Group Blog
 
<<
มกราคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
14 มกราคม 2549
 
All Blogs
 
เล่าเรื่องเปิดเทอมใหม่ ( School is fun )



ผ่านไปแล้วสำหรับอาทิตย์แรกของภาคเรียน Winter Quarter ( 10 weeks ) ที่ผมตั้งใจเอาไว้ว่าจะต้องทำตัวให้มีวินัยในการเรียนและการทำงานให้มากขึ้น (เล่นพันทิปให้น้อยลง) พยายามเขียน Blog ให้เป็นเวลามากขึ้น อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง เป็นการสรุปว่าอาทิตย์ที่ผ่านมาเราได้ทำอะไรมาบ้าง เพราะช่วงหลังที่บ้านเมืองไทย ของผมเขาก็บอกว่าทำไมไม่ค่อยเขียนอะไรที่อ่านรู้เรื่องเลย ( ก็จริงนะ) เอาเป็นว่าเทอมนี้จะพยายามสื่อสารให้มากขึ้นแล้วกันครับ

อาทิตย์แรกนี้อยู่ในช่วง Shopping Period คือ นักเรียนส่วนใหญ่ก็ยังเลือก ๆ อยู่ว่าจะเรียนวิชาอะไร ลองเข้าไปนั่งเรียนดู ถ้าชอบก็ลงเรียน ถ้าไม่ชอบก็หาวิชาใหม่ ผมเองก็ได้ไปลองเรียนหลายวิชา แต่ก็ยังตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเรียนวิชาอะไรดี คิดว่าภายในสุดสัปดาห์นี้ก็คงจะรู้ได้ ถ้าตัดสินใจช้า มันก็จะเสียเวลาเกินไป

ไหน ๆ ก็เป็นช่วงเปิดเทอมและเลือกวิชาเรียน ผมก็ขอเล่าเรื่องวิชาที่จะเรียนในเทอมนี้ และความประทับใจบางอย่างให้ฟังละกันครับ เอาเรื่อง Stanford GSB ก่อน

Business

ผมเป็นคนที่สมัยก่อนไม่เคยชอบพวกวิชาบริหารธุรกิจเลย ตอนสมัยเรียนที่เมืองไทย ก็ไม่เคยไปลงวิชาคณะบัญชีเลยแม้แต่วิชาเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลก สำหรับนักศึกษาเศรษฐศาสตร์ เพราะส่วนใหญ่จะชอบไปทำวิชาโทของบัญชีกัน เช่น Finance, Marketing ฯลฯ (รู้สึกจะเคยลงวิชาหนึ่ง ตอนหลังไปถอนออก) เพราะรู้สึกว่าพวกนี้คิดแต่เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ไม่ชอบเท่าไร (ตอนนั้นคงมองโลกแคบไป หรืออาจจะคิดมากไป) ตอนเรียนที่ Chicago ก็เห็นเพื่อน ๆ ไปเข้าคิวตั้งแต่ตีห้า เพื่อลงทะเบียนวิชาของ GSB ( เขาให้ non-GSB students สามารถลงทะเบียนวิชาของ GSB ที่ยังมีที่ว่างได้ หลังจากช่วงระยะเวลาที่นักเรียน GSB ลงกันหมดแล้ว ) วิชาที่เขาฮิต ๆ กันที่ Chicago GSB ก็เช่นพวก Finance, Financial Accounting หรือ Economics ผมเองก็ไม่เคยไปแย่งต่อแถวลงเรียนวิชาของ GSB กับเขาเท่าไร แต่ก็เคยลงเรียนนะ แต่ก็เป็นวิชาทำนอง Statistics ที่ไม่ค่อยมีคนลงเรียนมากกว่า ( Applied Regression Analysis) ก็พอจะได้ เห็นบรรยากาศของนักศึกษา Chicago GSB พอสมควร ดูแล้วช่างแตกต่างจากนักศึกษาคณะอื่น ๆ อย่างมาก ทั้งด้านการแต่งกาย บุคลิกลักษณะ มักจะดูดี ออกจะคล้าย ๆ Banker หรือพวก Consultant ทำนองนั้น ดูหรูหราไฮโซมากทีเดียว

สำหรับ Stanford GSB นั่น ผมได้รับความประทับใจจากเพื่อนคนหนึ่งซึ่งกำลังเรียนอยู่ในโปรแกรมนี้ เขาพูดสรรเสริญให้ฟังเป็นประจำที่คุยกันว่า เป็นโปรแกรมที่ดีมาก เน้นให้คนมีความเป็น Entrepreneurial สูง สร้างความมี Leadership และมีโปรแกรมที่ค่อนข้างจะใส่ใจสังคม เช่น เน้นการเอาเครื่องมือทางธุรกิจไปใช้ในงานเพื่อสังคมหรือ non-profit ( มี center ชื่อศูนย์ที่เรียกว่า Center for Social Innovation ซึ่งออกวารสารที่ดีมากชื่อ Social Innovation Review - ผมเคยสมัครอ่านตั้งแต่ตอนอยู่ชิคาโก ตอนนี้ก็ได้มาเห็นกับตา) เท่าที่คุยกับเพื่อนคนนี้มา ก็รู้สึกค่อนข้างประทับใจพอสมควร ทั้งในแง่ของคุณภาพการศึกษา และความกว้างของโปรแกรมของเขา จนอยากสนับสนุนให้คนที่เก่งและอยากทำอะไรเพื่อสังคม ได้สมัครมาเรียนที่นี่กัน รับรองคุ้มค่า (ถ้าสามารถเข้ามาได้)

