bloggang.com mainmenu search
๑๔ เมษายน ๒๕๖๕ จากวัดราชประดิษฐ์ เราเดินต่อมาที่วัดโพธิ์



ผ่านพระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท



ป้อมอนันตคีรี



มองย้อนกลับไปพระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท



ป้อมอนันตคีรี



ป้อมมณีปราการ



ประตูวิจิตรบรรจง



คุ้น ๆ ว่า ตอนนั้น ทางเข้า-ออก วัดมีทางเดียวค่ะ เดินอ้อมกันไป



ป้อมพิศาลสีมา (เดินฝั่งวัดโพธิ์ คู่ขนานกับกำแพงพระบรมมหาราชวัง)



ประตูอนงคารักษ์



อาคารเก่าแถวท่าเตียน



เข้ามาด้านในวัดโพธิ์แล้วค่ะ



๑๑.๐๕ น. วันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๖๕





สรงน้ำพระ



วันนีไม่ได้เข้าไปวิหารพระนอนค่ะ คนเยอะมาก



มีก่อเจดีย์ทรายด้วย



พระมหาเจดีย์ ๔ รัชกาล



คนทำบุญก่อเจดีย์ทรายกันเยอะเลยค่ะ















 ภาพศิลาจำหลักเรื่องรามเกียรติ์ติดตั้งอยู่ระหว่างเสาเฉลียง (เสานางเรียง) ของพระอุโบสถด้านนอกจำหลักเป็นภาพสลักนูนต่ำบนแผ่นหินอ่อนเรื่องรามเกียรติ์มีทั้งหมด ๑๕๒ ภาพ และมีโคลงจารึกบอกเนื้อเรื่องติดไว้ใต้ภาพ แต่ปัจจุบันได้เลือนลางมองเห็นไม่ชัดเจน ภาพสลักศิลาเหล่านี้มาจากภาพหนังใหญ่ตอนต่าง ๆ รัชกาลที่ ๓ ทรงมีพระราชปรารภว่า “หนังใหญ่เป็นการเล่นมหรสพของไทยมาแต่อยุธยาตอนต้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การเล่นหนังใหญ่ต้องใช้ศิลปะชั้นสูงหลายด้าน เพราะเหตุนี้การเล่นหนังใหญ่จึงเป็นของเล่นให้ดีได้ยากนับวันแต่จะโทรมลงไป เพื่อให้อนุชนได้ชมภาพตัวหนังดังกล่าวจึงให้เอาตัวหนังใหญ่มาแกะลงบนแผ่นศิลาให้เหมือนหนังฉลุทุกส่วนติดไว้ให้ชม” ซึ่งช่างได้คัดเลือกเอาแต่เฉพาะตอนที่เห็นว่าจะจำหลักเป็นภาพได้งดงามจึงมีเนื้อเรื่องไม่ต่อเนื่องกันนัก แต่เนื้อเรื่องนั้นได้เริ่มตั้งแต่พระรามตามกวางจากแผนของทศกัณฐ์ที่ออกอุบายให้มารีศแปลงเป็นกวางทองมล่อพระรามจนทศกัณฐ์ลักนางสีดาจนถึงพระลักษมณ์ทำศึกกับมูลพลัม ซึ่งเป็นอสูรตนสำคัญแห่งเมืองปาวตาลที่มาช่วยทศกัณฐ์รบกับฝ่ายพระราม และจบลงที่แผ่นสุดท้ายสหัสเดชะตาย



ถ่ายมาไม่ครบ และไม่ค่อยชัดหรอกค่ะ 







ช่องละ 4 แผ่น ไม่ได้ถ่ายชัด ๆ ทีละแผ่น













ภายในพระอุโบสถ



พระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ นามว่า พระพุทธเทวปฏิมากร ที่ฐานชุกชีก่อไว้ ๓ ชั้น ชั้นที่ ๑ บรรจุพระบรมอัฐิและพระราชสรีรังคารรัชกาลที่ ๑ ไว้ ชั้นที่ ๒ ประดิษฐานรูปพระอัครสาวกทั้งสององค์ฐานชุกชี ชั้นล่างสุดประดิษฐาน พระมหาสาวก ๘ องค์ (พระอรหันต์ ๘ ทิศ)





จิตรกรรมประดับผนังพระอุโบสถเหนือต่างขึ้นไปเขียนเรื่องมโหสถบัณฑิต (มหาบัณฑิตแห่งมิถิลานคร) คอสองในประธานทั้งสองข้างเขียนเรื่องเมืองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช ผนังประตูหน้าต่างเขียนเรื่องพระสาวกเอตทัคคะ ๔๑ องค์บานหน้าต่างด้านในเขียนลายรดน้ำเป็นรูปตราประจำตำแหน่งเจ้าคณะสงฆ์ใน กรุงและหัวเมือง สมัยรัชกาลที่ ๓ ด้านนอกแกะสลักเป็นลายแก้วชิงดวง

























ส่วนมากคนไปวิหารพระนอนเยอะกว่าค่ะ





ด้านหน้าวิหารพระนอน มีสรงน้ำพระพุทธรูป





บริเวณงานมีการสาธิตงานฝีมือ งานประดิษฐ์ หลายซุ้มค่ะ









พระมณฑป (หอไตรจตุรมุข)





ยักษ์วัดโพธิ์ทางเข้าพระมณฑป



น่าจะเป็นต้นโพธิ์นี้ ที่บอกว่าอายุ ๒๐๙ ปี





การแสดงดนตรี และศิลปวัฒนธรรมไทย



ฤาษีดัดตน



พระพุทธชินราชวโรวาทธรรมจักร ประดิษฐานที่พระวิหารทิศใต้



กำลังจะเดินไปท่ามหาราชค่ะ



๑๓.๑๙ น. ถึงแล้วค่ะ







รอเรือบริการฟรีค่ะ จะไปวัดระฆังต่อ



มองไปฝั่งตรงข้าม - โรงพยาบาลศิริราช



ฝั่งเดียวกับท่ามหาราช



วัดระฆังโฆษิตาราม ที่เราจะไป



อาคารราชนาวิกสภา กรมอู่ทหารเรือ





๑๓.๓๗ น. เรือออกจากท่ามหาราชแล้วค่ะ





มองกลับไปที่ท่ามหาราช

Create Date :02 กรกฎาคม 2565 Last Update :2 กรกฎาคม 2565 16:53:43 น. Counter : 912 Pageviews. Comments :0