โรตีที่รัก (2)
Agra เรามุ่งหน้าไปเมืองอัคร( Agra) แคว้นอุตตระประเทศ (Uttar Pradesh) ระยะทางจากเดลีประมาณ 223 กิโลเมตร แต่ใช้เวลาเกือบ 6 ชั่วโมง บนถนน มีทั้ง วัว อูฐ รถยนต์ จักรยาน เป็นการฝึกความอดทน และ ความใจเย็น ได้ดีทีเดียว เวลานั่งไป ก็ช่วยคนขับเอาเท้าจิกเบรก เพราะจะมีรถสวนย้อนมาในเลนส์ เราด้วย แต่คงเป็นความสามารถพิเศษ เพราะไม่เห็นเค้าโกรธกันเลย ที่ใครๆ บอกว่าจะขับรถในอินเดียได้ต้องมี 3 สิ่งนี้ "Good horn, good break and good luck" ชีวิตข้างทาง แม่ลูกคู่หนึ่ง พริกชี้ฟ้ากับมะนาวห้อยไว้ เป็นความเชื่อเพื่อป้องกันวิญญาณที่ชั่วร้าย เหมือนบ้านเรานำพระมาห้อยรถ ระหว่างทางเราแวะ Sikranda เป็นทีฝังศพของอักบาร์ กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์โมกุล (1542 1605) เราไปถึงอัครบ่ายๆ ต้องปรับ Program นิดหน่อย เพราะว่ามีแขก VIP คือ French President Nicolas Sarkozy พร้อมภรรยาคนสวย Carla Bruni มาเยือนเมืองนี้ เสียดายพลาดโอกาสอยากกระทบไหล่มาก ๆ 5555 เราเลยต้องไปเยี่ยมชม Red Fort หรือเรียกว่า ป้อมแดง เพราะสร้างจากหินทรายสีแดงเป็นหลัก กำแพงป้อมวัดได้เป็นระยะทางเกือบ 2 กิโลเมตร เริ่มสร้างในราชวงศ์โมกุล เป็นช่วงประวัติศาสตร์อินเดียยุคกลาง ประมาณช่วงสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (ค.ศ.1526) ป้อมนี้สร้างในสมัยอักบาร์ กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์โมกุล Agra Fort ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ผู้คนเล่าขานกันว่า การก่อศิลาสีแดงเพลิงตั้งแต่ยอดจนถึงฐาน โดยใช้วงแหวนเหล็กเป็นตัวเชื่อมนั้น ทำได้แนบสนิทดีเสียจนแม้แต่เส้นผมบางๆ ก็สอดแทรกเข้าไปไม่ได้ ประตูของป้อมแดง มีทางเข้าทางเดียว คือประตูอมรสิงห์(Amar Singh Gate) เมื่อเดินผ่านประตุแรกเดินต่อไปเรื่อยๆ จะเจอประตูที่สอง การสร้างประตูลักษณะนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกบุกง่าย และระหว่างประตูจะมีทางแคบๆ มีกำแพงรอบด้าน โดยที่ทหารป้องกันสามารถยิงธนูและทิ้งหินจากด้านบนมาใส่ข้าศึกได้ สังเกตว่าประตูที่นี่ไม่มีคูน้ำอยู่รอบ ถ้าในยุโรปจะใช้สะพานไม้ชักขึ้นลง สร้างความลำบากให้ข้าศึก ที่อินเดียจะสร้างประตูไว้แคบแต่สูง ราชวงศ์โมกุล นับถือศาสนาอิสลาม เป็นกลุ่มเปอร์เชียที่บุกเข้ามามีอำนาจในอินเดีย แต่โดนวัฒนธรรมอินเดียกลืนไปด้วย จนเกิดการผสมปนเป ข้างนอกทรงโดม แต่ข้างในตกแต่งแบบฮินดู ความงดงามของศิลปะอินเดีย คงเป็น รอยโค้งรอยเว้าที่ทำไว้ตามบัวและเพดานเชื่อมต่อเป็นช่วงๆ Diwan I Am ท้องพระโรงส่วนหน้า สำหรับออกว่าราชการ Taj Mahal ความฝันในหินอ่อน อาจารย์แสงอรุณ รัตนกสิกร อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เคยบันทึกไว้ว่า ...ทัชนั้นเปรียบดุจวงแหวนอันมีหัวเป็นมณีประมาณค่ามิได้ ที่กาลเวลาได้สวมไว้ในนิ้วนางของมันด้วยความหวงแหนและเป็นรักเป็นที่สุด พระเจ้าชาร์เจฮาน (Shah Jahan) กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์โมกุล แต่งงานกับมุมตัสมาฮาล (Mumtaz Mahal) ครองรักกันมา 20 ปี ตามตำนานกล่าวว่าพระนางมุมตัสมาฮาลเคยเสด็จไปร่วมกองทัพกับพระเจ้าชาร์เจฮาน เห็นยอดเขาหิมะในเทือกเขาหิมาลัย จึงบอกกับพระสวามีว่า หากตนมีอันเป็นไป อยากให้พระองค์สร้างสุสานที่ขาวบริสุทธิ์ดั่งหิมะที่สองเราเห็นในวันนี้ หลังคลอดลูกคนที่ 14 