"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
14 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 

บันทึกของผู้เฒ่า - เปิดใจนักเขียนชรา (๔)

บันทึกของผู้เฒ่า

เปิดใจนักเขียนชรา (๔)

๒๕ ก.ค.๕๖ (๔)

วันนี้เป็นวันพฤหัสบดี นัดผู้ช่วยสองคนเหมือนเมื่อวาน คราวนี้พบเจ้าหน้าที่ ผลของการเจรจาปรึกษาเรื่องการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลใน รพ.เอกชน ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำเป็นอย่างดี

และเจ้าหน้าที่สาว (สวย) ท่านนี้ก็เป็นผู้ทำเรื่องนี้จากโรงพยาบาลไปยังหน่วยเบิกค่ารักษาพยาบาลของรัฐด้วย เราจึงมอบเอกสารทั้งหมดที่เตรียมไปให้ เธอดำเนินการต่อไป เมื่อเรื่องถึงที่สุดทราบว่า เบิกได้หรือไม่ ถ้าได้จะได้เท่าไร หรือเมื่อทางสำนักงานปรกันสุขภาพแห่งชาติ ส่งเงินมาให้ทางโรงพยาบาลแล้ว เธอจะแจ้งทางโทรศัพท์ ให้ไปรับเงินที่ฝ่ายการเงินของโรงพยาบาลเอง เราก็ขอบคุณเจ้าหน้าที่และลากลับไปรอฟังผลที่บ้านได้

เมื่อมานึกถึงความหลังต่อ ในขณะที่เคว้งคว้าง ท่ามกลางโลกอันกว้างขวางของกรุงเทพมหานครในฐานะพลทหารเกณฑ์ เงินเดือน ๔ บาท เบี้ยเลี้ยงวันละดูเหมือนสองบาท รู้สึกลาง ๆ ว่าเมื่อหักค่าข้าวสามมื้อแล้วเหลืออีกห้าสลึง ให้ซื้อกับข้าวแม่ค้ามากินสามมื้อ เพราะเป็นหน่วยเล็กนิดเดียว จึงจ่ายแต่ข้าวเปล่า จำได้ว่าครั้งหนึ่งเคยซื้อปลาทูทอดตัวละ ๕๐ สตางค์ ขอน้ำปลาของหมวด สูทกรรมราดให้นอง แล้วแกะกินมื้อกลางวันกับมือเย็น มื้อละซีก เงินที่เหลือก็เก็บสะสมไว้ เวลาได้ลาเสาร์อาทิตย์ จะได้ซื้อบุหรี่ตราพระจันทร์มาสูบ

เคราะห์ยังดีที่ท่านผู้มีพระคุณเวทนาให้เบี้ยเลี้ยงพิเศษวันเสาร์อาทิตย์ สัปดาห์ละ๑๐ บาท ก็พอจะแบ่งปันไปดูหนังได้ที่ต่ำสุด ๔.๕๐ บาท เบี้ยเลี้ยงพิเศษนี้จะได้รับทุกสัปดาห์ตลอดเวลา ๒ ปีกว่าจะปลดเป็นกองหนุน กลับไปเป็นข้าราชการวิสามัญ เงินเดือนประมาณ ๔๕๐ บาท ที่กรมพาหนะทหารบกตามเดิม

ในเวลาที่เป็นพลทหารนี้ ผมก็ยังเขียนหนังสือ ส่งสำนักพิมพ์เก่าที่เคยคุ้นชื่อกันอยู่ตามเดิม แต่เปิดสมุดบันทึกทบทวนดูแล้ว ระหว่าง พ.ศ.๒๔๙๗ ได้เขียนหนังสือได้ลงพิมพ์ เพียงเรื่องเดียวโดย หนังสือพิมพ์เมืองหลวงฉบับวันอาทิตย์ ได้ค่าเรื่องดูเหมือน ๑๒๐ บาท

เมื่อเลื่อนขึ้นเป็นพลทหารปี ๒ ในเดือน ธ.ค.๙๗ ทางการประกาศรับสมัครพลทหารกองประจำการปีที่ ๒ เข้าเป็นนักเรียนนายสิบ จึงขออนุญาตผู้บังคับกองร้อยไปสมัครทันที ท่านก็อนุญาต และลงชื่อในใบรับรองความประพฤติให้ พร้อมกำชับว่าสมัครเหล่าทหารราบนะ ผมก็รับคำแต่เวลาสมัครเขามีแค่สามเหล่า คือแพทย์ สื่อสาร และปืนใหญ่ ผมเลือกสื่อสาร เพราะคิดว่าคงจะเบากว่าปืนใหญ่ และไม่น่าเสียวไส้เท่าแพทย์ แม้ไม่ได้กลับมาบอกผู้บังคับกองร้อย แต่ก็จะระลึกถึงพระคุณของท่านจนวันตาย

