ธันวาคม 2553

 
 
 
1
2
3
5
6
8
16
17
18
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
ข้างหลังชีวิต ภาคมัชฌิมวัย ตอน"หนอนหนังสือ"(3)




หอสมุดแห่งชาติ(สถานที่เก่าด้านหลังวัดมหาธาตุฯ ข้างสนามหลวง)


ผมทำงานอยู่ที่หอสมุดแห่งชาตินานถึง 6 ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. 2506 ถึง พ.ศ. 2511 และได้เปลี่ยนหน้าที่การงานถึง 5 งาน นับเป็นเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยคนเดียวในเวลานั้นที่ผู้ใหญ่ให้ความเมตตามาก ใครๆก็อยากจะชวนให้ไปทำงานด้วย การเปลี่ยนงานทำได้ง่ายดาย เพียงหัวหน้ากองฯอนุมัติเท่านั้น เพราะเป็นการเปลี่ยนงานภายในกอง

ผมจะทยอยเล่างานต่างๆที่ผมได้มีโอกาสทำให้ทราบเป็นลำดับไป คือหลังจากที่ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ลงทะเบียนหนังสือและจัดหมู่หนังสือแล้ว ประมาณปีกว่า ก็มีเจ้าหน้าที่คนใหม่เข้ามา หัวหน้าแผนกหนังสือตัวพิมพ์คือ คุณธูป นวลยง หัวหน้าโดยตรงของผมก็มาชวนให้ไปช่วยงานที่แผนก ซึ่งมีหัวหน้าแผนกคนเดียวทำงานทุกอย่าง ตั้งแต่งานสารบรรณ งานธุรการ และอื่นๆอีกจิปาถะ เพราะหอสมุดแห่งชาติค่อนข้างอาภัพไม่มีผู้ใหญ่คนใดสนใจ ไล่ไปตั้งแต่อธิบดีกรมศิลปากร (ธนิต อยู่โพธิ) ไปจนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา ซึ่งเป็นต้นสังกัด กรมศิลปากร ดังนั้นว่าจะได้คนมาทำงานสักคนหรือได้งบประมาณมาทำอะไรก็แสนยากเย็นยิ่งนัก แต่พวกเราชาวหอสมุดแห่งชาติในสมัยนั้นก็ไม่น้อยใจหรือท้อถอยนะครับ คงก้มหน้าก้มตาทำงานกันไปอย่างมีความสุขตามอัตถภาพ แต่ไม่ใช่แบบพอเพียงเหมือนในวันนี้นะครับ

คุณธูป นวลยง มีฝีมือในการถ่ายภาพ อัด ล้าง ขยายภาพ เป็นช่างภาพของกรมศิลปากรโดยปริยาย กรมฯมีงานกิจกรรมอะไรมักจะเรียกใช้บริการถ่ายภาพของคุณธูปเสมอๆ หอสมุดแห่งชาติสมัยนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับหนังสือสูญหายอยู่เสมอ และหนังสือถูกฉีกหน้าสำคัญๆ โดยไม่รู้จะแก้ไขอย่างใด ประกอบกับมีจำนวนหนังสือเพิ่มขึ้น เช่นหนังสือพิมพ์รายวัน ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ จนไม่มีที่จะเก็บ และโดยนโยบายสำคัญหอสมุดแห่งชาติต้องเก็บหนังสือทุกชนิดไว้เพื่อการศึกษาค้น คว้าในโอกาสหน้า คุณธูปได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องห้องสมุดท่านหนึ่งว่า ควรจะมีเครื่องถ่ายไมโครฟีล์มสำหรับถ่ายหนังสือเก่าๆเหล่านี้เก็บไว้ด้วยฟี ล์ม(ขนาดฟีล์ม 35 มม.) แต่ละเฟรมสามารถถ่ายหน้าหนังสือพิมพ์รายวันได้ และเวลาจะอ่านก็เอาเข้าเครื่องอ่านไมโครฟีล์ม ก็จะสามารถถ่ายหนังสือต่างๆเก็บไว้ได้จำนวนมากมาย

