Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2560
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
15 พฤษภาคม 2560
 
All Blogs
 
Dinosaurs must confront reality + แปล

.
.
=======================================
Education will never improve unless critical thinking is encouraged
14 May 2017 at 04:00
WRITER: ANDREW BIGGS
.
From : //m.bangkokpost.com/lifestyle/social-and-lifestyle/1249258/dinosaurs-must-confront-reality
=======================================


The whole country, from the prime minister down, has been talking education, bandying about two words in particular: "innovation" and "technology". This culminated in an education fair entitled EdTex, held at the Queen Sirikit National Convention Center, where the consensus was that for Thailand to survive, it needs an education system that is both innovative and technological.

This is a wonderful thing to aspire to. While academics espoused opinions and theories (me being one of them), the big elephant in the fairground was the idea that perhaps Thailand doesn't really want innovation and technology.
Because innovation and technology are on the opposite side of the spectrum to what the education system is today, namely "tradition" and "obeisance".

These are heady times for the Thai education system. Last Monday the prime minister called for an overhaul of education at a time when, academically, the whole system is upside down. And that's a nice way to describe it.

What is wrong? Just about everything. The national curriculum calls for "student-centred learning" but the majority of classrooms are still steeped in the traditional century-old method of teacher instructing students, and not a word out of those students either unless spoken to.

National examination scores aren't great. Last year the nation collectively failed all five subjects on the O-Net test; that is, the average scores couldn't hit 50%. No prizes for guessing English was the worst subject of the five, with some of the remote border provinces scoring an average of as little as 17%.

This year's scores are allegedly better, according to the government body that sets the exam. The country passed one subject, Thai language, with an average national score that just scraped above 50%. This is apparently good news, though failing four out of five subjects would never have been good news to my parents when I was a kid.

There are other challenges. Student numbers are falling because of an ageing population. Private universities are laying off teachers and not renewing contracts for the simple reason there is nobody to teach.

Meanwhile, the Education Ministry plods along, dinosaur that it is, with the same age-old structure and philosophies, marching towards that meteorite about to crash into Earth and wreak mass destruction.

Amid all this there is a call for innovation and technology.

These are the two catchwords of this new era. They are at the heart of Thailand 4.0, a government-instigated campaign to push Thailand into the 21st century.

For Thailand to survive, or to be a competitor in the Asean region and on the world stage, it needs to embrace both innovation and technology. Who would argue with that ?

But could Thailand really cope with innovation ?

One of the biggest criticisms of the Thai education system is that it does not foster critical thinking. Every prominent Thai academic, politician, instructor and educator makes this statement.

Instead the Thai education system is top-heavy in rote learning; students are expected to know the names of the kings of the late Ayutthaya period, for example, including their dates of reign. That's it.

Meanwhile, at school, kids are expected to learn the "12 Values of a Good Thai Student" off by heart. These include things like loving your country, religion and king (rule #1) and respecting your elders (#7).

For innovation to occur, Thai students need to be able to criticise, synthesise and evaluate. But does Thai society really want its young people to criticise, synthesise and evaluate ?

Critical thinking is all about challenging the norms. It's about looking at facts, breaking them down, putting them back together and making value judgements on them.

It's asking the question "What do you think?" and allowing the freedom of expressing opinions, which may just veer from your own. Thailand's rote-infested classrooms are hardly the environment for a child wishing to engage in critical analysis.

I am trying to imagine a young student, in the middle of rote-learning those 12 Values Of A Good Thai Student, putting her hand up and saying: "Why should I love my country, teacher, when so many of our politicians and government workers are corrupt?"

Or her friend, sitting next to her, adding: "I don't have a religion, teacher. I'm an atheist. Why does that make me a bad person?"

Or the student near the window suddenly asking: "This business about respecting elders. Does that extend to those corrupt politicians and government workers? Do I have to wai them too?"

Such students exist only in my imagination, and in the current climate they should stay there. I dare not imagine the suffering they would go through for making such views known.

"Innovation" sounds like such a good word, but when students start to challenge and critically analyse, inevitably society comes down on them like a ton of bricks. Meet Netiwit Chotiphatphaisal, for instance, who at the ripe old age of 21 years has been a student activist for six years now.

