Group Blog
 
<<
มีนาคม 2548
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
5 มีนาคม 2548
 
All Blogs
 
Blog ของ Professors



เพิ่งได้อ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องของอาจารย์กับบล๊อค คิดว่าน่าสนใจ เพราะมีเพื่อนชาว Blogger บางคนที่จะต้องไปเป็นอาจารย์ หรือบางคนที่อยู่ในโลกวิชาการแต่ก็ชอบเขียนบล๊อกหรือไดอารี่ออนไลน์ หรืออาจจะมี public figure บางคน(ในอนาคต) อยู่แถว ๆ นี้

การหาความสมดุลระหว่างการเขียนเรื่องราว ที่ค่อนข้างเป็นส่วนตัว เบา ๆ ไร้สาระ ตลก เพ้อเจ้อ กับ การเขียนงานวิชาการและการดำรงตนให้เป็นที่เคารพของนักเรียนและสังคมได้อย่างไร เป็นเรื่องค่อนข้างน่าคิดนะ ลองอ่านในข่าวนี้ดู [Faculty blogs blur lines for Chicago academics] หัวข้อเกี่ยวกับอาจารย์มหาวิทยาลัยชิคาโกกับการเขียนบล๊อก และทัศนคติของอาจารย์และนักเรียนในเรื่องนี้

เมื่อไม่นานมานี้ มีบทความเล็ก ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เขียนโดย Professor Danial Drezner ซึ่งเป็น Blogger ตัวกลั่น ขวัญใจขาโจ๋ (แต่มีน้องที่เคยเรียนกับเขา บอกว่าตัวจริงเขาไม่ nice เท่าไร) อ่านสนุกดีครับ อยู่ในหนังสือ magazine ของโรงเรียน ชื่อเรื่อง [confessions of a scholar blogger] เขียนเกี่ยวกับชีวิต การจัดสรรเวลา ระหว่างการเป็นบล๊อกเกอร์ กับการทำงานวิชาการเพื่อให้ได้ tenure

โดนส่วนตัวผมชอบอ่านเวปของ Paul Krugman (แต่มันก็ไม่ได้เป็นบล๊อกหรอก เหมือนบทความสั้น ๆ ที่ตีพิมพ์ออนไลน์มากกว่า) บางทีเขาก็ใส่ความคิดส่วนตัว ใส่เรื่องส่วนตัวเช่นว่าคนโน้นคนนี้ วันนี้ไปทะเลาะกับใคร ชอบหรือเกลียดใคร หรือมีปล่อยมุขบ้าง คิดว่าเขาเขียนได้ดี เราอยากจะเขียนเก่ง ๆ แบบเขาบ้าง (แต่อย่าลืมว่านี่คือ Paul Krugman นักเศรษฐศาสตร์ John Bates Clark โปรเฟสเซอร์ MIT-Stanford-Princeton) แต่มองคนที่สูงกว่าเอาไว้ย่อมดีกว่าใช่ไหมล่ะ

ส่วนคนไทยที่คิดว่าเก่งและมีงานบ่อยที่ผมชอบอ่าน ก็มี อ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ ที่เขียนในเมเนเจอร์ (แต่จริง ๆ อาจารย์มีงาน offline ที่ดีกว่านี้เยอะมาก ๆ น่าจะมีใครลองทำให้เป็นรูปแบบ digital ดู) อ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ก็มีเวปไซต์ที่ดี อีกท่านที่น่าอ่านก็คือ Changnoi อาจารย์มหาวิทยาลัยท่านหนึ่ง ที่มีบทความลงในหนังสือพิมพ์เนชั่นเป็นรายปักษ์ เกือบลืมอีกท่านหนึ่งซึ่งเป็นกัลยาณมิตรทางปัญญาของผมเอง คือ อ.ปกป้อง จันวิทย์ อาจารย์หนุ่มอนาคตไกล แห่งสำนักท่าพระจันทร์

ในอนาคตน่าจะมีงานเขียนประเภท digital ออกมาจากโลกวิชาการมากขึ้น อยากให้อาจารย์ไทยมีบล๊อกบ้าง หรือไม่ก็มีเปเปอร์ออนไลน์แบบฝรั่ง เท่าที่เห็นเวปที่มี interaction ระหว่างอาจารย์บ้างก็พวกเวป ม.เที่ยงคืน แต่ก็เป็นแค่ส่วนเล็ก ๆ เท่านั้น (กลุ่ม สมศักดิ์ เจียมฯ ธงชัย ฯลฯ)

สังเกตุดูว่าพวกเวปอาจารย์ในเมืองไทย (ยกตัวอย่างคณะเศรษฐศาสตร์) ไม่ค่อยมี homepage ส่วนตัวเท่าไร ไม่เหมือนเมืองนอก ทำให้เราไม่รู้ C.V และผลงานในอดีตของอาจารย์ทั้งหลาย ซึ่งผมคิดว่าควรจะปรับปรุง ถ้าอยากจะให้มหาวิทยาลัยไทย Go INTER ก็ควรจะเริ่มทำ เพราะมันกลายเป็นธรรมเนียมสากลของโลกไปเสียแล้ว ถ้าคุณไม่มีเปเปอร์ ไม่มีงานวิจัย C.V. คุณก็ไม่ดี โลกก็มองเห็น เป็นกลไก ที่ทำให้อาจารย์ต้องกระตือรือล้นมากขึ้น

อย่างน้อยก็น่าจะเริ่มที่จุฬา ฯ ก่อน ไหน ๆ ก็เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งในห้าสิบอันดับแรกของโลกทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ แล้ว (ณ.นาทีนี้ทางมหาวิทยาลัยได้เอามาแปะไว้ในหน้าแรกของเวป //www.chula.ac.th ด้วย-โดยไม่รู้สึกสะทกสะท้านแต่อย่างใด-ดูอันดับ)


Create Date : 05 มีนาคม 2548
Last Update : 6 มีนาคม 2548 21:55:10 น. 106 comments
Counter : 2225 Pageviews.

 
ผมเคยบ่นเรื่องนี้มานานแล้ว เรื่องโฮมเพจส่วนตัวของนักวิชาการไทยและอีกเรื่องหนึ่งทีผมบ่นแรงและบ่นต่อเนื่องเป็นเวลานานคือ การเขียนบทความลงวารสารวิชาการชั้นนำ

ในที่นี้ผมขอเขียนถึงวงวิชาการเศรษฐศาสตร์อย่างเดียวเท่านั้น ผมคิดว่าวิชาการเศรษฐศาสตร์นี่โชคดีกับสาขาวิทยาศาสตร์อื่นแต่ในขณะเดียวกันโชคร้าย(แต่จริงๆอาจจะไม่โชคร้ายก็ได้ ดังจะเห็นต่อไป) เพราะสาขาเศรษฐศาสตร์ไม่เรียกร้องห้องทดลองราคาแพงมากขอเพียงข้อมูลเชิงสถิติในเชิงอนุกรมเวลาในระดับหนึ่ง ซึ่งอันที่จริงแล้วอนุกรมเวลาของไทยในสาขาบางด้านทำต่อเนื่องเป็นร้อยกว่าปีก็มี และความสามารถทางคณิตศาสตร์พอสมควรในการคิดไอเดียทางเศรษฐศาสตร์ใหม่ๆลงวารสารวิชาการชั้นนำ ไม่เอาJournal of Asian Economics เป็นเกณฑ์นะครับ ผมหมายถึง Jouranal ชั้นนำระดับโลกจริงๆ แต่น่าผิดหวังที่มีน้อยมากที่มีผลงานตีพิมพืในวารสารชั้นนำระดับนั้น ที่ผมนึกออกมีคนเดียวคือดร.ชัยพัฒน์ สหัสกุลที่ตีพิมพ์บทความในJournal of Monetary Economics และบทความดังกล่าวได้ใช้เรียนพอสมควรสำหรับนักเรียนเศรษฐศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา
(มีต่อ)


โดย: ปริเยศ (Pariyed ) วันที่: 5 มีนาคม 2548 เวลา:23:00:37 น.  

 
ที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือพวกที่ยึดอาชีพนักวิชาการในรั้วมหาวิทยาลัยไทยด้านเศรษฐศาสตร์มีกี่คนกันที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำระดับโลกและมีกี่คนกันที่มีผลงานตีพิมพ์อย่างต่อเนื่อง?

ผมเขียนในด้านบนแล้วว่า เศรษฐศาสตร์เป็นสาขาสังคมศาสตร์ที่โชคดีมากเพราะไม่เรียกร้องห้องทดลองและอุปกรณ์ทดลองราคาแพง และที่โชคร้ายก็คือสาขานี้เรียกร้องความสามารถทางคณิตศาสตร์ระดับสูง ซึ่งผมคิดว่านี่เป็นเงื่อนไขจำเป็นของคนเรียนเศรษฐศาสตร์ระดับGraduate ตั้งหลายสิบปีแล้ว ยิ่งผู้ที่คิดยึดอาชีพนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ยิ่งต้องสำเหนียกถึงเงื่อนไขดังกล่าวเป็นพิเศษ

ประการต่อมาสำหรับนักวิชาการ การวิจัยถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขอันเพียงพอสำหรับการยึดถืออาชีพนี้ในการทำมาหากิน แต่สำหรับนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ในรั้วมหาวิทยาลัยไทย ผมกลับสงสัยว่าพวกท่านกำลังทำอะไรกันอยู่

ในแง่หนึ่งนักวิชาการดังกล่าวอาจตั้งแง่ได้ว่าพวกตนกำลังทำงานวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อตอบสนองต่อการดำรงสถานะชนชั้นกลางและสภาพควาแร้นแค้นของผลตอบแทยที่เรียกว่าเงินเดือนในรั้วมหาวิทยาลัยไทย
(มีต่อ)


โดย: ปริเยศ (Pariyed ) วันที่: 5 มีนาคม 2548 เวลา:23:07:51 น.  

 
บล็อกนี้ใ้ห้แง่คิดมุมมองดีจัง

BFP เขียนเรื่องนี้ได้ตรงใจ เพราะเราก็กำลังหาแนวให้ตัวเองอยู่
โดยพื้นฐา่นแล้วเขียนแบบวิจารณ์ไม่ค่อยเป็น
ชอบเขียนเรื่องที่เป็นความรู้เก็บตก...เอามาแชร์ให้คนอ่านรู้ ยังงั้นมากกว่า
...
จริงๆ ก็เพิ่งมาเริ่มสนใจเขียน เมื่อมีบล็อกกับเค้านี่แหละ
คงต้องแวะมาที่นี่บ่อยๆ..จะได้รู้ว่าคนเขียนเก่งๆ เค้าเขียนกันยังไง


โดย: ซีบวก วันที่: 5 มีนาคม 2548 เวลา:23:18:24 น.  

 
แต่เมื่อเปรียบเทียบกับวิชการสาขาอื่นโดยเฉพาะพวกวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่มีผลงานตีพิมพ์ในวงวิชาการนานาชาติ อย่างน้อยความต่อเนื่องก็มากกว่าวงวิชาการสาขาเศรษฐศาสตร์ คำถามคือในเงื่อนไขที่แร้นแค้นของผลตอบแทนในรั้วมหาวิทยาลัยไทยเช่นกัน ประสิทธิภาพการผลิตของนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทยอยู่ตรงไหน???

ถ้าพูดอย่างไม่เกรงใจ คือผมคิดว่านักวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทยด้อยความสามารถทางคณิตศาสตร์และยิ่งไปกว่านั้นคือไม่มีความคิดสร้างสรรค์ในการยึดอาชีพนักวิจัยและนักวิชาการ

การวิจัยเป็นภารกิจหลักของนักวิชาการ แต่ผมสงสัยว่านักวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทยสับสนกับการเป็นนักวิจารณ์การเมืองหรือไม่ เพราะเห็นแต่ละท่านออกมาแสดงความเห็นทางการเมืองเป็นวรรคเป็นเวรยกเว้นเรื่องงานวิชาการที่ไม่เคยได้ยินออกจากปาก

ผมเลยไม่เคยศรัทธาในนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทยคนไหนในเชิงวิชาการนอกจากความนับถือในเรื่องคุณธรรมส่วนตัวแล้วเขียนย้ำอีกทีก็ได้ว่าผมไม่ศรัทธาในงานวิชาการของนักเศรษฐศาสตร์ไทยคนไหนเลย

เรื่องวิเคราะห์เศรษฐกิจ สู้ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ไม่ได้
สู้ ดร.เดเนี่ยล เหลียน แห่งมอร์แกนแตนลี่ย์ผู้บัญญัติ ทักษิโนมิกส์ไม่ได้
และที่เลวร้ายกว่านั้นสู้นักวิเคราะห์ตามบริษัทหลักทรัพย์ไม่ได้

และจะไปเขียนบทความให้ใครอ่านกัน นอกจากตั้งตนเองเป็นPop Economists ให้คนนอกวงการเศรษฐศาสตร์อ่าน เพื่อยกระดับEconomics Litterature ของสังคมไทยเหรอ
ถ้าพูดอย่างไม่เกรงใจคือ ทุเรศ และน่าอายครับ ถ้ามีปัญญาดีที่สุดทำได้แค่นั้น

(มีต่อ)


โดย: ปริเยศ (Pariyed ) วันที่: 5 มีนาคม 2548 เวลา:23:20:28 น.  

 
เพราะฉะนั้นเมื่องานหลักคืองานวิจัยวิชาการเศรษฐศาสตร์ไม่มี(งานเขียนPop Economistจำนวนมากในหน้าหนังสือพิมพ์ควรนับเป็นงานวิชาการหรือไม่???)มีแต่งานวิเคราะห์เศรษฐกิจ ด่านักการเมือง ซึ่ง2อย่างหลังผมแน่ใจเลยว่าสู้นักวิเคราะห์หลักทรัพยฺและนักเศรษฐศาสตร์ภาคเอกชนไม่ได้แน่
เหลือแต่งานสุดท้ายคือ งานด่านักการเมือง โชคร้ายที่ประเทศนี้นักการเมืองฝ่ายค้านห่วยและคนยังเชื่อว่านักวิชาการในมหาวิทยาลัยมีความเป็นกลางกว่านักการเมืองฝ่ายตรงข้าม(แต่จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมยืนยันได้เต็มปากเลยว่านักวิชาการเศรษฐศาสตร์ในรั้วธรรมศาสตร์แทบทั้งหมดเลือกข้างประชาธิปัตย์ซึ่งต่อไปสังคมไทยพิสูจน์เองว่ามีความเป็นกลางหรือไม่แค่ไหนและคำถามคือนักวิชาการแท้ๆควรมายุ่งกับงานด่านักการเมืองหรือไม่?ผมคิดว่าคำถามนี้ผมยกให้คุณพิงเคอร์ตันแสดงความเห็นดีกว่า)

ท้ายที่สุดเมื่อจุฬาฯเอาผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ทำขึ้นอย่างห่วยๆมานำเสนออย่างภูมิใจในเวปมหาวิทยาลัย ผมเองรู้สึกหน้าชาไม่ได้เมื่อทราบ แต่ผมเองนึกขึ้นได้ว่า นักเรียนเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์จำนวนมากเช่นกันเชื่ออย่างฝังหัวว่าคณะเศรษฐศาสตร์ของตนเองเป็นลำดับที่2ของโลกและอันดับ1ของเอเชียโดยไม่มีหลักฐานใดๆมายืนยัน
นี่คงเป็นวัฒนธรรมร่วมกันของวิชาการไทยหรือไม่ เป็นประเด็นชวนคิด และที่ผมวิจารณ์ทั้งหมดในฐานะคนที่จะทำมาหากินด้านการใช้เศรษฐศาสตร์เป็นเครื่องในการวิเคราะห์ไม่ใช่ในฐานะนักวิชาการ

เนื้อหาทั้งหมดควรพิจารณาอย่างระมัดระวัง ห้ามอ่านเกินรอบละ2ครั้งไม่อย่างนั้นเลือดพุ่งเข้าที่สีหน้าได้ 555


โดย: ปริเยศ ภาคไม่ไว้หน้าใคร (Pariyed ) วันที่: 5 มีนาคม 2548 เวลา:23:35:41 น.  

 
......มันส์ดีครับ...ขออ่านก่อนไว้ค่อยมาแสดงความเห็น...

คุณเอาไปใส่ในบล๊อกคุณด้วยดิ



โดย: B.F.Pinkerton วันที่: 5 มีนาคม 2548 เวลา:23:40:35 น.  

 
อย่าว่าแต่เศรษฐศาสตร์เลยครับ
สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สาขาอื่นๆ ก็คล้ายๆๆกัน


โดย: แบ่งกันเซ็ง (แบ่งกันเซ็ง ) วันที่: 5 มีนาคม 2548 เวลา:23:43:15 น.  

 
ปิดท้ายด้วยความเห็นผมต่อคุณประชาชนผู้โด่งดังแห่งwww.manager.co.th เกี่ยวกับศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์


"
ผมจะวิจารณ์ความเห็นของคุณประชาชน ข้อเดียว คือเรื่องที่วิจารณ์อาจารย์รังสรรค์ สิ่งที่คุณประชาชนวิจารณ์อาจารย์รังสรรค์นับว่าน่าสนใจ เมื่อครั้งผมละอ่อนยังไม่สอบเข้ามหาวิทยาลัย ผมคิดว่าอาจารย์รังสรรค์คือสุดยอดวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย เช่นกัน แม้ตอนผมจะจบผมปริญญาตรี ผมยังเห็นว่าอาจารย์รังสรรค์คงความเป็นสุดยอดอยู่ในวงวิชาการไทยเพียงแต่ว่าไม่ใช่สุดยอดวิชาการคนเดียวที่ผมรู้จักดังทัศนะผมตอนอายุ16ที่นมพึ่งแตกพานและหัดอ่านหนังสือแนวเศรษฐศาสตร์การเมืองเป็นครั้งแรกๆ และ ณ ห้วงเวลาปัจจุบัน ผมยังเคารพนับถืออาจารย์รังสรรค์ในแง่วัตรปฏิบัติความเป็นอาจารย์อาชีพ เพียงแต่ผมไม่ใคร่สู้จะคิดว่า อาจารย์รังสรรค์ เป็นนักวิชาการสุดยอดดังทัศนะที่เคยเป็นตอนเด็กๆ ถ้าไม่พิจารณาคุณธรรมส่วนตัว ความเป็นครูบาอาจารย์ที่น่านับถือของอาจารย์รังสรรค์แล้ว ผมคิดว่าอาจารย์รังสรรค์สอบตกความเป็นนักวิชาการในมาตรฐานสากล เป็นอย่างมาก เพราะงานวิชาการของอาจารย์ไม่ใช่การขยายพรมแดนความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปสู่อะไรใหม่ๆ ดังเช่นนักเศรษฐศาสตร์ตะวันตกหรือนักวิชาการระดับสากลทำกัน หากแต่เป็นเพียงการเอาความรู้เศรษฐศาสตร์มาอธิบายให้ชาวบ้านฟังอย่างง่ายๆว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทยทางด้านเศรษฐกิจ(จริงอยู่อาจารย์รังสรรค์ เขียนคอลัมน์ด้านอื่นๆ นอกจากเศรษฐกิจ แต่ผมขอวิจารณ์เฉพาะเศรษฐศาสตร์) และกล้าชนกับนักการเมืองทุกพรรคอย่างเสมอหน้ากัน (ต่างกับดร.เจิมศักดิ์ ที่ออกมาชนเฉพาะฝ่ายตรงข้ามประชาธิปัตย์เท่านั้น) จริงอยู่สังคมเมืองไทยขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของเศรษฐกิจและเศรษฐศาสตร์ แต่นักวิชาการชั้นเลิศต้องเป็นมากกว่าการสอนเศรษฐศาสตร์ให้ชาวบ้าน เป็นมากกว่าการเอาความรู้ไปประยุกต์อธิบายเรื่องต่างๆของสังคมไทย แต่ไม่ใช่ความรู้ใหม่(เช่นเศรษฐศาสตร์รัฐธรรมนูญ อาจารย์รังสรรค์ เอาเศรษฐศาสตร์ไปอธิบายเรื่องรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ได้สร้างทฤษฎีหรือองค์ความรู้ใหม่ในระดับสากลได้) นักวิชาการชั้นเลิศต้องบุกเบิกสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยมีมาตรฐานทางวิชาการในระดับสูงอย่างน้อยที่สุดต้องตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำด้านเศรษฐศาสตร์ระดับโลก จริงอยู่ สานุศิษย์อาจารย์รังสรรค์ อาจจะโต้ว่าอาจารย์รังสรรค์มิใช่นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก แต่ผมจะแจ้งว่า ในรอบ15ปีที่ผ่านมา วงวิชาการเศรษฐศาสตร์ให้รางวัลโนเบลแก่นักเศรษฐศาสตร์นอกกระแสหลักไปหลายคน และยอมรับนักเศรษฐศาสตร์ที่ไม่ใช่กระแสหลักมากขึ้นเรื่อยๆกว่าแต่ก่อนในแง่ของการเผยแพร่องค์ความรู้ ดังเช่นกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์สถาบันชั้นนำของโลก แต่ในวงวิชาการโลกไม่เคยปรากฏชื่อ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ในบรรณพิภพ วิชาการเศรษฐศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นกระแสหลักหรือไม่ใช่กระแสหลัก คำถามคือรังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ หายไปไหน?? หรืออยู่ที่สารขัณฑ์ประเทศพร้อมกับการยอมรับนับถือว่า เป็นนักวิชาการทางเศรษฐศาสตร์แนวหน้าของประเทศดังกล่าว??

