|
|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 | |
|
 |
|
ทริปไปทอดจุลกฐิน ที่ แม่แจ่ม ดอยอินทนนท์ |
|
ทริปไปทอดจุลกฐิน ที่ แม่แจ่ม ดอยอินทนนท์
ทริปนี้ เป็นทริปที่ใหัความรู้เรื่องจุลกฐินและได้ไปเที่ยวบนดอย อินทนนท์ ซึ่งมีสถานที่ที่เกี่ยวกับรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ซึ่งสร้างไว้คนละฝั่งของตึก งดงามมาก เป็นการเฉลิมพระเกียรติทั้งสองพระองค์ การไปเที่ยวครั้งนี้ จอยจะไปทอดจุลกฐินที่แม่แจ่ม โทรมาชวนฉันไป ด้วย ฉันเห็นว่า เป็นการทอดกฐินที่ต่างจาก การทอดกฐินธรรมดา จึงไปด้วย ตอนแรก จอยบอกไม่ต้องให้ฉันเสีย ค่าใช้จ่าย เพราะถึงฉันไม่ไป เขาก็ต้องไป เพราะเขามีความผูกพันกับวัดและคุณยายที่เขาเคารพเหมือนแม่อยู่ที่ แม่แจ่ม เขาไปกับวรรณสองคนเอง ฉันบอกไม่ได้หรอก ไปด้วยกันก็ต้องช่วยแชร์ค่าแก๊สค่าน้ำมันกัน ไม่เอาปรียบเขาหรอก ฉัน จึงไปชวนเอมไปด้วย ครั้งแรกเอมบอกไม่ไป เขาอยากจะไปดูซากุระที่ดอยอินทนนท์ แต่ทนฉันขอไม่ได้ เอมคง เบื่ออยากเที่ยวด้วย เขาเลยไปด้วย ทริปนี้ รวมเป็น 4 คน ฉันให้จอยคิดค่าแก๊ส เขาบอกว่า คิดแล้ว ตกประมาณ คนละ 1500 บาท ฉันกับเอม โอเค
ครั้งนี้ เราไปกันตั้งแตวันที่ 28-31 ต.ค. 65 เหมือนเดิม จอยมารับฉันที่บ้านประมาณ ตีห้าครึ่ง แล้วไปรับเอม ที่หน้าการไฟฟ้าพระราม 4 จอยเป็นคนขับรถเอง เพราะทูลซึ่งเคยขับ รถให้พวกเรา เขาไม่ว่าง จอยเลยต้องขับเอง จอยขับรถได้ดี นิ่มไม่กระชาก แต่ถึงอย่างไร เขาก็เป็นผู้หญิง พวกเราจะบอกจอยเสมอว่า ถ้าเหนื่อยหรือง่วง ให้บอกนะ จะได้หยุดพักที่ป้๊บ นอนพักก่อนได้ ไม่ต้องรีบร้อนหรือฝืน สังขาร ระหว่างทาง ฉันโทรหาเฮียคงเดช เพื่อนพิราบขาว บ้านเขาอยู่ลำปาง เคยชวนฉันไปเที่ยวบ้านเขา ก็เลย โทรไปทักทายสักหน่อย ปรากฏว่า เขาอยู่กระบี่ ไปเฝ้า แม่ยายของลูกชายเขา ฉันโทรหาศรีอีกคน ที่อยู่ ตาก แต่ปรากฏว่า ศรีไปกรุงเทพฯ เลยไม่ได้เจอใครสักคนเลย
เรามาแวะกินข้าวซอยที่ลำปางคนละชาม ช่วงนั้นน่าจะประมาณบ่าย สาม ขับรถต่อไปถึงแม่แจ่ม ด้วยใจระลึก ลุ้นแทบแย่ เพราะมีปัญหาเรื่องเกียร์รถ ตอนนี้ มี 1 เกียร์ที่ใช้ไม่ได้ เวลาขับรถขึ้นเขาเพื่อไปแม่แจ่ม จึงต้องค่อย ๆ ขึ้น ลุ้นไปตลอดทาง อย่าให้เกิดปัญหาระหว่างทาง เพราะตอนนี้ เริ่มจะค่ำ แล้วอย่างน้อย ๆ ให้ถึงที่พักก่อน และในที่สุด ก็ผ่านพ้นอุปสรรค์ในเรื่องเกียร์ไปรถไปถึงที่พวกเราจะไปพัก ซึ่งจอย รู้จักและนับถือเจ้าของ ภูแจ่มเฮาส์เป็นแม่บุณธรรม แม่บุญธรรมรู้สึกดีใจที่ลูกสาวจอยมา กอด ๆ กันด้วยความดีใจ พักที่นี่ คืนละ 500 บาท

