Group Blog
 
<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
30 มกราคม 2555
 
All Blogs
 
สมเด็จพระสุริโยทัย - กับข้อสงสัยทางประวัติศาสตร์ ?

.


ข้อเขียนนี้ผู้เขียน (จขบ) เพียงต้องการเผยแพร่ประเด็นที่เป็นข้อสังเกตุในด้านลึกเกี่ยวกับบุคคลที่มีกล่าวถึงในประวัติศาสตร์อย่างต้องการหาความเป็นจริงที่เป็นไปได้มากที่สุด...อย่างไม่มีอคติชอบชัง....

=======================================

มาดูประวัติกันก่อน



สมเด็จพระศรีสุริโยทัย หรือ พระสุริโยทัย วีรสตรีไทยสมัยอยุธยา เป็นอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระมหากษัตริย์องค์ที่ 15 ของกรุงศรีอยุธยาแห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระสุริโยทัย ตามพงศาวดารหลวงประเสริฐฯ กล่าวเพียงแค่เป็นอัครมเหสีผู้เสียสละพระชนม์ชีพเพื่อปกป้องพระราชสวามีในสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ ในปี พ.ศ. 2091 พงศาวดารบางฉบับ กล่าวว่า พระสุริโยทัย เป็นเจ้านายเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย โดยมิได้กล่าวรายละเอียดใดมากกว่านี้

ข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์
ถึงแม้ว่าจะมีการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเฉลิมพระเกียรติพระองค์ขึ้นหลายแห่งในประเทศไทย แต่ตัวตนและความเสียสละของพระองค์ยังเป็นหัวข้อที่ยังเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ เนื่องจากความจริงที่ว่าพระนามของพระองค์มิได้ถูกกล่าวถึงหรือบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์พม่าเลย และข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับชีวิตของพระองค์ถูกคัดมาจากบางตอนของจดหมายเหตุกรุงศรีอยุธยาและการบรรยายของนักสำรวจชาวโปรตุเกส โดมิงโก ซีซัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
......................

พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ เป็นเอกสารสำคัญที่เป็นที่ยอมรับของนักประวัติศาสตร์ว่ามีความถูกต้องน่าเชื่อถือได้ฉบับหนึ่งในบรรดาพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่างๆ ที่มีปรากฏอยู่ในปัจจุบัน โดยพงศาวดารฉบับนี้ได้ถูกเขียนขึ้นใน พ.ศ. ๒๒๒๓ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่มีมาแต่เดิมแต่ตัดทอนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอภินิหารต่างๆออกให้คงเหลือเฉพาะบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์อยุธยา เนื้อหาตามเดิมแบ่งเป็นสองเล่ม ในเล่มที่หนึ่งบันทึกเหตุการณ์ตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยา จนถึงรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและเล่มที่ ๒ อาจกล่าวถึงเหตุการณ์ต่อจากนั้น ซึ่งเฉพาะเล่มที่ ๑ เท่านั้นที่หลงเหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
........................

เนื่องจากต้องการความจริง จึงไม่ต้องการสิ่งแปลกปลอมซึ่งเต็มไปด้วยความเห็นของผู้บันทึก (ซึ่งจะพบมากในพงศาวดารฉบับคำให้การขุนหลวงหาวัด) แต่ต้องการความชัดเจนในการะบุเรื่องราวหรือเหตุการณ์ จึงต้องอ้างอิงพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐนี้


พระศรีสุริโยทัย มีจริงในประวัติศาสตร์หรือไม่ ?

นี่เป็นคำถามแรก

เนื่องจากพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐเขียนขึ้นในปี พศ.2223 และพระศรีสุริโยทัยนั้นสิ้นพระชนม์ในปี พศ. 2091 ระยะเวลาของเหตุการณ์ห่างจากการจดบันทึกถึง 132 ปี....

ซึ่งเป็นระยะเวลานานประมาณเดียวกับ พศ.ปัจจุบัน 2555 ห่างจาก พศ. 2423 คือต้นรัชกาลที่ 5 โน่นทีเดียว....ขณะที่นิสัยการจดบันทึกเหตุการณ์ของคนไทยเป็นอย่างไร ? คงตอบตัวเองกันได้

แต่เนื่องจากมีเหตุการณ์สำคัญอีกเหตุการณ์สำคัญหนึ่งเกิดขึ้นและมีกล่าวไว้ในประวัติศาสตร์ของลาวคือ...

