่นเพื่อขยายผล ดังมีความหมายตามปรัชญา ดังนี้

1. ความรัก งานที่ทำทุกอย่างเมื่อมีความรักในงานนั้นแล้วทำให้ทำงานนั้นไปได้สวยงามเกิดผลประโยชน์ทุกอย่างที่ต้องการแล้วมีความสบายใจ ทะนุถนอม หวงแหนไม่ให้เสียหาย รักษาอยู่ได้ตลอดชีวิต แต่ความรักนั้นไม่ผิดคุณธรรมและศีลธรรมอันดีงามของไทย
2. ความอดทน งานที่ทำทุกอย่าง ถ้าไม่อดทนแล้วงานนั้นไม่สำเร็จ งานทุกอย่างที่ทำต้องมีปัญหาและเหนื่อยต้องแก้ต้องพยายาม ต้องคิด ต้องทดลอง ต้องมุ่งมานะให้สำเร็จถ้าละทิ้งแล้วงานที่ทำไม่สำเร็จสักอย่างไปตลอดชีวิต จะเป็นแบบอย่างให้คนอื่นไม่ได้ ความถูกต้อง ความเป็นธรรม ผลงาน เกียรติยศ ทรัพย์สิน เงินทองก็ตามมา ประชาก็รู้จัก
3.ความซื่อสัตย์ งานที่ทำถ้ามีความซื่อสัตย์แล้วงานไปได้สวย โปร่งใสการตำหนิมีน้อย แก้ปัญหาได้มีความสบายใจงานก็เจริญ ผลงานก็เกิด ใคร ๆ ก็รัก สมาชิกก็เพิ่มขึ้น
4. ถ้ามีความสงสัยแล้วซักถามทันที งานที่ทำถ้าเกิดปัญหาว่าไม่ถูกต้องแล้ว ต้องซักถามทันที หาที่มาที่ไปจะแก้ไขให้ถูกต้องด้วยการพูดเจรจาให้เข้าใจกัน อย่าคอยจับผิดและซ้ำเติม ปรับความเข้าใจให้ได้ทั้งสองฝ่ายจนหายสงสัย
5. เมื่อรู้แล้วต้องแนะนำผู้อื่นด้วยเพื่อขยายผล งานที่ทำเมื่อพบความสำเร็จแล้ว บอกเล่าและสอนให้ผู้อื่นด้วย เพื่อให้มีเครือข่ายและขยายผลต่อไป


ปรัชญาตอนที่ 3 มี 3 ข้อ ดังนี้

1. สะอาด 2. ขนาด 3. สวยงาม ปรัชญาตอนที่ 3 นี้ การทำงานทุกอย่าง ถ้าไม่รู้จักคำว่า สะอาดคืออะไร ขนาดคืออะไร สวยงามคืออะไร แล้วทำให้สำเร็จอยาก สมาชิกก็เกิดความระแวงไม่มีคนร่วมงาน งานก็อยู่ไม่ได้ ใคร ๆ ก็ไม่ชอบ ดังมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

1. คำว่าสะอาด งานที่ทำต้องโปร่งใส ชัดเจน มีที่ตำหนิน้อย มีข้อมูลที่เป็นฐานชัดเจน ถูกต้อง ตรวจสอบง่าย ไม่ปิดบัง ใครซักถามตอบไปตรงจุดที่เขาสงสัยและตรงประเด็น ไม่ติดขัดซัดทอดไปให้ผู้อื่น แล้วแสดงความพิรุธหาทางปกปิด
2. คำว่าขนาด งานที่ทำหรือให้ผู้อื่นทำ ต้องรู้ว่าคนที่ทำงานนี้มีความสามารถทำได้แค่ไหน ทำได้สำเร็จหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ให้ยืมเงินแล้วส่งคืนได้หรือไม่ ฐานะการเงินเขามีแค่ไหน เขาจะส่งดอกและต้นได้แล้วไว้ใช้ส่วนตัวพอหรือไม่ ต้องรู้ขนาดว่าจะให้เขายืมไปเท่าไรที่เขาจะเสียได้ ถ้าให้เกินขนาดต้องมีปัญหาแน่นอน ความเดือนร้อนจะเกิดกับผู้ให้และผู้รับ
3. สวยงาม งานที่ทำถ้าต้องการให้สวยงาม ต้องตั้งใจ ต้องรอบคอบ ต้องละเอียดอ่อน ต้องรู้สัดส่วนของงาน แล้วรู้ตำแหน่งของงาน ต้องตรงเวลา ต้องมีสัจจะ ต้องโปร่งใส เช่น เมื่อกู้เงินของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตไปแล้วต้องส่งต้น ส่งดอก สม่ำเสมอ คณะกรรมการไม่ต้องทวงหรือตาม จึงจะเรียกว่าสวยงาม

ปรัชญาตอนที่ 4 การทำงานเหมือนแมลง 2 ชนิด คือ

1. จงทำงานเหมือนแลงผึ้ง 2. อย่าทำงานเหมือนแมลงมุม เพราะแมลงทั้งสองชนิดนี้ทำงานไม่เหมือนกัน อุดมการณ์ก็ไม่เหมือนกัน ผลประโยชน์ก็ไม่เหมือนกัน วิธีการกระทำก็ไม่เหมือนกัน แต่ละชนิดก็มีผลประโยชน์เข้าสู่ตนเอง แบบพอเพียงและพอใจในผลงานของตนเอง แบบเศรษฐกิจพอเพียง คือ

