โลกนี้แสนสวยงาม... อยากให้เธอได้อยู่ร่วมชม...............
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2549
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
27 พฤศจิกายน 2549
 
All Blogs
 

กรณี "แบตเตอรี่ระเบิด" เมื่อ"โซนี่" ไม่ศึกษา "อาคิโกะ โมริตะ"

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ปีที่ ๒๙ ฉบับที่ ๑๐๔๘๘

.................

เ มื่อเกิดกรณีแบตเตอรี่ที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบแลปท็อป หรือที่เมืองไทยนิยมเรียกกันว่า โน้ตบุ๊ก ระเบิดลุกเป็นไฟนั้น สถานการณ์เลี่ยงไม่ได้ที่เกิดขึ้นติดตามมาก็คือ การเรียกคืนแบตเตอรี่จำนวนหลายล้านชิ้นจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อผู้ใช้และต่อคู่สัญญาของ "โซนี่ คอร์ป." ยักษ์ใหญ่ด้านอีเลคทรอนิกส์จากญี่ปุ่น

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นโดยตรงจ ากการการเรียกคืนดังกล่าวมหาศาลแน่นอน แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นยังไม่อาจเทียบได้กับการเสื่อมเสียชื่อเสียงและคว ามน่าเชื่อถือในเครื่องหมายการค้า "โซนี่" ไม่อาจประเมินมูลค่าออกมาเป็นตัวเงินได้

แม้จะยังไม่มีการระบุแน่ชัด ว่า สาเหตุของกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นจากอะไร แต่ดูเหมือนว่าสาเหตุน่าจะมาจากเศษชิ้นส่วนโลหะเล็กๆ ภายในตัวแบตเตอรี่จำนวนหนึ่ง เกิดรวมตัวกันเข้ากลายเป็นเส้นทางที่ก่อให้เกิดการลัดวงจรขึ้นภายในระหว่างข ั้วบวกและขั้วลบ เมื่อความร้อนที่เกิดจากการลัดวงจรสะสมได้ระดับหนึ่งก็จะลุกเป็นไฟขึ้น

ไ ม่ว่าสาเหตุของการลุกเป็นไฟหรือในบางกรณีเกิดระเบิดขึ้นจะเกิดจากอะไร แต่สิ่งที่เกิดขึ้นบีบให้โซนี่ต้องหาทางค้นให้พบสาเหตุโดยเร็ว และดำเนินมาตรการใดๆ ก็ตามที่จะสามารถสร้างหลักประกันได้ว่า เหตุดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นอีก

หยิบเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟังอีกรอบ เพราะเพิ่งไปอ่านเจอข้อเขียนเกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้ของ ฮารุโอะ ฟูนาบาชิ ใน "เดอะ แจแปน เจอร์นัล" ฉบับประจำเดือนธันวาคมปีนี้ ฟูนาบาชิที่เป็นทั้งนักประวัติศาสตร์ และเป็นทั้งซีอีโอ (เขาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ซิริอุส อินสติติวท์ อิงค์.)

ฟ ูนาบาชิบอกว่า เรื่องนี้ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นว่าฝีมือในการผลิตของโรงงานในญี่ปุ่นซึ่งเค ยเป็นจุดแข็งนักหนานั้น เริ่มมีปัญหาเสียแล้วเท่านั้น แต่ยังทำให้เขาคิดถึงคนอย่าง อาคิโกะ โมริตะ ขึ้นมาอีกด้วย





อ าคิโกะ โมริตะ เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งโซนี่ขึ้นมา แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ เขาเป็นคนทำให้ "โซนี่" กลายเป็นเครื่องหมายการค้าที่เป็นที่รู้จักนิยม และชื่นชอบไปทั่วโลก

โ มริตะบันทึกความคิดในเรื่องเกี่ยวกับชีวิตและวิธีดำเนินธุรกิจของตัวเองไว้ใ นหนังสือโด่งดังเล่มหนึ่งชื่อ "เมด อิน แจแปน" หนังสือเล่มนี้แรกเริ่มเดิมทีเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์จำหน่ายเมื่อปี 1986 ปี ต่อมาถึงถูกแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น

"เมด อิน แจแปน" ไม่เพียงกลายเป็นหนังสือ เบสต์ เซลเลอร์ ในญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังขายดีเป็นเทน้ำเทท่าไปทั่วโลก ในยุคที่เศรษฐกิจของญี่ปุ่นกลายเป็นแบบอย่างที่ทุกคนต้องอิจฉา

ฟูนาบ าชิบอกว่า ผู้บริหารของโซนี่ในยุคหลังหรือจริงๆแล้วผู้บริหารของบริษัทญี่ปุ่นทั้งหลาย ในยุคหลัง ลืมเลือนปรัชญาธุรกิจของ อาคิโกะ โมริตะ ไปหมดแล้ว

สิ่งที ่โมริตะเน้นให้ความสำคัญสูงสุดเอาไว้ แต่ผู้บริหารยุคใหม่ของญี่ปุ่นไม่คำนึงถึงในทรรศนะของฟูนาบาชินั้นไม่ใช่ควา มลับพิเศษ ไม่ใช่ทฤษฎีหรือโปรแกรม ไม่ใช่นโยบายรัฐบาล แต่เป็นข้อเท็จจริงธรรมดาๆ ที่สุด แต่นักธุรกิจมักมองข้ามไปมากที่สุด

