กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2566
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
18 พฤศจิกายน 2566
space
space
space

บันทึกพิเศษท้ายบท 


บันทึกพิเศษท้ายบท 
 
เพื่อความเข้าใจลึกลงไปจำเพาะเรื่อง


บันทึกที่ ๓:  สัจกิริยา ทางออกที่ดี สำหรับผู้ยังหวังอำนาจดลบันดาล 
 
     สำหรับชาวพุทธในระยะพัฒนาขั้นต้น  ผู้ยังห่วง ยังหวัง หรือยังมีเยื่อใยที่ตัดไม่ค่อยขาด ในเรื่องแรงดลบันดาล หรืออำนาจอัศจรรย์ต่างๆ ประเพณีพุทธแต่เดิมมา ยังมีวิธีปฏิบัติที่เป็นทางออกให้อีกอย่างหนึ่ง คือ “สัจจกิริยา” แปลว่า การกระทำสัจจะ  หมายถึง  การอ้างพลังสัจจะ หรือการอ้างเอาความจริงเป็นพลังบันดาล คือ ยกเอาคุณธรรมที่ตนได้ประพฤติปฏิบัติบำเพ็ญมา หรือที่มีอยู่ตามความจริง หรือแม้แต่สภาพของตนเองที่เป็นอยู่จริงในเวลานั้น ขึ้นมาอ้าง เป็นพลังอำนาจสำหรับขจัดปัดเป่าภยันตรายที่ได้ประสบ ในเมื่อหมดทางแก้ไขอย่างอื่น
 
     วิธีการนี้ไม่กระทบกระเทือนเสียหายต่อความเพียรพยายาม และไม่เป็นการขอร้องวิงวอนต่ออำนาจดลบันดาลจากภายนอกอย่างใดๆ ตรงข้าม กลับเป็นการเสริมย้ำความมั่นใจในคุณธรรมและความเพียรพยายามของตน และทำให้มีกำลังใจเข้มแข็งยิ่งขึ้น อีกทั้งไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับวัตถุหรือพิธี ที่จะเป็นช่องทางให้ขยายกลายรูปฟั่นเฝือออกไปได้
 
     สัจกิริยาพบบ่อยในคัมภีร์พุทธศาสนารุ่นอรรถกถา  เฉพาะอย่างยิ่งชาดก นับเป็นวิธีปฏิบัติที่ใกล้จะถึงความเป็นพุทธอย่างแท้จริง ดังหลักฐาน   (หลายเรื่องมีลักษณะน่าจะเหลือเชื่อ แต่คงเป็นธรรมดาของวรรณคดี);


บันทึกที่ ๔: พระพุทธ เป็นมนุษย์ หรือเทวดา 
 

     คติพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับเทวดานี้  เมื่อปฏิบัติให้ถูกต้องด้วยความเข้าใจ ก็ทำให้ชาวพุทธอยู่ร่วมกันได้ด้วยดีกับผู้ที่ยังนับถือเทพเจ้า  พร้อมทั้งสามารถรักษาหลักการของตนไว้ได้ด้วย
 
     อย่างไรก็ตาม  บางท่านสังเกตว่า  ท่าทีเช่นนี้  ทำให้พระพุทธศาสนาเสียเปรียบ เพราะคนทั่วไปมีความโน้มเอียงในทางที่จะไม่มั่นใจตนเอง และคร้านที่จะคิดเหตุผล จึงมักถูกดึงลงไปสู่ลัทธิไหว้วอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขอฤทธิ์ดลบันดาลได้ง่าย
 
     ข้อนี้อาจเป็นจุดอ่อนที่พิจารณากันไปได้ต่างๆ แต่ปัญหาน่าจะอยู่ที่ว่า เราได้ยกเอาขอบเขตที่ท่านวางไว้ขึ้นมาปฏิบัติกันหรือเปล่า และคอยย้ำความเข้าใจที่ถูกต้องกันไว้หรือไม่ ยิ่งถ้ารู้ตัวว่ามีจุดอ่อนอยู่แล้ว ก็ควรจะยิ่งระมัดระวังรักษาหลักการให้แข็งขันยิ่งขึ้น
 
