กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2566
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
20 พฤศจิกายน 2566
space
space
space

ฉันทะถึงจุดลงตัวความหมายที่ใช้เป็นมาตรฐาน


"ฉันทะ"  ถึงจุดลงตัวของความหมายที่ใช้เป็นมาตรฐาน


     เมื่อได้รู้ความหมายของฉันทะ ตั้งแต่ความหมายพื้นฐาน จนถึงความหมายที่แตกย่อยไปต่างๆ ตลอดจนการใช้ที่แผกผันไปในกรณีหลากหลาย   พอมองเห็นได้กว้างขวางครอบคลุมเป็นภาพรวมที่พอแก่ใจ   ไม่สับสนฟั่นเฝือแล้ว   ก็คิดว่าคงพร้อมที่จะสรุปลงตัวได้

     ที่ว่าลงตัว ก็คือ จะยุติเป็นความหมายหลักอันชัดเจน ที่จะใช้ในการศึกษา โดยมีความเข้าใจร่วมกัน ถือเป็นมาตรฐานต่อไป

     รวมความว่า  ศัพท์ธรรมที่มีความหมายกว้าง ครอบคลุมความอยาก หรือความต้องการ ซึ่งเป็นแรงจูงใจของมนุษย์ได้ทุกอย่าง ก็คือคำว่า "ฉันทะ"

     ฉันทะที่ไม่ดี เป็นอกุศล เป็นฝ่ายชั่ว ตรงกับคำว่า ตัณหา ในเมื่อตัณหาก็เป็นคำเด่น เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ฉันทะที่ไม่ดีนี้ ก็ใช้คำว่า ตัณหา แทนไปเสียเลย

     ฉันทะที่ดี เป็นกุศล  มีชื่อเต็มว่า กุศลธรรมฉันทะ  บางทีเรียกสั้นเป็น  กุศลฉันทะ บ้าง ธรรมฉันทะ บ้าง  ในเมื่อฉันทะที่ไม่ดี  เรียกว่า  ตัณหาไปแล้ว  ไม่ต้องกลัวว่าจะสับสน  ฉันทะที่ดีนี้ ก็เรียกคำเดียวว่า ฉันทะ ไปเลย

     ส่วนฉันทะอย่างกลางๆ  ที่เรียกว่า  กัตตุกัมยตาฉันทะ คือ ความต้องการทำ หรืออยากทำ โดยทั่วไปก็ใช้ในความหมายข้างดี  ถือเป็นกุศลธรรมฉันทะอยู่แล้ว  เพราะฉะนั้น  ก็รวมอยู่ในคำว่า ฉันทะ นั่นแหละด้วย

     ถึงตอนนี้  ก็ยุติได้  เป็นอันว่าเหลือ ๒ คำ  บอกว่า แรงจูงใจ คือ  ความอยาก  ความปรารถนา หรือความต้องการ มี ๒ อย่าง คือ

        ๑. ความอยาก   ความต้องการที่ไม่ดี  เป็นอกุศล  เรียกว่า ตัณหา  (อยากเสพ อยากได้ อยากเอา)

        ๒. ความอยาก   ความต้องการที่ดี เป็นกุศล  เรียกว่า ฉันทะ  (อยากทำ คืออยากทำให้ดีงามสมบูรณ์)

     เป็นอันว่า ใช้คำหลักเพียง ๒ คำ คือ  ตัณหา กับ ฉันทะ  เท่านั้นพอแล้ว  ครั้นยุติได้อย่างนี้ ก็ปลอดโปร่งโล่งสบายใจ   โดยมีความมั่นใจพร้อมด้วย  เพราะที่ลงตัวนั้น  ก็สอดคล้องตามมติที่ถือสืบมา ของอรรถกถาและคัมภีร์ทั้งหลาย   ที่สุดท้ายก็แบ่งความปรารถนาหรือความอยากเป็น ๒ อย่างเช่นนี้

    เมื่อชัดเจน    ไม่สับสนแน่แล้ว   ก็ขอเล่ามติเก่าๆ เหล่านี้เสริมไว้เป็นความรู้ประกอบเล็กน้อย