1. แมลงผึ้ง แมลงผึ้งเป็นแมลงที่มีทีมงาน ที่ทำงานมากเหมือนประชากรของประเทศ ประเทศหนึ่ง มีคณะทำงานเป็นคณะฝ่ายมีผู้บริหาร คือ "นางพญา" มีคณะป้องกันรักษาความปลอดภัยของนางพญา มีคณะก่อสร้างรัง มีคณะการจัดการ มีคณะขนส่ง และมีคณะทำงานหาอาหาร โดยบินออกจากรัง ข้ามทุ่งนา ข้ามคลอง ข้ามภูเขา เพื่อไปหาเกษรดอกไม้และน้ำหวานของดอกไม้มาเพื่อเลี้ยงคณะและนางพญาของรังให้อยู่รอดอย่างดีได้อย่างมีสุข โดยเอาปากอมมาแต่ละนิดเกษรดอกไม้ติดมาตามขา แล้วมาสะสมไว้ที่รังผสมเข้าด้วยกันจนเป็นยาสมุนไพร โดยผ่านการต่อสู้และศัตรูหลากหลายเหมือนกับชุมชน หมู่บ้าน ตำบล ของเราได้รวบรวมชาวบ้านเข้าเป็นกลุ่มก้อนแล้ว แนะนำให้รวบรวมเงินทุนของชาวบ้านของเราที่อยู่กระจัดกระจายเข้าเป็นกลุ่มก้อนแล้วให้กู้ยืมกันไปประกอบอาชีพ หมุนเวียนกันไปเพื่อสร้างฐานะของตนเองแล้วมาสร้างฐานะของชุมชน โดยเอาเงินเป็นสื่อในการพัฒนาคน ให้คนพัฒนางาน ให้งานพัฒนาเงิน ให้เงินพัฒนาองค์กร ให้องค์กรพัฒนาชาติ เหมือนแมลงผึ้ง ที่พึ่งตนเองโดยธรรมชาติ ถ้าชุมชนพึ่งตนเองได้ ชาติก็เจริญ
2. แมลงมุม แมลงมุมเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่ทำงานอย่างฉลาด ไม่เหนื่อยมากเพียงแต่ชักใยไว้ระหว่างกิ่งไม้หนึ่งกิ่งกับกิ่งไม้หนึ่งที่ทำเลเหมาะ ๆ แล้ว ให้แมลงชนิดต่าง ๆ บินมาติดใยที่ชักไว้แล้วจับเป็นอาหาร ตอนที่แมลงที่มาติดใยหมดแรง แล้วจับกินเป็นอาหารอย่างสบาย เหมือนนายหน้าที่คอยเอาแต่กำไรจากเกษตรกร โดยเป็นพ่อค้าคนกลาง ใช้เวลานิดเดียวได้กำไรมหาศาล ไม่เหมือนเกษตรกร ทำอย่างเป็นปีได้กำไรนิดเดียว ตัวอย่างเช่น สถาบันการเงินสร้างอาหารใหญ่โตแล้วจัดให้สวยงามแล้วโฆษณา เพื่อให้ชาวบ้านและเกษตรกรเอาเงินไปฝาก แล้วให้ดอกเบี้ยต่ำ ปล่อยให้ชาวบ้านกู้ดอกเบี้ยสูง เอาส่วนต่างไปอย่างสบาย เหมือนแมลงมุมที่ชักใยไว้แล้วคอยจับแมลงที่มาติดใจกินเป็นอาหาร โดยไม่ต้องออกแรงมากเพียงแต่ใช้ความคิดเท่านั้น ชุมชนเราเมื่อรู้วิธีการของแมลงทั้งสองแล้วแต่ละชนิดดำเนินงานไม่เหมือนกัน พึ่งคำนึงว่าเราจะคิดอย่างไรกับชีวิตของเราให้อยู่ดีกินดี
ตามที่ข้าพเจ้านายเคล้า แก้วเพชร ได้เล่าประสบการณ์ของข้าพเจ้าตลอดจนประวัติของข้าพเจ้าและผลงานที่ข้าพเจ้า กระทำมาแล้วพัฒนามาจนมีความสามารถถอดออกมาชี้แจงถึงผลดีผลเสียได้พอประมาณมีปรัชญาทั้ง 4 ตอนว่าดังนี้
ปรัชญาตอนที่ 1 ว่า ระบบดี ระเบียบสวย รวยคุณธรรม ข้อนี้ใช้คุณธรรมนำกฎหมาย
ปรัชญาตอนที่ 2 ว่า รัก อดทน ซื่อสัตย์ สังสัยซักถาม รู้แล้วแนะนำเพื่อน ข้อนี้ใช้จิตสำนึกนำขบวน
ปรัชญาตอนที่ 3 ว่า สะอาด ขนาด สวยงาม ข้อนี้ใช้การดูแลและการวิเคราะห์ผลงานนำขบวน
ปรัชญาตอนที่ 4 ว่า ทำงานเหมือนแมลงผึ้ง อย่าทำงานเหมือนแมลงมุม ข้อนี้ใช้การเปรียบเทียบของแมลงทั้งสอง ข้าพเจ้าคิดดูแล้วว่าที่ข้าพเจ้าได้คิดปรัชญาขึ้นมาเพื่อเป็นตัวชี้วัดในการทำงานของข้าพเจ้าจะได้ผลหรือไม่นั้นไม่สำคัญ ๆ ที่ว่าข้าพเจ้าได้ทำแล้วมากับสมองและมือของข้าพเจ้าเอง จนมีกองทุนต่าง ๆ มาจำนวน 83 กองทุน จะช่วยชะลอความจน ทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน และกองทุนนี้จะช่วยชาติยามวิกฤติได้ ตามแนวทางของสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง

วันนี้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเล่ากิจกรรมที่ข้าพเจ้า และสมาชิกในชุมชนร่วมกันจัดทำขึ้นให้ผู้สนใจขอมาดูงานฟังเกือบทั่วประเทศตามประสบการณ์ของข้าพเจ้า

กิจกรรมเด่นที่ข้าพเจ้าเข้าร่วมทำกับชุมชนที่เด่น มีดังนี้

ศูนย์สาธิตการตลาด ไปได้สวยแต่ไม่โตเท่าที่ควร เพราะกำลังซื้อเราน้อย แต่เราคุมราคาสินค้าได้ในระดับหนึ่ง แบบเราร่วมกันคิด ร่วมกันซื้อแล้วแยกกันใช้ได้ในราคาที่ถูกคร่งต่อครึ่ง เช่น เราซื้อเสื้อตัวเดียวในราคา 300 บาท ถ้าเราซื้อขนาดและสีอย่างละครึ่งโหล ซื้อครั้งละไม่ต่ำกว่าสิบสองโหล ทางร้านจะลดให้เราได้เลยจากราคา 300 บาท มาเป็นราคา 150 บาท ได้เพราะเรามีทุนซื้อเงินสดได้ เราเอามาขายให้สมาชิกในราคาตัวละ 180 บาท หรือ 200 บาท เอากำไรมาปันผลและจัดสวัสดิการให้กับชุมชนได้ แล้วไม้จัดการบริหารจัดการได้ด้วย

กลุ่มเลี้ยงโค เรารวมกันคิดรวมกันทำแล้วรวมกันขาย เราทำไม่สำเร็จเพราะคนหลายคน หลายครอบครัว ความคิดไม่เหมือนกันการเสียสละก็มีน้อย ตอนใหม่ ๆ ไม่คอยมีปัญหาทำกันได้และอภัยกันได้ เมื่อนาน ๆ เข้าขีดความอดทนก็หมดไป ดังคำว่า ไม่เห็นแก่ตัว แต่ไม่ยอมเสียเปรียบใคร งานจึงล้มเหลว แต่ไม่สิ้นเชิง เลยมาคิดใหม่ทำใหม่ในคำว่า รวมกันคิดแยกกันทำแล้วรวมกันขาย เริ่มจากให้ทำคนละ 1 ไร่ ก่อนเวลา 5 ปี ทดลองทำพิสูจน์ดูแล้วได้ผล เริ่มขยายจาก 1 ไร่เป็น 6 ไร่ เพิ่มระเบียบข้อบังคับของกลุ่มมีดังนี้ 5 ไร่ ใหม่ให้ปลูกพืชยืนต้นคนละ 39 ต้น ในส่วนที่เหลือปลูกหญ้าทั้งหมด ให้เลี้ยงโคคนละ 9 ตัวอย่างน้อย ทำคอกขังตัดหญ้าให้กินเมื่อโคเกิดลูก กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้าให้สวัสดิการเป็นขวัญและกำลังใจตัวละ 100 บาท เมื่อลูกโคโตขนาดราคา 3,000 บาทขึ้นไป ให้แจ้งขุนทางกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้าน นาหว้าสนับสนุนให้ซื้ออุปกรณ์การขุนตอนแรกก่อนตัวละ 200 บาท เมื่อเลี้ยงโตขายได้เกิน 3,000 บาท ทางกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้าให้เป็นขวัญและกำลังใจอีก 300 บาท รวมแล้วลูกโค 1 ตัว กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้าสนับสนุนให้เป็นขวัญและกำลังใจผู้เลี้ยงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจตัวละ 600 บาท เพื่อสนับสนุนให้สมาชิกช่วยกันคิดช่วยกันทำ เพื่อสร้างเม็ดเงินช่วยชาติเพราะเมื่อสมาชิกเลี้ยงโคขายได้ตัวละ 10,000 บาท แล้วเอาไปซื้อของในตลาด รัฐบาลเก็บภาษี 7% เท่ากับ 700 บาท ในเงินหมุนครั้งแรกจากสมาชิกเมื่อสมาชิกสร้างเม็ดเงินให้มากขึ้นเท่าไร รัฐบาลก็เจริญขึ้นเท่านั้นเป็นเงาตามตัว

