ประตู Porta De Santiago เป็นส่วนหนึ่งของป้อม AFamosa รอดพ้นจากการทุบทำลายทิ้งในสมัยที่อังกฤษเข้ามาปกครอง
ซากโบสถ์ St.Pauls Church ที่อยู่บนยอดเขามะละกา โบสถ์เก่าไม่มีหลังคาแห่งนี้สร้างขึ้นหลังจากที่โปรตุเกสเข้าปกครองมะละกาได้ 10 ปี
โบสถ์แห่งนี้เคยเป็นที่ฝังศพชั่วคราวของ Saint Francis Xavier นักบวชชาวสเปนที่มาเผยแพร่ศาสนาในเอเชียตะวันออก ที่สะดุดตาคงเป็น มือข้างขวาของท่านหายไป หลังจากท่านมรณภาพ นักบุญรุ่นหลังเสนอให้วาติกันแต่งตั้งท่านให้เป็น Saint (นักบุญ) พระสันตะปาปารับสั่งให้ตัดมือขวาของศพที่ไม่เน่าเปื่อยของท่านจากเมืองกัวในอินเดียไปสำนักวาติกันในกรุงโรม ในที่สุดท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นนักบุญภายหลังมรณภาพไปแล้วถึง 70 ปี แต่เหตุผลจริงๆ เนื่องจากเกิดพายุและต้นไม้ใหญ่ได้หักทับรูปสลักหินอ่อน ทำให้ข้อมือข้างขวาหักไป ว่ากันว่าคงเป็นพระประสงค์ของท่านี่จะให้เหมือนสภาพศพของท่านเอง
จนกระทั่งการเข้ามาของชาว Dutch ในต้นศตวรรษที่ 17 ประวัติศาสตร์มะละกาจึงถูกเปลี่ยนโฉม เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับโปรตุเกส ฮอลันดา(Dutch) ได้มุ่งหน้าไปหาแหล่งเครื่องเทศจากหมู่เกาะชวาตะวันออกแทนและจัดตั้ง United East India Company ขึ้นในปี 1602 เพื่อร่วมมือกับคนในภูมิภาคต่อสู้ทางการค้ากับชาติยุโรปอื่นๆ โดยเฉพาะโปรตุเกสเนี่ยแหละ
Dutch ได้บูรณะเมืองมะละกาขึ้นมาใหม่ โดยติดเครื่องหมายการค้าของ United East India Company บนป้อมประตูทางเข้า Porta De Santiago
อาคาร Stadthuys สร้างให้เป็นบ้านพักของชาว Dutch ปัจจุบันเป็น History, Ethnograghy and Literature Museum
Christ Church Melaka โบสถ์สีแดงหมาก ฝรั่งเรียกว่าสีชมพูเนื้อปลาแซลมอน (Salmon Pink) ตั้งอยู่โดดเด่นบริเวณ Dutch Square สร้างด้วยอิฐจากฮอลันดาแล้วฉาบด้วยดินแดงท้องถิ่น สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในวาระการเข้ามาปกครองมะละกาครบ 100 ปี
ในปี 1800 ช่วงเวลาเดียวกันที่ยุโรป Dutch แพ้สงครามต่อฝรั่งเศสในศึกนโปเลียน Dutch จึงได้ทำข้อตกลงให้อังกฤษเข้าครอบครองมะละกาเป็นการชั่วคราว ในขณะนั้น อังกฤษได้เดินทางมาถึงทวีปเอเชียโดยตั้ง British East India Company ที่อินเดียแล้ว
ถนน Jalan Tun Tan Cheng Lock เป็นถนนขนาน ถนนฮังเจบัต ฝรั่งเรียกว่า Heereen Street แปลว่า ถนนบ่าว ช่างคล้องจองกันจริง ตึกแถบนี้จะงดงามกว่าตึกแถบไพร่
ถนนโตกง หรือ Temple street มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของ 3 ศาสนา คือ วัดเจ้าแม่กวนอิม Cheng Hoon Teng Temple ภายในมีหยกขาวอัญเชิญมาจากพม่า อย่าลืมแหงนหน้าดูบนหลังคา มีรุปปั้นตุ๊กตางิ้ว วัดแขก Sri Poyyatha Vinayagar Moorthi Temple และมัสยิด Kampung Kling Mosque เป็นศิลปะแบบแขกมัวร์ ความกลมกลืนของศาสนสำคัญทั้ง พุทธ อิสลาม ฮินดูและคริสต์
โรงแรม Puri Hotel
อาหาร อาหาร
สามล้อในเมืองมะละกา
สีสันมะละกา
นายโทเม ปิเรส (TOME PIRES) นักเดินทางชาวโปรตุเกสกล่าวว่า ผู้ใดได้ครองมะละกาเท่ากับกุมชะตาเวนิสไว้ในอุ้งมือ คำกล่าวนี้คงเป็นจริง มะละกาไม่ไช่เมืองที่ใหญ่โตกว้างขวาง แต่ดินแดนนี้ผ่านร้อนผ่านหนาวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ เคยเป็นทั้งศูนย์กลางทางการค้าแห่งภูมิภาคตะวันออก (The emporium of the East) และเคยตกต่ำเป็นเมืองแห่งห้วงนิทราอันหลับไหล (Sleepy Hollow) วันนี้มะละกาได้ประกาศตัวแล้วว่าเป็นเมืองแห่งวัฒนธรรมที่ได้ตื่นฟื้นขึ้นมาแล้วอีกครั้งหนึ่ง (A Born-again Cultural City)
หนึ่งใน New Year Resolutions คือความตั้งใจอยากจะเขียน เล่า เรื่องราวผ่าน Blog ส่วนหนึ่งคงเป็นการจัดระบบความคิดที่ดีของตนเอง อีกส่วนคงเป็นการได้มีโอกาสรู้จักเพื่อนใน Cyber space มากขึ้น
ใช้ชีวิต กึ่ง ๆเหมือนพวก Urban living ชอบหาร้านกาแฟ หอมๆ นั่งอ่านหนังสือในวันหยุด