ในระหว่างเป็นนักเรียนนายสิบ ได้รับเงินเดือน ๑๒ บาท เบี้ยเลี้ยงเท่าพลทหาร แต่หักร่วมหมด เพราะเลี้ยงอาหารทั้งสามมื้อ ผมก็ได้เบี้ยเลี้ยงพืเศษ อาทิตย์ละ ๑๐ บาทนั้นยาไส้ไปได้ตลอดหลักสูตร ๑ ปี

แต่ฝึกแบบพลทหาร ๖ เดือน อีก ๖ เดือนส่งไปฝึกงานที่หน่วยซึ่งจะบรรจุ ผมอยู่ กองกำลังพล กอง บัญชาการ กรมการทหารสื่อสาร ทำหน้าที่เหมือนภารโรงที่ กรมพาหนะทหารบกไม่มีผิด คือมาเปิดสำนักงานแต่เช้า ช่วยภารโรงทำความสะอาด แล้วไปเข้าแถวกินข้าวที่โรงเลี้ยง

๐๙.๐๐ น. ไปประจำที่กอง ทำหน้าที่เสมียน กลางวันกลับไปกินข้าวที่โรงเลี้ยง แต่เย็นเลิกงานแล้วไม่ได้กลับบ้าน ต้องกลับกองร้อย เข้าแถวไปกินข้าวโรงเลี้ยง อบรมและนอนบนกองร้อยเหมือนนักเรียนนายสิบตามเดิม

ระหว่างนี้ผมก็หาเวลาเขียนหนังสือส่ง หนังสือพิมพ์เท่าที่จะมีเวลาว่างบ้าง ส่งเรื่องขำขันไปให้สถานีวิทยุ ท.ท.ท.บ้างตามที่บันทึกไว้เห็นว่าได้รับการตอบรับถึง ๕ เรื่อง

เมื่อครบกำหนด ๑ ปี ธ.ค.๙๘ ก็ได้รับการบรรจุเป็นนายสิบ ผมสอบได้ ๘๐ % ได้รับยศสิบโท และมีสิทธิ์ไปเรียนหลักสูตรนายร้อยสำรองด้วย แต่เผอิญไม่สำเร็จชั้น ม.๖ จึงมีคุณสมบัติไม่ครบต้องเป็น เสมียน กองกำลังพล ตามที่ได้รับการบรรจุแต่แรก

จึงเป็นการเริ่มต้นรับราชการใหม่อีกครั้ง จากครั้งก่อนที่เป็น ลูกจ้าง และข้าราชการวิสามัญ คราวนี้เป็นข้าราชการประจำ ซึ่งดีกว่าข้าราชการสามัญชั้นต่ำกว่าสัญญาบัตร ที่เพื่อน ๆ ซึ่งอยากเป็นนักเขียนในกรมพาหนะทหารบกเป็นเสียอีก เพราะได้รับจ่ายเครื่องแบบปีละ ๒ ชุด ตั้งแต่หมวกถึงรองเท้าอีกด้วย

จึงพอจะเห็นอนาคตราง ๆ ว่าถ้ารับราชการต่อไปอีก ๔๐ ปีโดยไม่มีด่างพร้อย ก็น่าจะเกษียณอายุราชการในยศ จ่าสิบเอก รับเงินเดือนร่วม ๆ ร้อยโท.

แต่ จ่าสิบเอก รุ่นพ่อรุ่นลุง ที่เกษียณอายุในยศ ร้อยเอก พันตรี และพันโท ก็พอมีให้เห็น

เป้าหมายแรกที่จะต้องคว้าไว้ให้ได้ก็คือรับราชการให้ครับ ๑๕ ปี มียศ จ่าสิบเอกมาแล้ว ๕ ปี ก็จะมีสิทธิ์เข้าสอบ เพื่อเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตร แต่ถ้าภายหน้าเขาออกกฎระเบียบว่าผู้เป็นนายทหารสัญญาบัตรจะต้องจบ ม.๖ เราก็อดอีกตามเคย