เนื่องจากกลุ่มเลี้ยงโคบ้านนาหว้า ตั้งอยู่ในที่ดินสาธารณะหรือที่เรียกว่า "ที่ดินสงวนเลี้ยงสัตว์" นั้นถือว่าที่ดินเป็นของรัฐบาล ใครเอามาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองไม่ได้ ได้แต่เพียงทำกินเท่านั้น ถ้าทำติดต่อ ถ่ายทอดถึงลูกถึงหลานได้ แต่อยู่ในระบบกลุ่มต้องอยู่เวรยาม และมี คณะกรรมการบริหาร มีการเลือกตั้งอย่างมากไม่เกิน 4 ปีต่อ 1 ครั้ง สมาชิกต้องทำงานอยู่ตลอด ถ้าใครขาดไม่ทำงาน 3 เดือน ให้ประธานเตือน ถ้าไม่ทำอีก 6 เดือน ให้กรรมการตาม ถ้าเกิน 1 ปี ให้ออกเลย แล้วให้คนอื่นเข้าทำแทน นี้ระเบียบกลุ่มที่มีที่ดินให้ทำในที่สาธารณะของรัฐบาล

ส่วนสมาชิกที่ไม่เข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนให้เลี้ยงแม่โคครอบครัวละ 2 ตัวเหมือนกัน และให้สวัสดิการเป็นขวัญกังใจเหมือนกับสมาชิกในกลุ่มทุกประการ

กลุ่มปลูกผักสวนครัว เรารวมกันคิดเราแยกกันทำเรารวมกันขาย คือ คณะกรรมการร่วมประชุมกันวางแผนว่าจะปลูกอะไรสักกี่ชนิดในชุมชนของเรา ที่ต้องกินต้องใช้แล้วแยกกันปลูกคนละชนิดหรือกี่ชนิดก็ได้ แต่ไม่ต่ำกว่า 3 ชนิด หรือมากว่าเท่าไรก็ได้ เราให้สวัสดิการและขวัญกำลังใจชนิดละไม่เกิน 9 ต้น 9 กอ 9 หลุม ๆ ละ 5 บาท แต่ไม่เกินครอบครัวละ 100 บาทต่อปี จะปลูกสักเท่าไรก็ได้แต่เราให้สวัสดิการและขวัญกำลังใจได้อย่างละ 9 เท่านั้น จากเงินดอกผลของกองทุนสวัสดิการ ส่วนที่เหลือจาก 9 ต้น 9 กอ 9 หลุม หรือเหลือกินจากครอบครัวแล้ว เรามีเงินกองกลางไว้รับซื้อแล้วขายส่งสู่ตลาดนอกชุมชน ด้วยราคาที่เป็นธรรมให้กับสมาชิกทุกคน ตามที่ตั้งปรัชญาไว้ว่า "รวมกันคิดแยกกันทำรวมกันขาย" และผักที่ปลูกนั้นต้องปลอดสารพิษ ถ้าใส่สารพิษจะไม่ให้สวัสดิการและขวัญกำลังใจ ตลอดจนไม่รับซื้อไปขายให้โดยเด็ดขาด เพราะเราสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยอินทรีย์ ที่หมักจากมูลโค มูลควาย มูลแพะ มูลแกะ ส่วนผสมของปุ๋ยอินทรีย์มีดังนี้ แกลบดิบ 1 กระสอบ แกลบดำ 1 กระสอบ รำละเอียด 1 กระสอบ มูลโค 1 กระสอบ น้ำหมักชีวภาพ 500 ซีซี น้ำบริสุทธิ์ 10 ลิตร โดยเอาแกลบดิบ แกลบดำ รำละเอียด มูลโค ผสมเข้ากันให้ดีแล้วเอาน้ำบริสุทธิ์ 10 ลิตรกับน้ำหมักชีวภาพ 500 ซีซี ผสมกันแล้วราดลงบนกองแกลบดิบ แกลบดำ รำละเอียด มูลโค ผสมให้เข้ากันแล้วเอากระสอบมัดจุกตั้งไว้พลิกทุกวัน ประมาณ 7 วัน ใช้ได้เลย ส่วนน้ำหมักชีวภาพทำจากส่วนผสมดังนี้ คือ กล้วยน้ำว้าสุก 1 กก. มะละกอ 1 กก. ลูกฟักทองสุก 1 กก. กากน้ำตาล 1 กก. รวมเข้ากันแล้วขย้ำให้เข้ากันแล้วหมักไว้สัก 30 วัน มันจะออกน้ำใส ๆ เอาน้ำมัน 500 ซีซี ผสมกับน้ำ แล้วเอาไปใช้ถือลดต้นทุนในการผลิต

โรงงานแปรรูปยางแผ่น รวมกันคิดแล้วแยกกันเอาน้ำยางมาขาย แล้วรวมกันผลิตให้ออกมาเป็นยางแผ่นชั้นดี แล้วรวมกันขายได้ราคาดี แล้วแบ่งผลประโยชน์กันรับ ร่วมกันพัฒนาในเรื่องบริหารจัดการ ประสานงานร่วมมือกับเรือข่ายกันระหว่างชุมชนและองค์กรประชาชนกับองค์กรของรัฐ ปัจจุบันมีผลเป็นที่น่าพอใส เพราะมีปัญหาแล้วช่วยกันแก้

สถาบันการเงิน พัฒนามาดีพอสมควร มีเครือข่ายทั่วประเทศ มีทั้งของรัฐและเอกชน มีทั้งต้นแบบและผู้ทำตามทั้งมีปัญหาและไม่มีปัญหา แต่ที่มีปัญหาสามารถช่วยกันแก้ได้ตามระบบ ระเบียบ ใช้คุณธรรมเป็นหลัก ดังระเบียบของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า มีดังนี้

ระเบียบกฎข้อบังคับของกลุ่มออมทรัพย์บ้านนาหว้า มีดังนี้
อันดับแรกสมาชิกต้องมีคุณธรรม 5 ประการ
1. ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อกัน
2. ต้องมีความเสียสละเพื่อส่วนรวม
3. ต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน
4. ต้องมีความเห็นอกเห็นใจกัน
5. ต้องมีความไว้วางใจกัน

1. คุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครเข้ามาเป็นสมาชิก
1.1 บุคคลทุกเพศทุวัย ทุกอาชีพ โดยไม่จำกัดอายุที่มีภูมิลำเนาอยู่ในหมู่ที่ 1 , 12 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และทายาทของสมาชิกที่อยู่ในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดอื่น ๆ พร้อมทั้งพ่อตาและแม่ยายด้วย
1.2 กลุ่มอาชีพต่าง ๆ และกุ่มอื่น ๆ ที่อยู่ในหมู่ที่ 1 , 12 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
1.3 บุคคลที่ไม่เสียประวัติอย่างร้ายแรงมาเป็นสมาชิกได้

2. ประเภทของสมาชิก
2.1 สมาชิกสามัญ ได้แก่ บุคคลที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1.1
2.2 สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ สมาชิกที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1.2
2.3 สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ สมาชิกที่ฝากเงินแล้วไม่มีสิทธิ์กู้ แต่ได้รับสวัสดิการอื่นได้ทุกอย่างจากกลุ่ม