หยุดพักรถและเข้าห้องน้ำระหว่างทาง

มื้อเย็น ก่อนขึ้นแม่แจ่มไปบ้านพัก

พักที่ภูแจ่มเฮ้าส์ ค่ะ

ห้องรับรองแขกและกินข้าวเช้าที่นี่ ค่ะ
29 ต.ค. วันนี้ฉันตื่นเช้าประมาณ ตี่ 4 ตามเคย ทางภูแจ่มเฮ้าส์ มีมื้อเช้าให้ด้วย แต่อาหารยังไม่มา ทุกคนอยากดื่มกาแฟ แต่ก็อด เพราะเปิดหม้อต้มน้ำไม่เป็นจน 6.30 คุณแม่เจ้าของบ้าน มาช่วยเปิด หม้อต้มน้ำสำเร็จ ทุกคนดื่มกาแฟ ฉันดื่มโอวัลติน ถ้วยหนึ่ง ข้าวต้มยังไม่มา จอยนัดพระวัดบ้านทับฉันเช้า 7.00 น. และวันนี้จะจ้างรถลูกเขยของคุณแม่ไปเที่ยว ดอยอินทนนท์ หลังจากเลี้ยงพระเช้าแล้ว จึงจะกลับที่พักเพื่อกินข้าว เช้าก่อนไปเที่ยว ค่ะ






คุณแม่ศรี แม่บุญธรรมของจอย ค่ะ

ถ่ายรูปหน้าโบสถ์กับคุณแม่ศรี เป็นที่ระลึก ค่ะ


บันไดที่จะขึ้นไปกราบพระในโบสถ์ ค่ะ
เมื่อเสร็จจากเลี้ยงพระและเณรแล้ว ก็ไปอีกวัดหนึ่ง ชื่อวัดป่าแดด พวกเราไปถวายสังฆทาน พระที่ถวายไม่ค่อยแข็งแรง ต้องเดินทางลงจากเขาไปหาหมอในเมือง ฉันจึงนำเงินของโก ที่ฝาก ทำบุญ ถวายท่านในนามของโก อธิษฐานให้โก เจ้าของปัจจัย มีความสุข ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย งานถวายเสร็จเรียบร้อย แล้ว ท่านได้พาพวกเราไปกราบพระที่โบสถ์ ค่ะ

ถวายสังฆทานแด่ หลวงพ่อ วัดป่าแดด

ในโบสถ์ วัดป่าแดด ค่ะ




หลวงพ่อถ่ายรูปหมู่ให้พวกเรา ค่ะ
กลับจากวัดป่าแดด กลับที่พัก กินข้าวต้มกัน ประมาณ 9.00 น. เอส ลูกเขยคุณแม่ซึ่งเราจ้างเขาพาเที่ยว ดอยอินทนนท์ เอสขอค่าน้ำมันและพาเที่ยว2000 บาท ก่อนขึ้นไป อินทนนท์ ได้แวะอีกวัดหนึ่ง คือ วัดสามสบ วัดนี้ มีพระอยู่รูปเดียว ตัววัดมีพระประธานองค์เดียว (พระองค์นี้ จอย เป็นผู้สร้างร่วมกับคนอื่น ๆ จอยจึงอยากไปที่วัดนี้ด้วย เจอพระรูปนี้ เป็นพระธุดงค์ เป็นพระนักพัฒนา ก่ออิฐ ทำประตูอยู่ รูปเดียว ชาวบ้านก็มีมาช่วยบ้างและชาวบ้าน ก็ต้องทำมาหากิน เครื่องไม้เครื่องมือ ก็มีน้อย เครื่องที่ตัดเหล็ก ต้อง ไปขอยืมชาวบ้านมาใช้ กลัวของเขาพังต้องใช้ชาวบ้าน จอยก็ใจบุญบอกท่านว่า เขาจะถวายเครื่องตัดเหล็กให้ท่าน ค่ะ จอย มีอาหารคือ นมกล่อง 1 ลัง และปัจจัยมาถวายท่านด้วย ค่ะ ฉัน ถวายค่าน้ำค่าไฟ 100 บาท เนื่องจากวัดนี้ ยังไม่สมบูรณ์ จึงไม่มีใครรีวิว

