"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
25 มีนาคม 2556
 
All Blogs
 

นิทานชาวสวน ตอน ผู้ชนะสิบทิศของพม่า

นิทานชาวสวน
ผู้ชนะสิบทิศของพม่า



บรรดานักอ่านในประเทศไทย คงจะไม่มีใครไม่รู้จัก ผู้ชนะสิบทิศ ของท่าน ยาขอบเพราะเป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๒ และยังคงมีชื่อเสียงเป็นที่ยกย่องกันอยู่ในวงวรรณกรรมจนถึงบัดนี้ เพราะได้มีการพิมพ์ซ้ำมาไม่ทราบว่าเป็นครั้งที่เท่าใด

และนักอ่านทั้งหลายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คงจะซาบซึ้งในสำนวนอันหาที่เปรียบมิได้ของท่านยาขอบ ด้วยกันทุกคนแล้วเป็นแน่

แต่ในอีกมุมหนึ่งของพงศาวดารพม่าเช่นกันซึ่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงเรียบเรียงไว้ ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๐ นั้น ก็มีเรื่องราวของ บุเรงนอง หรือ ผู้ชนะสิบทิศ ที่น่าสนใจเช่นกัน จึงขอคัดลอกเอามาเสนอท่านที่ยังไม่ได้อ่าน ในโอกาสนี้..............

เมื่อพระพุทธศักราชใกล้จะถึง ๒๐๘๐ ปี ประเทศพม่ารามัญยังเป็นเอกราชอยู่ด้วยกัน แต่กำลังเสื่อมอำนาจลงกว่าแต่ก่อนด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย เจ้าเมืองตองอูชื่อ มังกินโย เป็นเชื้อวงศ์กษัตริย์พม่าแต่ก่อน จึงตั้งตัวเป็นอิสระ ราชาภิเษกทรงนามว่า พระเจ้ามหาสิริไชยสุระ เมืองตองอูนั้นอยู่ริมแม่น้ำสะโตง ระหว่างประเทศพม่ากับรามัญ ผู้คนพลเมืองมีทั้งมอญพม่าปะปนกัน ด้วยเมื่อครั้ง พระเจ้าราชาธิราช ทำสงครามขับเคี่ยวกับ พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง มอญและพม่าที่หลบลี้หนีภัยพากันเข้าไปอาศัยอยู่ในแดนเมืองตองอูเป็นอันมาก เมืองตองอูจึงมีกำลังมากขึ้นแต่นั้นมา

เมื่อมังกินโยตั้งตัวเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว ไม่ช้าในประเทศพม่าก็เกิดเหตุวิบัติขึ้น ด้วยเจ้านายในราชวงศ์พม่าวิวาทกันเอง ต่างไปชวนพวกเจ้าฟ้าไทยใหญ่มาช่วยรบพุ่งกันและกัน ก็เลยถึงความพินาศด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย ในที่สุดเชื้อวงศ์เจ้าฟ้าไทยใหญ่ ได้เข้าครอบครองเมืองอังวะ พวกขุนนางพม่าที่ไม่อยากอยู่ในอำนาจพวกไทยใหญ่ จึงพากันอพยพลงมาอยู่กับพระเจ้าตองอู พระเจ้าตองอูได้กำลังมากขึ้น ก็ตั้งหน้าจัดการทำนุบำรุงบ้านเมืองและกำลังทหาร หมายจะขยายอำนาจใหญ่ยิ่งขึ้น แต่ยังไม่ทันจะได้แผ่อาณาเขตออกไป พระเจ้าตองอูมหาสิริไชยสุระก็สิ้น พระชนม์เสียก่อน มังตรา ราชบุตรอายุ ๑๖ ปี ได้รับราชสมบัติ ราชาภิเษกทรงนามว่า พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ แปลว่า สุวรรณเอกฉัตร หนังสือเก่าเรียกว่า พระเจ้าฝรั่งมังตรา ก็มี

พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้มีอุปนิสัยกล้าหาญ พอพระหฤทัยในการทำศึกสงคราม ได้รับราชสมบัติในเวลาบ้านเมืองมีกำลังบริบูรณ์ และได้คู่คิดการสงครามคนหนึ่งเป็นพระญาติวงศ์ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ตั้งให้มีนามว่า บุเรงนอง แปลว่าพระเชษฐาธิราช ช่วยกันคิดตระเตรียมกำลังที่จะทำสงครามแผ่อาณาจักรให้กว้างขวาง