3. สิทธิของสมาชิก
3.1 สมาชิกสามัญ และวิสามัญ มีสิทธิกู้ยืมเงินได้ รับเงินปันผลจากกลุ่มได้
3.2 สมาชิกกิตติมศักดิ์ ไม่มีสิทธิ์กู้ยืมเงิน แต่มีสิทธิได้รับเงินปันผลและอื่น ๆ ได้เท่าเทียมกับสมาชิกทั่วไปได้จากกลุ่ม
3.3 สมาชิกที่อยู่ภายนอหมู่ที่ 1 , 12 ต้องฝากเงินอย่างน้อยเดือนละ 100 บาท ทุกคนทุกเดือน มิฉะนั้นจะไม่ได้รับสวัสดิการ

4. การรับสมัครเข้าเป็นสมาชิก
4.1 สมัครกับคณะกรรมการด้วยตนเอง พร้อมเสียค่าสมัครคนละ 15 บาท เด็กแรกเกิดไม่ต้องเสียค่าสมัคร
4.2 ค่าสมัครและค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นสมาชิกจะไม่จ่ายคืนไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
4.3 เมื่อสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกแล้ว ต้องปฏิบัติตามกฎ กติกา และระเบียบของกลุ่มโดยเคร่งครัด

5. การส่งเงินสัจจะสะสมทรัพย์
5.1 จะส่งเงินสัจจะสะสมทรัพย์เดือนละเท่าไรก็ได้ แล้วแต่ความสามารถของตนเอง เพิ่มหรือลดไม่ได้ในเวลา 1 ปี
5.2 ส่งเงินสัจจะสะสม ส่งในวันที่ 1 , 5 ของทุกเดือน ในเวลา 09.00 น. ถึงเวลา 17.00 น. หรือหมดงาน
5.3 ถ้าขาดส่ง ถือว่าขาดไปเลยในเดือนนั้น

6. การกู้เงินและคุณสมบัติของผู้กู้
6.1 ต้องเป็นสมาชิกแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน
6.2 สมาชิกสามัญกู้ได้ 120% ของเงินฝากในครอบครัว ถ้าต้องการกู้ให้มากเอาสมุดเงินฝากครอบครัวอื่นได้
6.3 ถ้ากู้ส่งเสริมอาชีพกู้ได้เท่าเงินฝากในครอบครัวแต่ไม่เกิน 20,000 บาท คิดดอกเบี้ยต่ำ กู้เกินได้ 20
6.4 กู้ฉุกเฉินได้ครั้งละ 5,000 บาท แต่ไม่เกินเงินฝากสัจจะคิดดอกร้อยละ 1.50 บาทต่อเดือน ให้เวลา 6 เดือน ถ้าเกิน 6 เดือน คิดร้อยละ 6 บาทต่อเดือน ถ้าส่งไม่หมดกู้เพิ่มไม่ได้ ถ้าส่งหมดกู้สักกี่ครั้งก็ได้ใน 1 ปี
6.5 สมาชิกตายกู้จัดงานศพ ได้ศพละ 20,000 บาท เวลา 1 เดือน ไม่คิดดอก ถ้าเกินคิดดอกร้อยละ 2 บาทต่อเดือน

7. วัตถุประสงค์ของการกู้
7.1 เพื่อส่งเสริมช่วยเหลือเพิ่มพูนรายได้ของครอบครัว ของสมาชิกและบรรเทาความ เดือดร้อนของสมาชิก
7.2 ส่งเสริมในการประกอบอาชีพของสมาชิกให้มีรายได้เพิ่ม
7.3 เพื่อให้สมาชิกรู้จักการประหยัดและรู้จักสำนึกในการจ่ายเงิน
7.4 เพื่อให้สมาชิกรู้จักจ่ายเงินให้เป็นประโยชน์
7.5 เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
7.6เพื่อได้สำนึกว่าได้อาศัยซึ่งกันและกันในหมู่คณะ
7.7เพื่อให้รู้ว่าตนเองมีเพื่อน

8. การพิจารณาเงินกู้
8.1 ดูประวัติการส่งเงินสัจจะของครอบครัวสมาชิกเรียบร้อยหรือไม่
8.2 ดูประวัติการส่งเงินกู้ครั้งก่อนเรียบร้อยหรือไม่
8.3 ดูว่าคนค้ำประกันทั้ง 2 คนนั้นมั่นคงหรือไม่เงินฝากในครอบครัวพอสมดุลด้วยหรือไม่
8.4 การทำหลักฐานในการกู้ถูกต้องหรือครบถ้วนตามระเบียบแล้วหรือยัง
8.5 ลายเซ็นของผู้กู้ ผู้ค้ำ ถูกต้องครบถ้วนทุกขั้นตอนแล้วหรือไม่
8.6 ลายเซ็นของเจ้าหน้าที่ครบถ้วนแล้วหรือยัง
8.7 คณะกรรมการทั้งคณะที่พิจารณาเงินกู้ ช่วยกันพิจารณาให้รอบคอบก่อนการผ่านให้กู้และรับผิดชอบด้วย
8.8 คณะกรรมการก่อนอนุมัติ ให้พิจารณาเจตนาของผู้กู้ให้รอบคอบ ว่าเมื่อกู้ไปแล้วเขาสามารถส่งได้หรือไม่

9. การรับเงินกู้
9.1 ใครทำสัญญาก่อนได้รับก่อนตามลำดับ
9.2 ใครมาก่อนเมื่อมีเงิน ผู้ทำสัญญาก่อนไม่มารับได้ก่อน
9.3 กู้แต่งงานรับได้ก่อน
9.4 กู้เอาเงินฝากค้ำประกันรับได้ก่อน
9.5 กรณีอื่น ๆ แล้วแต่กรรมการพิจารณา

10. อัตราดอกเบี้ย
10.1 ดอกเบี้ยเงินฝากของสมาชิก คิดให้เท่าเงินฝากของสหกรณ์การเกษตรจะนะ จำกัด
10.2 ดอกเบี้ยเงินกู้สามัญของสมาชิกคิดร้อยละไม่เกิน 15 บาทต่อปี หรือลดลงตามส่วนแล้วแต่ภาวะการเงิน
10.3 ดอกเบี้ยอื่น ๆ แล้วแต่คณะกรรมการและสมาชิกกำหนด
10.4 ดอกเบี้ยส่งเสริมอาชีพขอให้ต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินกู้สามัญ

11. การชำระดอกเบี้ยเงินกู้
11.1 สมาชิกต้องชำระเงินต้น และดอกเบี้ยทุกเดือน
11.2 ถ้าสมาชิกชำระเงินต้นและดอกเบี้ยสม่ำเสมอทุกเดอืนตลอดทั้งปีจะได้รับเงินเฉลี่ยคืนเต็มเปอร์เซ็นต์
11.3 ถ้าสมาชิกชำระแต่ดอกเบี้ยตลอดปี แต่ค้างตนบ้างสัก 1 เดือน จะได้รับเงินเดือนเฉลี่ยคืนครึ่งเปอร์เซ็นต์
11.4 ถ้าสมาชิกขาดชำระต้นและดอกเบี้ย 3 เดือนติดต่อกัน เจ้าหน้าที่ออกใบเตือน
11.5 ถ้าสมาชิกขาดเกิน 3 เดือน ให้เสนอคณะกรรมการ พิจารณาสั่งการให้ติดตาม
11.6ค่าเตือนค่าตามให้คิดเงินที่สมาชิกครั้งละ 100 บาท ทุกครั้งทุกคนที่ตามให้กลุ่มจ่ายก่อนแล้วหักเงินปันผลสมาชิก