ดังนั้นเมื่อถึง พ.ศ.๒๕๐๐ กึ่งพุทธกาล เป็นสิบเอก จึงได้สมัครเข้าเรียน โรงเรียนผู้ใหญ่ที่ ร.ร.แม้นศรีพิทยาลงกรณ์ สี่แยกสะพานดำ เรียนได้ ๘ เดือน ก็สอบรวมทั่วประเทศ ผ่าน ๕๐ % จบประโยคมัธยมต้นในลำดับที่ไม่ถึง ๑๐๐

(ยังมีต่อ)



โดย: เจียวต้าย วันที่: 9 สิงหาคม 2556 เวลา:7:03:52 น.
<>
Comment No. 8
ลบ comment
เปิดใจนักเขียนชรา

๒๖ ก.ค.๕๖ (๕)

วันนี้เป็นวันศุกร์หวนรำลึกถึงชีวิตทหาร ที่อยากจะเป็นนักเขียนต่อใน พ.ศ.๒๔๙๘ – ๒๕๐๐ สอบเทียบ ม.๖ ได้

พ.ศ.๒๕๐๑ ได้เงินเดือนชั้น ๖ (๖๕ บาท) ได้เลื่อนยศเป็น สิบเอก มีผลงานการเขียนเรื่ลงลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์หนังสือได้ ๑๕ ราย แม้ไม่มีค่าตอบแทนก็ไม่เป็นไร ส่วนใหญ่นิตยสารทหารสื่อสาร ไม่มีงบประมาณค่าเรื่อง เพราะเป็นข้าราชการในกรมด้วยกันทั้งนั้น

เป็นเรื่องบังเอิญที่ในกรมการทหารสื่อสาร มีการออกหนังสือพิมพ์ถึงสองฉบับคือ นิตยสารทหารสื่อสาร เป็นหนังสือพิมพ์ประจำเหล่าทหารสื่อสาร มีสมาชิกในหน่วยทหารสื่อสาร ทุกกองพล และ กองทัพอีกฉบับหนึ่งคือ วปถ.ปริทรรศน์ เป็นหนังสือของสถานีวิทยุกระจายเสียงประจำถิ่น มีสมาชิก เกือบทุกจังหวัดที่ตั้งสถานีทั่วประเทศ ผมจึงมีสนามที่จะลงเรื่องสั้นและบทความบทกลอนมากขึ้น และง่ายขึ้น เพราะเป็นพวกเดียวกันเอง แรก ๆ ก็ส่งให้ วปถ.ปริทรรศน์ ต่อมาถึง พ.ศ.๒๕๐๓ จึงส่งไปลง ที่นิตยสารทหารสื่อสาร และก็จะได้ลงพิมพ์ทุกเรื่อง การส่งให้หนังสือพิมพ์ภายนอกจึงลดลง ในระยะที่ครบรอบ ๑๐ ปีแห่งการเขียนหนังสือ จึงมีผลงานทั้งหมด ๖๙ ชิ้น และเริ่มทศวรรษที่ ๒ ตั้งแต่ ๒๕๐๒ – ๒๕๑๑ ซึ่งได้เข้าไปช่วยงานในกองบรรณาธิการ และมีเรื่องของตนเองลงพิมพ์ โดยไม่ต้องมีผู้อื่นมาพิจารณาอีก เพราะทำหน้าที่แทนผู้ช่วยบรรณาธิการทุกเรื่อง ในรอบ ๑๐ ปีที่ ๒ มีผลงาน ๑๒ ชิ้น

ในราชการทหารสื่อสาร ยังอยู่ในยศ สิบเอก เช่นเดิม แต่ได้ไปช่วยราชการ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก สนามเป้า ช่อง ๗ ขาวดำ ตั้งแต่ ก.ค.๒๕๐๒ ในตำแหน่ง พนักงานกล้องโทรทัศน์ ตั้งแต่บ่ายจนปิดสถานี

พ.ศ.๒๕๐๔ ได้รับเงินเดือนขึ้นประจำปีสองหน คือเดิมได้เดือน ม.ค.๐๔ แต่ทางราชการเปลี่ยนแปลงการขึ้นปีงบประมาณ เป็น ต.ค. จึงได้เลื่อนเงินเดือนอีกครั้งหนึ่ง เป็นชั้น ๑๑(๗๕๐ บาท เลื่อนยศเป็น จ่าสิบโท

พ.ศ.๒๕๐๕ ได้เงินเดือนชั้น ๑๒ (๘๐๐ บาท) ยศ จ่าสิบเอก ซึ่งจะต้องรับชั้นนี้ต่อไปจนครบ ๕ ปี พ.ศ.๒๕๑๐ จึงจะมีสิทธิ์ สอบคัดเลือกเพื่อนเลื่อนเป็นนายทหาร