เทอมนี้ผมจึงได้ลงวิชาเรียนของ GSB ที่นี่เอาไว้ด้วย ได้ไปนั่งเรียนดูก็รู้สึกว่ามันสนุกดี (ลงทะเบียนวิชาหนึ่ง, audit อีกอัน) ความประทับใจเกี่ยวกับนักเรียน Stanford GSB คือหลายคนเป็นนักเรียน joint program ระหว่าง MBA/ MA ( in Education) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างจะให้ความสำคัญกับด้านการศึกษา หลายคนจบออกไปแล้วก็ได้ไปสร้างโครงการดี ๆ ในทางการศึกษา อาทิ Education Pioneers ซึ่งสามารถ recruit คนเก่ง ๆ ที่เรียน Law School, MBA หรือ Policy School จากโรงเรียนดัง ๆ เช่น Harvard, Wharton, Stanford เพื่อไปทำงานพัฒนาทางการศึกษา แทนที่จะหันเข้าสู่วงการธุรกิจหรือ Consultancy อย่างที่เคยทำมา ซึ่งนับว่าน่าสนใจดี บางคนก็ไปทำโปรเจคในด้านอื่น ๆ

อย่างเมื่อวานวิชาหนึ่งเขาก็เชิญศิษย์เก่า GSB ซึ่งออกไปตั้งโรงเรียนชื่อว่า SCORE! ให้มาเป็น guest speaker เขาก็สามารถทำได้อย่างน่าสนใจในเชิงธุรกิจ (แต่ตอนท้ายชั่วโมง เขาก็บอกว่าตอนนี้ บริษัทเขากำลังจะขายให้กับ Kaplan แล้ว)

สำหรับอีกวิชาหนึ่งชื่อว่าวิชา Economics of Higher Education สมัยที่อยู่ชิคาโก ผมเคยลงวิชาชื่อเดียวกันนี้ มีคนลงทะเบียนแค่ 4 คนเท่านั้นเอง !!! แต่ก็ดีอย่าง เพราะจะได้สนิทกับอาจารย์ และทำให้เราต้องอ่าน paper มาล่วงหน้า เพราะ Class มันเล็กมาก ( อาจจะบ่งบอกอะไรได้บางอย่าง...ว่า นักเรียนชิคาโก ไม่ค่อยสนใจเรื่องทำนองนี้เท่าไร) มาเทอมนี้ ผมก็ได้ลง เป็นวิชาของ GSB ( แต่การเรียนการสอนต่างกัน ของที่ชิคาโก เขาจะเน้นให้อ่าน Academic Journal ต่าง ๆ ทั้งหลายแหล่ มา discuss กัน คุยเรื่อง theory ก็ดีในแง่ความรู้) ส่วนของที่ Stanford จะไม่หนักไปในทางนั้นมากเท่าไร แต่จะให้อ่านหัวข้อเบา ๆ แล้วเอามา แสดงความเห็นกันมากกว่า (ไม่ได้สนใจเรื่อง Methodology หรือ Tool ในงานวิจัย..อาจจะเป็นเพราะเน้นสอน GSB class ) จริง ๆ วิชานี้ ผมก็ไม่ได้คาดหวังด้านวิชาการมากนัก แต่ก็อยากจะรู้บรรยากาศของ GSB class และอยากรู้จักอาจารย์คนนี้ ก็เลยลงเรียน คิดว่าไม่ผิดหวัง

ใน class ก็ได้เจอนักเรียนที่น่าสนใจหลายคน หลายคน blog อยู่ในกลุ่ม MBA Bloggers นักเรียนต่างชาติก็มีทั้ง จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฯลฯ หลายคนมีประสบการณ์ในทางธุรกิจการศึกษามาก่อน หลายคนเป็นลูกหลานอาจารย์มหาวิทยาลัย (ตอนแนะนำตัว) บางคนเคยทำบริษัทกวดวิชาของเมืองจีนที่ดังมาก (คาดว่าคือ New Oriental School หรือใกล้เคียง) ที่น่าสนใจคือนักเรียนสิงคโปร์ 2 คน เขาเป็นนักเรียนทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ ที่ส่งให้มาเรียน Stanford GSB (MBA/MA) และคงจะกลับไปดูแลกระทรวงศึกษาสิงคโปร์ ไม่น่าแปลกใจเลย ว่าทำไมประเทศเขาถึงเจริญก้าวหน้าในการศึกษาไปได้ไกล ผมคิดว่ารัฐบาลไทยหรือกระทรวงศึกษา ฯ น่าจะส่งคนที่มีความรู้ ทักษะทางด้านธุรกิจมาเรียนที่ top Business school เพื่อให้กลับไปทำงานตรงนั้นบ้าง เผื่อจะมีอะไรใหม่ ๆ เกิดขึ้น ( พูดถึงตรงนี้ นักการศึกษาอาจจะน้อยใจได้ แต่ก็เป็นความจริง เพราะคนที่มีพื้นฐานทาง business เขาจะสามารถมองอะไร ในทางการวางแผน strategy, branding หรือ finance ได้ดีกว่ามิติทางการศึกษาอย่างเดียว )