12. การถอนเงิน
12.1 สมาชิกต้องไม่มีหนี้สินกับกลุ่มกู้หรือค้ำประกันผู้อื่นอยู่
12.2 สมาชิกต้องแจ้งให้พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า 1 เดือน หรือต้องหลังเดือนเมษายนของทุกปี
12.3 สมาชิกต้องมารับในวันทำงานของกลุ่ม คือ มาทำเรื่องถอนแล้วมารับเงินในวันที่ 1 , 5 ของเดือน
12.4 สมาชิกเมื่อถอนเงินแล้ว งดสวัสดิการต่าง ๆ 5 ปี ยกเว้นแต่เงินฝากครอบครัวเหลืออยู่ในกลุ่มไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท

13. ข้อบังคับของพนักงาน
13.1 พนักงานรับมาจากการแต่งตั้ง หรือสอบคัดเลือก
13.2 พนักงานเมื่อทำงานอยู่จนครบอายุ 65 ปี ให้เกษียณได้รับบำนาญปีละ 6,000 บาท จนเสียชีวิต
13.3 พนักงานทำความผิดให้ออก แม่อายุ 64 ปี 11 เดือน 29 วัน ก็ไม่ได้รับบำนาญ
13.4 พนักงานดอกเบี้ยเงินฝากสัจจะทบต้น ไว้เป็นหลักประกันในการทำงาน
13.5 พนักงานไม่ค้างทำงานตรงเวลา คือ มาทำงานเวลา 09.00 น. เลิกเวลา 16.30 น. หรืองานหมด

14. คณะกรรมการมี 4 คณะ
14.1 คณะกรรมการบริหาร มี 5 คน คือ 1. ประธาน 2. รองประธาน 3. เลขานุการ 4. เหรัญญิก 5. ผู้ช่วยเหรัญญิก
14.2 คณะกรรมการบริหาร มี 3 คน คือ 1. ประธาน 2. รองประธาน 3. เลขานุการ
14.3 คณะกรรมการพิจารณาเงินกู้ มี 3 คน คือ 1. ประธาน 2. รองประธาน 3. เลขานุการ (ปัจจุบันพิจารณาทั้งคณะ)
14.4 คณะกรรมการส่งเสริม มี 5 คน คือ 1. ประธาน 2. รองประธาน 3. กรรมการ 2 คน 4. เลขานุการ
คณะกรรมการทั้งหมดจำนวน 16 คน ปฏิบัติงานอยู่ 4 ปี แล้วเลือกตั้งใหม่ทั้งคณะ คณะกรรมการมีหน้าที่บริหารสั่งงานให้ฝ่ายจัดการทำงาน ตรวจสอบ พิจารณา และส่งเสริม ควบคุมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม

15. เกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนของผู้ปฏิบัติงาน และสมาชิก
15.1 จ่ายค่าพาหนะผู้ไปฝาก ถอน เงินที่ธนาคารหรือสหกรณ์ รวมทั้งค่าอาหารคนละ 100 บาทต่อครั้ง
15.2 จ่ายเงินปันผลให้สมาชิกปีละ 1 ครั้ง หลัวงันที่ 15 ของเดือนธันวาคมไม่ต่ำกว่าเงินฝากของสหกรณ์จะนะ
15.3 จ่ายค่าตอบแทนฝายจัดการเป็นวัน ปีละ 1 ครั้ง
15.4 จ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการเป็นวัน ปีละ 1 ครั้ง
15.5 จ่ายค่าตอบแทนพนักงานเป็นเดือน ๆ ละ 1 ครั้ง
15.6 จ่ายเบี้ยเลี้ยงไปประชุมนอกสถานที่ ในอำเภอครั้งละ 100 บาท นอกอำเภอครั้งละ 200 บาท ค่าพาหนะจ่ายตามจริง (กลับมาแล้วเขียนรายงานตามความเป็นจริงว่าได้ทำอะไรบ้าง แต่ละวันตามแบบฟอร์มที่ทางกลุ่มกำหนดไว้จากวันเดินทางจนถึงวันกลับ อย่างย่อ ๆ แล้วส่งคณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาเพื่อซักถามให้ชี้แจง เพื่อให้ความรู้แก่คณะกรรมการที่อยู่กลุ่มได้รับทราบ แล้ววิเคราะห์ใช้ในการบริหารและจัดการพัฒนากลุ่มให้เจริญก้าวหน้าต่อไป แล้วนำเอาแบบอย่างเพื่อแก้ปัญหาของกลุ่มที่ผิดให้ถูกต้องเสีย การเดินทางจากวันไหนถึงวันไหนบอกวันให้ชัดเจนตามำจนวนที่เบิกเบี้ยเลี้ยงกี่วัน ค่าพาหนะ ค่ารถอะไรบ้างที่ทางการไม่เบิกให้ตลอดจนถึง โรงแรมที่จ่ายเองตามภาระที่กำหนดเพราะกลับไม่ทันด้วยเหตุด้วยผล ส่วนแบบฟอร์มทางกลุ่มเตรียมทำไว้ให้เหมาะกับกลุ่มของตนเองให้ชัดเจนเพื่อตรวจสอบได้ตามหลักฐาน)

16. การใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ ตามโครงการต่าง ๆ
16.1 สมาชิกทำโครงการสร้างบ้านเพื่อแยกครอบครัวหรือสร้างบ้านใหม่ ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันได้
16.2 สมาชิกทำโครงการเพื่อส่งเสริมอาชีพในการพัฒนางานให้ก้าวหน้า ในการสร้างฐานะของตนเอง
16.3 สมาชิกซื้อที่ดินตามโครงการ ที่ดินที่มีหลักฐาน โดยเอาหลีกฐานที่ดินที่มีและหลักฐานที่ดินที่ซื้อใหม่ร่วมกันเป็นหลักฐานได้ (โครงการนี้เป็นโครงการที่สมาชิกต้องปฏิบัติจริง ๆ ใช้โกหกไม่ได้ คณะกรรกมาต้องตรวจสอบกันจริง ๆ ให้ชัดเจน)
16.4 สมาชิกใช้เงินสินสอดแต่งงานลูกได้ด้วยการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
ตามระเบียบกฎข้อบังคับ ของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า หมู่ที่ 1 , 12 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งมีข้อบังคับเป็นข้อใหญ่ ๆ จำนวน 16 ข้อนั้นกับข้อย่อยอีกมากมาย ใช้ได้กับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้าเท่านั้น ส่วนหมู่บ้านอื่น ๆ ขอให้จัดทำข้อบังคับเอาตามการกำหนดอนาคตของบ้านเอง ด้วยภูมิปัญญาของคนในบ้านนั้น ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในบ้านนั้น ด้วยความสะอาด รู้จักขนาด แล้วให้สวยงาม แล้วมีการรายงานฐานะการเงินประจำทุกเดือน ตั้งแต่ จำนวนยอดยอดสมาชิก จำนวนยอดเงินสัจจะ จำนวนยอดเงินดอกเบี้ย จำนวนยอดเงินฝากพิเศษ จำนวนยอดเงินสวัสดิการ จำนวนยอดเงินกู้จากภายนอก จำนวนยอดเงินกู้สามัญ จำนวนยอดเงินฝากธนาคาร และยอดเงินที่อยู่ที่เหรัญญิก อยู่ที่ผู้ช่วยเหรัญญิก อยู่ที่ประธาน

