<<
เมษายน 2558
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
7 เมษายน 2558
 

มิโคชิบะ กาคุโตะ กับความน่าจะเป็นของเจตนาฆาตกรรม

พักหลังๆ มานี้ นักเขียนนิยายสืบสวนญี่ปุ่น ช่วงชิงพื้นที่การอ่านจากนักเขียนนิยายฝั่งตะวันตกไปมาก 
เราเองก็มาติดตามแนวสืบสวนแบบญีปุ่นหลายเรื่อง  รู้สึกว่า อ่านสนุกกว่า แม้จะไม่เคยจับคนร้ายได้ซะที
บางเรื่องก็รู้ตัวคนร้าย แต่มาลุ้นหาเหตุผล หลักฐาน และอะไรอีกมากมาย เพื่อจับให้มั่นคั่นให้ตายว่า 
คนนี้แหละ ผู้กระทำผิด ...ไม่ใช่จับแพะ นะ  ...ประมาณนั้น 

มิโคชิบะ กาคุโตะ กับความน่าจะเป็นของเจตนาฆาตกรรม 




คามินากะ มานาบุ : เขียน / จุฬาลักษณ์ กรณ์สกุล : แปล
สำนักพิมพ์เอ็นเธอร์บุ๊คส์ พิมพ์คร้งที่ 2 : ตุลาคม 2557
จำนวน 247 หน้า / ราคา 179 บาท
ซือเมื่อ : 26 กุมภาพันธ์ 2558
อ่านจบ : 5 เมษายน 2558

:: โปรยปกหลัง :: 
โทโมกิไปมีเรื่องกับตำรวจรุ่นพี่
เธอจึงถูกสั่งพักราชการและโดนยายไป
"ฝ่ายสืบสวนพิเศษ" ที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่
ทว่าแค่วันแรกของการทำงาน ตำรวจสาวก็พบเรื่องไม่คาดฝัน
เพราะนอกจากเธอจะได้เจอชายเจ้าของฉายา "กนโนะผู้เปิดปากคนร้าย" 
ที่ว่ากันว่าเป็นมือหนึ่งเรื่องการสอบปากคำแล้ว
เพื่อนร่วมงานของเธออีกคนยังเป็นถึง... นักคณิตศาสตร์?
เอ๊ะ แล้วนักคณิตศาสตร์มาเกี่ยวอะไรกับการทำงานของตำรวจ
การอนุมานแบบเบย์ สมมติฐานรูปวงกลม อะไรพวกนั้นน่ะหรือ
จะช่วยพิสูจน์ความจริงได้! 



ตัวละครในการเดินเรื่องคือ "โทโมกิ" ไม่ใช่ตัวละครตามชื่อเรื่อง 
แบบนี้ เป็นสไตล์การเขียนของ "คามินากะ มานาบุ"
เรื่องนี้เน้นประเด็นเกี่ยวกับ "การสอบสวนผู้ต้องสงสัย (หรือผู้ต้องหา)" 
ก็เลยมีบทสนทนามากกว่าการบรรยายความคิด  ถาม-ตอบ โต้เถียง 
อ่านแล้วต้องใช้สมาธินิดนึง จะได้จำได้ว่า ประโยคนี้ ตัวละครใครกำลังพูดอยู่ 

โทโมกิ เป็นตำรวจสืบสวนที่ทำตัวเป็นกลางสุดๆ เธอไม่เห็นตัวที่ตำรวจรุ่นพี่บังคับให้ผู้ต้องหาลงชื่อรับสารภาพ
ทั้งๆ ที่เจ้าไม่ยอมเปิดปากพูดอะไรเลย และเขาพยายามใช้กำลังบังคับ  เหตุทะเลาะวิวาทก็เลยทำให้ถูกพักงาน ทั้งคู่
พอครบกำหนด เธอก็ถูกย้ายมาทำงานใน "ฝ่ายสืบสวนพิเศษ" ที่ตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งมีหน้าที่ "สอบสวน-ซ้ำ" 
การสอบสวนซ้ำอีกครั้งนั้น เพื่อทำให้ตั้งข้อหา "แน่ชัด" ยิ่งขึ้น เนื่องจากโทษของแต่ละข้อกล่าวหานั้น ไม่เท่ากัน 
ฆาตกรรมโดยเจตนา ฆาตกรรมโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การทำร้ายร่างกายเพื่อป้องกันตนเอง  รวมไปถึง
การรับสารภาพเพื่อป้องผู้กระทำผิดตัวจริง  เป็นต้น 
และบุคคลสำคัญที่จะช่วยอ้างอิง "ความน่าจะเป็น"  ก็คือ นักคณิตศาสตร์ 

กาคุโตะ เป็นนักคณิตศาสตร์ตามพ่อ ที่ยอมเข้ามาช่วยเหลือราชการ 
เพราะในอดีต พ่อของเขาถูกจับเป็น "ผู้ต้องหา" แม้จะไม่มีความผิด
แต่สังคมรอบข้างก็ตัดสินโทษไปแล้ว ทำให้พ่อของเขา "ฆ่าตัวตาย" 
นั่นทำให้เขา มุ่งมั่นที่จะหาวิธีวิเคราะห์ "ความน่าจะเป็น"  เพื่อบ่งชี้แนวทางการสืบสวน
บางครั้ง สิ่งที่ตำรวจพุ่งประเด็นไปนั้น มันเกิดจากสัญชาติญาณ หรือประสบการณ์จากคดีที่คล้ายคลึงกัน
แต่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงของคดีนี้ ก็อาจเป็นได้ 

ตอนแรกเราก็เข้าใจว่า เรื่องนี้น่าจะเป็นคดีสั้นๆ จบในตอน 
แต่ที่ไหนได้ เปิดเรื่องแล้ว สืบมาอีก 2 คดี  ดันพัวพันเกี่ยวข้องกันซะได้ 

ถ้าใครชอบการเล่าเรื่องสไตล์นี้ ก็ไม่น่าพลาดเรื่องนี้นะ โดยเฉพาะ สาวกยาคุโมะ 
ในเรื่องนี้ มียาคุโมะมาเดินผ่านฉากด้วย - นิดนึง


ปล. ความรู้เพิ่มเติมทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การอนุมานแบบเบย์ >> คลิก


ตอบโจทย์ : สืบสวน / ฆาตกรรม











Create Date : 07 เมษายน 2558
Last Update : 7 เมษายน 2558 8:10:22 น. 0 comments
Counter : 1696 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com