สำหรับบรรยากาศของการเรียนก็สนุกดีครับ ได้ฟังทัศนคติของนักเรียนต่าง ๆ กัน หลายคนดูมีไฟแรงมาก คงจะจบออกไปแล้วสามารถทำอะไรที่น่าสนใจในเชิงสังคมได้ต่อไป (สำหรับ GSB ที่สแตนฟอร์ด ถ้าหากนักเรียนที่จบออกไปแล้ว เข้าไปทำงานด้าน non-profit เขาจะมี loan forgiveness ให้ คือไม่ต้องจ่ายเงินกู้คืน เป็นการส่งเสริมให้คนที่ well-trained มาทาง Business สามารถก้าวเข้าสู่ภาคสังคมมากขึ้น)

Law

ส่วนวิชาอื่น ๆ ที่น่าสนใจในเทอมนี้ ที่คิดว่าจะลงคือวิชา Economic Analysis of Law ซึ่งค่อนข้างจะผิดฝาผิดตัวนิดหน่อย เพราะจริง ๆ แล้ว วิชานี้ควรจะเรียนที่ Chicago เพราะ ที่นั่น เป็นต้นกำเนิดของสาขานี้ในโลก ก็ต้องอ่าน Textbook ของ Richard Posner เล่มนี้ (Economic Analysis of Law) ซึ่งแพงมาก และ paper อีกมากมาย (อย่างน้อยอาทิตย์ละร้อยหน้า) เพิ่งจะรู้ว่าเปเปอร์ของพวก law นี่แต่ละอันหนามาก ๆ เคยให้เพื่อนที่เรียนทางสายวิทย์ดู เขาบอกทำไมของ Econ paper มีหลายหน้าจัง พอมาเจอ Law นี่ยิ่งหนากว่า ไม่แปลกใจที่เห็นเพื่อนที่เรียนกฎหมายต้องขยันมาก ๆ

จริง ๆ แล้ว ผมก็อยากเรียนกฎหมายมาก เพราะเชื่อ ว่ากฎหมายมีความสำคัญต่อสังคม ถ้าหากเราต้องการเรียนรู้กระบวนการทางสถาบันต่าง ๆ ในสังคม เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการศึกษาวิชากฎหมายได้ วิชานี้น่าสนใจตรงที่เขาจะปูพื้นฐานให้เราพอเข้าใจ กฎหมาย (ของอเมริกา) พร้อมกับการนำเอาหลักทฤษฏีเศรษฐศาสตร์มาใช้วิเคราะห์ ผมดูแล้วน่าสนใจมาก น่าจะได้อะไรจากวิชานี้พอสมควร เพราะตอนนี้ความรู้ยังเป็นศูนย์อยู่ คงจะมี Marginal Benefit สูงกว่าคนที่เขาพอรู้เรื่องอยู่แล้วบ้าง และก็เป็นวิชาที่ผมไม่แน่ใจว่าเมืองไทยมีคนที่สอนได้หรือเปล่า

จริง ๆ แล้ว ผมก็คิดว่าอยากจะทำปริญญาโททางกฎหมายอีกใบ (Master of Legal Studies) เพราะไหน ๆ ก็เรียนฟรีอยู่แล้ว แต่อาจจะเสียเวลานิดหน่อย แต่คุยกับเพื่อนที่เรียนกฎหมาย เขาก็ไม่ค่อยเห็นว่ามันจะมีประโยชน์เท่าไรนัก ในสายตานักกฎหมาย แต่ก็คงค่อย ๆ คิดดูอีกที เขาให้สมัครได้ประมาณปีสามขึ้นไป คิดว่าอย่างน้อยมีคุณวุฒิเอาไว้ ถ้าเราไปทำวิจัยในด้านเกี่ยวกับ Law & Economics ก็น่าจะมีความสำคัญในแง่ credential บ้าง ( ขึ้นกับ อ.ที่ปรึกษาด้วย ว่าเขาจะยอมหรือเปล่า)

ตอนนี้มีนักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายหลายคน อาทิ Steve Shavell, Lucian Bebchuk, Mitchell Polinsky และคนอิสราเอลอีกคนคือ Amir Licht ( TA ใน Class นี้ก็เป็นนักเรียนอิสราเอลเหมือนกัน เป็น lawyer จาก อิสราเอลที่มาทำ PhD ของ Economics ว่าจะลองถามดูว่ารู้จักกันหรือไม่ ) ก็ต้องคอยดูกันว่าจะเป็นอย่างไร แต่คิดว่าคงจะมีอะไรน่าตื่นเต้นมาเล่าให้ฟัง

เทอมนี้คิดว่าน่าจะเป็นเทอมที่ดี เพราะมีวิชาที่ชอบเรียน (แม้ว่าจะต้องอ่านเยอะไปบ้าง ก็ยังโอเค ดีกว่าฝืนเรียนวิชาที่ไม่ชอบ-เช่น Microeconomics MWG proof theorem ต่าง ๆ )

ถ้าใครมีอะไรอยากจะถามเกี่ยวกับโรงเรียนหรือการเรียนต่อ ก็คุยกันได้ ผมอาจจะเล่นในพันทิป Café น้อยลงล่ะ แต่ยังชอบคุยตอบคำถามเรื่องโรงเรียนอยู่ ยินดีที่จะตอบ