Top


สภาชุมชน : การพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชนบ้านนาหว้า

คณะกรรมการดำเนินงานของบ้านนาหว้าหลายคณะ รวมเป็นสภาชุมชนบ้านนาหว้า โดยมีกลุ่มออมทรัพย์เป็นหลักหรือทุนรอนในการแบ่งเบาภารกิจ ยึดหลักการมีส่วนร่วมของสมาชิกตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

สภาชุมชนจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2538 โดยมีตัวแทนจากลุ่มต่าง ๆ เป็นสมาชิก เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเลี้ยงโค กลุ่มแม่บ้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพ่อวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน ทำกิจกรรม ที่จะพัฒนาอาชีพ แปรรูปผลิตผล และทำธุรกิจ สภาชุมชนมีการประชุมกันเดือนละเจ็ดครั้ง คณะกรรมการเฉพาะกิจมีสมาชิกเข้าร่วมซ้ำกันบ้างบางคณะ

กำหนดวันประชุมและขอบเขตเนื้อหาได้จัดทำเป็นระเบียบข้อบังคับอย่างชัดเจน รัดกุม ดังนี้

1. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า หมู่ที่ 1 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา จำนวน 16 คน รวมที่ปรึกษาอีก 2 คน เป็น 18 คน ในวันเสาร์แรกของเดือน เนื้อหาการประชุมประกอบไปด้วยเรื่องการดำเนินงานของกลุ่ม การพิจารณาเงินกู้ การแก้ไขปัญหา การติดตามหนี้ และหาวิธีการส่งเสริมอาชีพ เพิ่มรายได้ให้สมาชิกได้อยู่ดีกินดี ตลอดจนเข้าใจระเบียบข้อบังคับทุกกรณี

2. ประชุมคณะกรรมการบริหารกลุ่มเลี้ยงโค หมู่ที่ 1 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ทุกวันที่ 8 ของเดือน จำนวนคณะกรรมการ 18 คน ที่ปรึกษา 4 คน รวม 22 คน เนื้อหาการประชุมประกอบด้วยเรื่องการบริหารจัดการพัฒนาในการปับปรุงพันธ์โค การจัดการแปลงหญ้า การดูแลรักษา การฉีดวัคซีน การพัฒนาการเลี้ยงโคขุน ตลอดจนการจัดการตลาด และแปรรูปออกสู่ภายนอก เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว

3. ประชุมคณะกรรมการบริหารโรงงานแปรรูปยางแผ่น ของหมู่ที่ 1 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ทุกวันที่ 17 ของเดือน มีคณะกรรมการจำนวน 9 คน ที่ปรึกษา 2 คน รวม 11 คน เนื้อหาการประชุมประกอบด้วยเรื่องการบริหารจัดการ ในการซื้อ การขาย การหาตลาด การปรับปรุงคุณภาพน้ำยาง ยางแผ่น ความสะอาดของโรงเรือน การเงิน ตลอดจนกิริยามารยาทของคณะกรรมการและพนักงาน

4. ประชุมพนักงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า หมู่ที่ 1 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ทุกวันที่ 18 ของเดือน มีพนักงานจำนวน 12 คน เนื้อหาการประชุมประกอบด้วยเรื่องการชี้แจงในด้านการบริหารจัดการ ความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง และตรวจสอบหาที่มาของจำนวนเงินที่ขาดเหลือ ในกรณีนี้หากเงินขาดหรือเหลือผู้รับผิดชอบต้องชดใช้ และบันทึกเป็นหลักฐานให้ผู้ตรวจบัญชีได้หักล้างภายหลังอย่างถูกต้องกันได้
"เรื่องเวลาทำงานคณะกรรมการต้องตรงเวลาและมาทำงานก่อนเวลา 5 นาที คำพูดและกิริยาใช้กับสมาชิกต้องสุภาพอ่อนน้อม ไพเราะ ช่วยแก้ปัญหาให้สมาชิกได้อย่างนิ่มนวล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน พนักงานให้ทำงานแบบมีความรัก มีความอดทน มีความซื่อสัตย์ เมื่อมีความสงสัยแล้วต้องซักถามทันที เมื่อรู้แล้วอะบายให้คนอื่นเข้าใจด้วย เพื่อขยายผลและพัฒนางานให้เจริญก้าวหน้าต่อไป"

5. ประชุมคณะกรรมการหน่วยรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้านนาหว้า (สรบ) ของหมู่ที่ 1 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ทุกวันที่ 20 ของเดือน มีคณะกรรมการและสมาชิกเข้าร่วมประชุมจำนวน 40 คน เนื้อหาการประชุมประกอบด้วยเรื่องการบริหารจัดการ การวางแผนคุ้มกัน การปรับตัวให้เข้ากับชุมชน การดูแลรักษาความสงบ ปลอดภัยในทรัพย์สินของประชาชน ป้องกันยาเสพติดตลอดจนให้ความรู้ในการป้องกันตนเองของชุมชน

6. ประชุมคณะกรรมการแม่บ้าน บ้านนาหว้า ของหมู่ที่ 1 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ทุกวันที่ 24 ของเดือน มีสมาชิกแม่บ้านเข้าร่วมประชุมจำนวน 60 คน เนื้อหาการประชุมประกอบด้วยเรื่องการบริหารจัดการ การดำเนินงานเรื่องอาชีพ การแปรรูปอาหาร การถนอมอาหาร การพัฒนาศูนย์สาธิตการตลาด การสร้างตลาดชุมชน การรับซื้อผลผลิตของชาวบ้าน การฝึกอาชีพให้กับแม่บ้าน เยาวชน และผู้ที่จะเรียนรู้ ตลอดจนการประสานงานกับหน่วยราชการ

7. ประชุมคณะกรรมการทุกคณะและผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดในบ้านนาหว้า หมู่ที่ 1 ตำบล นาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ทุกวันที่ 26 ของเดือน มีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุม จำนวน 63 คน คณะกรรมการบางคนเข้าร่วมประชุม 3 - 4 รายการ รวมทั้งหมดแล้วเข้าร่วมประชุม ผู้ใหญ่บ้านทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมรวมครั้งนี้ และทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้คณะกรรมการอีก 6 คณะ ผู้ใหญ่บ้านจะคอยดูและควบคุมประธานคณะกรรมการแต่ละคณะ เนื่องจากประธานปกครองเพียงสมาชิกเท่านั้น แต่จะมีฐานะเป็นลูกบ้านในปกครองของผู้ใหญ่บ้านในอีกบทบาทหนึ่ง

หน้าที่ของสภาชุมชน มี 5 ประการ
1. วางแผนว่าจะทำอะไร
2. กำหนดกิจกรรม ว่าสามรถทำได้หรือไม่ และเป็นที่พึงพอใจของสมาชิก
3. จัดทำหลักสูตรกิจกรรมให้ชัดเจน เป็นไปได้และเห็นผลจริง
4. ทำกิจกรรมให้เป็นอุตสาหกรรม จำหน่ายผลผลิตได้ และสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค
5. ทำงานเชิงธุรกิจ ลงมือทำทันทีหากได้กำไร ยกเลิกในทันทีหากประสบภาวะขาดทุน

จากหน้าที่ข้างต้นได้กำหนดเป้าหมายดำเนินการตามลำดับคือ

1. จัดตั้งสถาบันการเงิน คือ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (กองทุนชุมชน) เพื่อรวบรวมเงินทุนของชาวบ้านที่อยู่กระจัดกระจายเข้าเป็นกลุ่มก้อน แล้วให้กู้ยืมไปประกอบอาชีพ ตามความจำเป็นและความสามารถของตนเอง

