space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2566
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
space
space
19 กุมภาพันธ์ 2566
space
space
space

Tesla supercharger มันดียังไง
Feb 19, 2023

ทาดา และแล้วก็เปิดตัว Tesla DC V3 supercharger (version 3) ที่สามารถชาร์จไฟตรง DC ได้สูงสุด 250 kW เทียบเท่าที่เมกา (ความเร็วสูงสุดของ Tesla ถ้าไม่นับ Megacharger สำหรับ Tesla Semi และไม่นับ V4 supercharger ที่ยังไม่เปิดตัว - ยังไง ๆ onboard บนรถ software ยังล็อคที่ 250 kW) แห่งแรกที่ Central world เมื่อ 15 ก.พ. 2566 ที่ผ่านมา ก็ทำตามสัญญาเด๊ะ ๆ บอกว่าจะส่งมอบรถภายในไตรมาสแรกของปี จะเปิดสถานี supercharger ภายในไตรมาสแรกเช่นกัน เค้าก็เปิดสถานี supercharger ตามมาหลังจากเริ่มส่งมอบรถยนต์ตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 กพ. เนื่องจากเทสลาส่งมอบรถวันละ 15 คัน ผ่านไป 5 วัน น่าจะมีรถเทสลาสัญชาติไทยอยู่ไม่ถึง 200 คัน แต่มีสัญชาติอังกฤษ (น้องโบลต์เรา) และสัญชาติฮ่องกง น่าะจะรวมกันได้ถึง 1000 คัน (ตอนนี้โดนเรียกว่าพวกรถดอย) พากันหมุนเวียนมาทดสอบ V3 supercharger

ตอนแรกเราก็ว่าจะรอ weekend แล้วค่อยแวะไปดู ก็อยากจะไปเสียบดูกะเค้าบ้างว่า 250 kW supercharger มันแรงแค่ไหน แต่ปรากฎว่ารอไม่ไหว ใจมันอยาก มันเร่ิมตั้งแต่เราสองคนกลับมาบ้านตอนประมาณ 2 ทุ่ม ของวันพฤหัสที่ 16 ก.พ.  ก็พบว่าแอพเทสลาในมือถือแจ้งว่ากำลัง download software update อยู่ (เพิ่งเคยเห็นว่า รถยังขับอยู่ อีก็ download software มารอได้ด้วย) พอกลับถึงบ้านก็ให้เค้า update เป็น software version 2022.44.30 ซึ่งอ่านดูรายละเอียดแล้วก็ไม่เห็นมีอะไรเพิ่มขึ้นมาชัดเจน ยกเว้น map ในรถเค้ามองเห็น CTW supercharger ได้ (ก่อนหน้านี้มองไม่เห็น) พออาบน้ำเสร็จ กำลังจะเอนหลังลงโซฟานั่งพักผ่อน คนขับเราก็ชวนไปเที่ยว CTW ชั้นใต้ดิน เราก็เอาสิไป ดึก ๆ แล้วรถไม่ติด ดีกว่าไปช่วงกลางวัน ระหว่างนี้ก็แอบส่องในแอพ เค้ามีบอกไว้ตลอดว่าว่างกี่ที่

  
กำลังนั่งรถขับกลับบ้านจู่ ๆ ก็มีขึ้นเตือนว่ากำลัง download software update ใช้รถมาเกิน 1 ปี เพิ่งจะรู้ว่าเค้าดาวน์โหลดตอนรถขับอยู่ได้ด้วย ทุกทีเห็นจอดก่อน ตอนแรกเราก็นึกว่าจะได้ใช้ Apple music เหมือนตปท.แล้วล่ะ ปรากฎเปล่า download เสร็จ apple  music ก็ยังใช้ไม่ได้เหมือนเดิม แต่ที่เปลี่ยนไปคือ map/navi ในรถเค้ามองเห็น supercharger ที่ WTC เย้

ก็ดีใจที่เห็นเทสลาประเทศไทย ทำตามอย่างที่เค้าทำไว้ในต่างประเทศ ก็คือวางเครือข่ายสถานี supercharger และอยากให้เค้าวางให้ทั่วประเทศ และลงทุนแบบชนิดที่ว่า MEA, PEA, EGAT, ปตท., EA หรืออื่น ๆ ยังต้องอาย เราเคยดูคลิปยูทูปคุณ welldone guarantee เค้าพาไปดูขั้นตอนติดตั้งสถานี DC supercharger ของปตท. มูลค่าตกราคาตู้ละ 1 ล้านบาท เราเห็นตู้ DC หลาย ๆ ยี่ห้อ ก็ได้แต่สงสัยว่าทำไมตู้มันใหญ่นักหนา และแต่ละเจ้า เค้าก็ลงทุนกันแค่นี้พอ คือมีแห่งละ 1 ตู้พอ แต่ละตู้จะเสียบชาร์จได้พร้อม ๆ กัน สองคัน แต่ทุกคนที่ใช้รถไฟฟ้าก็จะรู้ว่าทำเสียบพร้อม ๆ กัน ไฟก็จะแชร์กัน บางยี่ห้อได้แค่ 50 kW (DC ภาษาอะไรฟระ) พอแชร์กันเหลือคันละ 25 kW เห็นแล้วก็อนาถใจ ยิ่งตอนหลังพอรถ EV เริ่มมีเยอะขึ้น ก็เริ่มขี่คอแย่งกัน ชาร์จก็ช้า ตู้ก็มีน้อย ไปถึงบางทีก็ไม่เวิ้ค ต้องทำใจอย่างแรง บางที่ก็มีปรากฎการณ์รถ ICE มาจอด icing