ในขณะนั้นพระเจ้าหงสาวดีซึ่งมีนามเรียกว่า พระยาราญ เป็นราชโอรสของพระเจ้าธรรมเจดีย์ (คือพระมหาปิฎกธร ในเรื่องราชาธิราช) สิ้นพระชนม์ ราชสมบัติ ได้แก่ราชโอรสชนมายุได้ ๑๕ ปี พระเจ้าหงสาวดี องค์ใหม่ประพฤติเป็นพาล กดขี่ข้าราชการ และสมณะอาณาประชาราษฎรให้ได้ความเดือดร้อนต่าง ๆ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้เห็นว่ารามัญประเทศเกิดระส่ำระสาย ก็ยกกองทัพเมืองตองอูมาตีเมืองหงสาวดี

ครั้นตีได้แล้วจึงย้ายราชธานีมาตั้งที่เมืองหงสาวดี แล้วยกกองทัพลงมาตีเมืองเมาะตะมะ อันเป็นเมืองมีอุปราชของพระเจ้าหงสาวดีครอง เป็นมณฑลใหญ่อยู่ข้างฝ่ายใต้ เมื่อได้ เมืองเมาะตะมะแล้ว พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้จะจัดการรวบรวม หัวเมืองมอญในมณฑลนั้น จึงยกกองทัพมาตีเมืองเชียงกราน ซึ่งเป็นหัวเมืองปลายแดนไทย เมื่อปีจอ พ.ศ.๒๐๘๑

เมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้มาตีได้เมืองเชียงกราน สมเด็จพระไชยราชาธิราช ครองกรุงศรีอยุธยา จึงเสด็จยกกองทัพหลวงไปรบพม่า ได้รบพุ่งกันกับพม่าที่เมืองเชียงกรานเป็นสามารถ ไทยตีกองทัพพม่าแตกพ่ายไปได้เมืองเชียงกรานคืนมาเป็นของไทยดังแต่ก่อน......................

พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้เอาเมืองหงสาวดีเป็นที่มั่น เที่ยวปราบปรามได้เมืองอังวะและหัวเมืองพม่า ทั้งบ้านเมืองไทยใหญ่ไว้ในอำนาจทั้งสิ้น แล้วทำพิธีอภิเษกเป็นพระเจ้าราชาธิราชที่เมืองหงสาวดี จึงได้ปรากฎพระนามว่า พระเจ้าหงสาวดี แต่นั้นมา..........

ในระยะเวลานี้เอง ที่กรุงศรีอยุธยาได้ผลัดเปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดิน เป็นพระแก้วฟ้า ขุนวรวงศาธิราช และ พระเฑียรราชา ซึ่งเป็นพระราชอนุชาต่างพระชนนีกับ สมเด็จพระไชยราชา ธิราช ได้ขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ.๒๐๙๑ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

พระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชะเวตี้ จึงยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ซึ่งในสงครามครั้งนั้นได้เสียสมเด็จพระสุริโยทัย พระอัครมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ไปในกลางศึก แต่กองทัพพม่าก็ต้องเลิกทัพกลับไปโดยมิได้ชัยชนะ

จำเดิมแต่พระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชะเวตี้ เข้ามาตีเมืองไทยไม่สำเร็จ ในคราวที่กล่าวมาแล้ว ครั้นกองทัพกลับไปถึงเมือง กิตติศัพท์ปรากฎว่าพระเจ้าหงสาวดีเข้ามาเสียทีไทย จนต้องล่าทัพกลับไป พวกมอญก็คลายความกลัวเกรงพม่า หานับถือพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้เหมือนแต่ก่อนไม่ ซ้ำพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้นั้นเอง เมื่อกลับไปเมืองหงสาวดีแล้วไม่ช้าเท่าใด ก็ชอบเสวยสุราเมามายเป็นนิจ จนสติอารมณ์เลยฟั่นเฟือน ไม่สามารถจะว่าราชการบ้านเมืองได้ บุเรงนองผู้เป็นมหาอุปราชาต้องสำเร็จราชการแทน

พอข่าวเล่าลือแพร่หลายว่า พระเจ้าหงสาวดีเสียพระสติ พวกมอญก็พากันกระด้างกระเดื่องขึ้นตามหัวเมือง มีราชบุตรของพระยาราญ ซึ่งเป็นพระเจ้าหงสาวดีแต่ก่อนองค์หนึ่ง เรียกว่า สมิงธอราม ออกหน้าตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นที่เมืองเมาะตะมะ บุเรงนองต้องยกกองทัพลงไปปราบปราม อยู่ทางนี้พระเจ้าหงสาวดีประพฤติร้ายกาจต่างต่าง ด้วยสัญญาวิปลาสไม่มีใครว่าได้ ขุนนาง เชื้อมอญคนหนึ่งชื่อ สมิงสอดวุต จึงทูลลวงพระเจ้าหงสาวดีว่ามีช้างเผือกเข้ามาอยู่ในป่า ที่ใกล้พระนคร พระเจ้าหงสาวดีเข้าใจว่าจริง ก็เสด็จออกไปจับช้าง เมื่อไปประทับอยู่ที่พลับพลาในป่า พวกขุนนางช่วยกันจับพระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชะเวตี้ ปลงพระชนม์เสีย

