หมึกสีดำของไผ่สีทอง
ความโศกทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท เป็นมุนี ศึกษาในทางปฏิบัติถึงมโนปฏิบัติ เป็นผู้คงที่ ระงับแล้ว มีสติทุกเมื่อ,, การไม่ทําบาปทั้งปวงหนึ่ง การยังกุศลให้ถึงพร้อมหนึง การชําระจิตใจของตนให้ผ่องแผ้วหนึ่ง นี่แลเป้นคําสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
2 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
อธิโมกข์



คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ----> หน้า 22

         ๔. อธิโมกข์ อธิโมกข์ แปลว่า อารมณ์ที่น้อมใจเชื่อโดยปราศจากเหตุผล
ด้วยพอได้ฟังว่าเราได้มรรคได้ผล ยังมิได้พิจารณาให้ถ่องแท้ก็เชื่อแน่เสียแล้วว่า เราได้
มรรคได้ผล โดยไม่ใช้ดุลพินิจเป็นเครื่องพิจารณา อาการอย่างนี้ เป็นอาการของศรัทธา
ตามปกติไม่ใช่มรรคผลที่ตนบรรลุ
         ๕. ปัคคหะ ปัคคหะ แปลว่า มีความเพียรกล้า คนที่มีความเพียรบากบั่น
ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคเป็นเหตุที่จะให้บรรลุมรรคผล แต่ถ้ามาเข้าใจว่าตนได้บรรลุ
เสียตอนที่มีความเพียรก็เป็นการที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ความพากเพียรด้วยความมุ
มานะนี้ เป็นการหลงผิดว่าได้บรรลุมรรคผลได้เหมือนกัน
         ๖. สุข สุข แปลว่า ความสบายกายสบายใจ เป็นอารมณ์ของสมถะที่เข้าถึง
อุปจารฌานระดับสูง มีความสุขทางกายและจิตอย่างประณีต ไม่เคยปรากฏมาก่อนใน
ชีวิต อารมณ์สงัดเงียบ เอิบอิ่มผ่องใส สมาธิก็ตั้งมั่น จะเข้าสมาธิเมื่อใดก็ได้ อารมณ์
อย่างนี้เป็นผลของสมถภาวนา จงอย่าหลงผิดว่าได้มรรคผลนิพพาน
         ๗. ญาณ ญาณ แปลว่า ความรู้อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจที่จิตมีสมาธิ จาก
ผลของสมถภาวนา เช่น ทิพยจักษุฌาน เป็นต้น สามารถเห็นนรก สวรรค์ พรหมโลกได้
และรู้อดีต อนาคต ปัจจุบันได้ตามสมควร เป็นผลของสมถะแท้ไม่ใช่ผลของวิปัสสนา
เมื่อได้ เมื่อถึงแล้วอาจจะหลงผิดว่าได้บรรลุผลนิพพาน เลยเลิกไม่ทำต่อไป พอใจในผล
เพียงนั้น ก็เป็นที่น่าเสียดาย เพราะญาณที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นญาณในสมถะ ไม่ใช่
อารมณ์วิปัสสนาญาณ ถ้าพอใจเพียงนั้นก็ยังต้องเป็นโลกียชนต้องเวียนว่ายตายเกิด
ในวัฏฏะต่อไป
         ๘. อุเบกขา อุเบกขา แปลว่า ความวางเฉย เป็นอารมณ์ในสมถะคือ ฌาน ๔
ถ้ามาเข้าใจว่าความวางเฉยนี้เป็นมรรคผล ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ความจริง
ก็อาจคิดไปได้ เพราะคนใหม่ยังเข้าใจอารมณ์ไม่พอ ท่านจึงบอกไว้ให้คอยระวัง
         ๙. อุปปัฏฐาน อุปปัฏฐาน แปลว่า เข้าไปตั้งมั่น หมายถึงอารมณ์ที่เป็นสมาธิ
มีอารมณ์สงัดเยือกเย็น ดังเช่นที่ท่านเข้าฌาน ๔ มีอารมณ์สงบสงัด แม้แต่เสียงก็กำจัด
ตัดขาดไม่มีปรากฏอารมณ์ใดๆ ไม่มี เป็นอารมณ์ที่แยกกันระหว่างกายกับจิตอย่าง
เด็ดขาด เป็นปัจจัยให้นักปฏิบัติเข้าใจพลาดว่าบรรลุมรรคผลก็เป็นได้ ความจริงแล้ว
เป็นฌาน ๔ ในสมถะแท้ๆ
         ๑๐. นิกกันติ นิกกันติ แปลว่า ความใคร่ เป็นความใคร่น้อยๆที่เป็นอารมณ์
ละเอียดไม่ฟูมาก ถ้าไม่กำหนดรู้อาจไม่มีความรู้สึก เพราะเป็นอารมณ์ของตัณหาสงบ
ไม่ใช่ขาดเด็ดเป็นเพียงสงบ พักรบชั่วคราวด้วยอำนาจฌาน มีปฐมฌานเป็นต้น เข้าระงับ
อารมณ์ตัณหาที่อ่อนระรวยอย่างนี้ ทำให้นักปฏิบัติเผลอเข้าใจว่าบรรลุมรรคผลนิพพาน
มีไม่น้อย แต่พอนานหน่อยฌานอ่อนกำลังลง พ่อกิเลสตัณหาก็กระโดดโลดเต้นตามเดิม
อาการอย่างนี้ นักปฏิบัติก็ต้องระมัดระวัง
         วิปัสสนาญาณที่พิจารณาต้องมีสังโยชน์เป็นเครื่องวัด และพิจารณาไปตามแนว
ของสังโยชน์เพื่อการละ ละเป็นขั้น เป็นระดับไป ค่อยละค่อยตัดไปทีละขั้น อย่าทำเพื่อ
รวบรัดเกินไป แล้วคอยระมัดระวังใจ อย่าให้หลงใหลในอารมณ์อุปกิเลส ๑๐ ประการ
ท่านค่อยทำค่อยพิจารณาอย่างนี้  ก็มีหวังที่จะเข้าถึงความสุข ที่เป็นเอกันตบรมสุข สม
ความมุ่งหมาย