สำหรับเราก็ออกจากบ้านกันไปดึก ๆ เกือบ ๆ สี่ทุ่ม รถก็ไม่ติดแระ แพร๊บเดียว (ขาไป 25 นาที ระยะทาง 13 กม. ขากลับ 19 นาที ระยะทาง 10 กม) ไปถึงก็ลงชั้นใต้ดิน B1 เป็นบรรยากาศที่แปลกประหลาด เพราะเราสองคนไม่เคยมาห้างเวลานี้มาก่อน ขับเข้ามาก็เห็นแต่รถคนอื่นเค้าออกจากห้างกัน สวนทางกัน ก็ดีไปอย่าง กว่าจะหาตำแหน่งเค้าเจอ ก็เสียเวลาไปเกือบ 5 นาที่เพราะที่จอดรถชั้นใต้ดินมันกว้างใหญ่ไพศาล แถมจราจรก็วิ่งไปไม่ได้อย่างใจมีลูกศรบังคับไว้ ส่วนตำแหน่งบนแผนที่ที่แสดงไว้บนจอในรถก็คลาดเคลื่อนไปอย่างมาก สรุปว่าใครไม่เคยไปต้องมองหาเสาตำแหน่งแถว G 37

ข้อดีสุด ๆ ก็คือ ทั้งบนรถและแอพในโทรฯ จะบอกว่าอยู่แล้วว่ามีจุดว่างให้เสียบกี่อัน ไม่ต้องใช้ระบบจอง ตาม process จริง ๆ จะต้องมีการเพิ่มวิธีการจ่ายตังค์เข้าไปในแอพ แต่อันนี้เราลอง add แล้วเจอ error น่าจะเป็นเฉพาะ account ของชาวดอย (พวกซื้อก่อนผ่านเกรย์) ที่ประหลาดก็คือเราสามารถ add credit card บน account เดียวกันในเว็บไซต์ได้ แต่พอเปิดแอพดู ก็ขึ้น error อีกเหมือนเดิม แต่เนื่องจากตอนนี้ทางเทสลาให้ชาร์จฟรีอยู่ก็เลยไม่มีปัญหา ได้แต่สงสัยในใจว่าช่วงชาร์จฟรีนี้ ถ้ารถแมว รถ BYD หรือยี่ห้ออื่น ๆ มาเสียบบ้าง ไฟจะจ่ายรึเปล่าน๊อ

 
ถ้าเปิดดู map ในรถ เค้าก็จะบอกให้ว่ามี charger อยู่ตรงไหน โดยเฉพาะ Tesla supercharger รวมถึงบอกจำนวน stall ที่ยังว่างอยู่ ถ้าเป็นรถศูนย์เทสลาประเทศไทย ก็กดส่งข้อมูลนี้ไปยัง navigation ของรถได้เลย ของเรารถดอย navi map ยังเป็น EU map อยู่เลยยังทำไม่ได้ และก็ไม่รู้จะทำได้ในอนาคตรึเปล่า เพราะบนกล่อง MCU เค้ามีการ์ด communication board เสียบอยู่ ซึ่งเราไม่แน่ใจว่าตรงนี้แตกต่างกับของรถที่มาขายเมืองไทยรึเปล่า มันอาจจะไม่ใช่ปัญหาเรื่อง software อย่างเดียว ก็เป็นกรรมของชาวดอย ซื้อแพงและยังได้ function ไม่ครบ แต่ปัญหาที่เราไปถึงก็คือตำแหน่ง supercharger ที่แสดงไว้บนรถ มันผิดตำแหน่ง ทำให้เราเสียเวลาขับวนในที่จอดหาอยู่ตั้งนาน ไม่น่าเชื่อว่า GPS mapping จะผิดพลาดได้เป็น 100 ม. ต้องโทษคนปักหมุด แบบนี้

ก็มาถึงก็เจอรถเทสลา Model Y สีขาว เห็นทะเบียนปุ๊บก็จำได้เลยว่าเป็นรถของ utuber ท่านนึงที่เราเคยดูเค้า ก็คือคุณต้อม iMod ก็เห็นตัวจริง หยั่งกะได้เจอเซเลบ  เราก็เสียบรถเราก็ชาร์จได้ทันที ไม่ต้อง scan QR code แต่อย่างใด  แต่เนื่องจากไฟในแบตเราเริ่มต้นที่ 54% เค้าก็เลยชาร์จไม่แรงมาก ได้แค่ 80 kW (แค่นี้ก็แรงกว่าของ PEA Volta แล้วจ้า) แถมรถเค้ายังต้องการอุ่นแบต ซึ่งก็เป็นความรู้ใหม่ของเรา ซึ่งเดิมเราคิดว่าเฉพาะในประเทศเมืองหนาว แต่นี่ขนาดเมืองไทย ซึ่งปกติเวลาใช้งาน อุณหภูมิแบตเค้าจะอยู่แถว 40 องศาเซลเซียสอยู่แล้ว ปรากฎว่ามันยังอุ่นไม่พอสำหรับการชาร์จ DC แบบเร็ว ๆ รถเค้าอยากจะอุ่นแบตขึ้นไปประมาณ 50 องศา 

 
รถ model Y ที่เห็นไกล ๆ ก็เป็นของคุณต้อม iMod เคยดูยูทูปช่องเค้าอยู่ ก็ทำรีวิวของได้ดีใช้ได้ ได้มีโอกาสคุยกับยูทูปเบอร์ตัวจริง ๆ มีความรู้สึกเหมือนได้คุยกับเซเลบ คุณต้อมเค้าอวดยาง michelin pilot sport EV ซึ่งเป็นยางสำหรับ EV โดยเฉพาะ (ทนต่อการสึก รับน้ำหนักได้เยอะ และโฟมซับเสียงอยู่ด้านใน) คาดว่าเด้วถ้าน้องโบลต์เราได้เปลี่ยนยางครั้งหน้า ก็น่าจะได้ล้อนี้เหมือนกัน เพราะคุณต้อมบอกว่าทางมิชลินประเทศไทยเพิ่งจะนำเข้ามาและทำตลาด เพราะรถ EV เริ่มเยอะขึ้นเรื่อย ๆ