พอปรากฎว่า พระเจ้าหงสาวดีสิ้นพระชนม์ หัวเมืองพม่ามอญบรรดาที่เป็นเมืองใหญ่ ก็พากันตั้งเป็นอิสระกันหมด ฝ่ายบุเรงนองซึ่งยกกองทัพขึ้นไป ยังมิทันจะได้ปราบปรามเมืองเมาะตะมะ ทราบว่าหัวเมืองทั้งหลายพากันกำเริบ เห็นเหลือกำลังที่จะปราบปราม ก็พาพวกพ้องไปอาศัยอยู่ในแขวงเมืองตองอูอันเป็นเมืองเดิมของญาติวงศ์

แต่พวกมอญเมื่อชิงบ้านเมืองได้ออกจากพม่าแล้ว หาเป็นสามัคคีกันไม่ ผู้ที่เป็น หัวหน้าต่างพวกต่างจะชิงกันเป็นพระเจ้าหงสาวดี พวกมอญจึงเกิดรบพุ่งกันขึ้นเอง จนบ้านเมืองเป็นจลาจล ครั้งนั้นผู้คนที่นับถือบุเรงนองยังมีมากทั้งในพวกพม่าและพวกมอญ ด้วยได้เคยเห็นสติปัญญาสามารถ แต่ครั้งเป็นแม่ทัพของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้มาแต่ก่อน ครั้นบ้านเมืองเกิดเป็นจลาจล ก็มีผู้ไปเข้าเป็นสมัครพรรคพวกบุเรงนองมากขึ้นทุกที จนบุเรงนองเห็นว่า มีกำลังพอจะทำสงครามได้ ก็ตั้งต้นปราบปรามเจ้าเมือง ที่ตั้งตัวเป็นอิสระตีได้เมืองตองอู เมืองแปร แล้วตีได้เมืองหงสาวดีและเมืองเมาะตะมะ เป็นลำดับมา จนได้อาณาเขตรามัญประเทศไว้ในอำนาจหมดแล้ว บุเรงนองทำพิธีราชาภิเษกเป็น พระเจ้าหงสาวดี เมื่อ พ. ศ.๒๐๙๖ ................

พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองผู้นี้เอง ที่ได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกสองครั้ง เมื่อ พ.ศ.๒๑๐๖ และ พ.ศ.๒๑๑๑ จึงได้ชัยชนะยึดครองกรุงศรีอยุธยาสำเร็จ แต่นั้นเมืองไทยก็เป็นประเทศราช ขึ้นแก่เมืองหงสาวดีมาตลอดเวลา ๑๕ ปี

จนถึง พ.ศ.๒๑๒๔ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง สิ้นพระชนม์ลง กรุงศรีอยุธยา จึงได้กลับไปเป็นอิสระด้วยพระบรมเดชานุภาพของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อ พ.ศ.๒๑๒๗

เป็นอันสิ้นสุดเรื่องราวของ ผู้ชนะสิบทิศ ในด้านประวัติศาสตร์ของพม่า ลงแต่เพียงนี้.

#########


โดย: เจียวต้าย วันที่: 24 มีนาคม 2556 เวลา:15:42:29 น.




 

Create Date : 25 มีนาคม 2556
3 comments
Last Update : 25 มีนาคม 2556 21:44:06 น.
Counter : 2001 Pageviews.

 

ได้ฟื้นความจำลางๆ ค่ะ หนูเคยอ่าน แล้วจำละครได้ บุเรงนองแสดงโดยคุณนิรุตต์ ศิริจรรยา, พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ คุณพิศาล อัครเศรณี, ตะละแม่กุสุมา น่าจะเป็นคุณกนกวรรณ ด่านอุดม ตอนนั้นหนูยังเด็กๆ เลยมังคะ



โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 25 มีนาคม 2556 เวลา:19:32:09 น.

 

โดย: sirivinit 25 มีนาคม 2556 21:44:54 น.  

