ไตวายแล้วจะทำอย่างไรดี

ไตวายแล้วจะทำอย่างไรดี


ภาวะไตวายเป็นสิ่งซึ่งไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตน
ในสมัยก่อนแทบจะไม่มีทางรักษาได้เลย ไตวายนอกจากมีสาเหตุจากการติดเชื้อ
และการอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะ ยังมีสาเหตุอื่น ๆ
เช่นเกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูง เบาหวาน และมีไขมันในโลหิตสูง
ทั้งสามประการนี้ทำให้เลือดมาเลี้ยงไตน้อยลง
ความสามารถในการทำงานของไตยังลดลง เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้นอีกด้วย


ดังนั้น
ถ้ามีการตรวจร่างกายเป็นประจำเราอาจจะพบโรคที่เป็นสาเหตุของไตวายในระยะต่อ
มาได้ การรักษาให้ความดันโลหิต, น้ำตาล
และไขมันอยู่ในระดับปกติโดยการรักษาใช้ยาที่เหมาะสม การรักษาแต่เนิ่น ๆ
ถูกต้อง
และต่อเนื่องจึงเป็นวิธีที่ป้องกันไม่ให้ไตเสื่อมเร็วก่อนที่ควรจะเป็นผู้
ป่วยที่ไตวาย



ระยะแรก ควรเอาใจใส่ในเรื่องอาหารการกิน เข้าใจเรื่องการดื่มน้ำ
อาหารที่มีเกลืออย่างเหมาะสมไม่รับประทานอาหารโปรตีนมากเกินไปไม่รับประทาน
โปรตีนที่ด้วยคุณค่าเพื่อความอร่อยอย่างเดียวก็จะเป็นการถนอมไตส่วนที่ยัง
เหลืออยู่ให้ทำงานต่อไปได้อีกนาน
โอกาสที่จะฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรืออื่น ๆ ก็จะลดน้อยลง
การฟอกเลือดก็จะได้ผลดี ถ้ามีโอกาสได้เปลี่ยนไตก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง
ที่ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายมีความหวังที่จะกลับมามีชีวิตอย่างปกติได้อีก
และมีอายุยืนยาวเท่าอายุขัยของคนทั่วไปได้

- การป้องกันไม่ให้เกิดไตวายจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

- การค้นพบสาเหตุ และการรักษาแต่เนิ่น ๆ อย่างจริงจัง

- การปฏิบัติตนในเรื่องอาหารการกิน และสุขอนามัย
ทั้งสามประการนี้จึงเป็นการแก้ไขปัญหาโรคไตวายที่ดีที่สุด



ความสำคัญของน้ำ

น้ำมีความสำคัญต่อชีวิตอย่างยิ่ง ร่างกายองเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ
60% ในเด็กมีมากกว่าผู้ใหญ่ น้ำอยู่ภายในเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ
ในเนื้อเยื่อรอบ ๆ และเป็นส่วนประกอบของส่วนที่ของเหลวในเลือด
น้ำเป็นตัวละลายสารอื่นที่สำคัญคือเกลือแร่ เช่น โซเดียม, โปรแตสเซียม
ซึ่งมีความสำคัญต่อความดันโลหิตในระบบการหมุนเวียนโลหิต
น้ำพาสารอาหารไปยังเซลล์
และช่วยในการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายผ่านไตด้วย



ถ้าเปรียบเทียบร่างกายของเรากับการทำงานของเครื่องจักรกลของโรงงานเคมีแล้ว
ร่างกายของเราองการพลังงานเชื้อเพลิงในการทำงาน การผลิตต่าง ๆ
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นในการควบคุมความร้อน
และรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่โดยมีการระบายความร้อนออกไปทางผิว
หนังและลมหายใจออก
ขณะเดียวกันจากขบวนการผลิตก็มีน้ำเกิดขึ้นเป็นผลพลอยได้ออกมาด้วยจำนวนหนึ่ง
ประมาณ 300 ซีซี. ต่อวัน

