พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
31 พฤษภาคม 2555

ปราสาทหินพิมาย (3)





สวัสดีค่ะ

ตามมาเที่ยว ปราสาทหินพิมาย กันต่อนะคะ

จากครั้งที่แล้วได้ผ่าน ชาลาทางเดิน เพื่อเข้ามาถึง ซุ้มประตูและระเบียงคด








ข้างชาลาทางเดินมีสระน้ำอยู่ทั้งสองข้าง สนามหญ้าสีเขียวเรียบสวยงาม

คูน้ำเหล่านี้ หมายถึงมหาสมุทรที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ และเป็นแนวบอกขอบเขตศักดิ์สิทธิ์ของศาสนสถานด้วย






เพื่อนบอกว่า ลานกว้างนี้เคยใช้แสดงงานแสงสีเสียงของพิมายมาแล้ว






มองเห็น ซุ้มประตูทางเข้า (โคปุระ) อยู่ตรงกลาง มีปราสาทประธานอยู่ถัดซุ้มประตู ลึกเข้าไปอีกมาก






ซุ้มประตูและระเบียงคด


เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายยกพื้นสูง อยู่ล้อมรอบปราสาทประธาน ระเบียงคดมีลักษณะคล้ายกำแพงแก้วทั้ง 4 ด้าน
โดยมีตำแหน่งที่ตั้งตรงกับแนวของประตูเมือง และประตูทางเข้าปราสาทประธาน
ปรากฏหลักฐานสำคัญที่ซุ้มประตูด้านทิศใต้ บริเวณกรอบประตูพบจารึกภาษาเขมร อักษรขอมโบราณ
ระบุศักราชตรงกับ พ.ศ. 1651-1655 กล่าวถึงการสร้างรูปเคารพ การสร้างเมือง
ตลอดจนปรากฏพระนามของขุนนางชั้นสูง และพระนางมหากษัตริย์คือ พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1





ภาพทับหลังซุ้มประตูภาพบนนี้ ให้แสงเพิ่มขึ้น เพิ่มความชัด เห็นลวดลายได้ชัดเจน








ลาย "หน้ากาล" มักพบสลักบนทับหลัง ประกอบอยู่ใต้ภาพเทพเทวดาต่างๆ
เชื่อว่า "กาล" เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่พระอิศวรทรงสร้างขึ้น เพื่อให้ทำหน้าที่เฝ้าเทวาลัย ป้องกันมิให้สิ่งชั่วร้ายผ่านเข้ามา
คำว่า "กาล" หมายถึง "เวลา" ซึ่งจะกลืนกินทุกสิ่งทุกอย่างแม้กระทั่งตัวของมันเองยังถูกกลืนเข้าไปเหลือแต่หัว
พระศิวะทรงตั้งชื่อให้อีกชื่อหนึ่งว่า "เกียรติมุข" หมายถึงหน้าที่มีเกียรติ
ทรงกล่าวว่าผู้ใดไม่ให้ "เกียรติ" แก่เกียรติมุข ผู้นั้นจะไม่ได้รับพรจากพระองค์




อาคารด้านซ้ายมือ พอจะมีหลังคาให้เห็น เป็นส่วนหนึ่งของระเบียงคดรอบปราสาทประธาน

ระเบียงคด คือ อาคารหลังคาคลุมชนิดหนึ่งที่ใช้ล้อมรอบปราสาทประธานและบริเวณโดยรอบ
เพื่อแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ภายในระเบียงคดเป็นพื้นที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์





ด้านหลังกำแพงแก้วขวามือ มียอดปรางค์พรหมทัตโผล่ขึ้นมาให้เห็น(ดูตามผังในเอนทรี่ที่ผ่านมานะคะ)

ปรางค์พรหมทัต

ลักษณะของปรางค์องค์นี้ สร้างด้วยศิลาแลงตั้งอยู่ด้านหน้าของปราสาทประธานทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้
ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ประตูทำเป็นมุขยื่นออกไปทั้ง 4 ทิศ ภายในองค์ปรางค์พบประติมากรรมสำคัญ 2 ชิ้น
คือ ประติมากรรมรูปบุคคลขนาดใหญ่อยู่ในท่านั่งขัดสมาธิ สลักด้วยหินทราย
สันนิษฐานว่าเป็นรูปจำลองของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ชาวบ้านเรียกว่า ท้าวพรหมทัต
ส่วนอีกรูปเป็นรูปสตรีนั่งคุกเข่าสลักด้วยหินทราย ส่วนศีรษะและแขนหักหายไป เชื่อกันว่าเป็นรูปของพระนางชัยราขเทวีมเหสี
ชาวบ้านเรียกตามนิยายพื้นบ้านว่า นางอรพิม ปัจจุบันประติมากรรมทั้ง 2 ชิ้นนี้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพิมาย

เราลงไปดูไม่ได้เพราะทางเฉอะแฉะ เดินลำบากมาก บางแห่งน้ำยังขังที่สนามหญ้าอยู่เลย





กำแพงแก้วด้านขวามือของซุ้มประตูแห่งนี้ ขวามือสุดจะมีสิ่งก่อสร้างที่เป็นกำแพงสี่เหลี่ยมล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง

กำแพงแก้ว หมายถึงกำแพงที่ล้อมล้อมรอบปราสาทประธานและบริเวณโดยรอบ ที่กึ่งกลางมีโคปุระเข้า-ออก





ลวดลายอย่างนี้ยังคงมีอยู่ภายในซุ้มประตูแห่งนี้ ทำให้คิดว่า เป็นของใหม่หรือของเก่า..?





ผ่านซุ้มประตูเข้าไปมองไปทางซ้ายมือ เห็นว่าเจ้าหน้าที่กำลังสูบน้ำออกจากสนามหญ้าด้านล่าง




เดินผ่านซุ้มประตูออกมาแล้ว หันกลับไปมองกำแพงแก้วด้านขวามืออีกครั้ง








พบแต่สิ่งปรักหักพังเป็นจำนวนมาก หน้าฝนอย่างนี้ ตะไคร่ขึ้นจนเขียวไปหมด





ตรงกันข้ามกับปรางค์พรหมทัต คือ ปรางค์หินแดง

ปรางค์หินแดง

สร้างขึ้นราวปลายพุทธศรรตวรรษที่ 17 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของปรางค์ประธาน มีมุขยื่นออกไปทั้ง 4 ทิศ
เหนือกรอบประตูทางเข้าด้านทิศเหนือ มีทับหลังหินทรายจำหลักภาพเล่าเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ ตอนกรรณะล่าหมูป่า
ส่วนกรอบประตูด้านอื่นคงเหลือร่องรอยเฉพาะเสาประดับกรอบประตูศิลปะแบบเขมรประดับอยู่





หอพราหมณ์

เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันกับบปรางค์หินแดง
ในปี พ.ศ. 2493 ได้ค้นพบศิวลึงค์ สลักด้วยหินทรายจำนวน 7 ชิ้นอยู่ภายในหอพราหมณ์
เชื่อกันว่าอาคารหลังนี้คงเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์
แต่จากรูปแบบและตำแหน่งที่ตั้งเดิมคงเป็นที่ตั้งของบรรณาลัยมากกว่า

(จะเห็นน้ำขังอยู่บนพื้นหญ้าจนเดินลงไปดูรายละเอียดภายในไม่ได้)






แล้วเราก็มาถึงปราสาทประธาน






ปราสาทประธาน

เป็นส่วนสำคัญที่สุดของปราสาทหินพิมาย เป็นปราสาทองค์ใหญ่ สร้างขึ้นราวพุทธศรรตวรรษที่ 16-17
ก่อสร้างด้วยศิลาทรายสีขาวหันหน้าไปทางทิศใต้
ซึ่งแตกต่างจากศาสนสถานแบบขอมในที่อื่นๆ ซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก

ปราสาทประธานประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ มณฑป และ เรือนธาตุ
มีการจำหลักลวดลายประดับตามส่วนต่างๆ เช่น หน้าบัน ทับหลัง
มักจำหลักเป็นภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์และเรื่องราวทางพุทธศาสนา
ยกเว้นทางด้านทิศใต้ จำหลักเป็นภาพศิวนาฏราช

ภายในเรือนธาตุเป็นส่วนสำคัญที่สุดเรียกว่า ห้องครรภคฤหะ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพสำคัญ
พื้นห้องตรงมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีร่องน้ำมนต์ต่อลอดผ่านพื้นห้องออกไปทางด้านนอก เรียกว่า ท่อโสมสูตร





หน้าบันของปราสาทประธานด้านหน้า ต้องแหงนหน้ามอง

หน้าบัน คือ แผงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มักอยู่เหนือขึ้นไปจากทับหลัง พื้นที่ภายในของหน้าบันมีลวดลายแตกต่างไปตามยุคสมัย









ภาพแกะสลักหน้าบัน เป็นภาพพระศิวนาฏราช พระองค์ทรงร่ายรำอยู่บนแท่น มีหลายพระกร แวดล้อมด้วยเทพเจ้าและบริวาร




ยอดปราสาทประธาน ประกอบด้วยส่วนยอดที่เป็นชั้นวิมาน ซุ้มบัญชร นาคปักและบรรพ์แถลง










เสาประดับกรอบประตู คือเสาที่วางขนาบอยู่สองข้างประตู ทำจากหินทราย มีทั้งเสาทรงกลมและทรงแปดเหลี่ยม
นิยมประดับด้วยลายที่เรียกกันว่าวงแหวน และลายใบไม้สามเหลี่ยม