จริง ๆ แล้วเราเองก็ไม่ได้ชอบการชาร์จแรง ๆ เร็ว ๆ นักหรอกเพราะรู้อยู่แล้วว่ามันทำให้แบตเสื่อม เท่าที่ใช้งานที่ผ่านมา ก็ชาร์จ AC ช้า ๆ ที่บ้านอยู่ตลอด ก็แค่อยากรู้ว่าเค้าจะชาร์จให้ได้ 250 kW จริงมั้ย แต่เนื่องจากเรามาถึงแบตมันยังเยอะอยู่ (54%) เค้าก็จัดให้แค่นี้ หลังจากนั้นมา 2-3 วัน เราก็เห็นพวก utuber ทั้งหลายแหล่ ต่างพากันมารีวิว มาชาร์จแล้วก็โชว์ว่า ถ้าแบตเหลือ 7% เค้าชาร์จให้ได้ 250 kW จริง ๆ ก็ดีใจด้วย แต่ก็แอบรู้สึกว่า อีนี้มันบ้า ไม่รู้จะทำไปเพื่ออะไร แบตจะเสื่อมเอาเปล่า ๆ ไม่เป็นไร ก็ต้องขอบคุณที่ทดสอบให้เราดู ทำให้เราไม่ต้องเอารถเราไปเสี่ยงโดยไม่จำเป็น

 
น้องโบลต์เราในที่สุดก็ได้มาชาร์จกับระบบชาร์จจากยานแม่ ไม่นึกว่าจะมีวันนี้เร็วแบบนี้ ตอนดอยรถ เอ้ย ตอนซื้อรถ ก็นึกว่าอย่างน้อยอีก 4-5 ปี ปรากฎเค้าเดินตลาดไว ก็ดี เพราะก่อนหน้านี้น้องโบลต์เราตั้งแต่อัพเดตซอฟท์แวร์หลังปีใหม่ นางจะมีอาการชอบขึ้นเตือนว่า charge DC ไม่ได้ ชาร์จได้แต่ไฟบ้าน AC ซึ่งจริง ๆ เราก็ไม่ได้เดือดร้อนมาก (ถ้ากลับกันจะเดือดร้อนกว่านี้) แต่มันทำให้กังวลว่าแล้วถ้าชั้นต้องไปไกล ๆ จะชาร์จได้ไหม ขึ้นมาเตือนสองสามวัน แล้วก็หายไป แล้วก็โผล่มาอีก เป็นที่น่ารำคาญนัก ประกอบกับที่เราไปสปอตเห็นเขี้ยวตรงเบ้าเสียบชาร์จมันจมลงไปอันนึง ยิ่งทำให้ประหวั่นพรั่นพรึง ก่อนหน้านี้ก็เคยไปลองเสียบ DC ที่นู่นที่นี่ เพื่อยืนยันว่ามันยังชาร์จได้อยู่ย่ะ (พอไปเสียบจริงก็ชาร์จได้อ่า) แต่ไอ้ข้อความเตือนเนี้ยมันก็ไม่หายไปสนิทสักที รอบนี้พานางมาชาร์จเครื่องยานแม่ของนางซะเลย ข้อความที่เคยขึ้นมาเตือนก็หายไปเลย สะใจดีจัง (ไม่รู้มันหายเพราะ update software ด้วยรึเปล่า?)

  
เนื่องจากเราไปเสียบชาร์จตอนแบตยังไม่ได้ต่ำมาก (54%) ก็คงจะไม่ได้เห็น 250 kW กะเค้า (ต้องเหลือต่ำกว่า 20% ลงไป) และมันคงจะ 250 kW ให้แค่แป๊บเดียว  ความรู้ใหม่ก็คือเรื่อง pre-conditioning battery ก็เพิ่งจะรู้ว่าแบต lithium พวกนี้เค้าต้องอุณหภูมิอุ่น ๆ เค้าถึงจะชาร์จได้เร็ว ๆ สำหรับเราก็ ไม่เอาด้วยล่ะ ปกติเป็นพวกรอได้ กลัวแบตเสื่อม จะให้มาอุ่นแบตเตอรี่ เราก็ค่อยแฮ๊บปี้เท่าไหร่ ไม่ได้รีบไปไหนขนาดนั้น ก็เสร็จชาร์จจนถึง 80% เสียเวลาอยู่ในนี้ทั้งหมด 37 นาที นึกว่าจะต้องเสียค่าจอดรถ ปรากฎไม่มี ฟรี


