BOSTON TERRIER LOVER
Group Blog
 
All blogs
 

Songkran Holiday in BKK








































 

Create Date : 16 เมษายน 2549    
Last Update : 16 เมษายน 2549 10:24:15 น.
Counter : 662 Pageviews.  

คุณปู่รีเทิร์น บทความจาก จุดประกาย นสพ.กรุงเทพธุรกิจ

คุณปู่รีเทิร์น
(บทความจาก จุดประกาย นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับ 4 มกราคม 2548 - thanks ka)

ในห้วงที่อารมณ์โหยหา กำลังมาแรง ในสังคมคนเล่นกล้องเอง ก็มีพฤติกรรมบางอย่าง ที่จัดว่าเข้าข่ายอยู่เหมือนกัน มีคนเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง สนุกอยู่กับการขุดกรุสมบัติ สมัยสงครามเย็น มากดชัตเตอร์มือเป็นระวิง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ เผยโฉมความสนุก ดำมะเมื่อมชิ้นนี้ แล้วจะรู้ว่า ทำไมถึงมีแฟนคลับอยู่ทั่วโลก

ในวันที่กลักฟิล์มถูกเทคโนโลยีดิจิทัลเบียดแซงหน้า แต่ก็ยังมีคนรักการถ่ายภาพกลุ่มหนึ่งพึงพอใจเสียง 'แชะ' ของชัตเตอร์แบบดั้งเดิมอยู่ พวกเขาบอกว่า "มันเป็นธรรมชาติ" และยินดีที่จะเก็บหลักฐานไว้เป็นกุรุสๆ มากกว่าเก็บเป็นไฟล์เล็กๆ ไว้ในซีพียู

เช่นนั้น ของเดิมๆ ที่ห่างความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะเดียวกันก็จะเข้าใกล้คำว่า 'ของเก่า' มากขึ้นทุกขณะ 'กล้องถ่ายรูป' ก็ไม่ได้รับการยกเว้น

แต่บางครั้งของเก่ามากๆ บางอย่างกลับเข้ามาสู่ผู้บริโภครุ่นใหม่ได้อย่างน่าแปลกใจ หลายคนอาจคิดว่าเป็นเพราะกระแสรีโทรที่กำลังมาแรงอยู่ ณ ขณะนี้ แต่พอค้นไปค้นมา กลับพบว่า เป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆ ของเหตุผล เท่านั้น

'กล้องโลโม' คือ กรณีศึกษาที่ว่า เพราะยิ่งนานวันเข้า กล้องคุณปู่อายุกว่า 20 ปีตัวนี้ รังแต่จะโดนใจคนรุ่นใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ หลายคนติดใจในสไตล์มันส์ๆ สนุกๆ ท้าทาย แถมกลิ่นอายของสังคมนิยมยังตลบอบอวลไปหมด จนคนสนุกปากลามไปเรียกว่า 'กล้องแนวๆ' ก็ยังมี

มรดกสงครามเย็น

ในหมู่นักเล่นกล้อง 'โลโม (Lomo)' อาจเป็นคนละหมวดหมู่กับกล้องมืออาชีพที่เรียกร้องความละเอียดและคมชัดสูง แต่ด้วยคุณสมบัติ 'เกือบดี' ของภาพถ่ายจากกล้องชนิดนี้ มีหลายคนชอบ ชอบมาก ไปจนถึงชอบที่สุด ไม่เช่นนั้น มหกรรม 'โลโมลิมปิก 2000' คงไม่เคยเกิดขึ้น

นวัตกรรมบันทึกภาพตัวนี้ ถูกออกแบบมาใช้ในกองทัพรัสเซีย ซึ่ง Lomo ย่อมาจาก Leningrad Optical Machinery Organization แปลว่า รัฐวิสาหกิจแห่งเมืองเลนนินกราด ที่ทำหน้าที่ผลิตเลนส์เพื่อใช้ในโครงการอวกาศของกิจการกองทัพ และยังเป็นโรงงานที่ผลิตเลนส์ให้กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วย

แต่เหตุผลที่โรงงานผลิตเลนส์ต้องหันมาผลิตกล้องถ่ายรูป ก็เพราะคำสั่งของเขาคนนี้...

