หมึกสีดำของไผ่สีทอง
ความโศกทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท เป็นมุนี ศึกษาในทางปฏิบัติถึงมโนปฏิบัติ เป็นผู้คงที่ ระงับแล้ว มีสติทุกเมื่อ,, การไม่ทําบาปทั้งปวงหนึ่ง การยังกุศลให้ถึงพร้อมหนึง การชําระจิตใจของตนให้ผ่องแผ้วหนึ่ง นี่แลเป้นคําสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
1 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
กฏการปฏิบัติกรรมฐาน



คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ----> หน้า 21
กฏการปฏิบัติกรรมฐาน
การปฏิบัติพระกรรมฐานในพระพุทธศาสนา มีกฎของการปฏิบัติเพื่อผลของการบรรลุ เป็นระดับไป ตามนัยที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในอุทุมพริกสูตรดังจะยกมา กล่าวไว้แต่ตอนที่เห็นว่าสมควรดังต่อไปนี้ อธิศีลสิกขา ในระดับแรก ก่อนที่ท่านจะหวังผลในฌานโลกีย์ ซึ่งเป็นระดับของอธิจิตตสิกขานั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงสอนให้รักษาศีลให้เป็นอธิศีลเสียก่อนคำว่า อธิศีล แปลดังนี้ อธิ แปลว่า ยิ่ง เกิน หรือล่วง เฉพาะคำว่า อธิ แปลได้สามอย่างดังนี้ ถึงแม้ว่าจะแปลได้ เป็นสามนัยก็คงมีความหมายอย่างเดียวกันคำว่า ยิ่ง ก็หมายถึง การปฏิบัติยิ่งกว่า หมายถึงการปฏิบัติเคร่งครัดกว่าปกติหรือรักษาศีลยิ่งกว่าชีวิตนั่นเอง เกินหรือล่วงก็มี ความหมายเหมือนกัน เกิน ก็หมายถึงปฏิบัติเกินกว่าที่ปฏิบัติกันตามปกติ ล่วง ก็หมาย ถึงการปฏิบัติล่วงคือเกิน ที่กระทำกันตามปกติ ศัพท์สามคำนี้มีความหมายอย่างเดียวกัน การปฏิบัติตามนี้จึงจะจัดเป็นอธิศีลการปฏิบัติเป็นอธิศีลท่านแนะนำไว้ในอุทุมพริกสูตร ดังนี้
๑. จะรักษาศีลไว้ด้วยดี มิให้ขาดมิให้ทำลาย แม้แต่ศีลจะมัวหมองก็มิยอมให้เป็น ด้วยมีวิธีรักษาดังนี้ จะไม่ทำลายศีลให้ขาดเอง ไม่แนะนำให้คนอื่นทำลายศีล และไม่ยินดีต่อเมื่อเห็น ผู้อื่นทำลายศีล การปฏิบัติพระกรรมฐาน ก่อนที่จะหวังให้ ฌานสมาบัติอุบัติปรากฏแก่ จิตใจนั้น ต้องมีศีลบริสุทธิ์เสียก่อน ถ้าศีลของท่านยังขาดตกบกพร่องรักษาบ้าง ไม่รักษา บ้าง ยังเกรงใจความชั่ว คือสังคมที่มอมแมมด้วยความชั่วช้าที่ต้องมีการดื่มของมึนเมา อวยพร ต้องกินเนื้อสัตว์ที่ยังมีชีวิต เพราะถ้าสัตว์ตายก่อนแล้ว เนื้อมีรสไม่อร่อยต้องพูด ตลบตะแลงให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เกรงใจสังคมที่นิยมมีเมียเก็บ เมียอะไหล่ นิยมสะสมสมบัติที่ได้มาโดยมิชอบธรรมเฉพาะอย่างยิ่งการดื่ม ถึงแม้ว่าท่านจะละมาใน วันอื่น ๆ ทุกวันแต่ถ้าวันใดมีการเลี้ยงก็ต้องดื่มเพื่อสังคม แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าท่านไม่มีความ บริสุทธิ์ ไม่มีศีล เป็นอธิศีลแม้แต่ปกติศีลก็ยังไม่จัดว่าท่านเป็นผู้มีศีล