space
space
space
<<
กรกฏาคม 2565
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
9 กรกฏาคม 2565
space
space
space

10 สาเหตุของ " ปัญหาผมร่วง " และ " หัวล้าน "

10 สาเหตุหลักของ "ปัญหาผมร่วง" "ผมบาง" และ "หัวล้าน"

ปัญหาผมร่วง ผมบาง และหัวล้าน (Hairloss) เกิดได้จากปัจจัยหลายประการ ตั้งแต่การเจ็บป่วย โภชนาการไม่ดี ขาดสารอาหาร ความไม่สมดุลของฮอร์โมน ไปจนถึงความเครียด ก็อาจส่งผลทำให้ผมร่วงได้ หากคุณกำลังประสบปัญหาผมร่วง ผมบาง หรือศีรษะล้าน คุณต้องหาต้นตอของปัญหาเพื่อหาวิธีการรักษาที่ดีที่สุด

โดยส่วนใหญ่ปัญหาผมร่วง ผมบาง หรือศีรษะล้าน จะเกิดจากผลข้างเคียงของปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการแก้ไข หรือควรได้รับการบำรุงอย่างเหมาะสม และผมร่วงที่เกิดจากสภาพความอ่อนแอของเส้นผม ในกรณีนี้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี และมีคุณภาพ ก็อาจะส่งผลให้การหลุดร่วงของเส้นผมนั้น เกิดขึ้นได้อย่างถาวร จนลามไปสู่ปัญหาของหัวล้าน

วันนี้ Jhair ได้รวบรวม 10 สาเหตุหลักของปัญหาผมร่วง ผมบาง และหัวล้าน มารวมไว้ในบทความสาระน่ารู้จาก Jhair เรียบร้อยแล้ว ได้แก่

1. ผมร่วงจากปัญหาต่อมไทรอยด์

ภาวะไทรอยด์ทำงานน้อย หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ก็อาจส่งผลให้ผมร่วงได้ เนื่องจากแต่ละสภาวะทำให้เกิด ความไม่สมดุลของฮอร์โมน ซึ่งตัวฮอร์โมนที่มีหน้าที่ในการช่วยควบคุมการทำงานของร่วงกาย รวมไปถึงการเจริญเติบโตของเส้นผม ก็อาจจะหยุดทำงานไปด้วยนั่นเอง

2. ผมบางหลังจากการตั้งครรภ์

เมื่อความไม่สมดุลของฮอร์โมน สามารถส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมได้ แน่นอนว่าการปรับเปลี่ยนของฮอร์โมนในการตั้งครรภ์ ซึ่งมีความผันผวนอย่างรุนแรงและฉับพลัน ก็สามารถส่งผลให้เส้นผมหยุดการเจริญเติบโตลงได้ เช่นกัน

ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะเห็นคุณแม่หลังคลอด มักมีอาการผมร่วง ผมบาง หรือหัวล้านเป็นหย่อมๆ ไปเลยในบางคน ซึ่งปัญหาผมร่วง ที่เกิดจากการตั้งครรภ์นั้น ส่วนใหญ่แล้วหากได้รับการบำรุงเส้นผมอย่างถูกต้อง ก็จะสามารถกลับมามีเส้นผมที่แข็งแรง ผมหนา ผมดก ได้ภายใน 3 เดือน หลังคลอดบุตร

3. ผมร่วงจากผลข้างเคียงของยา

ยาหลายชนิดที่มีผลข้างเคียงทำให้ผมร่วง ไม่ว่าจะเป็นยาในกลุ่มที่ทำให้ความเข้มข้นของเลือดจางลง ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคซึมเศร้า ยากลุ่ม NSAIDs หรือแม้กระทั่งยาปลูกผมเอง ก็อาจจะส่งผลให้ผมร่วงหนักกว่าเดิมได้เช่นกัน

หากคุณผมร่วงเนื่องจากผลข้างเคียงของยา ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะหลังจากที่คุณหยุดยา เส้นผมของคุณจะกลับมาเป็นปกติ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการบำรุงเส้นผมของคุณด้วย ที่จะส่งผลให้เส้นผมที่งอกขึ้นมาใหม่ มีความแข็งแรงเพียงใด

4. อาการบาดเจ็บทางกายภาพที่ส่งผลต่อรูขุมขน

หากคุณผมร่วงจากอาการบาดเจ็บทางกายภาพ หรือจากอาการช็อกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดอุบัติเหตุรุนแรง การเข้ารับการผ่าตัด แผลไฟไหม้ หรือป่วยหนัก อาการเหล่านี้ มักส่งผลให้ผมร่วงหนักมาก และจะร่วงเป็นกระจุก ในบางรายผมร่วงถึง 75% ของหนังศีรษะภายในไม่กี่วัน