ผลงานการเขียนเรื่องที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ลงในนิตยสารทหารสื่อสาร เป็นเรื่องหลายประเภท และหลายนามปากกา เช่น เรื่องสั้น ใช้ “เพทาย” หรือ “เพทาย ทิพยสุนทร” เรื่องขำขัน “พัชรรัตต์” สารคดี “วรพจน์ เบ็ดเตล็ด “จ.จาน” เขียนเพื่อเป็นการฝึกฝนและพัฒนาฝีมือของตนเอง

จนถึง พ.ศ.๒๕๑๐ ได้เข้าศึกษาหลักสูตร นายสิบอาวุโส สอบได้ที่ ๑๑ และ พ.ศ.๒๕๑๑ ได้สอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนเป็นนายทหารได้ที่ ๑ จากจำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมด ๒๐๐ ราย และผู้ที่มีสิทธิ์จะได้เลื่อนยศเป็นนายทหารสัญญาบัตรนั้น ทางกองทัพบกบกกำหนดให้ทหารสื่อสี่เลื่อนได้ในปีนั้น เพียง ๕ คน ที่ ๑ ถึงที่ ๕ เท่านั้น

ผู้ที่ได้เลื่อนเป็นนายทหารนั้น จะรับเงินเดือนชั้นเดิม ซึ่งอยู่ในระดับร้อยตรีทั้งนั้น เว้นแต่ผมเองได้ปรับเงินเดือน เมื่อก่อนสอบอยู่ในระดับร้อยโท กองทัพบกจึงให้ติดยศร้อยตรีเพียง ๖ เดือน แล้วก็เลื่อนเป็น ร้อยโท ได้เลย

อนาคตที่ว่าเห็นอย่างเลือนรางนั้น จึงได้ค่อยแจ่มชัดขึ้น ว่าอย่างน้อยก็เกษียณอายุ ไม่ต่ำกว่า ร้อยเอก อย่างแน่นอน

๒๗ ก.ค.๕๖ (๖)

ถึง พ.ศ.๒๕๑๒ ได้เงินเดือน ร.ท.อันดับ ๑ ชั้น ๖ (๑๑๕๐ บาท) และต่อไปก็ได้เลื่อนเงินเดือนปีละขั้น จนถึง พ.ศ.๒๕๑๖ ได้รับเงินเดือน ร.อ.อันดับ ๑ ชั้น ๑๐ (๑๕๘๐ บาท) ติดยศร้อยเอกเมื่อ อายุ ๔๒ ปี ยังมีเวลาราชการเหลืออยู่ ๑๘ ปี

ในด้านงานเขียนหนังสือ จาก พ.ศ.๒๕๑๑จนถึง พ.ศ.๒๕๒๑ มีผลงาน ๕๓ ชิ้น

แต่ร่างกายทรุดโทรม เพราะงานกล้องเป็นงานหนักมาก โรคเก่าคือไส้เลื่อนซึ่งเป็นมาแต่กำเนิด และได้รับการผ่าตัดข้างขวาครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘ ก่อนที่จะเป็นนักเรียนนายสิบ ได้กำเริบจนทำงานไม่ไหว จึงขอลากลับมารับราชการทางกรมการทหารสื่อสาร เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕ เป็นประจำกองกำลังพลตามเดิม และได้รับการผ่าตัดข้างซ้ายเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ จนเป็นปกติ

พ.ศ.๒๕๑๙ ขณะที่เป็น ร้อยเอก รับเงินเดือนเต็มขั้น ก็ได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการ สถานีโทรทัศน์กองทัพบก สนามเป้า ช่อง ๕ ในปัจจุบัน ในตำแหน่ง รองหัวหน้าฝ่ายกำลังพล ททบ. ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้บริหารที่มีอาวุโสย้อยที่สุด แต่ในปี พ.ศ.๒๕๒๑ ก็ได้รับเงินเดือน พ.ต.อันดับ ๑ ชั้น ๑๕ (๒๖๘๐ บาท) และติดยศ พันตรี เมื่อ ๑ ต.ค.๒๑

ส่วนในด้านงานเขียนก็ครบรอบ ๓๐ ปี มีผลงานสู่สาธารณชนอีก ๕๔ ชิ้น ขณะนี้ผลงานที่ได้รับการลงพิมพ์แล้วรวม ๑๓๕ ชิ้น

