bloggang.com mainmenu search
ต่อค่ะ ด้วยว่ากิจกรรมใช้เวลาแค่ครึ่งวัน เดินไปถ่ายรูปไป ใครใคร่ฟังวิทยากรก็ฟัง ใครใคร่ถ่ายรูปก็ถ่าย
บล็อกนี้เป็นตอนจบ แต่ในระยะทางจริง หลังจากแยกย้ายกันแล้ว เราเดินเล่นต่ออีกหน่อย



09.43 น. วันที่ 10 เมษายน 2565 หอสมุดมหามกุฏราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร



ฝั่งตรงข้ามวัดบวรนิเวศ



ไม่ได้แวะเข้าพระอุโบสถวัดบวรค่ะ วันนี้มีกิจของสงฆ์ภายใน



ทวารบาลรูปเซี่ยวกาง (เสี้ยวกาง)





แม่ค้าขายพวงมาลัย หน้าวัดบวร



อาคารบริเวณถนนสิบสามห้าง



เกาะกลางถนนเป็นสวนสาธารณะขนาดเล็ก





ถนนสิบสามห้างเป็นวงเวียนที่เป็นจุดบรรจบกันของถนนตะนาว, ถนนรามบุตรี, ถนนตานี และถนนบวรนิเวศน์ ที่ผ่านหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร





มุมมองจากนอกกำแพงวัด



ตึกวรพรต  อาคารก่ออิฐถือปูนด้านทิศตะวันออกของพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร อาคารหลังนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2475
มีลักษณะเป็นอาคารสองชั้น ยาว 8.7 เมตร กว้าง 3.88 เมตร ราคา 1,900 บาท ด้วยทุนทรัพย์ของพระวรพรตบำรุง (ฟื้น พูลสุข) จึงตั้งชื่อว่า "วรพรต"



ตึกแถวบริเวณถนนตะนาวช่วงบางลำพู  อาคารเป็นตึก 2 ชั้น หลังคามุมกระเบื้องว่าวมีขอบสัน หลังคาอาคารชั้นล่างเปลี่ยนจากสภาพเดิม
แต่ข้างหน้ายังคงเป็นบานประตูไม้แบบบานเฟี้ยมและเคยมีชายคาปูคลุมทางเดิน ชั้นบนยังคงสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง 



แต่ละคูหามีบานหน้าต่าง 2 ช่อง เป็นบานไม้แบบลูกฟักกระดานดุน ช่องแสงเหนือขอบบนของหน้าต่างเป็นไม้ฉลุลาย
หน้าต่างแต่ละบานมีกันสาดติดไม้ฉลุลายที่ปลายมีเสาหลอกปูนปั้นทรงสี่เหลี่ยมไม่มีหัวเสา เซาะร่องตามแนวนอนคั่นแต่ละคูหา



ถนนรามบุตรี



ช่วงกลางวันก็จะเงียบ ๆ หน่อย





เห็นว่ายังใช้งานได้อยู่ค่ะ





ป้ายชื่อถนน...เหมือนซอยมากกว่าเนาะ


 

Route ที่ โพ้นทะเลอพยพ คบหาสมาคม A

RPST : PHOTO WALK วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน 2565 (รอบเช้า)

เวลา 08.00-11.00 พบกันที่หอศิลป์ราชดำเนิน

ถนนข้าวสาร

วัดบวร

บางลำพู



เดี๋ยวเราไปวัดชนะสงครามกันต่อค่ะ



ตรงนี้มีร่มหน่อย พักร้อน วิทยากรก็เล่าเรื่องไปด้วยค่ะ







10.11 น.