อย่างไรก็ดี ประเทศนี้ต้องการนักเศรษฐศาสตร์ที่เฝ้าตรวจผลงานการบริหารนโยบายเศรษฐกิจว่านโยบายใดเข้าท่าหรือไม่เข้าท่า อย่างซื่อสัตย์ ไม่ได้เอียงข้างนักการเมืองพรรคใดๆทั้งสิ้น ประเทศนี้ยังต้องการครุอาจารย์ที่ทุ่มเทการถ่ายทอดความรู้แก่ลูกศิษย์ โดยปราศจากการอาวรณ์ถึงผลประโยชน์นอกรั้วมหาวิทยาลัยอันไม่ใช่กิจการหลัก แม้ว่าสังคมที่ไม่ได้เน้นสังคมความรู้ดังประเทศนี้จะไม่สามารถผลิตนักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นนักวิชาการที่มีผลงานวิชาการบุกเบิกพรมแดนความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ในระดับมาตรฐานระดับโลกได้ แต่ประเทศนี้ได้ผู้ตรวจสอบการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจภาคประชาชนและได้ครุอาจารย์ทางเศรษฐศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่มาทดแทน

และเมื่อผมได้อ่านคำเยินยอหรือชเลียร์ว่าอาจารย์รังสรรค์ประดุจ พอล ครุกแมน แห่งวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทย ผมนึกในใจว่าอาจารย์ รังสรรค์ ที่ผมเคารพนับถือไม่มีความเป็นตัวตนใดๆเลยหรือ จนต้องหยิบยก ครุกแมนมาอ้างอิง ไม่มีรังสรรค์ในวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทย มีแต่พอล ครุกแมน ในวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทยที่ชื่อ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
"


โดย: ปริเยศ (Pariyed ) วันที่: 5 มีนาคม 2548 เวลา:23:45:27 น.  

 
ท้ายที่สุดเมื่อจุฬาฯเอาผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ทำขึ้นอย่างห่วยๆมานำเสนออย่างภูมิใจในเวปมหาวิทยาลัย ผมเองรู้สึกหน้าชาไม่ได้เมื่อทราบ แต่ผมเองนึกขึ้นได้ว่า [b]นักเรียนเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์จำนวนมากเช่นกันเชื่ออย่างฝังหัวว่าคณะเศรษฐศาสตร์ของตนเองเป็นลำดับที่2ของโลกและอันดับ1ของเอเชียโดยไม่มีหลักฐานใดๆมายืนยัน[/b]
นี่คงเป็นวัฒนธรรมร่วมกันของวิชาการไทยหรือไม่ เป็นประเด็นชวนคิด

=======
คุณพูดเล่นพูดจริงเนี้ย มีคนเชื่อแบบนั้นด้วยเหรอ ให้ตายเถอะแมรี่ !!! ผมจำได้ว่าหนังสือแนะนำคณะตอนปีหนึ่ง จะมีพูดเรื่องเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์เป็นอันดับเท่าไรของเอเชียนี่แหละ (ยุค อ.ป๋วยน่ะ) อันดับต้น ๆ น่ะจำได้ แต่ใครเป็นคนทำ ที่ไหน เมื่อไร ผมไม่ทราบเหมือนกัน

เรื่อง paper ผมว่าเอาแค่ journal ในระดับภูมิภาคก่อนหรือระดับดี ๆ กลาง ๆ ก็พอแล้ว ไม่ได้หวังว่าจะต้องมีคนไทยไปตีพิมพ์ลง blue ribbon journal เท่าไรเลย มันยากมากถึงมากที่สุดครับ ผมว่า (พูดในฐานะคนที่ไม่ค่อยเก่งเท่าไร) แค่ขอให้เห็น consistency ในการผลิตงานวิชาการของนักเศรษฐศาสตร์หรือนักสังคมศาสตร์อื่น ๆ ผมก็พอใจแล้วล่ะ

ปล. Barrow-Sahasakul ดังนะ อ.ที่ชิคาโกยังพูดถึงเลย นักเรียนไทยภูมิใจ อิอิ


โดย: B.F.Pinkerton วันที่: 6 มีนาคม 2548 เวลา:0:19:54 น.  

 
ผมพบประโยคนี้ครั้งแรกในปี2543ขณะท่องเวปบอร์ดพันทิพย์ราชดำเนินและผมเองเป็นส่วนหนึ่งของส่วนน้อยที่ปกป้องดร.สุวินัย จากระแส เปรตกู้ คุณvinkเป็นคนหนึ่งที่ร่วมกับผมในการปกป้องดร.สุวินัย แต่เธอยกประเด็นว่าคณะเศรษฐศาสตร์เป็นลำดับที่2ของโลกและที่1ของเอเชีย เนื่องจากระทู้นั้นผมsaveถูกไวรัสทำลายแต่ผมจำได้ว่า คุณvink นิตยสารTimeเป็นคนจัดอันดับว่าเศรษฐธรรมศาสตร์อยู่ลำดับที่2 ไม่รู้ว่าใช่Timeที่จัดจุฬาฯในTop 50หรือเปล่า 555

ต่อมาประเด็นแตกไปอีกกระทู้หนึ่ง ซึ่งกระทู้นี้ผมsaveไว้ได้ ผมคัดเนื้อหาบางส่วนมาดงันี้ โปรดระลึกว่าเนื้อหาทั้งหมดเขียนขึ้นในปี 2543 เกือบ5ปีมาแล้ว ครับ


และมีความเห็นของนักศึกษาธรรมศาสตร์คนหนึ่งเธอเขียนว่า

ความคิดเห็นที่ 22
p605403

ก่อนอื่นขอตอบคุณปริเยศเลยว่าที่ว่าคณะecon tu เป็นที่2ของเอเชียน่ะ ไม่เป็นควมจริงเลย
แต่เป็นที่1ของเอเชีย และเป็นที่2ของโลกต่างหาก และพวกเรา(นศ เศรษฐ)ก้ไม่ได้พูดลอยๆด้วย
มีหลักฐานเป็นชิ้นเป็นอัน ดูได้จากงานวิชาการครบรอบ50ปีคณะ
หรือว่าถ้าคุณอยากพิสูจน์ก้อขอให้ไป เปิดดูได้ที่ website time,newsweek,asiaweekไดเลย
ขอยืนยันแน่นอน ในฐานะนักศึกษาคนหนึ่ง

และเห็นด้วยกับvick เราก้อเป็นนศเศณษบศษสตร์เหมือนกัน และกำลังเรียนอยู่ด้วย
อ สุวินัยไม่เคยสอนหรือชักจูงอะไรที่เป็นวามคิดส่วนตัวของ อ เลย
และคนที่บอกว่า ประเทศไม่พัฒนาน่ะ ไม่รู้ว่าคิดยังไง เราว่ามันไม่พัฒนาเพราะนักการเมืองเลวๆ
และคนที่มีจตใจคับแคบ ทีี่สรุปอะไรๆง่ายๆจากปากคนอื่นมากกว่า

แม้ว่าใครจะรุมประนาณอ. แค่ไหน ก้อไม่เท่านศ มธ ที่คิดกับอ เช่นนั้น
ขอบอกว่าผิดหวังมากเลย แล้วอย่ามาบอกเลยว่า--รักมหาลัย
ฉันรักธรรมศาสตร์มากที่สุด รักเพื่อน รักสถาบัน รักอาจารย์ทุกๆท่าน

ความคิดเห็นที่ 23

ผมขออนุญาตินำความเห็นจากกระทู้ตัวปัญหามาpost ซ้ำในนี้แล้วกันนะครับ
ในฐานะที่เป็นผู้ตั้งแง่ขึ้นมา...
ผู้สนใจสามารถติดตามเรื่องราวได้ในกระทู้
//pantip.inet.co.th/cafe/rajdumnern/topic/P605403.html


เรียนคุณ vink
ต้องขอโทษด้วยครับ ที่นอกเรื่องกระทู้นี่ไปหน่อย คือประเด็น ที่ว่าคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
ติดหนึ่งในห้าของโลก ไม่ทราบว่าอ้างมาจากที่ไหนครับ เพื่อนจากคณะนี้(เศรษฐฯธรรม) มาบอกผม
ตลอด ผมเองสนใจมาก เพราะถ้าเป็นจริง มันเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจมาก ที่คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
ติดหนึ่งในห้าของโลก ซึ่งอาจจะเหนือกว่า Oxford,LSE,Harvard,MIT,Cornell,Chicago,Stanford
Wharton,Yale ฯลฯ ผมคิดว่าบางที่นี่อาจจะเป็นเรื่องที่พูดกันปากต่อปากโดยไม่มีหลักฐานก็ได้นะ
ครับ เพราะมาตรฐานทางวิชาการชั้นสูงจริงเขาวัดกันที่ คุณภาพอาจารย์ ว่าได้รางวัลโนเบล มาบ้าง
หรือเปล่า มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการชั้นสูงที่ไหนบ้าง ...ลองคิดดูนะครับ ถ้าติดหนึ่งใน
ห้าของโลกจริง แล้ว ที่ไม่ติดล่ะครับซึ่งอาจจะเป็น เศรษฐศาสตร์ของ เมลเบิร์น หรือของ U.of Tokyo
นั่นเขามีคุณภาพสู้ เศรษฐฯ ธรรมไม่ได้หรือ
ลำพังแค่ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศ ผมยังไม่เห็นนักเศรษฐศาสตร์ไทยหน้าไหน จะมีภูมิปัญญา
พอที่จะชี้ทางหรือมีความคิดที่เป็นระบบ ได้แต่ฟัง Krugman,Sachs,Summer ฯลฯ สั่งมาเท่านั้นเอง
ตำราวิชาการ ก็ใช้ตำราภาษาอังกฤษ ตำราไทยด้านเศรษฐศาสตร์ที่มีคุณภาพ ผมเห็นอย่างมากก็ไม่
เกิน สองถึงสามเล่ม อย่าให้การเถียงแทน ดร.สุวินัยเป็นการปกป้องสถาบันไปเลยครับ ผู้รู้ดีย่อมทราบ
ดีว่า สถาบันไม่มาเกี่ยวข้องและรับแทนกับพฤติกรรมของอาจารย์เพียงคนเดียวหรอก ..
ท้ายที่สุด ผมเห็นด้วยกับคุณ เรื่อง ดร.สุวินัย ครับ แต่คำแนะนำ คืออย่าไปคิดว่า คณะตัวเองเป็น
เลิศทางวิชาการสูงเกินกว่าความเป็นจริงครับ ถ้าบอกกันตรงๆ
คือผมมหมั่นไส้พวกที่เรียนเศรษฐฯธรรม
พูดอย่างนี้หลายคนแล้วว่า คณะตัวเองดีอย่างนั้นอย่างนี้ ดูเศรษฐกิจประเทศไทยตอนนี้สิครับ ช่วงก่อน
วิกฤติ มีนักเศรษฐศาสตร์คนไหนออกมาเตือนบ้าง เท่าที่เห็นคนแรกๆก็ ดร.สุวินัย ที่เอารูปแบบ
เศรษฐกิจฟองสบู่ของญีปุ่่น ที่แตกในปี 1990 มาเป็นแบบอย่าง หลังจากนั้น อาจารย์เศรษฐธรรมรุม
ถล่ม ดร.สุวินัยจะเป็นจะตาย หาว่าทำให้ตลาดตกใจ เสียบรรยากาศในการลงทุนบ้าง สารพัดคำกล่าว
หา วิชาเศรษฐศาสตร์ในเมืองไทย ยังต้องปรับปรุงอีกเยอะครับ พูดแบบคนที่จบปริญญาตรีด้านเศรษฐ
ศาสตร์มาสดๆร้อน ..

จากคุณ : ปริเยศ - [30 พ.ค. 03:10:14]

เรียนคุณ vink
ขอโทษด้วยที่ทำให้คุณเข้าใจผิดอะไรเป็นเล็กน้อยครับ อันที่จริงผมประชดเล่นๆเลยใช้คำว่า
"หมั่นไส้" แต่ทีนี้ทำนองของโทนเนื้อความ มันคงออกดุเดือดสไตล์ผม เลยดูรุนแรงไปหน่อย
เสมือนว่าหมั่นไส้อะไรทำนองนั้น แต่จริงๆ ผมมีโครงการจะศึกษาต่อที่ เศรษฐฯธรรมระดับปริญญา
โทภาคภาษาอังกฤษในปีหน้า เพระาฉะนั้นอคติอะไรเป็นการส่วนตัวคงไม่มีกับคณะนี้...
ผมขอบกตรงๆ ในฐานะที่จบด้านเศรษฐศาสตร์นี้มา แม้จะไม่มีส่วนร่วมก่อกรรมทำเข็ญกับ เศรษฐ
กิจประเทศ แต่ก็อดที่จะอับอายไม่ได้กับความล้าหลังในวงวิชาการด้านนี้ เมื่อเทียบกับนานาประเทศ
ที่สำคัญจรรยาบัญของนักเศรษฐศาสตร์ไทย หลายต่อหลายคน..
ถ้าคุณอ่านหนังสือมากสักนิด เอาแค่เฉพาะของอาจารย์ มธ. ก็ได้อาทิเช่น ของอาจารย์ เสกสรรค์,
อาจารย์เสน่ห์ หรือ คนนอกอย่างอาจารย์ ส.ศิวรักษ์,อานันท์ ปันยารชุน และ ฯลฯ ที่พูดถึง ความ
ล้มเหลวของวงวิชาการไทย ในเกือบทุกๆสาขา แม้กระทั่งสาขาแพทย์ศาสตร์ ดู นายแพทย์ ประเวศ
วะสี ที่เอ่ยถึง ปัญหาการศึกษาบ่อยๆก็ได้ ถ้าตัดตอนเฉพาะ อุดมศึกษา ก็จะบอกตรงกันว่า ผลท้ายที่สุด
ได้บัณฑิต ที่คิดไม่เป็น ทำงานน้อย มีวิสัยแบบเก็งกำไร(ตามสำนวนของอาจารย์เสกสรรค์)
คือชอบที่จะ
เรียนแบบสบายๆ อ่านน้อยๆทำงานเบาๆ แต่เกรดต้องดี ส่วนเรื่องที่พ้นไปจาก ความรับรู้ส่วนตัวเช่น
ปัญหาสังคม หรือเนื้อหาด้านอื่น ไม่สู้จะสนใจ ผมมีโอกาสได้คุณ กับอาจารย์ เสกสรรค์ เรื่องนี้เป็นการ
ส่วนตัว เและ เชิญไปเป็นวิทยากรในงานสัมนาจุฬาฯวิชาการ ของ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาฯ ในหัวข้อ
ที่ว่า "ทางออกนิสิต นักศึกษา ไทยยุคโลกาภิวัฒน์ " ถ้าคุณไปเรียนที่ มธ. คงเคยเห็นโปสเตอร์ที่ผมเอา
ไปป่าวประกาศ โฆษณา เมื่อปลายเดือน พย. ปีที่แล้ว ..
ถ้าวัดตามมาตรฐานของ Asia Week หรือ อะไรก็ตาม ผมไม่คิดและเชื่อว่า คณะเศรษฐศาสตร์ มธ.หรือ
แม้แต่กระทั่ง คณะของผมเอง เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
จะมีคุณภาพทางวิชาการที่สูงเกินไปกว่าระดับภูมิภาค
เอเชียได้ ที่พูดอย่างนี้ไม่ได้ริษยา ธรรมศาสตร์ หรืออะไรเลย แต่ผมกลับคิดว่า ถ้าเราหลอกตัวเอง ว่าดี
เด่นในระดับโลก หรือระดับประเทศ จะมองไม่เห็น ปัญหาสำคัญ ที่กัดกร่อน วงการวิชาการ
หรือแม้แต่
วงการศึกษาเอง ท้ายที่สุด ปัญหาก็จะเลื่อนออกไป และไม่ได้รับการแก้ไข ผลที่สุดหายนะก็จะตกอยู่
กับประเทศโดยรวม ที่กล่าวอย่างนี้ ผมเหมาถึง
ทุกสาขาวิชาการและการศึกษาทุกระดับในประเทศนี้เลย
ก็ว่าได้ ..
ผมคงจะต้องบอกตรงๆนะครับ ว่า วงการเศรษฐศาสตร์ต้องได้รับการสนใจและใส่ใจด้วยการทำวิจัย
กันอย่างจริงจัง และคิดถึงผู้ยากไร้ให้มากกว่าเดิม คุณคงไม่รู้ว่า ศูนย์เศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาฯ
กลายเป็นที่พึ่งของผู้ยากไร้แทน ธรรมศาสตร์ไปเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้คงเป็นเพราะ ศิษย์เก่าเศรษฐฯ
มธ. ที่มาเป็นอาจารย์ คณะผม สืบสานอุดมการณ์ของ ดร.ป๋วย แทน (มีต่อ)

จากคุณ : ปริเยศ - [30 พ.ค. 20:24:34]
ความคิดเห็นที่ 26

ผมคงต้อง ย้ำนะครับ ว่าอย่าไปยึดมั่นอะไร จนเป็นภาพลวงตาว่า คณะตนเองหรือสังกัดตนเอง
ดีเด่นเหนือกว่าสิ่งอื่น จนลืมมองความจริงและข้อบกพร่อง ของตนไป
และถ้าจริงอย่างที่คุณ vink ว่ามา ว่าคณะเศรษฐฯมธ. เป็นที่สองของโลก จริงผมก็ภูมิใจครับ
อย่างน้อย คงมีคุณภาพเหนือว่า Cambridge,Oxford,Harvard,MIT,Wharton,LSE,
Duke,William Collage และ ฯลฯ นักเรียนทุนแบงก์ชาติ คงไม่จำเป็นต้องส่งไปเรียนตาม U.ดังๆ
ให้เปลืองเงิน ทุนอานันทมหิดลด้านเศรษฐศาสตร์ ที่ให้เฉพาะ ธรรมศาสตร์ คงไม่จำเป็นที่ต้องขวน
ขวายส่งไปเรียนเมืองนอก ให้ขาดดุลการเงินประเทศเพิ่มเติม
จำเป็นต้องกระจายความจริงนี้ให้ทราบกัน
ทั่วๆไปครับ เพื่อที่หลายคนที่จะไปเรียนต่อด้านนี้(เศรษฐศาสตร์)ที่ต่างประเทศ จะได้ทราบว่า
ที่ประเทศ
ไทย มีความก้าวหน้าทางวิชาการ เหนือกว่า มหาวิทยาลัยระดับโลกหลายแห่ง
ถ้าคุณสนใจประเด็นเรื่อง การศึกษาในมหาวิทยาลัย ผมเอ่ยถึงประเด็นนี้ในกระทู้นี้
//pantip.inet.co.th/cafe/library/topic/K600249.html
ลองเข้าไปอ่านดูได้ครับ

จากคุณ : ปริเยศ - [30 พ.ค. 20:38:49]




A:161.200.255.162 X:161.200.128.20

จากคุณ : ปริเยศ - [3 มิ.ย. 04:49:40]


โดย: ปริเยศ IP: 61.91.86.81 วันที่: 6 มีนาคม 2548 เวลา:0:57:07 น.  

