|
เวทนา และกิเลส
เขียนเมื่อ 2002.08.06
อ่านหนังสือ เหนือวิทยาศาสตร์ ของท่านพุทธทาสไปช่วงหนึ่ง ก็เลยถือโอกาสมาเล่าให้ได้อ่านกันถ้วนหน้า วันนี้จะเล่าเรื่องเวทนาทั้งสาม กับกิเลสทั้งสามก่อน ว่ามันเกี่ยวพันกันอย่างไร
ท่านพุทธทาสท่านกล่าวว่า เวทนานี้ คือสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง แยกได้เป็นสามประเภทด้วยกัน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
เวทนาคืออะไร เวทนาคือความรู้สึก หรือที่เรียกว่า feeling นั่นเอง สุขเวทนา คือ เวทนาที่ทำให้รู้สึกว่าเป็นสุข ทุกขเวทนา คือ เวทนาที่ทำให้รู้สึกว่าเป็นทุกข์ อทุกขมสุขเวทนา คือ เวทนาที่ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นสุขหรือเป็นทุกข์
คนคงเข้าใจสองเวทนาแรกได้ดี แต่สำหรับเวทนาที่สามแล้วนั้น แท้จริงความหมายมันไม่ได้หมายความว่าจะไม่รู้สึกสุขหรือทุกข์ แต่หมายความว่า ยัง define ไม่ได้ว่าจะทุกข์หรือจะสุขดี คือ การสงสัย สนใจ หรือหวังอะไรอยู่ ที่ยังไม่รู้ว่าออกหัวหรือก้อย ทำให้ลังเล ค้างคา ติดวนอยู่อย่างนั้น จึงถือได้ว่ามีความยึดมั่นได้เท่าๆกับสองอย่างแรก
เมื่อเกิดความรู้สึกใดอย่างเป็นปรกติโดยเราไม่รู้ตัว มันก็จะเพิ่มนิสัยเหล่านี้ไปโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน {+} สุขเวทนา ทำให้เราเป็นสุข พอใจ ยินดีนั้น ทำให้เกิดนิสัยsandan(ทำไมคำนี้ต้องเซ็นเซอร์ด้วยยยย)ที่จะรัก ทำให้ยึดมั่นอยากจะมี อยากได้ กำหนัด ซึ่งจะนำไปสู่ความโลภ (โลภะ) {+} ทุกขเวทนา ทำให้เราเป็นทุกข์ ทนได้ลำบาก ทำให้เกิดนิสัยsandan(ทำไมคำนี้ต้องเซ็นเซอร์ด้วยยยย)ที่จะเกลียด อยากไม่มี อยากไม่เป็น อยากทำลาย ซึ่งจะนำไปสู่ความโกรธ (โทสะ) {+} อทุกขมสุขเวทนา ทำให้เราหวัง สงสัย ข้องใจ เที่ยวหลงเที่ยวสนใจ ถอนออกไม่ได้ ทำให้เกิดนิสัยsandan(ทำไมคำนี้ต้องเซ็นเซอร์ด้วยยยย)ที่จะสงสัย ลังเล ซึ่งนำไปสู่ความไม่รู้ (โมหะ)
นี่คือสิ่งที่เรียกว่าเวทนา มีอยู่ ๓ ชนิด ก็ชื่อว่าเวทนาเหมือนกันหมด เป็นต้นตอของทุกอย่าง ต่างกันไปในแง่ของการที่เป็นเหตุ ทำให้เกิดความคิด เกิดความเห็นผิดเห็นถูก ทิฏฐิต่างๆ ซึงยังผลให้เกิดความทุกข์
Create Date : 03 มีนาคม 2551 |
Last Update : 3 มีนาคม 2551 22:35:37 น. |
|
0 comments
|
Counter : 516 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
|
 |
JeyZ |
|
 |
|
Location :
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

|
รหัสสมาชิก 3 พันนิดๆ เป็นมนุษย์ต่างดาว มีแมวเป็นนาย มีกายเป็นบ่าว ทำงานหลายอย่าง ชอบทำอาหาร ชอบชิมอาหาร ชีวิตนี้ก็ไปมาหลายที่อยู่เหมือนกัน เป็นมิตร ไม่กัด ตรงไปตรงมา ไม่ถนัดสนทนากับเกรียน และชาวภาษาวิบัติ
|
|
|