Netiwit, bespectacled and stern-looking, is well known in the Thai media as a student who challenges the norms. He's currently in the faculty of political science at Chulalongkorn University and in first year managed to get himself elected university president.

When he was still in high school, he came out against rigid rules such as standardised haircuts. "Why do we all have to look the same?" he asked in the media.

He is against the culture of hazing at universities, where senior students subject freshmen to humiliating acts all in the name of creating harmony, and usually killing one or two students per year in the process. Last year he proclaimed himself a conscientious objector over the draft.

The biggest shock came just a week or so ago. Chulalongkorn University is named after King Rama V, who was a progressive king best remembered for abolishing slavery and discontinuing the practice of prostrating oneself before a king.

There is a ritual for all new Chulalongkorn students to go to the statue of King Rama V on Ratchadamnoen Avenue and prostrate themselves before it. Netiwit chose instead to stand and pay his respects.

He incurred the wrath of staunch royalists and conservatives, including the prime minister, who criticised the boy for disrupting tradition. Netiwit shot back that the prime minister himself had disrupted the democratic tradition of Thailand three years ago and had no right to accuse him of such a thing. Like him or not, Netiwit earns kudos for courage.

Netiwit's beliefs come from critically evaluating a situation. Why is it necessary to prostrate oneself before a statue? It is, after all, just a statue, and one of a king who abolished, ironically, prostrating before kings.

Yes, the older Thai generation, this is what you must look forward to if indeed you want your youth to have skills in criticising, synthesising and evaluating. But it is exactly what Thailand needs.

Netiwit is considered a radical student with ideas that extend way beyond the confines of Thai culture. And yet, isn't innovation just that -- searching for new ideas and methods beyond the norm?

Netiwit is is also labelled a troublemaker, but that is exactly what Thailand needs. It needs a bevy of troublemakers willing to instigate upheaval in the education system.

Look at all the countries surrounding us in this region who are making strides in education while we get left behind in our muddle of rote and tradition.
As painful as it may sound, the likes of Netiwit will help propel Thailand forward into this new Thailand 4.0 era.

There is no alternative other than that meteor strike, which is as inevitable as it will be welcome.
.
.

แปล ... ( จากประชาไท //prachatai.org/journal/2017/05/71508 )
.
.
ครูสอนภาษาอังกฤษชื่อดัง ‘แอนดรูว์ บิ๊กส์’ เขียนบทความลงบางกอกโพสต์ “เหล่าไดโนเสาร์ต้องเผชิญหน้าความเป็นจริง” วิจารณ์นโยบายการศึกษาไทยไม่สร้างเด็กให้คิดเป็น ยังต้องท่องจำ ต้องคิดเหมือนกันหมด แม้จะเน้นเทคโนโลยี แต่ระบบการศึกษาและสังคมกดไม่ให้คนมีไอเดียใหม่ ยกกรณี ‘เนติวิทย์’ บางคนอาจตราหน้าว่าเขาสร้างปัญหา แต่คนแบบนี้ประเทศไทยกำลังต้องการ ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องต้อนรับขับสู้คนแบบนี้

เมื่อ 14 พ.ค. 2560 แอนดรูว์ บิ๊กส์ พิธีกรโทรทัศน์ คอลัมน์นิสต์หนังสือพิมพ์ และครูสอนภาษาอังกฤษชื่อดังชาวออสเตรเลีย เจ้าของผลงาน “ภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว” เขียนบทความภาษาอังกฤษหัวข้อ “Dinosaurs must confront reality หรือ เหล่าไดโนเสาร์ต้องเผชิญหน้าความเป็นจริง ในเว็บไซต์หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ มีใจความโดยสรุปตามที่ผู้สื่อข่าวรายงานดังนี้

โดยตอนหนึ่ง แอนดรูว์เล่าว่า ในขณะที่นักวิชาการ นักการเมือง อาจารย์ นักเรียน ในงานนิทรรศการการศึกษา EdTex ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์ พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ระบบการศึกษาไทยต้องเป็นระบบการศึกษาที่มีนวัตกรรมและใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ ทว่า ความเห็นพ้องต้องกันดังกล่าวกลับดูย้อนแย้งกับระบบการศึกษาของไทยที่ใช้มาเนิ่นนาน ที่ให้ความสำคัญกับ “ขนบธรรมเนียม” และ “การเคารพนอบน้อม”