พระบวรราชานุสาวรีย์สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ผู้ทรงสถาปนาวัดชนะสงคราม ประดิษฐานอยู่ในศาลด้านหน้าพระอุโบสถ




 

วัดชนะสงคราม เป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า ‘วัดกลางนา’ เพราะในอดีตรอบ ๆ วัดเป็นทุ่งนากว้างใหญ่ ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งอาราม และเปลี่ยนชื่อวัดเป็น ‘วัดตองปุ’

ซึ่งเหตุที่ตั้งชื่อวัดนี้ว่าวัดตองปุนั้นมี 2 กระแส กระแสแรกกล่าวว่า ชื่อตองปุมีที่มาจาก ‘หมู่บ้านตองปุ’ หมู่บ้านของชาวมอญในหงสาวดีที่ต่อมาคนเหล่านี้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณวัด แต่อีกกระแสหนึ่งกล่าวว่ามาจากชื่อ ‘วัดตองปุ’ วัดพระรามัญในสมัยอยุธยา ซึ่งมาจากการที่รัชกาลที่ 1 ทรงตั้งพระราชาคณะฝ่ายรามัญสำหรับพระนคร โดยให้พระสงฆ์ฝ่ายรามัญมาอยู่ที่วัดนี้นั่นเอง

แต่ไม่ว่าที่มาจากที่ใด ต่อมาหลังจากทำสงครามชนะพม่า 3 ครั้ง นับแต่สงครามเก้าทัพ พ.ศ. 2328 สงครามท่าดินแดงและสามสบ พ.ศ. 2329 และสงครามป่าซาง นครลำปาง พ.ศ. 2330 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดแห่งนี้ใหม่เป็น ‘วัดไชยชนะสงคราม’ แต่ภายหลังตัดเหลือเพียง ‘วัดชนะสงคราม’ และใช้มาจนถึงปัจจุบัน 

คำว่า ‘ตองปุ’ แปลว่า ที่รวมพลทหารไปออกรบ

วัดชนะสงครามแห่งนี้ต่อมาได้รับการทำนุบำรุงกันมาเรื่อย ๆ ในทุกรัชกาล ทั้งจากเจ้านายฝ่ายวังหน้าเอง เช่น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ โปรดให้รื้อพระที่นั่งพิมานดุสิตาและให้นำไม้มาสร้างกุฏิที่วัดแห่งนี้ หรือเจ้านายฝ่ายวังหลวงอย่าง สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานอุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้ก่อสร้างที่บรรจุอัฐิที่เฉลียงท้ายพระอุโบสถวัดชนะสงคราม โดยกั้นผนังระหว่างเสาท้ายพระอุโบสถ ซึ่งการก่อสร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 7 เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวัดนี้ได้เป็นอย่างดี   https://readthecloud.co/chanasongkhram-temple/
 



หน้าบันเจาะเป็นช่องหน้าต่าง บานหน้าต่างเป็นลายเทพพนมเหนือบานหน้าต่างเป็นลายพระนารายณ์ทรงครุฑ ลวดลายพื้นหน้าบันแตกต่างกันคือ หน้าบันด้านหน้าลายพื้นเป็นลายเทพพนม ส่วนหน้าบันด้านหลังลายพื้นเป็นลายก้านแย่งใบเทศ ประดับกระจกสีปิดทอง วัดส่วนใหญ่ กรอบจะมีนาคสะดุ้ง ทำให้กรอบหน้าบันมีความคดโค้ง แต่ของที่นี่ทำเพียงรวยระกา ตัดนาคสะดุ้งออก จึงกลายเป็นกรอบที่ยาวลงมาไม่คดโค้งคล้ายหน้าจั่วบ้านทั่ว ๆ ไป ซึ่งนี่ถือเป็นลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของงานสถาปัตยกรรมสกุลช่างวังหน้าที่พบได้ตามวัดหรือวังที่สร้างโดยเจ้านายฝ่ายวังหน้า



งานสกุลช่างวังหน้าสวยงามกว่าสกุลช่างวังหลวง



คันทวยรองรับชายคา



ภายในพระอุโบสถ











พระประธานในพระอุโบสถ มีนามว่า “พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ มเหทธิศักดิ์ ปูชนียะชยันตะโคดม บรมศาสดา อนาวรญาณ” หรือชาวบ้านเรียกขานว่า “หลวงพ่อปู่” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2.50 เมตร สูง 3.50 เมตร





เบื้องหลังพระประธานมีประภามณฑลโพธิพฤกษ์และภาพจินตนาการ เหนือพระประธาน มีฉัตร 7 ชั้นกางกั้น อันหมายถึงพระสัปตปฎลเศวตฉัตรของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล



โดยรอบพระประธานมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย 15 องค์ แต่ละองค์หน้าตักกว้าง 0.95 เมตร สูง 1.20 เมตร และหลังพระประธานมีรูปปั้นพระมหากัจจายนะ 1 องค์















สมัยรัชกาลที่ 6 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงได้พระราชทานอุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้ก่อสร้างที่บรรจุพระอัฐิที่เฉลียงท้ายพระอุโบสถวัดชนะสงคราม 


 

บริเวณนี้มีการทำเฉลียงกั้นห้องทำเป็นคูหาบรรจุอัฐิเจ้านายฝ่ายวังหน้า โดยแบ่งเป็นออกเป็น 5 กรอบ แต่ละกรอบจะมีช่องทรง 6 เหลี่ยมบรรจุพระอัฐิโดยมีชื่อของเจ้านายฝ่ายวังหน้าแต่ละพระองค์อยู่

เช่น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์เป็นเพียงพระองค์เดียวที่ช่องบรรจุพระบรมอัฐิของท่านแยกออกมาต่างหากไม่ได้อยู่ในกรอบ แต่อยู่ระหว่างกรอบที่ 3 และ 4 และมีกรอบเป็นของพระองค์เอง

หรือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่องของท่านจะอยู่ในกรอบที่ 2 ในช่องของท่านเขียนว่า ‘พระองค์เจ้าชายฤกษ์ (สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์)’ หรือ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย ช่องของท่านจะอยู่ในกรอบที่ 5 ในช่องท่านเขียนว่า ‘พระองค์เจ้าชายรัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ’



ช่องบรรจุพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว













อีกอย่างที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของงานสถาปัตยกรรมสกุลช่างวังหน้า คือ ใบเสมา ตามปกติแล้ว ใบเสมาจะตั้งอยู่บนฐานหรือในซุ้มล้อมรอบพระอุโบสถทั้ง 8 ทิศ ใบเสมาของที่นี่ก็อยู่ทั้ง 8 ทิศเหมือนกัน และมีใบเสมาบนฐานตั้งอยู่ข้างหน้าพระอุโบสถด้วย แต่มีเพียงแค่ใบเดียวเท่านั้น ในขณะที่ใบเสมาใบอื่น ๆ อยู่บนผนังเลย โดยข้างนอกจะอยู่ที่มุมทั้งสี่ ส่วนด้านในจะอยู่ที่ด้านทั้งสี่ นี่จึงเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์และความไม่เหมือนใครของงานสถาปัตยกรรมสกุลช่างวังหน้า







ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มเรือนแก้วปูนปั้นเป็นลายกนกประดับด้วยกระจกสีต่าง ๆ







จุดธูปไหว้พระด้านนอกพระอุโบสถค่ะ



พระเจดีย์ทรงกลมอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ





รอยพระพุทธบาท สร้างใหม่ ปี พ.ศ. 2545







เจดีย์พระบรมธาตุ ศิลปะรัตนโกสินทร์ มี 3 ชั้น ชั้นล่างเป็นหอระฆังและหอกลอง ชั้นที่สองเป็นหอพระพุทธรูป และชั้นบนสุดเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ



ทางเข้าวัด และลานจอดรถด้านหลัง



เพิ่งเคยเดินออกมาทางนี้ค่ะ



กุฏิวัดชนะสงคราม









มองกลับไปทางเจดีย์พระบรมธาตุ





ใกล้ทางออกเล็ก ๆ ที่จะทะลุไปซอยวัดชนะสงคราม มีต้นโพธิ์อายุ 200 ปี









พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย



แถวนี้ นักท่องเที่ยวต่างชาติเยอะ (ถ้าเป็นช่วงก่อนโควิด-19 คงคึกคักเนาะ)



บ้านพระอาทิตย์



หอศิลป์ ณ บ้านเจ้าพระยา



สิ้นสุดกิจกรรมตรงจุดนี้ ในเวลา 11.00 น. 

Create Date :19 พฤษภาคม 2565 Last Update :19 พฤษภาคม 2565 15:48:48 น. Counter : 1111 Pageviews. Comments :0