 

ขอบพระคุณพี่ปู่ค่ะ
เหมือนเคยอ่านผ่านตามาแล้วค่ะ เป็นหนังสือแจกงานศพท่านใดท่านหนึ่งค่ะ


สมัยก่อน ก็ทำศึกสงครามวนเวียนกันอยู่แค่นี้แหละนะคะ

 

โดย: นาถศรี (sirivinit ) 25 มีนาคม 2556 21:52:32 น.  

 

บันทึกของผู้เฒ่า

เปิดใจนักเขียนชรา

เจียวต้าย

ตั้งใจจะเขียนบันทึกถึงชีวิตการเขียนหนังสือของตนเองอีกครั้ง ในวันอาสาฬหบูชา ๒๒ ก.ค.๕๖ ในหัวข้อที่ว่า จงมีความอุตสาหะว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรไป แม้จะมองไม่เห็นฝั่งเลยก็ตาม เป็นคติธรรมจากนิทานชาดก เรื่องทศชาติ ตอน พระชนกในขณะที่เขียนในกระทู้ เวปพันทิป ก็มีผู้สนใจเข้ามาอ่านและแสดงความคิดเห็นแทรกเป็นระยะ ผมก็ไม่ได้ว่าอะไรคงตอบไปให้อยู่ในแนวทางที่ผมตั้งใจจะเขียน จึงเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ปรากฏในงานเขียนของผมในเวปพันทิป แค่คิดว่าจะเอาไปพิมพ์รวมเล่มได้ จึงคัดแยกตัวเนื้อเรื่องออกมาจากกระทู้ ให้เป็นเรื่อง เปิดใจนักเขียนชรา

แรกทีเดียวอยากให้ชื่อว่านักเขียนเฒ่า ดูขึงขังเหมือนพรานเฒ่า กลาสีเฒ่า หรือ เสือเฒ่า ซึ่งดูเหมือนเป็นผู้คงแก่เรียน หรือเชี่ยวชาญในวิชาสาชาของตน ซึ่งเรื่องของผมเป็นเพียงนักเขียนเล็ก ๆ คนหนึ่ง ที่เขียนหนังสือมาตั้งแต่วัยรุ่น จนเข้าสู่วัยชรา โดยไม่มีชื่อเสียงเด่นดังให้ใครยกย่องนับถือ นอกจากความเก๋าที่อยู่มาได้ด้วยความอดทน เยี่ยงพระชนกที่อุตสาหะว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรไป แม้จะไม่แลเห็นฝั่ง เท่านั้น

๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๖ วันอาสาฬหบูชา (๑)

วันนี้เป็นวันอาสาฬหบูชา วันพระใหญ่วันหนึ่ง ในสี่วันของรอบปี คือ

๑. กุมภาพันธ์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ มาฆบูชา

๒. พฤษภาคม ชึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ วิสาขบูชา

๓. กรกฎาคม ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ อาสาฬหบูชา

๔. แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ (กรกฎาคม) เข้าพรรษา

วันนี้เป็นวันเสาร์ เคยไปทำบุญที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์ ปากเกร็ด นนทบุรี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๕
มาอย่างสม่ำเสมอแทบไม่เคยขาด แต่ปีนี้ไปไม่ไหวเสียแล้ว เพราะเดินไม่ไหว ระยะทางจากริมถนนปากทางเข้าวัด ถึงสถานที่ประกอบกิจกรรมในวันพระเกือบสุดอาณาเขตของวัด ขาเข้าก็พอไหว ขากลับหลังเพลมากินอาหารกลางวัน และรอขึ้นรถกลับบ้าน อยากจะลงไปนั่งกองอยู่บนขอบทางเท้า จึงกราบลาท่านหลวง
พ่อ ปัญญานันทะภิกขุ ตั้งแต่ปีที่แล้ว ขอไปทำบุญที่วัดใกล้บ้านแทน

วันนี้เดิมตั้งใจว่าจะไปตัดผมที่ร้านปากตรอกวัดราชาธเวาสก่อนไปวัดอินทรวิหาร ตั้งแต่เมื่อวาน แต่ลงจากรถแท็กซี่แล้วจึงรู้ว่าร้านนี้เขาก็หยุด ๔ วันติดต่อกันเหมือนทางราชการ จึงตัดสินใจเดินไปจนถึงหน้าองค์หลวงพ่อโต การตัดสินใจทำบุญวันอาสาฬหบุชาปีนี้ ที่วัดอินทรวิหาร เมื่อวาน ๒๒ ก.ค.๕๖ นั้น ก็ได้บรจาคเงินเป็นกองทุนบูรณะหลวงพ่อโตเป็นจำนวน ๔๐๐ บาท โดยใส่ชื่อ พ่อ แม่ ตนเอง และผู้มีพระคุณซึ่งล่วงลับไปแล้ว คนละ ๑๐๐ บาท และเก็บในอนุโมทนาไว้ พอถึงรอบที่ไปบริจาคเงินบำรุง มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง ก็นวมเผาไฟอธิฐานส่งกุศลให้แก่ท่านทั้งสามทุกครั้ง ตามธรรมเนียมจีน ไม่ว่าจะถึงหรือไม่ถึงก็พอใจว่าได้ทำแล้ว