    คัมภีร์จำนวนมาก  เมื่อกำลังอธิบายเรื่องโน้นเรื่องนี้ พอมีข้อเกี่ยวโยงถึงตัณหาหรือฉันทะ ก็ชี้แจงแยกแยะ แม้ว่ามักไม่ระบุชัด แต่เห็นได้ว่าท่านต้องการให้รู้ความต่างระหว่างฉันทะ ๒ อย่าง (ที่บอกชัดโดยระบุออกมาว่ามี ๓ อย่างนั้น ไม่พบเลย)*  บางแห่งระบุชัดออกมาเลยว่าเป็น ๒ อย่าง คือชื่อนั้นๆ ว่าโดยทั่วไปก็คือ แยกเป็น ๒ อย่าง ได้แก่

        ๑. ตัณหาฉันทะ คือ ฉันทะที่เป็นตัณหา

        ๒. กัตตุกัมยตาฉันทะ คือ ฉันทะที่เป็นความอยากทำ

    พบในอรรถกาถา ๒ คัมภีร์   ที่ประมวลสาระในเรื่องนี้เขียนไว้เป็นหลักชัดลงไปทีเดียว คือ ในคัมภีร์ปปัญจสูทนี และปรมัตถทีปนี  ท่านกล่าวไว้ว่า   ความปรารถนา (บาลีว่า ปตฺถนา แปลเป็นไทยง่ายๆว่า ความอยาก)  มี ๒ อย่าง คือ

         ๑. ความปรารถนาที่เป็นตัณหา   (ตณฺหาปตฺถนา   แปลง่ายๆว่า  อยากด้วยตัณหา)

         ๒. ความปรารถนาที่เป็นฉันทะ    (ฉนฺทปตฺถนา   แปลง่ายๆว่า   อยากด้วยฉันทะ)

    นี่คือหลักที่ท่านแสดงไว้   อันถือได้ว่าเป็นการมาถึงจุดบรรจบที่พึงยุติการจำแนกแรงจูงใจแห่งความอยาก  ความต้องการ  เป็น ๒ อย่าง คือ ตัณหา กับ ฉันทะ ดังที่ได้แจกแจงมาแล้วนั้น



มีแต่อธิบายอันให้รู้โดยนัย ดังที่มักพูดว่า "กามฉันทะ ได้แก่ ฉันทะคือกาม ไม่ใช่กัตตุกัมยตาฉันทะ ไม่ใช่ธรรมฉันทะ" เช่น นิทฺ.อ.17 สงฺคณี. อ.428 ฯลฯ

ม.อ.1/55-56 อิติ.อ.79 ท่านยกตัวอย่างจากบาลีมาอธิบายด้วยว่า คำว่า ปรารถนา ในพุทธดำรัสว่า "ผู้ที่ปรารถนาอยู่ จึงมีความเพ้อพร่ำ กับทั้งความหวั่นไหวในสิ่งที่หมายใจเอาไว้" (ขุ.สุ.25/420/510) เป็นความปรารถนาแบบตัณหา ความปรารถนาในพุทธพจน์ว่า "กระแสของมารร้าย เราตัดได้ ทลาย ทำให้หมดลำพองแล้ว เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มากด้วยปราโมทย์ พึงปรารถนาความเกษมเถิด" (ม.มู.12/391/421) เป็นความปราถนาแบบฉันทะ ซึ่งเป็นกุศล ได้แก่ ความอยากทำ คำอธิบายทั้งนี้ ท่านปรารภคำว่า "ปรารถนา"    ในบาลีอีกแห่งหนึ่งว่า "แม้ภิกษุใดเป็นเสขะ ยังมิได้บรรลุอรหัตผล เมื่อปรารถนาธรรมอันเป็นโยคเกษมอยู่" (ม.มู.12/3/6 ฯลฯ) คำว่า ปรารถนา ในที่นี้ ก็เป็นความปรารถนาแบบฉันทะเช่นกัน
 


Create Date : 20 พฤศจิกายน 2566
Last Update : 20 พฤศจิกายน 2566 5:35:44 น. 0 comments
Counter : 229 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space