ปล. วันนี้ครบรอบหนึ่งปีที่เขียน Blog ( อันแรก อันนี้) ไม่คิดว่าจะเขียนได้ยาวนานติดต่อกันถึงขนาดนี้เหมือนกันแฮะ



Law & Economics Links

Harvard Law School - John M. Olin Center for Law, Economics, and Business
Stanford Law School - John M. Olin Program for Law and Economics
University of Chicago Law School - John M. Olin Program in Law and Economics
Encyclopedia of Law and Economics
American Law and Economics Association


Create Date : 14 มกราคม 2549
Last Update : 17 มกราคม 2549 10:57:26 น. 29 comments
Counter : 1063 Pageviews.

 
แวะมาอ่านค่ะ น่าสนใจดีค่ะ อยากเรียน ด๊อกเหมือนกันค่ะ แต่รู้สึกว่า สมองจะไม่สามารถรับได้แล้ว บวกกับ ตัวขี้เกียจยังรุ่มเร้าไม่หลายสักที


โดย: jaa_aey วันที่: 14 มกราคม 2549 เวลา:23:02:14 น.  

 
น่าสนุกดีครับ

ยินดีด้วยนะครับ บล็อกนี้ปีนึงแล้ว

ผมเองก็อยากเริ่มเขียนใหม่เหมือนกัน


โดย: ฮ ฮฮ IP: 61.91.167.12 วันที่: 15 มกราคม 2549 เวลา:1:02:44 น.  

 
น่าสนใจดีนะเนี่ย

ผมว่าในเรื่องของ Law and Economics นี่ ในบ้านเราก็ยังมีคนสนใจในประเด็นนี้น้อยนะ อาจารย์สอนก็ไม่เห็นจะมีใคร (หรืออาจจะมีแต่ผมไม่รู้) ไอ้ที่ได้เรียนกันมันก็เป็น กฏหมายในเชิงธุรกิจไปซะงั้น ซึ่งเนื้อหาสาระต่างกับ ตำรา Law and Economics ที่เคยพลิกๆผ่านๆดูลิบลับ

ผมเชียเลยนะครับ เรียนไปโลด จะได้มีอาจารย์คุณภาพในสายวิชาที่ขาดแคลนเพิ่มขึ้น

เป็นกำลังใจให้ครับ!!


โดย: gelgloog IP: 221.128.96.30 วันที่: 15 มกราคม 2549 เวลา:19:01:59 น.  

 
อ่านแล้วน่าสนใจมากๆ

hbd นะคับ B.F. Blog


โดย: นายกาเมศ วันที่: 16 มกราคม 2549 เวลา:0:53:24 น.  

 
Law and Economics นั้นคงนำมาใชได้ยากนะผมว่าเรียนแล้วคงต้องใช้ในทางวิชาการอย่างเดียวเลยแม้ว่าทางอเมริกา และยุโรปจะเริ่มนิยมมากขึ้นเรื่อยๆแต่ดูๆไปแล้วเนื้อหาก็ไม่ได้ท้าทายเด็กรุ่นใหม่ๆให้อยากมาเรียนเลย คนที่มาเรียนส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช่พวกจบกฎหมายก็เป็นพวกนักวิชาการด้านกฎหมายที่ต้องการนำด้านเศรษฐศาสตร์ ไปวิเคราะห์บ้างก็เท่านั้น ผมว่านะ


โดย: บัวปริ่มน้ำ IP: 80.171.72.160 วันที่: 17 มกราคม 2549 เวลา:3:01:35 น.  

 
น่าสนใจมากๆค่ะ อยากเรียนเหมือนกันค่ะ

HBD for your Blog kaaa


โดย: I am IP: 70.246.255.17 วันที่: 17 มกราคม 2549 เวลา:5:04:52 น.  

 
ตอนนี้ กำลังทำวิจัยอยู่เกี่ยวกับ Bank Mergers
นอกจากทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์
กฏหมายสำคัญมาก ต้องอ่านเยอะทีเดียว

ในทางปฏิบัติ กฏหมายกับเศรษฐศาสตร์ไปคู่กันเสมอ
ถ้าคุณ B.F.Pinkerton มีโอกาศได้เรียนกฏหมายไปด้วย
คิดว่า น่าจะเป็นประโยชน์มาก

ที่ชั้นเรียน มีคนที่จบปริญญาเอกทางกฏหมายแล้ว
ยังมาเอาเอกอีกใบทางเศรษฐศาสตร์ด้วย

คิดว่าคนที่มีความรู้ทั้ง 2 แขนง จบออกมา
ค่าตัวน่าจะสูง...


โดย: walras IP: 67.68.207.28 วันที่: 17 มกราคม 2549 เวลา:5:27:47 น.  

 
สบายดีนะค่ะ


โดย: พี่เจี้ยวค่ะ (sutida_jeaw ) วันที่: 18 มกราคม 2549 เวลา:3:48:19 น.  

