Group Blog
 
<<
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
20 กันยายน 2550
 
All Blogs
 

ตุลาการภิวัฒน์กับทางเดินไปสู่ความเสื่อม

ตุลาการภิวัฒน์กับทางเดินไปสู่ความเสื่อม





เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร

20 กันยายน 2550





หากจะนับการที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสแก่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลฎีกา และคณะผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข พระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคิรีขันธ์ ในวันที่ 25 เมษายน 2549 เพื่อให้ช่วยกันแก้ไขปัญหา “วิกฤตที่สุดในโลก” อันได้แก่ การเรียกร้องนายกพระราชทานของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยอ้างมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ 2540 ว่า “ทำให้พระองค์เดือดร้อน... ไม่ใช่เป็นเรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย” และ การเลือกตั้งที่ “ไม่เป็นประชาธิปไตยและอาจเป็นโมฆะ” [1]



พระราชดำรัสครั้งนั้นมีผล 2 ประการคือ (1) ทำให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยุติเรียกร้องนายกพระราชทาน (2) มีการเริ่มกระบวนการ “ตุลาการภิวัฒน์” โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้



27 เมษายน 2549 ศาลปกครองรับฟ้องคดีที่ นพ.ประมวล วีรุตมเสน กับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยรวม 10 คน ยื่นฟ้องคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กับพวกรวม 3 คนเมื่อวันที่ 3 เมษายน ในความผิดเรื่องเป็นหน่วยงานทางปกครองกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย กรณีจัดคูหาเลือกตั้งหันหน้าออก จึงขอให้มีคำพิพากษาเพิกถอน กฎ ระเบียบ คำสั่ง รวมทั้งการกระทำใดๆ ซึ่งเกี่ยวกับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 104 พร้อมทั้งให้เพิกถอนการจัดการเลือกตั้ง[2] ควรจะบันทึกไว้ด้วยว่าก่อนหน้านั้นศาลปกครองไม่รับคำฟ้องขอเพิกถอน พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎรที่นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปฟ้องก่อนที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน [3]



8 พฤษภาคม 2549 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนเป็นโมฆะ[4]



25 กรกฎาคม 2549 ศาลอาญาพิพากษาจำคุก 3 กกต. คนละ 4 ปี ไม่รอลงอาญา และเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง 5 ปี[5] ต่อมาที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ร่วมกัน สรรหา กกต. 10 คน เพื่อให้วุฒิสภาคัดเลือกให้เหลือ 5 คนเพื่อทำหน้าที่ กกต.ชุดใหม่ ในวันที่ 10 สิงหาคม 2549[6] ซึ่งเท่ากับว่าศาลฎีกาได้เข้ามามีส่วนรับผิดชอบอย่างเต็มที่กับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้



เมื่อภารกิจในการแก้ปัญหาเลือกตั้งที่ “ไม่เป็นประชาธิปไตยและอาจเป็นโมฆะ” เสร็จสิ้นลง กระบวนการ “ตุลาการภิวัฒน์” ก็ยิ่งรุกคืบทางการเมืองต่อไปอีก



ทันทีที่มั่นใจว่าสามารถยึดอำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จ ในคืนวันที่ 19 กันยา 2549 คณะรัฐประหาร ได้อาศัยอำนาจเผด็จการตั้งตนเป็นฝ่ายตุลาการเสียเองโดย ประกาศ คปค. ฉบับที่ 3 สั่งให้ “ ศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญคงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย และตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” พร้อมทั้งสั่งยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญ ทันทีในคืนวันนั้น ต่อมา คณะรัฐประหารได้ออกประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 ให้ลงโทษย้อนหลังกรรมการบริหารพรรคได้ซึ่งเป็นจุดอัปลักษณ์ที่สุดครั้งหนึ่งของงวงการวิชาการนิติศาสตร์ [7]



1 ตุลาคม 2549 คณะรัฐประหารได้แต่งตั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรีให้ดำรงตำแหน่งนายรัฐมนตรี พร้อมกับการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) 2549 ซึ่งในมาตรา 35 ได้แต่งตั้ง คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ (ตลก.รัฐธรรมนูญ) ซึ่งมีประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นรองประธาน และมีผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือก 5 คน และตุลาการศาลปกครองสูงสุดเลือก 2 คน โดยมีอำนาจพิจารณาคดีเหมือนศาลรัฐธรรมนูญเดิม