ความดีโดยสรุปของ Tesla supercharger ได้แก่
1) มีหัวเสียบเยอะ ที่ CTW มี 9 หัว เท่าที่ติดตามดูในต่างประเทศ เค้าก็ลงทุนแบบนี้ตลอด คือมีหลาย ๆ หัวให้เสียบได้ ไม่ใช่แค่ 1 หรือ 2 ตู้ แบบพี่ไทยทำ แล้วให้ตบตีกันเอง ลองคิดดูว่าถ้าเรามีเงินลงทุนจำกัดสำหรับ 9 หัวเสียบ ระหว่างกระจายออกไป 9 จุด จุดละ 1หัวเสียบ กับกระจุกไว้ที่เดียวทั้ง 9 หัวเสียบ อันไหนจะดีต่อประสบการณ์ผู้ใช้งานมากกว่ากัน
2) เค้า integrate ระบบการชาร์จเข้าไปในแอพเค้า ทำให้ผู้ใช้มองเห็นได้จากใน map ในรถ และในแอพ ว่าสถานีอยู่ตรงไหนบ้าง ว่างอยู่กี่หัว ไม่ต้องใช้ระบบจอง แล้วไปให้ทัน ไปไม่ทันหักเงินจอง อดชาร์จ (อันนี้ระบบ ปตท ซึ่งไม่เวิ้คล่ะ)
3) ตู้ไม่ใหญ่ ไอ้ที่มองเห็นเป็นแค่ตัวเก็บสายชาร์จและก็ข้างในจะมีเครื่องสำหรับ water cooling สำหรับสายชาร์จ แค่นั้น ส่วนตัวเครื่องที่เป็นตัวจ่ายไฟจริง ๆ เค้าก็จะแยกออกมา ถ้าซ่อนได้ เค้าก็ซ่อนไว้จนเรามองไม่เห็น แต่อย่างกรณีที่ CTW ที่เราเห็นมีตู้ใหญ่ 4 ตู้ เป็นตู้ main 1 ตู้ที่หน้าตาไม่เหมือนคนอื่น  อีก 3 ตู้หน้าตาเหมือนกัน ซึ่งอีก 3 ตู้น่าจะเป็นตัวแปลงไฟจาก AC เป็น DC และจ่ายไปยังหัวชาร์จแต่ละ stall เดิมทีเราได้ยินมาว่าเค้าจะแชร์กันระหว่าง 2 stalls ให้สังเกตดูตัวเลขที่ตู้เก็บสาย เช่น 1A จะแชร์ กะ 1B ดังนั้นถ้ามีคนจอดอยู่ 1A แล้ว เราก็ไม่ควรจะเข้าไปจอดชาร์จที่ 1B ถ้ามีเบอร์อื่นว่าง แต่ของที่ CTW มันมีเบอร์อยู่แค่ไม่กี่ตู้ ตู้อื่นไม่เห็นมีเบอร์ ก็ไม่แน่ใจว่าเค้าจะแชร์กันอย่างไร อาจจะ 1 ตู้จ่าย 3 หัว แต่เราคิดว่าระบบเทสลาเค้าน่าจะฉลาด ระหว่าง 3 ตู้ใหญ่ หรือทั้งหมด 9 หัวเสียบ ก็ควรจะมีระบบ load sharing กันได้ด้วย คงจะไม่ใช่ทุก ๆ ตู้จะสามารถป้อนไฟ 250 kW x9 ได้พร้อม ๆ กัน เพราะโอกาสเกิดเยี่ยงนั้นในความเป็นจริงยากมาก (คุณต้องเอารถที่มีแบตต่ำกว่า 10% มา 9 คัน แล้วเข้าพร้อม ๆ กัน เริ่มชาร์จพร้อม ๆ กัน น่าจะยาก) ข้อดีของการทำสถานีชาร์จแบบนี้ ทำให้เทสลาสามารถมีจุดจอดและหัวเสียบได้หลายหัว โดยที่ไม่ต้องลงทุนเยอะมาก ประสบการณ์ของผู้ใช้งานดีกว่า สไตล์นี้น่าจะเวิ้คกว่า
4) กำลังไฟชาร์จสูงสุดในประเทศไทยตอนนี้ เดิมทีตู้ EA เคยโม้ว่าได้ถึง 150 kW แต่ตู้ EA (รวมถึงตู้ยี่ห้ออื่น ๆ ด้วย) ใช้ลำบาก ขั้นตอนเยอะ สายเทอะทะ ต้องเปิดประตูปิดประตูตู้ (ตู้เค้าใหญ่ม้วนสายไว้ภายใน กลัวใครมาขโมยสาย) แสกน QR แล้ว สแกนอีก มีขั้นตอนอย่างน้อย 4-5 ขั้นตอน กว่าจะได้เริ่มชาร์จ แถมเวลาไปชาร์จกับตู้คนละยี่ห้อกะรถ มันก็เหมือนกับไม่ได้จูนกันมาให้เข้าขากัน บางทีโม้ว่า 150 เสียบจริงก็ไม่ถึง กรณีเทสลา 250 kW จะได้ความเร็วนั้นจริงก็ต่อเมื่อระดับแบตต่ำจริง ๆ เช่นต่ำกว่า 10%  เรื่องความแรงในการชาร์จ ตอนนี้ที่เมกามีสถานีชาร์จยี่ห้อ Electrify America ซึ่งมีตู้ชาร์จที่โม้ว่าชาร์จได้เร็วถึง 350 kW แต่เอาเข้าจริง ๆ ก็ไม่เห็นจะมีรถคันไหนชาร์จได้ถึงจริง เพราะอย่างกรณีเทสลา ที่ตัวรถก็ลิมิตไว้อยู่ที่บนรถว่าได้แค่ 250 kW แต่แค่เนี้ยก็เร็วมากแล้วนะ (คงเร็วไม่เท่าเติมน้ำมันดอก อย่ามา...)
5) เทสลาตอนนี้ยังเสียบฟรีอยู่ แต่ถ้าอีกหน่อยเค้าเริ่มมีการเก็บตังค์ ก็จะมีการชาร์จค่า idle fee สำหรับกรณีคนที่จอดแช่ไว้ไม่เอารถออกในกรณีที่สถานีมีคนเสียบชาร์จเกินครึ่งนึง ตกนาทีละ 12 บาท ซึ่งเรตนี้จะ x2 กรณีสถานีชาร์จมีรถจอดชาร์จเต็มทุกที่ ซึ่งเรตนี้ ถือว่าสาสมและป้องกันไม่ให้คนจอดแช่ได้ แต่ก็กันได้เฉพาะ EV ด้วยกัน กรณี รถ ICE มาจอดแช่เนี่ย (icing) ได้แต่ส่ายหัว
6) ระบบเทสลาเน้นความง่ายใช้งานสะดวกเนื่องจากเป็นสถานีของเทสลา เค้าก็ทำให้มันสะดวกกะเจ้าของ หัวชาร์จก็จะมีปุ่มกดเพื่อเปิดฝาปิดที่เสียบ (ยี่ห้ออื่นเค้าไม่มีกัน) เปิดปุ๊บก็เสียบแล้วมันก็ชาร์จเลย ไม่ต้องแสกน QR code ไม่ต้องเวิ่นเว้อวุ่นวาย พี่ไทยสมควรดูเป็นตัวอย่าง ส่วนที่ต่างประเทศโดยเฉพาะที่เมกาที่เทสลาเพิ่งเริ่มเปิดสถานีชาร์จตัวเองให้ EV ยี่ห้ออื่น ๆ สามารถใช้งานได้ แต่ยังติดปัญหาเรื่องหัวเสียบชาร์จตัวเองที่ไม่เหมือนชาวบ้าน ทางเทสลาก็ออกแบบ magic dock ได้อย่างชาญฉลาด คือผู้ใช้มีหน้าที่กดบนแอพเทสลาว่ารถตัวเองเป็น non-tesla รึเปล่า แล้วหัวชาร์จะก็จะสามารถดึงออกมาได้พร้อม adapter ติดที่หัวเลย การจ่ายเงินก็ทำเหมือนกับกรณีรถเทสลาเดี๊ยะ ก็สะดวกดีและได้รับคำชม แต่ขณะเดียวกัน คนใช้เทสลาก็กำลังบ่น เพราะกลัวพวก non-Tesla จะมาแย่งที่เสียบชาร์จและความที่เทสลาออกแบบสถานีตัวเองสำหรับรถเทสลาอย่างเดียวมาก่อน ซึ่งพอเปิดใช้งานกับ non-tesla ก็จะเจอปัญหาเรื่องตำแหน่งเสียบหัวชาร์จของรถแต่ละยี่ห้อไม่เหมือนกันเลย เกิดการวางสนุ๊กกันซะ เด้วเทสลาคงจะต้องออกแบบลักษณะการเข้าจอดใหม่รวมทั้งสายชาร์จคงจะต้องยาวขึ้นอีก
7) ช่วงนี้เปิดสถานีชาร์จเปิดให้ใช้ฟรี (เหมือนที่เมืองนอกเด๊ะเลย) แต่แน่นอนว่าในอนาคต เค้าจะเก็บเงิน ที่ผ่านมาในอดีต เทสลาเคยใช้วิธีการให้เครดิต supercharging สำหรับคนที่ช่วยหลอกล่อเพื่อนฝูงให้มาซื้อเทสลา (referral program)แล้วก็เลิกไปเหมือนกัน ก็ไม่รู้ว่าที่เมืองไทยจะได้เห็นระบบ referral รึเปล่า
8) เค้าสัญญาว่าจะขยายสถานี โดยในปีแรกแจ้งไว้ว่าจะเปิด 13 สถานี อีตานี่มันพูดแล้วทำจริง ก็คงต้องเชื่อมันไปล่ะ แต่ตอนนี้ที่เจ้าของเทสลาอยากได้ คือตำแหน่ง supercharger อยากให้ไปอยู่ตามจุดต่าง ๆ เช่น หัวหิน เชียงใหม่ ขอนแก่น ภูเก็ต ฯลฯ ซึ่งเราคิดว่าเทสลาคงจะกำหนดจุดติดตั้งสถานีโดยดูจาก geolocation ของรถตัวเอง เพราะเค้ามีข้อมูล (ไม่งั้นเค้าจะให้ premium connectivity ฟรีเหรอ เค้ากำลังเก็บข้อมูลผู้ใช้งานประเทศไทยอยู่ไงจ๊ะ)
9) reliability สูงมาก โอกาสมาถึงแล้วไม่ได้ชาร์จต่ำ อันนี้เป็นรีวิวมาจากเมืองนอก ซึ่งอาจจะไม่ค่อยแฟร์ตรงที่ในอดีต ก็มีแต่รถเทสลาเท่านั้นที่มาชาร์จที่สถานี Tesla supercharger แต่บังเอิญว่ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เยอะที่สุดเพราะรถเทสลาเป็นรถไฟฟ้า (ไม่นับพวก PHEV นะจ๊ะ) ที่มีมากที่สุด มันก็เหมือนรถตัวเองมาสถานีชาร์จตัวเอง มันก็ต้องเวิ้คสิ (วะ) แต่พวกชาวเทสลาที่เค้าเคยขับไปชาร์จรถยี่ห้ออื่น ๆ เค้าก็จะบ่นเหมือนกับบ้านเราที่เจอปัญหาว่าไปถึงแล้วชาร์จไม่ได้ หรือชาร์จได้สปีดต่ำ ๆ ยิ่งหลาย ๆ แบรนด์รถ ยิ่งบ่นใหญ่เลย ก็ต้องมารอดูชมกันต่อไปเพราะตอนนี้ Tesla ตปท. เพิ่งทยอยเปิดสถานีชาร์จตัวเองให้รถยี่ห้ออื่น ๆ เข้ามาชาร์จได้ ก็ต้องดูว่าเพราะเป็นยี่ห้ออื่น ๆ แล้ว reliability จะตกไหม แต่สาเหตุหนึ่งที่ผ่านมาเค้าได้ reliability ดีก็เพราะข้อ 3) คือการที่สถานีนึงมีจุดเสียบชาร์จหลาย ๆ จุด ถ้าเจอตู้นึงไม่เวิ้ค ก็ยังขยับรถไปชาร์จอีก stall นึงได้ ไม่ต้องแย่งกัน