 
สวัสดีครับคุณ ja_aey, ฮ ฮฮ, gelgloog, บัวปริ่มน้ำ, ip และคุณ Walras และคนที่แอบอ่านแต่ไม่ได้ลงชื่อ ขอทักทายทีเดียวพร้อมกันเลย

คุณ Walras ใช่ครับ คนที่เชี่ยวชาญทั้งสองแขนงนี่ค่าตัวสูงมาก (แต่ผมคงไม่คิดอาจเอื้อมขนาดนั้น แค่อยากรู้เฉย ๆ เป็น learning for learning's sake) นี่ก็ไปกวาดหนังสือจากห้องสมุดมาอ่านหลายเล่มเลย (กวาดมาตุนไว้น่ะ ไม่ได้อ่านเท่าไรหรอก) คุณ Walras เน้นด้านนี่ก็ดีนะครับ ดูน่าจะมีประโยชน์ในทางปฏิบัติ (ทาง money & banking) ได้ดี

ได้พลิกอ่านคร่าว ๆ เล่ม Law and Economics,Richard A. Posner & Francesco Parisi (Elgar 1997) กับเล่มของใหญ่ของ Posner ก็รู้สึกได้เลยว่า ท่านผู้นี้เก่งจริง ๆ ( Judge Posner เขียน blog อยู่กับ prof.Becker มีลิ้งอยู่ข้างๆ )นับถือมาก ๆ เป็นคนที่สามารถเขียนหนังสือ (และอ่านหนังสือ) ได้เยอะมาก ๆ สมกับเป็นนักปราชญ์โดยแท้ น่าเสียดายที่เรารู้จักเขาช้าไป..(ไม่งั้นจะได้ไปนั่งเรียนด้วยที่ชิคาโก)

ผมว่าปัญหาอย่างหนึ่งที่เมืองไทย การวิเคราะห์ Law & Economics ยังไม่ได้ก้าวหน้าไปมาก อาจจะเป็นเพราะระบบกฎหมายของไทยที่เป็น Civil Law หรือเปล่าครับ ? ต่างกับอเมริกาหรืออังกฤษที่เป็นแบบ Common Law ทำให้เรายังไม่สามารถหาจุดที่จะเริ่มต้นได้ (แต่ก็ต้องดูอีกทีว่าระบบ civil law ประเทศอื่น ๆ ในยุโรป เขามี approach ในการมองเรื่องนี้อย่างไร) ตอนนี้เพิ่งเรียนได้แค่ครั้งเดียวเอง อ่านได้นิดนึง ยังไม่สามารถจะแสดงความเห็นอะไรได้มาก ไว้รอรับฟังความเห็นจากท่านอื่นๆ ดูดีกว่า

อ่อ สวัสดีครับพี่เจี้ยว ผู้มีเสียงร้องเพลงอันไพเราะ..ผมคิดว่าจะทำเวปร้องเพลง ยังไม่ได้ทำสักทีเลย


โดย: B.F.Pinkerton วันที่: 18 มกราคม 2549 เวลา:11:14:38 น.  

 
เทอมที่แล้ว ผมเรียนวิชา Law & Economics กับ Advisor ผม คือ Professor Thomas Ulen, Swanlund Chair, ซึ่งเป็น Director ของ Program in Law and Economics ที่ College of Law มหาวิทยาลัยผม น่าสนใจจริง ๆ

ผมว่าวิชาการ หลายอย่างมันบรรจบกันหมด Advisor ผมมักจะบอกว่าเช่นนั้น Advisor ของผม ท่านเขียนหนังสือ Law & Economics ไว้ด้วย เผื่อท่าน BF. จะสนใจอ่านนะครับ


โดย: POL_US วันที่: 18 มกราคม 2549 เวลา:15:48:56 น.  

 
ขอบคุณครับพี่ POL_US ได้ลองเข้าไปดูประวัติและผลงานของ Prof.Ulen ล่ะครับ น่าสนใจมากทีเดียว ไว้จะลองหาหนังสือของท่านมาอ่านดู

ผมไม่แน่ใจว่าเมืองไทยจะเป็นไปได้หรือเปล่า ที่คนที่ไม่ได้มีคุณวุฒิทางด้านกฎหมายจะสามารถเป็นอาจารย์ประจำในคณะนิติศาสตร
ได้์ เขาอาจจะีมีกฎอะไรบางอย่างอยู่

เห็นด้วยครับว่าวิชาการมันบรรจบกันได้ อย่างเรื่องเศรษฐศาสตร์รัฐธรรมนูญ ของ อ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ (ขอสารภาพว่ายังไม่ได้อ่าน) ก็น่าจะเป็นความพยายามอย่างหนึ่งที่จะทำเช่นนั้น ตอนนี้ที่ผมสนใจก็คือเรื่องของ การวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์+การศึกษา+โดยใช้เครื่องมือทั้งทางเศรษฐมิติแบบมาตรฐาน+ เศรษฐศาสตร์สถาบัน + ข้อจำกัด (Law & regulations) รู้สึกว่าเป็น area ที่คนไทยยังไม่ค่อยมีใครทำกันมากเท่าไรนัก ใครสนใจก็มาคุยกันได้ครับ


โดย: ฺBF IP: 70.132.13.244 วันที่: 18 มกราคม 2549 เวลา:22:37:20 น.  

 
ปัญหาของการเรียนกฎหมายในไทย คือ มีอาจารย์ส่วนหนึ่ง และเป็นส่วนใหญ่ สอนเสมอว่า กฎหมายคือ ทุกอย่าง เป็น Dogmatic ที่สั่งสมมาตั้งแต่สมัยโรมัน ยิ่งใหญ่กว่าสาขาใด ๆ ในหล้า ...นักกฎหมาย จึงไม่จำเป็นต้องเรียนอะไรอีกแล้ว ...

