หมึกสีดำของไผ่สีทอง
ความโศกทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท เป็นมุนี ศึกษาในทางปฏิบัติถึงมโนปฏิบัติ เป็นผู้คงที่ ระงับแล้ว มีสติทุกเมื่อ,, การไม่ทําบาปทั้งปวงหนึ่ง การยังกุศลให้ถึงพร้อมหนึง การชําระจิตใจของตนให้ผ่องแผ้วหนึ่ง นี่แลเป้นคําสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
25 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
อัชฌาศัยฉฬภิญโญ


คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ----> หน้า 12
                            ๓. อัชฌาศัยฉฬภิญโญ

          อัชฌาสัยของท่านที่ชอบมีฤทธิ์มีเดช ทำอะไรต่ออะไรเกินกว่าสามัญชนจะทำได้
เรียกว่า อัชฌาสัยของท่านผู้มีฤทธิ์ หรือท่านผู้ทรงอภิญญา ๖
          อภิญญา ๖ นี้ เป็นคุณธรรมพิเศษสำหรับนักปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งจะต้องฝึกฝนตน
เป็นพิเศษ ให้ได้คุณธรรมห้าประการก่อนที่จะได้บรรลุมรรคผล หมายความว่าในระหว่างที่
ทรงฌานโลกีย์นั้น ต้องฝึกฝนให้สามารถทรงคุณสมบัติห้าประการดังต่อไปนี้
           ๑. อิทธิฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
           ๒. ทิพยโสต มีหูเป็นทิพย์ สามารถฟังเสียงในที่ไกล หรือเสียงอมนุษย์ได้ยิน
           ๓. จุตูปปาตญาณ รู้การตายและการเกิดของคนและสัตว์
           ๔. เจโตปริยญาณ รู้ความรู้สึกในความในใจของคนและสัตว์
           ๕. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติต่างๆ ที่ล่วงมาแล้วได้
           ทั้งห้าอย่างนี้ จะต้องฝึกให้ได้ในสมัยที่ทรงฌานโลกีย์ ต่อเมื่อฝึกฝนคุณธรรมหก
ประการนี้คล่องแคล่วว่องไวดีแล้ว จึงฝึกฝนอบรมในวิปัสสนาญาณต่อไป เพื่อให้ได้อภิญญา
ข้อที่ ๖ คือ อาสวักขยญาณ ได้แก่ การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป

วิธีฝึกอภิญญา
           วิธีฝึกอภิญญานี้ หรือ ฝึกวิชชาสาม และปฏิสัมภิทาญาณ โปรดทราบว่า
เอามาจากวิสุทธิมรรค ไม่ใช่ผู้เขียนเป็นผู้วิเศษทรงคุณพิเศษตามที่เขียน เพียงแต่ลอก
มาจากวิสุทธิมรรค และดัดแปลงสำนวนเสียใหม่ให้อ่านง่ายเข้าใจเร็ว และใช้คำพูดเป็น
ภาษาตลาดที่พอจะรู้เรื่องสะดวกเท่านั้นเองโปรดอย่าเข้าใจว่าผู้เขียนแอบเป็นพระอรหันต์
ปฏิสัมภิทาญาณไปเสียแล้วนรกจะเล่นงานผู้เขียนแย่ ส่วนใหญ่ในข้อเขียนก็เอามาจาก
วิสุทธิมรรค และเก็บเล็กผสมน้อยคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์บ้างตามแต่จะจำได้ สำหรับ
อภิญญาข้อ ๓ ถึงข้อ ๕ ได้อธิบายมาแล้วในวิชชาสาม สำหรับในอภิญญานี้จะอธิบาย
เฉพาะข้อ ๑ กับข้อ ๒ เท่านั้น

