Group Blog
 
<<
เมษายน 2548
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
30 เมษายน 2548
 
All Blogs
 

ไปเข้าฟัง Thesis proposal


เมื่อวานได้มีโอกาสไปนั่งฟังเพื่อนคนไทยคนหนึ่งเขา Propose Thesis ของ นักเรียนปริญญาเอก โดยเป็นกระบวนการหนึ่งก่อนจะลงมือทำ Thesis หรือ Dissertation อย่างจริง ๆ จัง ๆ จะต้องหาผ่านขั้นตอนนี้เสียก่อน (ในสาย Economics โดยทั่วไปจะทำประมาณตอนอยู่ปี 4 และก็ใช้เวลาหนึ่งปีหลังจากนั้นเขียน dissertation ให้เป็นรูปร่างขึ้นมาอันนี้จะต่างจากการเรียนในทางสายวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะ Propose เร็ว ประมาณเมื่อจบ ปี 1 หรือ ปี 2) เรียกว่าถ้าผ่านขั้นตอนนี้ได้ ก็จะโล่งใจขึ้นเยอะ เริ่มเห็นเป้าหมายอยู่ใกล้ ๆ แล้ว

วันนี้จะขอเล่าบรรยากาศให้ฟังแล้วกันว่าการ propose ของนักศึกษาปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยชิคาโกนั้นมันเป็นอย่างไร คาดว่าคงจะเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในชีวิตที่ผมจะได้เข้าไปเห็นบรรยากาศแบบนี้ สำหรับเพื่อนผมท่านนี้เขาทำในหัวข้อเรื่อง “Essays on General Equilibrium with Limited Commitment” [downloadable pdf] โดยทำในเชิง theory ในห้องนอกจากจะมีคนฟัง ซึ่งก็คือเพื่อนนักเรียนคนอื่นและใครก็ได้ที่สนใจแล้ว ที่สำคัญที่สุดก็คือ committee ที่จะต้องมานั่งฟัง ถามคำถาม และก็ตัดสินร่วมกันว่าจะให้ผ่านหรือไม่อย่างไร ควรจะให้ทำตรงไหนเพิ่มเติม สำหรับอาจารย์ที่เข้าไปฟังก็มี Prof. James Heckman, Prof. Robert Townsend, Prof. Lar Hansen และ Prof. Fernando Alvarez ซึ่งล้วนเป็นอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในด้านนี้ ( เพิ่งสังเกตว่าสามคนที่เป็น committee จบจากมหาวิทยาลัยเดียวกันคือ Minnesota ซึ่งอาจจะบ่งบอกอะไรได้บางอย่าง)

การ presentation ก็ผ่านไปได้ด้วยดี แม้จะมีอาจารย์คอยซักถามอยู่เรื่อย ๆ แต่ก็ไม่ได้เป็นไปในลักษณะถามเพื่อต้อนให้จนมุมอะไร เป็นเหมือนพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกัน แต่อาจจะเป็นเพราะเพื่อนผมเขามีความเข้าใจดีอยู่แล้ว ก็เลยตอบคำถามไปได้เรื่อย ๆ ไม่ได้ดูติดขัดอะไร สำหรับวงสัมมนาประเภทนี่สิ่งที่ทำให้ผมทึ่งอยู่เสมอคือความสามารถและทักษะในการจับใจความและจับประเด็นของอาจารย์และผู้ร่วมสัมมนาระดับเก่ง ๆ บางทีก็เหมือนกับว่า ทำไมพวกเขาซึ่งเพิ่งเคยเห็น Paper ครั้งแรก แต่สามารถถามและเข้าใจได้ถูกจุดและตั้งคำถามที่แหลมคม ต่างกับคนหัวปานกลางอย่างผม ซึ่งบางทีเอากลับไปนั่งอ่านที่บ้านแล้ว ยังไม่เข้าใจเลยว่ามันคืออะไร เท่าที่สังเกต เราสามารถบอกว่าคนไหน sharp หรือไม่เพียงใดได้จากวงสัมมนานี่แหละ ส่วนใหญ่คนที่เรียนเก่ง มีเปเปอร์ดี ๆ ก็มักจะสะท้อนได้จากการแสดงความเห็น หรือการตั้งคำถามในวงสัมมนานั่นเอง บางคนฟังแป๊บเดียวก็สามารถเข้าใจเปเปอร์หรือ ไอเดียที่ซับซ้อนได้ ซึ่งคงเป็นเรื่องของสติปัญญาคนที่แตกต่างกัน คิดแล้วก็น่าน้อยใจทำไมเราไม่ฉลาดแบบเขาบ้าง