 
เมื่อผมเข้ามาเรียนที่ธรรมศาสตร์ในระดับปริญญาโท วันแรกของการไปสัมมนาต่างจังหวัดหรือรับน้องใหม่ของปริญญาโทก็ว่าได้ที่เขาใหญ่ มีนักเรียนปริญญาโทรุ่นก่อนหน้าผมแต่เป็นรุ่นเดียวกันในระดับปริญญาตรีเดินเอาแก้วเหล้ามาชนผมและบอกว่าดีแล้วที่มาเรียนที่นี่เพราะที่นี่คืออันดับ2ของโลกและที่1ของเอเชีย หลังจากนั้นผมก็ได้ยินเรื่องราวทำนองนี้จากเพื่อนที่เรียนระดับปริญญาตรีที่ธรรมศาสตร์บ่อย ตอนแรกคิดว่าโจ๊กแต่ต่อมาพบเรื่องนี้ในเวปบอร์ดนิสิตคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาฯที่มีคนไปpostเยาะเย้ยจุฬาฯว่าเป็นอันดับเท่าไหร่ในเมื่อธรรมศาสตร์เป็นอันดับ2ของโลกและอันดับ1ของเอเชีย
ผมเองยังเคยพบข้อความทำนองนี้ในเวปบอร์ดนี้ของนักศึกษาธรรมศาสตร์ตามLinkนี้
//www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=economics&id=643
ข้อความคือ
ความคิดเห็นที่ : 11
ไม่ว่าเด็กเสด ม.ธ. จะไปเถียงทำไม ทะงๆที่ใครก็รู้ว่าเสด ม.ธ. เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย
ตามด้วยเกษตร แล้วก็จุฬา เป็นอันดับ 2 ของเอเชีย รองจากมหาลัยอะไรไม่รู้ของญี่ปุ่น
และล่าสุดได้ถูกจัดอันดับเป็น TOP 5 ของโลก
โปรดวางตัวให้ถูกหน่อย เราดีเอง ไม่ต้องให้เขายอมแพ้การเถียงของเรา แล้วชมว่าเราดี
ความจริงก็ประจักษ์อยู่
โดย : PP [ 08/02/2004 , 16:42:16 ]

และยังได้ยินอยู่เสมอๆครับเมื่อผมย่างเท้าไปพบปะกับผู้คนที่เศรษฐธรรมศาสตร์


โดย: ปริเยศ IP: 61.91.86.81 วันที่: 6 มีนาคม 2548 เวลา:1:07:01 น.  

 
พูดไม่ออกบอกไม่ถูก แต่ก็ตลกดีครับ


โดย: B.F.Pinkerton วันที่: 6 มีนาคม 2548 เวลา:1:13:21 น.  

 
จริงๆผมได้ยินบ่อยผมเฉยๆนะ และผมเองไม่เคยเถียงกับใครเรื่องนี้นอกจากฟังและก็นิ่งๆยกเว้นเวลาเจอรุ่นน้องที่เรียนโทธรรมศาสตร์แต่จบตรีที่เดียวกับผมมาบ่นๆกับผมเหมือนกันกับเรื่องทำนองนี้เพราะโทนเสียงของคนบอกออกทำนองดูถูกหรือเปล่าผมไม่แน่ใจ แต่สำหรับผมแล้ว ผมไม่ค่อยอยากเถียงใครเรื่องคณะ หรือมหาวิทยาลัยเท่าไหร่ เหมือนกับพวกวิศวะจุฬาฯกับวิศวะลาดกระบังเรื่องการตีพิมพ์ในวารสารIEEEยังไม่นับการตีกันเรื่องแข่งRobotอะไรอีก อ่านแล้วมันตลกนะและไม่อยากให้เราเป็นตัวตลกทำนองนี้ให้คนอื่นเหมือนกัน ผมเลยนิ่งๆครับ

ถ้าผมจำไม่ผิด คุณพิงเคอร์ตันเหมือนเคยบอกในกระทู้หนึ่งว่าที่ต่างประเทศ การยกมหาวิทยาลัยมาข่มกันรุนแรงกว่าในเมืองไทย ใช่ไหมครับ

แต่ถ้าใครจบออกมาและได้เริ่มทำงานไปสักพักใหญ่ เรื่องเอามหาลัยมาทับกันนี่ ผมว่าจะน้อยนะแต่เอาเงินมาข่มทับกันแทน


โดย: ปริเยศ IP: 61.91.86.81 วันที่: 6 มีนาคม 2548 เวลา:2:25:12 น.  

 
... นานาจิตตังน่ะครับ

... จะที่ 2 หรือที่ 1 หรืออันดับบ๊วยสุด แล้วทำไมจะไปยึดมั่นถือมั่นกันเล่าหนา

... ผมไม่ได้อ่านหมดตั้งแต่ต้นหรอกฮะ มันยาวยืดเกินไป อ่านผ่านๆ

... มันก็แค่นั้นเอง เป็นเช่นนั้นเอง

... อิทัปปัจจยะตา อิทปฺปจฺจยตา (ขออภัยหากว่าสะกดไม่ถูกต้อง)


โดย: Yip Z วันที่: 6 มีนาคม 2548 เวลา:2:38:59 น.  

 
ถกกันแบบนี้สนุกดีครับ


โดย: แบ่งกันเซ็ง วันที่: 6 มีนาคม 2548 เวลา:4:50:46 น.  

 
เริ่มอ่านก็เริ่มมันส์ค่ะ ...


โดย: ขอบคุณที่รักกัน (blueberry_cpie ) วันที่: 6 มีนาคม 2548 เวลา:11:16:39 น.  

 
thank you for links ,it's so interesting, and it'd be good ,if sonme professor in Thailand like to write their knowledge out in easy language ( for normal people can understand what did they said. )



โดย: เกือกซ่าสีชมพู วันที่: 6 มีนาคม 2548 เวลา:13:49:16 น.  

 
ไม่เป็นไรมิได้ครับ คุณเกือกซ่า ฯ ว่าแต่คุณเรียนที่ UCSD รู้จักอาจารย์โหน่ง (กฤษฏ์เลิศฺ) ไหม ? เขาเป็นเพื่อนมาจากชิคาโกนี่เองหละ
//www-irps.ucsd.edu/academics/f-krislert.php จบ PHD แล้วก็ได้ไปสอนที่นั่น

คนไทยมีเก่งแบบโหน่งในไทย นี้เยอะครับปริเยศ พวกแบงค์ชาตินี่ก็เก่ง ๆ กันทั้งนั้นแหละ จบ MIT จบอะไรกันมา ศักยภาพถ้าจะเข้า Job Market ที่อเมริกาแบบโหน่ง ก็น่าจะสามารถเป็นอาจารย์ที่ ยูระดับ TOP 10 TOP 20 ได้แน่นอน แต่พอเรามาอยู่ในระบบแบบไทย ๆ แล้ว ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไม productivity ถึงไม่เกิด

ส่วนอาจารย์มหาลัยไทย คุณก็ต้องยอมรับว่าส่วนใหญ่ (ส่วนใหญ่นะไม่ใช่ทุกคน) ก็ไม่ได้เป็นคนเก่งขนาดนั้น มีกี่เปอร์เซนต์กันที่เคยเรียน MIT, Harvard, Chicago, Princeton, Berkeley, Yale, Stanford, (Top10) ซึ่งถ้าไม่เก่งขนาดนั้น จะหวังให้มีงานตีพิมพ์ใน blue ribbon น่ะมันเหมือนฝันกลางวันแหละครับ เอาแค่มีงานแบบสม่ำเสมอ ใน journal ธรรมดา ๆ เอาให้ขยันผลิตงานแบบ อ.ผาสุก ฯ ผมว่าแค่นี้วงวิชาการไทยก็น่าจะกระเตื้องขึ้นแล้ว

ปล. เพิ่งได้ข่าวของคนได้ทุนอานันทมหิดลสาขาเศรษฐศาสตร์สองคนที่ได้ในปีติดกัน คนนึงจบ Berkeley ตอนนี้ไปทำ IMF ส่วนอีกคนจบ Cambridge-LSE จบแล้วออกไปช่วยกิจการทางบ้าน

ปล. ไม่เคยเห็นคนได้ทุนอานัน ฯ สาขาเศรษฐศาสตร์เป็นอาจารย์นานแล้ว (เป็น guest lecturer ไม่นับครับ) ผมก็ไม่รู้จะให้ทำไมเหมือนกันแบบนี้ จบแล้วไปทำ IMF, World Bank.. Social benefit จะมีมากขนาดไหน แต่คงน้อยกว่า Private benefit แน่..ไม่รู้สังคม หรือประเทศไทยจะได้อะไรบ้าง แต่ถ้าจะให้เขากลับมาเข้าระบบเป็นอาจารย์ในเมืองไทย ก็ไม่ความสามารถจะสูญหายไปหรือเปล่า (แต่คนเก่งพวกนี้ถ้าเขาไม่เป็นคนเริ่มสร้างแล้วจะให้ คนโง่ที่ไหนสร้างได้ล่ะครับ)

ดูอย่าง ดร.อะไรนะ หนุ่ม ๆ ที่จบฮาวาร์ด (ไม่ขอเอ่ยชื่อ) แต่ไม่มีงานอะไรที่พอจะอวดโลกสงสารได้เลย ไม่รู้อุตส่าห์ไปเรียนถึงฮาวาร์ดทำไม paper ไม่มี

ถ้าคนเก่งระดับนี้ไม่มาช่วยวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทย จะให้คนอ่อน ๆ ที่ไหนคอยช่วยล่ะครับ

ตอนนี้ผมฝากความหวังไว้ที่เพื่อนผม (ตี๋) ล่ะ ว่าจะต้องทำอะไรสักอย่างได้แน่เลย คุณคอยดูละกัน แต่ผมเชื่อมั่นเช่นนั้น (เขาเก่ง+ใจรักวิชาการ+ไม่บ้าเห่อ บ้าอวดวุฒิ+รักสันโดษ..อันนี้สำคัญ ถ้าคนเรางกเงิน โอกาสจะทำงานวิชาการได้ดีมีน้อย เพราะมีทางเลือกมากกว่าการนั่งเขียนเปเปอร์ในการหาเงิน)


โดย: B.F.Pinkerton วันที่: 6 มีนาคม 2548 เวลา:21:40:27 น.  

 
แก้จากรักสันโดษเป็น สมถะ จะตรงกว่า รักสันโดษมันฟังดูหงอยเหงา ไม่ ambitious ยังไงไม่รู้


โดย: B.F.Pinkerton วันที่: 6 มีนาคม 2548 เวลา:22:13:28 น.  

 
พูดเรื่องตีพิมพ์..

มีนักเรียนฮาวาร์ด PhD คนหนึ่งเพิ่งมา workshop ที่ชิคาโก ..เชื่อไหมครับว่า เขาได้รับการตีพิมพ์แล้วลงใน AER (หรือ QJE นี่แหละ) โดยผลงานที่ได้ตีพิมพ์เอามาจาก senior thesis ตอนอยู่ฮาวาร์ด (นักเรียนปริญญาตรีฮาวาร์ดก่อนจบต้องเลือกทำ senior thesis หรือไม่ก็สอบ)

เดี๋ยวจะไปหาชื่อมาให้ดูอีกที


โดย: BF.PINKERTON IP: 68.22.192.143 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:2:17:55 น.  

 
คุณพิงค์เคอร์ตันครับ นี่คือตัวอย่างผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ของอ.คนหนึ่งที่NUS สิงคโปร์ชื่อ Tilak Abeysinghe จบโทเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์และจบเอกที่ University of Manitoba, Canada ผลงานเด่นๆที่ตีพิมพ์มีในวารสาร Journal of Econometrics,Journal of Econometrics,
Journal of Quantitative Economicsและอื่นๆกว่า 25วารสาร (ถ้ารวมJournal of Asian Economicsออกไป เขาจะมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ26วารสาร)
ดูตามลิงค์นี้ครับ คุณพิงค์เคอร์ตันครับ นี่คือตัวอย่างผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ของอ.คนหนึ่งที่NUS สิงคโปร์ชื่อ Tilak Abeysinghe จบโทเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์และจบเอกที่ University of Manitoba, Canada ผลงานเด่นๆที่ตีพิมพ์มีในวารสาร Journal of Econometrics,Journal of Econometrics,
Journal of Quantitative Economicsและอื่นๆกว่า 25วารสาร (ถ้ารวมJournal of Asian Economicsออกไป เขาจะมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ26วารสาร)
ดูตามลิงค์นี้ครับ
publications



โดย: ปริเยศ IP: 61.90.101.71 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:9:44:50 น.  

 
อืมม ขอบคุณครับ...แสดงว่าไม่จำเป็นต้องจบยูท๊อปเทน ก็สามารถสร้างผลงานวิชาการได้ใช่ไหมครับ ประเด็นที่ต้องการจะแย้งมาคือถ้าพูดไปแล้วโปรไฟลร์ระดับนี้อาจารย์เมืองไทยเยอะแยะไป แต่ทำไมทำไม่ได้แบบเขา ใช่ไหมครับ


โดย: BFP IP: 68.22.192.143 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:9:50:34 น.  

 
เมื่อกี้นี้ในด้านบนคือตำแหน่งรองศาสตราจารย์นะครับ คราวนี้มาดูผู้ช่วยศาสตราจารย์ของNUSที่จบจาก University of Pittsburgh บ้าง
Assistant Professor Chang Wayne

Articles
"Estimation of the Relative Weights of Enterprises on Employment, Wage, and Profit", The Proceedings of the Eighth Annual Conference of Pennsylvania Economic Association, October 1994.


"Econometric Modeling of UK House Prices Using Accelerated Importance Sampling", with J. F. Richard, Oxford Bulletin of Economics and Statistics, Vol. 58, No. 4, 601-613, November 1996.


"Gender Wage Gaps in China’s Labor Market: Size, Structure, Trends", with M. Maurer-Fazio and T. G. Rawski, The China Journal, Vol. 41, 55-88, January 1999.


Monographs and Papers
"Accelerated Importance Sampling", with Jean F. Richard, First Revision Submitted to Econometrica.


"Simulation Estimation of Dynamic Discrete Choice Panel Models with Accelerated Importance Samplers", with Lung-fei Lee, working paper.

รายละเอียดดูตาม
publications


โดย: ปริเยศ IP: 61.90.101.71 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:9:54:21 น.  

 
ขอแวปไปกินข้าวเดี๋ยวมาถกต่อ คราวนี้จะพาคุณพิงเคอร์ตันไปมลายา ยูนิเวอร์ซิตี้


โดย: ปริเยศ IP: 61.90.101.71 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:9:55:26 น.  

 
ขอร่วมวงหน่อยนะ ...เรื่องผลงานทางวิชาการ
เราว่ามันอยู่ที่
1. ตัวบุคคล
2. ความพร้อมด้านอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ รวมถึงการสนับสนุนจากหน่วยงาน

อันนี้พูดถึงทางสายวิทย์ฯ นะ ด้านเศรษฐศาสตร์เราไม่รู้เรื่อง

ถ้าคนมีใจมุ่งมั่น มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักมองรอบๆ ตัว ดูว่าจุดไหนที่ควรจะพัฒนา...จุดไหนที่เราจะเอาสิ่งที่เรามีอยู่มาประยุกต์ใช้ได้ แล้วก็ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน...ผลงานคงมีได้ไม่ยาก...

ไม่ต้องถึงขนาดตีพิมพ์ในวารสารระดับโลกอะไร แต่ขอให้เป็นงานที่นำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ก็น่าจะถือได้ว่าดีมากแล้ว

เมื่อวันก่อน...อาจารย์ที่มหาลัยเราบรรยายเรื่องระบบกรองอาร์เซนิกออกจากน้ำดื่มแบบใหม่..แล้วเค้าก็สร้างเครื่องมือขึ้นมาจริงๆ เอาไปติดตั้งไว้ที่ชุมชนหนึ่งที่บังกลาเทศ...ถ่ายรูปมาตอนชาวบ้านไปรอคิวรองเอาน้ำไปใช้...น้ำที่ปลอดอาร์เซนิกน่ะ...เราเห็นแล้วรู้สึกว่า นี่สิ...งานที่มีคุณค่าจริงๆ
...
เราเองก็ยังไม่ได้เริ่มงาน...ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วสภาพการทำงานจริงๆ จะเป็นยังไงเหมือนกัน...ไ้ด้แต่หวังว่าจะไม่แย่เกินไป...


โดย: ซีบวก วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:11:04:19 น.  

 
ที่คุณซีบวกพูดมาเป็นวิวาทะอันหนึ่งของวงการวิทยาศาสตร์ประเทศไทยควรทำวิจัยแบบประยุกต์หรือวิจัยแบบพื้นฐาน(Basic Research) เพราะที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ไทยแทบทั้งหมดทำวิจัยแบบประยุกต์แต่ผมคิดว่าTrend ต่อไปของวงการวิทยาศาสตร์ไทยจะเน้นไปที่Basic Research มากขึ้นครับ




โดย: ปริเยศ IP: 61.90.101.71 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:11:43:44 น.  

 
ข้อมูลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมลายามีน้อย แต่ประเด็นที่ผมจะนำเสนอคือในความเห็นของคุณพิงเคอร์ตันในด้านบน

...แสดงว่าไม่จำเป็นต้องจบยูท๊อปเทน ก็สามารถสร้างผลงานวิชาการได้ใช่ไหมครับ ประเด็นที่ต้องการจะแย้งมาคือถ้าพูดไปแล้วโปรไฟลร์ระดับนี้อาจารย์เมืองไทยเยอะแยะไป แต่ทำไมทำไม่ได้แบบเขา ใช่ไหมครับ

ถ้าตามLinkนี้ไปจะเห็นเองว่าประวัติของผู้ช่วยศาสตราจารย์ของNUSสิงคโปร์ที่พึ่งจบมามีผลงานตีพิมพ์ขนาดไหน
Academic Staff NUS

ผมไม่คิดว่ามหาวิทยาลัยที่จบมาต้องชั้นนำระดับโลกถึงสามารถทำวิจัยและตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำได้ ขอเพียงมีความสามารถและเข้าใจว่าหน้าที่แท้จริงของนักวิชาการคือการวิจัย รองลงมาคืองานสอน ไม่ใช่เอางานด่านักการเมืองหรืองานตีพิมพ์พวกPop Economists หรืองานที่อ้างว่ายกระดับEconomics Literature

ถึงที่สุดแล้ว ผมไม่ได้เรียกร้องว่าต้องมีผลงานตีพิมพ์ในวารสาร JPE Econometrica QJE AER แต่สิ่งที่ผมเรียกร้องคือนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทยควรมีผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการในวารสารวิชาการระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่องครับ



โดย: ปริเยศ IP: 61.90.101.71 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:11:57:23 น.  

 
ขอโทษที ข้างบนLink ผิด
Academic Staff NUS


โดย: ปริเยศ IP: 61.90.101.71 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:12:00:10 น.  

 
แต่สิ่งที่ผมเรียกร้องคือนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทยควรมีผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการในวารสารวิชาการระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่องครับ

ผมคิดว่าเป็นหน้าที่ ของนักวิชาการที่ควรพึงกระทำครับ


โดย: ปริเยศ IP: 61.90.101.71 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:12:08:16 น.  

