bloggang.com mainmenu search




#สุพรรณบุรีมีดีต้องไปโดน !!
เที่ยวแบบเชิงวัฒนธรรมกันบ้างว่ามีอะไรน่าเที่ยวที่สุพรรณบุรี 
#หยุดวันเดียวเราก็เที่ยวได้ 💢💢💢
ทริปนี้มุ่งหน้าไปเลยค่ะที่ ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านพุน้ำร้อน ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
ซึ่งในพื้นที่อำเภอด่านช้างนี้ ได้มีการสำรวจพบร่องรอยกิจกรรมถลุงเหล็กและตะกั่วหลายแห่งกระจายอยู่ในหลายตำบล 
และยังมีโบราณวัตถุและข้าวของเครื่องใช้สมัยโบราณที่ขุดพบ เป็นจำนวนมาก เก็บรักษาไว้ที่วัดพุน้ำร้อนตำบลด่านช้าง 
รวมถึงมีการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชน ที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่พบในพื้นที่และบอกเล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของชาวด่านช้าง
ตั้งแต่ในอดีตยุคหินใหม่จนถึงยุคปัจจุบัน

เที่ยวแบบนี้ลองดูสิ ว่าเราพาไปชมที่ไหนกันบ้าง นั่นคือ
#พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพุน้ำร้อน
#กระบวนการกรรมวิธีทอผ้าซิ่นตีนจกลายโบราณ
#ตลาดถนนคนเดินประชารัฐบ้านพุน้ำร้อน
#อ่างเก็บน้ำหุบเขาวง (ปางอุ๋ง สุพรรณบุรี)

พร้อมแล้วไปเลยค่ะ ไม่ใช่เจ้าถิ่นสุพรรณบุรี ก็เช็คอินได้นะคะ

#กรมส่งเสริมวัฒนธรรม #ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประจำปี2561#ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม #BloggerCulture #BloggerXDCP





เริ่มกันเลยที่ #พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพุน้ำร้อน
สถานที่ตั้ง บ้านพุน้ำร้อน หมู่ที่ 4 ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
ได้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนพุน้ำร้อนให้เป็น #แหล่งเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรม โดยจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนที่จัดแสดง #โบราณวัตถุ ที่พบในพื้นที่และบอกเล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของชาวด่านช้างตั้งแต่ในอดีตยุคหินใหม่จนถึงยุคปัจจุบัน

📌 ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
#ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านพุน้ำร้อน
ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
ติดต่อชุมชน : นายอำพร ยาสุวรรณ
โทรศัพท์ 089-910-9618

ไปดูข้างในกันค่ะว่ามีอะไรจัดแสดงบ้างน้าาา





มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนพุน้ำร้อนให้เป็น แหล่งเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรม
 โดยมีท่านพระครูวิสิฐสุวรรณคุณ (พระอาจารย์เสน่ห์)เจ้าอาวาสวัดเป็นผู้ดูแล 
กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น กะเหรี่ยง ละว้า ลาวครั่ง ที่พุน้ำร้อน
และผ้าทอลายโบราณของชาวบ้าน ที่ พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพุน้ำร้อน

"มรดกป่าไม้ มากมายประเพณี 
หน่อไม้ดี เห็ดโคนหวาน 
แหล่งขวานหิน ถิ่นทอผ้า บ่อน้ำร้อน"

ภายในพิพิธภันฑ์ จะเป็นที่สะสมโบราณวัตถุต่างๆ ที่พบจากแหล่งต่างๆ โดยมักจะพบโบราณวัตถุโดยบังเอิญ 
โบราณวัตถุที่พบส่วนมากเป็นกลุ่มของเครื่องประดับค่ะ เช่น กำไลเปลือกหอย ลูกปัดหินต่างๆ สมัยยุคหินใหม่ ต่างหู 
ซึ่งมีนายสมศักดิ์ อินทร เป็นผู้บริจาคส่วนใหญ่ให้กับทางวัดก่อนที่จะมีการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์โดยสมบูรณ์ 