นั่นคือ สิ่งที่ทำให้ LAW & Economics ไม่อาจจะเกิดขึ้นในไทย อย่าว่าแต่ สาขาที่ดูเหมือนจะไกลกันขนาดเศรษฐศาสตร์นั้นเลย แม้แต่วิชาทางรัฐศาสตร์ นักกฎหมายส่วนใหญ่ ยังมองข้าม แถมมองว่าไม่เป็นศาสตร์ ไปเสียอีกต่างหาก ... คิดไปได้ไงไม่ทราบเหมือนกัน

หนังสือของ Prof. Ulen ไม่ต้องซื้อก็ได้นะครับ เพราะเล่มบาง ๆ แต่แพงมาก ๆ อ่านจากเวปไซต์ //www.cooter-ulen.com/

ส่วนเรื่องคนที่ไม่ได้จบคุณวุฒิกฎหมายมานี้ แล้วเป็นอาจารย์ในคณะนิติศาสตร์นี้ ผมว่าโอกาส ความเป็นไปได้ คือ ศูนย์ เลย ... ก็ด้วยแนวคิด เรื่อง Dogmatic อะไร ข้างบนนั่นแหละ ไม่ใช่อะไรอื่นไกลหรอก

แต่ในสหรัฐฯ ผมว่า มีหลายมหาวิทยาลัย ที่ยอมรับ นับถือ ให้อาจารย์ที่ไม่ได้จบสาขากฎหมายโดยตรง แต่มีความรู้ความสามารถมาเป็นอาจารย์คณะกฎหมายได้ เคยอ่านคุ้น ๆ ที่ USC ก็มีอาจารย์ ร่วมสองคณะนิติศาสตร์ กับ คณะอะไรสักคณะนี่แหละ ...จำไม่ได้ครับ โทษที

ไม่แน่นะครับ อีกหน่อย เมืองไทย อาจจะเปิดกว้างกว่านี้ ท่าน BF ทำวิจัย ทางกฎหมายเยอะ ๆ แล้วไปสอนคณะนิติศาสตร์ ก็อาจจะเป็นไปได้นะครับ .... ผมว่าอย่างนั้น ผมเห็นมาหลายคนแล้ว ไม่ได้จบกฎหมาย แต่การวิเคราะห์วิจัยในทางกฎหมาย มีความลึกซึ้ง และมีความเข้าใจอย่างน่าทึ่งกว่านักกฎหมายที่มีชื่อเสียงจำนวนมากเสียอีก อย่าง Prof. Ulen ที่จบ ป.เอก จาก คณะและมหาวิทยาลัยเดียวกับท่าน B.F. นี่แหละ คือตัวอย่างที่ผมว่าไว้

ปล. เรื่องสหวิทยาการนี้ ผมว่า วันข้างหน้า คงจะสำคัญมาก ๆ นะครับ อาจารย์ BF ว่าไงครับ


โดย: POL_US วันที่: 19 มกราคม 2549 เวลา:13:14:15 น.  

 
ขอบคุณครับพี่ Pol_Us ผมอ่านแล้วยิ้มเลย เพราะคิดเหมือน ๆ กัน เพื่อนผมที่เขาจบนิติ มธ ก็เคยพูดทำนองนี้ให้ฟังอยู่บ่อย ๆ(ตอนนี้เขาเรียนอยู่ที่มหาลัยเดียวกันนี่แหละ) พูดยากนะครับเรื่อง Dogmatic นี่ ผมคนนอกไม่กล้าวิจารณ์มาก ปล่อยให้คุณเสี่ยตาชั่ง เขาจัดการก็แล้วกัน

จำเหตุการณ์อย่างหนึ่งได้ ถึงตอนที่มีการประท้วงเรื่องที่นิติศาสตร์ไม่ได้รับปริญญาเ็ป็นคณะแรก (รู้สึกพี่เคยเขียนในบล๊อกเหมือนกันใช่ไหม)


โดย: BF IP: 70.231.253.55 วันที่: 19 มกราคม 2549 เวลา:15:08:01 น.  

 
มาแวะอ่านค่ะ แล้วเลยสั่งซื้อหนังสือ Economic Analysis of Law ที่คุณBF แนะนำ มาประดับชั้นวางละ กะว่าจะ minor econ ด้วยค่ะ คงได้ลงเทอมหน้าถ้าสอบ core(Prelim) exam ผ่าน


โดย: caffe latte IP: 70.171.201.106 วันที่: 19 มกราคม 2549 เวลา:16:06:47 น.  

 
ขอให้คุณ caffe latte สอบผ่านไปได้ด้วยดีนะครับ


โดย: ฺBF IP: 70.231.242.218 วันที่: 20 มกราคม 2549 เวลา:8:06:25 น.  

 
จ้ะ


โดย: พี่เจี้ยวค่ะ (sutida_jeaw ) วันที่: 21 มกราคม 2549 เวลา:5:08:33 น.  

 
ผ่านมาอ่านได้ความรู้เรื่องนี้ดีครับ


โดย: ไม่ได้ล๊อค IP: 80.171.38.59 วันที่: 22 มกราคม 2549 เวลา:9:28:57 น.  