สุดท้ายหลังจากใช้เวลาประมาณ 1.30 ชม ทุกคนก็ออกไปนอกห้องปล่อยให้อาจารย์เขาประชุมกัน ยืนรอสักพักอาจารย์ก็ออกมา congratulations และจับไม้จับมือกับคนที่ present แสดงความยินดีที่ผ่าน หลังจากนั้นเพื่อน ๆ ก็เข้ามาแสดงความยินดี รู้สึกดีใจที่ได้เห็นเขาสำเร็จไปอีกขึ้นหนึ่งแล้ว ถึงผมจะไม่สามารถเก่งได้แบบเขา แต่ก็จะพยายามเอาสิ่งที่ได้เห็นและสร้างมาตรฐานทางวิชาการในกับตัวเองให้ได้ดีในระดับหนึ่งเช่นกัน (ไม่กล้าบอกว่าดีเช่นเดียวกัน เพราะรู้ว่าคงยาก)

สุดท้ายนี้ขอแสดงความยินดีกับเพื่อนและขอชื่นชมว่าเก่งจริง ๆ เชื่อว่าคิดว่าเขาคงกลับไปเป็นเสาหลักตัวหนึ่งของวงวิชาการเศรษฐศาสตร์เมืองไทยได้ในอนาคต




 

Create Date : 30 เมษายน 2548
24 comments
Last Update : 30 เมษายน 2548 20:17:52 น.
Counter : 1376 Pageviews.

 

ขอบคุณที่เล่าให้ฟัง

 

โดย: noom_no1 30 เมษายน 2548 20:57:02 น.  

 

Hello... Thank for sharing the experience.

Don't you think when you cannot understand what they discusses means you are not smart as others. I think this stuff is a 'favour' of people. If you don't like it, you would not read / study in this stuff. Who understand might study this stuff theirselves.

Anyways, this kind of research is very hot!! From my point of view (just skim through it), this work is very much based on his advisor contribution with his colleagues in methodology but add some extension on dynanmic structure of enforcement. This is very much similar to his advisor's work (going to publish in JET 2005).

It is very good that somebody want to do the research on this topic. Not only interesting, but fun as well!!



 

โดย: Amore Vincit IP: 144.82.106.56 30 เมษายน 2548 21:15:50 น.  

 

ไม่แน่คุณ BF อาจจะทำได้ดีกว่าก็ได้นะครับ

คนเก่งมักถ่อมตน

 

โดย: absoluteyellow IP: 61.90.6.187 30 เมษายน 2548 22:29:00 น.  

 

หวัดีค่ะคุณ B.F. ค่ะ พี่เองค่ะ program ที่พี่ใช้อัดเสียงคือ Cakewalk Pro.9 ค่ะ ไม่ยากเท่าไร(สำหรับนักดนตรีนะค่ะ)แต่พี่ไม่ทราบว่าคุณพอมีความรู้เรื่องดนตรีบ้างมั้ยค่ะ เพราะถ้าพอมีบ้าง ok เลยค่ะ เพราะ คุณต้องรู้เรื่องการ transpose key และ ต้องรู้เรื่องการย้าย file เพลง โดยใช้ window นะค่ะ แล้วก็อีก(หลายเรื่อง)แฮะๆ ไม่ยากละค่ะพี่ยินดีสอนค่ะ ยังไงคุยกันนะค่ะ ขอบคุณที่แวะไปฟังเพลงค่ะ

 

โดย: พี่เจี้ยวค่ะ(sutida_jeaw) IP: 24.238.56.3 30 เมษายน 2548 23:15:08 น.  

 

A bit more..

Let me guess, as you notice, 3 of them graduated from UMN, I think ..... they were impressed by the same big guy there 'Leo Hurwicz'.

 

โดย: Amore Vincit IP: 144.82.106.43 30 เมษายน 2548 23:41:13 น.  

 

coming to ur blog everytime, I find so much interesting story that I will never ne able to experience///Thank you na krub


 

โดย: เด็กชายรอยยิ้มโทรศัพท์และน้ำตา 2 พฤษภาคม 2548 2:37:43 น.  