....กาลต่อมาเมื่อพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แต่งพระราชสาสน์ไปยังพระมหาจักรพรรดิ กรุงศรีอยุธยา เพื่อสู่ขอพระน้องนางเธอ พระเทพกษัตรีย์ ไปเป็นอัครมเหสีแห่งกรุงล้านช้างจะได้เป็นสุวรรณปฐพีกับกรุงศรีอยุธยา ข้างฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง เมื่อทราบเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น จึงให้พระมหาธรรมราชา แต่งทัพชิงตัวพระเทพกษัตรีย์ไปให้พระเจ้าบุเรงนอง ทางพระเทพกษัตรีย์นั้นไม่ได้มีความยินดีที่จะเป็นชายาของพระเจ้าบุเรงนองจึงได้ปลิดชีพองค์เอง ณ กรุงหงสาวดี....


พงศาวดารกล่าวไว้ว่า ตอนแรกพระมหาจักรพรรดิได้ส่งพระธิดาอันเกิดแต่พระสนมไปให้ แต่ทางล้านช้างส่งกลับ โดยระบุว่าต้องการเชื้อสายของพระสุริโยทัยเท่านั้น

จึงพอจะเชื่อถือได้ว่า พระสุริโยทัยมีจริง เนื่องจากมีการระบุไว้ในพงศาวดารของชาติเพื่อนบ้านด้วย

เมื่อประเด็นแรกชัดเจน....ประเด็นต่อมาคือ
ทำไมถึงเข้าใจกันว่า....พระสุริโยทัย เป็นเจ้านายเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย ?

กรอบการสันนิษฐานย่อมมีว่า....หลังจากกลุ่มเจ้านายฝ่ายเหนือ(เชื้อสายราชวงศ์สุโขทัย อันมีขุนพิเรนทรเทพที่มารับราชการอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นแกนนำ) ได้ร่วมมือกันโค่นอำนาจของท้าวศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงศาธิราชลงได้สำเร็จแล้ว จึงได้ไปเชิญพระเฑียรราชา ซึ่งสันนิษฐานกันว่าเป็นพระอนุชาของพระไชยราชาธิราชผู้เป็นสวามีท้าวศรีสุดาจันทร์ ขึ้นครองราชนามว่า พระมหาจักรพรรดิ

อันว่าท้าวศรีสุดาจันทร์นี้ เราทราบแน่ชัดแล้วว่าเป็นเชื้อสายทางอู่ทอง อโยธยา ลพบุรี ซึ่งเป็นราชวงศ์แรกของกรุงศรีอยุธยาและแนบแน่นอยู่กับ กลุ่มขอม ที่มีฐานอำนาจอยู่ที่เมืองพระนคร (นครวัด) อันเป็น 1 ใน 4 ราชวงศ์ที่ค้ำจุนบัลลังก์กษัตริย์อยุธยาอยู่ในขณะนั้น

ดังนั้น ขุนวรวงศาธิราช ชายชู้ที่ท้าวศรีสุดาจันทร์สนับสนุนขึ้นมาให้มีอำนาจย่อมเป็นเชื้อสายพราหมณ์จากวงศ์อู่ทอง-ลพบุรีด้วย ซึ่งตรงนี้จะให้ภาพการพยายามฟื้นคืนอำนาจของกลุ่มราชวงศ์อู่ทองที่ร่วมมือกับทางขอมขึ้นมาใหม่

หลังจากพระนครอินทร์(หลานของขุนหลวงพะงั่ว) ยกทัพจากสุพรรณบุรีมาโค่นอำนาจราชวงศ์อู่ทององค์สุดท้ายคือ พระยารามโอรสของพระราเมศวรแล้ว....ราชวงศ์สุพรรณภูมิก็ผงาดขึ้นครองบัลลังก์อยุธยาตั้งแต่บัดนั้นเรื่อยมา...

