หมึกสีดำของไผ่สีทอง
ความโศกทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท เป็นมุนี ศึกษาในทางปฏิบัติถึงมโนปฏิบัติ เป็นผู้คงที่ ระงับแล้ว มีสติทุกเมื่อ,, การไม่ทําบาปทั้งปวงหนึ่ง การยังกุศลให้ถึงพร้อมหนึง การชําระจิตใจของตนให้ผ่องแผ้วหนึ่ง นี่แลเป้นคําสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
2 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
การละ



คุ่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ----> หน้า 23

ควรกำหนดการละเป็นข้อๆ
           เพื่อไม่ให้ยุ่งยากฟั่นเฝือ การพิจารณาวิปัสสนาญาณควรมุ่งตัดกิเลสเป็นตอนๆไป
ถ้าตอนใดคิดว่าจะละให้เด็ดขาดก็ยังละไม่ได้ ก็ไม่ย้ายข้อที่ตั้งใจจะละต่อไปในข้ออื่นต้อง
ย้ำซ้ำๆ ซากๆ อยู่ในข้อนั้น จนเห็นว่าตัดได้เด็ดขาดไม่กำเริบแล้ว จึงเลื่อนไปพิจารณาละ
ข้อต่อไปอย่าทำแบบสุกเอาเผากิน คราวเดียวมุ่งละหมดทั้ง ๑๐ หรือคราวละหลายๆ ข้อ
ถ้าทำอย่างนั้นจะกลายเป็นพวกโมฆกรรม คือทำไม่ได้ผลไปจงอย่าใจร้อนเพื่อผลแน่นอน
ในการปฏิบัติ