ถวายนมกล่องให้หลวงพี่ที่วัด สามสบ
ที่มาของชื่อ สามสบ เกิดจากแม่น้ำ 3 สาย ไหลมามาบรรจบกัน คือ น้ำห้วยสามสบ ห้วยน้ำดังและน้ำแม่แรก จึงมีการตั้งชื่อ หมู่บ้านสามสบหมู่บ้านสามสบแบ่งออกเป็น 6 หย่อม บ้านดังนี้ 1) บ้านสามสบบน 2)บ้านสามสบล่าง 3)บ้านผาขาว 4)บ้านกลาง 5)บ้านป่ากล้วย 6)บ้านแม่แรก แต่ละ หย่อมบ้านเป็นชนเผ่ากะเหรี่ยงเว้นแต่หย่อมบ้าน สามสบล่างที่เป็นชาวพื้นราบ(คนเมือง) บ้านสามสบเริ่มตั้งหมู่บ้านมา เมื่อ300 กว่าปีมาแล้ว เดิมมีชนเผ่ากะเหรี่ยงมาอาศัยอยู่ก่อน
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ 2456 เริ่มมีชาวพื้นราบ(คนเมือง)เข้ามาอาศัยอยู่ เดิมมี 2 ครอบครัว คือ นายเริญ บุญรัง (คนบ้านห้วยริน) กับนายรส (คนเมืองน่าน) เป็นผู้ที่มาเริ่มก่อตั้งถิ่นฐาน ชาวบ้านทำไร่ เลื่อนลอยและทำนา ใน พ.ศ 2518 ได้สร้างถนนสำหรับ รถจักรยานยนต์ จากเงินผันด้วยเงินจำนวน 90,000 บาท แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ จึงทำ ต่อมา จนถึง พ.ศ 2524 ก็สามารถสร้างทางสำหรับรถจักรยานยนตร์ ได้สำเร็จ (ถนนลูกรัง) พ.ศ.2522 ได้สร้าง โรงเรียน บ้านสามสบ โดยงบจากรัฐบาล มีอาคารชั่วคราว 1หลัง สำหรับทำการ เรียนการสอน คนในหมู่บ้านยึดอาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก ในสมัยนั้นไม่มีโรงสีข้าว ชาวบ้านต้องตำข้าวกินเอง ปัจจุบันมีคนพื้นราบ 20 กว่าครัวเรือน ชาวกระเหรี่ยง 100ครัวเรือน โดยส่วนมากชาวบ้านจะนับถือศาสนาพุทธ ส่วนด้าน เครื่องสาธารณูปโภคมีไฟฟ้าใช้แล้ว แต่ถนนยังคงเป็นถนนลูกรังอยู่ การเดินทางและการขนส่งพืชผล ทางการเกษตรลำบากมาก(โดยเฉพาะฤดูฝน)
ประมาณ 10.20 น. เอส ก็พาเราไปขึ้นดอยอินทนนท์ สูงสุดแดน สยาม รถจอดตรงตีนดอย พวกเราต้องเดินขึ้น ไปไกลเหมือนกัน มีนักท่องเที่ยวทั้งไทยทั้งฝรั่งมากพอควร เดินไปข้างบน ชมพระมหาธาตุนภเมทนีดล มาทราบประวีติความเป็นมา ค่ะ ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ อันเป็นปีมิ่งมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ กองทัพอากาศได้ ก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์บนดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย และได้รับพระราชทานนามว่า “พระมหาธาตุนภเมทนีดล” อันมีความหมายว่า “พระเจดีย์บรรจุพระบรม ธาตุที่ยิ่งใหญ่เพียงฟ้าจดดิน”
พระมหาธาตุนภเมทนีดล มีรูปแบบเป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ รูป ๘ เหลี่ยม ซึ่งหมายถึง มรรค ๘ คือ ความพากเพียร แสวงหาปรมัตถกรรมของพระพุทธเจ้า อันก้องกังสดาล พึงรับรู้กันทั่ว ปานประหนึ่ง เสียงระฆัง มีความสูง ๖๐ เมตร เพื่อเป็นนิมิตรหมายการสร้างเมื่อใพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษาส่วนบนสุดเป็นรูปทรงยอดปลีทอง รองรับกลีบบัวบาน หมายถึง การตรัสรู้สู่ปรินิพพาน นับว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุภายใน ห้องโถง ทรง ๘ เหลี่ยม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ปางประทานพร แกะสลักด้วยหินแกรนิต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกา ธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “พระพุทธบรมศาสดา นวมินทรมหาจักรีราชานุสรณ์สัฐิพรรษาสถาพรพิพัฒน์” มีความหมายว่า “พระพุทธเจ้าพระบรมศาสดา สร้างเป็นอนุสรณ์ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระชนมพรรษา ๖๐”
การตกแต่งพระมหาธาตุนภเมทนีดล คำนึงถึงความสวยงาม เพื่อสร้าง ศรัทธาให้เกิดขึ้นเมื่อแรกเห็น การประดับประดา แต่ละรายการล้วนมีคุณค่าทั้งทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมเพื่อที่ จะให้ปูชนียสถานสำคัญแห่งนี้ปรากฎเป็นเกียรติคุณ ชั่วกาลนาน (ขอบคุณ ข้อความจาก อินเทอร์เน็ต )
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ อันเป็นปีมิ่งมหามงคลที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบกองทัพอากาศ ได้ก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย และได้รับ พระราชทานนามว่า “พระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ” อันมีความหมายว่า “เป็นกำลังแห่งฟ้าเป็นสิริแห่งดิน”พระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ มีรูปแบบเป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำรูป ๑๒ เหลี่ยมเป็นเครื่องหมายแทน อัจฉริยธรรม ๑๒ ประการ แห่งองค์พระพุทธ มารดา มีความสูง ๕๕ เมตร ต่ำกว่าพระมหาธาตุนภเมทนีดล ๕ เมตร เพื่อแทนความหมายว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระเยาว์กว่าสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ๕ พรรษา ที่ยอดปลีสีทอง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และภายในห้องโถงกลางรูปโดม ๑๒ เหลี่ยม เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปปางรำพึง แกะสลักด้วยหินหยกสีขาว ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำพระชนมวารของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “พระพุทธสิริกิติทีฆายุมงคล” มีความหมายว่า “พระพุทธเจ้าทรงเป็นสิริ มงคลและทรงเจริญพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินินาถ(ในรัชกาลที่๙)”พระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ ที่สร้างขึ้น เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง องค์ นี้เน้นการออกแบบที่รูปลักษณ์ และสีสันอันอ่อนช้อย งดงาม สมกับคุณลักษณะตามธรรมชาติของสตรี นอกจากนี้ยังเป็นการ ออกแบบก่อสร้างตามแนวทางของหลักธรรมะ ข้อที่ว่า “โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ” ซึ่งหมายถึง ธรรมอันเป็นไปในทาง ฝักใฝ่การบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่สุด (ขอบคุณ ข้อความจาก อินเทอร์เน็ต )
บรรยากาศรอบ ๆ สวยงาม มีลมเย็นพัดเย็น ๆ มีดอกไม้สวยงามอยู่โดย ทั่วไป ให้ผู้มาเยือนได้ถ่ายรูป เก็บภาพไว้เป็นที่ระลึก ฉันกับเอม ขึ้นลีฟ ไปชมทั้งสองฝั่งส่วนจอยกับวรรณก็เดินถ่ายรูปเช่นกัน ขาลงต้องลงบันได ไม่มีลิฟ ให้ลงค่ะ มาชมภาพ ค่ะ