แต่อย่างที่ทราบกันต่อมาว่าภารกิจของ คณะ ตลก.รัฐธรรมนูญคือการยุบพรรคไทยรักไทย ดังการประกาศจากหัวหน้าคณะรัฐประหาร ในเวลาต่อมาว่านี่เป็นบันไดขั้นแรกของคณะรัฐประหาร คือ 1.ยุบพรรคไทยรักไทย ---> 2.ดำเนินคดีอาญาทุจริตคอร์รัปชั่น ---> 3. ทำให้พรรคแตก ส.ส.วิ่งกระจัดกระจายและสิ้นสุด ---> 4.การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง[8]



และในคณะรัฐมนตรีคณะรัฐประหารก็มีนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกาที่เกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2549 เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแทบจะทันทีโดยมี นายจรัญ ภักดีธนากุล เลขานุการประธานศาลฎีกาเข้ารับตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมหลังรัฐประหารเช่นกัน



ตลอดระยะเวลา 1 ปี ภายใต้ระบอบรัฐประหารเราได้เห็น กระบวนการ “ตุลาการภิวัฒน์” ทั้งในฐานะที่เป็น (1) เครื่องมือทางการเมืองของคณะรัฐประหาร (2) เครื่องมือในการเรียกร้องผลประโยชน์และอำนาจให้ตนเอง



(1) “ตุลาการภิวัฒน์” ในฐานะเครื่องมือทางการเมืองของคณะรัฐประหาร คำตัดสินของคณะตลก.รัฐธรรมนูญ ในการ ยุบพรรคไทยรักไทย “ฐานเป็นภัยต่อความมั่นคงและปรปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตย พร้อมถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหาร 111 คน” นั้น รศ.ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ชี้ว่า “การใช้และการตีความกฎหมายในลักษณะนี้มีผลเป็นการทำลายหลักการในทางนิติศาสตร์ลง เพราะเป็นการตีความโดยเอาอำนาจเป็นที่ตั้ง หรือเอาอำนาจเป็นธรรม ไม่ใช่เอาธรรมเป็นอำนาจ ผลร้ายคือต่อไปวันข้างหน้า ถ้าจะมีใครสักคนที่มีอำนาจ แล้วออกกฎหมายอย่างนี้ เขาก็ย่อมจะต้องทำได้เหมือนกัน และถ้าออกกฎหมายอย่างนี้มาใช้บังคับกับคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการก็จะเอาเหตุผลมาโต้แย้งไม่ได้ มันทำให้กฎหมายกลายเป็นเรื่องที่ใครมีอำนาจเขียนอะไรออกมาก็เป็นกฎหมายไปหมด ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถเรียนและสอนวิชานิติศาสตร์ได้” รศ.ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้สรุปอย่างตรงไปตรงมาว่า "นี่เป็นประกาศคณะรัฐประหารในรูปของคำวินิจฉัย"[9]



2. “ตุลาการภิวัฒน์” ในฐานะเครื่องมือในการเรียกร้องผลประโยชน์และอำนาจให้ตนเอง รูปธรรมที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือรัฐธรรมนูญ 2550 ที่นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม เข้าไปดำรงตำแหน่ง รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) สิ่งเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ส่งเสริมให้ตุลาการเข้ามา “เล่นการเมือง” โดยตรง เช่นการเป็นองค์กรสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ที่มีอำนาจและหน้าที่เท่ากับวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน (มาตรา 113 ), การเสนอกฎมายได้เอง (มาตรา 142 (3) ), การขอแปรญัตติหากเห็นว่างบประมาณที่ได้รับนั้นไม่เพียงพอ (มาตรา 168 วรรคท้าย), การต่ออายุตุลาการออกไปอีก 10 ปี (มาตรา 306) สิ่งที่จะต้องบันทึกไว้ก็คือในร่างรัฐธรรมนูญฉบับรับฟังความคิดเห็นไม่มีมาตราที่ว่าด้วยการต่ออายุตุลาการแต่อย่างใด



ถึงแม้ว่าตุลาการจะได้รับ “ความเชื่อถือ” จากสังคมเมื่อเทียบกับวิชาชีพอื่นส่วนหนึ่งก็อาจจะมาจากวัตรปฏิบัติของบรรดาตุลาการ แต่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ มาจากปัจจัยอื่น ๆ ด้วยเช่น