     มองอย่างหนึ่ง เหมือนกับพูดว่า ชาวพุทธฝ่ายชาวบ้านจะไปนับถือกราบไหว้ยกย่อง (แต่ไม่ใช่อ้อนวอนหรือมั่วสุม) เทพเจ้ากับเขาอย่างไรก็ได้ แต่อย่านับถือให้สูงกว่าความสามารถของมนุษย์ที่ตนมีอยู่ ก็แล้วกัน เทวดาจะสูงเท่าใดก็ได้ แต่ที่สูงสุดนั้น คือมนุษย์ คือท่านผู้เป็นศาสดาของเทวะ และมนุษย์ทั้งหลาย ผู้เป็นต้นแบบสำหรับมวลมนุษย์
 
     ถ้าไม่คล่องใจที่จะนึกถึงภาพเทพเจ้าที่ตนเคารพเทิดทูน  มากราบไหว้มนุษย์ ก็อาจจะมองมนุษย์ผู้สูงสุดใหม่อีกแนวหนึ่งว่า เป็นผู้ได้พัฒนาตนจนถึงภาวะสูงสุด พ้นไปแล้ว ทั้งจากความเป็นเทพเจ้า และความเป็นมนุษย์ โดยขอให้พิจารณาพุทธพจน์ดังต่อไปนี้  (ข้อความมีลักษณะเล่นถ้อยคำ จึงแปลรักษาสำนวน เพื่อผู้ศึกษามีโอกาสพิจารณา)
 
     ครั้งหนึ่ง   เมื่อพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จพุทธดำเนินทางไกล  พราหมณ์ผู้หนึ่ง ซึ่งได้เดินทางไกลทางเดียวกับพระองค์   มองเห็นรูปจักรที่รอยพระบาทแล้ว   มีความอัศจรรย์ใจ  ครั้นพระองค์เสด็จลงไปประทับนั่งพักที่โคนไม้ต้นหนึ่งข้างทาง  พราหมณ์เดินตามรอยพระบาทมา มองเห็นพุทธลักษณาการที่ประทับนั่ง  สงบลึกซึ้ง  น่าเลื่อมใสยิ่งนัก จึงเข้าไปเฝ้าแล้ว 
 
     ทูลถาม:  ท่านผู้เจริญคงจักเป็นเทพเจ้า
 
     ตรัสตอบ:  แน่ะพราหมณ์ เทพเจ้าเราก็จักไม่เป็น
 
     ทูลถาม:  ท่านผู้เจริญคงจักเป็นคนธรรพ์
 
     ตรัสตอบ:  คนธรรพ์เราก็จักไม่เป็น
 
     ทูลถาม: ท่านผู้เจริญคงจักเป็นยักษ์
 
    ตรัสตอบ: ยักษ์เราก็จักไม่เป็น
 
     ทูลถาม: ท่านผู้เจริญคงจักเป็นมนุษย์
 
     ตรัสตอบ: มนุษย์เราก็จักไม่เป็น
 
     ทูลถาม:  เมื่อถามว่า ท่านผู้เจริญคงจักเป็นเทพ ท่านก็กล่าวว่า เทพเราก็จักไม่เป็น เมื่อถามว่า ท่านผู้เจริญคงจักเป็นคนธรรพ์...เป็นยักษ์...เป็นมนุษย์ ท่านก็กล่าวว่า จักไม่เป็น เมื่อเช่นนั้น ท่านผู้เจริญจะเป็นใครกันเล่า
 
     ตรัสตอบ:  นี่แน่ะพราหมณ์ อาสวะเหล่าใด ที่เมื่อยังละไม่ได้ จะเป็นเหตุให้เราเป็นเทพเจ้า...เป็นคนธรรพ์...เป็นยักษ์...เป็นมนุษย์ อาสวะเหล่านั้น เราละได้แล้ว ถอนรากเสียแล้ว...หมดสิ้น ไม่มีทางเกิดขึ้นได้อีกต่อไป เปรียบเหมือนดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ แต่ตั้งอยู่พ้นน้ำ ไม่ถูกน้ำฉาบติด ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดในโลก เติบโตขึ้นในโลก แต่เป็นอยู่เหนือโลก ไม่ติดกลั้วด้วยโลก ฉันนั้น; นี่แน่ะพราหมณ์ จงถือเราว่าเป็น  “พุทธะ”  เถิด
(องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๓๖/๔๘).

 


Create Date : 18 พฤศจิกายน 2566
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2566 17:51:58 น. 0 comments
Counter : 80 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space