รูปนี้วานให้นักท่องเที่ยวฝรั่งถ่ายให้


มีโอกาสได้กราบพระรูปนี้ที่มากราบพระธาตุด้วย และได้สวดมนต์ พร้อมกับท่านด้วย ค่ะ เลยได้รูปหมู่ ค่ะ


มุมสวยงามมุมหนึ่งของที่นี่ ค่ะ







พระพุทธรูปปางรำพึง พระประจำวันเกิดของคนเกิดวันศุกร์ ค่ะ

ลงจากดอย ถ่ายรูปหมู่ ค่ะ
ประมาณ บ่ายสอง แล้ว จอยพาไปซื้อแค้ปหมู ต้องเดินข้ามสะพานไป ซื้อ ฉันก็ชื้อถุงเล็ก น่าจะห่อละ 20 บาท กลับมาที่จอดรถ มีแม่ค้า ขายส้ม ขาย อะโวคาโล3 โล 100 บาท เอารถมา ก็ดีอย่าง ซื้อของได้มากหน่อย จากนั้นพวกเราก็กลับที่พัก ประมาณ บ่ายสามกว่า นั่งพักและกินข้าว เหนียวกับปลาสลิดทอด แล้วก็ช่วยกัน เสียบเงินไว้ที่ต้นกฐิน ฉันก็เสียบแบงค์ร้อยของตัวเอง ของโก ( 1000) ของบุญมี (500 บาท) และดาว เยาว์ จ๋า 100 บาท เสร็จแล้ว มีการเขียนชื่อ คณะเราติดต้นกฐินตามธรรมเนียมของที่นี่