 

แต่ละที่ก็ไม่เหมือนกันเนาะ
ที่ภาคฯ เรานี่ proposal ไม่เปิดให้คนนอกเข้าฟัง
มีแต่นักเรียนและก็ committee member เท่านั้น
ส่วน defense เปิดให้ผู้สนใจเข้าฟังได้..

ที่ภาคฯ เรา ก็เสนอ proposal กัน 1 ปีก่อนจบเหมือนกัน
แต่บางภาคฯ อย่าง civil engineering จะเสนอกัน 1-2 ปี อย่างที่ BFP ว่า

เราเองก็คุยกับเพื่อนอยู่บ่อยๆ เรื่องความสามารถของพวก professor ในการจับประเด็นเหมือนกันนะ
บางทีไปนั่งฟัง seminar เรายังมึนอยู่ก็มี กว่าจะเรียบเรียงได้ว่าประเด็นมันอยู่ที่ไหน
แต่พวก professor นี่ จบปุ๊บ ยกมือถามปั๊บ
เพื่อนร่วมภาคฯ เราที่เก่งๆ ก็เป็นเหมือนกัน
จบปุ๊บ ถามๆๆๆ คำถามก็น่าสนใจด้วย
..
ทึ่งจริงๆ ..

 

โดย: ยาวหน่อยนะจ๊ะวันนี้.. (ซีบวก ) 2 พฤษภาคม 2548 10:45:15 น.  

 

^
^
อ่านแล้วสับสนนิดๆ ขอขยายความ..
1-2 ปี คือ ตอนอยู่ปี 1 ปี 2 น่ะค่ะ

 

โดย: ซีบวก 2 พฤษภาคม 2548 10:46:41 น.  

 


ขอร่วมแชร์ข้อมูล

การฟัง หรือ การอ่านที่ดี
= ฟังหรืออ่าน อย่างตั้งใจมีสมาธิ ใจไม่วอกแวกไปคิดไปฟังเรื่องอื่น
= ฟังหรืออ่าน อย่างอดกลั้นต่อสำเนียง ท่าทาง หรือต่อรูปแบบตัวอักษร และความไร้ระเบียบของการพิมพ์
= ฟังหรืออ่าน อย่างสังเกตที่สายตา ท่าทางประกอบ หรือที่รูปภาพ การเน้นย้ำ
= ฟังหรืออ่าน อย่างเข้าใจโดยเทียบเคียงกับหลักเกณฑ์ ข้อมูลที่เคยรู้ หรือหาอ่านเพิ่มเติมอีก หรือสอบถามผู้พูดผู้เขียนหรือผู้รู้

ผมก็พยายามฝึก และฝึก อยู่ครับ


 

โดย: yyswim 2 พฤษภาคม 2548 14:38:38 น.  

 

มายินดีด้วยคนค่า เก่งจริงๆ :-)

 

โดย: yodmanud^ying IP: 86.129.117.94 2 พฤษภาคม 2548 21:18:15 น.  

 

ผมเชื่อตามคุณBF นะครับ ว่านักเรียนเศรษฐศาสตร์ระดับปริญญาเอกท่านนี้จะกลับมาเป็นกำลังสำคัญของประเทศไทยจริงๆ

ปัญหาหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นคือนักเรียนเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทยโดยมากอ่อนคณิตศาสตร์ อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบกับระบบคะแนนเอนทรานซ์ นักเรียนเศรษฐศาสตร์โดยเฉลี่ยไม่ใช่เด็กชั้นเลิศดังเช่นนิสิต-นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ แพทย์ศาสตร์ จุฬาฯและ แพทย์ศาสตร์ ศิริราช ผมเชื่อว่า 3คณะที่ว่านี้เอาเด็กเก่งสุดๆของประเทศไทยไปอยู่ไม่น้อยกว่า95%

