มาค้นหาโรคไตในตัวเรากันเถอะ

มาค้นหาโรคไตในตัวเรากันเถอะ
ท่านมีอาการเช่นนี้หรือไม่

ปัสสาวะบ่อย ขัด ขุ่นหรือเป็นฟอง กลิ่นฉุนจัด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
หรือปัสสาวะไม่พุ่ง
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นอาการที่บอกถึงความผิดปกติของระบบปัสสาวะ

สงสัยว่าจะเป็นไตหรือเปล่ารู้ได้โดย

การตรวจปัสสาวะซึ่งทำได้ง่ายและไม่เสียเวลามาก
มีบริการตามคลินิกและโรงพยาบาลทั่วไป

ถ้าตรวจปัสสาวะพบ น้ำตาล อาจจะเป็นเบาหวาน

ถ้าตรวจปัสสาวะพบ โปรตีน(อัลบูมิน) อาจจะเป็นโรคไต

ถ้าตรวจปัสสาวะพบ เม็ดเลือดแดง อาจจะเป็นนิ่ว เนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ

ถ้าตรวจปัสสาวะพบ เม็ดเลือดขาว อาจจะเป็นไตอักเสบติดเชื้อ

เมื่อทราบว่าตัวเองป่วยเป็นโรคไต ควรทำอย่างไร

อย่าตื่นตระหนกหรือมีความหมดหวังท้อแท้ เพราะโรคไตมีหลายชนิด มีสาเหตุต่าง
ๆ กัน บางชนิดสามารถรักษาให้หายได้

แพทย์จะตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุและวินิจฉัยโรค เช่น โดยการตรวจเลือด

ส่วนใหญ่จะดูการทำงานของไต ความสามารถในการขับถ่ายของเสีย ยูเรียไนโตรเย็น
และยูริค ครีเอตินีน


1. หน่วยกรองของไต (GLOMERULI) ประกอบด้วยส่วนทำหน้าที่
กรองของเสีย มีลักษณะเป็นเส้นเลือดแดงขดตัวเป็นกลุ่ม
2. ท่อไตขนาดเล็ก (TUBULE)
ทอดขดขึ้นลงเป็นสายยาวทำหน้าที่ขับน้ำเกลือแร่
และรักษาสมดุลกรด่างของเลือดปัสสาวะจะถูกส่งมาที่กรวยไตก่อนผ่านสายไตไปเก็บ
ที่กระเพาะปัสสาวะ

ความดันโลหิตสูง ส่งผลต่อไตอย่างไร

สภาพความดันโลหิตที่สูงขึ้น
ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดแดงเล็กของไต
ผนังของหลอดเลือดจะหนาขึ้นและแข็งตัว
เนื่องจากไตเป็นอวัยวะที่มีเลือดไหลผ่านมากตลอดเวลา
ส่วนที่ทำหน้าที่ในการกรอง
มีลักษณะเป็นเส้นเลือดแดงขนาดเล็กที่ขดตัวเป็นกลุ่ม
อยู่ในหน่วยกรองเลือดของไต(GLOMERULI) ซึ่งอยู่ในส่วนเนื้อเปลือกนอกของไต
(CORTEC)
สภาพการขาดเลือดและการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือดส่งผลให้เนื้อไตเกิดเป็น
เนื้อเยื่อพังผืด จำนวนปริมาณของหน่วยกรองเลือดของไตลดลง

ระดับน้ำตาลของโคเลตเตอรอลในเลือด การตรวจด้วยอัลตราเซาว์
เพื่อดูขนาดและลักษษะของไต อาจจะพบนิ่วและอื่น ๆ
ติดตามระดับความดันโลหิต
เพื่อการคบคุมให้ปกติและการตรวจปริมาณอัลบูนมินในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง


อันตรายของความดันโลหิตสูง

อย่างไรจึงจะบอกได้ว่ามีความดันโลหิตสูง

ตามที่องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ ถ้าความดันโลหิตที่วัดได้ ตัวบนมากกว่า
140 มม. ปรอทและตัวล่างมากกว่าโมง 90 มม. ปรอท ถือว่ามีความดันโลหิตสูง