สะพานที่เราข้ามไปซื้อแค้ปหมู ค่ะ

ช่วยกันเสียบธนบัตรปักต้นกฐิน ค่ะ
มีเวลาเล็กน้อยไปพักผ่อนที่ห้อง พักใหญ่ ๆเพราะคืนนี้ ต้องไปร่วม งาน เขามีพิธีฉลองต้นกฐินด้วย เลี้ยงอาหาร แบบขันโตก นั่งกับพื้นมีเสื่อปูให้เรียบร้อย หน้าเวที มีการแสดง ของ เด็ก ๆ เป็นชุด ๆ จอยได้ขึ้นไปมอบรางวัลแก่เด็ก ๆ
ประมาณ 17 น. ฉันกับเอม เดินชมงานและไปดูการปั่นฝ้าย ย้อมสี เพื่อให้ทัน พรุ่งนี้ ซึ่งเป็นวันทอดจุลฐิน เรามารู้จัก จุลกฐินกัน ค่ะ

ดอกฝ้ายที่จะไปปั่นเป็นเส้นและทอผ้าไตร ในกะละมัง เป็นสีย้อม


ถ่ายกับคุุณป้าที่เป็นวิทยากรให้ความรู้ ค่ะ ตั้งแต่ปลูกต้นฝ้าย การปั่นฝ้ายให้เป็นเส้น แล้วไปทอ เสร็จแล้วนำไป ย้อมสี ตัดเย็บเป็นจีวร นำไปทอดจุลกฐิน ทุกอย่างต้องให้เสร็จภายใน หนึ่งวัน หรือ 24 ชั่วโมงค่ะ