 
ลักษณะพื้นที่สถานีชาร์จก็ค่อนข้างประหยัดที เป็นที่จอดซอง ๆ ซึ่งอีกหน่อยถ้าเปิดให้ non-Tesla ใช้ก็ต้องมีปัญหาแน่นอน เพราะเรื่องตำแหน่งรูเสียบชาร์จบนรถแต่ละยี่ห้อไม่เหมือนกัน รูปทางซ้ายมือก็เป็นตู้ control ส่วนตัวแปลงไฟเห็นมีอยู่ 3 ตู้ ซึ่งกระจายไฟตรงออกมายังตู้เสียบ (stall) แต่ละอัน กรณีนี้ มี 9 stalls แปลว่าตู้นึงก็รับผิดชอบ 3 stalls เดิมทีสาวกเทสลาที่เมกาสอนกันไว้ว่า เวลาไปเสียบชาร์จ ถ้ามีคันนึงเสียบตู้นึงอยู่เช่น ถ้าเค้าเสียบตู้ 1A เราก็ไม่ควรจะไปเสียบตู้ 1B ให้แยกออกมา จะได้ไม่แย่งไฟกัน แต่ตู้ที่เราเห็นที่ WTC เค้าบางอันก็มี label บางอันก็ไม่เห็นมี สรุปว่า ก็ใช้หลักการเดียวกับโควิด คือ social distance อย่าไปจอดชิดกับคนอื่น เด้วแย่งไฟกัน จริง ๆ แล้ว เครื่องเค้าควรจะมีระบบ load sharing อยู่แล้วจะจอดใกล้จอดไกลควรจะจัดการได้หมด เพราะถ้าเราจอดใกล้คนที่เค้าชาร์จใกล้เต็ม ความแรงในการชาร์จเค้าก็ต้องลดลงมาอยู่แล้วล่ะ