หวังในพระโสดาบัน

           ระดับแรกควรหวังในพระโสดาบันก่อน ด้วยคิดว่าอย่างน้อย แม้ไปพระนิพพาน
ยังไม่ได้ก็พ้นอบายภูมิก็พอใจมากแล้ว แล้วกำหนดการละสักกายทิฎฐิก่อน พิจารณาให้
เห็นชัด มีอารมณ์เป็นหนึ่งแน่วแน่ว่า ร่างกาย คือ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา มีอารมณ์รู้แจ้งเห็นจริง ไม่หวั่นไหวในเมื่ออันตราย
จะเกิดแก่ ขันธ์ ๕ มีอารมณ์เป็นปกติ ไม่ประหวั่นพรั่นพรึง แล้วจึงเลื่อนไปกำหนด
ละสังโยชน์ที่ ๒
           คือพิจารณาให้เห็นคุณพระรัตนตรัย โดยเห็นด้วยใจอันเต็มไปด้วยศรัทธาแท้
และเห็นด้วยปัญญาว่า พระรัตนตรัยมีคุณประเสริฐจริงๆ เราจะรู้บาปบุญคุณโทษได้ก็
เพราะพระรัตนตรัยเป็นเหตุ จนจิตมีความเคารพมั่นคงดำรงความนอบน้อมในคุณพระ-
รัตนตรัยเป็นเหตุ จนจิตมีความเคารพมั่นคงดำรงความนอบน้อมในคุณพระรัตนตรัย
จริง ๆ ไม่ยอมกล่าววาจาล่วงเกิน แม้แต่จะพูดเล่นๆ ว่า พระพุทธ ไม่ใช่ พระพุทธ
พระธรรม
ไม่ใช่ พระธรรม พระสงฆ์ไม่ใช่ พระสงฆ์ แม้พูดเล่นๆ โดยไม่คิด
ปรามาสก็ไม่ยอมพูดทั้งนี้เพราะเคารพด้วยความจริงใจ จนจิตมั่นคงเป็นอารมณ์
           ต่อไปก็เริ่มวิจัยในสังโยชน์ที่ ๓ คือปรับปรุงศีล ตั้งใจกำหนดรักษาศีล
จนรักศีลยิ่งกว่าชีวิต โดยกำหนดจิตรักษาศีลโดยมั่นคง อย่านั่งคิดนอนตรองเฉยๆ ต้อง
รอการประสบการณ์ด้วยเมื่อประสบการณ์เกิดขึ้น จนคิดว่านี้ถ้าเป็นในกาลก่อนแต่นี้ถ้า
เหตุการณ์อย่างนี้ปรากฏ เราเห็นจะยั้งใจไม่ไหว แต่นี่ถูกรุกรานขนาดนี้ อารมณ์ใจ
ยังแจ่มใสเสมือนไม่มีอะไรมากระทบใจ ถ้าอารมณ์จิตใจเป็นอย่างนี้ จัดว่าพอใช้ได้
แล้ว
           ละสังโยชน์สามอย่างนี้ได้แน่นอน ท่านว่าได้บรรลุพระโสดาบัน ถ้า
ละเอียดไปอีกนิดก็บรรลุ พระสกิทาคามี คงละสังโยชน์ได้สามเท่ากัน แต่ตอนที่ได้
พระสกิทาคามี มีอารมณ์ละเอียดมากว่าพระโสดา ที่เห็นได้ชัดก็คือ อารมณ์ที่ใคร่
ในกามคุณ เกือบหาความรู้สึกมิได้ เพราะมีอารมณ์ สงบสงัดจากกามคุณมากบาง
ท่านคิดว่าได้บรรลุพระอนาคามี
           ต่อไปก็มุ่งกำจัดสังโยชน์ ๔ พิจารณาโทษของกามคุณ ตั้งจิตกำจัดให้เด็ดขาด
และละพยาบาทจิตที่คิดประทุษร้าย จนจิตระงับไปเป็นเอกัคคตารมณ์ คือกามคุณไม่มี
ในความรู้สึก อวัยวะสืบพันธุ์สงบระงับ มีอารมณ์ผ่องใส เห็นกามคุณเสมือนเห็นซากศพ
เห็นคนที่เคยเป็นศัตรูกันมีจิตเมตตาคล้ายเห็นบุตรสุดที่รัก อย่างนี้ท่านว่าได้บรรลุ
พระอนาคามีผล
           ต่อไปก็ตั้งใจละรูปราคะ คือกำหนดรู้ชัดว่า รูปฌานเป็นกำลังสมาธิที่ช่วย
วิปัสสนาญาณ กำจัดกิเลส มิใช่ว่ารูปฌานเป็นตัวมรรคผล ไม่หลงว่าดีเลิศในขณะที่
ทรงอยู่ในรูปฌาน
           กำหนดรู้ชัดในอรูปฌานว่า ไม่ใช่ตัวมรรคผล เป็นสมาธิที่เป็นกำลังสนับ
สนุนวิปัสสนาญาณ ให้มีกำลังกำจัดกิเลสโดยรวดเร็ว ไม่ยับยั้งการปฏิบัติแต่เพียงเท่านั้น
มุ่งเจริญวิปัสสนาญาณเพื่อมรรคผลนิพพานต่อไป
           กำหนดตัดอุทธัจจะ คือจิตที่คิดพล่านไปในส่วนที่เป็นอกุศล บังคับ
อารมณ์ของตนให้ตั้งอยู่ในกุศลวิตก ด้วยอำนาจวิปัสสนาญาณ
           ตัดมานะ ความถือชั้นวรรณะ อันเป็นการยึดถือที่ไม่ถูกไม่ควรเสีย ทำจิตรู้
ตามความเป็นจริงด้วยอำนาจวิปัสสนาญาณ
           ละอวิชชา ด้วยอำนาจวิปัสสนาญาณเสียได้ คำว่า อวิชชานี้ แปลว่า ไม่รู้ เคย
ถกเถียงสอบถามมาหลายท่านว่า อวิชชามีความจำกัดเพียงใด ในสมัยยังศึกษานักธรรม
อยู่หาคนแก้ให้ฟังไม่ได้ ต่อมาได้ตรวจดูในพระไตรปิฎก พบว่า อวิชชา ท่านหมาย
เอาอุปาทาน
คือความยึดมั่นถือมั่นไม่รู้ตามความเป็นจริงและ อุปาทานนี้มีคำจำกัด
อยู่ ๒ คำ คือ ฉันทะและราคะ
ท่านหมายเอาว่า อุปาทานนี้ก็ได้แก่ ฉันทะ ความ
หลงใหลใฝ่ฝันในโลกามิสทั้งหมดมีความปรารถนา มีความพอใจในสมบัติของโลก โดย
มิได้คิดว่าสมบัติของโลกนี้มันมีอันที่จะต้องสลายฉิบหายไปในที่สุด ราคะ มีความกำหนัด
ยินดีในสมบัติของโลกด้วยอารมณ์ใคร่ในกิเลสฉะนั้นการกำจัดอวิชชา หรือ อุปาทาน ท่าน
ก็ให้พิจารณาเห็นว่า สมบัติของโลกไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา เราไม่มีในสมบัติของ
โลก สมบัติของโลกไม่มีในเรา จนมีอารมณ์ไม่ยึดถืออะไรเป็นอารมณ์มีอยู่ก็เป็นเสมือน
ไม่มีจิตไม่ผูกพันเกินพอดี มีใช้ก็ใช้เมื่อมันอันตรธานไปก็ไม่เดือดร้อนเท่านี้พอแล้ว
มีอารมณ์เหือดแห้งในโลกามิส มีจิตชุ่มชื่นต่ออารมณ์ในพระนิพพานเห็นอะไรใจไม่ข้อง
ไม่เศร้าหมองเดือดร้อนในอารมณ์ที่เป็นโลกวิสัย มีความสุขใจเป็นที่สุด หมดพันธะผูกพัน
ในอารมณ์ต่างๆ ทั้งสิ้น เท่านี้ท่านจัดว่า หมดภาระหน้าที่ ที่จะต้องแสวงหาภพเป็นที่เกิด
ต่อไป
           อารมณ์วิปัสสนาญาณมีว่าอย่างไร อะไรบ้างนั้นขอได้โปรดดูตอนท้ายหนังสือนี้
ตอนที่กล่าวด้วยวิปัสสนาญาณ ที่กล่าวพาดมาถึงเรื่องราวในการปฏิบัติวิปัสสนาญาณก็
กล่าวไว้พอเป็นแนวปฏิบัติเท่านั้น การที่จะปฏิบัติจริงและถูกต้องตามแบบตามแผนต้อง
อ่านในตอนที่ว่าด้วยสมถะและวิปัสสนา ซึ่งจะเขียนต่อไป

 




คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน มีทั้งหมด 72 ตอนนะครับ โปรดติดตามในตอนต่อไปครับ

ที่มา เวปพลังจิต

ทำนองเพลง ลาวม่านแก้ว



Create Date : 02 ตุลาคม 2554
Last Update : 2 ตุลาคม 2554 20:44:53 น. 0 comments
Counter : 309 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หมึกสีดำ
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add หมึกสีดำ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.