1. ตุลาการไทย ไม่สามารถตรวจสอบและวิพากษ์วิจารณ์ได้ เมื่อเทียบกับการวิพากษ์วิจารณ์วิชาชีพอื่น ๆ โดยเฉพาะข้อหาหมิ่นอำนาจศาล โดยที่ศาลนั่นเองเป็นผู้พิจารณาความผิด ซึ่งในประเทศที่จะเกิด “ตุลาการภิวัฒน์” ได้ เช่น สหรัฐอเมริกา นั้นต้องเปิดโอกาสให้สังคมได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างเสรี[10]



2. ตุลาการไทยมักจะอ้างว่าตนเองทำหน้าที่ในพระปรมาภิไทย เพื่อทำให้ผู้วิจารณ์นั้นหมิ่นเหม่ต่อข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ[11]



เพราะฉะนั้น หลักการทั่วไปที่ตุลาการได้ยึดมั่นมามากกว่า 100 ปี คือการจำกัดบทบาทเป็น “คนกลาง” ไม่เข้ามาเป็นคู่ขัดแย้ง ทำให้ตุลาการรอดพ้นจากผลประโยชน์และการวิจารณ์จนเป็นที่ยอมรับของสังคม แม้ว่าจะมีคดีที่ค้านสายตาสาธารณชนอยู่เนือง ๆ นั้นก็สามารถโยนความผิดไปให้ตัวบุคคล แต่ไม่ใช่ระบบตุลาการ แต่การที่ตุลาการทั้งระบบมาเล่นการเมืองนั้นจะเป็นทางเดินไปสู่ความเสื่อมของวงการตุลาการเอง



เราขอยืนยันว่าอำนาจตุลาการนั้นมีหน้าที่เพียงการตัดสินคดีที่ยุติธรรม เท่านั้นไม่มีหน้าที่มีเล่นการเมืองอย่างที่เป็นอยู่ แนวทางการปฏิรูปกระบวนการตุลาการคือการเปิดโอกาสให้วิพากษ์วิจารณ์เพื่อเปิดให้ตุลาการได้ข้อเท็จจริงและทัศนะที่แตกต่างจากที่ตนเองมีเท่านั้น



การที่ดึงตุลาการมาเล่นการเมือง โดยนิยามว่ามันเป็นกระบวนการตุลาการภิวัฒน์นั้นไม่ต่างอะไรจากการนำกองทัพเข้ามาแก้ปัญหาทางการเมือง เช่นที่เกิดขึ้นเมื่อทหารเข้ามารัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ซึ่งผลก็ชี้ชัดเจนแล้วว่า นอกจากทหารจะไม่มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางการเมืองแล้ว ยังสร้างปัญหาหนักขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย



ขณะที่ข้าราชการอื่น ๆ เรียกรับผลประโยชน์เราเรียกว่าเป็นการรับสินบน แต่เมื่อกระบวนการตุลาการได้เข้ารับใช้เผด็จการทหารที่เข้ามาโดยมิชอบ แล้วได้รับผลตอบแทนดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เราจะเรียกว่าอะไร?





--------------------------------------------------------------------------------

[1] พระราชดำรัส พระราชทานแก่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่
ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์วันอังคารที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ //kanchanapisek.or.th/speeches/2006/0425-01.th.html

[2] มติชนรายวัน 28 เมษายน พ.ศ. 2549

[3] ปิยบุตร แสงกนกกุล คดีเลือกตั้ง ๒ เมษา ศาลใดจะรับเรื่อง? โมฆะจริงหรือ? //www.onopen.com/2006/01/552

[4] สรุปคำวินิจฉัยตุลาการศาลรธน.ให้เลือกตั้งเป็น'โมฆะ' //www.bangkokbiznews.com/2006/05/08/w001_101597.php?news_id=101597

[5] ด่วน!!! ศาลอาญาพิพากษาจำคุก กกต.3 คน ไม่รอลงอาญา //www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=4371&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage=Thai

[6] ผลสรรหากกต.รอบแรก5คน"อภิชาต-สมชัย"แหกโผเข้า //news.sanook.com/politic/politic_12621.php

[7] ดูบทวิเคราะห์ถึงความฉ้อฉลของประกาศคปค.ฉบบนี้ได้ที่ ธีระ สุธีวรางกูร “ บทวิเคราะห์ประกาศของ คปค. ฉบับที่ 27 “

