กลบท งูกระหวัดหาง..-๐ หวาด ๐-

- กลบท งูกระหวัดหาง - -๐ หวาด ๐-
๑. เมื่อปลายแสงสิ้นสายจากปลายฟ้า ฟากนภาพลันลับและอับแสง เสียงปีศาจกราดกรีดหวีดสำแดง ดุจกรรมแกล้งย้อนหยัน เพื่อบั่นใจ
๒. จ่อปลายทวนหวนคิดความผิดพลาด พลันอนาถหนักหนาน้ำตาไหล ล้นอุราหวาหวั่นแทบบรรลัย ลามชดใช้ความชั่ว คิดมัวเมา
๓. หม่นสำนึกตรึกตรองครรลองผิด ผ่านชีวิตรกร้างหนทางเก่า ก่อแต่กรรมร่ำล้อมไร้กล่อมเกลา เกลือกก่นเศร้าศัลย์โศก วิโยคเยือน
๔. ยิ่งสับสน วนว่ายใจสับสน โสตยังยลยินเสียงสำเนียงเหมือน มารมาร้องก้องกู่แวงวูเตือน ตื่นตระหนกลกเลื่อน มิรู้วาย
๕. หวาดประหวั่นสั่นร่างแม้กลางดึก ดิ่งห้วงลึกเลวทรามสิ้นความหมาย แม้รุ่งแจ้งแสงสางสว่างพราย พรั่นอกคล้ายหม่นมืด ยังยืดยาว
๖. อยู่ในเหว แห่งความระยำอยู่ ยิ่งอดสูโดดเดี่ยวและเปลี่ยวหนาว หนอชีวิตต่ำใต้ไร้แสงพราว พรมกลอนกล่าวคืนค่ำ.. ของคนเลว ๚ะ๛ : . - Black Sword - (มยุรธุชบูรพา)
ขอบคุณภาพจาก Internet ๐--------------------๐
กลบท งูกระหวัดหาง - ข้อบัญญัติ : บัญญัติพิเศษเพิ่มจากกลอนทั่วไป คือ - ให้มีสัมผัสอักษรระหว่าง "คำสุดท้ายปลายวรรคก่อนหน้า" กับ "คำแรกของวรรคถัดไป" เรื่อยๆ ทุกวรรคไปตลอดสำนวนกลอนที่แต่ง * อ้างอิง : กลบทนี้มีปรากฏที่มาเฉพาะในตำรากลบท "ศิริวิบุลกิตติ์"
Create Date : 08 มีนาคม 2557 |
|
6 comments |
Last Update : 25 เมษายน 2558 12:00:53 น. |
Counter : 3169 Pageviews. |
|
 |
|
บางส่วนจากต้นแบบปฐมบท "กลอนกลบท งูกระหวัดหาง"
โดย หลวงศรีปรีชา (เซ่ง)
จากกลบท ศิริวิบุลกิตติ์ หน้า ๗๖ ลำดับที่ ๕๓
๐ โพธิสัตว์ตรัสฟังแจ้งจังจิตร
ใจเจ้าคิดแช่มชื่นรื่นเริงแสน
สุดเหมือนหมายคลายโศกวิโยคแค้น
คิดหนักแน่นถึงคุณการุณรักษ
แรกได้ฟังสั่งเสร็จให้เพชฌฆาต
คิดปล่อยราชบิตุรงค์ผู้ทรงศักดิ์
สั่งให้ฆ่าบุตรแทนแสนชื่นนัก
นึกใจรักษวิ่งมาไม่ช้าที
ทันพระองค์ทรงฤทธิ์พระบิตุราช
ร้องประกาศเทวาในราศี
สองหัตถ์น้อมบังคมประนมชุลี
แล้ววาทีตรัสก้องร้องว่าโภนโต
ตาตาข้าแต่ท้าวไทยเทพราช
เรืองอำนาจนาชเดชวิเศษโส
สิงสถิตฤทธิ์กระเดื่องเรืองเดโช
เชิญสโมสรพร้อมทุกจอมไท
เทวะสังฆาโยข้าแต่ท่าน
ทุกสถานสัคเคเทวาใหญ่
อยู่สถิตหกห้องช่องฟ้าใน
หน่อเทพไทสิงสถิตมีฤทธิ์เกิด
กาเมในชั้นฉ้อฉกามา
หมู่เทวาทั้งพระอินทร์องค์ประเสริฐ
สุทธิ์เปนใหญ่ในสวรรค์สองชั้นเลิศ
ล้วนกอบเกิดด้วยเดชวิเศษฤทธิ์
รูเปทั้งรูปพรหมสิบหกชั้น
ชักชวนกันมาเถิดประเสริฐสิทธิ์
เสด็จลอยเลื่อนฟ้าย่อมกล้าฤทธิ์
รับอุทิศบุญประสงค์ทุกองค์ควร
............. ฯลฯ ..............
...