นายพลอิกอร์ เพทโทรวิช คอนิสกี มือขวาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงและอุตสาหกรรมของสหภาพโซเวียตขณะนั้น (ค.ศ.1983) เขวี้ยงกล้องคอมแพคท์เล็กๆ เมดอินเจแปน ลงบนโต๊ะทำงานของสหาย มิคาอิล พานฟิลโลวิช พานพิลออฟ ผู้ว่าการรัฐวิสาหกิจและผู้จัดการโรงงานผลิตเลนส์ดังกล่าว แล้วสั่งให้สำรวจกล้องตัวนี้อย่างละเอียด และพบว่า ประกอบด้วยเลนส์แก้วที่คมชัดมาก ไวแสงสูง อีกทั้งตัวกล้องแข็งแรงทนทาน

เนื่องจากอยู่ในโลกสังคมนิยมเหมือนกัน บาดเจ็บจากสงครามมาเหมือนๆ กัน ดังนั้น คอมมิวนิสต์ซีกยุโรปเห็นว่าเป็นเรื่องที่กินกันไม่ลง จึงมีคำสั่งสายฟ้าฟาดให้ผลิตเลียนแบบขึ้นมาให้เร็วที่สุด ถูกที่สุด และมากที่สุด เพื่อให้พลเมืองรัสเซียนทุกคนรู้จักถ่ายรูป ตามสโลแกนเชิงเผด็จการว่า

"Every respectable Communist should have a Lomo Kompakt Automat : LC-A of their own-คอมมิวนิสต์อันทรงเกียรติทุกคนควรมีกล้องตัวนี้เป็นของตัวเอง"

ไม่แปลกที่ LC-A หลายล้านตัวจะกระจายสู่ตลาดหมีขาวอย่างรวดเร็ว ยังเผื่อแผ่ไปถึงเพื่อนร่วมอุดมการณ์อย่างเวียดนาม คิวบา และเยอรมันตะวันออกด้วย กล้องตัวนี้จึงกลายมาเป็นอุปกรณ์บันทึกเหตุการณ์สำคัญๆ ในวาระสุดท้ายของโลกคอมมิวนิสต์

แม้จะได้ชื่อว่า เป็นกล้องราคาย่อมเยา แต่นั่นเป็นเพราะว่าลดต้นทุนหลายๆ ส่วนไป แต่จุดเด่นจริงกลับอยู่ที่เลนส์ เลนส์ของโลโมจะถ่ายออกมาแล้วได้ผลแปลกๆ เช่น ขอบดำเหมือนใส่ฟิลเตอร์ และถ่ายในสภาพแสงน้อยได้ดี แถมขนาดกำลังเหมาะ สามารถพกใส่กระเป๋ากางเกงไปได้ทุกที่ เห็นอะไรก็หยิบมาถ่าย

ตัวเลนส์ทำจากแก้วเนื้อเกือบดีของรัสเซีย เป็นเลนส์มุมกว้างขนาด 32 มิลลิเมตร ซึ่งไวแสงมาก ช่วยให้ภาพสีจัดกว่ากล้องทั่วๆ ไป

และ 'ความไม่ชัด' ก็เป็นจุดด้อยที่กลายมาเป็นจุดเด่นของโลโมไปโดยปริยาย ซึ่งถ้าถ่ายตอนกลางวัน ภาพที่ได้จะคมชัด 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ภาพจะเริ่มเปลี่ยนอารมณ์ไปในสภาวะที่แสงไม่เพียงพอ โดยเฉพาะเวลาโพล้เพล้ไปถึงย่ำค่ำ ภาพที่ได้ก็อาจไหวๆ ซึ่งหลายคนชอบจากจุดนี้เอง เพราะเห็นความอาร์ต ดูเป็นศิลปะมากกว่าภาพถ่ายเกรดเอทั่วไป

แต่ความยอดนิยมของกล้องตัวนี้ มาแจ้งเกิดเอาอีกทีเมื่อ พ.ศ.2535 นักศึกษาหนุ่มชาวออสเตรีย 2 คน เดินทางไปเที่ยวรัสเซียแต่ลืมพกกล้องมาด้วย จึงไปซื้อกล้องโลโมมาขัดตาทัพไปพลางๆ แต่ถ่ายไปถ่ายมากลับค้นพบว่ากล้องราคาถูกตัวนี้ กลับให้ภาพแปลกๆ และฉีกกฎเกณฑ์เดิมๆ อย่างสิ้นเชิง