เมื่อได้รับตำแหน่งผู้บริหารงานก็เบาลง แต่ได้เบี้ยเลี้ยงมากขึ้น เทียบเท่าอัตราที่ได้รับทางกรมการทหารสื่อสาร แสงสว่างที่ว่าเรืองรองนั้นก็สว่างจ้าขึ้น ความขาดแคลนที่มีมาตลอดเวลา ๔๐-๕๐ ปี ก็หายไป มีความเป็นอยู่อย่างสุขสบาย กับครอบครัว ซึ่งได้แต่งงานตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๗ เมื่อมียศ จ่าสิบเอก และภรรยาเป็น สิบเอกหญิง เสมียนในกองกำลังพลนั่นเอง มีลูกชาย ๓ คน แต่คนแรกเสียชีวิตตั้งแต่อายุได้ ๖ วัน คงเหลือ ๒ คน คนโตอายุ ๑๓ ปี คนหลังอายุ ๙ ปี และมีความหวังว่าคงจะไม่กลับไปมีชีวิตยากจนข้นแค้นเหมือนเมื่อ ๕๐ ปีก่อนอีกแล้ว

ก่อนจะครบรอบ ๑๐ ปีที่ ๔ ของการเขียนหนังสือ ถึง พ.ศ.๒๕๒๘ ได้รับเงินเดือน พ.ท.ระดับ น.๓ ชั้น ๗ (๙๓๘๕- ๗๑๐) และเลื่อนยศเป็น พันโท และเมื่อครบรอบ ๔๐ ปีของการเขียนหนังสือ พ.ศ. ๒๕๓๑ ก็มีผลงานอีก ๓๙ ชิ้น รวม ๑๗๓ ชิ้น

และเมื่อถึง พ.ศ.๒๕๓๓ สิ่งที่มหัศจรรย์ก็เกิดขึ้น โดยได้รับการส่งชื่อเข้าคัดเลือกเพื่อเลื่อนเป็น พันเอก และได้รับอนุมัติจาก กองทัพบก เป็นรุ่นแรกของนายทหารที่ไม่ได้มีปริญญา จึงได้รับเงินเดือน พ.อ.ระดับ น.๔ ชั้น ๑๓ (๑๘๑๐๐ – ๗๑๐) และเลื่อนยศเป็น พันเอก โดยได้แต่งเครื่องแบบสวมหมวกมีช่อชัยพฤกษ์ อยู่เพียง ๒ ปี พอถึง พ.ศ.๒๕๓๕ ก็ครบเกษียณอายุราชการ รับบำนาญสังกัด มณฑลหารบกที่ ๑ ตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๕ โดยมีอายุจริง ๖๑ ปีกับ ๖ เดือน และได้รับเงินเดือนแถมอีก ๑ ชั้น สำหรับคำนวนบำนาญด้วย

ในด้านงานเขียนขณะที่ออกจากราชการ มีเรื่องได้รับการพิมพ์ ถึงเดือน ตุลาคม ๒๕๓๕ ซึ่งครบรอบ ๔๔ ปี รวม ๒๔๐ ชิ้น

.ถ้าจะนับว่าการเกษียณอายุราชการเป็นจุดสูงสุดของการรับราชการ ผมก็ได้มาถึงจุดสุดยอดของพลทหารกองประจำการที่สามารถจะขึ้นมาถึงได้แล้ว ส่วนงานเขียน คงยังมีต่อไปอีกจนกว่าจะหมดแรงหรือตายไปก่อน.

๒๘ ก.ค.๕๖ (๗)

เมื่อหมดห่วงเรื่องราชการแล้ว ก็ตั้งหน้าตั้งตาเขียนหนังสือต่อไป เพราะได้วางแผนไว้ก่อนที่จะเกษียณ ว่าจะเอานิยายอิงพงศาวดารจีนเรื่องสามก็ ของท่าน เจ้าพระยาพระคลัง (หน) มาเรียบเรียงให้เป็นสามก๊ก ฉบับลิ่วล้อ ใช้นามปากกา “เล่าเซี่ยงชุน” ยัดเยียดเข้าไปแทรกในตลาดหนังสือให้ได้ และได้ลงมือตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๔ จนถึง พ.ศ.๒๕๔๑ ครบรอบการเขียนหนังสือ ๕๐ ปี อายุ ๖๗ ปี ได้รับการจัดพิมพ์สามก๊กฉบับลิ่วล้อ โดยสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น ได้ค่าตอบแทนมากที่สุดจนแทบไม่น่าเชื่อ เช่นเดียวกับการได้ยศพันเอกในทางทหาร