 
ผมเห็นด้วยในประเด็นของคุณปริเยศ ครับ ขอมีงานตีพิมพ์เถอะ จะที่ไหนก็ได้ ให้มันมีความคึกคักหน่อย แต่ทีนี้ปัญหาก็คือเรื่องเงินเดือน เรื่องเงินทุน ผมไม่แน่ใจว่างบประมาณสนับสนุนงานวิจัยของไทย มันมีมากขนาดไหน เทียบกับการไปรับงานวิจัยนอก หรือทำงานอื่น (สอนหลักสูตรพิเศษ เอกชน บริษัท) ซึ่งอาจจะได้รายได้มากกว่า บางครั้งอาจจะต้องคำนึงถึงปัจจัยข้อจำกัดทางเศรษฐฐานะของนักวิชาการไทยด้วยละมั้งครับ ลองวิจารณ์หน่อยครับ อาจจะต้องไปถึงเรื่องออกนอกระบบเลย..


โดย: B.F.Pinkerton วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:12:34:43 น.  

 
ดีใจจังเลยค่ะ ที่เห็นคุณปริเยศเขียนไว้ว่าประเทศไทยมีแน้วโน้มจะไปทาง basic research มากขึ้น...

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ใช้เงินไม่ใช้น้อย..ถ้าทำแล้ว เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงๆ นับว่าคุ้มค่ากับการลงทุนมากนะคะ
...
ส่วนเรื่องมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ...ขอยกมือสนับสนุนว่านักวิจัยควรจะถือเอาเป็นหน้าที่จริงๆ ค่ะ


โดย: ซีบวก วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:12:38:08 น.  

 
พิมพ์ส่งไปแล้ว..รู้สึกเหมือนตัวเองกำลังสับสนหาทิศทางแน่นอนไม่ได้...
ความคิดจริงๆ ของเราก็คือ การมีผลงานตีพิมพ์ถือว่าเป็นหน้าที่ของนักวิจัย
ตีพิมพ์ที่ไหนไม่สำคัญ ไม่ต้องระดับโลก แต่ขอให้เป็นงานที่มีคุณค่า ประยุกต์ใช้ได้
...
เราเป็นคนที่มีปัญหาในการอธิบายความคิดตัวเองให้คนอื่นฟังพอสมควร...มีคำแนะนำอะไรช่วยชี้แนะ จะขอบคุณมาก
...


โดย: ซีบวก วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:12:48:44 น.  

 
ส่วนเืรื่องสถานะทางเศรษฐกิจของนักวิจัย..มันก็พูดยากเหมือนกันนะ
นักวิจัยบางคนเวลาเริ่มทำงานช่วงแรก..อาจจะไฟแรง ..คิดว่าตัวเองจะทำเพื่องาน
แต่พอซักระยะหนึ่ง รู้สึกว่าทำเพื่องานแล้วอยู่ยาก...ไฟก็อาจจะมอด..เอาเวลาไปทำอย่างอื่น หาเงินทางอื่นดีกว่า

กับอีกประเำภทหนึ่ง..ไม่ได้มีจิตใจมุ่งมั่นจะทำงานวิจัย แต่ด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ ได้มีโอกาส มีความรู้ที่จะอยู่ในฐานะนี้
คนประเภทนี้...พอมีโอกาสทางอื่นเค้าก็ไป


โดย: ซีบวก วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:12:53:18 น.  

 
เดี๋ยวค่ะ ..เราอ่านผิด พิมพ์ผิดด้วย ...
ขอถามคุณปริเยศนิดหนึ่งว่า Basic research คือทำพวกทฤษฏีใช่หรือเปล่าคะ และต่อไปประเทศไทยจะเน้นไปทางนั้นเหรอคะ...


โดย: ซีบวก วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:12:55:59 น.  

 
Basic Research ใช่ครับจะว่าเป็นการบุกเบิกทฤษฎีก็ใช่ แต่จริงๆ เป็นการขยายพรมแดนของความรู้ครับ จากพื้นฐานความรู้เดิม

ประเด็นก็คือ เมื่อก่อนประเทศไทยคิดกันว่างานวิจัยพวกทฤษฎีนะเป็นการขึ้นหิ้งควรจะทำวิจัยเชิงประยุกต์อย่างน้อยเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ผ่านมา50ปี งานประยุกต์ไปไม่ถึงไหน การจดสิทธิบัตรก็น้อย เลยไปดูตัวอย่างกันที่ใต้หวัน เกาหลีใต้ พบว่าประเทศดังกล่าวมีสัดส่วนงานวิจัยBasic Research สูงมาก เลยไปที่มาของการพึ่งมาเน้นความสำคัญของBasic Reaearch กันในประเทศไทย


โดย: ปริเยศ (Pariyed ) วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:13:00:22 น.  

 
และประเด็นการร่วมือกันระหว่างภาคเอกชนและภาควิชาการทำกันดีมากในประเทศดังกล่าว(ใต้หวัน เกาหลีใต้)ด้วย มีSci Park มีงบR&D มหาศาล และที่สำคัญคือ2ประเทศดังกล่าวไม่ทิ้ง Basic Research ครับ ประเทศสิงคโปร์เช่นกันมุ่งเน้นไปที่Basic Research มาก แต่เขาเน้นเฉพาะทาง ของไทยก็เน้นไปที่ Nano Tech, Material,Bio และพยายามตอบสนองการพัฒนาอุตสาหกรรมเช่น รถยนตร์ ซอฟท์แวร์ ครับ
มีงานน่าสนใจจากสวทช.ออกมาเยอะครับ มีช่วงหนึ่งผมนั่งอ่านประมาณ10กว่าเล่มได้ เป็นหนังสือสัมมนาประจำปีและงานวิจัยส่วนหนึ่งเลยทำให้เห็นTrend ของของวงการวิชาการวิทยาศาสตร์


โดย: ปริเยศ (Pariyed ) วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:13:05:00 น.  

 
"ผ่านมา 50 ปี งานประยุกต์ไปไม่ถึงไหน"
ฟังแล้วน่าเศร้านะคะ..


โดย: ซีบวก วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:13:07:11 น.  

 
เข้ามาตักตวงความรู้...จากนักศึกษาวิทยาศาสตร์และนักศึกษาเศรษฐศาสตร์ ครับ เชิญบรรเลงต่อ..


โดย: B.F.Pinkerton วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:13:11:10 น.  

 
เลยมาใช้พื้นที่ของ BFP ซะเยอะเลย...คุยเรื่องนี้แล้วเพลินดีเหมือนกัน คุณปริเยศให้ความรู้ดีมากๆ
..
เรื่องความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน น่าจะเป็นอีกจุดหนึ่งที่ควรส่งเสริม (ไม่รู้ว่าเค้าส่งเสริมกันอยู่แล้วหรือเปล่า) เพราะเอกชนมีำกำลังทรัพย์สำหรับงานวิจัยมากกว่าภาครัฐ ถ้าสามารถดึงภาคเอกชนมา่ร่วมได้ จะดีมากๆ ...ถึงตอนนั้นงบ R&D มหาศาลก็จะตามมาเอง.


โดย: ซีบวก วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:13:16:29 น.  

 
ผมสรุปว่าไปไม่ถึงไหนด้วยเหตุดังนี้ครับ

1)Basic Reaersch เราอ่อนมากส่งผลต่อการพัฒนาApllied Research ครับ งานวิจัยเชิงประยุกต์ที่จะแข่งขันได้ในโลกอุตสาหกรรมสมัยใหม่เรียกร้องความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานที่เข้มข้น

2)งบวิจัยและพัฒนาจากบรรษัทเอกชนต่างๆโดยเฉพาะพวกบริษัทมหาชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ มีมูลค่าการตลาดประมาณ1ล้านๆบาท สละสัก1%ได้งบวิจัย10,000ล้านบาทแล้ว แต่จริงๆแล้วคือไม่มีการวิจัยและพัฒนาจกาภาคเอกชนเท่าที่ควร ปูนซีเมนตร์ไทยเป็นบริษัทที่รวมนักเรียนที่เก่งที่สุดของประเทศไปอยู่ที่นั่นจำนวนมาก มุ่งเน้นการวิจัยไปที่ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ถ้าพูดอย่างตรงๆคือเป็นผลิตภัณฑ์ในคลื่นอุตสาหกรรมที่2เสียด้วยซ้ำไป แม้จะมีการวิจัยและพัฒนามากขึ้นไปไปในทางปิโตรเคมี ส่วนบริษัทโทรคมนาคมเป็นลูกค้าชั้นดีของ ซีเมนต์(เยอรมันนี) หัวเหว่ย(จีน) ส่วนบริษัทอื่นๆไม่ต้องพูดถึงครับ ซื้อเทคโนโลยีต่างประเทศอย่างเดียว


โดย: ปริเยศ (Pariyed ) วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:13:22:33 น.  

 
ท่ามกลางเสียงด่าจกานักวิชาการสายสังคมศาสตรฺ นิติศาสตร์ต่อนายกฯคนปัจจุบันของไทย แต่ผมกลับได้ยินเสียงชื่นชมนายกฯคนปัจจุบันของไทยจากพวกนักวิทยาศาสตร์ไทยในแง่ กล้าตัดสินใจทำศูนย์นาโนเทคโนโลยี ทำศูนย์ไบโอ โดยให้มหิดลเป็นแกนและริเริ่มทำอะไรหลายๆอย่าง แม้ว่าจะเป็นในแง่ของวิทยาศาสตร์เพื่อพาณิชย์กรรมและอุตสาหกรรมก็ตามไม่ใช่วิทยาศาสตร์เพื่อรางวัลโนเบล

ปีนี้วิศวะจุฬาฯ เปิดหลักสูตรอินเตอร์ด้านนาโนเทคโนโลยีขึ้นมากับวิศวะยานยนต์ เพื่อตอบสนองต่อนโยบายนี้เป็นสำคัญ เพราะเห็นว่านายกฯในสมัยต่อเป็นคนเดิม เพราะถ้าเปลี่ยนเป็นจากพรรคการเมืองอื่น วิศวะจุฬาฯจะไม่เปิดหลักสูตรนี้เลยเพราะไม่คุ้มกับงบที่ลงทุนผลิต ไม่แน่ใจว่านิสิตที่จบไปทำงานกันทีไหน


โดย: ปริเยศ (Pariyed ) วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:13:30:14 น.  

 
ผมกำลังรอ comment จากคุณNovember Seabreeze พร้อมเมื่อไหร่เชิญเลยครับ


โดย: ปริเยศ (Pariyed ) วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:13:32:03 น.  

 
ยินดีต้อนรับคุณ November Seabreeze ครับ (ผมเดาว่าเรียนจบ ป.โท ภาคอังกฤษ?)


โดย: B.F.Pinkerton วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:13:35:53 น.  

 
Paul Krugmanจะมาเมืองไทยค่ะมาพูดเรื่อง Warning System and positioning of Thailand ค่ะ วันที่ 17-18 พ.ค. จัดโดย นสพ. ผู้จัดการค่ะ บัตรราคา15,000 บาท แต่ถ้ากาลาดินเนอร์ บัตรราคา 35,000 บาทจัดที่ร.ร.เซนทรัลโซฟิเทลค่ะ


โดย: primgirl IP: 210.4.136.36 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:13:47:37 น.  

 
คุณปริเยศ พูดถึงเรื่องตีพิมพ์ ผมลองนึกเล่น ๆ นะ สมมุติผมเป็นคณบดี (หรือเจ้าของมหาลัย) ผมจะตั้งกฎเลยว่า..

1. ถ้าคุณสามารถตีพิมพ์ลงในวารสาร A,B,C,D ได้ เอาไปเลย เงินขวัญถุง สามแสน (มากไปป่าว?) บาท (วารสารท๊อปเทน)

2. ถ้าได้ตีพิมพ์วารสารรอง ๆ ลงไป ก็จัดให้ได้รับผลตอบแทนรอง ๆ กันไป

เพราะเมืองไทยยังไม่ใช้ระบบ tenure อาจารย์เข้ามาแล้วก็นอนใจ ยังไงก็ไม่โดนประเมินให้ออกแน่ ๆ เลยไม่กระตือรือล้น ต่างจากในอเมริกาที่ใช้ระบบ tenure-track ทำให้อาจารย์ใหม่ต้องเร่งปั่นผลงานลงตีพิมพ์ เพื่อให้คณะได้พิจารณาว่าจ้างต่อไป paper มีความสำคัญยิ่งชีวิตทีเดียว ...ในเมื่อ incentive มันต่างกันขนาดนั้น ผมก็ไม่แปลกใจที่ผลงานมันจะออกมาต่างกัน

คนไทยไม่โง่กว่าหรอก เพียงแต่ต้องจัดการระบบ incentive ให้ดีและเหมาะสมครับ จะไปหวังให้อยู่ดี ๆ คนลุกขึ้นมานั่งปั่นเปเปอร์โดยไม่มีจุดมุ่งหมายอะไรนอกจากความสุขจากการเขียน นี่มันไม่ค่อยจะเป็นจริงได้ในทางปฏิบัติ ถ้าใช้ carrot and stick สักหน่อย น่าจะคึกคักขึ้นนะ


โดย: B.F.Pinkerton วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:13:52:53 น.  

 
ขอบคุณครับคุณ primgirl ผมคงไม่มีเงินไปดูครุกแมน ราคาขนาดนั้น ถ้าอยากฟังครุกแมนพูด คลิกตรง bookmark ของเวปนี้ได้เลยครับ มีทั้งวิดีโอภาพและเสียง มากมาย ฟรีด้วย :)


โดย: B.F.Pinkerton วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:13:55:45 น.  

 
ไอเดียพิงเคอร์ตันน่าสน มาเล่นไอเดียกันเลยดีกว่า

ในงบของมหาวิทยาลัยอันจำกัดควรเอาเงินค่าขวัญถุงนี้ให้ใครเขียนระหว่าง อาจารย์ฌศรษฐศาสตร์ อาจารย์คณิตศาสตร์ อาจารย์ฟิสิกส์ อาจารย์วิศวกรรมศาสตร์ ใครกัน ที่ผลงานวิชาการให้แก่สังคมไทยมากกว่ากัน?


โดย: ปริเยศ IP: 61.90.101.206 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:13:56:42 น.  

 
ระบบการเงินของมหาวิทยาลัยยังpool resource อยู่ถ้าแยกออกจากงบรวมของมหาวิทยาลัย งบคณะอย่างเดียวมีปัญญาไหมที่ให้ค่าขวัญถุงขนาดนี้

ผมเห็นอยู่ที่เดียวที่ให้เงินก้อนแก่คนเรียนเศรษฐศาสตร์เยอะมากคือ มหาวิทยาลัยหอการค้า


โดย: ปริเยศ IP: 61.90.101.206 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:13:58:18 น.  

 
BFP..สามแสนเลยเหรอ...รีบๆ กลับมาเป็นคณบดีเร็ว อยู่มหาวิทยาลัยไหนบอกด้วย จะไปสมัคร :-)

เรื่องระบบ tenure ตอนนี้บางมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะพวกนอกระบบ เริ่มใช้วิธีประเมินการทำงานของอาจารย์ในแต่ละปีการศึกษา ...คงช่วยกระตุ้นให้อาจารย์ขยันทำงานกันมากขึ้นพอสมควรนะ


โดย: ซีบวก วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:13:59:23 น.  

 
จริงๆแล้ว มันต้องโยงไป
1)ค่าเล่าเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งผมคิดว่าคงไม่ที่ไหนควรสูงกว่าคณะบัญชีและบริหารธุรกิจหรอกครับในโลกนี้
2)งานวิจัยเป้นหน้าที่หลักอยู่แล้ว การไปหวังรางวัลมันเกินไปไหม
ที่จุฬาฯเพดานเงินเดือนใหม่พนักงานมหาวิทยาลัยกำหนดว่า

อาจารย์(วุฒิโท) 15,500ปรับตามเงินเฟ้อเท่านั้น
ผศ.35,000(วุฒิป.โท)
รศ.75,000
ศ.170,000


โดย: ปริเยศ IP: 61.90.101.206 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:14:02:59 น.  

 
ถ้าพูดเรื่องงบมันมีข้อจำกัดของมันอีก เพราะค่าเล่าเรียนเศรษฐศาสตร์คงไม่ขึ้นไปกว่านี้แล้ว เพราะฉะนั้นรางวัลที่ให้ได้คงเป้นการปรับเงินเดือนตามสถานะทางวิชการว่าเป็น ผศ. รศ. หรือ ศ. โดยพยายามโยงกับงานวิจัยให้มากที่สุด

เพราะฉะนั้นผมคิดว่าจริงๆแล้วการมีงานวิจัยและตีพิมพ์มันน่าจะเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นของคนที่ยึดอาชีพนักวิชาการอยู่แล้ว เพราะไม่มีใครบังคับให้คุณมาเลือกอาชีพนี้นี่จริงไหมครับ


โดย: ปริเยศ IP: 61.90.101.206 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:14:08:50 น.  

 
เพราะถ้านักวิชาการคนไหนเขียนบทความลงวารสารวิชาการบ่อยๆและยิ่งเขียนลงวารสารชั้นนำของสาขาด้วยแล้ว เขาได้รับความนับถือและการยกย่องกับเพื่อนร่วมวิชาชีพเอง และมันนำพาไปสู่รายได้จากทางอื่นๆเองแหละครับ


โดย: ปริเยศ IP: 61.90.101.206 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:14:13:23 น.  

 
สำหรับเรื่องครุกแมน ผมเฉยๆนะ ผมคิดว่าคนที่ควรเชิญมากที่สุดคือ ดร.จิม วอล์กเกอร์มากกว่า คนนี้มาเมืองไทย2ปีทีแล้ว โดยนายกฯทักษิณ เป็นคนเชิญมา คนนี้เป็นคนแรกที่บอกถึงวิกฤติของประเทศไทยก่อนจะเกิดขึ้นจริงโดยลำดับ เหตุและผลถูกต้องมากก่อนเหตุจะเกิดขึ้นจริง ต่างจากครุกแมนที่ดูแต่Productivity(คำนวณโดยYoung) และบอกว่าเป็นDiminisihing Returns เอเชียจึงเกิดวิกฤติ ซึ่งผมคิดว่างานวิจัยภายหลังของวิกฤติเอเชียไม่มีใครเอางานของครุกแมนเตือนวิกฤติก่อนปี1997มาอ้างหรอกครับ มันจับแพะชนแกะและมันฟลุ้กตรงพอดีที่เกิดวิกฤติแต่และเหตผลที่ใช้มันมั่วมาก ถ้าครุกแมนจะเกี่ยวตรงจากงานวิจัยของครุกแมนในต้นทศวรรษ80 เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนนั่นแหละที่ถือว่าใกล้หน่อยแต่นับว่าห่างจากเหตุวิกฤติจริงๆที่งานวิจัยจำนวนมากระบุถึงอยู่ดี
ผมไม่ได้คิดว่าครุกแมนจะรู้เรื่องเมืองไทยดีอะไรมาก เอาสติกลิทซ์มายังโอเคกว่าอย่างน้อยนั่นระดับโนเบลและหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลก อย่างฟัง-อยากอ่านครุกแมนไปตามLinkของคุณพิงค์เคอร์ตันจะดีกว่านะครับ


โดย: ปริเยศ IP: 61.90.101.206 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:14:21:55 น.  

 
สวัสดีครับ...เพื่อนๆร่วมกระทู้ อ่านแล้วสนุกจังเลย....