ด้วยเหตุนี้ กล้องยุคสงครามเย็นจึงกลับมาเกิดใหม่อีกครั้ง ในฐานะของเล่นชิ้นใหม่ของโลกทุนนิยม

แปลกและแหกคอก

สิบกว่าปีที่ผ่านมาทั่วโลก แต่ 2-3 ปีในเมืองไทย คือ เวลาที่ภาพถ่ายแนวโลโมกราฟฟี (Lomography) ครองใจคนรักกล้องกลุ่มหนึ่งเอาไว้ได้เหนียวแน่น โดยเฉพาะในแวดวงสไตลิสต์ กราฟฟิกดีไซน์ นักเล่นกล้อง ล่าสุด คือ นักศึกษามือใหม่

ภาพถ่ายส่วนหนึ่งที่เรามักเห็นในมิวสิควิดีโอ เช่น ภาพคนรักเก่า หรือภาพความหลัง ที่ให้สีสดผิดปกติไหวๆ เบลอๆ ภาพที่ได้มีสัดส่วนผิดเพี้ยนไปจากของจริง หรือมุมภาพทั้งสี่มีสีมัวๆ ดำๆ ดูไม่ตั้งใจถ่าย แต่นั่นก็คือความตั้งใจของเลนส์โลโม

ย้อนกลับไปที่สองหนุ่มออสเตรีย ผู้แหกกฎการถ่ายภาพเดิมๆ ทันทีที่จับกล้องโลโมครั้งแรก ทั้งคู่ค้นพบความอิสระในการถ่ายรูป ถ่ายอะไรก็ได้ ไม่เรียกร้องความเป็นมืออาชีพ แต่ภาพที่ได้กลับออกมาเหมือนงานทดลองทางศิลปะ ซึ่งแม้ตัวคนกดชัตเตอร์เองก็ควบคุมหรือเดาภาพที่จะออกมาไม่ได้

ธวัชชัย ศักดิ์มังกร หรือนามปากกา มังกรดำ บรรณาธิการนิตยสาร Focusing ที่เขียนบทความเกี่ยวกับกล้องตัวนี้อยู่เนืองๆ ให้ความเห็นว่า

"คนไทยเองเพิ่งรู้จักมาไม่นานผ่านอินเทอร์เน็ต เริ่มจากเห็นว่าสไตล์มันแปลก ต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะ เทคนิคเฉพาะ และในตัวภาพจากโลโมเองก็ต่างจากที่ได้จากกล้องทั่วไป อย่างแรก มันเป็นภาพที่ใช้บันทึกชีวิตประจำวันอะไรก็ได้ ไม่ใช่ภาพพิเศษอย่างภาพข่าว นสพ.หรือถ่ายรูปครอบครัว"

ความที่เป็นภาพถ่ายเล่นแสง สี และเงา ทำให้นักเล่นกล้องหลายคนชอบ เขาบอกว่ามันเป็นงานศิลปะดิบๆ และแหกกรอบ

"คนกลุ่มหนึ่งเบื่อกรอบ พอโลโมเข้ามาก็ไปตรงใจพอดี เพราะคอนเซปต์ของมัน คือ ถ่ายไปเถอะ ยังไงก็ได้ ถ่ายในสิ่งที่ตัวเองอยากเห็น ไม่ต้องสนใจคอมโพสิชั่น หรือหลักการอะไรทั้งนั้น" บก.นิตยสาร Focusing ว่าไว้

บางคนบอกว่า โลโมเป็นหนึ่งใน Toy Camera ด้วย แต่ต้องยกเว้น LC-A โลโมรุ่นคลาสสิก เพราะนั่นถือเป็นกล้องที่ผลิตมาเพื่อให้พลเมืองสังคมนิยมได้ถ่ายรูปกันเท่านั้น แต่เพราะกระแสที่เริ่มมาแรงในช่วงหลัง ทำให้นานาประเทศผลิตกล้องราคาถูกเลียนแบบขึ้นมา แต่ใส่ลูกเล่นสนุกๆ เพิ่มเข้าไป เช่น เพิ่มจำนวนเลนส์ เปลี่ยนวัสดุผลิตกล้อง (หาข้อมูลเพิ่มได้ที่ //www.Lomography.com) จึงเป็นที่มาของคำว่ากล้องของเล่น ซึ่ง พ.ศ.นี้ เมดอินกันหลายประเทศมากๆ โดยเฉพาะออสเตรีย ญี่ปุ่น ฮ่องกง เพราะต้นแบบตัวจริงเลิกผลิตไปแล้ว