ทั้งนี้เพราะการบก พร่องในศีลเป็นความชั่วจะด้วยกรณีใดก็ตามถ้าท่านล่วงศีลด้วยเจตนาแล้ว ท่านก็เป็นคน เลวสำหรับนักปฏิบัติ ในศีลท่านจะอ้างว่าท่านล่วงเพื่อสังคม ก็ไม่มีทางจะเอาตัวรอดได้ เพราะการที่ท่านต้องเกรงใจสังคมที่ชั่วช้าเลวทราม เพราะมุ่งที่จะทำลายความดี สิ่งที่ท่าน ทำไปนั้นมันเป็นเหตุของความชั่ว ขึ้นชื่อว่าความชั่วแม้แต่นิดหนึ่งก็เป็นความชั่ว ของเหม็น ที่มนุษย์รังเกียจ ร่างกายเราทั้งใหญ่ทั้งโต แต่พอสิ่งโสโครกที่มีกลิ่นเหม็นเพียงนิดเดียว มาติดกายเราก็ต้องรีบล้าง รีบชำระ เพราะรังเกียจในกลิ่นเหม็นที่เราไม่ยอมปล่อยด้วยคิด ว่ามันมีจำนวนนิดเดียว ร่างกายเรายังว่างจากสิ่งโสโครกนั้นมากมายเราไม่ปล่อยไว้ก็ เพราะคิดว่า สิ่งโสโครกแม้แต่นิดเดียวก็สร้างความเดือดร้อนแก่จิตใจข้อนี้ฉันใดแม้ศีล ที่ท่านรักษาเพื่อเป็นภาคพื้นของสมาธิสมาบัติก็เช่นเดียวกัน ท่านพร่องในศีลด้วยเจตนา เพียงนิดเดียวท่านไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย เพราะเพียงศีลมีการ รักษาแบบหยาบๆ ท่านยังรักษาไม่ได้ ท่านจะเป็นผู้ทรงสมาธิที่มีอารมณ์ละเอียดกว่านี้ได้ อย่างไร ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานมาเป็นเวลาหลายสิบปีที่ไม่ได้สำเร็จผลใดๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ ก็ไม่ได้ก็เพราะพร่องในศีลเป็นสำคัญ เมื่อท่านรักษาศีลตามนัยที่กล่าวมาแล้วโดยมั่นคง จนถึงขั้นไม่ต้องระวังหมายความว่า ละเสียได้จนชินไม่มีการพลั้งเผลอแล้วต่อไปท่านให้ ปฏิบัติดังต่อไปนี้ ระงับนิวรณ์ ๕ ท่านสอนให้ระงับนิวรณ์ห้าประการ โดยพิจารณาเห็นโทษของนิวรณ์ปกติ คือ
๑. เห็นโทษของกามฉันทะ ความมั่วสุมในกามารมณ์ว่า เป็นทุกข์เป็นภัยอย่างยิ่ง
๒. เห็นโทษของการจองล้างจองผลาญ เพราะการพยาบาทมาดร้ายซึ่งกันและกัน เป็นเสมือนไฟคอยผลาญความสุข
๓. คอยกำจัดความง่วงเหงาหาวนอน เมื่อขณะปฏิบัติสมณธรรม
๔. คอยควบคุมอารมณ์ไม่ให้ฟุ้งซ่านออกนอกลู่นอกทางเมื่อขณะภาวนา
๕. ตัดความสงสัยในมรรคผลเสีย โดยมั่นใจว่าผลของการปฏิบัติมีแน่นอนถ้าเรา ทำถึง เจริญพรหมวิหาร ๔
๑. แผ่เมตตา ความรักไปในทางทิศทั้ง ๔ โดยคิดไว้ด้วยความบริสุทธิ์ใจว่าเราจะ เป็นมิตรแก่คนและสัตว์ทั่วโลก จะยอมเคารพในสิทธิของกันและกัน จะรักสิทธิของผู้อื่น เสมอด้วยสิทธิของกันและกัน จะรักสิทธิของผู้อื่นเสมอด้วยสิทธิของตนเองจะไม่ทำใคร ให้เดือดร้อนด้วยกายวาจาแม้แต่จะคิดด้วยใจ จะรักษาและเคารพในบุคคลและสัตว์เสมอ ด้วยความรักตนเอง
๒. กรุณา จะสงสาร หวังสงเคราะห์สัตว์และมนุษย์ทั้งปวง ทั่วในทิศทั้ง ๔
๓. มุทิตา จะไม่อิจฉาริษยาคนและสัตว์ทั้งหลาย ทั่วทิศทั้ง ๔ จะพลอยส่งเสริมเมื่อ ผู้อื่นได้ดีมีโชคมีความรู้สึกในเมื่อได้ข่าวว่าผู้อื่นได้ดีมีโชคเหมือนตนของตนเป็นผู้ได้ดีมี โชคเอง