อิทธิฤทธิ์

           ญาณข้อ ๑ ท่านสอนให้ฝึกการแสดงฤทธิ์ต่างๆ การแสดงฤทธิ์ทางพระพุทธ-
ศาสนานี้ท่านสอนให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
          ท่านให้เจริญคือฝึกในกสิณแปดอย่างให้ชำนาญ กสิณแปดอย่างนั้น
มีดังนี้
          ๑. ปฐวีกสิณ เพ่งธาตุดิน
         ๒. อาโปกสิณ เพ่งธาตุน้ำ
         ๓. เตโชกสิณ เพ่งไฟ
         ๔. วาโยกสิณ เพ่งลม
         ๕. ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง
         ๖. นีลกสิณ เพ่งสีเขียว
         ๗. โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง
         ๘. โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว
          เหลือกสิณอีกสองอย่างคือ อาโลกสิณ เพ่งแสงสว่าง และอากาสกสิณ
เพ่งอากาศ ท่านให้เว้นเสีย
 ทั้งนี้จะเป็นเพราะอะไรท่านไม่ได้อธิบายไว้ แต่สำหรับ
ท่านที่ทรงอภิญญาจริงๆ ที่เคยพบในสมัยออกเดินธุดงค์ท่านบอกว่า ท่านไม่ได้เว้น
ท่านทำหมดทุกอย่างครบ ๑๐ กอง ท่านกล่าวว่า กสิณนี้ถ้าได้กองแรกแล้ว กองต่อไป
ไม่มีอะไรมากทำต่อไปไม่เกิน ๗ วันก็ได้ กองยากจะใช้เวลานานอยู่กองแรกเท่านั้น
เอง ต่อไปจะได้อธิบายในการปฏิบัติกสิณพอเป็นตัวอย่าง

ปฐวีกสิณ

           กสิณนี้ท่านให้เพ่งดิน เอาดินมาทำเป็นรูปวงกลม โดยใช้สะดึงขึงผ้าให้ตึง
แล้วเอาดินทา เลือกเฉพาะดินสีอรุณ แล้วท่านให้วางไว้ในที่พอเหมาะที่จะมองเห็น
ไม่ใกล้และไกลเกินไป เพ่งดูดินให้จำได้แล้วหลับตานึกถึงภาพดินนั้น ถ้าเลือนไปจาก
ใจ ก็ลืมตาดูดินใหม่ จำได้ดีแล้วก็หลับตานึกถึงภาพดินนั้น จนภาพนั้นติดตา ต่อไป
ไม่ต้องดูภาพดินภาพนั้นก็ติดตาติดใจจำได้อยู่เสมอ ภาพปรากฏแก่ใจชัดเจน จน
สามารถบังคับภาพนั้นให้เล็กโต สูง ต่ำได้ตามความประสงค์อย่างนี้เรียกว่า อุคหนิมิต
หยาบ ต่อมาภาพดินนั้นจะค่อยๆ เปลี่ยนสีไปที่ละน้อย จากสีเดิมไปเป็นสีขาวใส จนใส
หมดก้อน และเป็นประกายสวยสดงดงามคล้ายแก้วเจียระไนอย่างนี้เรียกว่า ถึงอุป-
จารฌานละเอียด