คุณธูปเสนอเรื่องขอจัดซื้อเครื่องถ่ายไมโครฟีล์ม(จำนวน 1 เครื่อง) และเครื่องอ่านไมโครฟีล์ม (จำนวน 3 เครื่อง) กว่าจะได้รับอนุมัติงบประมาณจัดซื้อเครื่องดังกล่าวใช้เวลานาน 2 ปี และจัดซื้อเครื่องถ่ายไมโครฟีล์มและเครื่องอ่านไมโครฟีล์ม หอสมุดแห่งชาติก็ย้ายมาที่แห่งใหม่ คือท่าวาสุกรีแล้ว


แต่ปัญหาหนังสือหายและหนังสือถูกฉีกก็ยังมีอยู่ สุดท้ายกรมฯอนุมัติให้เช่าเครื่องถ่ายเอกสารยี่หอ ซีร็อค (Xerox) มาใช้ เพราะซื้อไม่ไหวราคาเครื่องละหลายแสนบาท และประชาสัมพันธ์ให้ผู้มาอ่านหนังสือมาใช้บริการถ่ายเอกสาร สามารถลดจำนวนหนังสือหายและหนังสือถูกฉีกได้ระดับหนึ่ง



Create Date : 13 ธันวาคม 2553
Last Update : 6 มกราคม 2560 20:22:51 น.
Counter : 887 Pageviews.

3 comments
  
สมัยที่เรียนอยู่เพาะช่าง ปี 2510
เคยไปใช้บริการหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี บ่อยมากค่ะ
ปัจจุบันไม่เคยกลับไปเลยค่ะ
อ่านจากข่าว ทราบว่าหอสมุดฯ มีหนังสือหายและชำรุดมากมาย
น่าเสียดายนะคะ
ประเทศชาติให้ความรู้แก่คนมากมาย
แต่ที่ให้ไม่ได้คือความมีระเบียบวินัย และความเห็นแก่ตัว
เมื่อไหร่คนไทย(บางคน) จะมีความละอายแก่ใจกันบ้าง

โดย: addsiripun วันที่: 13 ธันวาคม 2553 เวลา:12:06:35 น.
  
วันก่อนดูข่าวที่มีหนังสือ
หรือเอกสารสมัย ร.5
ถูกโจรกรรมไปแล้วก็ได้แต่
สาปแช่งคนขโมยค่ะ
เพราะเงินเล็กน้อยแท้ๆ เลยเชียวค่ะ
โดย: ส้มแช่อิ่ม วันที่: 13 ธันวาคม 2553 เวลา:15:58:16 น.
  
สวัสดีครับ คุณaddsiripun และคุณส้มแช่อิ่ม เรื่องทำนองนี้มีมานานตั้งแต่สมัยผมทำงานอยู่ที่นั่นแล้ว หากขโมยไม่ได้ก็ใช้วิธีการฉีกหน้าหนังสือไปก็มี
โดย: หนุ่มร้อยปี (หนุ่มร้อยปี ) วันที่: 13 ธันวาคม 2553 เวลา:16:12:10 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนุ่มร้อยปี
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]



บล็อกนี้สร้างสรรค์ขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 โดย ชายไทยวัยสูงอายุ มีวัตถุประสงค์ในการบันทึกและนำเสนอเรื่องราวต่างๆแบบครอบจักรวาล อาทิ ภาพยนตร์ ดนตรี รายการทีวี หนังสือน่าอ่าน อาหารน่ากิน ท่องเที่ยว สะสมสิ่งของ ตำนานชีวิตบุคคลน่าสนใจ รู้ไว้ใช่ว่า จิปาถะ
ฯลฯ เป็นต้น คำขวัญประจำบล็อก ประสบการณ์ชีวิตที่ดีในอดีต คือทรัพยากรที่ทรงคุณค่าในปัจจุบัน คำขวัญประจำตัวเจ้าของบล็อก "อายุเป็นเพียงตัวเลข" บรรณาธิการบริหารบล็อกคือ หนุ่มร้อยปี บล็อกนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ท่านใดเห็นว่าข้อเขียนหรือภาพประกอบในบล็อกนี้มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้ แต่โปรดอ้างอิงชื่อบล็อกนี้ด้วย จักขอบคุณยิ่ง