ร้าน roominteriorproduct ห้างสรรพสินค้าดิสคัฟเวอรี่ เป็นอีกหนึ่งร้านที่สั่งกล้องชนิดนี้เข้ามาจำหน่ายได้ 3 ปีแล้ว อัจฉรา หวนระลึก พนักงานขายประจำร้าน บอกว่า ไม่มีล็อตไหนที่สั่งเข้ามาแล้วขายได้ไม่หมด สนนราคาขายต่อ 1 ตัว 8,500 บาท ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักเล่นกล้อง นักสะสม แต่ที่กำลังมาแรงตอนนี้ คือ นักศึกษา

"เขาบอกว่าตื่นเต้น ลุ้นดีว่าภาพที่ถ่ายออกมาจะเป็นยังไง บางรูปก็ไม่สวยเลยแต่บางรูปก็ออกมาสวยเกินความจริง น้อง นศ.จะซื้อกันเยอะ ซื้อกันทุกรุ่น เขาบอกว่ามันแปลกดี แม้ภาพจะคุณภาพไม่ดีมาก แต่ก็ใช้ได้ในระดับหนึ่ง มันแล้วแต่คนชอบนะ ส่วนบางคนก็อาจจะชอบที่ตัวกล้อง เขาทำออกมาน่ารักๆ เหมือนของเล่น"

พนักงานสาว บอกว่า กล้องทั้งหมดนำเข้ามาจากฮ่องกง สั่งมาคราวละไม่ต่ำกว่า 10 ตัว แต่ละตัวอยู่ตู้โชว์ได้ไม่ถึงเดือนก็โดนซื้อไป

ลูกค้ากลุ่มล่าคือคนรุ่นใหม่ เท่าที่อัจฉราสังเกตและสอบถาม พบว่าเป็นนักศึกษาที่เรียนถ่ายภาพ แต่ต้องการหาอะไรที่แปลก และเป็น 'แนว' ของตัวเอง

กล้องแนวๆ จึงเป็นอีกนิยามใหม่ของกล้องโลโม ด้วยเหตุทำนองนี้

"ภาพที่ไม่เหมือนใคร มันให้ความรู้สึกเก๋ เท่ เจ๋ง การที่คนเราได้ทำอะไรแปลกๆ มันก็รู้สึกดีไม่ใช่เหรอ ทั้งๆ ที่คนอื่นอาจไม่เข้าใจว่ามันสวยตรงไหน ชัดก็ไม่ชัด เบลออีกต่างหาก แต่คนที่ถูกมองอาจจะชอบไง" บก.Focusing วิเคราะห์ในฐานะที่เป็นเจ้าของโลโม 1 ตัว

อ.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ จากภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษานิตยสาร aday weekly ก็เป็นอีกหนึ่งที่มี LC-A คลาสสิกเป็นของตัวเอง ด้วยเหตุผลที่ซื้อเพราะสนใจกล้องรัสเซียเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ด้วยความที่เลนส์ค่อนข้างดี ราคาถูก และคุณภาพ 'เหมือนจะดี' ของภาพที่ได้ ส่วนจะจัดได้ว่าเป็นกล้องแนวๆ หรือไม่นั้น อาจารย์หนุ่มนิ่งคิดครู่หนึ่ง ก่อนพยักหน้ารับ

"สำหรับเด็กรุ่นใหม่ มันสะท้อนถึงการค้นหาเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของตัวเอง ไม่เดินตามใคร รูปของโลโมมันแปลก อยู่ที่ว่าเราจะให้ความหมายอะไรกับมันด้วย"

แต่ในฐานะคนเล่นกล้องชนิดนี้ อ.พิชญ์ กลับมีความชื่นชอบส่วนตัวบางอย่างที่ต่างออกไป

"มันเหมือนกลับไปยุคแรกของการมีกล้อง 35 มม.คือ คุณไม่สามารถควบคุมกล้องได้ทุกอย่าง สิ่งที่ควบคุมไม่ได้มันมาจากจังหวะการถ่ายที่แปลก ผิดปกติ ภาพเพี้ยนบางภาพมันสวยนะ"