           ต่อไปภาพนั้นจะสวยมากขึ้นจนมองดูระยิบระยับจับสามตา เป็นประกายหนาทึบ
อารมณ์จิตตั้งมั่นเฉยต่ออารมณ์ภายนอกกายคล้ายไม่มีลมหายใจ อย่างนี้เป็นฌาน ๔
เรียกได้ว่า ฌานปฐวีกสิณเต็มที่แล้ว
           เมื่อได้อย่างนี้แล้ว ท่านผู้ทรงอภิญญาท่านนั้นเล่าต่อไปว่า อย่าเพิ่งทำกสิณกอง
ต่อไปเราจะเอาอภิญญากัน ไม่ใช่ทำพอได้  เรียกว่าจะทำแบบสุกเอาเผากินไม่ได้ต้อง
ให้ได้เลยทุกอย่าง ได้อย่างดีทั้งหมด ถ้ายังบกพร่องแม้แต่นิดหนึ่งก็ไม่ยอมเว้น ต้องดี
ครบถ้วนเพื่อให้ได้ดีครบถ้วน ท่านว่าพอได้ตามนี้แล้ว ให้ฝึกฝนเข้าฌานออกฌาน คือ
เข้าฌาน ๑. ๒. ๓. ๔. แล้วเข้าฌาน ๔. ๓. ๒. ๑. แล้วเข้าฌานสลับฌาน คือ ๑. ๔. ๒.
๓.  ๓. ๑. ๔. ๒.  ๔. ๑. ๒. ๓. สลับกันไปสลับกันมาอย่างนี้จนคล่อง คิดว่าจะเข้าฌาน
ระดับใดก็เมื่อใดก็ได้
           ต่อไปก็ฝึกนิรมิตก่อน ปฐวีกสิณเป็นธาตุดิน ตามคุณสมบัติท่านว่า สามารถ
ทำของอ่อนให้แข็งได้ สำหรับท่านที่ได้กสิณนี้ เมื่อเข้าฌานชำนาญแล้ว ก็ทดลองการ
นิรมิตในตอนแรกท่านหาน้ำใส่แก้วหรือภาชนะอย่างใดก็ได้ ที่ขังน้ำได้ก็แล้วกันเมื่อได้
มาครบแล้วจงเข้าฌาน ๔ ในปฐวีกสิณ แล้วออกฌาน ๔ หยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน คือ
พอมีอารมณ์นึกคิดได้ในขณะที่อยู่ในฌานนั้น นึกคิดไม่ได้ เมื่อถอยจิตมาหยุดอยู่ที่
อุปจารฌานแล้วอธิษฐานว่า ขอน้ำตรงที่เอานิ้วจิ้มลงไปนั้นจงแข็งเหมือนดิน
ที่แข็ง แล้วก็เข้าฌาน ๔ ใหม่
ถอยออกจากฌาน ๔ หยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน
ลองเอานิ้วมือจิ้มน้ำดู ถ้าแข็งก็ใช้ได้แล้วก็เล่นให้คล่องต่อไป ถ้ายังไม่แข็งต้องฝึกฝน
ฌานให้คล่องและมั่นคงกว่านั้น เมื่อขณะฝึกนิรมิตอย่าทำให้คนเห็น ต้องทำที่ลับเฉพาะ
เท่านั้น ถ้าทำให้คนเห็น พระพุทธเจ้าท่านปรับโทษไว้เราเป็นนักเจริญฌาน ต้องไม่หน้า
ด้านใจด้านจนกล้าฝ่าฝืนพระพุทธอาณัติ เมื่อเล่นน้ำในถ้วยสำเร็จผลแล้ว ก็คำว่าสำเร็จ
นั้น หมายความว่าพอคิดว่าเราจะให้น้ำแข็งละน้ำก็แข็งทันที โดยเสียเวลาไม่ถึงเสี้ยว
นาที อย่างนี้ใช้ได้ ต่อไปก็ทดลองในแม่น้ำและอากาศเดินบนน้ำบนอากาศให้น้ำในแม่น้ำ
และอากาศเหยียบไปนั้น แข็งเหมือนดินและหิน ชำนาญดีแล้วก็เลื่อนไปฝึกกสิณอื่น
ท่านว่าทำคล่องอย่างนี้กสิณเดียว กสิณอื่นพอนึกขึ้นมาก็เป็นทันทีอย่างเลวสุดก็เพียง ๗
วัน ได้กอง เสียเวลาฝึกอีก ๙ กองเพียงไม่เกินสามเดือนก็ได้หมด เมื่อฝึกครบหมด
ก็ฝึกเข้าฌานออกฌานดังกล่าวมาแล้วและนิรมิตสิ่งต่างๆ ตามความประสงค์ อานุภาพ
ของกสิณ จะเขียนไว้ตอนว่าด้วยกสิณ ๑๐

                                  (จบอิทธิฤทธิ์ไว้เพียงเท่านี้)




คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน มีทั้งหมด 72 ตอนนะครับ โปรดติดตามในตอนต่อไปครับ

ที่มา เวปพลังจิต

ทำนองเพลง ลาวม่านแก้ว



Create Date : 25 สิงหาคม 2554
Last Update : 25 สิงหาคม 2554 23:43:14 น. 0 comments
Counter : 466 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หมึกสีดำ
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add หมึกสีดำ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.