สามก๊ก ฉบับลิ่วล้อ เรียบเรียงใหม่จาก ฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) โดย “เล่าเซี่ยงชุน”
จำนวน ๓ เล่ม เล่มที่ ๑ จำนวน ๒๖ ชุด รวม ๔๐ ตอน เล่มที่ ๒ จำนวน ๒๓ ชุด รวม ๓๔ ตอน
เล่มที่ ๓ จำนวน ๑๘ ชุด รวม ๓๖ ตอน รวมทั้งสิ้น ๖๗ ชุด ๑๑๐ ตอน ได้ค่าตอยแทน ๘๔,๐๐๐ บาท

ชีวิตของผมทั้งทางราชการ และส่วนตัวได้มาถึงจุดสูงสุดแล้ว ทั้งสองด้าน เหมือนตัวทากจากพื้นดิน ที่ค่อยไต่ขึ้นกำแพงอย่างช้า ๆ ไม่เคยหยุดพัก และไม่เคยถอยหลัง มีแต่คืบหน้าไปเรื่อย ๆ โดยไม่ย่อท้อ แม้จะไม่รู้เลยว่าข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เมื่อถึงอายุ ๖๗ ปี ก็บรรลุถึงที่หมายปลายทาง เหมือนนิทานชาดกเรื่องพระชนก

ตามธรรมดาเมื่อถึงจุดสุดยอดแล้วก็จะต้องค่อย ๆ ลดต่ำลง แต่ในการเขียนหนังสือของผมแล้ว ยังคงเดินหน้าต่อไป ในด้านการเขียนหนังสือ มิได้มุ่งหวังสิ่งอื่นใด นอกจากการได้ทำในสิ่งที่รักและหลงใหลมาแต่วัยเด็ก และจะทำไปจนกว่าจะสิ้นแรง หมดกำลัง และหมดลมหายใจ.

##############




โดย: เจียวต้าย วันที่: 14 สิงหาคม 2556 เวลา:8:15:46 น.




 

Create Date : 14 สิงหาคม 2556
11 comments
Last Update : 19 มีนาคม 2558 9:07:58 น.
Counter : 929 Pageviews.

 

ขอบพระคุณพี่ปู่มากค่ะ
ขออภัยที่ไม่ได้มาดูหน้านี้อีกเลย เพราะมีปัญหา ที่เปิดแล้วมันหมุน

ใช้อีกเครื่อง มาก็อปลง แต่ขยับไม่ได้ จะหาทางขยายตัวอักษรให้มันโตกว่านี้อยู่ค่ะ

นาถเองก็มองไม่ค่อยเห็น พอขยายที่หน้าจอตนเองแล้วมันแฮงก์ค่ะ

 

โดย: นาถศรี (sirivinit ) 14 สิงหาคม 2556 9:20:16 น.  

 

"...แล้วแกะกินมื้อกลางวันกับมือเย็น มื้อละซีก เงินที่เหลือก็เก็บสะสมไว้ เวลาได้ลาเสาร์อาทิตย์ จะได้ซื้อบุหรี่ตราพระจันทร์มาสูบ"

แทนที่จะใช้เงินซื้อของกินหนอ...




"พ.ศ.๒๔๙๗ ได้เขียนหนังสือได้ลงพิมพ์ เพียงเรื่องเดียวโดย หนังสือพิมพ์เมืองหลวงฉบับวันอาทิตย์ ได้ค่าเรื่องดูเหมือน ๑๒๐ บาท"

๑๒๐ บาท ไม่ใช่เงินน้อยเลยนะคะ พ.ศ. นั้น-


"ส่งเรื่องขำขันไปให้สถานีวิทยุ ท.ท.ท.บ้างตามที่บันทึกไว้เห็นว่าได้รับการตอบรับถึง ๕ เรื่อง"

นาถเคยฟัง ททท สมัยก่อน มีเรื่องตลกของหลวงเมือง พอจบเรื่อง เขาก็จะร้องเป็นทำนองว่า ถะแลน ถะแลบ ...ซึ่งชอบมากค่ะ


"ดังนั้นเมื่อถึง พ.ศ.๒๕๐๐ กึ่งพุทธกาล เป็นสิบเอก จึงได้สมัครเข้าเรียน โรงเรียนผู้ใหญ่ที่ ร.ร.แม้นศรีพิทยาลงกรณ์ สี่แยกสะพานดำ เรียนได้ ๘ เดือน ก็สอบรวมทั่วประเทศ ผ่าน ๕๐ % จบประโยคมัธยมต้นในลำดับที่ไม่ถึง ๑๐๐"

เก่งค่ะ ใจเอา มานะสูงสุดเลยค่ะ

 

โดย: นาถศรี (sirivinit ) 14 สิงหาคม 2556 21:10:27 น.  