อาจารย์ฝั่งสิงห์ดำ ถือว่าการเล่นกล้องโลโมนั้นเป็นความบันเทิงชนิดหนึ่ง เพราะกล้องรุ่นสงครามเย็นตัวนี้ไม่ได้ผลิตขึ้นเพื่องานมืออาชีพ แต่รวมๆ แล้วเป็นกล้องที่ถ่ายเพื่อความสนุกสนาน หาแรงบันดาลใจ และไม่ต้องการความเนี้ยบ

"เราสนุกกับการเล่นกับขีดจำกัดของกล้อง มันท้าทาย เราไม่ได้ถ่ายเพื่อไปทำข่าว หรือนำเสนออาจารย์สักหน่อย แค่ถ่ายบันทึกแนวแปลกๆ"

กดเลย ไม่ต้องคิด

"ผมว่ามันเป็นแฟชั่นมากกว่านะ" ตามความเห็นของ ธวัชชัย บก.Focusing เพราะต้นกำเนิดจริงมาจากอดีตสหภาพโซเวียต ที่ทำจากวัสดุราคาถูก เลนส์ราคาถูก คุณภาพไม่ถือว่าดี แต่ความไม่ดีนี้เองที่เผอิญไปถูกใจใครเข้า ทั้งๆ ที่เทคโนโลยี พ.ศ.นี้ ล้ำหน้าไปเสียจนภาพถ่ายแทบไม่ต่างอะไรจากตาเปล่าแล้ว

"มันเจริญมากๆ ไง แต่พอเราไปเจออะไรที่มันแฮนด์เมด เหมือนเรานั่งเบนซ์อยู่ทุกวัน วันหนึ่งเห็นสามล้อถีบ ก็อยากกลับไปนั่ง ถ่ายรูปก็เหมือนกัน ทุกวันนี้มันอัตโนมัติหมดแล้ว เหลือแค่กดชัตเตอร์เท่านั้น อีกอย่างมันเป็นเรื่องของความคิด มุมมองด้วย เอาเหตุผลจริงๆ มาวัดกันไม่ได้" ธวัชชัย ชี้อีกจุด

ถัดจากอารมณ์โหยหาแล้ว ด้วยความเป็นนวัตกรรมแห่งโลกสังคมนิยม ปรากฏการณ์กว้านซื้อเพื่อสะสมจึงเป็นตัวจุดกระแสอีกแรงให้โลโมกลับมาฮอตอีกครั้ง

จากการมุมมองของ อ.พิชญ์ เห็นว่า ของหลายอย่างที่สังคมนิยมผลิต มีราคาถูกและคุณภาพดี เพราะไม่ได้ขึ้นตรงต่อกลไกตลาด

หนึ่งในนั้นคือโลโมที่กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของคอลเลคชั่นน่าสะสม ในช่วงก่อนที่สังคมนิยมจะล่มสลาย เพราะของเหล่านี้มีกลิ่นอายบางอย่างที่โลกทุนนิยมสมัยใหม่ไม่มี

"ทั้งความเก่า คลาสสิก ทนทาน รวมทั้งรูปทรงที่แตกต่างจากการออกแบบของโลกทุนนิยม เหมือนเราเอาเสื้อทหาร หรือนาฬิกาโซเวียตมาใส่ มันเป็นภาพหนึ่งของวัฒนธรรมการสะสม" อาจารย์จากจุฬาฯ ลงความเห็น

ทั้งหมดจึงรวมกันดันให้เกิดโลโมลิซึมขึ้นกลุ่มเล็กๆ แต่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก จนเกิดกิจกรรมต่างๆ ตามมา อาทิ นิทรรศการภาพถ่าย Lomographic นานาชาติ ที่จัดขึ้นครั้งแรก ณ กรุงมอสโก และนิวยอร์กพร้อมๆ กันเมื่อค.ศ.1994

ตลอดจนการจัดทัวร์เพื่อพาไปถ่ายรูปแนวโลโมกราฟฟี ตามสถานที่ประหลาดๆ ไม่เหมือนใคร เพื่อรองรับปริมาณสาวกโลโมที่มากขึ้นเรื่อยๆ และเวบไซต์ //www.Lomo.com ก็ถือกำเนิดขึ้นใน ค.ศ.1995 เพื่อเป็นสื่อกลางให้คนคอเดียวกันได้ติดต่อพูดคุย