ชมการปั่นฝ้าย ย้อมฝ้าย ค่ะ

สาธิตการปั่นฝ่าย ค่ะ

สถานที่แสดงการทำจีวร ปั่นให้ชม มีเครื่องทอ ให้ชมค่ะ



ถ่ายรูปกับเด็ก ๆ ที่ขึ้นเวที ร่ายรำ ค่ะ

อาหารที่ใส่ขันโตก ค่ะ

เตรียมขันโตกให้แขกที่มาฉลองผ้าป่า ค่ะ

นักร่ายรำ ตัวจิ๋ว น่ารักมาก


จอยขึ้นไปมอบรางวัลให้เด็ก ๆ ที่มารำ ค่ะ
กฐิน เป็นคำภาษาบาลี แปลว่า “ไม้สะดึง” หมายถึงไม้แบบสำหรับขึง จีวรที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาลใช้สำหรับเป็น เครื่องอำนวยความสะดวกในการตัดเย็บจีวร แต่ความหมายทั่วไป หมายถึงชื่อของผ้าสำหรับทอดถวายในช่วงทอดกฐิน จุลกฐิน คือ กฐินที่จัดทำผ้าไตรจีวรเพื่อเป็นผ้ากฐิน เริ่มตั้งแต่การนำ ฝ้ายมาปั่นกรอเป็นเส้นด้าย แล้วทอเป็นผืนผ้า ตัดเย็บและย้อมสีตลอดจนได้ทำการทอดถวายภายในวันนั้น โดยใช้ เวลาไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง จุลกฐินนี้มักทำกัน เมื่อจวนจะหมดเขตกฐินกาลแล้ว หรือสิ้นสุดช่วงการทอดกฐินนั่นเอง สำหรับเมืองไทยเราเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมา แต่โบราณว่าหลังวันออกพรรษา(แรม 1 ค่ำ เดือน 11) ก็จะเป็นเทศกาล ทอดกฐิน ซึ่งปีหนึ่งจะทำได้เพียงครั้งเดียวในช่วงนี้ และเป็นเวลาแค่ 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 โดยกฐินในบ้านเราแบ่งหลัก ๆ เป็น “กฐินหลวง”ที่พระมหากษัตริย์ทรงทอดกฐินตามวัดพระอาราม หลวงและ “กฐินราษฎร์” ที่พุทธศาสนิกชน คนทั่วไปนำไปทอดตามวัดต่าง ๆ
นอกจากนี้ก็ยังมีกฐินชนิดพิเศษอีกประเภทหนึ่งคือ “จุลกฐิน” หรือ “กฐินแล่น” ที่หลาย ๆ คนมักเข้าใจผิดคิดว่า จุลกฐินเป็นกฐินเล็ก แต่จริงๆแล้วจุลกฐินเป็นกฐินที่ต้องทำอย่าง เร่งด่วนแต่เต็มไปด้วยความละเอียดลออ และเต็มไปด้วย ความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจของชุมชน โดยต้องทำการเก็บฝ้าย ทอฝ้าย ตัดเย็บเป็นผ้าไตรจีวร 1 ชุด ให้แล้วเสร็จ ก่อนจะนำไปถวายวัดในเช้าถัดไป เค้ามูลของการทำจีวรให้เสร็จในวันเดียว ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์ อรรถกถา กล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้ารับสั่ง ในคณะสงฆ์ในวัดพระเชตวันร่วมมือกันทำผ้าไตรจีวรเพื่อถวายแด่ พระอนุรุทธะผู้มีจีวรเก่าใช้การเกือบไม่ได้แล้ว โดยในครั้งนั้นเป็นงานใหญ่ ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงช่วยการทำไตร จีวรด้วย โดยทรงรับหน้าที่สนเข็มในการทำจีวรครั้งนี้ด้วย
จุลกฐินยังมีลักษณะพิเศษ คือ ไม่ใช่ว่าพอถึงเวลาก็สามารถนำองค์ กฐินไปทอดที่วัดได้ หากแต่คิดจะทำจุลกฐิน ต้องมีการเตรียมตัวกันก่อนล่วงหน้ามาเป็นอย่างดี
การทอดกฐิน แบบจุลกฐิน วัดที่ดำรงประเพณี มีให้เห็นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ถือเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ยังคง มีการสืบสานการทำบุญจุลกฐิน ตามวิถีประเพณีดั้งเดิมอันงดงามเป็น เอกลักษณ์เอาไว้ (ขอบคุณ เรื่องจาก อินเทอร์เน็ต)
เรากลับจากงานฉลองถึงที่พัก ประมาณ สองทุ่มกว่า อาบน้ำแล้ว พักผ่อนกัน พรุ่งนี้จะต้องตื่นแต่เช้า จะมีการ แห่องค์กฐิน ทำพิธีทอดจุลกฐิน ค่ะ
30 ต.ค. วันนี้ตื่นกันแต่เช้า ออกจากที่พัก ประมาณ 6.30 น. พวกเรา มากินข้าวต้มเครื่อง ซึ่งลูกสาวของคุณแม่ ทำมาเรียบร้อยแล้ว นัดกัน 8.00 น. พวกเราก็ไปที่วัดร่วมพิธี ทอดจุลกฐิน 8.30 น. เริ่มงานแห่ มีรถกะบะให้คนสูงอายุขึ้นรถได้ เพราะได้ข่าวว่า ปีนี้เดินแห่องค์กฐินต้องเดินไกลมาก ไปตั้งแถวที่สะพาน ไกลจากวัดเป็นกิโลเมตรเลย วันนี้ พวกเรานุ่งผ้าถุง เสื้อลูกไม้ คุณแม่ ให้พวกเรายืมผ้าถุงคนละผืนนุ่งด้วย รถกะบะเรา มีเรา 4 คน และคนอื่นอีก 2-3 คน มีชาวบ้านแต่งกายสวยงามด้วยชุด ผ้าไทย ถือองค์กฐิน ที่นี่ เขาจัดองค์กฐิน ด้วยขาตั้ง 3 ขา แล้วมีที่เสียบ ปัจจัย หมู่บ้านที่นี่ เขาสามัคคีกันมาก ทำต้นกฐิน บ้านละ1 ต้น บ้านไหนรวยหน่อย ธนบัตรก็มีหลักสีสัน ม่วง แดง เขียว บ้านไหนมีน้อย ก็จะเป็นธนบัตรสี เขียวมากเป็นพิเศษ ต้นกฐินที่หมู่บ้านนี้ จีง มีมากมาย เดินถือกันคนละต้น เห็นประเพณีของที่นี่แล้ว ก็ปลื้มใจนะ เขายังรักษาประเพณีอันดีงามนี้ อย่างเหนียวแน่น ค่ะ ขบวนแห่องค์กฐินเริ่มเดินโดยตั้งต้นที่สะพาน คนเดินเท้าเดินนำก่อน มีกลองยาว นำฟ้อนไป ตามด้วยคนเดินถือองค์กฐิน ขบวนรถจะอยู่หลัง มีรถกะบะหลายคัน ส่วนจอยและวรรณต้องลงไป เดินด้วย เพราะว่า เป็นผู้ถือองค์กฐิน เขาให้เดินเท้า น่าจะประมาณ 20 นาทีได้ ก็ถึงวัดบ้านทัพ ที่จะทอดจุลกฐิน มีการเดิน เวียนรอบโบสถ์3 รอบ แล้วจึงขึ้นโบสถ์ เพื่อทำ พิธีทอดจุลกฐิน ค่ะ มาชมภาพค่ะ