ไตวายมีผลเกี่ยวข้องกับความดันโลหิตที่สูงขึ้น กล่าวคือถ้ามีความดันโลหิต
ตัวบนน้อยกว่า200 มม. ปรอท และตัวล่างน้อยกว่า 140 มม. ปรอท
เป็นระยะเข้าสู่ไตวายที่ไม่แสดงอาการ แต่ตรวจพบไข่ขาว (ALBUMIN) ในปัสสาวะ
รดับของเสียในเลือด คือ (BUN) ยูเรียไนโตรเย็น ครีเอตินีน (Cr)
จะสูงขึ้นถ้าความดันโลหิตสูงกว่า 200/140 มม.
ปรอทเมื่อใดแสดงว่ามีผลกระทบต่อแรงดันเลือดในไตด้วย
เพราะกลไกที่ควบคุมความดันโลหิตของไตเสียไปจะเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้
โดยมีอาการปัสสาวะออกน้อย มีเลือดปนและบวมทั้งตัว
ตรวจปัสสาวะมีเม็ดเลือดแดงมาก
มีคาสต์(เม็ดเลือดแดงหรือเม็ดเลือดขาวอัดตัวแน่นเป็นแท่งยาว)
และไข่ขาวในปัสสาวะมาก

อาการอื่น ๆ มีอาการตามัว และอาการเหนื่อยหอบจากหัวใจล้มเหลวด้วย
ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคไตอยู่แล้ว
ถ้าปล่อยให้มีความดันโลหิตสูงด้วยโดยไม่ได้รับการรักษาให้ถูกต้อง
จึงมีโอกาสที่ไตจะเสื่อมเร็วขึ้นกว่าปกติ


นอกเหนือจากการใช้ยาเพื่อควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติแล้ว

จำเป็นจะต้องควบคุมปริมาณเกลือแร่ในอาหาร เช่น ไม่รับประทานของเค็ม
ควบคุมน้ำหนักตัว ออกกำลังกายควบคุมอารมณ์ จิตใจให้มั่นคงด้วย

ความดันโลหิตต่ำ
ถ้าความดันโลหิตต่ำมากจนเกิดอาการช็อคถ้าปล่อยทิ้งไว้นานจะเกิดอาการไตวาย
เฉียบพลันได้ โรคไตจากการแพ้ภูมิตนเอง หรือโรคไต จาก เอส.แอล.อี.

มีความผิดปกติของระบบภูมิต้านทานของร่างกาย
ที่สร้างภูมิต้านทานต่อนิวเคลียสภายในเซลล์ของตนเอง (AUTONUCLEAR ANTIBODY)
ยังผลให้อาการผื่นแดงที่โหนกแก้มใต้ตาข้าง ๆ จมูก
มีลักษณะเฉพาะคล้ายปีกผีเสื้อยิ่งถูกแสงแดด จะมีอาการแดงมากขึ้น อาการอื่น ๆ
ได้แก่ มีแผลในปาก ผมร่วง ซีดและบวมตามข้อต่าง ๆ

70-80% ของโรค เอส.แอล.อี. นี้จะมีพยาธิสภาพทางไต โดยมีอาการต่าง ๆ คือ
ความดันโลหิตสูง ขาบวม หรือบวมไปทั่วทั้งตัว
ปัสสาวะมีไข่ขาวและมีเม็ดเลือดแดงรั่วปนออกมา การขับถ่ายของเสียไม่ดี
ไตบกพร่อง ปัสสาวะน้อยลง ของเสียในเลือดสูดขึ้น มีอาการเบื่ออาหาร
คลื่นไส้อาเจียน หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก มีอาการชัก ซึมลงและเสียชีวิตได้

การรักษา เป็นโรคที่รักษาได้ทางยาแล้วให้ผลดี แพทย์จะให้ยากดภูมิต้านทาน
ชนิดต่าง ๆ แต่ถ้าทิ้งไว้จนไตเสียมีพยาธิสภาพมากจะเกิดไตวายได้