 

ตอนหนูอายุซัก ๖๐-๗๐ ความจำจะยังดีแบบนี้ จำรายละเอียดได้แบบนี้หรือเปล่าน้อ

เค้าว่ากันว่า คนที่ชอบอ่าน ชอบเขียนหนังสือ ความจำจะถดถอยช้ากว่าคนที่ไม่ได้ทำแบบนี้ น่าจะจริงมังคะ

ยกเว้นความจำช่วงสั้น ระยะสั้น จำไม่ได้...ตามวัยนะคะ

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 14 สิงหาคม 2556 21:24:47 น.  

 

"จนถึง พ.ศ.๒๕๑๐ ได้เข้าศึกษาหลักสูตร นายสิบอาวุโส สอบได้ที่ ๑๑

และ พ.ศ.๒๕๑๑ ได้สอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนเป็นนายทหารได้ที่ ๑

จากจำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมด ๒๐๐ ราย และผู้ที่มีสิทธิ์จะได้เลื่อนยศเป็นนายทหารสัญญาบัตรนั้น ทางกองทัพบกบกกำหนดให้ทหารสื่อสี่เลื่อนได้ในปีนั้น เพียง ๕ คน ที่ ๑ ถึงที่ ๕ เท่านั้น"

เก่งมากค่ะ เก่งที่สุด

"สารคดี ใช้ “วรพจน์"
วรพจน์ นี่คือชื่อหมวดเดียวกับลูกชายสองคน ประจำตระกูล ว-วารี พ-ไพฑูรย์ เลย ชอบจริงๆ หนอชื่อนี้ หากพ่อหลานออกัสขอให้ตั้งชื่อหลาน นาถสงสัยตั้งว่า "วรพรรณ" เด็ดค่ะ


"และเมื่อถึง พ.ศ.๒๕๓๓ สิ่งที่มหัศจรรย์ก็เกิดขึ้น โดยได้รับการส่งชื่อเข้าคัดเลือกเพื่อเลื่อนเป็น พันเอก

และได้รับอนุมัติจาก กองทัพบก เป็นรุ่นแรกของนายทหารที่ไม่ได้มีปริญญา จึงได้รับเงินเดือน พ.อ.ระดับ น.๔ ชั้น ๑๓ (๑๘๑๐๐ – ๗๑๐) และเลื่อนยศเป็น พันเอก

โดยได้แต่งเครื่องแบบสวมหมวกมีช่อชัยพฤกษ์ อยู่เพียง ๒ ปี"

ตั้งสองปี ดีแล้วน่าปู่ห่อศักดิ์น่า

ได้แถมฟรีอายุราชการอีก กำไรแล้วนะคะ


"สามก๊ก ฉบับลิ่วล้อ เรียบเรียงใหม่จาก ฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) โดย “เล่าเซี่ยงชุน” จำนวน ๓ เล่ม

เล่มที่ ๑ จำนวน ๒๖ ชุด รวม ๔๐ ตอน
เล่มที่ ๒ จำนวน ๒๓ ชุด รวม ๓๔ ตอน
เล่มที่ ๓ จำนวน ๑๘ ชุด รวม ๓๖ ตอน
รวมทั้งสิ้น ๖๗ ชุด ๑๑๐ ตอน ได้ค่าตอบแทน ๘๔,๐๐๐ บาท"

มันคือความภาคภูมิใจนะคะพี่ปู่

น้องหนูโชคดี เคยไปได้หนังสือพี่ปู่มาด้วย จากงานหนังสือ ดีจัง




"ตามธรรมดาเมื่อถึงจุดสุดยอดแล้วก็จะต้องค่อย ๆ ลดต่ำลง แต่ในการเขียนหนังสือของผมแล้ว ยังคงเดินหน้าต่อไป ในด้านการเขียนหนังสือ มิได้มุ่งหวังสิ่งอื่นใด นอกจากการได้ทำในสิ่งที่รักและหลงใหลมาแต่วัยเด็ก และจะทำไปจนกว่าจะสิ้นแรง หมดกำลัง และหมดลมหายใจ."