 
สวัสดีพี่ BF ครับ

เรื่องการนำกฎหมายมาประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์นี่น่าสนใจมากครับ นักนิติิศาสตร์ไทยจะได้มีมุมมองใหม่ๆบ้าง
เรื่องนี้นักกฎหมายไทยโดนว่ามาเยอะแล้วครับ เรื่องโลกทัศน์แคบเนี่ย วันๆก็วนอยู่แต่ตัวบทกฎหมาย ไม่ค่อยจะสนใจศึกษาศาสตร์แขนงอื่นกันมากนัก ทะนงตนอยู่กับศาสตร์ของตัวเอง

สุดท้ายขอให้พี่ประสบความสำเร็จในการศึกษา และนำความรู้กลับมาพัฒนาประเทศชาติด้วยครับ


โดย: praphrut608 IP: 146.151.108.105 วันที่: 22 มกราคม 2549 เวลา:11:07:32 น.  

 
เอ้า อย่าเรียนมากนะจ้ะ ผักผ่อนบ้าง อิอิ


โดย: พี่เจี้ยวค่ะ (sutida_jeaw ) วันที่: 23 มกราคม 2549 เวลา:16:31:22 น.  

 
หวัดดีค่ะพี่ BF เราเพิ่งเข้ามาใหม่ อยากทำความรู้จักพี่ไว้ เพราะเราเรียนสาขาเดียวกัน พี่จบตรีที่ไหนเหรอคะ เราเพิ่งจบจาก มธ. กะต่อด๊อกเหมือนกานกะลังรอผลอยู่ ตุ๊มๆต่อมๆ หัวใจเต้นมากเลยหล่ะค่ะ ไว้จะมาขอคำแนะนำจากพี่อีกนะคะ


โดย: น้องใหม่ IP: 202.57.181.96 วันที่: 25 มกราคม 2549 เวลา:12:30:28 น.  

 

ซิน เซีย ยู้ อี้ ซิน นี้ ฮวด ใช้ จ้ะ


โดย: พี่เจี้ยวค่ะ (sutida_jeaw ) วันที่: 26 มกราคม 2549 เวลา:3:43:58 น.  

 
เป็นบทความเรื่องราวที่น่าสนใจมากครับ โดยเฉพาะประเด็นที่คุณ BF ได้หยิบยกเรื่องความสำคัญของการศึกษา law & economics

ผมว่าในอนาคต การวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายหลายเรื่อง โดยเฉพาะปัญหากฎหมายเศรษฐกิจสมัยใหม่ จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เข้ามาค้นหาข้อเท็จจริงและหาข้อสรุปที่ไม่สามารถค้นพบได้แต่เครื่องมือทางกฎหมายโดยลำพัง

พูดง่ายๆ ก็คือว่า ในอนาคตเศรษฐศาสตร์จะเข้ามามีส่วนสำคัญในฐานะ "จิ๊กซอร์" ที่สำคัญสำหรับนักกฎหมายในการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในกฎหมายเศรษฐกิจสมัยใหม่ ที่นับวันจะทวีความซับซ้อน และไม่สามารถหาข้อสรุปโดยอาศัยการตีความผ่านตัวบทกฎหมายแบบเดิมๆ โดยลำพังอีกต่อไป

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดๆ ก็เช่น กฎหมายแข่งขันทางการค้า (competition law) กฎหมายป้องกันการทุ่มตลาด (anti-dumping) ที่ประเทศไทยยังถือว่าล้าหลัง และขาดประสิทธิภาพในการใช้บังคับอย่างมาก ผลที่ตามมาก็คือกฎหมายเหล่านี้จึงถูกใช้เป็นเครื่องมือในการพิทักษ์ผลประโยชน์ของธุรกิจบางกลุ่มในฐานะ trade protective measures แทนการรักษาผลประโยชน์โดยรวมของสังคม

ปัญหาส่วนหนึ่งก็เนื่องจากเราขาดคนที่จะมาเชื่อมโยงแนวคิดทั้งสองส่วนเข้าด้วยกัน ขาดการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง (ต่างกับใน us หรือ eu ที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้จริงจัง ดังจะเห็นได้ว่ามีการจัดทำวารสารวิชาการด้านนี้อย่างมากมาย ในขณะเดียวกันหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านนี้ก็พรั่งพร้อมไปด้วยบุคลากรที่มีความรู้ทั้งสองสาขา) และที่สำคัญ...

อย่างที่ท่าน pol_us กล่าวไว้ นักกฎหมายไทยก็ยังคงเป็นนักกฎหมายไทย....งานวิจัยกฎหมายในระดับสูงที่มีก็มุ่งอรรถาธิบาย ความหมายกฎหมายในแบบดั้งเดิม โดยขาดการศึกษา ต่อยอดกับวิทยาการความรู้ด้านอื่นๆ

ดังนั้นหากคุณ BF มีโอกาสเรียน ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี และสมควรผลักดันให้นักกฎหมายหันมาสนใจความรู้ด้านอื่นๆ ด้วย



โดย: lawholland IP: 130.115.81.234 วันที่: 26 มกราคม 2549 เวลา:17:04:37 น.  