จนในยุคสมัยของเจ้าสามพระยาซึ่งเป็นพระโอรสของเจ้านครอินทร์ ก็ยกทัพไปตีขอมที่นครวัดจนอาณาจักรล่มสลาย พร้อมทั้งกวาดต้อนปุโรหิตราชบริพารในสำนักขอมกลับมาอยุธยาจนแทบหมดมือง....และเป็นขอมกลุ่มนี้เองที่มีความเกี่ยวพันธ์ทางเครือญาติอยู่กับราชวงศ์อู่ทอง

เนื่องจากนักปราชญ์ราชบัณฑิตในสำนักขอมที่กวาดต้อนมาเป็นเชลยส่วนมากเป็นพราหมณ์ ไม่ใช่พุทธ พิธีกรรมในราชสำนักอยุธยาจึงมีส่วนผสมปนเปพราหมณ์+พุุทธ มาตั้งแต่บัดนั้น....และเข้าใจว่าคนกลุ่มนี้เองที่ค่อยๆมีอิทธิพลทางจิตใจต่อราชสำนักทั้งในทางความเชื่อและภาษา

ราชาศัพท์ของราชสำนักอยุธยาจึงมีคำเขมรปะปนอยู่มากมาย...และเนื่องจากพราหมณ์นั้นมีแนวคิดแบบแบ่งแยกชนชั้นจากอาชีพมาก่อน..รวมทั้งแนวคิดที่มีความเคารพเชื่อถือในเทพองค์ต่างๆอยู่แล้วเป็นทุนเดิมมาจากชมพูทวีป....จึงพัฒนาแนวคิดต่อสถานภาพของความเป็นพระราชาแบบ"พ่อปกครองลูก"ดั้งเดิมแบบสุโขทัยให้ค่อยๆเปลี่ยนสถานภาพไปเป็น..."สมมุติเทพ"ในที่สุด...ซึ่งสามารถลงกันได้กับความเป็นศาสนาที่เชื่อถือเทพเจ้าของพราหมณ์อย่างกลมกลืน


ดังนั้นบริบทของท้าวศรีสุดาจันทร์กับขุนวรวงศาธิราชนั้น ภาพใหญ่น่าจะเป็นความพยายามฟื้นอำนาจกลุ่มอู่ทอง อโยธยา มากกว่าเรื่องชู้สาวอันเป็นรื่องเล็กน้อยเกินไป


อีกประเด็นหนึ่ง....คือประเด็นท้าวศรีสุดาจันทร์ให้ประหารเด็กคนหนึ่งซึ่งเป็นพระโอรสของพระไชยราชาธิราช ?

ดังความว่า...

.....ในปี พ.ศ. 2091 ท้าวศรีสุดาจันทร์ทรงอ้างว่าสมเด็จพระยอดฟ้ายังทรงพระเยาว์ หัวเมืองฝ่ายเหนือก็ไม่เป็นปกติจึงปรึกษากับขุนนางว่าจะให้ให้ขุนวรวงศาธิราชชู้รักว่าราชการแผ่นดินจนกระทั่งสมเด็จพระยอดฟ้าทรงเจริญพระชันษา ภายหลังจึงปลงพระชนม์โอรสของตนเอง แล้วจึงทำพิธีราชาภิเษกขุนวรวงศาธิราชเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาและสถาปนานายจัน ผู้เป็นน้องชายอยู่บ้านมหาโลก ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช....

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
.............................


คำถามคือ......แม่สามารถฆ่าลูกตนเองได้หรือ ?

มีเด็กอยู่ 2 คน ในช่วงเวลานี้
1 คือลูกศรีสุดาจันทร์ที่เกิดกับขุนวรวงศาธิราช
1 คือพระยอดฟ้าซึ่งเป็นพระโอรสของพระไชยราชาธิราช

พระยอดฟ้าที่เป็นพระโอรสของพระไชยราชา มีสถานภาพที่สามารถเกื้อกูลแม่ (หากเป็นลูกศรีสุดาจันทร์จริง) ผู้ฝักใฝ่อำนาจได้อยู่แล้ว คือศรีสุดาจันทร์สามารถใช้อำนาจผ่านลูกได้ง่ายกว่า...สามารถบงการเรื่องราวได้โดยตรง...ซึ่งย่อมดีกว่าง่ายกว่าจะไปสร้างเรื่องราวให้ซับซ้อนเพื่อยกชายชู้ขึ้นมาเป็นใหญ่

เด็กที่เกิดกับขุนวรวงศาธิราชไม่ฆ่า....แต่เก็บไว้ ทั้งๆที่ไม่มีสถานภาพอะไรจะช่วยแม่ให้มีอำนาจได้....

จึงเป็นที่มาของข้อสันนิษฐานว่า....พระยอดฟ้า น่าจะไม่ใช่ลูกตัวเองที่เกิดกับพระไชยราชา แต่คงเป็นลูกของ สนมเอกอีกคนกับพระไชยราชา....จึงฆ่าได้โดยสะดวกใจ


คำถามต่อมาคือ....พระยอดฟ้า เป็นลูกใคร ในสี่สนมเอก ?

