ยาที่เป็นอันตรายต่อไต

ยาที่เป็นอันตรายต่อไต


ยาแผนปัจจุบันที่แพทย์ใช้รักษาโรคหลายชนิด ทั้งชนิดฉีดและใช้กิน
อาจเป็นอันตรายต่อไตได้
กลุ่มแรกคือ ยาแก้ปวด ที่มีตัวยา เฟนาติซินเดี่ยว ๆ
หรือเป็นส่วนผสมอยู่กับยาอื่น ๆ เช่น ยาเอ.พี.ซี ก็มีส่วนผสมของ
แอสไพริน-เฟนาซิตินและคาเฟอีน เป็นต้น
ยากลุ่มนี้ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ แรมเดือน แรมปี
ก็จะเป็นอันตรายต่อไตได้ เพรดนิโซโลน ที่ใช้รักษาโรคข้ออักเสบ
และบรรเทาอาการปวดได้ดี
จะมีผลต่อความดันโลหิตและทำให้อาการเบาหวานรุนแรงขึ้น ถ้ามีอาการแทรกซ้อน
เช่น เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหารแล้วมีอาการซ็อค ความดันโลหิตต่ำลงมาก
อาจเกิดภาวะไตวายปัจจุบันได้
กลุ่มที่สอง คือ ยาปฏิชีวนะ ตัวแรก คือ เตตราไซคลีน
ทำให้ไตวายได้ และมีระดับยูเรียในเลือดสูง สเตรปโตมัยซิน, เยนตามัยซิน
เป็นพิษต่อท่อไต ตรงท่อไตส่วนต้น บางครั้งการแพ้ยาเพนิซิลิน และซัลฟา
ก็ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันไวอย่างรุนแรง
ทำให้ไตส่วนที่มีหน้าที่กรองเลือดชำรุดเสียหายไป

นอกจากนี้ยังมียาอื่น ๆ อีก ถ้าใช้ร่วมกันก็จะเกิดผลไม่ปรารถนา
และทำให้ไตชำรุดเสียหายได้ ดังนั้นการซื้อยามารับประทานเอง
จึงเสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง ระวังอย่าซื้อยาลูกกลอน
หรือยาพื้นบ้านที่ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีสารเคมีอะไรเป็นส่วนประกอบมีโลหะหนัก
เช่น ปรอท หรือมีตัวยาแผนปัจจุบันแอบปนอยู่บ้างหรือไม่
เพราะจะทำให้ไตของท่านพิการได้เช่นกัน

โรคไตที่ต้องกินเค็ม

ผู้ป่วยโรคไตบางคน ที่ได้รับการบอกกล่าวจากแพทย์ว่า “ให้กินเค็มมาก ๆ”
มักจะทำหน้าเลิกลั่กอยู่พักหนึ่ง เป็นเชิงสงสัยว่า “จริงหรือ?” ทั้งนี้
เป็นเพราะเรารับรู้กันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายแล้วว่า

คนที่เป็นโรคไต ต้องงดกินเค็ม
ซึ่งนับว่าเป็นความรู้ที่ถูกต้อง
เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ไตมีหน้าที่3 ประการคือ


1. ขับถ่ายของเสียออกทางปัสสาวะ

2. รักษาดุลน้ำ เกลือแร่ และกรดด่าง

3. สร้างสารฮอร์โมนบางชนิด

และมีคำว่า “เค็ม” ในความหมายที่เข้าใจกันทั่วไป หมายถึง รสเค็ม
ซึ่งเป็นผลจากเกลือ โดยเฉพาะเกลือแกง คือ
โซเดียมคลอไรด์ตัวสำคัญในการเกิดรสเค็ม คือ โซเดียม แต่เกลือชนิดอื่นเช่น

เกลือโปแตสเซียมก็ทำให้เกิดรสเค็มได้
ทว่าไม่ได้ใช้แพร่หลายเป็นประจำทุกวันเหมือนเกลือโซเดียมเท่านั้น

เพราะฉะนั้น การกินเค็ม ก็มักหมายถึง
การกินโซเดียมโซเดียมเป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่งของร่างกายมีอยู่มากในน้ำนอก
เซลล์ และในเลือด
เป็นเกลือแร่ชนิดที่ไตต้องรักษาให้อยู่ในระดับที่พอดีสำหรับร่างกาย
ไม่มากและไม่น้อยเกินไป คือ อยู่ในภาวะสมดุล เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะสมดุล
ปริมาณโซเดียมที่เข้าสู่ร่างกาย
กับปริมาณโซเดียมที่ขับออกจากร่างกายจะเท่ากันการได้รับโซเดียม