สังโยชน์ ๑๐
         สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ตกอยู่ในวัฏฏะ มี ๑๐ อย่าง
ด้วยกันคือ
         ๑. สักกายทิฏฐิ เห็นว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา เรามีในร่างกาย และร่างกาย
คือเรา (คำว่าร่างกายในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕)
         ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในคุณพระรัตนตรัย โดยคิดว่าอาจช่วยให้บรรลุผล
ไม่ได้จริง
         ๓. สีลัพพตปรามาส รักษาศีลแบบลูบๆ คลำๆ คือไม่รักษาศีลจริงจังเคร่งครัด
ตามสมควร
         ๔. กามฉันทะ มีจิตมั่วสุมหมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์เป็นปกติ
         ๕. พยาบาท มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญเป็นปกติ
         ๖. รูปราคะ ยึดถือมั่นในรูปฌาน โดยคิดว่ารูปฌานเป็นคุณธรรมพิเศษ สูงสุดที่ทำ
ให้พ้นจากวัฏฏะ
         ๗. อรูปราคะ ยึดมั่นในอรูปฌาน โดยคิดว่าอรูปฌานเป็นคุณพิเศษที่ทำให้พ้นจากวัฏฏะ
         ๘. มานะ มีอารมณ์ถือตัวถือตน ถือชั้นวรรณะเกินพอดี
         ๙. อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ครุ่นคิดอยู่ในอกุศล มีอกุศลวิตกเป็นอารมณ์
         ๑๐. อวิชชา มีความคิดเห็นว่า โลกามิสเป็นสมบัติที่ทรงสภาพไม่เปลี่ยนแปลงไม่สลายตัว
         กิเลสทั้ง ๑๐ ประการนี้ ท่านเรียกว่า สังโยชน์ เพราะเป็นกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจ
ของสัตว์ผู้ข้องให้จมอยู่ในวัฏฏะ นักเจริญวิปัสสนาญาณต้องรู้ไว้ และพยายามกำจัดกิเลสทั้ง ๑๐
ประการนี้ให้เด็ดขาดไปเป็นขั้นๆ ตามกำลังของสมาธิ และวิปัสสนาญาณ ผู้ใดกำจัดกิเลสนี้ได้
ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๓ ท่านว่าท่านผู้นั้นได้บรรลุพระโสดาและพระสกิทาคา ถ้าตัดกิเลสได้ ๕ ข้อ
คือ ข้อ ๑ ถึงข้อ ๕ ท่านว่าท่านผู้นั้นได้บรรลุพระอนาคามี ถ้าตัดกิเลสได้เด็ดขาดหมดทั้ง ๑๐ ข้อ
ท่านผู้นั้นได้บรรลุพระอรหัตตผล การกำหนดรู้จุดหมายปลายทางเป็นระยะอย่างนี้ เป็นเหตุให้การ
ปฏิบัติไม่หนักจนเกินไปและหวังผลสำเร็จได้แน่นอน ดีกว่าการกระทำแบบเดาสุ่ม ไม่รู้จุดหมาย
ปลายทาง ทำแบบคลุมตาเดิน ทำไปตามความคิดเห็นและความเข้าใจ โดยไม่ทราบจุดหมาย
คิดเอาแต่เพียงว่าจะไปพระนิพพานเท่านั้นเอง พระนิพพานเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ กิเลสที่จะละมีอะไร
บ้างก็ไม่ทราบทำไปตามเขาว่า แล้วจะเอาจุดจบได้อย่างไร ความบรรลุและการปฏิบัติ เพื่อ