อ าคิโกะ โมริตะ บอกว่า ความสำเร็จของบริษัทในการดำเนินธุรกิจนั้น ต้องเริ่มต้นที่คน ต้องตั้งเป้าหมายให้ความสำคัญไปที่ตัวบุคคลก่อนที่จะคิดถึงผลกำไร เขาบอกว่าต้องสร้าง "คน" ก่อนที่จะไปคิดถึง "นวัตกรรม" ต่างๆ เสียด้วยซ้ำไป

" บิดาแห่งโซนี่" บอกเอาไว้ว่า เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างองค์กรขึ้นมาให้เป็นองค์กรที่เข้าใจ คน ส่งเสริมให้คนในองค์กรเติบใหญ่ และช่วยให้คนเหล่านั้นบรรลุถึงเป้าหมายที่มีความหมายในชีวิตของตัวเองได้

ฟ ูนาบาชิบอกว่า ตามแนวความคิดของโมริตะดังกล่าวนี้ พนักงานจึงจัดว่าเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญสูงสุดในการบริหารธุรกิจหนึ่ง ๆ ไม่ใช่บรรดาผู้ถือหุ้นที่เดินเข้ามาแล้วผละออกไปโดยตั้งเป้าหมายมุ่งหวังเพี ยงแค่ผลกำไรอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีบริษัทไหนสามารถประสบความสำเร็จรุ่งเรืองได้ ถ้าหากไม่ให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกแก่พนักงานของตนเอง

เพราะพนักงานต่างหากที่รักบริษัท และเอาชีวิตทั้งชีวิตของพวกเขามาเชื่อมโยงอยู่กับความสำเร็จหรือล้มเหลวของบริษัท

ฟ ูนาบาชิเชื่อว่า ในบริษัทที่จัดการเรื่องบุคลากรได้ถูกต้อง พนักงานจะค้นพบ "ความหมาย" และ "ความพึงพอใจ" ส่วนตัวได้จากการบรรลุภารกิจในการทำหน้าที่การงานของตนเอง พนักงานของบริษัทดังกล่าวนี้จะพึงพอใจสูงสุด เมื่อสามารถปฏิบัติภารกิจที่ท้าทายมากที่สุดที่ได้รับมอบหมายมาลุล่วงไปได้

ข วัญกำลังใจของพนักงานในบริษัทดังกล่าวนี้จะได้จากการสร้างสรรค์สิ่งที่เป็น "ฉันทามติ" ให้เกิดขึ้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั่วทั้งบริษัท ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพวกเขามีโอกาสได้พูดคุยแลกเปลี่ยนสิ่งดังกล่าวก ับบรรดา "หัวหน้า" ทั้งหลายและได้เข้าไป "มีส่วนร่วม" อย่างจริงจังในการวางแผนธุรกิจในระยะยาวและปั้นแต่งสิ่งที่เป็น "ความฝัน" ร่วมกันของพวกเขาให้เกิดเป็นความจริงขึ้นมา

ข้อสังเกตของฟูนาบาชิ อาจเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องแบตเตอรี่ของโซนี่ ระเบิดหรือไม่ก็ได้ สิ่งหนึ่งที่ฟูนาบาชิต้องการสื่อออกมาก็คือ กรณีดังกล่าวอาจไม่เกิดขึ้นกับโซนี่ หากพนักงานผู้ผลิตและประกอบแบตเตอรี่ของบริษัทยังคงยึดมั่นอยู่กับการทำหน้า ที่ของตนเองให้ดีที่สุด เพื่อบรรลุผลในการสร้างสรรค์โซนี่ให้ยังคงเป็นยักษ์ใหญ่ทั้งในด้านอิเล็กทริ คและอิเล็กทรอนิกส์อยู่ต่อไปตราบนานเท่านาน

เพราะหนึ่งประโยคสำคัญในข้อเขียนของฟูนาบาชิชิ้นดังกล่าวก็คือ

" เราจะพูดได้หรือไม่ว่า นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เรื่อยมา บรรดาผู้บริหารบริษัทของญี่ปุ่นจำนวนมากมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่จะหันไปชื่นชอบวิธีการดำเนินธุรกิจระยะสั้น ที่คำนึงถึงแต่ผู้ถือหุ้นของตนเองเป็นสำคัญ? "

หรือพูดง่ายๆ ว่า คิดถึงกำไรไว้ก่อนคิดถึง "คน" อย่างที่ อาคิโกะ โมริตะ ปรมาจารย์แห่งโซนี่ ว่าเอาไว้นั่นเอง!

หน้า 20

...................




 

Create Date : 27 พฤศจิกายน 2549
3 comments
Last Update : 27 พฤศจิกายน 2549 22:08:31 น.
Counter : 1762 Pageviews.

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆคร้าบ

 

โดย: PutterZ (ToppuT ) 27 พฤศจิกายน 2549 22:54:09 น.  

 



ถูกต้องนะค๊าบบ

 

โดย: HotDuckZ 28 พฤศจิกายน 2549 23:47:51 น.  

 

 

โดย: nuy IP: 124.120.205.5 25 พฤษภาคม 2551 15:17:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


เด็กชายก้อง
Location :
แพร่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แม้วันนี้เติบใหญ่
มาได้หลายฝนแล้ว
แต่ในใจก็ยังคง
เผื่อพื้นที่เล็กๆ
ไว้ให้เป็น
"เด็กชาย"

ดังนั้น ในบางครั้ง
พื้นที่บล็อกนี้
จึงมีพื้นที่
ที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว
และในบางพื้นที่
ยังคงเก็บไว้บ้าง
ให้สำหรับ
"เด็กชายก้อง"


.................

เพลง Lemon Tree
โดย Fools Garden
Get this widget | Share | Track details



















Friends' blogs
[Add เด็กชายก้อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.