เมื่อวันก่อน เพื่อนในคลับไร้สังกัด ได้พูดถึงตวามพยายามที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้สำเร็จ โดยไม่ละทิ้ง แม้ว่าจะมองไม่เห็นความสำเร็จเลย ซึ่งเป็นคติธรรมจากชาดกเรื่องพระชนก
ผมก็เป็นอีกคนที่ยึดมั่นในคติธรรมนี้มาตั้งแต่ยังไม่รู้จัดชาดกเรื่องทศชาติซึ่งถือว่าเป็นตำนานของพระพุทธเจ้าสิบชาติสุดท้ายก่อนที่จะมาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัทถะ

เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่สำคัญมากในชีวิตของผม

เมื่อต้องลาออกจากโรงเรียนมัธยมวัดราชาธิวาส ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๙ เพราะสอบตกชั้น ม.๖ และไม่มีค่าเทอมจะเรียนซ้ำชั้น

ขณะนั้นถือว่าชีวิตของผมอยู่ในขั้นต่ำสุด ต้องเลี้ยงชีวิตและครอบครัว ซึ่งมีแม่คนเดียว เพราะท่านผู้มีพระคุณได้เอาน้องหญิงไปอุปการะแล้ว ผมอดทนที่จะทำงานด้วยการทำขนมถ้วยตะไลขาย แทนการเรียนหนังสือ ได้กำไรจากการขายขนมวันหนึ่งเพียงพอแค่ค่าข้าวปลาอาหารในวันหนึ่งเท่านั้น ผมก็อดทนทำไปโดยไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร

จนกระทั่งญาติอีกคนหนึ่งเป็นทหารขนส่งยศ ร้อยโท ทราบข่าว จึงมาพาไปสม้ครเข้าทำงานเป็นลูกจ้างใช้แรงงานของกรมพาหนะทหารบก ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น กรมการขนส่งทหารบก และทำงานระดับชุดดินดายหญ้า ขนย้ายอุปกรณ์อะหลั่ยรถยนต์ จากที่หลบภัยทางอากาศ ต่างจังหวัดมาเก็บไว้ในคลัง พน.๓ ครงข้ามวัดแก้วฟ้าจุฬามณี เกียกกาย บางซื่อ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

งานนั้นหนักมากแต่ยังไม่เกินกำลังของเด็กหนุ่มอายุเข้า ๑๕ ปีจะทำได้ แต่เจ้านายเวทนา เพราะตัวเล็กนิดเดียว น้ำหนักเพียง ๕๐ ก.ก. เผอิญเข่สยสบเวทนาจึงเรียกไปทำงานเป็นภารโรงและเดินรับส่งหนังสือในปีต่อมา จนได้เปลี่ยนสภาพจากลูกจ้าง เป็นข้าราชการวิสามัญ ชั้นจัตวา ติดขีดเดียวขมวดเหลี่ยมที่อินทนูบนบ่า ท่านร้อยโทผู้นั้นก็กรุณาให้เงินมาตัดเครื่องแบบแต่งไปทำงานหนึ่งชุด จึงได้เปลี่ยนสภาพเป็นเสมียนเต็มตัว

เป็นเสมียนของ กองคลัง อยู่ได้สองสามปี ก็เปลี่ยนเป็นเสมียนร้านสหกรณ์กรมพาหนะทหารบกอีกสองสามปี ก็มีอายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ครบกำหนดต้องไปรับการตรวจคัดเลือกเพื่อเข้ากองประจำการ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเกณฑ์ทหาร

ขณะนั้นแม่ป่วยเป็นวัณโรคอาการหนักมาก จึงขอผ่อนผันในฐานะลูกชายคนเดียวที่ดูแลแม่ เมื่อได้รับอนุมัติก็ได้บวชหนึ่งพรรษา ตั้งแต่ ก.ค.-ต.ค.๒๔๙๕ ลาสิกขาสึกออกมาได้สามเดือน ถึงธันวาคม แม่ก็ตายอย่างว้าเหว่กับผมสองคนแม่ลูก.

(ยังมีต่อ)

 

โดย: เจียวต้าย (เจียวต้าย ) 2 สิงหาคม 2556 17:07:12 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.