 
บนเครื่องใหญ่ของเค้าก็มี label สีดำ ก็จะเห็นว่ามันเป็นตู้มาจากเมกาเลย เกือบลืมไปว่าเทสลาเค้าไม่ใช่บริษัทผลิตรถซะทีเดียว จริง ๆ แล้วเค้าเป็นบริษัทเกี่ยวกับพลังงาน และหนึ่งในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์เค้าก็คือระบบกักเก็บพลังงานหรือ tesla powerwall, tesla megapack คงจะไม่ใช่เรื่องยากที่เค้าจะออกแบบตู้สำหรับแปลงไฟจาก AC เป็น DC เองได้ จะเห็นว่าตู้ดำ สามารถจะรับไฟ AC ขาเข้าได้ 360-528V * 465A  แปลงเป็นไฟ DC ได้ 0-500V * 631A ถ้าแอบมาดู label สีแดง ซึ่งอยู่ที่ตรงแต่ละ stall ก็จะเห็นว่า พลังงานที่มาที่ stall คงจะบริหารจัดการมาจากทั้ง 3 ตู้ main ทำ load sharing กัน เพราะแต่ละ stall จะสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ถึง 1000V DC ที่ 425A หรือ 425 kW กันทีเดียว ตอนนี้ที่รถเค้าล็อกไว้ที่ 250 kW คงต้องรอระบบในอนาคต หากอีกหน่อยเทสลาเอา cybertruck เข้ามา หรือเปลี่ยนไปใช้ architecture 800V by design เราอาจจะการชาร์จที่ไฟแรงกว่านี้และตู้ V3 supercharger อาจจะอัพเดตไปเป็น V4 ก็ได้  ถ้าใครเข้าไปใกล้ๆ stall แล้วได้ยินเสียงพัดลมดัง ๆ อันนั้นแปลว่ารถคันที่จอดชาร์จอยู่กำลังชาร์จไฟตรงอย่างแรงมาก (ระดับใกล้ ๆ 250 kW) และสายไฟหรือหัวเสียบมันร้อน ระบบ liquid cooling ของสายกำลังทำงานเต็มที่ 

 
ตัวอย่างของ stall ที่ไม่มีป้าย label ว่าเบอร์อะไร สังเกตรางใส่สายไฟที่พื้นที่คาดเทปเหลือง-ดำ สงสัยว่าในนั้นน่าจะมีสายไฟทองแดงเส้นเขื่อง ๆ ที่นำไฟกระแสตรงมายังแต่ละตู้ stall ที่ขำกลิ้งก็คือที่ฉีดดับเพลิงสีเขียว ตั้งไว้ 1 อัน คงจะเป็นข้อกำหนดของมาตรฐานไทยแลนด์ล่ะมั้ง คิดว่าถ้ามีไฟลุกขึ้นมาจริง ๆ คงจะช่วยอะไรไม่ได้มาก สงสัยว่าตามปั้มเติมน้ำมันจะมีข้อกำหนดให้มีที่ดับเพลิงแบบนี้รึเปล่าน๊อ เอ ระหว่างไฟฟ้า กับ น้ำมัน อะไรจะติดไฟง่ายกว่ากันหว่า???


นอกเหนือจากที่ไปชาร์จรอบนี้แล้วเจอคุณต้อม iMod เราก็ยังได้เจอคุณ อ. อีกท่านนึงที่นำเทสลา Model Y มาเสียบจอด ซึ่งเราเข้าไป approach เค้าเพราะเราอยากเห็นเต้าเสียบของรถ Tesla ของคนอื่นบ้าง เนื่องจาก pin ของเบ้าเสียบของรถเรามุมขวาบนหรือที่เรียกว่า CP (Control Pilot) มันสั้นกว่า pin อันอื่น อันนี้เราเพิ่งสังเกตเห็นเมื่อไม่นานมานี้ ก็เลยตั้งใจว่าจะไปขอดูของรถคันอื่น ผลปรากฎว่าของเค้าก็จมเหมือนกับเรา แต่พอได้คุยกับเค้า ก็เลยเพิ่งรู้ว่าเค้าเป็น TA (Tesla Advisor) ก็เลยได้คุยกันเรื่องอื่น ๆ อีกจิปาถะ ส่วนใหญ่ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องการขายรถแบบอินดี้ของเทสลาไทยแลนด์นั่นแหละ เป็นต้นว่า