พระนิพพานหรือฌานโลกีย์ในพระพุทธศาสนา ท่านมีกำหนดจุดหมายปลายทางตามที่กล่าวมา
แล้วนั้น
         เมื่อท่านเตรียมพร้อมในการเจริญวิปัสสนาญาณ ศึกษาบารมี ๑๐ และมีจิตใจทรงบารมี
๑๐ ได้อย่างปกติไม่ขาดตกบกพร่องแล้ว ต่อไปก็ศึกษาอุปกิเลส ๑๐ ประการให้เข้าใจ ระมัด
ระวังใจไม่ให้หลงผิดคิดว่า อารมณ์ในอุปกิเลส ๑๐ เป็นมรรคผล ต่อแต่นั้นไปก็เริ่มเจริญ
วิปัสสนาญาณ โดยในระยะแรก ท่านให้ชำระศีลให้บริสุทธิ์แล้วเข้าสมาธิดำรงฌาน ถ้า
เข้าถึงฌาน ๔ ได้ก็เข้าฌาน ๔ ถ้ามีสมาธิไม่ถึงฌาน ๔ ก็เข้าสมาธิตามกำลังที่ได้
เข้าสมาธิจนอารมณ์สงบดีแล้ว ก็ถอยสมาธิมาหยุดอยู่ที่อุปจารสมาธิ แล้วพิจารณาขันธ์ ๕
ด้วยวิปัสสนาญาณ เริ่มพิจารณาตามลำดับที่ ๑ ก่อน จนมีอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์ มี
อารมณ์เป็นตามองค์วิปัสสนาญาณนั้นโดยที่จิตจะไม่ฟั่นเฟือนแล้วจึงค่อยๆ เลื่อนอารมณ์
มาพิจารณาในญาณที่ ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘ และถอยหลังเป็นอนุโลมปฏิโลม ที่ท่าน
เรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ เมื่อขณะพิจารณาวิปัสสนาญาณนั้น ถ้าเห็นว่าอารมณ์จะ
ฟุ้งซ่าน ท่านให้หยุดพิจารณาในวิปัสสนาญาณเสีย เข้าฌานตามกำลังสมาธิใหม่ พอให้
จิตใจตั้งอยู่ในสมาธิ เป็นอุเบกขารมณ์แล้ว จึงค่อยๆ คลายสมาธิหยุดอยู่ที่อุปจารฌาน
แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณใหม่ ทำอย่างนี้เป็นปกติ การพิจารณาวิปัสสนาญาณก็อย่า
เร่งรัดรีบร้อน ถ้าพิจารณาข้อใดจิตใจยังปลงข้อนั้นไม่ตกจนเป็นเอกัคคตารมณ์ คือเกิด
ความคิดเห็นเป็นเช่นนั้นจริงจัง จนเกิดความเบื่อหน่ายในขันธ์ ๕ แล้ว ก็อย่าย้ายไป
พิจารณาข้อต่อไปเป็นเด็ดขาด ถ้าพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงข้อเดียว ข้อต่อไปก็ไม่มีอะไร
เสียเวลา พอเริ่มพิจารณาก็มีอารมณ์รู้แจ้งเห็นจริงทันที การพิจารณาอย่างนี้ เสียเวลา
ไม่นาน ก็จะเข้าถึงโคตรภูญาณแล้วได้มรรคผลตามที่ตนตั้งใจปรารถนาไว้

 



คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน มีทั้งหมด 72 ตอนนะครับ โปรดติดตามในตอนต่อไปครับ

ที่มา เวปพลังจิต

ทำนองเพลง ลาวม่านแก้ว



Create Date : 02 ตุลาคม 2554
Last Update : 2 ตุลาคม 2554 20:44:18 น. 0 comments
Counter : 1185 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หมึกสีดำ
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add หมึกสีดำ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.