//www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=5280&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage=Thai

[8] อ้างจาก เกษียร เตชะพีระ “รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ” มติชนรายวัน 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 //www.nidambe11.net/ekonomiz/2007q3/2007august24p4.htm

[9] วรเจตน์ ภาคีรัตน์ “ประกาศคณะรัฐประหาร ในรูปคำวินิจฉัย” ไทยโพสต์ 3 มิถุนายน 2550 //www.thaipost.net/index.asp?bk=tabloid&post_date=3/Jun/2550&news_id=143142&cat_id=220100

[10] ดูกรณีศึกษาของสหรัฐอเมริกาและบทวิพากษ์ ตุลาการภิวัฒน์แบบไทย ๆ ได้ที่ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ วิพากษ์ "ตุลาการภิวัฒน์" //www.bangkokbiznews.com/2006/08/03/w017_125585.php?news_id=125585

[11] ‘วิชา มหาคุณ’ ยกดำรัสพระมหากษัตริย์ไว้ใจศาล ท่านจะประณามหรือ //www.midnightuniv.org/forum/index.php?PHPSESSID=7efabaf7c884a8971dd5561ffa9265fb&topic=1728.0



ที่มา : ประชาไท วันที่ : 20/9/2550




 

Create Date : 20 กันยายน 2550
1 comments
Last Update : 20 กันยายน 2550 12:59:56 น.
Counter : 2114 Pageviews.

 

ไม่ใช่รัฐประหารที่ล้มเหลว แต่ล้มเหลวที่เกิดรัฐประหาร



เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร

19 กันยายน 2550



ในโอกาสที่ครบรอบ 1 ปีของการตกอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) คงอาศัยโอกาสนี้แถลงความคืบหน้าของเหตุผล 4 ข้อในการรัฐประหาร คือ ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น ความแตกแยกในสังคม การแทรกแซงองค์กรอิสระ และการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ



แต่สำหรับเรา – ‘เครือข่าย 19 กันยาต้านรัฐประหาร’ แล้ว ทั้ง 4 ข้อข้างต้นมีค่าเป็นเพียง ‘ข้ออ้าง’ ในการรัฐประหารเท่านั้นเอง ระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ข้ออ้างที่ว่านั้นไร้สาระสักเพียงใด



‘ปัญหาการทุจริตของรัฐบาลชุดก่อน’ คณะรัฐประหาร โดย คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) ซึ่งทำหน้าที่เพียงรวบรวมหลักฐาน แม้จะแถลงข่าวรายวันแต่ก็สั่งฟ้องได้เพียงคดีเดียว (มูลค่า 700 ล้านบาท) แต่กลับปรากฏการทุจริตรูปแบบใหม่และร้ายแรงกว่าของรัฐบาลคณะรัฐประหาร คือ การเพิ่มงบประมาณทหาร ถึง 57,064 ล้านบาท หรือประมาณ 66.40% หลังจากรัฐประหาร นอกจากนี้กองทัพยังตั้งงบผูกพันไว้อีก 4 ปี ปีละไม่ต่ำกว่า 140,000 ล้านบาท



‘ความแตกแยกทางสังคม’ (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมประชาธิปไตยทั่วโลก) ไม่มีทีท่าจะสงบลง แต่กลับเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากสาเหตุการรัฐประหาร มรณานุสติของ ‘ลุงนวมทอง ไพรวัลย์’ เป็นประจักษ์พยานได้เป็นอย่างดี ส่วนปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อไม่มีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งฝ่ายคณะรัฐประหารและลิ่วล้อยกให้เป็น ‘ทุกสิ่งทุกอย่างของปัญหา’ แล้ว ก็หาได้ยุติลงไม่ แต่กลับยกระดับความรุนแรงไปสู่เป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น จนบัดนี้ยังไม่มีใครกล้าออกมารับประกันอีกแล้วว่า ปัญหาจะยุติลงเมื่อไร นอกจากการแก้ตัวไปวันๆ ว่า “เรามาถูกทางแล้ว แต่ต้องใช้เวลา”