1) เทสลาจ้างพนักงานระดับ TA หรือระดับปฏิบัติการไม่ถึง 50 คน (ณ ปัจจุบัน) ยังไม่มีโชว์รูมและศูนย์บริการเป็นของตัวเอง ที่พาซิโอ เป็นแค่จุดรับรถกับนัดขับรถทดสอบ ส่วนตอนนี้ popup store ย้ายจากพารากอนมาเปิดที่ CTW และมีกำหนดว่าจะอยู่ที่นี่ถึงประมาณเดือนพ.ค. ส่วนที่มีข่าวว่าทางเทสลาจะไปเปิดโชว์รูมใหญ่เป็นทางการอย่างจริงจังที่ Em Sphere นี่ไม่มีการยืนยันจากทางเทสลา (อีนิ ไม่เคยยืนยันอะไร นโยบายคือ ฉันไม่โม้ แต่ฉันเอาจริง) ข่าวที่ได้ยินเป็นข่าวจากสื่อที่อื่น ๆ
2) เค้าไม่เรียกเซลล์นะจ๊ะ เค้าเรียก TA (Tesla advisor) เพราะเค้าไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเซลล์ของขาย จะไม่มีการกินค่า commission จากการขาย ไม่มีการแถมโปร แถมพรม แถมฟิล์ม แถมนู่นนี่นั่น พูดง่าย ๆ คือเทสลาจะขายของและฟันกำไรแบบไม่ถูกหักค่าต๋ง ขนาดเซลล์ตัวเองก็จะไม่ได้กินส่วนแบ่ง ส่วนเงินเดือนหรือค่าคอมพ์ต่าง ๆ นี่ไม่กล้าถามเค้า ถามเค้าก็อาจจะไม่บอก สำหรับเราถ้าเค้าให้หุ้น TSLA เราก็ว่าน่าจะคุ้มอยู่ แต่เราก็ถามว่าแล้วรถ Model Y ที่เค้าซื้อใช้เองนี่ ได้ส่วนลดอะไรพิเศษไหม คำตอบคือไม่มี ถ้าเป็นที่เมกา จะมีรายการว่ารถรุ่น pioneer ซึ่งอาจจะมีปัญหา เช่น Model Y with structural 4680 battery pack ล็อตแรก ๆ มีการขายให้เฉพาะพนักงาน Tesla เท่านั้น แน่นอน คงต้องมีการเซ็น NDA (non disclosure agreement) ไม่งั้นคงจะได้มี clip youtube เกลื่อนกลาดเต็มไปหมด
3) บริษัทนี้เค้าอึมครึมมากจ้ะ ไม่มีโฆษณา อันนั้นเรื่องนึง แต่ไม่มีการแจ้งนู่นนี่ ก็ประหลาดไปอีกแบบ เช่น ไม่มีการคอมเฟิร์มหรอกนะว่าชั้นจะไปเปิด flagship store ที่ Em Sphere หรือโม้ว่าจะเปิดศูนย์บริการที่ไหน ต่อไหน จะลดราคา จะเพิ่มราคาก็ไม่มีบอกล่วงหน้า หลายสิ่งหลายอย่าง เจ้าหน้าที่ TA เค้าก็ยังไม่รู้ แต่ที่เค้ารู้ และได้รับการอนุญาตให้แจ้งลูกค้า เค้าก็จะบอกได้
4) ขายรถแบบอินดี้ อย่างที่ไม่เคยเห็นมีในประเทศไทยมาก่อน สั่งจองออนไลน์ วางเงินแค่ 4 พัน ซึ่งถือว่าถูกมากสำหรับการซื้อของราคาหลักล้าน ก่อนรับรถต้องโอนเงินให้ครบก่อนล่วงหน้าอย่างน้อย 14 วัน หรือถ้าเป็นไฟแนนซ์ ก็ต้องผ่านไฟแนนซ์ก่อน เรียกว่า เงินต้องจ่ายครบก่อน ลูกค้ายังไม่ได้เห็นของ TA ไม่ได้มีหน้าที่ไปหาไฟแนนซ์ให้ หรือดำเนินการเรื่องเบ้ ต่าง ๆ ให้ แต่ทางเทสลาจะจดทะเบียนให้
5) ออกรถป้ายขาว อะฮ่า อันนี้เรียกว่าสะใจเราที่สุด เดิมทีดูเหมือนเค้าบอกว่าจะยอมให้ออกป้ายแดงได้ แต่ลูกค้าต้องเอาหลักฐานการจดทะเบียนขอป้ายขาวมายื่นให้วันรับรถและจะให้ยืมป้ายแดงได้ไม่เกิน 14 วัน แต่คงเนื่องจากจ้างพนักงานไม่ถึง 50 คน ก็คงจะปวดหัวทำไม่ทัน ตอนหลังก็มากลับลำ บอกว่าจะไม่มีการออกรถป้ายแดง แต่ลูกค้าต้องออกรถป้ายขาวเท่านั้น โดยที่ลูกค้าสามารถไปดำเนินการเรื่องป้ายขาวด้วยตัวเอง เช่น ไปซื้อป้ายประมูลมา หรือ ไปเอาป้ายตัวเลขที่เตงชอบมา  ปรากฎตอนหลังไม่ได้ละ (ทำงานไม่ทันจริง ๆ )สรุปว่าตอนนี้ถ้าจะซื้อเทสลาประเทศไทย ท่านต้องซื้อในรูปแบบรับป้ายขาว ทะเบียนสุ่ม เท่านั้น ส่วนเรื่องการขึ้นทะเบียนรถ การตรวจสภาพ เทสลาคิดประมาณ 3 พันกว่าบาท ตอนนี้ถ้าใครขับเทสลาป้ายแดง จะรู้ทันทีว่าเป็นชาวดอย เราก็เลยจะไม่เห็นเทสลาป้ายแดงวิ่งในท้องถนน ส่วนเทสลาประเทศไทย รถก็จะเป็นป้ายขาวทั้งหมด จะเป็นทะเขียน 3ขX เช่น 3ขฬ XXXX ส่วนพวกที่ทะเบียนเก่ากว่านี้ ก็ถือว่าเป็นชาวดอย ที่จะไม่รู้จริง ๆ ก็คือพวกป้ายประมูล อันนี้ไม่ทราบว่าดอยรึเปล่า
6) ออกรถใหม่กันแบบโรงงาน เค้าจะออกรถทีละล็อต ๆ ล็อตละ 15 คัน วันนึงออกรถใหม่ 45 คัน จากจุดเดียวคือที่พาซิโอ รามคำแหง ก็เป็นปรากฎการณ์ประหลาดใหม่สำหรับไทยแลนด์ สไตล์เทสลา ไม่มีการผูกโบว์ ไม่มีการดูฤกษ์ เจิมรถ (สะใจเรา) ใครจ่ายก่อน ใครพร้อมก่อน ก็อาจจะได้รถก่อน คนไม่พร้อม เค้าขายแบบไม่ง้อจริง ๆ 