รายละเอียดของเสาประตูเข้าไปในปราสาทประธานด้านขวามือ สมบูรณ์กว่าด้านซ้ายมือเล็กน้อย





ทับหลังชิ้นนี้ เป็นภาพการสู้รบระหว่างกองทัพของพระรามและทศกัณฐ์
สื่อถึงการสู้รบของฝ่ายธรรมะและอธรรม





ทับหลังสลักภาพมารผจญ สื่อเรื่องธรรมชนะอธรรม ตามแนวทางพุทธศาสนา








จะเห็นว่าปราสาทประธานจะมีเพดานกรุไว้ เพื่อป้องกันสิ่งที่จะร่วงหล่นลงมาโดนศีรษะท่านผู้ชม





เสาประดับกรอบประตูต้นนี้มีการแกะสลักอย่างปราณีตบรรจง ถูกลูบคลำจนเป็นมันเลยละ





มีหลุมอย่างนี้เป็นระยะๆ ในปราสาท ไม่ทราบว่ามีไว้ทำอะไร





จากห้องนี้มองออกไปจะเห็นพระพุทธรูปนาคปรกกลางปราสาท








กลางปราสาทประธานด้านในสุด มีรูปปั้น(เทียม) วางไว้ ของจริงเก็บไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์พิมาย
แต่พระพุทธรูปองค์นี้ ก็โดนลูบคลำจนส่วนต่างๆ เป็นมันเหมือนกันนะ






ด้านหลังของพระพุทธรูป เป็นประตูทางออกไปสู่ซุ้มประตูอีกแห่งหนึ่ง
ลงไปแล้วมองขึ้นมา เป็นภาพด้านหลังของปรางค์ประธาน





ตรงกันข้ามประตูทางออกไปสู่ซุ้มประตูอีกแห่งหนึ่ง แต่เราไม่ลงไปเดินดูแล้ว เพราะเมื่อยเหลือเกิน





ถัดจากซุ้มประตูไปทางด้านขวามือ เป็นกำแพงแก้วยาวไปบรรจบกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม




บรรจบกับกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออก



กำแพงด้านตะวันออกของปราสาทประธานที่ต่อมาจากภาพที่แล้ว





นี่ก็กำแพงแก้วด้านตะวันออกของตัวปราสาทประธานต่อมาจากภาพข้างบน






หลังคาปราสาทถัดมา อีกด้านหนึ่ง





นี่เป็นเสาหินอะไรก็ไม่ทราบ จะว่าเป็นหลักวางใบเสมาก็ไม่ใช่ จะใช่เสาที่เรียกว่า เสานางเรียงไหมหนอ





เราอำลา ปราสาทหินพิมายด้วยท้องฟ้าที่แจ่มใส

แต่เชื่อหรือไม่ว่า เมื่อล้อเราเริ่มหมุนกลับเข้าสู่ตัวเมืองนครราชสีมาอีกครั้งฝนก็ลงเม็ดอย่างไม่ลืมหูลืมตาเลย
เราอดแวะชมพิพิธภัณฑ์พิมาย และไทรงามอย่างที่ตั้งใจไว้

เมื่อถึงนครราชสีมา ไม่มีฝนเลยค่ะ เพื่อนพาไปซื้อของฝากจากร้านดังของโคราชมากมาย หอบหิ้วกันพะรุงพะรัง

และกลับมาถึงจุดนัดพบที่จอดรถไว้ เพื่อเดินทางกลับกรุงเทพฯ เมื่อเวลาประมาณ 16.25 น.

เย็นวันนั้นป้าแอ๊ดแวะรับประทานสเต็กแสนอร่อยกันที่ฟาร์มโชคชัย
แล้วเดินทางกลับกรุงเทพฯ อย่างอิ่มเอม ถึงบ้านประมาณ 3 ทุ่ม

มาเจอฝนตอนจะลงจากทางวงแหวน เข้าบ้าน จนได้ค่ะ เฮ้อ....



ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามทริปนี้ด้วยกันนะคะ แล้วพบกันใหม่ ทริปหน้าไปเชียงใหม่ค่ะ
(29 ต.ค. -2 พ.ย. 53)








Create Date : 31 พฤษภาคม 2555
Last Update : 9 มิถุนายน 2555 12:11:18 น. 0 comments
Counter : 10363 Pageviews.  

addsiripun
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 78 คน [?]




ลบบล็อกงานตัดเย็บทิ้งหมดแล้วนะคะ
[Add addsiripun's blog to your web]