ปณิธานอันแน่วแน่ ขอคารวะค่ะ


ทำไปเท่าที่จะสามารถทำได้เถอะค่ะพี่ปู่ มันเป็นความสุขของเรา
เหมือนนาถ มีความสุขที่ได้อั๊พบล็อก แต่มีอุปสรรคเสียจริงๆ บล็อก ใช้ได้ไม่ค่อยสะดวก บล็อกตนเองก็เปิดยาก

หากไม่จับยามสามสี่ตาแล้วไซร้ ไม่ไปไหนเลยค่ะ หมุนอยู่นั่นแล้ว ต้องปิด - เปิดใหม่ ก็รออีกเนิ่นนาน แต่ยังรักที่จะเล่น ก็ทนไปค่ะ มันมากับธง และคนอ่านจาก ตปท. ค่ะ สุดปัญญาจะป้องกัน ซ่อม ล้าง เปลี่ยนเครื่องแล้ว ก็เหมือนเดิมค่ะ

ขอขอบพระคุณอีกครั้งนะคะพี่ปู่ ที่เมตตานำมาแบ่งกันอ่าน เดี๋ยวนาถไปบอกที่บ้าน ๒๙ ใครสะดวก จะได้มาอ่านกันค่ะ

 

โดย: นาถศรี (sirivinit ) 14 สิงหาคม 2556 21:28:44 น.  

 

ดีเลยค่ะ น้องหนูผู้หูตาไว มาให้กำลังใจคุณลุงแล้วค่ะ

 

โดย: นาถศรี (sirivinit ) 14 สิงหาคม 2556 21:29:50 น.  

 

ขอบพระคุณอย่ายิ่งทั้งสองท่านครับ.

 

โดย: เจียวต้าย 16 สิงหาคม 2556 8:01:35 น.  

 

วรพจน์ คือลูกชายคนแนกมราใรอสยุ ๖ วันไงครับ
ผมระลึกถึงเชาทุก ๑๐ ก.ย.ครับ

ออกัส เขามีชื่อก่อนเกิดเหมือนกันครับ ชื่อ อนันญา ครับ.

 

โดย: เจียวต้าย 16 สิงหาคม 2556 8:19:46 น.  

 

ฝากคุณหนูอีกนิดครับ

ผมเคยบอกแล้วว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับชีวิตของเรา
ถ้าขี้เกียจจำก็จดบีนทึกเอาไว้ครับ
จะเป็นยันทึกประจำวัน หรือรายสัปดาห์ รายเดือน รายปี หรือรายสะดวกก็ได้ครับ
ครั้นเวลาล่วงเลยไปจนจำไม่ได้ กลับมาพลิกอ่านดู จะ
เห็นภาพแจ่มชัดเลยครับ

แล้วจะเอาไปทำอะไรก็ได้ครับ.

 

โดย: เจียวต้าย 16 สิงหาคม 2556 8:24:55 น.  

 

7

ก็บ้านนี้บ้านเดียวละค่ะ ที่ตั้งชื่อแบบนี้
ถึงล้อว่า หากคุณพ่อน้องออกัส ให้คุณปู่ตั้งชื่อหลานให้ คงเป็น "วรพรรณ" เด็ด

แต่ คุณพ่อน้องออกัส ก็ตั้งชื่อไว้ให้ก่อนแล้ว ทั้งชื่อเล่นด้วย

คนบ้านนี้ "มุ่งมั่นมาก" จริงๆ ขอแสดงความนับถือค่ะ

 

โดย: นาถศรี (sirivinit ) 16 สิงหาคม 2556 9:56:10 น.  

 

แวะมาอ่านค่ะ

ความจำของพี่ปู่ถือว่าสุดยอดจริงๆค่ะ ถ้าให้ป้ากุ๊กทบทวนเรื่องเก่าๆ คงไม่ได้เรื่องได้ราว ลำดับเป็นขั้นตอนได้แบบนี้

ขอแสดงความนับถือด้วยใจคารวะสูงสุดค่ะ

 

โดย: ร่มไม้เย็น 16 สิงหาคม 2556 21:49:45 น.  

 

ขอบคุณครับ ผมชอบบันทึกตั้งแต่เรื่องเหล่านั้นไม่มีความสำคัญอะไรเลย จนเคยเปผ็นนิสียครับ
เดี๋ยวนี้ผมซื้อ ข้าวต้ม ก๋วยเตี๋ยว โจ๊กกินวัน ๆ ผมยังจดเลยครับ

 

โดย: เจียวต้าย 22 สิงหาคม 2556 16:39:47 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.