โดยวัตถุโบราณสิ่งของต่างๆ นั้นจะจัดวางภายในตู้กระจกกันฝุ่น
โดยกระจายไปตามแต่ละหมวดของวัตถุโบราณ พร้อมทั้งติดตั้งป้ายชื่อ เพื่อเพิ่มความรู้ให้กับนักท่องเที่ยวต่างๆ ที่เข้ามาเยี่ยมชม





ภาชนะดินเผาแบบมีปุ่มสี่ด้าน พบที่แถบอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ในพิพิธภัณฑ์บ้านพุน้ำร้อน

จากการที่ค้นหาข้อมูล พบว่า วัตถุโบราณภายในพิพิธภัณฑ์เหล่านี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เรื่อยมามีการพบโบราณวัตถุแบบก่อนประวัติศาสตร์
ในยุคหินเรื่อยมาในหมู่บ้านพุน้ำร้อน บ้านหนองปลากระดี่ บ้านโป่งคอม บ้านทุ่งมะกอก บ้านตะเพินคี่ และบ้านท่าเย็น 
โดยมากแล้วจะอยู่ในบริเวณที่ราบเชิงเขา ที่มีลำห้วยกระเสียวไหลผ่าน 
จึงสันนิษฐานกันว่าบริเวณเหล่านี้น่าจะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่มีความอุดมสมบูรณ์มานานกว่า 3500 ปีมาแล้วโดยประมาณ



นอกจากนั้นเรายังพบชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ที่ถูกบรรจุลงในภาชนะดินเผาสี่หูเคลือบ และหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ 
พบเครื่องมือที่ทำด้วยหิน เช่น แท่นหินบดยาและหินบดยา สมัยทวารวดีซึ่งพบที่บ้านโป่งข่อย ขวานหินที่ได้จากบ้านละว้า บ้านวังควาย 
และเครื่องมือหินอื่นๆ ที่ทำมาจากหินประเภทหินเชิร์ต [Chert] จากบ้านท่าเย็น ภาชนะดินเผา ขวานสำริด 

มีการเพาะปลูกและทำอุตสาหกรรมขวานหินเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งอุตสาหกรรมการถลุงเหล็กที่มีในช่วงสมัยของอยุธยา 
ที่ได้จากหลักฐานร่อยรอยที่พบตะกรันแร่และก้อนดินไฟที่เป็นส่วนประกอบของเตาถลุงเหล็กในพื้นที่ของบ้านโป่งคอม





ข้อดีของการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์หรือแหล่งเรียนรู้ของชุมชนก็คือ  มีส่วนช่วยทำให้เด็กรุ่นใหม่ในชุมชนเกิดความรัก  ความหวงแหน 
 เกิดความเข้าใจถึงที่มาของบรรพบุรุษ ถือเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่าการเรียนในตำรา  
ทั้งนี้การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ไม่ใช่แค่บอกเล่าเรื่องราวกลุ่มคนยุคโบราณ  หรือจัดแสดงเพียงวัตถุโบราณเท่านั้นค่ะ

    แต่ยังรวมไปถึงการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้และสิ่งทอที่ถือเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ  ที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นด่านช้าง 
  โดยเฉพาะคนที่บ้านพุน้ำร้อนที่เป็นคนลาวเชื้อสายลาวครั่ง






#กระบวนการกรรมวิธีทอผ้าซิ่นตีนจกลายโบราณ
(ห่างจากพิพิธภัณฑ์แค่ไม่กี่ก้าวเอง)





พิพิธภัณฑ์ผ้าทอตีนจกลายโบราณ ที่มีแนวคิดจากการพลิกฟื้นวิถีผ้าทอท้องถิ่นให้กลับมาสู่คนรุ่นหลัง 
ได้สวมใส่ และอนุรักษ์ไว้ให้อยู่คู่กับหมู่บ้านพุน้ำร้อน

ซึ่งเป็นเอกลักษณ์สะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่นค่ะ และนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับวิถีชุมชน วัฒนธรรมท้องถิ่น 
ในการผลิตผ้า เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ลองไปสัมผัสกับวิถีชิวิตชาวชุมชนเอง แล้วคุณจะรัก
Create Date :17 สิงหาคม 2561 Last Update :17 สิงหาคม 2561 10:25:34 น. Counter : 2680 Pageviews. Comments :20