สำหรับผม ซึ่งรู้สึกคุ้นเคยกับบุคคลต่างๆที่ท่านพูดถึง ตั้งแต่ อาจารย์ที่เศรษฐศาสตร์ มธ จนถึง คนไทยใน UCSD (ผมไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว แต่ผมรู้จักอาจารย์ที่คุม thesis แก เป็นการส่วนตัว อิ อิ) ฟังแล้วรู้สึกว่า คุณปริเยศ คงเป็นคนในวงวิชาการเศรษฐศาสตร์เหมือนกัน

ผมขอพูดเรื่องงานวิจัยดีกว่าครับ ในฐานะคนทำงานวิจัยมาบ้าง แล้วก็เข้าใจปัญหาวงในพอสมควร
คำถาม ทำไมนักวิจัยไทยไม่ค่อยทำงานวิจัยเชิงคุณภาพ? (basic research which expand the frontier or even standing on the rim of it) เงิน ครับ เงิน....คิดดูว่า งานวิจัยเชิงนโยบายที่ใช้วิธีการเชิงปริมาณ (เศรษฐมิติ) นิดหน่อย ก็ได้เงินมาประมาณหนึ่งแล้ว ถ้ารับหลายงานพร้อมกัน เงินก็เยอะตามไปด้วย...ไม่ต้องหนักหัวนั่งคิดโมเดลยากๆ ที่มีเงินให้น้อยๆ.......เพราะว่า การเป็นนักวิชาการแบบนั้น เป็นยาก เงินน้อย...ทำงานวิจัยง่ายๆ แต่เยอะๆดีกว่า (เพราะรัฐบาลยังอยากได้ อยากจ่ายอยู่) .....อีกอย่าง ผลตอบแทนความเป็นอาจารย์ ต่ำกว่า รายได้จากการทำงานวิจัยแบบง่ายๆเยอะ .....ชัดมั้ยครับ (ที่เหลือคิดต่อเอง)

คำถาม รัฐบาลไทยมีการส่งเสริมการทำวิจัยเชิงพื้นฐาน หรือไม่?
ฐานะคนที่เคยอยู่วงในเหมือนกัน ผู้ใหญ่ในบ้านเมือง เค้าคุยกันเรื่อง งบ สกว เมือที่แล้ว ว่า จัดให้ วิทยาศาสตร์ สามสิบ...สังคมศาสตร์ยี่สิบ...ที่เหลือ เป็นงานวิจัย "เชิงบูรณาการ" ("ผู้อาวุโส" ก็อยู่ในวงสนทนาด้วยเหมือนกัน รวมทั้ง คนโด่งดังอีกบางท่าน)...ผมไม่รู้ว่า เชิงบูรณาการ หมายถึงอะไรกันแน่...เหมือนกับ การเอาเศรษฐศาสตร์ไปอธิบายการเมืองหรือป่าว? หรือว่า interdisciplinary research ซึ่ง ไม่ต้องสงสัยว่า เป็นงาน applied research นำความรู้จากสายหนึ่ง ไปอธิบายอีกสายหนึ่ง....คงไม่สงสัยใช่มั้ยครับ ว่าทำไม อาจารย์ นักวิชาการเมืองไทย ไม่ทำ basic research

คำถาม ทำไมคนจบเอกที่ดังๆ ไม่กลับมาเป็นอาจารย์ในมหาลัย?
เงิน อีกแล้วครับ เงิน...นอกจากเงินแล้ว ยังมี "สังคม" แม้ว่าน่าอยู่ แต่งานน่าเบื่อ...เพราะว่า บางครั้ง สังคมที่เค้าต้องไปอยู่ไม่สามารถรองรับความรู้ ความสามารถ ความตื่นเต้นในการทำงานของเค้าได้...เค้ามีทางเลือกอื่น เค้าก็ไปสิ...จริงมั้ย?

จะพัฒนาเศรษฐศาสตร์เมืองไทยยังไง? ผมอยากพูดให้เป็นระบบ....ยกตัวอย่างละกัน....วันหนึ่ง ผมเดินตามหลังอาจารย์ที่สอนเศรษฐมิติของผม (He is the editor of Econometric Monograph of Econometric Society na krub) แกกำลังคุยเรื่องจะจัดทำงานวิจัยอันหนึ่ง คำถามที่แกต้องถามตรงๆ กับเพื่อนแก คือ "เรามีเงินมั้ย เงินจะมาจากไหน?" ครับ ....ความจริง คือ เงิน...ซึ่งสะท้อน resource & oppotunity cost ของงานวิจัย (ง่ายๆ มองว่างานนี้สำคัญแค่ไหน) เมื่อเทียบกับ สิ่งอื่นๆ (Money is a representative of value which is also in R1, it's easy to measure, right?) ..... ฝรั่งเค้าพูดถึงเรื่องนี้เรื่องแรก....บ้านเราพูดเรื่องอยากมีงานวิจัย...แต่ไม่มีคนอยากออกตังค์...เพราะเค้าไม่เห็นความสำคัญ (โดยเปรียบเทียบ) ของความรู้เศรษฐศาสตร์....เงินเป็นความจริงของชีวิตครับ เพราะมันสะท้อนหลายอย่าง (ผู้ที่ไม่เข้าใจความสำคัญของเงิน กรุณา และตีความ Theory of Value, a classic monograph of Prof Debreu นะครับ)

อีกตัวอย่างหนึ่ง.....คุณเคยคิดว่า มีใครกล้าจ่ายเงิน เจ็ดสิบล้านบาทเพื่อตอบคำถามเดียวมั้ยครับ (อาจารย์ของผมเล่าให้ฟังอีกเช่นกัน)....มีครับ BT ไง....BT เป็นรัฐวิสาหกิจครับ คำตอบที่เค้าอยากได้ จะต้องใช้ "วินัย" ในการตอบอย่างมาก ซึ่งรวมถึงความรู้ขั้นสูงในเชิงปริมาณ และ ความเอาใจใส่ พิถีพิถัน (เหมือน starbuck เลือกเมล็ดกาแฟ) ในการจัดการ ข้อมูล.....เมืองไทยมีมั้ยครับ? (หาดูนะ...แค่โครงการห้าล้าน ยังโดนรุมทึ้งยังกะอะไร ที่สำคัญ เจ้าของโครงการ ก็อยากได้ผลที่เป็นไปตามความต้องการของตัวเอง) แล้ว นักวิชาการจะทำอะไรได้

(ถ้ามีคำถามอื่นๆเป้นการส่วนตัว ทิ้ง email address ไว้นะครับ....เผื่อจะได้คุยกันมากกว่า
นี้)

อ้อ ...ผมแวะผ่านมาพอดี


โดย: เอสุดท้ายของอ.เจิม (ถ้าคุณรู้ว่าผมเป็นใคร อย่าบอกนะ) IP: 144.82.195.9 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:19:46:21 น.  

 
ยินดีต้อนรับท่านเข้ามาร่วมคุยครับ

ขอบคุณครับสำหรับความเห็น (คุณ novem หรือเปล่า?) ผมเดาว่าคุณคงเป็นอาจารย์รุ่นใหม่คนหนึ่งของ มธ นี่แหละ ใช่ไหม ?

เป็นอย่างที่ผมคิดครับ...money matters ( a lot) การสร้างระบบ Monetary Incentive น่าจะสำคัญสำหรับอนาคตการวิจัยในเมืองไทยนะครับ แต่จะทำอย่างไรนั้นก็เป็นเรื่องของ policy design ในระดับมหาวิทยาลัย (ถ้าออกนอกระบบ) และคณะ ฯ

ทั้งนี้ต้องไม่ลืมสมมุติฐานสุด classic ของอาจารย์รังสรรค์ ว่า นักวิชาการ (มนุษย์)ไม่ใช่พระอรหันต์ เขาเหล่านั้นยังต้องการแสวงหา อรรถประโยชน์สูงสุด (ตัวเงิน ชื่อเสียง การยอมรับจากสังคมวิชาการ สังคม) การจะไปหวังให้พวกอาจารย์ลุกมาทำ breakthrough research โดยไม่มีการมอบรางวัล แรงจูงใจแบบดีพอ ก็เป็นการคิดโดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริง


โดย: B.F.Pinkerton (B.F.Pinkerton ) วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:20:18:30 น.  

 
อ่านข้างบนและสงสัยและขอแสดงประเด็นเป็นข้อๆดัวนี้

1)งานวิจัยเศรษฐศาสตร์ที่จะตีพิมพ์ต้องใช้เงินขนาดไหนถึงจะมีผลงานตีพิมพ์เอาแค่วารสารวิชาการธรรมดาๆนี่แหละ ไม่ต้องระดับโบว์น้ำเงินหรอก ผมว่าถ้าใช้เงินเป็นล้านๆก็สะท้อนประสิทธิภาพของนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทยแล้ว คุณคิดว่างานวิจัยเศรษฐศาสตร์มันต้องใช้เงินเท่าไหร่กัน ยิ่งประเภทใช้ข้อมูลทุติยภูมิ มาrun Model นี่ ต้องใช้เงินขนาดไหนกันครับ โอเคถ้าเป็นวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ผมคิดว่าเรื่องเงินสำคัญ ห้องแลป อุปกรณ์ และ ฯลฯ

กลับมาที่งานวิจัยเศรษฐศาสตร์ ต้องใช้อะไรบ้าง สำคัญสุดคือสมองและความเข้าใจหน้าที่ของนักวิชาการ(คืองานวิจัยนะครับ) ถัดมาคือข้อมูลอนุกรมเวลา ซึ่งปัจจุบันอย่าบอกนะครับว่าไม่มี เครื่องพีซีสักเครื่อง โปรแกรมคำนวณดีๆ ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกใช้กันไปหมด ผู้ช่วยวิจัยสักคน และยังเอาอะไรอีก


โดย: ปริเยศ IP: 61.91.244.37 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:20:19:27 น.  

 
2)อะไรคือภารกิจของนักวิชาการ ผมกำลังจะบอกว่า นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทยไม่เข้าใจภารกิจและหน้าที่ของตนเอง นักวิชาการในรั้วมหาวิทยาลัยมีหน้าทีอะไร คุณอยากได้เงินไม่เห็นยากไม่มีใครบังคับให้คุณมารับเงินเดือนต่ำๆอย่างนี้ ออกเป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ นักเศรษฐศาสตร์บริษัทเอกชนจะตรงกับความต้องการ(เงิน)มากกว่าไหม

ผมรู้สักแปลกใจเสมอเวลานักวิชาการออกมา บริภาษสังคม บริภาษรัฐบาล บริภาษเศรษฐกิจ ไม่ยักกะบริภาษตนเอง คุณเลือกมาเป็นนักวิชาการไม่มีใครเอาปืนมาจ่อหัวคุณและบังคับคุณนะครับ ยิ่งสังคมไทยให้การยอมรับสถานภาพความเป็นอาจารย์มาก เรียกขึ้นต้นต้องนำหน้าด้วยอาจารย์ เป็นการให้เกียรติอย่างสูง แต่นักวิชาการไทยสาขาเศรษฐศาสตร์ทำตัวสมหน้าที่นี้หรือไม่ ผมไม่บริภาษพวกTDRI เพราะเขาไม่ใช่นักวิชาการ แต่ผมกำลังตำนินักวิชาการในรั้วมหาวิทยาลัยไทยโดยเฉพาะสาขาเศรษฐศาสตร์ เรื่องเงินจะคุยย้ำอีกทีในข้อต่อไป


โดย: ปริเยศ IP: 61.91.244.37 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:20:26:09 น.  

 
เดี๋ยวผมมีเรียนล่ะ ถกกันต่อไปตามสบายนะครับ


โดย: B.F.Pinkerton วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:20:33:37 น.  

 
3)เอะอะไร ต้องมาลงท้ายด้วยเงิน ผมย้ำอีกทีก็ได้ งานวิจัยเศรษฐศาสตร์ต้องใช้เงินลงทุนกันขนาดไหนกันครับ เท่าที่อ่านมา แก่นแท้ของการโอดครวญคือการวิจัยอื่นๆเป็นการเสียเวลาในการหาเงินหลักจากการวิจัยเชิงประยุกต์ใช่ไหม ผมเขียนถูกไหมครับ

และท้ายสุดการแก้ตัวของนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ ก็ไม่ต่างอะไรจากนักการเมืองไทยห่วยๆที่โทษระบบ โทษสังคม โทษอย่างอื่นไม่ยักกะโทษตัวเอง


นักวิชาการเป็นอาชีพหนึ่ง เป็นสัตว์เศรษฐกิจเช่นเดียวกัน แต่งานหลักของนักวิชาการคืออะไร

นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ ไม่ทำงานวิจัยแล้ว และยังถือว่านี่ความชอบธรรม ผมสงสัยแล้วล่ะว่าใครกันไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง

ในเมื่อต้นทุนการทำวิจัยเศรษฐศาสตร์นอกจากเวลาแล้ว ผมนึกไม่ออกเหมือนกันว่ามันต้องใช้เงินเยอะขนาดไหนกัน ถ้าอยากได้เงินเยอะมากกว่าเงินเดือนตามมหาวิทยาลัยโดยไม่สนใจทำหน้าที่หลักของนักวิชาการน่าจะพิจารณาตัวเองนะครับ



โดย: ปริเยศ IP: 61.91.244.37 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:20:36:47 น.  

 
4)ท้ายที่สุดแก่นแท้ของการถกกันอยู่ที่ว่า จะทำวิจัยให้ได้ดีต้องใช้เงิน แต่ประเด็นคือ

4.1)เงินนี่ต้องขนาดไหน กันจึงดลบันดาลให้นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทยลงมือทำวิจัยตามหน้าที่เสียที

4.2)ทำไมเศรษฐศาสตร์ขึ้นชื่อว่าเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพแต่ไม่มีโครงการพัฒนาการใช้ทรัพยากรของตนเอง และของคณะให้มประสิทธิภาพ เพื่อทำหน้าที่หลักของวิชาการอันได้แก่งานวิจัยและงานสอน

4.3) ผมชักสงสัยว่านักวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทยมีปัญญาเขียนบทความวิชาการเศรษฐศาสตร์ลงวารสารระดับนานาชาติได้หรือไม่
ข้อ4.3)นีแหละผมคิดว่าน่าจะเป็นหัวใจไม่แพ้เรื่องเงินกระมังครับ

ประเด็นอื่นๆขอทำงานก่อน ว่างจะมาแสดงความเห็นต่อครับ


โดย: ปริเยศ IP: 61.91.244.37 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:20:44:17 น.  

 
สวัสดีตอนเช้าค่ะ BFP...สวัสดีตอนค่ำค่ะคุณปริเยศ..

เมื่อคืนหนีไปนอนก่อน..
เช้านี้มาตามต่อ..รู้สึกหัวข้อจะเน้นไปทางเศรษฐศาสตร์ซะแล้ว
งั้นขอฟังเงียบๆ แอบเอาความรู้ไปก่อนนะคะ


โดย: ซีบวก IP: 128.180.49.225 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:21:02:50 น.  

 
หวัดดีอีกทีครับ....กระทูนี้ถกกันเร็วดีจัง...

ตอบคุณ ปริเยศ นะครับ...ที่ผมกล่าวถึงเรื่องเงินเป็นส่วนมาก เพราะว่า เป็น "การเปรียบเทียบ" ค่าตอบแทนของการทำงานแต่ละอย่างนะครับ....ทำวิจัยให้ดี (basic research or theoretical papers) ทำยากนะครับ (หวังว่าคุณคงรู้ว่ายากแค่ไหน ไม่ใช่ ผู้ช่วยวิจัย คอมพิวเตอร์ ข้อมูลทุติยภูมิ เท่านั้นนะครับ เวลาคิดให้ดี..มีอะไรใหม่ๆนี่แหละครับเหนื่อยมาก) ถ้าคุณพอจะเข้าใจกระบวนการการเลือกบทความลงวารสารนานาชาติ ที่น่านับถือ คุณคงรู้ว่า ยากแค่ไหนนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง highly respected journal as JPE, Econometrica, JET, JME, JMathE, RES (ยิ่ง RES เมืองไทยยังไม่รู้เลยว่าสำคัญ)(I think B.F. Pinkerton knows this, don't u?, r u in chicago? good study? say hi to your Thai friends in Midway, anyways, i'm not new lecturer at TU, sorry)

ผมแนะนำให้ลองคิดถึงค่าเสียโอกาส โดยเปรียบเทียบของแต่ละงานดูนะครับ..อาจจะเข้าใจมากขึ้น ว่า Incentives แรงขนาดไหน (For interested readers, please read literatures about Multi-Task incentives pioneered by Holmstrom-Milgrom นะครับ)

พูดถึงนโยบาย..ก็ไม่เอื้อ...

พูดถึงตลาด...ตลาดอาจารย์ไทยไม่เอื้อให้เกิดกลไก และผลตอบแทนให้นักวิชาการไทย ทำงานวิชาการอย่างจริงจังนะครับ
(ถ้าต้องการรายละเอียด ทิ้ง email address ไว้นะครับ เผื่อจะได้คุยกัน)

แวะมาอีกที...ชอบการถกเถียงที่สร้างสรรค์ครับ


โดย: (ถ้ารู้ว่าผมคือใคร อย่าบอกนะครับ) IP: 144.82.195.9 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:22:15:21 น.  

 
ด้วยความยินดีค่ะ คุณB.F. เราคงไม่ไปดูหรอกค่ะ เสียดายเงิน อิอิ


โดย: primgirl วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:22:24:33 น.  