2. เมื่อมีสถาบันการเงินแล้ว ต้องสร้างอาชีพให้เกิดผลผลิต เพื่อให้กลายเป็นเม็ดเงินต่อไป

3. ก่อนที่จะกลายเป็นเม็ดเงินได้ต้องสร้างตลาด เพื่อนำผลิตผลมาแลกเปลี่ยนเป็นเม็ดเงินและสามารถนำมาชำระหนี้ได้ตามกฎหมายได้ตามที่กู้ยืมไป ทำให้ครบวงจรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพึ่งตนเองได้ แล้วขยายต่อไป

ประธานของกองทุนแต่ละกองทุนมีหน้าที่เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการหมู่บ้านและรายงานผลทุกเดือน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ ทำให้เกิดเวทีการเรียนรู้และการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร นอกเหนือจากนี้ในการประชุมของแต่ละกองทุนกันหลังจากเข้าประชุม คณะกรรมการแต่ละ คณะจะต้องคิดพัฒนาคณะของตนเองให้เจริญก้าวหน้าต่อไป โดยวางแผนและมอบหมายให้ผู้ที่มีความสามารถร่วมกันจัดทำหลักสูตร ให้กิจกรรมออกมาอย่างมีคุณภาพ ออกสู่ตลาดได้ในเชิงอุตสาหกรรม โดยเป็นนักธุรกิจของชุมชนที่ค้าขายและบริโภคกันเองอย่างพอเพียง นิยมใช้กันในชุมชนของตนเอง เมื่อผลผลิตเหลือจึงส่งออกขายนอกพื้นที่ โดยอาศัยวิธีรวมกันคิดแยกกันทำแล้วรวมกันขาย การซื้อขายผ่านตลาดกลางที่จัดตั้งขึ้นในชุมชน สำหรับรองรับผลิตผลของชุมชนนำส่งออกขายนอกชุมชน ด้วยวิธีคิดราคาให้เหมาะสมหรือนำผลผลิตมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น ตามความเหมาะสมกับราคาทุน

กรรมการบริหาร : สร้างสรรค์หลักประเมินงานพัฒนา

คณะกรรมการบริหารกองทุน คือ ผู้นำองค์กรและผู้นำท้องถิ่นโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน สมาชิกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และหัวหน้าเขตชุมชน รวม 16 คน ทุกเดือนคณะกรรมการจะได้รับทราบผลการดำเนินงานของพนักงาน และความเคลื่อนไหวของกลุ่มออมทรัพย์ เหรัญญิกจะรายงานจำนวนเงินออม ดอกเบี้ย เงินฝากพิเศษ เงินกลุ่มและสวัสดิการ เงินกู้จากภายนอก เงินกู้สามัญ เงินฝากธนาคาร ตลอดจนที่อยู่ของเงิน ให้กรรมการได้รับทราบ แบ่งวาระการประชุมเดือนละครั้งทุกวันเสาร์แรกของเดือน ทุกวาระของการประชุมเจ้าหน้าที่ทุกคนจะได้รับผลตอบแทนครั้งละ 80 บาท

1. "คณะบริหาร" มีคณะกรรมการอยู่ 5 ตำแหน่ง คือ
1.1 ตำแหน่งประธาน มีหน้าที่ สั่งการและดำเนินการในการประชุมตลอดจนควบคุมงานการตัดสินใจ ชี้ขาดในเวลามีปัญหาและรับผิดชอบในการกระทำและเครือข่ายที่บริหารอยู่
1.2 ตำแหน่งรองประธาน มีหน้าที่ รับปิดชอบในงานที่ประธานมอบหมาย หรือดำเนินงานในการประชุมในเวลาที่ประธานไม่อยู่ และดูแลความพร้อมในการทำงานของกลุ่มตลอดจนถึงเครือข่าย
1.3 ตำแหน่งเลขานุการ มีหน้าที่ ออกหนังสือเชิญสมาชิกมาเข้าร่วมประชุม บันทึกการประชุมแล้วอ่านรายงานการประชุมทุกครั้งให้สมาชิกทราบ และติดตามประธานไปทุกแห่งที่ประธานไประชุมเพื่อบันทึกรายงานที่ทำความตกลงกันไว้เป็นหลักฐานในที่ประชุมทุกครั้ง
1.4 ตำแหน่งเหรัญญิก มีหน้าที่ บริหารจัดการการเงินและบัญชี รับจ่ายให้ถูกต้องตามนโยบายของคณะกรรมการให้ชัดเจน โปร่งใส ถูกต้อง ลูกหนี้ เจ้าหนี้ เท่ากัน จัดสรรงบประมาณลงตัวอย่างถูกต้องแล้วรายงานได้อย่างชัดเจน
1.5 ตำแหน่งผู้ช่วยเหรัญญิก มีหน้าที่ ทำตามที่เหรัญญิกสั่ง และตรวจสอบหลักฐานให้ถูกต้องตามฐานะการเงิน ให้ถูกต้องทุกขั้นตอนอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วเสนอกเหรัญญิก

2. "คณะตรวจสอบ" มี 3 ตำแหน่ง
2.1 ตำแหน่งประธาน มีหน้าที่ ดำเนินการตรวจสอบ และพิจารณาหาข้อมูลว่าถูกต้องตามหลักฐานที่มีครบถ้วนหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องตามหลักฐาน หรือหลักการให้ติดตามหาข้อมูลมาให้ ชัดเจนและถูกต้องอย่างโปร่งใส
2.2 ตำแหน่งกรรมการ มีหน้าที่ ร่วมดำเนินงานในการตรวจสอบ สิ่งใดที่ไม่ถูกต้องคัดค้าน ให้ชี้แจงเพื่อความโปร่งใสชัดเจน สิ่งที่ถูกต้องสนับสนุน แล้วอภิปรายเรื่องที่ตรวจสอบให้ชัดเจน
2.3 ตำแหน่งเลขานุการ มีหน้าที่ ออกหนังสือนัดประชุม เตรียมสถานที่และจดบันทึกในการประชุม แล้วรายงานการประชุมทุกครั้งแล้วทำรายงานเสนอคณะกรรมการชุดใหม่ให้ประธาน

3. "คณะกรรมการพิจารณาเงินกู้" มี 3 ตำแหน่ง
3.1 ตำแหน่งประธาน มีหน้าที่ รับฟังการรายงานของเลขานุการ และตรวจสอบหลักฐานคำขอกู้ของสมาชิกว่าถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับหรือไม่ แล้วลงลายมือชื่อเป็นหลักบานว่าอนุมัติหรือไม่ ถ้าไม่อนุมัติด้วยเหตุผลอันใด
3.2 ตำแหน่งกรรมการ มีหน้าที่ เข้าร่วมพิจารณาคำขอกู้ ว่าควรอนุมัติหรือไม่ควรอนุมัติ หลักฐานและเหตุผล ตามข้อมูลที่มีตามสภาพของผู้ขอกู้ ตลอดที่เห็นด้วยและคัดค้าน แล้วลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน
3.3 ตำแหน่งเลขานุการ มีหน้าที่ ออกหนังสือนัดประชุม แล้วอ่านคำขอกู้ให้คณะกรรมการฟัง แล้วจดหลักฐานคำขอกู้ว่าอนุมัติเท่าไร ไม่อนุมัติเพราะอะไร ทำหลักฐานการส่งคืนตามหลักจำนวนที่ขอมาให้ชัดเจน แล้วลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานทุกสัญญา แล้วทำรายงานส่ง คณะกรรมการชุดใหญ่