ท้าวอินสุเรนทร - จากกลุ่มราชวงศ์สุพรรณภูมิ - สุพรรณบุรี แพรกศรีราชา
ท้าวศรีสุดาจันทร์ - จากกลุ่มราชวงศ์อู่ทอง หรือ ละโว้ อโยธยา - ลพบุรี
ท้าวอินทรเทวี - จากกลุ่มศรีธรรมโศกราช - นครศรีธรรมราช
ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ - จากราชวงศ์สุโขทัย - เดิมสุโขทัย ต่อมาพิษณุโลก


ตัดศรีสุดาจันทร์ ออก เพราะเป็นคนสั่งฆ่า
ตัดอินทรเทวี ออก เพราะเชื้อสายทางนครศรีธรรมราชยังไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งกษัตริย์ได้มาก่อน

จึงเหลือแค่ 2 คน

ศรีจุฬาลักษณ์ - จากกลุ่มสุโขทัย
อินสุเรนทร - จากกลุ่มสุพรรณภูมิ

ก็ต้องมองต่อไปว่า...หลังเหตุการณ์แล้วกลุ่มไหนยึดกุมอำนาจได้ ?

อีกคำถามตัวโตๆ มีว่า....

เหตุใดคณะก่อการณ์ซึ่งเป็นกลุ่มหัวเมืองเหนือเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยจึงตัดสินใจมอบวางอำนาจที่เสี่ยงชีวิตแย่งชิงมาจากกลุ่มละโว้ อโยธยา(ศรีสุดาจันทร์+ขุนวรวงศาธิราช) ลงบนมือของพระเฑียรราชาซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์สุพรรณภูมิ ?

เมื่อมองดูข้างกายของพระเฑียรราชาในขณะนั้นมีใคร ?
ก็พบว่ามีพระชายา คือ พระสุริโยทัย

ในขณะที่ท้าวศรีจุฬาลักษณ์นั้น เป็นที่รับรู้กันอยู่ว่าคือเชื้อสายทางราชวงศ์พระร่วง หรือสุโขทัย ย่อมแปลว่า ท้าวศรีจุฬาลักษณ์น่าจะเป็นพันธมิตรทางสายเลือดอยู่กับแกนนำกลุ่มก่อการณ์ซึ่งก็คือ ขุนพิเรนทรเทพ

ซึ่งสามารถตีความได้ว่า พระสุริโยทัยผู้เป็นเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยกับท้าวศรีจุฬาลักษณ์น่าจะมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดต่อกัน..หรืออาจเป็นพี่น้องร่วมท้องกัน..หรือลูกพี่ลูกน้องกันอยู่..ซึ่งเมื่อผู้เป็นพี่สาวได้เป็นพระสนมของพระไชยราชา ผู้เป็นน้องสาวก็ได้เป็นพระชายาของพระเฑียรราชาผู้เป็นน้องชายของพระไชยราชาจากการชักนำของพี่สาว...ก็อาจเป็นได้...นี่คือการตีความ

แล้วขุนพิเรนทรเทพ เองนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะรู้จักมักคุ้นกับทั้งสองพี่น้องตั้งแต่สมัยที่ยังอยู่หัวเมืองเหนือด้วยกัน...หรืออาจเป็นไปได้ที่คนทั้งคู่อาจมีใจให้กันและกันมาก่อน ก่อนที่พระสุริโยทัยจะมาเป็นพระชายาของพระเฑียรราชา...

จึงการมอบวางอำนาจของกลุ่มสุโขทัยลงบนมือของกลุ่มสุพรรณภูมิในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของแกนนำสองกลุ่มนี้มาอย่างยาวนาน....

