Enter At Your Own Risk!!
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2555
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
31 ตุลาคม 2555
 
All Blogs
 
ในวันที่ข้าพเจ้าเขียน Black Jack - ประสบการณ์ของคนรอบข้างเทพแห่งการ์ตูน

เรื่อง ในวันที่ข้าพเจ้าเขียน Black Jack (Black Jack Sousakuhiwa)
เรื่องโดย Masaru Miyazaki ภาพโดย Koji Yoshimoto


อย่างที่ตั้งชื่อ blog ค่ะว่าการ์ตูนเล่มนี้เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้ช่วย ผู้จัดการ บรรณาธิการ และนักเขียนการ์ตูนที่ได้มีโอกาสพบกับ เทสึกะ โอซามุ ผู้ถูกขนานนามว่าเทพแห่งการ์ตูน (manga no kami sama)

--- SPOILER ALERT


จุดเด่นของเทสึกะคือมีความอยากรู้อยากเห็น สงสัยใคร่รู้ เรียนรู้จากผู้อื่น และคิดริเริ่มอย่างสูง ความจำเป็นยอด ทำงานอย่างหนัก มีการคิดตอนเพื่อเลือกมากกว่าที่เขียนจริงถึงสามเท่า และถ้าไม่พอใจก็จะแก้อย่างไม่แคร์ (อนิเมยิ่งถึกกว่า) เมื่อช่วงปี 1950 มีที่ทำงานที่บ้านโทคิวะ เขตเนริมะ อีกยี่สิบปีตกต่ำจนบริษัทอนิเมล้มละลาย แต่ก็สามารถฟื้นคืนเมื่อ คาเบะมูระ ไทโซ หัวหน้าบรรณาธิการโชเน็นแชมเปี้ยนให้โอกาสเขียนเรื่อง Black Jack และอีกหลายๆ เรื่อง

บุคคลหลักที่ผู้แต่งได้สัมภาษณ์คือเหล่าบรรณาธิการรับผิดชอบ เช่น อิโต้ โยชิฮิโกะ, อาโออิ คาสุโอะ, มัตสึโอกะ ฮิโรฮารุ, มารุยาม่า อากิระ, อาราอิ โยชิฮิสะ รวมถึง ฟุคุโมโต้ คาสุโยชิ ที่ภายหลังย้ายงานเป็นหัวหน้าผู้ช่วย และลูกน้องในบริษัท อย่าง มัตสึทานิ ทาคายูกิ เมเนเจอร์, ชิมิสุ โยชิฮิโระ ผู้ควบคุมด้านอนิเมที่เริ่มจากทำงานชั่วคราว, ชิบายามะ ทัตสึโอะ ผู้ควบคุมการผลิตของมุชิโปรดักชั่น

มีอ้างถึงผู้ช่วยที่ได้ไปเป็นนักเขียนการ์ตูนหลายคน เช่น มิอุระ มิสึรุ, โคทานิ เค็นอิจิ, เทราซาว่า บุอิจิ, อิชิซากะ เคย์, วาตาเบะ จุน, ทาคามิ มาโกะ, เก็น โทชิโอะ, อิจิโนะโมริ โชทาโร่, บัน โทชิโอะ ฯลฯ (ความจริงมีมากกว่านี้เยอะ [2]) แบบแปลกอย่าง มิฟูเนะ คิชิ ที่เป็นเจ้าอาวาส (และที่ปรึกษาให้ตำรวจ) ที่เคยช่วยครั้งสองครั้งก็เช่น มัตสึโมโต้ เรย์จิ

แถมด้วยเรื่องและผลของการเป็นหัวหน้ากรุ๊ปทัวร์ไปคอมมิคคอนเวนชั่นอเมริกา 8 วันเมื่อปี 1980 ที่แบกงานไปทำทั้งที่โรงแรมและในเครื่องบิน และมีลูกทัวร์นักเขียนการ์ตูน โก นางาอิ ที่เล่าประสบการณ์ด้วย (คนนี้เขียนสี่เรื่อง แต่ส่งงานแล้ว อาศัยข้อมูลใน [2] บอกว่ามีแนวทางการทำงานแบบโปรดักชั่นไลน์ที่ดีมาก)