นั่งบนรถกะบะ ค่ะ ไม่ได้เดินกับเขาหรอก ค่ะ




ขบวนแห่องค์กฐิน วงกลองยาว ก็สนุกสนาน กัน ทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใส

ขบวนมาถึงวัดแล้ว ก็ต้องเดินรอบโบสถ์ 3 รอบ แล้วเข้าโบสถ์ไปทำ พิธีทอดกฐิน เหมือนกับการทอดกฐินทั่วไป ค่ะ

ร่วมทอดกฐินในโบสถ์ ค่ะ

ประธานในการทอดกฐิน เป็นพระอาจารย์ ไม่ทราบชื่อ ค่ะ ท่านก็พูด กับพวกเราทุกคนที่มาร่วมพิธี ยาวนานพอควร


พิธีในโบสถ์ ค่ะ มีชาวบ้านมาร่วมงานมากมาย ค่ะ
พิธีทอดจุลกฐินเสร็จประมาณ 11.30 น. พวกเราก็รับคุณแม่ศรีกลับ ที่พัก คืนผ้าถุงให้คุณแม่ คุณแม่น่ารัก ผูกสายสายสิญจน์ ที่ข้อมือให้ทุกคนพร้อมอวยพรพวกเราทุกคน จากนั้นพวกเราก็ กราบลาคุณแม่ศรี ขับรถออกจากบ้านพัก ก็ใกล้เที่ยงแล้ว พอดี เจอร้านใกล้วัด เป็นร้านค้าขายอาหารตามสั่ง เสี่ยงดวงว่า อร่อยหรือไม่ ต้องกินรองท้องไปก่อน สั่งอาหารหลายอย่าง เช่น ต้มยำ ผัดผักบุ้ง ปลาทอด เป็นต้น รสชาติ อร่อยใช้ได้ ทุกคนอิ่มท้อง กองทัพเดินด้วยท้อง

อาหารมื้อเที่ยง ค่ะ
พวกเราก็ขับรถไป จอยพาพวกเราแวะบ่อน้ำร้อน แต่ก็ไม่ได้เดินชม อะไร เพราะแดดตอนเที่ยงกว่า ๆ ร้อนมาก แสบผิว ค่าเข้า 20 บาท ด้วย เราเลยไม่เข้า แต่ไปเข้าห้องน้ำที่นี่ อิอิ
จอยพาไปดอยเต่า แต่ไม่มีอะไรน่าสนใจ มีรูปปั้นเต่าตัวใหญ่มาก มีคน ไปปักธูปไหว้ด้วยนะ ฉันกับจอยถ่ายรูปกับเต่า

แล้วก็ขึ้นรถขับกันต่อไป ตีรถมาที่ลำพูน หาที่พัก 1 คืน พรุ่งนี้จึงจะ กลับบ้าน ได้ที่พัก คือ ต้นปาล์มรีสอร์ท ราคาคืนละ 400 บาท นับว่าไม่แพง มีอาหารคือ ข้าวตัม ขนมปังให้กินตอนเช้า ด้วย เมื่อขนกระเป๋าเข้าที่พักแล้ว ตอนนั้น เราผ่านวัด พระบาทห้วยต้ม ได้แวะเข้าไปไหว้พระ เจอเจ้าหน้าที่ ของวัด พาทัวร์ อธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ของวัด ในอุโบสถ เราเข้าไปไหว้พระประธาน ถ่ายรูป จิตรกรรม ฝา ผนังของวัดสวยงามมาก ค่ะ มาชมภาพ ค่ะ


มีเจ้าหน้าที่พาเดินชมวัด พร้อมอธิบาย

ความงดงามของพระบาทห้วยต้ม



ออกจากวัดแล้ว ก็ไปหาร้านอาหารกิน ไปได้สักพัก เจอร้านอาหารชื่อว่า มะพร้าว น่าจะเป็นบ้านแล้วมาทำเป็นร้านอาหาร มีเปิดเพลงให้ฟัง ดูโรแมนติค ดีค่ะ สั่งอาหารหลายอย่างทั้งปลา ทั้งผัดผัก อิ่มมาก ราคาทั้งหมดประมาณ 600 บาทเอง ถูกมาก ค่ะ กลับห้องพัก พักผ่อน พรุ่งนี้จะเดินทางกลับบ้านแล้ว