 
ครับ รับทราบครับ ผมเองก็นึกไม่ออกแล้วล่ะครับว่ามีประเด็นไหนจะถกกันอีก เพราะจากทัศนะของผู้ที่ทำหน้าที่นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ในด้านบน เหตุเป็นที่ระบบที่ไม่เกิดแรงจูงใจในการผลิตงานวิชาการ ผมสรุปดังนี้นะครับ

1)ผมย้ำเสมอว่าจริงๆแล้วเรื่องเงินมันสำคัญจริงหรือ อันที่จริงผมคิดว่าการเขียนงานวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ สมอง สำคัญกว่าเงินนะครับ ผมเองย้ำในด้านบนไปหลายเที่ยวจนผมเองสงสัยเหมือนกันในเงื่อนไขการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียกร้องอุปกรณ์ภายนอกน้อยมาก ไม่ต้องมีห้อง แลปราคาแพง ไม่ต้องมีห้องทดลองราคาเป็นล้านๆ เครื่องมือหลายสิบล้าน ค่าการบำรุงรักษาอีกมหาศาล วิชาการเศรษฐศาสตร์ไม่เรียกร้องขนาดนี้ ทำไมผลิตงานวิชาการไม่ได้??? นอกจากเวลา เงินเดือนและระบบที่ไม่จูงใจแล้ว ซึ่งภาวะปัญหาทั้งหมดนี่เป็นกว่า50ปีแล้วไม่ใช่หรือครับ นับอายุเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์เป็นเกณฑ์ ทำไมแก้ปัญหาตรงนี้ไม่ได้ เศรษฐศาสตร์สอนกันเรื่องประสิทธิภาพ Productivity แต่จริงๆแล้ว นักวิชาการเศรษฐศาสตร์มีProductivity หรือไม่ครับ

2)ในด้านบนผมยกตัวอย่างข้อมูลจากนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ที่NUS สิงคโปร์ ไม่เห็นจะจบจากมหาวิทยาลัยดังๆมากมายอะไรเลยแต่มีผลงานวิจัยสม่ำเสมอ คุณสามารถตามLinkของผมในด้านบนไปดูผลงานวิจัยและมหาวิทยาลัยที่จบมาของนักวิชาการเศรษฐศาสตร์NUSได้ครับ

3)ทีนี้นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทยไปทำงานอะไรกันครับ นอกจากงานวิจัยเชิงประยุกต์ให้แก่หน่วยงานราชการทำร่วมกับTDRI และด่าทอนักการเมือง แต่งานหลักของนักวิชาการจริงๆคืออะไรครับ ถ้าไม่ใช่งานวิจัยและงานสอน

ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับวิชาการสาขาอื่นๆโดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่เรียกร้องทุกอย่างโดยเฉพาะเงินลงทุนในด้านห้องแลปและอุปกรณ์การทดลองมากกว่าวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์เยอะ แต่ยังมีผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการสม่ำเสมอ อย่างน้อยมากกว่าวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ คำถามผมต่อคุณAสุดท้ายของ อ.เจิมคือ คุณคิดว่าปัญหาจริงๆมันอยู่ที่ระบบ เงิน หรือความสามารถของนักเศรษฐศาสตร์ในรั้วมหาวิทยาลัยกันครับ

4)ผมคิดว่าไม่มีใครเอาปืนจ่อหัวบังคับหรือข่มขืนให้มาทำอาชีพนักวิชาการนะครับ แต่ผมคิดว่าจารีตของนักวิชาการคือการทำวิจัย ถ้าคุณทำและมีปัญหาในเรื่องของระบบ เรื่องของเงิน(อันที่จริงก็ใช้เงินไม่เท่าไหร่)เรื่องนี้ผ่านมาร่วม50ปีแล้ว ทำไมยังแก้ปัญหากันไม่ได้ และถ้าปัญหาจริงๆอยู่สมอง ก็ไม่เป็นไรครับ เพราะเรื่องนี้มันพ้นไปกว่าทรัพยากรอื่นๆจะอำนวยได้นอกจากไปRecruit นักเรียนที่มีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แน่นๆ อย่างเช่น คุณตี๋เพื่อนคุณพิงค์เคอร์ตันที่ชิคาโก คุณตี๋ที่จบปริญาตรีวิศวะจุฬาฯเกียรตินิยมอันดับ1และจบปริญญาโทฟิสิกส์จุฬาฯ ต้องคุณสมบัติประมาณนี้ใช่ไหมครับจึงมีสติปํญญาพอจะทำงานวิชาการได้

5)ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ ผมสามารถตั้งคำถามได้ไหมว่าการมีคณะเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย มีประโยชน์จริงๆหรือไม่ ผมถามในฐานะผู้เสียภาษีนะครับ สู้ยุบคณะเศรษฐศาสตร์ทิ้งให้หมดซะและเอาเงินไปบำรุงภาควิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และวิศวะจะดีกว่าไหม

6)ผมคิดว่ามาตรฐานนักวิชาการจริงๆคือการทำวิจัยครับ นี่คือมาตรฐานสากล คุณไม่ทำตามกติกานี้ไม่เป็นไร แต่คงยากที่จะหวังการเคารพนับถือจากคนอื่นๆ อย่างน้อยก็ผมครับ คุณมีสิทธิที่จะระบบ โทษทุกอย่างในสังคมไทยยกเว้นนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ด้วยกันเอง ไม่เป็นไร แต่นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทย จะต้องถูกตั้งคำถามในเรื่องของการวิจัยในมาตรฐานสากลเช่นนีไปเรื่อยๆ อย่างน้อยก็ผมคนหนึ่งครับที่จะคอยตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ เวลาที่พวกนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ออกมาเสนอประเด็นหรือวิจารณ์เศรษฐกิจและสังคม

7)สำหรับผม ทุกคนมีหน้าที่ของตนเอง เราต้องทำหน้าที่ของตนเองให้ดี่ที่สุด ผมไม่ใช่นักวิชาการ ถ้าผมเป็นรับรองผมทำหน้าที่ของผมและคงไม่มีเหตุผลใดๆมาแก้ตัวหรอกครับ ผมว่ามันน่าอายนะ ถ้าเราเป็นนักวิชาการเศรษฐศาสตร์และเราออกมาวิพากษ์สังคม นักการเมือง ระบบเศรษฐกิจและสารพัดร้อยแปดแต่เราไม่ทำหน้าที่ของเราเลย(การวิจัย)และถ้ามีอุปสรรคมาขัดขวางการทำงานหลัก(การวิจัย)เราไม่เคยขัดขวางหรือแก้ไขมันเลยปล่อยให้คาราคาซังอย่างนี้ เป็นผม ผมอายครับ แต่นักวิชาการเศรษฐศาสตร์อื่นๆติดอย่างนี้หรือเปล่า ผมยังสงสัย


โดย: ปริเยศ IP: 61.90.101.175 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:23:13:25 น.  

 
8)ผมย้ำเรื่องหน้าที่อีกครั้งหนึ่ง ผมคิดว่าหน้าที่ของการเป้นนักวิชาการงานหลักคืองานวิจัย ถัดมาคืองานสอน อันนี้คือมาตรฐานสากล แต่ถ้านักวิชาการมาอ้างว่าไม่มีIncentives อย่างนั้นอย่างนี้ เสีค่าเสียโอกาสเช่นนั้นเช่นนี้ ผมชักสังสัยว่า นักวิชาการเศรษฐศาสตร์แต่ละท่านทราบหน้าที่นักวิชาการในรั้วมหาวิทยาลัยกันจริงๆหรือไม่ ถ้าทราบแล้วใยยังโอดครวญกันเรื่องแรงจูงใจและเรื่องค่าเสียโอกาสกันอีก

ท้ายที่สุด ผมไม่เห็นวงวิชาการอื่นๆ เขาจะต้องอ่าน Holmstrom-Milgrom จึงทราบว่าควรลงมือทำวิจัยหรือไม่ควรลงมือ มันอยู่ที่จิตสำนึกนะครับผมคิดว่าอย่างนั้น ถ้ามีจิตสำนึกในห้านี่แล้วทำไม่ได้ อันนี้น่าสงสัยเรื่องสติปัญญาคงไม่สามารถformulate model ทางเศรษฐศาสตร์ใหม่ๆได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นคงต้องพิจารณาการจัดสรรงบประมาณการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยกันใหม่แล้วล่ะครับ

ขอบคุณทุกๆท่านครับสำหรับบรรยากาศการอภิปรายที่สร้างสรรค์ทางวิชาการ


โดย: ปริเยศ IP: 61.90.101.175 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:23:25:31 น.  

 
สำหรับอีเมลล์ผมครับ
pariyed@hotmail.com


โดย: ปริเยศ IP: 61.90.101.175 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:23:27:18 น.  

 
ตอนนี้ผมกำลัั่งชั่งใจอยู่ว่าควรจะเอาเวปนี้ให้เพื่อนผมที่นี่หรือคนที่อยู่ในวงวิชาการที่ผมเอ่ยถึงได้อ่านและแสดงความเห็นดีหรือไม่ เพราะคงจะก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ที่ขยายวงกว้างมากไปกว่าการที่เรามาคุยกันแค่สองสามคนเป็นการภายใน

เคยมีเพื่อนที่นี่เล่าให้ฟังเหมือนกันว่าเคยได้อ่านเรื่องของ B.F.P จากห้องไกลบ้านและสงสัยว่าจะเป็นคนใดคนหนึ่งในโรงเรียนของเรา ซึ่งมีคนไทยอยู่ไม่กี่คน แต่ผมก็ได้ตอบปฏิเสธไปว่าไม่รู้เรื่อง สงสัยต้องไปขอโทษเขาเสียแล้วที่ได้โกหกเขาไป _/\\\\_

แต่ต้องแลกกับการเสียความเป็น anonymity บนโลกอินเตอร์เนทไป


โดย: B.F.Pinkerton IP: 128.135.133.5 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:23:49:18 น.  

 
หวัดดี..อีกทีครับ...

อันนี้เป็นกระทู้แรก ที่ผมกลับมาถึงสองครั้ง...สนุกดี

คำถาม ปัญหาอยู่ที่ระบบหรือความสามารถของนักวิชาการ?
ผมว่า อยู่ที่ทั้งสองอย่าง (เหมือนนักการเมืองมั้ยครับ) แต่ ถ้าให้ฟันธง...ผมคงบอกว่าระบบครับ
ขออนุญาตเล่าเรื่องอดีตนะครับ เพราะว่า เกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย แล้วก็อาจจะช่วยให้เห็นภาพมากขึ้น (สำหรับคนที่ยังไม่รู้จักเศรษฐศาสตร์เมืองไทย)

คณะเศรษฐศาสตร์ มธ เก่าแก่ทีสุด ก็กำเนิดมาจาก "โครงการเอื้ออาทร" จาก Rockefeller ถึงจะสร้าง "คณะเศรษฐศาสตร์" ที่มีห้องสมุด อาจารย์ดีๆ มาสอน (ก่อนหน้านั้น ก็เป็นเศรษฐศาสตร์แบบ เชิงนโยบาย การบริหารการคลัง ซึ่งก็คล้ายๆกับที่วิจารณ์รัฐบาลกันในปัจจุบัน) อาจารย์ยุคแรกๆ ก็เป็นอาจารย์ที่จบมากจากมหาวิทยาลัยดีๆ แล้ว Rockefeller จ้างมาทำงาน เป็น teaching fellow ในประเทศกำลังพัฒนา (ก็คือไทยด้วย)

อาจารย์ป๋วยเป็นบุคคลที่ดึง Rockefeller เข้ามา พร้อมกับดำริให้มีการสร้างนักเศรษฐศาสตร์โดยการดึงทุนการศึกษา พร้อมทั้ง อาจารย์เก่งๆหลายท่านเข้ามา (Ajarn Ammar was also in the team, also Ajarn Bill McCleary) อ.ป๋วยทำได้เพราะว่าท่านมีบารมีมาก (เคยคุมสามตำแหน่งสำคัญทางเศรษฐกิจไทยก่อนมาเป็นคณบดี) นักศึกษาที่ไปเรียนจบกลับมา ก็มาเป็นอาจารย์ พร้อมกับค่านิยมในการสร้างคณะตามแบบอย่างของอ.ป๋วย
แต่ Rockefeller ก็ต้องออกไปด้วยสาเหตุทางการเมือง พร้อมๆกับการเริ่มมีอาจารย์ใหม่กลับมาจากต่างประเทศ..ทำให้ในสมัยนั้น ศศ มธ เป็นหนึ่งในเอเชียก็ว่าได้ (ไม่อยากพูดถึงในสมัยนี้นะครับ เศร้า) ธรรมเนียมการส่งอาจารย์ไปเรียนต่อต่างประเทศก็ดำเนินเรื่อยมา ส่วนอาจารย์ที่กลับมา ก็ต้องสอนหนัก และต้องทำงานเพื่อสังคมด้วย (ซึ่งก็กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรต่อมา) ทำให้ อาจจะไม่มีงานวิจัยอย่างจริงจังมากนัก (Multi-Task again!!)

เวลาผ่านไปสามสิบปี เรื่องที่เกิดขึ้นก็คล้ายๆกัน คือ เลือกคนเก่งไปเรียน ด้วยทุนที่เสนอให้ แต่ไม่มีแรงจูงใจในการทำวิจัยในระดับนานาชาติ อีกทั้ง งานสอน และงานวิจัยในโครงการต่างๆของรัฐยังมีมาก (และเงินก็มาจากทางนี้ด้วยเช่นกัน) ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบ กับการวิจัยระดับ นานาชาติแล้ว....ผมเชื่อว่า ระบบ ยังไม่เอื้อให้เกิดงานวิจัยในระดับนั้น (ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากนัยเชิงประวัติศาสตร์ และความต้องการงานในประเทศ มากกว่านั่นเอง)

ผมเชื่อว่า อาจารย์มหาวิทยาลัย (โดยเฉพาะเศรษฐศาสตร์) ต้องรับผิดชอบงานหลายอย่าง ดังนั้น เมื่อรวม ความต้องการส่วนตัว (private motive, low income in teaching, higher income from project researches and pain-taking and lonely theoretical papers....with smoothing income, lack of social network when retire, and intertemporal decision with uncertainty ) และความต้องการ การเรียกร้องจากสังคม (public need for that kind of research)
ผมเชื่อว่า ระบบ ไม่สามารถสร้างแรงจูงใจที่ดีพอ ในการผลักดันให้เกิดงานวิชาการในระดับนั้นครับ (เนื่องจาก ยังมีงานอื่น ที่ถือว่า เป็น"ความรับผิดชอบ" ของนักวิชาการเช่นกัน ซึ่งการทำงานอื่น ก็ถือว่า เป็นความรับผิดชอบด้วยเช่นกันนะครับ)

หวังว่า คงจะเข้าใจความบกพร่องของระบบ มากขึ้นนะครับ (i mean incentive system also)

ผมเชื่อว่า คุณปริเยศ ที่รู้จักหนังสือ (และ ผมเชื่อว่าอ่านมาก) หลายเล่มของเศรษฐศาสตร์ คงใช้มุมมองเศรษฐศาสตร์มาอธิบายได้นะครับ ซึ่ง หน้าที่ ก็สามารถรวมอยู่ใน Utility function and effort function ได้เช่นเดียวกัน (if you read ch13-14 MWG, you would know how to model effort function under asymmetric info na krub)

ด้วยความปรารถนาดี...(จึงแวะเข้ามาอีกที)


โดย: ถ้ารู้ว่าผมเป็นใคร อย่าบอกนะครับ IP: 144.82.195.9 วันที่: 7 มีนาคม 2548 เวลา:23:49:24 น.  

 
ขอบคุณครับข้อมูลของคุณAสุดท้าย แต่ผมรู้สึกแปลกๆนะครับ เวลาถกกันเรื่องหนึ่งและมีคนชอบยัดReferenceที่เป็นtext bookมาให้ ถ้าเอาคุยกันเอะอะและปิดท้ายด้วย Quantum Physics หรือ Econo Physics จะขลังกว่าไหมเมื่อเทียบกับTextอย่างMWG

ผมคิดว่ามหาวิทยาลับของไทยใช้เงินภาษีของสังคมต้องมีสิทธิถูกตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพนะครับและยิ่งนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ออกไปอาละวาดข้างนอกมากสเยด้วยย่อมถูกตรวจสอบได้เช่นกัน

ผมเองไม่เข้าใจคุณยกตำราและอาจจะยกบทความเป็นพันๆเล่มพันเรื่องๆ เพื่อที่จะมาบอกนี่แหละที่ไม่มีงานวิจัยและทำไมไม่เอาตำราหรือบทความที่คุณยกมาเขียนบทความเลยล่ะครับ ลงวารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ว่ามุมมองจาก Utility Functions ต่อแรงจูงใจการผลิตบทความทางวิชาการ Formulate Model มาเลยครับ ทำให้ Rigorous หน่อยน่าสนใจเหมือนกันดีกว่าเอาบทความต่างๆมาแก้ต่างว่าทำไมไม่มีงานวิจัยเอาบทความนั่นแหละครับมาเขียนเป็นงานวิจัยเลยครับ
ผมว่าน่าสนใจดีนะครับ


โดย: ปริเยศ IP: 61.91.86.162 วันที่: 8 มีนาคม 2548 เวลา:0:09:05 น.  

 
หวัดดีครับ....มาอีกแล้ว

ชอบนะครับ ที่มีคนถกเถียงด้วย
ผมเป็นคนหนึ่งที่มีงานเชิง ทฤษฎีตีพิมพ์ในวารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์แล้ว (อ้าว...บอกไปซะงั้น)

Multi-Task เป็นแบบจำลองที่ค่อนข้างดีมาก ในการอธิบายพฤติกรรมของอาจารย์ในมหาลัยนะครับ (MWG is too basic and does not cover multi-task na krub...if interested... read Bolton-Dewaripont part II or Holmstrom-Milgrom about Multi-Task (Journal of Law, Economics and Organization, ห้องสมุดไทยไม่ได้รับวารสารนี้...หาในหนังสือรวมบทความนะครับ edit โดย Oliver Williamson)
ผมว่า แบบจำลองดังกล่าวเพียงพอแล้ว (หาอ่านดูนะครับ)......

ขออนุญาต พูดในฐานะคนเขียนงานทฤษฎีนะครับ (ว่าจะไม่บอกแล้วเชียว เดี๋ยวจะหาว่าเอาเรื่องส่วนตัวมาพัวพัน)...งานทฤษฎีเมืองไทย ไม่มีคนเข้าใจเทาไหร่หรอกครับ...ไม่มีคนเห็นคุณค่าในทางด้านผลตอบแทน....แต่มีคนต้องการเยอะ ซึ่งจริงแล้ว เค้าไม่รู้หรอกว่า สิ่งที่เค้าต้องการ เป็นการศึกษาด้วยงานเชิงทฤษฎี การสร้างแบบจำลองมาอธิบาย และเสนอทางออก.....ผมถึงเข้าใจว่าทำไมนักวิชาการไทย ถึงไม่ค่อยทำ (นอกจากความชอบส่วนตัวจิงๆ ซึ่งทำแล้ว ก็ไม่รู้จะไปคุยกะใคร) แต่ผมก็ไม่โทษนักวิชาการไทยนะครับ แต่ผมโทษระบบมากกว่า เพราะว่า จิงๆแล้ว คนที่ได้ทุนไปเรียนมหาลัยดีๆ ควรจะกลับมาทำงานที่ไม่ค่อยมีคนทำ (เพราะรัฐสนับสนุนไปแล้ว) แต่เค้ากลับต้องมานั่งทำงานวิจัย แบบเดิมๆ....ระบบไม่เอื้อ ไม่ผลักดันให้เค้าทำด้วยนะครับ

ในความจริง ผมไม่อยากให้มหาลัย ใช้เงินภาษีของประชาชนเลย..อยากให้ออกนอกระบบ แล้วเป็นกลไลตลาด ให้ผลตอบแทนตามผลงาน ซึ่งก็ต้องแข่งกันชาวต่างประเทศ แต่ปัญหาจากตามมาคือ ถ้าต้องการงานดี คนดีคุณต้องจ่ายแพง....แล้วประชาชนคนอื่น ก็จะโวยวาย ต่อว่า ทำไม มหาลัย (ซึ่งเคยใช้ภาษีของประชาชน) ถึงตั้งค่าเล่าเรียนได้กีดกันคนยากจนขนาดนี้ ....ครับ..กลายเป็นว่า "การเอื้ออาทร" แบบนี้ เป็นการบิดเบือนตลาด และประสิทธิภาพของทรัพยากร ใช่มั้ยครับ

ขออนุญาตแนะนำอีกที สำหรับผู้สนใจปัญหาเหล่านี้ ควรอ่านปัญหา และทางแก้ (แบบจำลองทั้งหลายแหล่) ของ Asymmetric information นะครับ จะได้ทราบว่า rent-efficiency tradeoff in adverse selection problem and insurance-effort trade off in moral hazard นั้นเป็นยังไง และถ้ายังอ่านไหว ..แนะนำให้อ่าน ขั้น advanced นะครับ เป็นแบบจำลอง recursive game applied in asymmetric information renegotiation นะครับ (ตอนแรกจะไม่แนะนำแล้วเชียว เดี๋ยวโดนด่า อีกทั้งโดนกระแนะกระแหน ว่า ต้องปีนบันได ขึ้นหอคอยงาช้างอ่าน...แต่ผมเชื่อว่า มีคนต้องการคำตอบของระบบ ด้วยความจริงใจ)

กลับมาบอกอีกครั้ง ว่าชั้นยังห่วงใย ....

หมายเหตุ ขอบคุณนะครับ ที่ช่วยกันถก ยินดียิ่ง (ผลกำลังพยายามเขียนแบบจำลองเรื่องระบบสุขภาพอยู่ เพราะเชื่อ ว่า อีกหน่อย คงเป็นปัญหาหนักกว่าการศึกษาในมหาลัย ใครสนใจ ทิ้ง email address ไว้นะครับ)


โดย: ถ้ารู้ว่าผมคือใคร อย่าบอกนะครับ IP: 144.82.195.9 วันที่: 8 มีนาคม 2548 เวลา:0:40:37 น.  

 
No no, we don't have issue about being on ivory tower in this forum, please feel free to suggest anything you deem essential for the discussion. I would love to find the papers and study them.

So far, we are working on a very constructive discussion indeed.


โดย: B.F.Pinkerton IP: 128.135.133.5 วันที่: 8 มีนาคม 2548 เวลา:0:52:07 น.  

 
อ้ออ....ขออนุญาตแนะนำต่อ....

การศึกษา recursive game ..ความยากอยู่ที่การเขียน state variable ที่ link 'promised utility' between periods in Incentive Compatibility Constraints in functional equation (ของคุณกระดิ่ง อิ อิ) nakrub. (Read Chapter 18-21 LS Recursive Macroeconomic Theory 2ed.....