7) ทำใจว่านัดรับรถแล้วอาจจะไม่ได้รถ อันนี้ก็มีคนบ่นบน social ให้ได้ยิน แต่มันก็ดันเกิดขึ้นจริงกับคนใกล้ตัวเรา คือน้อง อ. ซึ่งถูกเราเป่าหูให้จองซื้อเทสลาสำเร็จ น้องเค้ามีนัดรับรถเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา (Feb 23, 2023) เค้าก็ต้องลางานเพื่อไปรับรถรอบเที่ยง เราก็พลอยลุ้นตาม ตื่นเต้น จริง ๆ อยากไปด้วย แต่กลัวเจ้านายด่า พอไปถึงนู่น น้อง อ. ก็ได้รับการแจ้งจาก TA ที่คอนเฟิร์มกันเป็นมั่นเหมาะว่าได้รถแน่ ๆ ทางโทรฯ เงินก็โอนไปให้ครบทุกสตางค์ตั้งแต่ 14 วันที่แล้ว เทสลาบอกว่า รถยังส่งมอบให้ไม่ได้ ต้องขอนัดเป็นวันหลัง มีปัญหาภายในที่ต้องการแก้ไข แต่มีการเสนอว่าจะให้รถ(ทดสอบ) model 3 ไปขับใช้ไปก่อนช่วงนี้ และพอแก้ไขงานเรียบร้อยจะค่อยส่งมอบรถทีหลัง
    แต่น้องอ.ไม่แฮ๊ปปี้เรื่องประกันอุบัติเหตุ เค้าไม่อยากได้ M3 เพราะเค้าจอง MY เค้ากลัวว่าถ้าขับไปชนคนตาย แล้วใครจะจ่าย ไม่เอาด้วย สุดท้ายเค้าก็ถามว่าปัญหาคืออะไร ปรากฎกระจกเป็นรอย กระจกหน้ามีรอยข่วนลึก ชนิดที่ว่าต้องเปลี่ยนกระจกหน้าทั้งบาน น้องอ.เค้าดูรอยแล้วเค้ารับได้ ก็เลยตกลงกันว่างั้นรับรถไปใช้ก่อน แล้วถ้าทางเทสลามีอะไหล่(กระจกใหม่) พร้อมเปลี่ยน ค่อยนัดไปทำอีกที เราก็แนะนำว่าให้ต่อรองขอของแถมเป็น UMC (universal mobile connector) มา มูลค่าประมาณ 1 หมื่นบาทไทย ปรากฎว่า อด ไม่มี ไม่ได้  เทสลาขี้ตู่มาก คือถ้าเป็นยี่ห้ออื่นขืนมีรายการแบบนี้ เซลล์นั่นแหละจะตายก่อน คงจะต้อง make up นู่นนี่นั่น นานาประการ แต่รายการนี้ ก็ได้แต่สร้างความไม่พอใจให้ลูกค้า แต่น้อง อ. หลังจากได้รับรถมาก็เห็นว่าจะค่อนข้างพอใจคุณภาพสินค้า จนท้ายที่สุดอาจจะลืมเลือนเหตุการณ์นี้ไปได้ ขอบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
8) ยังไม่มีศูนย์บริการจ้ะ ส่งมอบรถไปแล้ว let's say 45 * 14 คัน เอาเป็นว่าหมดล็อตนี้ ก็อย่างน้อย 1500-2000 คัน ยังไม่มีศูนย์บริการจ้ะ  แล้วรถเสียทำยังไง อีกไม่ช้าไม่นาน เราก็จะได้รู้จากน้อง อ. ว่าเค้าเอารถไปซ่อมตรงไหน แต่ เราแอบลองกด service ในแอพ แล้วทำเป็นว่าขอนัดเอารถเข้าไปซ่อม เค้าให้ที่อยู่มาเป็นที่พาซิโอ นั่นแหละ พอถามน้อง อ. TA ที่เค้าเอารถมาชาร์จพร้อมเรา เค้าบอกว่า เค้ายังนัดลูกค้าที่มีปัญหาต้องเอารถเค้ามารับบริการไปที่พาซิโอนั่นแหละ แต่เอารถไปทำจริง ๆ ที่ไหน เค้าก็ไม่ทราบ ไม่ใช่สายงาน อาจจะมีการ outsource หรือมีช็อพที่ไหนสักที่ที่ยังไม่ได้เปิดเผย หรือยังไม่ใช่ที่อย่างถาวร แล้วเค้าก็ยังไม่อยากบอกให้ลูกค้าทราบ 
    ก็ต้องถือว่าอีแน่จริง ๆ อีตาอีลอนนี่ มันกล้าขายของ ขายรถได้เป็น 1000 คัน โดยที่ไม่มีศูนย์บริการเป็นกิจจะลักษณะ คงจะมั่นใจคุณภาพของตัวเองมากงั้นหรือไง เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์
9) ทุก ๆ อย่างยังไม่เข้าที่เข้าทาง ไม่มีโชว์รูม จริงจัง ไม่มีศูนย์บริการของจริง แอพก็ยังไม่พร้อม ตอนนี้ลูกค้าก็ยัง add credit card ไม่ได้ เปิด supercharger แล้วระบบเก็บเงินก็ยังไม่ได้ดำเนินการ ตอนนี้ก็เลยชาร์จฟรีไปก่อน (เสร็จเรา)  จากประสบการณ์น้อง อ. รับรถ ก็แปลว่าไม่ได้มีการตรวจรถลูกค้าว่าพร้อมก่อนรับรถในเวลาที่เหมาะสม ที่เพียงพอที่จะเอารถไปแก้ปัญหาให้เรียบร้อยก่อนได้ ก็ถือว่ายังมีอีกหลายจุดต้องแก้ไข


 


Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2566
Last Update : 14 มีนาคม 2566 15:30:59 น. 0 comments
Counter : 1253 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

gollygui
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]






space
space
[Add gollygui's blog to your web]
space
space
space
space
space