มุมตัสก็สู่สวรรค์ พระเจ้าชาร์เจฮานเสียใจมาก สั่งงดงานทุกอย่าง และเริ่มคิดสร้าง ทัชมาฮาล เพื่อเป็นสุสานของพระนางและอนุสรณ์แห่งรักที่พระองค์มีต่อมเหสีผู้เป็นที่รักยิ่ง หลังจากสร้างทัชมาฮาลเสร็จ พระเจ้าชาร์เจฮานมีดำริที่จะสร้างสุสานของตัวเองขึ้นมาอีกแห่งเพื่อเป็นคู่กันกับทัชมาฮาล แต่พระโอรสออรังเซบ (Aurangzeb) ไม่เห็นด้วย ต่อมาออรังเซบ (Aurangzeb) กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์โมกุล ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าชาร์เจฮานสั่งกักบริเวณบิดาตนเองไว้ในป้อมอัคราเป็นเวลา 8 ปี ก่อนบิดาจะสวรรคต และ ยึดอำนาจการปกครองมาเป็นของตน หลังจากนั้นอัคราก็เข้าสู่ยุคเสื่อมถอยพร้อมๆ กับราชวงศ์โมกุล การสร้างไม่ใช่เรื่องง่าย และใช้เงิน 41 ล้านรูปี หรือ 41 ล้านไทยบาท เมิ่อ 350 ปีที่แล้ว คิดดูว่าค่าเงินจะขนาดไหน การก่อสร้างก็แปลกดี ไม่ใช้นั่งร้านแบบไทย แต่ใช้การก่ออิฐขึ้นไปเป็นนั่งร้าน จึงคลุม ทัชมาฮาลไว้ใช้คนงานถึง 20, 000 คน ผ่านไป 22 ปี อิฐถูกนำออกทีละก้อน ทุกคนจึงมีโอกาสได้เห็นทัชมาฮาล ลักษณะเด่นของทัชมาฮาลคือ ไม่ว่าจะมองจากมุมไหน ก็จะเห็นสัดส่วนที่สมบูรณ์แบบและความสมดุลเท่ากันทั้งซ้ายและขวาเสมอ (Symmetrical) ประตูหินทรายแดงสูงถึง 30.5 เมตร ซึ่งเป็นจุดแรกที่ทัชมาฮาลปรากฎแก่สายตาผู้มาเยือน นอกจากจะเป็นประตูทางเข้าในแบบฉบับของสถาปัตยกรรมอิสลามแล้ว ยังมีความหมายเป็นจุดเปลี่ยนผ่านระหว่างโลกภายในและโลกภายนอกทัชมาฮาล กล่าวกันว่าหอคอยหินอ่อนสีขาวที่อยู่รอบทัชมาฮาลทั้งสี่มุมถูกสร้างให้เอียงเบนออกจากตัวทัชมาฮาลที่จะเกิดแก่ทัชมาฮาล หากเกิดแผ่นดินไหวหรือเกิดเหตุที่อาจทำให้หอคอยเหล่านั้นพังลงมาได้ รายละเอียดที่งดงาม คือ การฉลุแผ่นหินอ่อน ให้กลายเป็นหน้าต่าง เปิดไม่ได้ แต่ปล่อยให้แสงลอดเข้าไปตามลายฉลุ ถือเป็นสถาปัตยกรรมที่ราชวงศ์โมกุลนิยมนัก หินอ่อนที่ใช้นำมาจากแคว้นราชาสถาน หินสีที่ใช้มาจากทั่วโลก มีการนำทองมาตีเส้นเล็กๆ เพื่อประดับลวดลาย และลายเนียนตาเหล่านี้ เกิดจากการแกะหินเป็นร่อง นำหินสีอื่นๆ ประดับลงไป (เทคนิค Inlay) รวมทั้งทองเส้นบางๆ เกิดเป็นลวดลายดอกไม้ แจกัน ประดับจนทั่วทั้งผนังหิน เป็นรูปแบบที่นิยมในอาณาจักรโมกุล พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ กล่าวไว้ในหนังสือ ของดีอินเดีย ไม่มีถาวรวัตถุแห่งใดในโลก ที่จะถูกวาดรูป ถูกถ่ายรูปมากเท่ากับทัชมาฮาล แต่ก็ไม่มีรูปวาดหรือรูปถ่ายอันใด ที่จะแสดงความงามของทัชมาฮาลได้เท่ากับของจริง ทัชมาฮาลเป็นเทพธิดาองค์หนึ่งแท้
Create Date : 09 มกราคม 2554
Last Update : 9 มกราคม 2554 10:14:34 น.
3 comments
Counter : 5164 Pageviews.
โดย: fahtsuki วันที่: 9 มกราคม 2554 เวลา:10:15:55 น.
โดย: หน่อยอิง วันที่: 9 มกราคม 2554 เวลา:12:12:41 น.
โดย: RAINISM (mainera ) วันที่: 10 มกราคม 2554 เวลา:14:56:18 น.
Location :
[Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [? ]
หนึ่งใน New Year Resolutions คือความตั้งใจอยากจะเขียน เล่า เรื่องราวผ่าน Blog ส่วนหนึ่งคงเป็นการจัดระบบความคิดที่ดีของตนเอง อีกส่วนคงเป็นการได้มีโอกาสรู้จักเพื่อนใน Cyber space มากขึ้น ใช้ชีวิต กึ่ง ๆเหมือนพวก Urban living ชอบหาร้านกาแฟ หอมๆ นั่งอ่านหนังสือในวันหยุด ขออภัย เมื่อใหม่หัดใช้ Blog ด้วยจ้า
อยากไปเห็นอินเดียบ้างจังค่ะ