1.ทางปาก โดยได้มากับอาหาร เครื่องดื่ม, ยา, และเกลือโดยตรง

2. ทางหลอดเลือด เมื่อเข้าอยู่ในโรงพยาบาลจะได้รับ “น้ำเกลือ”
เข้าทางหลอดเลือด ซึ่งอาจจะจงใจให้น้ำเกลือรักษา
หรือให้ไว้สำหรับฉีดยาเข้าหลอดเลือดก็สุดแท้แต่


นอกจากนี้ ยาหลายชนิด ก็มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย

การขับโซเดียม

ร่างกายคนเราจะขับโซเดียมได้ 3 ทาง คือ
1. ทางไต โดยขับออกมากับปัสสาวะ
2. ทางลำไส้ ออกมากับอุจจาระโดยปกติ การถ่ายอุจจาระ
จะไม่มีโซเดียมออกมามากนัก แต่ในกรณีที่ท้องเสีย ท้องเดิน
เราจะสูญเสียโซเดียมและน้ำมาก ทำให้อ่อนเพลีย, ผิวหนังเหี่ยวย่น, ตาลึกโหล,
ความดันโลหิตต่ำ, จนอาจถึงซ็อคได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการท้องเสีย
3. ทางผิวหนัง โดยออกมากับเหงื่อทั้ง 3 ทางนี้
การขับทางไต จะขับโซเดียมออกมามากที่สุด
และเป็นตัวรักษาดุลโซเดียมที่สำคัญกล่าวคือ
ในขณะที่ร่างกายมีปริมาณโซเดียมปกติ คืออยู่ในภาวะสมดุล ถ้ากิน
หรือรับโซเดียมเข้าไปมาก ไตก็จะขับโซเดียมออกมามาก
แต่ถ้ากินหรือรับโซเดียมเข้าไปน้อย ไตก็จะขับโซเดียมออกมาน้อย
เพื่อรักษาระดับโซเดียมในร่างกาย ให้อยู่ในระดับปกติ

กรณีที่ร่างกายขาดโซเดียม เช่น เสียเหงื่อมากหรือท้องเสีย
ไตจะเก็บรักษาโซเดียมไว้ ไม่ขับออกมาในปัสสาวะเลย หรือขับออกมาน้อยมาก
จนกว่าปริมาณโซเดียมจะกลับคืนสู่ปกติ


ความผิดปกติของไต ในการขับโซเดียมออกมาทางปัสสาวะ

เมื่อไรก็ตามที่ไตเป็นโรคก็จะเกิดความผิดปกติในระบบการขับโซเดียมออกทาง
ปัสสาวะซึ่งมีอาการ 2 อย่าง
คือ

1. ถ้าไตขับโซเดียมออกไม่ได้ ปริมาณโซเดียมในปัสสาวะ จะมีน้อยตลอดเวลา

2. ถ้าไตเก็บโซเดียมไม่ได้ ปริมาณโซเดียมในปัสสาวะ จะมีมากตลอดเวลา

โรคไตที่ขับโซเดียมออกไม่ได้ หรือโรคไตที่ต้องงดกินเค็ม

อาจเกิดจากความผิดปกติของไตเอง หรือระบบอื่น เช่น โรคตับ, โรคหัวใจ,
โรคขาดอาหารโปรตีน, ซึ่งจะมีผลกระทบต่อไต
ทำให้ไตไม่สามารถขับโซเดียมและน้ำออกได้
จนเกิดการคั่งในร่างกายทำให้มีอาการบวม, ท้องมาน, น้ำท่วมปอด, และหัวใจวาย
ตามลำดับ ซึ่งเป็นอาการของโรคไตที่เราทราบกันดีความผิดปกติของไต
หรือโรคไตชนิดนี้ จำเป็นต้องงดกินเค็ม โรคไตที่ต้องงดกินเค็ม
พอจะจำแนกได้ดังนี้
1. โรคไตอักเสบ ชนิดเนฟโฟรติคซินโดรม(Nepphrotic Syndrome)