‘การแทรกแซงองค์กรอิสระ’ แม้จะไม่มีอีกแล้วกับองค์กรอิสระแบบเดิมที่ส่งตัวแทนเข้าไปนั่งในองค์กรต่าง ๆ หรือการ ‘บล็อกโหวต’ แต่คณะรัฐประหารลงไปแต่งตั้งองค์กรเหล่านั้นเอง เท่านั้นยังไม่พอ บรรดานายทหารกลับเข้าไปนั่งในบอร์ดรัฐวิสาหกิจอีกนับสิบแห่งโดยที่ไม่มีความสามารถแม้แต่น้อย ความเสียหายใน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นประจักษ์พยานได้เป็นอย่างดี



‘คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ’ ไม่เพียงแต่ไม่เอาผิดพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เพราะอัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่ฟ้องทุกคดีแล้ว แต่คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพคดีอื่นๆ ซึ่งเป็นการเล่นงานทางการเมือง ก็ยังดำเนินการต่อไป เท่านั้นยังไม่พอ รัฐบาลคณะรัฐประหาร ก็ยังใช้ข้อหานี้เล่นงานคนที่มีความคิดทางการเมืองต่างจากตน เช่นเดียวกับรัฐบาลก่อนหน้าอีกด้วย



ปรากฏการณ์ข้างต้น ไม่เพียงแต่เป็นดัชนีชี้วัดว่า นอกจาก ‘การรัฐประหาร’ จะไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมการเมืองได้แล้ว แต่กลับเพิ่มความรุนแรงของปัญหาให้มากยิ่งขึ้น



ประเด็นสำคัญจึงไม่ใช่ว่า รัฐประหารครั้งนี้เป็น ‘รัฐประหารที่ล้มเหลว’ เพราะนั่นเป็นทัศนะของบรรดาผู้สนับสนุนรัฐประหารที่มองว่ารัฐบาลชุดนี้อ่อนแอเกินไป เนื่องจากไม่ได้ใช้อำนาจเผด็จการมากพอ (ดู ‘ธีรยุทธ' เปรียบ รบ.ฤาษีเลี้ยงเต่า! ให้แสดงผู้นำแบบ ' ขุนพันธ์' “ เดลินิวส์ 26 ก.พ. 50)



แต่มันเป็นความล้มเหลวของสังคมการเมืองไทย ที่ปล่อยให้เกิดรัฐประหาร และปล่อยให้ระบอบนี้ลอยนวลมากว่า 1 ปี



แม้สังคม การเมืองไทยจะกลับเข้าสู่ ‘ความปกติ’ หลังการเลือกตั้งที่อาจจะเกิดขึ้นในเดือนธ.ค.50 แต่เป็นความปกติก่อนที่จะมีรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี 2544 คือ การมีรัฐบาลผสมที่อ่อนแอ และเสถียรภาพของรัฐบาลอยู่ได้ด้วยการการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างพรรคการเมือง การเมืองแบบนี้นักการเมืองไม่จำเป็นต้องนำเสนอนโยบายต่อประชาชน เพราะระบบราชการได้จัดไว้ให้หมดแล้ว ขณะที่พรรคการเมืองที่เข้มแข็งกลายเป็นที่น่ารังเกียจ เพราะจะมาแข่งบารมีกับพระมหากษัตริย์ ฯลฯ



แต่ที่อาจจะเลวร้ายไปกว่านั้นคือ การที่เราต้องอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ 2550 ที่มุ่งฟื้นฟูอำนาจอำมาตยาธิปไตย ซึ่งมีคณะตุลาการที่ตรวจสอบไม่ได้เป็นแกนนำ และชุดกฎหมายความมั่นคง ซึ่งมีกองทัพที่ถือปืนอยู่เป็นผู้ควบคุมเบ็ดเสร็จ



ลำพังเพียงการเรียกร้อง ฟื้นฟู สิทธิเสรีภาพ และโครงสร้างทางการเมืองให้กลับคืนสู่สภาวะก่อนหน้ารัฐประหาร 19 ก.ย.49 นั้น ก็คงเป็นภารกิจที่ยากลำบากและไม่แน่ว่าจะสำเร็จหรือไม่ และจะใช้เวลายาวนานสักเพียงไหน โดยที่ยังไม่มีหลักประกันใดๆ ว่าในระหว่างนั้นสังคม การเมืองไทยจะต้องสูญเสียอะไรบ้างเพื่อที่จะบรรลุภารกิจต่อไป



ที่มา : ประชาไท วันที่ : 19/9/2550

 

โดย: Darksingha 20 กันยายน 2550 13:09:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.