 
Thank you krub k. Lawholland, are you studying Law at Erasmus ? I would like to get to know students from Continental Europe as well. Feel like being in US, we are quite self-contained and learn very few from academics in European world. I learn much less from them than when I was in Thailand (maybe because my mentor in Thailand graduated from European university)


โดย: BF IP: 171.64.186.106 วันที่: 27 มกราคม 2549 เวลา:2:56:53 น.  

 
yes, I am. I am now taking my master degree in law at Erasmus.

I agree with you that there are not so many Thai students interested in studying in the continental Europe, even though the universities here also offers many interesting courses for the students. So it is a kind of weird seeing some Thai students settled down his life here.

Anyway, I am glad to talk with you and share with you ideas and opinions that come up within your blog.

I am just a newcomer working on my own blog, if you are interested in, I am cordially invite you to my personal blog at //lawholland.blogspot.com/ krub.


โดย: lawholland IP: 130.115.81.234 วันที่: 27 มกราคม 2549 เวลา:5:21:56 น.  

 
ขอบคุณครับ ได้เข้าไปอ่านบล๊อก //lawholland.blogspot.com ของคุณแล้ว ขอชื่นชม รู้สึกว่า เขียนได้น่าสนใจมาก โดยเฉพาะคุณเคยทำงานเกี่ยวกับ Law & Regulation มาด้วย คงจะมีประสบการณ์ในด้านนี้มาพอสมควร

ไว้จะคอยตามอ่านต่อไปนะครับ


โดย: bf IP: 171.64.185.130 วันที่: 27 มกราคม 2549 เวลา:5:44:34 น.  

 
Here comes Friday ! I think I will update my blog tonight, lot of things going on here :)

Tonight I will have dinner with my corporate lawyer friend and will discuss about Shincorp's deal with Temasek. Hopefully I will get more wisdom about that.


โดย: BF IP: 171.64.187.186 วันที่: 28 มกราคม 2549 เวลา:4:52:53 น.  

 
แวะมาอ่านดูค่ะ ดูเก่งจัง


โดย: เด็กบัญชี IP: 58.136.205.224 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:22:53:41 น.  

 
ไม่รู้ว่าคุณจะสนใจเรื่องนี้หรือเปล่า
คือ ดิฉันเรียนจบโท law and economics
จาก Erasmus program เป็นคนไทยคนแรกที่ได้เรียนในสาขานี้ที่นั่น
แต่ว่าพอกลับมาเมืองไทยก็ไม่มีงานให้ทำ
พยายามหานะคะ แต่ไม่มีอะไรให้ทำ นอกจากจะไปเป็นอาจารย์
แล้วไม่ได้แปลว่าทุกมหาวิทยาลัยจะอยากเปิดสอนวิชานี้
และเกรดดิฉันไม่ได้สวยงามอะไร
เพราะว่าเรียนแบบเอาประสบการณ์ชีวิตมากกว่าโฟกัสข้อสอบ
แล้วการเป็นอาจารย์ก็คือ ดูเกรดมาก่อนเลย

และเคยเรียนกับ Ulen มาก่อนค่ะ
ไม่รู้เค้าจะจำได้หรือเปล่า ลองแย้บๆถามเค้าดูว่า
ตอนที่เค้าไปสอนที่ Ghent Belgium เมื่อปี 03 นั้นยังจำได้ไหม
เค้ามาสอน Contract law

ถ้าคุณB.F.มีข้อแนะนำอะไร
ดิฉันเองก็อยากใช้ประโยชน์จากวิชาที่ตัวเองได้เรียนมาเหมือนกัน
มากกว่าที่จะเป็นแค่สาวออฟฟิศธรรมดา


โดย: มิงค์ IP: 58.136.99.154 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:22:38:55 น.  

 
เออ เคยคิดอย่างนี้บ่อย ๆนะ เรื่องการเชื่อมโยงเอาหลักการเศรษฐศาสตร์กับกฎหมายเนี้ย แต่ไม่ค่อยมีคนเอามาพูดถึง พูดง่ายๆ แยกออกจากกันเลย

ในคณะเราเองก็ สายธุรกิจ ก็ได้เรียนด้านกฎหมายภาษีซะเป็นส่วนมาก เรียน ๆ ไป ก็เล็งข้อสอบ แล้วก็ไม่เคยเอามาใช้ซะที เฮ้อ

เด๋วขึ้นปีสุดท้าย หวังว่าได้อะไรดี ๆ กลับมามั่ง เพราะเด็ก ๆ ในห้องยึดติดกับการนั่งฟังเฉย ๆ ไม่มีการโต้ตอบกันเลย ทำให้เราเซ็งมาก ๆ เราเองก็ยิงคำถามไปบ้าง แต่เพื่อนๆ ในห้องไม่เอาด้วย นั่งเฉย ๆ อย่างเดียว ถ้าวันไหน เรากะยกมือ มันมองเราอย่างเขม็งเลยล่ะ แง่ววว

นี่แหละ เด็กไทย จบออกไปด้วยปริมาณ(เกรด) มากกว่าคุณภาพ เพราะรับเยอะ แต่อาจารย์มีน้อย


โดย: Lt Pam IP: 61.47.122.213 วันที่: 10 เมษายน 2549 เวลา:18:38:53 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

B.F.Pinkerton
Location :
Midway United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add B.F.Pinkerton's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.