5. ความเครียด

เมื่อคุณต้องรับมือกับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงชีวิต เช่น การหย่าร้างหรือการเลิกรา การล้มละลายหรือปัญหาทางการเงินอื่นๆ การสูญเสียบ้าน หรือการเสียชีวิตของคนที่คุณรัก ความเครียดทางอารมณ์สามารถทำลายวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผมได้

6. ข้อบกพร่องทางโภชนาการ

ความสมดุลของโภชนาการนั้น มีความสำคัญต่อสุขภาพที่ดีของร่างกาย ทำให้มั่นใจได้ว่าอวัยวะ และระบบการทำงานทั้งหมดของคุณ ทำงานได้ตามปกติ ภาวะโภชนาการไม่ดี หรือการรับประทานอาหารที่ทำลายสุขภาพ จะส่งผลให้คุณเกิดภาวะขาดสารอาหาร และสารอาหารทั้งหมดที่คุณได้รับ ก็จะไม่เพียงพอต่อการบำรุงเส้นผม จึงส่งผลให้เกิดภาวะผมร่วง ผมบาง หรือหัวล้านได้

โดยปัจจัยของการบกพร่องทางโภชนาการนั้น ไม่เพียงแต่ส่งผลให้ผมหลุดร่วงเท่านั้น แต่ยังส่งผลไปถึงปัญหาหนังศีรษะต่างๆ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดข้างรังแคอีกด้วย

7. การจัดแต่งทรงผม

ในขั้นตอนและวิธีการต่างๆ ของการจัดแต่งทรงผม มักส่งผลเสียต่อเส้นผมของคุณมากมาย เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์ทำให้ผมอยู่ทรง การเป่าผมด้วยลมร้อน รวมถึงการทำสีผม โดยจะทำให้เส้นผมของคุณอ่อนแอ ผมบาง ผมแตกปลาย หนังศีรษะแห้ง เป็นต้น

8. การติดเชื้อบริเวณหนังศีรษะ

การติดเชื้อที่ส่งผลต่ออาการผมร่วง ผมบาง หัวล้าน มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น การติดเชื้อที่ทำให้ไข้ขึ้นสูง หรือไวรัสไข้หวัด ทั้งไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่ การติดเชื้อราบริเวณหนังศีรษะ รวมไปถึงบริเวณใดก็ตามที่มีผมงอกขึ้นมา หากคุณติดเชื้อบริเวณศีรษะแล้ว แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาโดยด่วน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจมีโอกาสที่จะหัวล้านถาวรได้

9. โรคภูมิแพ้

ปัญหาผมร่วง ผมบางที่เกิดจากภูมิแพ้ มักมีอาการผมร่วงเป็นหย่อม หรือ Alopecia Areata เป็นโรคที่เชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ไปทำลายต่อมรากผมจนทำให้ผมร่วง โดยอาการอาจเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย เช่น คิ้ว ขนตา หนวดเครา หรือขนรักแร้ เป็นต้น โรคนี้เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มักเกิดกับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี ซึ่งปริมาณผมหรือขนที่ร่วง และที่งอกขึ้นมาใหม่ของผู้ป่วยแต่ละรายนั้นจะแตกต่างกันออกไป และในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ แต่ก็มีการรักษาที่ช่วยให้ผมงอกขึ้นมาใหม่ได้เร็ว และป้องกันการหลุดร่วงในอนาคต

10. ผมร่วง ผมบาง หัวล้านจากพันธุกรรม

ผมร่วง ผมบาง หัวล้านจากพันธุกรรม เป็นอีก 1 ปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากแต่ก็ยังมีวิธีการบำรุง ดูแลรักษามากมายในปัจจุบัน ตั้งแต่การทำศัลยกรรมปลูกผม ใช้ครีมปลูกผม เซรั่มเร่งผมยาว หรือผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมชนิดอื่นๆ

 

หากคุณมีความสนใจเกี่ยวกับเส้นผม หรือมีปัญหา ผมร่วง ผมบาง หัวล้าน ทุกๆ เรื่องเกี่ยวกับเส้นผม สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านเส้นผมของ J hair ได้ง่ายๆ แค่เพียง คลิก

 

Jhair - Numberone888




Create Date : 09 กรกฎาคม 2565
Last Update : 9 กรกฎาคม 2565 18:38:49 น. 0 comments
Counter : 533 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 6928413
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6928413's blog to your web]
space
space
space
space
space