For another related paper, read Kochelakota on asymmetric information topic which use สมการคุณกระดิ่ง ซึ่งส่วนมากเป็นงานประยุกต์ใน insurance model (risk sharing under asymmetric information) อ้อ....ส่วน methodology part ในการใช้ computational method ....start from Pheland-Townsend 1991 (computing information constrained model) แล้วตามด้วย Doepke-Townsend (JET 2005 Dynamic Mechanism Design) ซึ่งมีการใส่ IC, IR, Obedience constraints ในการ compute solution.....

สงสัยคนที่เข้าใจ อยากอ่านจิง...คงอยู่ในห้องสมุดใต้หลังคา ของหอคอยฯ นะครับ อิ อิ

For Midway's fellows, I wish you can gain intuition and technique very properly from them. good study :)

กลับมาบอกอีกครั้ง..ว่าชั้นยังห่วงใย


โดย: ถ้ารู้ว่าผมคือใคร อย่าบอกนะครับ IP: 144.82.195.9 วันที่: 8 มีนาคม 2548 เวลา:1:09:41 น.  

 
Thanks for your input krub. Hope to see your comment again soon.


โดย: B.F.Pinkerton วันที่: 8 มีนาคม 2548 เวลา:2:10:25 น.  

 
ขอบคุณครับสำหรับบทความ เพียงแต่ผมพ้นหอคอยงาช้างมาแล้วนะครับและไม่ได้อยู่ในฐานะหรือหน้าที่ ที่จะอ้างตำราหรือReferenceจำนวนมากหรือยากๆประกอบการสนทนาเพื่อความขลังหรือเหตุแก้ตัวอย่างอื่น

และประเด็นที่สนทนากันคือหน้าที่พื้นฐานของนักวิชาการในรั้วมหาวิทยาลัยคือการทำวิจัย ผมรู้สึกสนเท่ห์ที่เวลาผมย้ำประเด็นนี้ ประเด็นการทำวิจัย คุณAสุดท้ายฯในฐานะนักวิชาการสามารถยกตำราและบทความมามากมายเพื่ออธิบายว่าทำไมถึงไม่มีการวิจัย

ผมคิดเสมอว่าการที่จะอยู่บนหอคอยงาช้างอย่างน้อยทำตัวให้สมสถานะดังกล่าวจึงได้สิทธิไปอยู่ที่นั้น ผมคิดว่านั่นคือการทำวิจัยแต่ถ้าเมื่ออยู่หอคอยงาช้างแล้วไม่มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารที่ได้รับการยอมรับตามมาตรฐานของนักวิชาการ มีประโยชน์อะไรกันที่เอาบทความ แบบจำลองจำนวนมากมายมาอธิบายพฤติกรรมของตนเองและสถาบันที่ไม่ทำวิจัย

ผมคิดว่าไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยเชิงทฤษฎีหรืองานวิจัยเชิงประยุกต์ เขียนมาเถอะครับแล้วพยายามตีพิมพ์ในวารสารวิชาการตามมาตรฐานสากลให้ได้ ไม่อย่างนั้นอยูสูงๆบนหอคอยงาช้างแต่ไม่ทำหน้าที่วิจัยอะไรเลย ผมรู้สึกว่าอยู่บนที่สูงๆอย่างนั้นไม่มีประโยชน์หรอกครับอย่างน้อยที่สุดการอยู่บนที่สูงๆน่าจะมองเห็นไกลๆขึ้นแต่เมื่อไม่ทำวิจัยแล้วการมองไกลก็พร่าเลือนไป

ผมคิดเสมอว่าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยและสถาบันวิชาการจะต้องประกอบไปด้วย
การทำวิจัย
การสอน
การบริการสังคม

ผมพิจารณาแล้ว ผมคิดว่าการวิจัยเป็นหน้าที่หลักของนักวิชาการเพราะผมกลัวว่าคนอื่นมาเจอassignmentของนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ว่าไปอ่านบทความและตำรานี้เสียจึงเข้าใจว่าทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยไม่ทำวิจัยและถอดใจการจ้ำจี้จำไชให้นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ทำหน้าที่หลักของตนเองอันได้แก่การทำวิจัย

ผมสงสัยว่านักวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทยมีประสิทธิภาพแค่ไหนใน3หน้าที่หลัก การวิจัยไม่มี การสอนผมสงสัยว่ามีการเรียนการสอนกันอย่างไรจึงทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่องระหว่างการเรียนปริญาตรีเศรษฐศาสตร์และการเรียนปริญญาโท-เอกระดับเศรษฐศาสตร์
ว่กันตรงๆแล้ว ผมคิดว่าการเรียนปริญญาโทระดับสูงกว่าปริญญาตรีคนที่มีพื้นเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทยไม่สามารถเรียนสู้คนที่จบมาทางวิศวะ ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ได้ ตัวอย่างมีให้เห็นทั่วไปทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อความมีประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร น่าจะแปรรูปให้พวกคณะวิศวะ คณะวิทยาศาสตร์ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีแทนดีไหมสำหรับไปเรียนต่อระดับที่สูงกว่าปริญาตรีโดยเฉพาะ

การบริการสังคมอันได้แก่การเขียนบทความยกระดับความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ การสอนครูมัธยมทางเศรษฐสาสตร์ การให้การอบรมอื่นๆการวิเคราะห์เศรษฐกิจ และการด่าทอนักการเมือง ผมอยากรู้จริงๆว่าหน้าที่นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ทำหน้าที่บริการสังคมให้มีประสิทธิภาพแค่ไหน

ปัญหาไม่ว่าจะเป็นโดยระบบ โดยเงิน และอื่นๆ เช่น ปัญหาส่วนตัว ซึ่งผมสงสัยว่าเป็นเหตุสมควรหรือไม่ ที่ยกมาประกอบการไม่ทำวิจัยอันเป็นหน้าที่มาตรฐานของนักวิชาการ แต่นิมิตดีที่นักวิชาการสาขาอื่นอันได้แก่วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิทยาศาสตร์การแพทย์ไม่เคยอ่าน MWG ไม่เคยอ่านBolton-Dewaripont ไม่เคยอ่าน Holmstrom-Milgrom ,Kochelakot,Ljungqvist / Sargentcและอื่นๆ จึงไม่มีเหตุให้แก้ตัวสำหรับการไม่ทำวิจัยดุจเดียวกับนักวิชาการสาขาเศรษฐศาสตร์ได้ ในฐานะผู้เสียภาษีผมเลยยังรู้สึกคุ้มค่ากับวงวิชาการสาขาอื่นๆอยู่บ้าง

ท้ายที่สุด ผมหวังว่าอุปสรรคใดๆของการขัดขวางการำทวิจัยมากว่า50ปีน่าจะสิ้นสุดลงเสียทีนะครับอย่างน้อยใน4-5ปีข้างหน้านี้
หวังว่าอีก5ปีข้างหน้า กลไกและระบบของการจัดการทางเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทยจะทำหน้าที่ของมันเสียทีนะครับเพื่อจะได้เกิดการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์เสียที ไม่เป็นเช่นนั้น


โดย: ปริเยศ (Pariyed ) วันที่: 8 มีนาคม 2548 เวลา:7:30:15 น.  

 
ไม่เป็นเช่นนั้น อีก5ปีก็ต้องมาถกกันแบบนี้ต่อไป คุณAสุดท้ายฯคงมีบทความใหม่ๆAssign ให้ผมอ่านเพื่อจะได้ทำความเข้าใจเหตุใดจึงไม่มีนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทยทำวิจัย นักวิชาการเศรษฐศาสตร์อื่นๆที่อายุมาก คงต้องเหนื่อยพอสมควรในการทำความเข้าใจแบบจำลองและเทคนิคทางคำนวณสมัยใหม่เพื่อที่จะมาตอบคำถามต่อสาธารณชนได้ว่า ทั้หมดนี่แหละคือเหตุผลทางวิชาการเศรษฐศาสตร์ที่นักเศรษฐศาสตร์ไทยไม่ทำวิจัย

ผมเขียนเอง-อ่านเองยังเหนื่อยแทนนักเศรษฐศาสตร์ไทยเลยครับ ขนาดจะเอาเหตุผลมาอธิบายว่าทำไมไม่ทำวิจัย ยังต้องค้นคว้ากันหนักขนาดนี้ เพราะฉะนั้นผมเองคงต้องไม่คาดคั้นประเด็นเรื่องการวิจัยต่อนักเศรษฐศาสตร์ไทยแล้วล่ะครับ
555 โจ๊กนะครับ


โดย: ปริเยศ (Pariyed ) วันที่: 8 มีนาคม 2548 เวลา:7:37:56 น.  

 
ยินดีที่ได้อ่านอีกครับ....

โดยส่วนตัว ผมก็มีความคิดเห็นเหมือนกับคุณปริเยศ ซึ่งในฐานะทั้งคนเรียน-คนทำงานวิจัย-คนอ่าน ก็อยากเห็นผลงานดีๆของนักเศรษฐศาสตร์ไทยเช่นเดียวกัน

ที่กล่าวมาข้างต้น ที่พยายามอธิบาย ผมมิได้มีเจตนา "แก้ตัว" แทนนักวิชาการ แต่ผมพอที่จะเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น (ผมก็หงุดหงิดเหมือนกันเวลาเจอแต่บทความด่านักการเมือง แต่ไม่มีบทความทางวิชาการ)

ผมขอตั้งข้อสังเกตุสภาพการณ์ปัจจุบันดังนี้
หนึ่ง. ผมเชื่อว่ามีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนที่จบจากที่ดีๆมา เคยทำงานวิจัย แต่พอกลับมาเมืองไทย มิได้เป็นอาจารย์สอนในมหาลัย หรือทำงานวิชการต่อไป (มีอยู่ประมาณหนึ่งนะครับ ที่พิมพ์ผลงานไปแล้ว แต่พอกลับเมืองไทยถูกระบบกลืน)

สอง. อาจารย์ที่จบมหาลัยดีๆมา ที่ผมเห็น ก็มีทั้งคนทำงานทฤษฎี และงานข้อมูล ในระดับปริญญาเอก...แต่พอกลับมาเมืองไทย ก็ไม่ได้ทำขนาดนั้นแล้ว..หรือที่มีก็น้อย และไม่ได้รับความสนใจครับ (ลองหาอ่านใน Thammasat Review ดูนะครับ นานๆจะมีงานเชิงทดลองทางทฤษฎีโผล่มาให้เห็นซะที)

สาม.การศึกษาเศรษฐศาสตร์ไทยระดับปริญญาตรี ผมก็คิดว่าควรมีการรื้อระบบใหม่ แต่มีแรงเสียดทานสูง เนื่องจากมีความไม่สอดคล้องทั้งเนื้อหา คนสอน และคนเรียน (เด็กเก่งๆมักไม่ค่อยเรียนเศรษฐศาสตร์ จะมีอยู่บ้าง ซึ่งก็คือคนที่ได้ไปเรียนต่อที่ดีๆแหละครับ อีกทั้งตลาดแรงงานก็ยังไม่ยอมรับ ให้เงินเดือนดีๆ แก่ นศ เศรษฐศาสตร์เช่นกัน...ซึ่งต่างจากต่างประเทศ ที่วิชาเศรษฐศาสตร์ได้รับการยอมรับสูง ทั้งด้านผลตอบแทน และวิชาการ)

ที่จริงยังมีอีกหลายข้อ...แต่สิ่งนี้ก็เป็นที่ประจักษ์มาประมาณหนึ่งแล้ว...มีกลุ่มคนหนุ่ม ที่เป็นทั้งนักเศรษฐศาสตร์ (ไม่ใช่อาจารย์) และ อาจารย์หนุ่มๆ ตั้งใจจะแก้ไข ...ผมก็ได้แต่ฝากความหวังไว้นะครับ
(ขออนุญาต เอ่ยชื่อด้วยความชื่นชมนะครับ เช่น ดร.เศรษฐพุฒิ จบจาก เยล..เคยทำงาน world bank แต่กลับมาช่วยกระทรวงการคลังในการแก้วิกฤติ แต่ไม่ทราบตอนนี้ไปอยู่ไหนแล้ว ยังอยู่ใน Young Economist forum/group อยู่หรือเปล่า?)

สำหรับผม..ที่เป็นคนยกย่อง ชื่นชม งานวิชาการบริสุทธิ์ (ประเภทปีนกระไดอ่าน) ก็ได้แต่ทำใจ และทำความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นครับ (ได้แต่หวังลึกๆ...ลึกมากๆจิงๆ) แล้วก็ต้องยอมรับว่า มีการผลิต "งานวิจัย" ดีๆออกมาเช่นกัน แต่เป็นการตอบปัญหาภายในประเทศมากกว่า การขยายพรมแดนความรู้ แข่งกับต่างชาตินะครับ ซึ่งผมก็ชื่นชม และยินดีที่มีนักเศรษฐศาสตร์ไทยเก่งๆ สามารถใช้ความรู้แก้ปัญหาบ้านเมืองได้ (แม้ว่าไม่ได้แข่งกันต่างชาติ)

ถามว่า จะแก้ให้มีการทำวิจัยขยายพรมแดนความรู้ในไทยยังไง...สงสัยต้องการเมืองแล้วล่ะครับ (ใครเก่ง collective choice มาตอบที อิ อิ)

กลับมาบอกอีกครั้ง เพราะว่าชั้นยังห่วงใย (จริงๆ)

ปล. ขออภัยสำหรับการอ้างอิงบทความต่างๆถ้าเป็นที่ระคายเคือง (เพราะเจ้าของ Blog บอกว่า ไม่มีปัญหา ผมเลยใส่ซะเต็มที่เลย...จริงๆเป็นความชอบส่วนบุคคลมากกว่าครับ) ไม่จำเป็นต้องอ่านแล้วก็ได้..แต่ผมเชื่อว่า ถ้าอยากแก้ให้ได้ทั้งระบบ ควรเข้าใจ แต่ละหน่วยตัดสินใจย่อยๆ และการเกี่ยวข้อง อุปสรรค ที่เกิดขึ้น....ใช่มั้ยครับ? (คือผมเชื่อเช่นนั้นอ่ะ)


โดย: ถ้ารู้ว่าผมคือใคร อย่าบอกนะครับ IP: 144.82.195.9 วันที่: 8 มีนาคม 2548 เวลา:8:25:47 น.  

 
เอ๊ะ...หรือคนเก่ง คนดี จะอยู่เมืองไทยไม่ได้จริงๆ (เหมือนสมัยห้าสิบปีที่แล้ว)



โดย: ถ้ารู้ว่าผมคือใคร อย่าบอกนะครับ IP: 144.82.195.9 วันที่: 8 มีนาคม 2548 เวลา:8:29:04 น.  

 
ดร.เศรษฐพุฒิ เป็นผช.กรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์สายงานวิจัยครับ ถูก กิติตรัตน์ดึงตัวมา


โดย: ปริเยศ IP: 61.90.58.243 วันที่: 8 มีนาคม 2548 เวลา:8:32:11 น.  

 
ส่วนเรื่องใส่Textไส่บทความผมรับได้นะครับแม้จะมไมปัญญาอ่าน เป็นจารีตของนักวิชาการอยู่แล้ว แหมแต่ไม่ทำงานวิจัยผมว่ามันแปลกๆนะครับมันไม่สมบทบาทนะ แต่ผมไม่แน่ใจว่าคุณA สุดท้ายฯสวมหมวกนักวิชาการอยู่หรือเปล่า ได้แต่หวังว่าคงจะมีงานวิจัยดีๆออกมา

ส่วนเรื่องระบบการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะเศรษฐศาสตร์กระแสหลักในไทยโดยเฉพาะความต่อเนื่องของการเรียนปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี มันไม่ต่อเนื่องกันปัญหานี้มันกำลังถ่างออกไป ถ้าไม่แก้ไขอย่างใดอย่างหนึ่งผมว่ามันจะลำบากนะ ลองคิดดูครับกว่าคณจะแกะสมการหนึ่งจากTextอย่าง Sargent หรือ MWG อย่างนี้ใช้เวลาเท่าไหร่เมื่อเทียบกับคนที่จบวิศวะหรือคณิตศาสตร์ในระดับปริญญาตรีมา


โดย: ปริเยศ IP: 61.90.58.243 วันที่: 8 มีนาคม 2548 เวลา:8:38:07 น.  

 
เพราะฉะนั้น เพื่อความมีประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร ทำไมไม่แปรรูปการเรียนระดับปริญาตรีออกไปเสียคือปิดคณะเศรษฐศาสตร์หลักสูตรปริญญาตรีและเปิดแต่ปริญญาโท-เอกเศรษฐศาสตร์แทนและรับเฉพาะพวกที่จบคณิตศาสตร์ วิศวกรรม ฟิสิกส์มาเรียน ผมมั่นใจเลยว่าทรัพยากรที่ใช้ทั้งเวลา ตนเองและเงิน ใช้ไม่เยอะแน่นอน

ไหนวิชาเศรษฐศาสตร์เรียกร้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและพาลไปเรียกร้องให้มีการแปรรูปการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพให้เอกชนไปทำแทนและทำไมด้วยตรรกะเดียวกันไม่ปิดการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาตรีอันไม่มีประสิทธิภาพออกไปเสียไม่งั้นเวลาส่งนักเรียนที่เรียนตรีเศรษฐศาสตร์ไปเรียนต่อโท-เอกในต่างประเทศลำบากกว่าจะอ่านตำราและบทความเข้าใจก็สู้คนที่มีพื้นคณิตศาสตร์แข็งๆไม่ได้เวลาจบกลับมา ผมสงสัยอยู่เลยว่าจะมีความสามารถแค่ไหนในการทำวิจัยและตีพิมพ์ในวารสารวิชาการตามมาตรฐานสากล

คำถามชวนคิด ควรแปรรูปการเรียน-การสอนเศรษฐศาสตร์ปริญญาตรีออกไปไหม จับไปเป็นMinorสำหรับพวกที่เรียนวิศวะ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ แทน โดยหน่วนกิตวิชาMinorนี้ผมว่าสัก15หน่วยกิตน่าจะพอ
Micro1 3 credit
Micro2 3 credit
Macro1 3 credit
Macro2 3 credit
Econo 3 credit


โดย: ปริเยศ IP: 61.90.58.243 วันที่: 8 มีนาคม 2548 เวลา:8:46:33 น.  

 
Minorพวกนี้ให้คณะเศรษฐศาสตร์ทำหน้าที่บริการแทนในระดับปริญญาตรีหรืออีกนัยหนึ่งคือผมกำลังเสนอให้คณะเศรษฐศาสตร์ในไทยมุ่งเน้นผลิตคนในระดับปริญญาโท-เอกแทนส่วนการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีผมว่ายุบทิ้งไปเถอะและไปเปิดเป็นMinorในคณะหรือภาควิชาที่พื้นฐานการคำนวณแข็ง เพื่อการใช้ทรัพยากรทางการเงิน คน เวลาและอื่นๆมีประสิทธิภาพ


โดย: ปริเยศ IP: 61.90.58.243 วันที่: 8 มีนาคม 2548 เวลา:8:49:03 น.  

 
วันที่ 9 มี.ค.เวลา 17.00-20.00น. สถาบันป๋วย อิ๊งภากรณ์ จัดงานมอบรางวัลธรรมาภิบาลดีเด่น แกผู้ประกอบการขนาดย่อม มีดร.ปราณี ทินกร กล่าวรายงานสรุปกระบวนการสรรหา SMEs ที่มีธรรมาภิบาลดีเด่น มีดร.นิธินันท์ วิศเวศวร ค่ะ


โดย: primgirl วันที่: 8 มีนาคม 2548 เวลา:10:27:17 น.  

 
มีดร.นิธินันท์ วิศเวศวร เป็นพิธีกรค่ะ


โดย: primgirl วันที่: 8 มีนาคม 2548 เวลา:10:28:46 น.  