รายการอาหาร มื้อเย็น ค่ะ
วันนี้ ไม่ต้องตื่นเช้านัก เพราะว่าไม่มีโปรแกรมเที่ยว อาบน้ำแต่งตัว จัดกระเป๋าเรียบร้อย เป็นบ้านพักชั้นเดียว ค่อยยังชั่ว ไม่ต้องลำบากเพื่อนช่วยยกกระเป๋า เรียบร้อยกันแล้ว ก็ออกจากห้องไปที่ที่เขาจัดอาหารเช้า มีข้าวต้มเครื่อง ชา กาแฟ จอยกับวรรณมาหลังเรา ฉันกับเอม กินก่อนเจอน้องคนหนึ่ง กำลังปิ้งขนมปัง เขามีปาท่องโก๋ด้วย เขามีน้ำใจ แบ่งปาท่องโก๋ให้พวกเราด้วย อิ่มข้าวเดินถ่ายรูปบริเวรที่พักมาฝากค่ะ เผื่อใครสนใจไปลำพูน ก็ขอแนะนำที่พักที่นี้ ราคาถูกและมีอาหารเช้าให้กินด้วย

ที่พักคืนสุดท้าย ค่ะ ราคา 400 บาท ค่ะ


ข้าวมื้อเช้าที่ ต้นปาล์ม รีสอร์ท ค่ะ

บริเวณ ที่พัก ค่ะ วันนี้ขับรถไปสบาย ๆ แวะกินข้าวเที่ยงที่ร้าน ตี๋ เหมือนขาไป ไปกินเค้กที่ใกล้กับร้านตี๋

ร้านเค้ก อร่อยดี แต่แพง ค่ะ มื้อนี้ จอยเลี้ยง ค่ะ
กินเสร็จก็ออกเดินทางต่อไป กลับถึงบ้านโดยสวัสดิภาพ ทริปนี้ ได้ความรู้ไปดูเขาปั่นฝ้าย ทอผ้า ย้อมฝ้าย เพื่อไปเย็บเป็นจีวร ซึ่งทำให้เสร็จ ภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อรุ่งขึ้นจะได้ นำไปร่วมงานกฐิน เรียกว่า จุลกฐิน ได้บุญที่ไปร่วม กฐินด้วยกันกับเพื่อน จอย เพื่อนวรรณ ผู้ชอบทำบุญ ร่วมทั้งเอมอร เพื่อนคู่หู เวลาไปไหน เรามักไปด้วยกัน นั่นเองขอบุญกุศลที่ได้ไปไหว้พระ ทอดจุลกฐิน ครั้งนี้ มาฝากเพื่อน ๆ ชาวบล็อก ร่วมอนุโมทนาบุญ ด้วยค่ะ สวัสดี
Create Date : 30 มกราคม 2566 |
Last Update : 31 มกราคม 2566 22:19:35 น. |
|
23 comments
|
Counter : 316 Pageviews. |
 |
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณสองแผ่นดิน, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณกะว่าก๋า, คุณtanjira, คุณเริงฤดีนะ, คุณtoor36, คุณคนผ่านทางมาเจอ, คุณtuk-tuk@korat, คุณทนายอ้วน, คุณหอมกร, คุณSweet_pills, คุณกิ่งฟ้า, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณ**mp5** |
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 31 มกราคม 2566 เวลา:23:03:07 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:5:15:12 น. |
|
|
|
โดย: tanjira วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:6:30:27 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:9:16:07 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:11:54:11 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:15:43:26 น. |
|
|
|
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:19:58:24 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:5:11:41 น. |
|
|
|
โดย: หอมกร วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:7:43:27 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:8:49:00 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:11:48:44 น. |
|
|
|
โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:23:00:10 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:4:45:12 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:15:01:39 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:22:41:37 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:7:04:39 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:19:26:46 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:0:33:33 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:6:56:13 น. |
|
|
|
โดย: **mp5** วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:9:08:21 น. |
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
 |
ฝากข้อความหลังไมค์ |
 |
Rss Feed |
 | Smember |  | ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]

|
เป็นครูสอนภาษาไทยที่เกษียณอายุราชการแล้ว สนใจเรื่องการเขียนหนังสือให้ความรู้ ชอบการท่องเที่ยว หากท่านที่เข้ามาชมและอ่านแล้ว มีความสนใจและต้องการสอบถามเรื่องความรู้ด้านภาษาไทย ถ้ามีความสามารถจะให้ความรู้ได้ ก็ยินดีค่ะ
http://i697.photobucket.com/albums/vv337/dd6728/color_line17.gif |
|
 |
|