คนที่ไตเป็นปกติ ถ้าดื่มน้ำมากน้ำส่วนเกินจะถูกขับออกไป
คือมีปริมาณปัสสาวะเพิ่มขึ้น ถ้าดื่มน้ำน้อยไปจำนวนปัสสาวะจะลดลง
แต่ในผู้ป่วยโรคไตที่เป็นไตวายแล้วความสามารถในการควบคุมปริมาณน้ำจะเสียไป
ไม่ว่าจะดื่มน้ำมากหรือน้อย ไตก็ขับปัสสาวะออกมาได้เพียงเท่าที่ทำได้
น้ำที่ดื่มมากไปก็จะคั่งอยู่ภายในร่างกายน้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้น
หัวใจทำงานมากขึ้น และอาจจะเกิดอาการทางสมอง คือซึมลง. ชัก และหมดสติได้
ถ้าได้รับน้ำน้อยไปจะมีอาการปากแห้ง,ผิวแห้ง และอาการทางสมองได้ด้วยเช่นกัน

ผู้ป่วยโรคไตวายจึงต้องคำนวณปริมาณน้ำที่จะดื่มในแต่ละวันคือปริมาณน้ำที่
เสียไปทางอื่น เช่น ลมหายใจ, เหงื่อ วันละ 800 ซีซี.
บวกกับจำนวนที่ปัสสาวะออกไปแล้วในวันก่อน
แต่ต้องลบออกถ้ารับปรานอาหารประเภทน้ำแกง และเครื่องดื่มอื่น ๆ ออกด้วยเสมอ

การควบคุมเกลือโซเดียม

เซลล์ของร่างกายมีเกลือโซเดียมเป็นส่วนประกอบและมีหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำ
และของเหลวภายในเซลล์กับนอกเซลล์
เกี่ยวข้องกับระดับความดันโลหิตการทำงานของประสาทกล้ามเนื้อหัวใจด้วย
มีความสำคัญในการดูดซึมอาหารบางอย่างด้วย

ร่างกายต้องการเกลือโซเดียมในปริมาณเล็กน้อยคือเพียง 230
มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น
อาหารที่เรารับประทานทุกวันมีเกลือมากกว่าที่ร่างกายต้องการหลายเท่า
เพราะเกลือเป็นสารที่ใช้ในการถนอมอาหาร ในเครื่องแกง, กะปิ, น้ำปลา ต่าง ๆ
เราได้รับเกลือโซเดียมจากเกลือแกงเป็นส่วนใหญ่ในขนมปังซึ่งต้องใช้โซเดียมไบ
คาร์บอเนต หรือผงฟู
และในอาหารเนื้อสัตว์มักมีโซเดียมไนเตรดใส่เพื่อถนอมอาหารรวมอยู่ด้วย
เป็นส่วนของโซเดียมที่นึกไม่ถึงถ้าร่างกายแข็งแรงปกติดี
โซเดียมส่วนเกินจะถูกขับถ่ายออกไปทางเหงื่อ และอุจจาระนอกเหนือขับออกทางไต
ในผู้ป่วยโรคไตที่มีอาการบวมและปัสสาวะน้อยกว่า 800 ซีซี.
ต่อวันต้องพยายามไม่รับประทานอาหารเค็ม
ไม่เติมเครื่องปรุงอาหารที่มีเกลือมาก เพราะจะทำให้บวมมากขึ้น
ความดันโลหิตสูง ตลอดจนหัวใจต้องทำงานหนักขึ้น
แต่จะถือเป็นกฎตายตัวว่าเป็นโรคไตแล้ว
ต้องรับประทานอาหารเค็มน้อยเสมอไปไม่ได้
เพราะมีโรคไตบางประเภทที่ต้องรับประทานอาหารเค็มเพิ่มขึ้น
เนื่องจากมีการเสียเกลือขับถ่ายออกไปมากกว่าปกติ