อีกทั้งระบบการศึกษาเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยไทยยังไม่เน้นคณิตศาสตร์มากนัก เท่าที่ผมทราบมีที่จุฬาฯและเกษตรที่บังคับวิชาคณิตศาสตร์และสถิติตลอดจนเศรษฐมิติในการบังคับเรียนสูงกว่ามหาวิทยาลัยอื่นๆแต่ก็ไม่ได้ให้เรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบภาควิชาคณิตศาสตร์เขาเรียนกัน ผมจำได้ว่าเพื่อนร่วมรุ่นของผมที่เป็นที่1ของประเทศไทยในสาขาเศรษฐศาสตร์สำหรับการเอนทรานซ์ในปี 2539 ด้วยอายุเพียง15ปี!!! ต้องไปtake course วิชาReal Analysis และ Advanced Calculus ที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ จุฬาเองและรุ่นน้องผมอีกหลายคนที่จุฬาฯ ต้องทำเช่นเดียวกัน แสดงว่าการเรียนคณิตศาสตร์ สถิติของวิชาเศรษฐศาสตร์ในไทยโดยเฉพาะจุฬาฯ ก็ยังไม่เข้มข้นเท่าที่องค์ความรู้เศรษฐศาสตร์ในระดับสากลเรียกร้อง

เพราะฉะนั้น นักเรียนเศรษฐศาสตร์เหล่านี้ไปเรียนต่อต่างประเทศจึงไปเรียนวิชาเอกสาขาพื้นๆและไม่หลากหลายอย่างน้อยเช่น Macro, Inter Trade ,Monetary Economics
...etc.

แต่ สาขาEcono Physics,Theorical Economicsเช่นContract Theory, Experimental Economics,Computional Economics และ Game Theory ตลอดจน Industrial Economics มีคนเรียนน้อยมาก ๆ

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
อันนี้ผมยอมรับว่าไม่ทราบแต่ถ้าให้คาดเดา ผมอนุมานได้2ประการ
1)สาขาเหล่านี้ตามด้านบนทำงานได้น้อยมากในวงธุรกิจ
2) สาขาด้านบนเรียนยากและยากมากจริงๆต้องอาศัยพื้นฐานทางคริตศาสตร์สูงมากและเหนืออื่นใดคือความคิดสร้างสรรค์

Robert Lucas จบปริญญาตรีด้านประวัติศาสตร์และผมเคยทราบว่าต้องเรียนซ้ำชั้นที่ชิคาโกอีก1ปี แต่ความคิดสร้างสรรค์ทางเศรษฐศาสตร์อยู่ในขั้นยอดเยี่ยมอย่างที่สุด แน่นอนทักษะคณิตศาสตร์ของLucas อยู่ในขั้นดีเยี่ยมเช่นกัน(ดังจะเห็นได้จากบทความภายหลังของเขา) ไม่มีใครปฏิเสธว่าLucas ไม่ใช่อัจฉริยะหรือนักวิชาการชั้นยอด(Lucasได้รางวัลโนเบลทางเศรษฐศาสตร์ ในปี 2538 ) แต่สำหรับประเทศไทย เรามีนักเรียนชั้นยอดเรียนเศรษฐศาสตร์น้อยเกินไปและที่เป็นเลิศไปเป็นเทคโนแครตอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลังไม่ใช่รั้วมหาวิทยาลัยไทย

สำหรับเพื่อนของคุณPinkerton ผมเชื่อว่าด้วยความสามารถของเขาและในความเป็นนักเรียนชั้นเลิศของประเทศไทยด้านวิศวกรรมศาสตร์และฟิสิกส์ การมาอยู่ในวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทยจะทำให้วงวิชาการนี้คึกคักแน่นอนและหัวข้อDissertations ของนักเรียนปริญญาเอกท่านนี้บอกได้คำเดียวครับว่ายอดมากครับ

 

โดย: ปริเยศ (Pariyed ) 4 พฤษภาคม 2548 19:57:23 น.  

 

Hello..

Would anybody tell me what 'EconoPhysics' is?

 

โดย: Vincit IP: 144.82.106.61 5 พฤษภาคม 2548 1:02:07 น.  

 

คุณVincit

ECONOPHYSICS
This term has been around for some years, but has yet to appear in any dictionary I know of. It is the application of the principles of mathematical physics to the study of financial markets. Experts are beginning to discover that the world economy behaves like a collection of electrons or a group of water molecules that interact with each other. With new tools of statistical analysis, like the recent breakthroughs in understanding chaotic systems, it is beginning to be possible to make sense of these hugely complicated systems (one year of the world’s financial markets produces about 24 CD-ROMs’ worth of data, so there’s no shortage of material to number-crunch). As a result, specialists are addressing a variety of questions that are difficult or impossible to understand using conventional economic principles: Is the market random, or is there any underlying order? In particular, are there any long-term trends that can be foretold? Are financial crashes inevitable? Someone who is an expert in this arcane field is an econophysicist.