4. "คณะกรรมการส่งเสริม" มี 5 คน 4 ตำแหน่ง
4.1 ตำแหน่งประธาน มีหน้าที่ เป็นประธานในที่ประชุม ชี้แจงให้คณะกรรมการร่วมให้มีการประชาสัมพันธ์โครงการ ของกลุ่มว่าดำเนินงานไปได้อย่างไร ถึงไหนผลได้รับเป็นอย่างไร ผลเสียมีอะไรบ้าง สิ่งใดควรแก้ไข ปรับปรุงอย่างไร ให้กลุ่มและโครงการเจริญก้าวหน้าตามขั้นตอน
4.2 ตำแหน่งรองประธาน มีหน้าที่ ปฏิบัติตามที่ประธานสั่งและงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำตามที่กำหนด หรือเมื่อประธานไม่อยู่ทำหน้าที่แทนประธานได้ตามที่ระเบียบบังคับ
4.3 ตำแหน่งเลขานุการ มีหน้าที่ ออกหนังสือเชิญประชุม และจัดสถานที่ดูแลความพร้อมของงาน แล้วจดบันทึกการประชุมทุกขั้นตอน แล้วเสนอรายงานการประชุมตามขั้นตอนให้ที่ประชุมใหญ่ทราบ

พนักงานปฏิบัติการกองทุน : ชุดน้ำเงินเข้มขลังพลังเกษตรกร

ทุกวันที่ 1 และ 5 ของเดือนชาวบ้านนาหว้า มาออกกันอยู่บริเวณที่ทำการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตอย่างเนืองแน่น ภายในที่ทำการบุคลากรบ้านนาหว้า 6 - 7 คน ในชุดสีน้ำเงินเข้มคอยตรวจสอบรับนับเงินเข้าออกอย่างขมีขมัน ทุกคนเป็นพนักงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า ซึ่งทำหน้าที่รับเงินสัจจะ รับเงินกู้ เก็บเงินกู้ และจัดเก็บเงิน หนังสือสัญญา ใบเสร็จรับเงิน หลักฐานจัดเก็บเงิน ตลอดจนเอกสารประกอบธุรกรรมต่าง ๆ ล้วนกำหนดจากชุมชนทั้งสิ้นทุกเม็ดเงินแม้แต่สตางค์แดงเดียวมีเอกสารจัดเก็บรัดกุม ที่สามารถตรวจสอบได้อย่างทันท่วงที หากเกิดข้อผิดพลาดก็สมารถติดตามสืบหาต้นตอได้ในทันที เช่น เอกสารจ่ายเงินกู้ที่ระบุชัดเจนว่าผู้กู้ได้รับเงินประเภทใดเป็นจำนวนกี่ใบ พนักงานทุกคนของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า หาได้ผ่านการเรียนสาขาเศรษฐศาสตร์ พาณิชยกรรม หรือผ่านการเรียนขั้นมหาวิทยาลัยจากรั้วสถาบันใดไม่ ทุกคนมีผู้นำชื่อเคล้า และตัวของตัวเองเป็นครูสอน นอกเหนือจากงานภาคปฏิบัติทุกเดือนของการทำงานพนักงานจะประชุมทุกวันที่ 18 ของเดือน เพื่อประเมินผลงานและแก้ไขปัญหา ก่อเกิดองค์ความรู้ไม่หยุดหย่อน

เมื่อกองทุนมีดอกเบี้ยงอกเงย ผู้ทุ่มเทแรงงานจึงไม่ได้เสียแรงเปล่า ทุกวันทำงานจะได้รับค่าแรงคุ้มค่าในอัตราวันละ 460 บาท เงินค่าตอบแทนของพนักงานทุกคนจะขึ้นตามอายุการทำงาน ได้ต่ออายุงาน 5 ปี ได้ผลตอบแทนเพิ่มอีกสามเปอร์เซ็นต์ของค่าตอบแทน อายุงาน 6 - 10 ปี ได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นอีก 4 เปอร์เซ็นต์ อายุงาน 11 - 15 ปี ได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 5 เปอร์เซ็นต์ อายุงาน 16 - 20 ปี ได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 6 เปอร์เซ็นต์ อายุงาน 21 - 25 ปี ได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 7 เปอร์เซ็นต์
แม้นสองบ่าของพนักงานชุดสีน้ำเงินจะไร้ขีดขั้นใด ๆ แต่ภูมิปัญญาที่สามารถแสวงหาได้ด้วยตนเองย่อมเป็นขีดขั้นสำคัญในหัวใจ ที่แม้ปริญญาบางใบก็ไม่อาจเทียมเท่า

 

โดย: naigod 31 มกราคม 2549 7:39:23 น.  

 

ฟังดูแล้วเหมือนฝัน เหตุที่น่าเข้าใจคือ การศึกษา และความเข้าใจ มุ่งมั่น ในทางสำเร็จ พลังสามัคคี ทำคนเดียวทำไม่ได้
ไม่รู้บริหารจัดการคนอย่างไร ไม่ให้ขัดแย้งกัน เห็นหลายที่เงินมาล่อตา ล่อใจ ฉิบหายกันนักต่อนัก

 

โดย: e21fnw IP: 61.91.167.226 31 มกราคม 2549 14:21:10 น.  

 

 

โดย: naigod IP: 202.142.216.89 31 มกราคม 2549 18:02:08 น.  

 

เนื้อหายาวจัง อ่านไม่หมดนะคะ เข้ามาทักทาย ค่ะ

 

โดย: เกดจัง 1 กุมภาพันธ์ 2549 18:15:55 น.  

 

ยาวจังเลยค่ะ

แหะ...แวะเข้ามาบอกฝันดีละกันนะ..

p.s. เห็นแวะเข้าไปทักทายบ่อย ๆ
แต่รู้สึกจะชอบยิ้มจังนะกั๊บ ...

ฝันดีค่ะ ...
อย่านอนดึกเหมือนเราล่ะ ..

 

โดย: แ ม ง ป อ 4 กุมภาพันธ์ 2549 3:44:05 น.  

 

 

โดย: อ้อมแอ้ม IP: 203.113.80.144 13 สิงหาคม 2549 11:32:48 น.  

 

สวัสดีจ่ะ ฉันชื่ออ้อมแอ้มนะ พึ่งเข้าเว็บนี้มาเป็นครั้งแรก ยังไงก็ขอฝากเนื้อฝากตัว และหัวใจกับทุกคนด้วยนะ
บ๊ายบาย อ้อมแอ้ม

 

โดย: อ้อมแอ้ม IP: 203.113.80.144 13 สิงหาคม 2549 11:37:04 น.  

 

อยากรู้ประวัติตระกูลแก้วอินทร์คับ ว่าเป็นมายังไง และอยากรู่ว่าถิ่นเดิมอยู่ใต้หรืออิสานกันแน่ ใครรู้สุงประวัติไปไห้ที่ อีเมล์นี้นะครับ wittaya_k@student.mbu.ac.th ขอบคุณล่วงหน้าครับ อยากรุ้มากครับ จาก วิทยา แก้วอินทรื

 

โดย: วิทยา แก้วอินทร์ IP: 222.123.152.73 16 ธันวาคม 2550 19:18:52 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


naigod
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เพราะชีวิตมีความฝัน..
..จึงเป็นความงดงามของการมีชีวิต
Friends' blogs
[Add naigod's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.