๔. อุเบกขา วางเฉยเมื่อผู้อื่นพลาดพลั้งไม่ซ้ำเติมให้ช้ำใจและตั้งใจหวังสงเคราะห์ เมื่อมีโอกาส การรักษาศีลบริสุทธิ์ ด้วยการไม่ล่วงเอง ไม่ใช่ให้ผู้อื่นล่วง และไม่ยินดีต่อเมื่อผู้อื่น ล่วงศีลและตัดความพอใจในนิวรณ์ ๕ โดยระงับนิวรณ์ไม่ให้รบกวนจิต เมื่อขณะปฏิบัติ สมณธรรมได้ และทรงพรหมวิหาร ๔ ประการได้อย่างครบถ้วนอย่างนี้ อารมณ์จิตก็เป็น ฌาน และฌานจะไม่รู้จักเสื่อมเพราะพรหมวิหาร ๔ อุ้มชู คนที่มีพรหมวิหาร ๔ ประจำใจ ศีลก็บริสุทธิ์ไม่เศร้าหมอง สมาธิก็ตั้งมั่นวิปัสสนาญาณก็ผ่องใส รวมความว่าพรหมวิหาร ๔ เป็นกำลังใหญ่ในการปฏิบัติสมณธรรมทุกระดับ การรักษาศีลบริสุทธิ์ เป็น อธิศีลสิกขา การกำจัดนิวรณ์และทรงพรหมวิหารเป็น อธิจิตตสิกขาคือทรงฌานสมาบัติไว้ได้ ท่านปฏิบัติได้ถึงระดับนี้ พระพุทธชินสีห์ตรัสไว้ใน อุทุมพริกสูตรว่า มีความดีในระดับเปลือกของความดีในพระพุทธศาสนาเท่านั้นเรียกว่า เริ่มเป็นพุทธศาสนิกชนชั้นเด็ก ๆ ความดีระดับกระพี้ ท่านมีศีลบริสุทธิ์ กำจัดนิวรณ์ ๕ ได้ ทรงพรหมวิหาร ๔ แล้วสร้างฌานพิเศษมี ปุพเพ- นิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติที่ล่วงมาแล้วได้โดยไม่จำกัดชาติ ทำได้อย่างนี้ท่านว่ามีความดี ระดับกระพี้ของความดีในพระพุทธศาสนา ยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่พระพุทธเจ้ายกย่องสรรเสริญ ความดีระดับแก่น เมื่อท่านรักษาศีลบริสุทธิ์ กำจัดนิวรณ์ ๕ ได้ ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ปุพเพนิวาสานุส- สติญาณและบรรลุทิพยจักษุญาณ สามารถรู้ว่าสัตว์ตายแล้วไปเกิดที่ไหน สัตว์ที่มาเกิดนี้ มาจากไหน มีความสุขความทุกข์เพราะอาศัยกรรมอะไรเป็นเหตุ ตอนนี้พระพุทธองค์ตรัส ว่า เป็นความดีที่ทรงความเป็นสาระแก่นสาร ความดีระดับนี้ก็เป็นความดีระดับวิชชาสาม แต่ก็ดี เพียงแค่มีศรัทธาแก่กล้าไม่ท้อถอยเท่านั้นเอง พระองค์ทรงกล่าวแก่นิโครธะต่อไป ว่า ความดียิ่งกว่านี้ยังมีอีกที่ทำให้ผู้ปฏิบัติพ้นทุกข์มีแต่สุขล้วนๆ ทรงกล่าวว่า ผู้ใดทรง ความดีตามที่กล่าวมาแล้วนั้นได้ครบถ้วนแล้ว ถ้าจะปฏิบัติเพื่อธรรมเบื้องสูงที่จบพรหม- จรรย์แล้วอย่างช้าไม่เกิน ๗ ปี อย่างกลางไม่เกิน ๗ เดือนอย่างเร็วไม่เกิน ๗ วัน ก็จะเข้า ถึง อรหัตตผล เป็นพระอริยบุคคลระดับยอดในพระพุทธศาสนา กฎของการปฏิบัติสมณธรรมที่จะได้รับผลสมตามที่มุ่งหมายท่านต้องยึดหลักตามที่ กล่าวมาแล้วเป็นบันไดการปฏิบัติ ทำให้ได้ให้ถึงระดับเป็นขั้นๆ ไป เช่น ศีลก็ต้องปฏิบัติ ฝึกหัดจิตให้เป็นมิตรกับศีลจริงๆ จังๆ อย่างชนิดที่ถ้าบกพร่องศีลนิดหนึ่งก็กินไม่ได้ นอน ไม่หลับ ทำความรู้สึกในจิตใจของตนเองให้มีอารมณ์เป็นปกติดีว่า การพร่องในศีลก็เป็น การเปิดโอกาสให้ความเลวทรามเข้าแทรกแซงสิงใจ ทำให้จิต กาย วาจาของเราที่ขัดเกลา แล้วด้วยดี กลายเป็นวาจาใจที่เลวทรามต่ำช้า การพร่องในศีลเลวอย่างไรจะขอย้อนมาพูด เรื่องขาดศีลแล้วกลายเป็นคนเลวทรามให้ท่านได้พิจารณาสักหน่อย พอที่ท่านผู้มีจิตเป็น ธรรม จะได้เห็นเป็นแนวทางปฏิบัติ การบกพร่องในศีลเป็นคนเลว ตอนนี้ให้ถือว่าคุยกันฐานญาติเถอะนะ อย่าคิดเป็นอย่างอื่นเลย อยากจะขอถามท่าน สักนิดว่า
๑. ปกติท่านชอบให้ใครมาทำร้ายร่างกายท่านไหม ? ถ้าท่านอยู่ดีๆ โดยไม่มีความ ผิดใดๆ ถ้ามีคนจะมาฆ่าท่านหรือมาทำร้ายร่างกายท่าน ท่านจะยินยอมให้เขาทำด้วย ความเต็มใจหรือท่านจะไม่พอใจในการกระทำอย่างนั้นของเขา
๒. ทรัพย์สมบัติที่ท่านได้รับมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษก็ดี หรือทรัพย์ที่ท่าน พยายามเก็บหอมรอมริบไว้ด้วยความวิริยะอุสาหะ ที่คอยกระเหม็ดกระแหม่ อดเปรี้ยว ไว้กินหวาน เมื่อท่านเก็บสะสมไว้พอสมควรแก่การที่คิดว่าจะพอดำรงความเป็นอยู่ให้ มีความสุขได้ตามสมควรแล้วถ้ามีบุคคลคณะหนึ่งหรือคนเดียวก็ตาม มาบังคับขู่เข็ญ ยื้อแย่งหรือลักขโมยทรัพย์ที่ท่านอุตส่าห์เก็บหอมรอมริบไว้นั้นไปเป็นสมบัติของเขาโดย ที่เขาไม่มีสิทธิและท่านเองก็มิเห็นชอบด้วย
๓. ท่านมีคู่ครองที่รัก หากมีใครก็ตามมาแอบละเมิดสิทธิร่วมรักกับคู่ครองของท่าน โดยที่ท่านมิได้เห็นชอบด้วย
๔. ปกติมักจะมีคนมาพูดเรื่องราวที่ไม่เป็นความจริงให้ฟังเสมอ ๆ แม้แต่เรื่องที่พูด นั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเกี่ยวแก่ผลได้ผลเสียของชีวิตและทรัพย์สิน เขายังไม่ยอม พูดอะไรตามความเป็นจริง ข่าวคราวการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่ได้รับจากผู้นั้นเป็นข่าวเท็จ ตลอดมา หาความจริงจากวาจาของเขาไม่ได้เลย
๕. ปกติท่านเป็นคนดีมีสติสัมปชัญญะ แต่บังเอิญมีใครมาแนะนำท่านว่า การเป็น คนเรียบร้อยอย่างนี้ ติ๋มเกินไป ไม่ทันสมัย เรามาหาน้ำยาย้อมใจพอที่จะช่วยส่งเสริมใจ ให้เคลิบเคลิ้ม ทำอาการต่างๆ อย่างคนบ้าๆ บอๆ ได้ร้องเพลงในที่รโหฐานที่เขาต้องการ ความสงัดก็ได้โดยไม่ต้องเกรงใจใครทั้งๆ ที่เวลาปกติทำไม่ได้ นอนกลางถนนหนทางก็ได้ ด่าพ่อเตะแม่ก็ได้ โดยไม่ต้องคิดถึงบุญคุณที่ท่านเลี้ยงดูมารวมความว่าทำแบบคนบ้าๆ บอๆ ได้ด้วยความเต็มใจ จนชาวบ้านชาวเมืองที่มีสติสัมปชัญญะพากันเห็นว่าเรากลายเป็นคน บ้าๆ บอๆ เสียแล้ว อยากจะถามว่า อาการทั้ง ๕ อย่างนี้ เป็นอาการของคนที่พร่องในศีลแต่ละอย่างตาม สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ถ้าท่านถูกกระทำอย่างนั้นทั้ง ๕ ข้อ หรือข้อใดข้อหนึ่ง ท่านจะมีความพอใจเพียงใดหรือไม่ ท่านคิดว่าคนที่ปกติทำอย่างนั้นเป็นสุภาพบุรุษหรือเป็น อันธพาลที่โลกประณามว่าชั่วช้าสารเลว ขอให้ท่านตอบและเลือกเอาเองถ้าท่านเลือกเอาใน ปฏิปทาที่กล่าวมาแล้วแม้แต่ข้อเดียวท่านก็อย่าเพ่อหวังฌานสมาบัติหรือมรรคผลเลย เพราะ ท่านเลวเกินไปกว่าที่จะเข้าถึงฌานสมาบัติหรือมรรคผลได้ ถ้าคิดว่าท่านเว้นความชั่วช้าเลว ทรามอย่างนั้นได้เด็ดขาด จนมีความรู้สึกเป็นปกติธรรมดาไม่ต้องระมัดระวัง อย่างนี้ ท่านมี หวังดำรงอยู่ในฌานได้แน่นอน การที่มีคนพูดว่าฌานสมาบัติหรือมรรคผลในสมัยนี้ไม่ควร หวัง เพราะไม่มีใครจะบรรลุได้นั้นไม่เป็นความจริงขอให้ท่านดีเท่าดีถึงเถิดฌานและมรรค- ผลยังมีสนองความดีท่านอยู่เป็นปกติที่ไม่ได้ไม่ถึงแม้แต่ฌานโลกีย์ก็เพราะแม้แต่ศีลที่เป็น ความดีหยาบๆ ที่พระอริยะเจ้าเห็นว่าเป็นของเด็กเล่น ก็ไม่สามารถจะรักษาให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้ จะเอาอะไรมาเห็นผี เห็นเทวดา เห็นสวรรค์ นรกอันเป็นวิสัยของผู้ได้ฌาน เพราะศีลเป็นความดีในระยะต่ำก็ยังทรงไม่ได้ความมุ่งหมายเอาพระนิพพานก็ยิ่งไกล เกินไปที่จะหวังได้คนประเภทนี้ท่านกล่าวว่า แม้แต่ความฝันเห็นนิพพานก็ยังไม่เคยมี เมื่อมีศีลเป็นปกติแล้ว ก็พยายามกำจัดนิวรณ์ ๕ ประการ แล้วทรงฌานตามที่ได้ ศึกษาโดยมีพรหมวิหาร ๔ เป็นอารมณ์ คอยควบคุมรักษาจิตใจให้ชุ่มชื่น เป็นการประคับ ประคองศีลและฌานสมาบัติผ่องใสไม่บกพร่อง ระดับของสมาธิที่จะทรงฌาน ทรงญาณให้ ดีเด่นบริบูรณ์ไม่บกพร่อง ต้องทำอย่างนี้ อันดับนี้เป็นฌานโลกีย์ ท่านที่นั่งคิดนอนฝันถึง พระนิพพานอย่าเพ่อท้อใจว่า การปฏิบัติตามลำดับอย่างนี้จะช้าเกินไปไม่ทันการ ขอบอกว่า ท่านคิดว่าจะก้าวลัดตัดไปนิพพานให้เร็วกว่านี้ก็จงคิดว่าท่านไม่ใช่สาวกของพระพุทธเจ้า แล้วท่านอาจเป็นพระศาสดาองค์ใหม่ที่บัญญัติกฎการปฏิบัติใหม่เอาเองเพราะพระพุทธเจ้า มีแนวปฏิบัติที่พระองค์ทรงสั่งสอนพุทธบริษัทพระองค์สอนตามแนวนี้ ที่เขียนนี้ก็ลอกเอา มาจากอุทุมพริกสูตร อันปรากฏมีมาในพระไตรปิฎกตามที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นเพียงการ เตรียมการและการปฏิบัติระดับฌานโลกีย์เท่านั้น ถ้าจะปฏิบัติเพื่อมรรคผลและพระนิพพาน ท่านให้เตรียมการและปฏิบัติดังต่อไปนี้ บารมี ๑๐
ทาน ศีล เนกขัมมะ สัจจะ วิริยะ ปัญญา ขันติ เมตตา อธิษฐาน อุเบกขาทั้ง ๑๐ อย่างนี้ เป็นบารมี ๑๐ อย่าง บารมี แปลว่า ทำให้เต็มไม่บกพร่อง ท่านที่หวังมรรคผลต้องบำรุง บารมีให้ครบถ้วนจนเป็นกิจประจำใจ ไม่ละเลยเหินห่างและบกพร่อง ต้องคิดต้องตรอง ประคับประคองไว้เป็นปกติ ดังจะอธิบายไว้พอเข้าใจ