ผักผลไม้ กับโปแตสเซียม

ผลไม้และผักบางชนิดก็มีโปแตสเซียมในปริมาณมาก บางชนิดก็มีไม่มาก
มีผลไม้จำนวนไม่น้อยที่มีโปแตสเซียมน้อย
ซึ่งผู้ป่วยโรคไตวายในระยะแรกที่ยังไม่ต้องรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่อง
ไตเทียม รับประทานได้พอประมาณ ผลไม้เหล่านี้คือ แตงโม, ชมพู่, องุ่น,
สับปะรด และแอปเปิ้ล ถ้าโปแตสเซียมในเลือดสูงมากกว่า 5.0
มิลลิอีคริวาเลท์/ลิตร จึงควรงดผลไม้ทุกชนิด
ผลไม้ที่ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคไตที่ขับของเสียได้น้อยและแพทย์สั่งให้จำ
กัดโปแตสเซียม คือ กล้วย, มะขามหวาน, กระท้อน, ฝรั่ง, น้อยหน่า, ทุเรียน
ผลไม้ตากแห้ง หรืออบความร้อน เช่น ลูกพรุน, กล้วยตาก และลูกเกตุ
ผักก็เช่นเดียวกันกับผลไม้บางชนิดที่มีโปแตสเซียมสูงมาก เช่น มะเขือเทศ
บางชนิดมีไม่มาก และบางชนิดก็มีน้อย เช่น ผักบุ้ง, บร๊อคโคลี่, ดอกกระหล่ำ
มีโปแตสเซียมสูง กลุ่มพวกถั่วฝัก ผักคะน้า, มะเขือยาว มีปานกลาง
และกลุ่มฟักเขียว-บวบ กระหล่ำปลี, ผักกาดขาว, แตงกวา, ถั่วงอก
ที่เรารับประทานประจำมีโปแตสเซียมต่ำเมล็ดถั่วตากแห้งต่าง ๆ เมล็ดทานตะวัน,
ถั่วพิชตาชิโอ มีโปแตสเซียมสูง และฟอสฟอรัสสูง เครื่องดื่มกาแฟ, ชา ตลอดจน
โอวัลตีน, ไมโล ก็มีโปแตสเซียมสูงด้วยเช่นกัน

อาหารโปรตีนกับไต

โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญในการเจริญเติบโตของร่างกาย, เซลล์
ทุกชนิดในร่างกายต้องการใช้กรดอะมิโนซึ่งเป็นสารอาหารที่ย่อยสลายจากโปรตีน
เพื่อการแบ่งตัว
และการเจริญเติบโตตลอดจนซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดสึกหรอไปการสังเคราะห์เอ็นซายม์
และฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ
ตลอดจนภูมิคุ้มกันโรคต้องอาศัยโปรตีนทั้งสิ้น

โครงสร้างทางเคมีของโปรตีน ประกอบด้วยกรดอะมิโนหลายชนิด
ซึ่งมีนโตรเจนเป็นส่วนประกอบกรดอะมิโนนบางชนิดมีซัลเฟอร์รวมอยู่ด้วยกล้าม
เนื้อเส้นเอ็นต่าง ๆ ผิวหนัง และขนผมมีรูปแบบต่าง ๆ
ของโปรตีนเป็นส่วนประกอบรวมทั้งในเม็ดเลือดแดง ก็มีฮีโมโกลบิน
ซึ่งมีหน้าที่นำออกซิเจนจากปอดไปส่งยังเซลล์ต่าง ๆ
ด้วยอาหารที่เป็นแหล่งโปรตีน แบ่งเป็นส่วนที่มาจากเนื้อสัตว์, ไข่ และน้ำนม
ตลอดจนผลิตภัณฑ์จากน้ำนม โปรตีนจากพืช ได้จากถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ
และธัญพืชเช่น ข้าวที่เรารับประทาน จัดอยู่ในกลุ่มอาหารประเภทแป้ง
แต่ก็มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยความต้องการโปรตีนของร่างกาย
ในแต่ละวันขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และวัยต่าง ๆ
โดยเฉลี่ยแล้วร่างกายควรได้รับโปรตีนวันละ 50 กรัม
เป็นโปรตีนจากสัตว์และพืช ในอัตราส่วน 60 ต่อ 40
ตามลำดับซึ่งในแต่ละวันควรรับประทานเนื้อสัตว์ 100-150 กรัม, ไข่ 1 ฟอง,
นมวัว 1 แก้ว หรือน้ำเต้าหู้ 1 แก้ว และข้าว 8 ทัพพี ใน 3 มื้อต่อวัน


อาหารโปรตีนทุกชนิดทั้งที่มาจากพืชและสัตว์เมื่อผ่านขบวนการย่อย
และร่างกายดูดซึมเอาไปใช้แล้วจะเกิดสารที่ต้องขับถ่ายออกไปคือ ยูเรีย,
ยูริค, ครีอะตินีน, ฟอสเฟต, และซัลเฟต