“Obviously, you can’t predict the future,” said Gene Stanley, a physicist at Boston University who organized the econophysics session. But, he added, such research reveals how physicists and economists should compare notes in the future.
[Dallas Morning News, Mar. 2000]
Judging by the work of two Parisian econophysicists, they are making a controversial start at tearing up some perplexing economics and reducing them to a few elegant general principles—with the help of some serious mathematics borrowed from the study of disordered materials.
[New Scientist, Aug. 2000]
World Wide Words is copyright © Michael Quinion, 1996–2005.
All rights reserved. Contact the author for reproduction requests.
Comments and feedback are always welcome.
Page created 9 September 2000.

ที่มา

อื่นๆหาได้จากนี้ครับ

 

โดย: ปริเยศ (Pariyed ) 5 พฤษภาคม 2548 6:21:01 น.  

 

โทษทีครับ ให้ลิงค์ผิด

ที่มาศัพท์ด้านบนมาจาก
ECONOPHYSICS

ข้อมูลอื่นๆหาได้จาก
ECONOPHYSICS

 

โดย: ปริเยศ (Pariyed ) 5 พฤษภาคม 2548 6:24:25 น.  

 

ลิงค์ผิดอีกแล้ว
ข้อมูลอื่นๆหาได้จาก

ECONOPHYSICS

 

โดย: Pariyed 5 พฤษภาคม 2548 6:25:46 น.  

 

เขียนไม่เข้า ที่เหลือตามLinkนี้ไปแล้วกันครับ

//www.unifr.ch/econophysics/

 

โดย: Pariyed 5 พฤษภาคม 2548 6:27:00 น.  

 

Pariyed..Thank you so much na krub for clarification...I have a bit of suggestion (as usual)

I think this idea will be presented in detail in
www.ESWC2005.com

On Financial econometrics
Yacine Ait-Sahalia “The Econometrics of Ultra High Frequency Data and Market Microstructure Noise”

Neil Shephard "Measuring variation and jumps in asset prices using high frequency data"

About the tools used in econophysics I think it is a kind of, in theoretical part, Brownian Motion and other stochastic differetinal equation. Another interesting thing..this tool is also used in design economics and game theory....particularly in Cheap Talk (costless information revealation)..tackling about the communication of message in its space...
Econometrica 2003 (maybe)

 

โดย: Vincit IP: 144.82.106.40 5 พฤษภาคม 2548 6:41:41 น.  

 

eeeeg... GE. *laughs* okay... i'll be "okay" with it once I pass my prelim. Right now it's still haunting me!!! *laughs*

But once I'm done with this current mess, I think i'll take a look at your friend's thesis proposal. :)

As always, I like reading your blog. :) Always a lot of things for me to think about... :)

 

โดย: no-i IP: 66.237.132.175 6 พฤษภาคม 2548 6:09:33 น.  

 

If you are interested, check out some work done by Xavier at MIT's econ dept. Applications of stochastic processes on size distribution of cities (zipf's law), mutual funds, financial market fluctuations, etc.

I have some thoughts on Pariyed's points as well, but I don't have time right now. I may come back here later. :)

 

โดย: you don't know who IP: 68.6.180.173 6 พฤษภาคม 2548 12:07:08 น.  

 

ยินดีรับฟังความเห็นครับ คุณ you don't know who

 

โดย: ปริเยศ IP: 161.200.255.161 6 พฤษภาคม 2548 15:48:06 น.  

 

ผมว่าอ่านตอนกลางคืนจะเข้าใจกว่ามีสมาธิดี เชื่อผมเถอะคับ

 

โดย: sony 55+ IP: 203.114.112.23 29 มกราคม 2549 23:58:59 น.  

 

จะอ่านในห้องนำ (ตอนอึ) 555+ เหม็นดี

 

โดย: jujun IP: 203.188.38.94 2 กุมภาพันธ์ 2549 0:02:09 น.  

 

จะอ่านแบบออกเสียงดังๆ ทวนไปเรื่อยๆ ก็จะจำได้

 

โดย: koko IP: 203.188.38.94 2 กุมภาพันธ์ 2549 0:04:19 น.  

 

อ่านในใจจะได้จำได้ง่ายๆ เพราะจะจำขึ้นใจ 555+

 

โดย: topping IP: 203.188.38.94 2 กุมภาพันธ์ 2549 0:06:37 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


B.F.Pinkerton
Location :
Midway United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add B.F.Pinkerton's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.