๑. ทาน ทานแปลว่า การให้ นักปฏิบัติต้องมีจิตใจจดจ่อเพื่อการให้ด้วยจิตใจที่หวัง การสงเคราะห์อยู่เป็นปกติ คิดไว้เสมอด้วยจิตที่ภาคภูมิว่า ถ้าการให้ด้วยการสงเคราะห์มีแก่ เราเมื่อใด เมื่อนั้นความสบายสุขสันต์จะมีแก่เราอย่างหาสุขอื่นเปรียบมิได้ ในขณะใดท่านมี คนต้องการความสงเคราะห์ แต่เรางดเว้นการให้เสีย จะถึงกับกินไม่ได้ นอนไม่หลับ เพราะ คิดว่า เราพ่ายแพ้ต่อความตระหนี่ อันเป็นกิเลสตัวสำคัญที่เข้ามาเหนี่ยวรั้งใจ การให้นี้ต้อง ไม่พิจารณาบุคคลถึงสุขภาพและฐานะ ถือเอาเพียงว่าเขาต้องการความช่วยเหลือเราก็ช่วย ตามต้องการ เพื่อเป็นการผ่อนคลายความทุกข์ความขัดข้องของเขา และไม่หวังการตอบ แทนใดๆ ทั้งสิ้น
๒. ศีล ศีล แปลว่า ปกติ การรักษาอาการตามความพอใจของปกติชน ที่มีความ ปรารถนาอยู่เป็นสุข ไม่อยากให้ใครฆ่า หรือทำร้ายร่างกาย ไม่ต้องการให้ใครมายื้อแย่ง ทรัพย์สิน ไม่ต้องการให้ใครมาละเมิดความรัก ไม่ต้องการฟังคำพูดที่ไร้ความจริง และ ไม่ต้องการความคลั่งไคล้ด้วยการย้อมใจด้วยสุราเมรัย ที่ทำให้สติสัมปชัญญะฟั่นเฟือน เมื่อปกติของใจคนและสัตว์เป็นอย่างนี้ เราก็ไม่ทำลายปกติของความปรารถนาความพอใจ ของชาวโลก โดยไม่ละเมิดในสิ่งที่ปกติของจิตใจต้องการ ฉะนั้นศีล ท่านจึงแปลว่า ปกติ คือรักษาอารมณ์ปกติของจิตใจของคนและสัตว์ ไม่ต้องการให้ได้รับความเดือดร้อน การ รักษาศีลก็ต้องรักษาให้เข้าถึงใจ ไม่ใช่รักษาแต่เปลือกศีล การรักษาศีลต้องรักษาอย่างนี้ ไม่ละเมิดบทบัญญัติของศีล คือทำให้ศีลขาด ศีลด่าง ศีลพร้อย และศีลทะลุด้วยตนเอง ไม่แนะนำให้คนอื่นทำ และไม่ยินดีต่อเมื่อผู้อื่นทำแล้ว ต้องรักษาระดับนี้จึงจะเป็นศีลเพื่อ มรรคผล
๓. สัจจะ สัจจะ แปลว่า ความตั้งใจจริง เราจะไม่ยอมเลิกละความตั้งใจเดิม แม้ แต่จะต้องตายก็ตาม
๔. วิริยะ วิริยะ แปลว่า ความเพียร ความเพียรนี้ต้องมีประจำใจจริงๆ วิริยบารมี เป็นเครื่องควบคุมใจในเวลาที่จิตใจเกิดความท้อถอย ต้องตัดสินใจบากบั่นไม่พรั่นพรึงต่อ อุปสรรคใด ๆ แม้จะต้องสิ้นลมปราณก็ตามที ในเมื่อเรานี้เป็นนักเสียสละ แม้แต่ชีวิต จะสูญสิ้นไป เลือดเนื้อจะเหือดแห้งไปก็ตามที ถ้ามรรคผลนิพพานที่เราปรารถนานี้ยัง ไม่ปรากฏเพียงใดเราจะไม่ละความพยายามประพฤติปฏิบัติไปโดยไม่คำนึงถึงอุปสรรค
๕. เนกขัมมะ เนกขัมมะ แปลว่าการถือบวช หมายถึงการอดในกามารมณ์ อย่าง ที่ท่านทรงพรหมจรรย์ โดยตัดใจไม่ใยดีในอารมณ์ยั่วเย้าด้วยอำนาจกามฉันทะ คือความ พอใจในกามารมณ์ คือไม่นิยมรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสเลิศ สัมผัสที่นิ่มนวลและ การฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรี ด้วยเห็นว่าเป็นภัยใหญ่ของการปฏิบัติเพื่อมรรคผล โดยพิจารณาให้เห็นความเป็นทุกข์ของการที่มีความประสงค์อย่างนั้น ตัวอย่างของคนคู่ มีความทุกข์ มีเป็นตัวอย่างดื่น ควรพิจารณาค้นคว้าให้เห็นด้วยตนเอง ถ้าทำตลอดกาล ไม่ได้ก็ให้ปฏิบัติตัดกามารมณ์เป็นครั้งเป็นคราว จิตจะค่อยๆ ชินไปจนตัดใจได้เป็นปกติ