ความเป็นรูปเป็นร่างต่างๆ ของกล้องเก๋าตัวนี้ เกิดขึ้นตามมาชนิดฉุดไม่อยู่ ไม่ว่าจะเป็นสมาพันธ์โลโมกราฟฟิกนานาชาติ ที่จัดตั้งขึ้น ณ กรุงมาดริด ใน ค.ศ.1997 รวมทั้งการตามมาของลูกหลานโลโมนานาชนิด ที่มีลีลาและลูกเล่นแพรวพราวต่างๆ กัน

ในที่สุด มหกรรมการแข่งขันระดับโลกภายใต้ชื่อ โลโมลิมปิก 2000 ก็มีขึ้นจากหลายเสียงเรียกร้อง ภายใต้คอนเซปต์สั้นและง่าย "Don't think just shoot" ตามสไตล์ดิบๆ ของโลโม

กลับมาที่ชมรมคนรักโลโมในเมืองไทย แม้จะเดินตามหลังคนหัวทอง หัวแดงอยู่นานหลายปี แต่ที่ผ่านมา บ้านเราก็เคลื่อนไหวเรื่องนี้อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน

เช่น เมื่อเร็วๆ นี้ร้าน Roominteriorproduct ก็เพิ่งจัดนิทรรศการภ่าพถ่ายโลโมกราฟฟีไปเหมือนกัน ได้รับความสนใจไปไม่น้อย และสำหรับใครสตางค์น้อยนิด ไม่มีงบซื้อกล้องเป็นของตัวเอง ก็จะมีโปรแกรมโฟโต้ช็อปสำเร็จรูป แปลงภาพถ่ายจากกล้องฟิล์มธรรมดา หรือกล้องดิจิทัล ให้เป็นสไตล์โลโมได้เพียงนิ้วคลิก

และเมื่อเร็วๆ นี้ กล้องของแถมจากแชมพูโดฟ (Dove) เข้าสู่ภาวะขาดตลาดกะทันหัน เหตุเพราะคนแย่งกันซื้อ ไม่ใช่เพราะความนิยมในตัวแชมพูสระผม แต่เป็นเพราะของแถมที่แนบมาด้วยต่างหาก ที่หลายๆ คนมองแล้วว่าน่าจะเข้าข่ายกล้องโลโมได้ เพราะดูจากวัสดุแล้วจัดว่าไม่ถึงเกรดเอ เลนส์ก็งั้นๆ แต่ภาพที่ได้ออกมามัวๆ สมใจคนชอบของแปลก

แม้เป็นเพียงวัตถุเล็กๆ ที่คืนสังเวียนกลับมารุ่งอีกครั้งหนึ่ง แต่อย่างน้อยก็เหนือชั้นกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกันที่เป็นได้แค่ส่วนหนึ่งของตู้โชว์ เพราะคุณปู่ตัวนี้ อุตส่าห์แทรกตัวกลับมาฮอตอีกครั้งในหมู่หลานๆ ในฐานะของ (แพง) น่าใช้ รุ่มรวยไปด้วยอุดมการณ์ บันทึกเหตุการณ์ช่วงสงครามเย็นมาอย่างโชกโชน ก่อนจะรีเทิร์นมา 'แนว' ได้อีกครั้ง

link:-//www.bangkokbiznews.com/2005/01/04/jud/index.php?news=jud1.html




 

Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2549    
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2549 19:12:42 น.
Counter : 386 Pageviews.  

เที่ยว Siam Ocean World

พกกล้อง Lomo Fish Eye ไปเยี่ยมญาติ






















 

Create Date : 17 กุมภาพันธ์ 2549    
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2549 1:19:38 น.
Counter : 351 Pageviews.  

หมาเพื่อนรัก
























 

Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2549    
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2549 21:18:42 น.
Counter : 356 Pageviews.  

fisheye ม้วนแรกค่ะ



























By : Kodak Elite Chrome (Blue)
Cross at Siam Digi




 

Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2549    
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2549 20:28:41 น.
Counter : 548 Pageviews.  

1  2  

b.terrier
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add b.terrier's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.