ระบบการศึกษาของไทยนั้นผิดเพี้ยนไปทั้งระบบ หลักสูตรการเรียนการสอนระดับชาติได้ให้ความสำคัญกับการให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โรงเรียนทั้งหลายยังคงจมปลักอยู่กับวัฒนธรรมการสอนอายุหลักร้อยปีที่ครูเป็นผู้สอน นักเรียนเป็นผู้ฟัง ถ้าไม่ถามก็ไม่พูด

ผลการสอบวัดผลระดับประเทศหรือ O-Net ที่ทั่วประเทศเมื่อปีที่แล้ว คะแนนเฉลี่ยรวมของ 5 รายวิชา ได้แก่วิชาภาษาอังกฤษ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ทั่วประเทศต่ำกว่าร้อยละ 50 ภาษาอังกฤษยังครองแชมป์คะแนนต่ำสุดที่บางโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดห่างไกลได้คะแนนเฉลี่ยเพียง 17 คะแนน ส่วนปีนี้คะแนนดีขึ้น มีวิชาที่คะแนนเฉลี่ยทั่วประเทศเกินร้อยละ 50 วิชาเดียวได้แก่วิชาภาษาไทย ที่เหลือ 4 วิชาคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าครึ่งทั้งหมด

สังคมไทยกำลังกลายสภาพเป็นสังคมสูงวัย จำนวนประชากรที่ลดลงทำให้จำนวนนักเรียน นักศึกษาลดลงไปตาม มหาวิทยาลัยเอกชนก็ลดจำนวนอาจารย์ลงเพราะบางสาขาวิชาไม่มีคนมาเรียน

นอกจากนั้น แผนนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลที่มุ่งผลักดันไทยให้ก้าวไปสู่ศตวรรษที่ 21 และความจำเป็นของไทยที่ต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับภูมิภาคอาเซียนและโลก ล้วนต้องใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทั้งสิ้น แต่แอนดรูวส์ตั้งคำถามว่า ไทยพร้อมรับสิ่งที่เรียกว่า ‘นวัตกรรม’ แล้วจริงหรือ

“ในขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ โครงสร้างและปรัชญาการศึกษาเก่าๆกำลังเดินต้วมเตี้ยม เหมือนไดโนเสาร์ที่กำลังเดินหน้าสู่อุกกาบาตที่กำลังจะสร้างความพินาศให้แก่โลก แต่กลับมีเสียงเรียกร้องให้เกิดนวัตกรรมและการใช้เนคโนโลยี”

ปัญหาใหญ่ในระบบการศึกษาไทยที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการ นักการเมือง ผู้สอน และผู้เรียนมากที่สุดประเด็นหนึ่งคือ ระบบการศึกษาไม่สร้างความคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking) ให้ผู้เรียน การคิดเชิงวิพากษ์คือการท้าทายกับจารีต คือการมองหา พังทลายและประกอบสร้างข้อเท็จจริงและตัดสินมันในเชิงคุณค่า

การคิดเชิงวิพากษ์คือการถามคำถามว่า “คุณคิดเห็นอย่างไร” แล้วปล่อยให้มีการแสดงออกได้อย่างเสรี แต่สภาพแวดล้อมของห้องเรียนเมืองไทย ที่ยังมุ่งเน้นให้ท่องจำพระนามของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยอยุธยา รวมถึงท่องจำค่านิยม 12 ประการให้ขึ้นใจ

“นวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้จากการที่เด็กไทยสามารถวิจารณ์ สังเคราะห์และประเมินคุณค่าได้ แต่เอาจริงๆแล้วสังคมไทยต้องการให้เยาวชนไทยทำเช่นนั้นได้จริงหรือ”