ถ้าร่างกายแข็งแรงไตเป็นปกติ รับประทานอาหารโปรตีนมากไปไตก็สามารถขับสาร
เหล่านี้ออกทางปัสสาวะได้
แต่เมื่อไรที่ไตเสื่อมสมรรถภาพลงการขับถ่ายของเสียได้น้อยลงก็จะเกิดการคั่ง
ของสารดังกล่าว โดยเฉพาะผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
ที่ยังไม่ได้รับการรักษาโดยการฟอกเลือด
จะมีสารเหล่านี้คั่งค้างในเลือดอยู่มากจำเป็นต้องจำกัดหรือลดประมาณโปรตีน
ที่รับประทานในแต่ละวันให้ลดน้อยลง
และขณะเดียวกันต้องเลือกรับประทานอาหารโปรตีนที่มีคุณค่าสูงคือมีกรดอะมิโน
ครบถ้วน เช่น เนื้อปลา ไข่ขาว
เป็นประจำพยายามรดอาหารโปรตีนที่มีคุณค่าต่ำลง โดยปกติแพทย์

จะจำกัดให้ผู้ป่วยไตวายรับประทานอาหารโปรตีนประมาณสามสิบถึงสี่สิบกรัมต่อ
วัน ผู้ป่วยโรคไตบางชนิด เช่น ไตอักเสบชนิดเนฟโฟรติคซินโดรม
ถ้ามีการรั่วของโปรตีนหรือไข่ขาว (อัลบูมิน)
ออกมาในปัสสาวะจำนวนมากจำเป็นต้องได้รับอาหารโปรตีนเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยส่วน
ที่ขาดไปเช่นเดียวกับผู้ที่ที่มารับการรักษาฟอกเลือดโดยน้ำยา ซี.เอ.พี.ดี
ผ่านทางช่างท้องก็จะเสียโปรตีนออกไปกับน้ำยาล้างช่องท้องก็ต้องรับประทาน
อาหารโปรตีนเพิ่มขึ้นจึงเป็นกฎตายตัวว่าเป็นโรคไตแล้วจะต้องจำกัดโปรตีนเสมอ
ไป

โปรตีนแบ่งออกเป็น โปรตีนจากเนื้อสัตว์ กับโปรตีนจากพืช
โปรตีนกับเนื้อสัตว์มีข้อดี คือ มีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วน
มีข้อเสียที่มีไขมันโคเลสเตอรอลปนอยู่ โปรตีนจากพืชมีจุดเด่นที่ไม่มีไขมัน
แต่มีกรดอะมิโนจำเป็นไม่ครบทุกชนิด
ดังนั้นจึงแนะนำให้บริโภคทั้งสองอย่างโดยแบ่งสัดส่วนกันอย่างละครึ่ง
ข้อที่ควรพิจารณา คือ
อาหารโปรตีนที่อร่อยและมีราคาไม่ใช่โปรตีนที่มีคุณภาพดีเสมอไปตัวอย่างเช่น
เอ็นตุ๋น หูปลาฉลาม เครื่องในสัตว์ จัดเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพต่ำ

ผู้ป่วยโรคไตวายในระยะต่าง ๆ จำเป็นต้องจำกัดปริมาณโปรตีนในอาหารแต่ละวัน
ดังนั้นจึงควรเลือกรับประทานอาหารแต่โปรตีนที่มีคุณค่าสูง
เพื่อไม่เป็นภาระของไตในการขับถ่ายของเสียคือยูเรียมากเกินจำเป็น
อาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์และนม
ยังมีโปแตสเซียมและฟอสฟอรัสเป็นส่วนประกอบอยู่ในปริมาณมาก
จึงไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายอย่างยิ่ง
ในขณะเดียวกันการรับประทานอาหารหมู่อื่น เช่น คาร์โบไฮเดรต
หรือแป้งน้ำตาล ตลอดจนไขมันต้องการให้มีปริมาณเพียงพอ
สำหรับการให้พลังงานที่ร่างกายต้องการใช้วันแต่ละวันด้วย
มิฉะนั้นจะมีอาการอ่อนเพลีย ซูบผอม อ่อนแอ เกิดโรคแทรกได้ง่าย





Free TextEditor







































































































Create Date : 05 มิถุนายน 2553
Last Update : 5 มิถุนายน 2553 19:07:57 น. 0 comments
Counter : 1495 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.