ปัญหาที่พบคือการรับงานมากเกินไป ทำให้ทำไม่ทันหรือยืดเส้นตายแทบตลอดเวลา บรรณาธิการก็ต้องหาทางทวงต้นฉบับและป้องกันไม่ให้คนอื่นแซงคิว ทำให้เกิดมาตรการแปลกๆ อย่างบรรณาธิการต้องอยู่กันสามคนเพื่อให้ดูกันเองด้วย มีการพาหนีไปซ่อนถึงเกียวโต (คนตามก็ยังกับนักสืบ) แต่เมื่อเจอแล้วเลยกลายเป็นรับช่วงพาหนีบรรณาธิการอื่นต่ออีก แถมถ้ารัดตัวจริงๆ อาจให้นักเขียนคนอื่น อย่าง อิชิโนะโมริ โชทาโร่ และ อาคาสึกะ ฟูจิโอะ ลงเส้นจริงจากร่างให้ด้วย

ซึ่งมองในแง่การจัดการก็ไม่ดีเอาเลย (อย่าว่าแต่เสียสุขภาพอย่างสุดๆ) แต่อย่างว่าล่ะค่ะ จขบ. รู้สึกว่าศิลปินที่เก่งหลายคนก็ไม่ค่อยปกติธรรมดากันเท่าไหร่ การไล่ตามงานของบรรณาธิการที่ใช้ทุกวิถีทาง ไปเฝ้าที่สำนักงาน (มีออกอาการชกเสาเป็นรูในปี 1977) จับขังในห้องโรงแรม ถึงขนาดบินตามไปอเมริกาเพื่อเอาต้นฉบับ และวิธีการส่งข้อมูลต้นฉบับทางไกลในยุคก่อนมีโทรสาร (สมแล้วที่ [2] บอกว่าเป็นนักเขียนการ์ตูนที่ทำให้บรรณาธิการเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารมากที่สุด)

ถ้าดูรูปถ่ายก็เหมือนกับคุณลุงใจดี แต่ในการ์ตูนดูแล้วน่ากลัวไม่เบาเมื่อต้องการทำให้งานออกมาดีที่สุดเท่าที่ทำได้ ความหนักและความเครียดจากการทำงานที่ไม่น่าเชื่อ อย่างเขียนการ์ตูน 8 เรื่องพร้อมกัน จะ 1 เล่มหรือ 10 เล่มก็เหมือนกันนั่นแหละ ไม่ว่าเมื่อไหร่ผมก็จะส่งงานให้ทันแบบฉิวเฉียด น่าจะเป็นส่วนที่ทำให้เสียชีวิตตั้งแต่อายุ 60 ปีเท่านั้น
[31/10/12, 21/06/13]

ที่มา
[1] Masaru Miyazaki & Koji Yoshimoto. ในวันที่ข้าพเจ้าเขียน Black Jack. วิบูลย์กิจคอมมิกส์, เล่ม 1-2, 2555-2556 (ต้นฉบับ 2011-2013).
[2] Frederik L. Schodt. Manga! Manga! The World of Japanese Comics. Kodansha USA, 260 pages, 1986.


Create Date : 31 ตุลาคม 2555
Last Update : 1 มกราคม 2557 21:33:27 น. 0 comments
Counter : 1151 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jackfruit_k
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 211 คน [?]




Latest Updates
นิยาย ไทย, จีนแปล, แปล, อังกฤษ; การ์ตูน ญี่ปุ่น, อื่นๆ; หนังสือ ไทย, แปล, อังกฤษ
New Comments
Friends' blogs
[Add jackfruit_k's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.