ภาวะโลหิตจางในโรคไตวายเรื้อรัง

จะสังเกตเห็นได้เสมอว่า ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง
มักจะมีอาการซีดเนื่องจากโลหิตจาง
แม้ว่าจะได้รับการฟอกเลือดหรือล้างไตแล้วก็ตาม
เมื่อใดที่สมรรถภาพของไตเสื่อมมากกว่าครึ่งหนึ่ง
จะมีผลกระทบไปถึงการสร้างเม็ดเลือดในไขกระดูกด้วย
เพราะหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งของไตเสียไปด้วย



นอกเหนือไปจากภาวะทุพโภชนาการ อันเกิดจากการเบื่ออาหาร
คลื่นไส้อาเจียน ในผู้หญิงฮอร์โมนเพศที่ควบคุมการมีประจำเดือน
ก็พลอยได้รับผลเสียไปด้วยอาจมีประจำเดือนมากและนานกว่าปกติ
ทำให้เสียเลือดเพิ่มขึ้น


ภาวะโลหิตจางที่เกิดขึ้นทำให้สมรรถภาพทางกายลดลง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
ความจำเสื่อมถอย สมาธิในการทำงานลดลง อารมณ์แปรปรวน

สมรรถภาพทางเพศลดลง
ฮอร์โมนเพศลดลงการรักษานอกจากจะให้ธาตุเหล็กและวิตามินเสริมส่วนที่ขาดไป
แล้ว การให้เลือดเฉพาะรายที่จำเป็น
เพราะการให้เลือดมีอันตรายจากการติดเชื้อได้

การให้ฮอร์โมน ฮีริโธโพอิทิน (ERYTHROPOIETIN) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้าง
ไตขึ้นไปกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง เป็นการค้นพบใหม่แต่มีราคาแพง
และต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์ที่รักษาด้วย

เด็กเป็นโรคไตได้หรือไม่

เด็กทุกวัยก็ป่วยเป็นโรคไตได้ โรคไตบางอย่างก็รักษาให้หายได้
และบางอย่างก็มีภาวะแทรกซ้อนได้เหมือนในผู้ใหญ่ สาเหตุสำคัญได้แก่

1.ความผิดปกติของไตตั้งแต่กำเนิด เช่น ไตมีลักษณะเป็นถุงน้ำ
หรือท่อทางเดือนปัสสาวะอุดตัน

2. ไตอักเสบหลังการติดเชื้อ โดยครั้งแรกจะมีอาการติดเชื้อนอกไต
เช่นการอักเสบในช่องคอ หรือผิวหนังอักเสบ แล้วเชื้อเข้าสู่ไตทางกระแสโลหิต
มีการอักเสบในส่วนที่มีหน้าที่เป็นหน่วยกรองเลือดของไต (POST STREPTOCOCCAL
GLOMERULONEPHRITIS) หรือ NEPHROTIC SYNDROME

3. การติดเชื้อทางท่อทางเดินปัสสาวะ คือมีการอักเสบจากกระเพาะปัสสาวะ
แล้วลามขึ้นมาทางสายสู่กรวยไต
การเกิดภาวะไตวาย มีได้ทั้งไตวายเฉียบพลัน เช่น การเสียเลือด
เสียน้ำอย่างรุนแรง การแพ้ยาสารพิษต่าง ๆ
และการเกิดไตวายเรื้อรังก็มีได้ดังกล่าวแล้วในตอนต้น


ดังนั้น ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่นบวม สีกลิ่นปริมาณปัสสาวะมากน้อยผิดปกติไป
ควรไปรับการรักษาตรวจตามคำแนะนำที่กล่าวมาแล้ว ในเด็กเล็กวัยทารก
อาการที่ปรากฏ คือ ไข้เรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ เด็กโตไม่ตามอายุ ซีด
มีก้อนในท้องปวดท้องและท้องเสียเป็นประจำ
เป็นกลุ่มอาการที่ควรสนใจพาเด็กมาให้แพทย์ตรวจด้วย






Free TextEditor




























Create Date : 05 มิถุนายน 2553
Last Update : 5 มิถุนายน 2553 19:06:22 น. 0 comments
Counter : 1810 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.