๖. ปัญญา ปัญญาแปลว่า ความรู้ ที่เกิดขึ้นจากการพินิจพิจารณา แปลว่า ความ เฉลียวฉลาดก็ได้ ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นโทษของ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ให้เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นทุกข์ จนเกิดนิพ- พิทา ความเบื่อหน่ายต่อการเกิดในชาติภพต่อไป จนกระทั่งได้สังขารุเปกขาญาณ คือไม่มี ความหวั่นไหวในเมื่อความทุกข์ใด ๆ เกิดขึ้นแก่สังขาร
๗. ขันติ ขันติ แปลว่าความอดทนหรืออดกลั้น ต่ออารมณ์ที่เข้ามายั่วยวนให้เกิด ความรักความโกรธ ความหลง มีความอดกลั้น อดทนเป็นพิเศษ ไม่ยอมให้อารมณ์ฝ่ายชั่ว เข้ามาล้างอารมณ์วิปัสสนาญาณได้
๘. เมตตา เมตตา แปลว่า ความรักที่ปราศจากความใคร่ด้วยอำนาจกิเลส หมายถึงรักด้วยความปราณี ไม่มีอารมณ์ในส่วนของกิเลสเจือปน ทำจิตของตนให้มี ความรักอย่างกว้างขวาง แม้แต่คนที่เคยประกาศตนเป็นศัตรูมาในกาลก่อน ถ้าเห็น หน้าเข้าเราก็มีจิตใจแช่มชื่นไม่ลำบาก ไม่มีการอาฆาตจองล้างจองผลาญ แต่กลับมี ความเมตตาปราณีสงสารหวังสงเคราะห์ให้มีความสุขตามสมควรแก่อัตภาพ
๙. อธิษฐาน อธิษฐานแปลว่า ความตั้งใจมั่น คือเมื่อตั้งใจไว้แล้วเพียงใดจะ ไม่ยอมแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปจากความตั้งใจเดิมเป็นอันขาด ทั้งนี้หมายถึงตั้งใจไว้ถูก ต้องแล้ว แต่ถ้าตั้งใจไว้เดิมผิดพลาด เมื่อพิจารณาทราบแล้ว แก้ไขให้ถูกต้องได้ เป็น การเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ตรงตามแนวปฏิบัติเพื่อมรรคผลไม่เสียอธิษฐาน ถ้าผิดแล้วขืน ดันทุรังไม่ยอมแก้ไขกลายเป็นมารกิเลส เสียหายใหญ่
๑๐. อุเบกขา อุเบกขาแปลว่า ความวางเฉย หมายถึงเฉยต่ออารมณ์ที่เป็นทุกข์ และเป็นสุข อันเป็นวิสัยของโลกีย์ คือ ไม่ยอมยินดียินร้ายต่ออารมณ์ของโลกวิสัย ทำจิตใจ ให้ว่างต่ออารมณ์ที่เป็นสุขและทุกข์อันเป็นโลกีย์วิสัยเสีย
บารมีทั้ง ๑๐ อย่างนี้ นักวิปัสสนาญาณต้องมีครบถ้วน แล้วต้องปฏิบัติได้เป็นปกติ ไม่ใช่ท่องจำได้ การปฏิบัติได้ก็ต้องเป็นไปตามความพอใจเป็นปกติ ไม่ใช่ฝืนใจ ถ้าบังคับใจ ฝืนใจอยู่ ก็เห็นจะยังนานหน่อยที่จะเข้าถึงมรรคผล ถ้าท่านเห็นว่า การประพฤติตามในบารมี ๑๐ นี้ เป็นปกติธรรมดาไม่มีอะไรหนักใจแล้ว ท่านก็เป็นคนที่ใกล้ต่อมรรคผลผู้หนึ่งเช่นเดียว กับท่านที่ได้บรรลุมรรคผลมาแล้วนั่นเอง อุปกิเลสของวิปัสสนาญาณ ๑๐ ในขั้นวิปัสสนาญาณ เป็นกฎการปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผล ท่านก็ต้องมีการเตรียม เครื่องอุปกรณ์การปฏิบัติให้ครบถ้วนอย่างปฏิบัติขั้นฌานเหมือนกัน