เป็นการอักเสบที่เนื้อไตทำให้มีการรั่วของโปรตีนหรือไข่ขาวออกมาใน
ปัสสาวะ(ปัสสาวะจะเป็นฟองขาว) มีผลให้ระดับโปรตีนในเลือดต่ำลง
เลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง ไตจะดูดกลับโซเดียม และน้ำไว้มากขึ้นในขณะที่
ขับโซเดียมและน้ำออกมาในปัสสาวะน้อยลง จึงทำให้เกิดอาการบวม
2. โรคไตอักเสบ ชนิด เนฟไฟรติคซินโดรม (Nepphritic Syndrome) เป็น
การอักเสบที่หลอดเลือดฝอยของไต ทำให้ปัสสาวะเป็นเลือด หรือสีน้ำล้างเนื้อ
จะเกิดความดันโลหิตสูง และบวม
3. ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute renal failure)
ในระยะที่มีปัสสาวะน้อย ไตขับโซเดียมและน้ำออกมาไม่ได้
ถ้ายังกินเค็มและน้ำตามปกติก็จะเกิดอาการบวม, ความดันโลหิตสูง, น้ำท่วมปอด,
หัวใจวายได้
4. ภาวะไตวายเรื้อรัง ชนิด ที่มีสาเหตุมาจากโรคของหลอดเลือด
และของโกลเมอรูลัส (Chronic glomerulonephritis)
ส่วนใหญ่จะไม่
สามารถขับโซเดียมออกได้ จึงต้องงดกินเค็มนอกจากนี้ ยังมีโรคที่มีผลต่อไต
ทำให้ขับโซเดียมออกไม่ได้ จึงต้องงดเค็มด้วย คือ โรคความดันโลหิตสูง,
โรคตับแข็ง, โรคหัวใจ, เป็นต้น



โรคไตที่เก็บโซเดียมไม่ได้ หรือโรคไตที่ต้องกินเค็ม
เป็นโรคไตที่ขับโซเดียม และน้ำออกมาในปัสสาวะมากตลอดเวลา
แม้ในภาวะที่ร่างกายขาดโซเดียมจากทางอื่นไตก็ไม่สามารถเก็บรักษาโซเดียมไว้
ให้กลับคืนสู่ภาวะปกติได้จึงต้องกินโซเดียมทดแทนเข้าไป คือ กินเค็มตามปกติ
หรือมากกว่าปกติแล้วแต่กรณี ซึ่งพอจำแนกได้ดังต่อไปนี้



1. ภาวะไตวายเฉียบพลัน ระยะที่มีปัสสาวะออกมาก
ต่อจากระยะปัสสาวะน้อย ระยะนี้ไตเริ่มฟื้นตัว
แต่ยังไม่สามารถเก็บรักษาโซเดียมไว้ได้ มีการสูญเสียโซเดียม
และน้ำออกมาในปัสสาวะมากกว่าปกติจึงต้องกินโซเดียมและน้ำให้เพียงพอซึ่งถ้า
กินเองไม่ได้แพทย์มักจะให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดช่วย
2. ภาวะไตวายเรื้อรัง ชนิดที่มีสาเหตุจากโรคของหลอดไต
(tubule) และอินเตอร์สติเซี่ยม (Interstitium) เช่น โรคไตอักเสบเรื้อรัง
จากการติดเชื้อ, โรคนิ่วในไต,
โรคไตที่เกิดจากการอุดตันของทางเดินปัสสาวะในระยะก่อนจะถึงวาระสุดท้าย
จะยังมีปัสสาวะออกมากอยู่วันหนึ่ง ๆ อาจมากกว่า 1 ลิตร หรือยังออกตามปกติ
แต่ภาวะไตวายเรื้อรังชนิดนี้ จะเสียโซเดียมและน้ำออกมาตามปกติ
หรือมากกว่าปกติ จึงต้องกินเค็ม
หรือโซเดียมและน้ำตามปกติหรือมากกว่าปกติในบางกรณี
3. ภาวะที่มีโปแตสเซียมในเลือดต่ำ
4. ภาวะที่มีแคลเซียมในเลือดสูง

โรคประเภทนี้คือ “โรคไตที่ต้องกินเค็ม” เพราะหากคิดเอาเอง
โดยไม่ปรึกษาแพทย์ ทั้ง ๆ ที่เป็นโรคไตชนิดที่ต้องกินเค็ม
แต่กลับไปงดเค็มเสีย
จะมีผลให้ระบบการทำหน้าที่ของไตสูญเสียไปเร็วกว่าที่ควรจะเป็น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่เป็นโรคไตที่เป็นผลจากนิ่ว
ซึ่งมีมากทางภาคเหนือ และภาคอีสาน มักจะเกิดโรคไตวายเรื้อรัง
ชนิดที่ต้องกินเค็ม อย่างไรก็ตาม การกินเค็มแค่ไหน
อย่างไรนั้นควรขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ผู้รักษา
เพราะต้องดูระยะหรือโรคอื่นที่ร่วมอยู่ด้วย






Free TextEditor







































































































Create Date : 05 มิถุนายน 2553
Last Update : 5 มิถุนายน 2553 19:09:20 น. 0 comments
Counter : 1149 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.