
 |
|
 |
 |
|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
 |
 |
|
|
รักษา ฟรี ด้วยตัวเอง สมัยนั้น
ด้วยเป็นเมืองปิด ประชากรประมาณ สองหมื่นคน ที่ผ่านมาสี่หมอ ไม่ได้เหลือเงินสดไว้ให้ แต่ก็ดีที่ไม่เหลือหนี้สินไว้ด้วย และจากเงินงบประมาณนอกจากเงินเดือนเบี้ยเลี้ยงข้าราชการทั้งหมดจากส่วนกลางแล้ว (มีค่าน้ำมันรถ กับค่าวัสดุ สิ้นเปลืองในสำนักงาน ที่มีงบประมาณ ) ส่วนค่าไฟค่าน้ำประปา ทางรพอ ต้องเอารายได้ตัวเองจ่าย รวมทั้งเงินเดือนลูกจ้างชั่วคราวถ้ามี ( ถ้าหมดรายได้ ลูกจ้างชั่วคราวก็ต้องเลิกจ้าง ไฟฟ้า ประปาก็จะไม่มีใช้) แต่ตั้งแต่มาอยู่ งบประมาณยาที่ได้รับปีละประมาณ สองแสน โดยการมีสิทธฺสั่งซื้อยาจากองค์ การเภสัชกรรม ไม่ได้รับเงินเอาเงินไปซื้อยาที่ไหนก็ได้ ได้พยายามบริหารการเก็บค่ารักษาพยาบาลให้ถูกเพราะได้มาเพียงสิบบาทนี่ก็คือกำไร เพราะเป็นของที่ไม่มีต้นทุน ปรากฏว่าจากการที่ผ่าตัดมาก มีคนไข้นอน แล้วคิดค่านอนต่อคืนได้บ้าง ทุกอย่างเป็นกำไร ที่แต่ก่อนจะน้อยมาก เพราะไม่ค่อยผ่าตัด และไม่ค่อยให้คนไข้นอน บัญชีรพอ มาเป็นตัวเลขเขียวอย่างเห็นได้ชัด จนทางรพอ สามารถขออนุญาตทางจังหวัดจัดจ้างคนทำหน้าที่ที่ขาดบุคคลากร ได้หลายคน เมื่อมีการประชุม ชมรมแพทย์ ชนบท เคยนำข้อคิดเล่น ไปเสนอ โดยการนำค่าใช้จ่าย จากงบประมาณที่ได้รับเป็นค่ายา และยาที่ต้องสั่งซื้อด้วยเงินของรพอ เองเมื่อยาที่มาจากเงินงบประมาณหมด แล้วเอาจำนวนประชากรสองหมื่นไปหาร ปรากฏว่ามีตัวเลขเฉลี่ยค่าใช้จ่ายต่อหัวเพียง 20บาทต่อปี จึงเกิดความคิดขึ้นว่า ถ้าเรารวบรวมชาวบ้านทุกคน เสียคนละ20บาท ทั้งปีเราก็ไม่ต้องเก็บตังคนไข้อีกแล้ว คนไข้ก็ไม่ต้องลำบาก ต้องระวังว่าไม่สบายจะไม่มีเงินอีกแล้ว แต่ในแง่ปฏิบัติละ มันเหมือนโครงการ รักษาฟรีเพียงเก็บเงินก่อนตอนต้นปีทุกคน คนละ20บาท แต่เหตุการณ์ อนาคต เราจะทราบได้อย่างไรว่าปีต่อไป ค่ายาจะเท่าเดิม ไม่ต้องไปซื้อมาแพงขึ้น คนไข้จะเป็นจำนวนเท่าเดิมโรคเดิม และใช้ยาเท่าเดิม เอาละเราป้องกันการเสียเงินแล้วคนไข้มาใช้บริการมากขึ้น แต่ก็เกิดผลดี ทุกคนจะเลิกการซื้อยาทานเอง ทุกคนจะมาหาเราเร็วขึ้นไม่ปล่อยเรื้อรัง หมอเถื่อนจะคนไข้น้อย ร้านขายยาจะมีคนซื้อน้อยลง เรากำลังจะมีศัตรูมากขึ้น แล้วถ้าเราเก็บสักเท่าตัวคนละ40บาท ละจะช่วยป้องกันการขาดทุนได้ไหม เขาจ่ายได้แน่ แต่คนไทย ไม่ใช่ว่าเราคิดอะไรแล้วจะได้รับความร่วมมือไปหมด ในสองหมื่นคน มีคนที่เบิกค่าใช้จ่ายได้ ส่วนหนึ่ง มีคนพิการที่ได้รับการรักษาฟรีส่วนหนึ่ง นี่เป็นเพียงข้อเสนอในการคิดเล่นๆๆ ซึ่งไปตรงกับแนวคิดของทางกระทรวง ปรากฏว่า มีการทาบทาม จากหลายฝ่ายให้เข้าไปทำงานในกระทรวง ต่อมาอีกราวสองปีก็มีโครงการบัตร์ ประกันสุขภาพ ทดลองทำแต่ละหมู่บ้าน รับสมัคร คนละหนึ่งร้อยบาท รักษาฟรี ถ้าทั้งบ้าน 500บาท ปรากฏว่าไม่เวิคเท่าที่ควร เพราะมีผู้ทดลองสมัครทำเพียงบางส่วน คนมีเงินคิดว่าไม่อยากไปแย่งยาของคนรายได้น้อย และการจัดการผิดตั้งแต่การแยก คนไข้ตรวจคนละทางกับคนไข้ไม่มีบัตร์ ประกันสุขภาพ และเจ้าหน้าที่เองกลัวการขาดทุน จึงจัดทำบัญชียาอีกชุดหนึ่ง ไม่ใช่ยาที่ใช้เหมือนกันกับคนไข้ปกติอื่น ทำได้ระยะหนึ่ง จำนวนคนที่สมัครทำเริ่มลดลง เพราะไม่ต้องการได้ยาคนละเกรด แม้จะดีตอนส่งตัวไปรักษาต่อจะได้ฟรีหมดในกรณีโรคร้ายแรง หรือผ่าตัดใหญ่ๆๆก็ตาม บอกแล้วเห็นไหมว่ารพอ นะมองเห็นปัญหาทุกอย่างชัดเจนจริงๆๆ เราคิดเราทำก็ได้แต่ วิธีการมันจะต่างกับคนที่อยู่ข้างบนคิด ส่วนการรักษาฟรีคนไหนไม่มีเงินเราจัดการได้เพราะเราอยู่ในพื้นที่รู้ว่าใครเป็นเช่นไร หรือเก็บเท่าที่พอเก็บได้ ไงก็เป็นกำไรทั้งสิ้นดีกว่าฟรีหมด แล้วไม่มีค่า ใช่ไหมครับ
Create Date : 19 เมษายน 2552 |
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2557 16:42:54 น. |
|
0 comments
|
Counter : 709 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
|
หมอสัจจะ |
 |
|
 |
|