“ผมพยายามจินตนาการว่ามีนักเรียนยกมือถามในห้องเรียนที่กำลังท่องจำค่านิยม 12 ประการว่า “ทำไมหนูต้องรักประเทศด้วยคะอาจารย์ ในเมื่อนักการเมืองและบุคลากรของรัฐบาลพากันทุจริต หรือไม่ก็เพื่อนของเธอตั้งคำถามต่อว่า ทำไมการที่ผมไม่นับถือศาสนา ไม่เชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริงทำให้ผมกลายเป็นคนไม่ดีไปได้ หรืออาจจะมีคำถามว่า เรื่องเคารพผู้อาวุโสเนี่ยมันรวมไปถึงนักการเมืองและคนในรัฐบาลที่โกงกินหรือเปล่า หนูต้องไหว้พวกเขาด้วยมั้ย แต่นักเรียนเหล่านั้นมีเพียงในจินตนาการของผม และในสภาวการณ์เช่นนี้ก็เหมาะสมแล้ว ผมไม่กล้าจะคิดว่านักเรียนแบบนั้นจะต้องเจอความทุกข์เข็ญอะไรบ้างถ้าถามออกไปเช่นนั้นจริงๆ”

บทความตอนหนึ่งเขายังระบุว่า กรณีเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตนักเรียนที่เคลื่อนไหวเพื่อให้ยกเลิกการบังคับตัดผมทรงนักเรียน เพิ่งได้รับเลือกให้เป็นประธานสภานิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่า เป็นตัวอย่างของการคิด วิเคราะห์และท้าทาย แต่ผลที่ได้คือสังคมพากันทับถมเขา

เนติวิทย์คัดค้านการรับน้องที่รุ่นพี่กดขี่รุ่นน้องโดยอ้างว่าต้องการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้มีนักศึกษาตายปีละคนสองคน นอกจากนั้น เขายังคัดค้านการหมอบกราบที่พระบรมรูปทรงม้า และคัดค้านการเกณฑ์ทหาร การกระทำของเขาถือเป็นการกระตุ้นโทสะของเหล่าอนุรักษ์นิยมขวาจัด รวมถึงตัวนายกรัฐมนตรีที่ออกมาให้ความเห็นติติงเนติวิทย์ด้วย

“ความเชื่อของเนติวิทย์มาจากการวิพากษ์และประเมินสภาพการณ์ว่า จำเป็นแค่ไหนที่คนต้องหมอบกราบรูปปั้นของกษัตริย์ที่ยกเลิกการหมอบกราบ”

ดังนั้น คนไทยรุ่นที่อาบน้ำร้อนมาก่อนควรคาดว่าจะต้องเจอลักษณะการตั้งคำถามดังกล่าวถ้าต้องการให้เยาวชนในชาติมีทักษะการวิพากษ์วิจารณ์ การสังเคราะห์และประเมินผลที่ประเทศกำลังต้องการ กรณีของเนติวิทย์เป็นเรื่องของคนที่มีความคิดไปไกลกว่าขอบเขตของวัฒนธรรมไทย ซึ่งจริงๆแล้วนวัตกรรม ก็คือการค้นหาแนวความคิด วิธีการใหม่ๆนอกเหนือไปจากชุดความคิดที่มีอยู่ไม่ใช่หรือ

บางคนตราหน้าเนติวิทย์ว่าเป็นตัวสร้างปัญหา แต่นั่นคือสิ่งที่ประเทศไทยกำลังต้องการ ที่นี่ต้องการตัวปัญหาจำนวนมากที่มุ่งมั่นจะก่อปัญหา สร้างความปั่นป่วนให้กับระบบการศึกษาไทย ที่กำลังถูกประเทศอื่นในภูมิภาคแซงหน้าไปเรื่อยๆ

“อาจจะฟังแล้วเจ็บ แต่คนประเภทเนติวิทย์นี่แหละที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ ไทยแลนด์ 4.0”

“ไม่มีทางเลือกอื่นออกจากอุกกาบาตลูกนั้น [หมายถึง - คนประเภทเนติวิทย์] ซึ่งไม่มีทางที่จะหลีกเลี่ยงได้พอๆ กับการที่เราจำเป็นต้องต้อนรับขับสู้เข้ามา” แอนดรูว์ กล่าว



Create Date : 15 พฤษภาคม 2560
Last Update : 17 พฤษภาคม 2560 19:10:21 น. 0 comments
Counter : 1248 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.