ซึ่งสอดคล้องกับความรับรู้ที่ว่าเมื่อกรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจลงพร้อมๆกับการผงาดขึ้นมาของกรุงศรีอยุธยาในฐานะศูนย์อำนาจใหม่นั้น...ท้าวอู่ทองจากกลุ่มละโว้ อโยธยาซึ่งมีบารมีเป็นที่ยอมรับ ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มสุพรรณภูมิ ให้ขึ้นเป็นใหญ่ในอยุธยา ....แต่เฉพาะอโยธยาเท่านั้น....ขณะที่ฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยาคือสุพรรณบุรี แพรกศรีราชา(ชัยนาท) ที่เราเรียกว่ากลุ่มสยามนั้นเป็นอิสระอยู่ ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจอยุธยาแต่อย่างใด...แถมยังขึ้นไปควบคุมดูแลทางกลุ่มสุโขทัยไม่ให้แย่งชิงอำนาจกันเองระหว่างเชื้อพระวงศ์ด้วยกันเองหลังยุคพระศรีสุธรรมราชา

ควบคุมดูแล...แปลว่ากลุ่มสุพรรณภูมิมีอิทธิพลอยู่เหนือกลุ่มสุโขทัย
จนเป็นที่เกรงใจ

บำเหน็จของแกนนำกลุ่มก่อการณ์นั้นคือ ขุนพิเรนทรเทพ ได้รับการสถาปนาเป็นพระมหาธรรมราชา พร้อมทั้งการประทานพระวิสุทธิกษัตริย์ให้เป็นพระชายา ขึ้นไปครองพิษณุโลก (ซึ่งต่อมาก็คือพระชนกชนนีของพระสุพรรณกัลยา..พระนเรศวร..พระเอกาทศรถ..นั่นเอง)


ส่วนประเด็นของการสิ้นพระชนม์ของพระสุริโยทัยซึ่งเป็นวีรกรรมที่มีเกียรติยศยิ่งใหญ่นั้น...เป็นที่น่าสงสัยว่า เหตุใดพงศาวดารพม่าถึงไม่มีกล่าวถึงเลย ?

พงศาวดารไทยฉบับหลวงประเสริฐก็กล่าวไว้เพียงว่า..."เป็นอัครมเหสีผู้เสียสละพระชนม์ชีพเพื่อปกป้องพระราชสวามีในสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ ในปี พ.ศ. 2091"...

พงศาวดารฉบับนี้น่าเชื่อถือที่สุด เขียนขึ้นในสมัยพระนารายณ์หลังเหตุการณ์จริง 132 ปี....แปลว่าในสมัยพระนารายณ์นั้น ผู้คนรับรู้เรื่องพระมเหสีผู้สละชีพปกป้องพระสวามีกันอยู่แล้ว

เมื่อลองลำดับรัชสมัยพระเจ้าแผ่นดินตั้งแต่ยุคพระจักรพรรดิ มาจนถึงพระนารายณ์ดูว่ามีใครบ้างก็จะเป็นดังนี้

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ (2091-2106),(2111-2112) - สุพรรณภูมิ
สมเด็จพระมหินทราธิราช (2106-2111),(2112- ) - สุพรรณภูมิ
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (2112-2133) - สุโขทัย
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (2133-2148) - สุโขทัย
สมเด็จพระเอกาทศรถ (2149-2163) - สุโขทัย
สมเด็จเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ (2163- ) - สุโขทัย
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (2163-2171) - สุโขทัย
สมเด็จพระเชษฐาธิราช (2171-2172) - สุโขทัย
สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ (2172- ) - สุโขทัย
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (2172-2199) - ปราสาททอง
สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (2199- ) - ปราสาททอง
พระศรีสุธรรมราชา (2199- ) - ปราสาททอง
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (2199-2231) - ปราสาททอง


ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศสามารถค้นคว้าตรวจสอบกันได้อย่างกว้างขวางอย่างเช่นในปัจจุบัน...หากเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ได้รับการจดบันทึกไว้ทั้งสองด้านของคู่กรณี เหตุการณ์นั้นเป็นที่น่าเชื่อถือว่าเคยเกิดขึ้นจริง...


สำหรับปัจจุบันนี้...ข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปก็คือ พระสุริโยทัย มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์....แต่วีรกรรมที่กล่าวอ้างในพงศาวดารไทยนั้น ยังเป็นที่กังขาของนักประวัติศาสตร์เนื่องจากขาดข้อมูลอ้างอิงในฝ่ายคู่กรณีคือพม่า


ข้อสงสัยนี้จะยังคงอยู่ต่อไปจนกว่าจะมีหลักฐานใหม่ที่น่าเชื่อถือมายืนยัน ให้เป็นที่ยอมรับของนักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยทั้งหลาย





Create Date : 30 มกราคม 2555
Last Update : 30 มกราคม 2555 19:37:13 น. 0 comments
Counter : 2783 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.