กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
 
บทนำเรื่องธงไทย

ขอร่ำรำพรรณบรรยาย ความคิดเครื่องหมาย
แห่งสีทั้งสามงาม

ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรรัตน์
และธรรมะคุ้มจิตใจ

แดงคือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้
เพื่อรักษาชาติศาสนา

น้ำเงินคือสีโสภา อันจอมประชา
ธ โปรดเป็นของส่วนองค์

จัดริ้วเข้าเป็นไตรรงค์ จึงเป็นสีธง
ที่รักแห่งเราชาวไทย

ทหารอวตารนำไป ยงยุทธวิชัย
วิชิตก็กู้เกียรติสยาม


พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว







....................................................................................................................................................



อธิบายเรื่องธงไทย

๑. ตามที่สืบสวนได้ความว่า แต่โบราณมาเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี ใช้ธงสีต่างๆเป็นเครื่องหมายสำหรับกองทัพกองละสี ใช้ในเวลาเมื่อจัดกองทัพไปทำสงคราม ส่วนเรือกำปั่นเดินทะเลใช้ธงสีแดงเป็นเครื่องหมาย ยังมามีธงชาติอย่างเช่นเข้าใจกันในทุกวันนี้ไม่

๒. ถึงรัชกาลที่ ๒ กรุงรัตนโกสินทร์ ระวาง พ.ศ. ๒๓๖๐ ถึง พ.ศ. ๒๓๖๖ เมื่ออังกฤษตั้งสนานีการค้าที่เมืองสิงคโปร์แล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดฯให้สร้างเรือกำปั่นหลวงขึ้น ๒ ลำ สำหรับการค้าของรัฐบาล คือ หาเครื่องศัสตราวุธเป็นต้น ไปมาในระวางกรุงเทพฯกับเมืองสิงคโปร์และเมืองมาเก๊า เรือทั้ง ๒ ลำนั้นก็ชักธงแดง อังกฤษเจ้าเมืองสิงคโปร์บอกให้นายเรือเข้ามากราบทูลว่าเรือทะเลของชาวชวา มลายู ที่ไปมาค้าขาย ณ เมืองสิงคโปร์ ก็ชอบชักธงแดงเหมือนกัน ขอให้พระเจ้าอยู่หัวกรุงสยามใช้ธงอย่างอื่นเสีย จะได้จัดการรับรองเรือหลวงได้สะดวก ในสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ได้ช้างเผือกไว้ ๓ ตัว ซึ่งนับถือในประเพณีไทยว่าเป็นเกียรติยศอย่างสูง จึงโปรดฯให้ทำรูปช้างสีขาวอยู่ในวงจักรสีขาว ติดไว้กลางธงแดง หมายความว่าพระเจ้าแผ่นดินอันมีช้างเผือก (รูปช้างอยู่ในวงจักร ได้เอามาใช้เป็นตราด้านหลังเงินเหรียญ ครั้งรัชกาลที่ ๔) แต่ธงตราช้างอยู่ในวงจักรใช้แต่เรือหลวง เรือพ่อค้าไทยยังใช้ธงแดงอยู่อย่างเดิม


ธงแดง


ธงช้างในวงจักร


๓. ถึงรัชกาลที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ ทำหนังสือสัญญาเปิดการค้าขายกับชาวตะวันตก มีเรือกำปั่นชาวยุโรปและอเมริกาเข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ กงสุลต่างประเทศก็เข้ามาตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ เขาชักธงชาติของเขา ความจำเป็นที่จะต้องมีธงชาติของสยามเกิดขึ้นด้วยเหตุนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯให้ใช้ธงช้างที่ประดิษฐ์ขึ้นในรัชกาลที่ ๒ เป็นธงชาติ แต่ให้เอารูปจักรออกเสีย ด้วยจักรเป็นเครื่องหมายสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน ให้คงแต่มีรูปช้างเผือกอยู่กลางธงแดง แล้วทรงประดิษฐ์ธงขึ้นอีก ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเรียกว่า "ธงมหามงกุฎ" สำหรับประจำพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน พื้นสีแดงเหมือนธงชาติ อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า "ธงไอยรา" พื้นแดงเหมือนธงชาติ มีรูปช้าง ๓ เศียรสีขาวผูกเครื่องยืนแท่น มีบุษบกตั้งบนหลังช้าง และมีรูปฉัตรตั้งข้างหน้าและข้างหลังข้างละ ๔ คัน อยู่กลางธง สำหรับรัฐบาลสยาม


ธงช้าง


ธงพระมหามงกุฎ


ธงไอยราพต



....................................................................................................................................................



อธิบายเรื่องธงไทย พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ไฟล์ภาพประกอบเรื่อง จาก คุณ เซียงยอด


Create Date : 03 เมษายน 2550
Last Update : 4 เมษายน 2550 12:42:48 น. 2 comments
Counter : 5661 Pageviews.  
 
 
 
 
อธิบายเรื่องธงไทย
ฉบับสมบูรณ์ คลิกที่นี่ ครับ
คุณ เซียงยอด มีความเชี่ยวชาญเรื่องธงมาก
เป็นโอกาสดีที่เราจะได้เก็บเกี่ยวความรู้จากท่าน เรียนเชิญครับ
 
 

โดย: กัมม์ วันที่: 8 เมษายน 2550 เวลา:18:11:44 น.  

 
 
 
ได้สาระครับผม
หากต้องการอ่านเกี่ยวกับเพลงชาติของเรา สามารถอ่านได้ที่นี่
เพลงชาติไทย
 
 

โดย: สมาชิกหมายเลข 1404403 วันที่: 4 มีนาคม 2559 เวลา:1:34:30 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

กัมม์
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




วิชา ความรู้จะมีค่าเมื่อถูกถ่ายทอด
[Add กัมม์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com