เมื่อท่านตระเตรียม ในขั้นบารมี ๑๐ ชื่อว่าเป็นการเตรียมปูพื้นให้เรียบเพื่อเป็นพื้นฐานขั้นต้น เช่นเดียวกับ การปรับปรุงศีลให้บริสุทธิ์ขั้นปฏิบัติฌานเมื่อท่านปรับปรุงบารมี ๑๐ เพื่อเป็นพื้นฐานแล้ว สิ่งที่ต้องระวังการพลั้งพลาดในการเจริญวิปัสสนาอารมณ์จิตอาจจะข้องหรือหลงใหลใน อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง จนทำให้เสียผลในการกำจัดกิเลส เช่นเดียวกับจิตข้องในนิวรณ์ ทำให้เสียกำลังสมาธิ ไม่ได้ฌานเช่นกัน อารมณ์กิเลสที่คอยกีดกันอารมณ์วิปัสสนาก็คือ อารมณ์สมถะที่มีอารมณ์ละเอียดคล้ายคลึงวิปัสสนาญาณ ท่านเรียกว่าว่า อุปกิเลสของ วิปัสสนา ๑๐ อย่างคือ
๑. โอภาส โอภาส แปลว่า แสงสว่าง ขณะพิจารณาวิปัสสนาญาณนั้น จิตที่กำลัง พิจารณาอยู่ จิตย่อมทรงอยู่ในระดับอุปจารสมาธิ สมาธิระดับนี้ เป็นสมาธิเพื่อสร้างทิพย- จักษุญาณ ย่อมเกิดแสงสว่างขึ้น คล้ายใครเอาประทีปมาตั้งไว้ใกล้ ๆ เมื่อปรากฏแสงสว่าง จงอย่าทำความพอใจว่าเราได้มรรคผลเพราะเป็นอำนาจของอุปจารสมาธิอันเป็นผลของ สมถะที่เป็นกำลังสนับสนุนวิปัสสนาเท่านั้น ไม่ใช่ผลในวิปัสสนาญาณ
๒. ปีติ ปีติ แปลว่า ความอิ่มใจ ความปลาบปลื้มเบิกบาน อาจมีขนพองสยองเกล้า น้ำตาไหล กายโยกโคลง กายลอยขึ้นบนอากาศ กายโปร่งสบาย กายเบา บางคราวคล้ายมี กายสูงใหญ่กว่าธรรมดา มีอารมณ์ไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติอารมณ์ สมาธิแนบแน่นดีมาก อารมณ์สงบสงัดง่าย อาการอย่างนี้ไม่ใช่ผลของวิปัสสนา เป็นผลของสมถะ อย่าเข้าใจว่า บรรลุมรรคผล
๓. ปัสสัทธิ ปัสสัทธิ แปลว่า ความสงบระงับด้วยอำนาจฌาน มีอารมณ์สงัดเงียบ คล้ายจิตไม่มีอารมณ์อื่น มีความว่างสงัดสบาย ความรู้สึกทางอารมณ์ โลกียวิสัยดูคล้ายจะ สิ้นไป เพราะความรักความโลภ ความโกรธ ความข้องใจในทรัพย์สินไม่ปรากฏ อาการ อย่างนี้เป็นอารมณ์ของอุเบกขาใน จตุตถฌาน เป็นอาการของสมถะ ผู้เข้าถึงใหม่ๆ ส่วน มากหลงเข้าใจผิดว่าบรรลุมรรคผล เพราะความสงัดเงียบอย่างนี้ตนไม่เคยประสบมาก่อน ต้องยับยั้งชั่งใจไว้ก่อน อย่าด่วนตัดสินใจว่าได้มรรคผล เพราะมรรคผลมีฌานเป็นเครื่อง รู้มีอยู่ ถ้าญาณเป็นเครื่องรู้ยังไม่แจ้งผลเพียงใด ก็อย่าเพ่อตัดสินใจว่าได้บรรลุมรรคผล .


คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน มีทั้งหมด 72 ตอนนะครับ โปรดติดตามในตอนต่อไปครับ

ที่มา เวปพลังจิต

ทำนองเพลง ลาวม่านแก้ว



Create Date : 01 ตุลาคม 2554
Last Update : 2 ตุลาคม 2554 20:43:48 น. 0 comments
Counter : 549 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หมึกสีดำ
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add หมึกสีดำ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.