 
คุณ primgirl รู้จัก อ.ชมภู่ เป็นการส่วนตัวเหรอครับ? มาโฆษณาให้เนี่ย
(คิดถึงที่นั่นจัง)


โดย: ถ้ารู้ว่าผมคือใคร อย่าบอกนะครับ IP: 144.82.195.9 วันที่: 8 มีนาคม 2548 เวลา:12:07:01 น.  

 
คิดถึงที่ไหนเหรอ ?


โดย: ผมว่าผมรู้แล้วล่ะว่าคุณเป็นใคร แต่ไม่บอกหรอก IP: 68.22.192.143 วันที่: 8 มีนาคม 2548 เวลา:12:15:29 น.  

 
คิดถึง อ.ต หรือเปล่าครับ 555 คุณAสุดท้าย


โดย: ปริเยศ IP: 61.91.145.11 วันที่: 8 มีนาคม 2548 เวลา:12:20:22 น.  

 
ป่าวค่ะ พอดีเราเป็น staff ในงานค่ะ


โดย: primgirl วันที่: 8 มีนาคม 2548 เวลา:12:39:32 น.  

 
ผมเห็นด้วยกับคุณปริเยศ ทุกประการนะครับ เพราะก็เป็นเรื่องที่ผมคิดเสมอ
เพราะมันทำให้คนเก่ง ฉลาด มีความสามารถอย่างผม อดแสดงฝีมือ 5555 (ล้อเล่นนะครับ)
อย่างไรก็ตาม ผมอยากแสดงความเห็นใจวงการวิชาการไทยบ้าง
อย่างหนึ่งต้องยอมรับว่า พัฒนาการสังคมของบ้านเรามันมีมาแค่นี้ เงินทองของเราก็น้อย
จะเอาให้ได้มาตรฐานอย่างที่คุณปริเยศว่า คงเป็นไปได้ยาก (ได้สัก 30 % ของที่คุณปริเยศต้องการ ผมว่าก็บุญโขแล้ว
แต่หากไม่ปรับปรุงอะไรเลยผมก็ไม่เห็นด้วย)

อย่างเรื่องเส้นสายในวงวิชาการนี่ผมไม่เห็นด้วย เรื่องการเขียนอะไรดีนิดหน่อยแล้วก็ชมผมก็ไม่เห็นด้วย แต่อย่างตีพิมพ์
journal ต่างประเทศนั้น ผมว่าออกจะโหดร้ายไปนิด เอาแค่เขียนบทความและหนังสือในเมืองไทยให้มันดีๆ
ไม่ทำให้คนอ่านอย่างผมรู้สึกเสียดายตังก็น่าจะพออนุโลมไปก่อนได้

ผมอยากจะเสนอคุณ A ว่า จริงๆแล้วมันเป็นเรื่องทางเศรษฐศาสตร์(วิชารักของคุณ A)ล้วนๆเลย
คุณ A จะเชื่อหรือไม่
ลองดูก็ได้นะ ลองตั้งเงินเดือนอาจารย์ให้สูงกว่าเอกชนสิ รับรองมาตรฐานทางวิชาการจะพุ่งสูงปรีด
ทำไม ผู้บริหารองค์กรใหญ่ๆ จึงจบปริญญาตรีวิศวะจุฬาฯ ไม่ใช่บริหาร คำตอบง่ายนิดเดียว
ค่าตอบแทนของการเป็นวิศวะในสมัยก่อนมันสูงกว่าทำงานอื่น คนเก่งก็แห่กันมาเรียน และขึ้นชื่อว่าคนเก่ง
สุดท้ายก็ย่อมชนะ พวกจบตรีบริหารโดยตรงย่อมสู้ไม่ได้
ถ้าเราตั้งเงินเดือนอาจารย์สังคมศาสตร์ให้สูงกว่าวิศวะ มีโอกาสก้าวหน้าที่เหนือกว่า พวกคนเก่งของแต่ละรุ่นที่เดิม
แห่กันเข้าวิศวะจุฬา ก็จะแห่มาเรียนสังคมศาสตร์ พอจบมาก็แย่งกันเป็นอาจารย์
ผมกล้าเอาหัวเป็นประกันว่า สังคมศาสตร์เจริญแน่นอน
มันเรื่องกลไกตลาดล้วนๆเลย
(ผมเคยตั้งปณิธานว่า ถ้าหากฟ้าบันดาลให้ผมสู้จนเป็นเศรษฐีได้ ผมจะเปิดมหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์ ตั้งผลตอบแทนให้สูง
เพื่อปรับปรุงมาตรฐานทางวิชาการให้ขึ้นถึงจุดสุดยอด เพราะผมมองว่า เมืองไทยมีคนเก่งไม่น้อย
แต่ปัญหาอยู่ที่ค่าตอบแทนทางเศรษฐกิจ)

สำหรับส่วนตัวผม ก็เคยมีอุดมคติแบบนี้นะ อยากเห็นสังคมดี และผมเชื่อมั่น(แบบน่าหมั่นไส้)ว่าผมสามารถช่วยเหลือประเทศ
ด้านนี้ได้เยอะแยะ ทั้งไอ้ Basic Research, App Research หรือจะเป็นประเภทไหนก็ตาม
แต่ ณ วันนี้ ผมไปหาทางร่ำรวยและเสพสุขที่ละเมียดละไม (แบบบทความที่ผมเคยส่งให้คุณ A) จะดีกว่า 555
เพราะครั้งหนึ่งผมเคยเสนอตัวให้องค์กรพวกนี้พิจารณา แต่เขาไม่เห็นคุณค่าของผม แล้วไยผมต้องไปงอนง้อกับคนที่ไม่เห็น
คุณค่าของเรา (ผมคิดว่า หลายคนที่หวังดีต่อสังคม คงเจออย่างผมไม่มากก็น้อย)

แต่ผมว่าที่สุดของที่สุดเลย คือ คนตะวันออกไม่ค่อยชอบคิดอะไรที่ลึกซึ้ง เป็นตรรกะแบบนั้น
มาตรฐานทางสติปัญญาจึงอาจขาดไปบ้าง (อย่างไรก็ตาม อยากให้มองแง่ดีว่า คนที่ไม่ฉลาด มักจะเป็นคนร่าเริงสนุกสนาน
ไม่เครียด ชีวิตมีแต่สีสรรและความสุข ไม่เหมือนกับพวกฝรั่งหัวแดงที่น่าเบื่อ)
ดังนั้น พอใครเขียนอะไรที่ลุ่มลึก แต่คนอ่านส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่อง ก็หาว่าไม่ดี
(แต่โปรดระวัง พวกเขียนอ่านไม่รู้เรื่อง เพื่อปิดความโง่ของตัวเอง 555)
ส่วนคนที่เขียนอะไรที่ฉลาดกว่าคนอ่านนิดนึง พอที่คนอ่านจะขบคิดถึง พวกนี้จะได้รับยกย่อง
แล้วก็กลายเป็นกลุ่มอิทธิผล กดข่มพวกฉลาดกว่า
เพราะฉะนั้น จิงๆแล้ว ผมมองว่า ปัญหาหลักของวงวิชาการไทย น่าจะมาจาก ตัวนิสิตมากกว่าอาจารย์
ถ้านิสิตฉลาด กล้าคิด กล้าท้าทาย อาจารย์ก้ต้องปรับตัว
แต่ปัญหางูกินหางก็เกิดขึ้น เพราะเด็กจะฉลาดได้ต้องมีอาจารย์ดี

มีทางออกหนึ่งที่น่าสนใจ คือ พวกคนฉลาดๆ จะต้องออกวารสารวิชาการ จัดสัมมนา จัดถกเถียงทางปัญญา
แข่งกับพวกศาสตราจารย์โง่ๆบางคน
ปลุกเร้าให้นิสิต มองเห็นว่ามีวิชาการที่เหนือกว่าในมหาวิทยาลัย มีความคิดที่ลึกซึ้งอยู่นอกรั้วนั้น
แต่ผมมองว่าทางเลือกนี้มีอุปสรรคอยู่บ้าง เพราะคนฉลาดเขาก็ไปหากินกับธุรกิจได้กำไรมากกว่า

อย่างไรก็ตาม ในโลกนี้ย่อมมีคนฉลาดบางจำพวก ที่ชีวิตไม่ได้มีแค่เงินทอง พวกนี้แหละที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนสังคม
แต่จะเป็นใครล่ะ ผมยังมองไม่เห็นเลย ณ วันนี้

แต่หากสหายปริเยศจะขอรบจนตัวตายในสงครามที่ยิ่งใหญ่นี้ ผมก็ร่วมด้วยนะครับ 555
(แม้ว่าผมจะไม่ชอบเป็นหินก้อนแรกๆก็ตาม แต่หากสหายมีงานสำคัญ ไยเราจะนิ่งดูดาย)



โดย: ฤษณรส IP: 161.200.255.163 วันที่: 8 มีนาคม 2548 เวลา:14:44:27 น.  

 
ถกกันมานาน แล้วมีใครที่มี link ของอาจารย์ในไทยบ้างหล่ะ?


โดย: คนนอนดึก IP: 161.200.255.163 วันที่: 8 มีนาคม 2548 เวลา:16:55:10 น.  

 
I will have final in 2 days, and 2 papers to be due this coming Monday..so I might not have time to come often..

Happy discussing !! I will keep reading though.



โดย: BFP IP: 128.135.133.5 วันที่: 9 มีนาคม 2548 เวลา:1:11:53 น.  

 
Wow, this seems to be a pretty interesting topic to discuss. I have to admit that I learned a bit more about the Thai economics community from reading this post, making it even more interesting that I also have a few friends in the field who now work in Thailand.

I'm not an economist though, I must say. Therefore, I do not want to further discuss about what's going on in the Thai economics community.

Having said that, I would like to comment a bit on scientific research. Personally, I believe in both basic and applied research. They certainly complement each other. However, it is still a long way to go for the Thai scientific community. As we all know, some of it has to do with the "Thai" systems. I should say though that luring Thai researchers with some sort of rewards or incentives has no guarantee that the quality and quantity of the research would be improved as long as the systems remain the way they have been for years and that some Thai researchers may just take this as a golden opportunity to make themselves famous, rather than to make an unpretentious dedication to the scholastic advancement of their fields.

Just a thought.


โดย: CIT IP: 131.215.11.190 วันที่: 9 มีนาคม 2548 เวลา:10:31:04 น.  

 
เรามาทำอะไรสักอย่าง เพื่อให้วงวิชาการดีขึ้นกันมะ
แต่จะทำอะไรดีล่ะ ??? (ตอนนี้ยังคิดไม่ออก ใครรู้ช่วยที)



โดย: ฤษณรส IP: 161.200.255.163 วันที่: 9 มีนาคม 2548 เวลา:12:59:09 น.  

 
น่าจะรวมกลุ่มคนรุ่นใหม่ (พวกที่กำลังเรียนปริญญาตรี เรียนบัณฑิตวิทยาลัย เรียน Ph.D หรือ อาจารย์รุ่นใหม่ และผู้สนใจใครก็ได้) เป็นกลุ่มเป็นก้อนแล้ว มีการถกเถียง แชร์ข้อมูล วิพากษ์วิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ ทำอะไรสักอย่าง เพื่อการพัฒนาวงวิชาการนะครับ ผมคิดว่าน่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ดีทีเดียว เชื่อว่ารัฐบาลนี้เขาก็ส่งเสริมเรื่องแบบนี้นะ เมืองไทยคนเก่งเยอะครับ (ในทางสังคมศาสตร์นะ) คนรุ่นใหม่ก็เยอะ แต่ทำอย่างไรถึงจะไม่ให้พวกเขาถูกกลืนไปกับกระแส Bureaucratic และระบบเดิม ๆ ที่ปิดกั้นศักยภาพของพวกเขา...

ตั้งกลุ่ม สร้าง Learned Society ทำ Journal ของสมาคม ดีไหมล่ะ ? หาทุนสักก้อน บอกรัฐบาล เขาน่าจะช่วยได้ เราเน้นการสร้างงานวิชาการแบบสร้างสรรค์ ไม่อิงการเมือง เชื่อมโยงคนไทยเก่ง ๆ ทั่วโลก เชื่อมอาจารย์นักวิจัย กลุ่มต่าง ๆ ในทางสังคมศาสตร์


โดย: B.F.Pinkerton (สอบพรุ่งนี้) IP: 68.22.192.143 วันที่: 9 มีนาคม 2548 เวลา:20:51:20 น.  

 
ผมก็ทำ ๆ อยู่กับกลุ่มเครือข่าย siamsewana ( //www.siamsewana.org ) เขาก็เจตนาดี มีการสร้างเครือข่ายคนรุ่นใหม่ เพียงแต่จะเน้นในทางการถกปัญหาสังคม

ในใจอยากให้มีกลุ่มทำนองนั้นแต่เน้นในทางวิชาการมากกว่าหน่อย เป็นเวทีให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงความสามารถและเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย อาจจะมีการเขียนงานอะไรร่วมกันมี blog มีการรายงานความคืบหน้าทางวิชาการ ถกเถียง วิพากษ์วิจารณ์

ผมฝันมานานแล้วว่าอยากสร้าง Learned Society ในเมืองไทยครับ (เหมือนกลุ่ม Apostles ของ Cambridge ที่สร้างคนแบบ Maynard Keynes และอื่น ๆ )


โดย: BFP IP: 68.22.192.143 วันที่: 9 มีนาคม 2548 เวลา:21:01:53 น.  

 
ผมเห็นด้วยทีเดียวครับ โดยมีข้อเสนอเพิ่มเติมดังนี้

1. "การยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย" คุณสมบัตินี้ ผมเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดเลย เพราะเท่าที่สังเกตดู รู้สึกว่า
คนไทยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่มีความรู้มากๆ มักจะมองว่า ความคิดเห็นของตน วิธีการวิเคราะห์ของตน เป็นคำตอบสุดท้าย
เป็นปรมัตถสัจจะ (เว่อร์ไปนิด) แต่ผมมองว่าการที่กลุ่มวิชาการใดจะเติบโตและงอกงามได้ มันต้องมีความสามารถในการ
ซึมซับความแตกต่าง หลอมรวมความหลากหลาย มองเห็นความดีความงามและความจริงในมุมมองที่แตกต่างจากตน
ผมยอมรับว่า มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, ฟ้าเดียวกัน ฯลฯ มีความลุ่มลึกทางวิชาการ แต่สิ่งที่ขาดไปคือ ความหลากหลาย
ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงคนหมู่มาก คนมีปัญญาที่คิดต่างก็อาจจะเบื่อที่จะเข้ามาเสวนา "สังคมศาสตร์ปริทัศน์" แม้จะมี
บ.ก. เป็นอนุรักษ์ แต่กลับเปิดกว้างยอมรับความคิดต่าง ในที่สุดก็สามารถสร้างแวดวงปัญญาชนได้สำเร็จ เป็นตำนาน
ที่ได้รับการกล่าวขานมิเสื่อมคลาย

สิ่งที่ผมเห็นในทุกว้นนี้คือ นักวิชาการที่สนใจความงาม สนใจวรรณกรรม มักจะหมกมุ่นอยู่ในโลกส่วนตัว
โดยไม่ยอมมองดูว่าโลกาภิวัตน์เขาไปถึงไหนกันแล้ว ขณะที่ พวกนักสังคมศาสตร์ มักจะถกเถียงกัน
อย่างหน้าดำคร่ำเครียด ถึงความเป็นธรรม การเปลี่ยนแปลงสังคม การขูดรีด ฯลฯ กล่าวหาว่าศิลปวรรณคดี
เป็นเพียงเรื่องของการขูดรีด เป็นความฟุ่มเฟือยของชนชั้นปกครอง โดยเขาอาจไม่รู้เลยว่า ความไพเราะงดงาม
มักจะมีความสามารถพิเศษในการปลุกเร้าจิตใจของมวลชนให้ตื่นขึ้น วรรณคดีระดับโลกมักจะเป็นตัวผลักดัน
ให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง มากกว่าทฤษฎีต่างๆเสียอีก ขณะเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์สนใจแต่จะหาสัจจะของจักรวาล
ในขณะที่ผู้ยากไร้ทั่วโลกเรียกหาขนมปัง
จะดีแค่ไหน ถ้าผู้เชี่ยวชาญความดี ผู้ชำแหละความจริง ผู้ชำนาญความงาม จะมาตั้งวงเหล้าสนทนากันให้ครื้นเครง

ลองจินตนาการถึง
"ห้องแอร์เย็นฉ่ำ ประดับประดาด้วยกุหลาบหลากสี ดอกลิลี่สวยสด ดอกมะลิงามงด ดอกบัวสวยบริสุทธิ์ ตรงกลางห้องมี
บุรุษผมกระเซิง ปากสูบซิการ์ สายตาขรึมสง่างาม นั่งถกเถียงอย่างจริงจัง ถึงทฤษฎีปฏิวัติโลก ที่จะปลุกเร้ามวลประชา
ให้ฟื้นตื่น ถกถึงอุตมรัฐ ทฤษฎีประชาสังคม ยันถึง post-modern ท้ายห้องเมีกล้องดูดาวตั้งอยู่ ใช้ส่องหาความเร้นลับ
แห่งสากลจักรวาล มีกระดานไว้บันทึกสมการอันซับซ้อนซ่อนเงื่อน"
ช่ างเป็นห้องที่มีเสน่ห์รัดรึง ยั่วยวนให้น่าเข้าไปสัมผัสลิ้มลองกระไรเช่นนี้ !!!

หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ห้องนี้คงไม่สมบูรณ์ ห้องนี้คงขาดรสชาติ

2. ธุรกิจเอกชนยุคใหม่ น่าจะมีงบประมาณสำหรับให้กับวารสารหรือการเสวนาดีๆ ที่มีสาระ แต่เราต้องมีศิลปะในการ
นำเสนอให้เขาเห็นคุณค่า ว่าโลกยุคปัจจุบันต้องพึ่งพาความรู้ทางสังคมที่กว้างขวางล้ำลึก ถ้าเขาสนับสนุนเราเขาจะได้ประโยชน์
มหาศาล เราสามารถให้ความรู้ที่จะเป็นประโยชน์ต่อเขาได้
3. หากทำเป็นวารสารที่หาเลี้ยงตัวเองได้จะยิ่งวิเศษเลอเลิศ แต่นั่นย่อมหมายความว่า นิตยสารต้องมีเสน่ห์ชวนอ่าน ล่อหลอกให้
คนจำนวนมากหลงใหล (ในสาระและปัญญาที่เขาจะได้เปิดหูเปิดตา) จนยอมเสียสตางค์มาซื้อ ซึ่งจะเป็นเช่นนั้นได้ก็ต่อเมื่อ
มีการเปิดกว้างทางความคิด ในแต่ละเล่มจะมีเนื้อหาที่หลากหลาย มีความคิดที่ลึกซึ้ง แต่ไม่ยัดเยียดหรือบังคับคนอ่านให้เชื่อ
มีเสรีภาพเป็นแกนหลักในการสร้างสรรค์

ใครมีอะไรอื่นที่จะเสนอเพิ่มเติม เชิญครับ


โดย: ฤษณรส IP: 210.246.162.105 วันที่: 9 มีนาคม 2548 เวลา:22:28:51 น.  

 
ตอนผมอยู่ธรรมศาสตร์ผมยังเข้าห้องสมุดไปนั่งผลิก ๆ วารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์ และสังคมศาสตร์ปริทัศน์ฉบับนักศึกษา เห็นคนเขียนที่เป็นเด็กรุ่นใหม่ในตอนนั้นอย่าง สุทธิชัย หยุ่น (นักศึกษาเอกนิเทศน์ จุฬา ฯ), รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ แห่ง ธรรมศาสตร์, ไพฑูรย์ สินลารัตน์ แห่งจุฬา ฯ ฯลฯ ในตอนอายุยี่สิบกว่า ๆ เขียนหนังสือแล้วรู้สึกถึงพลังของพวกเขาครับ ผมอยากจะเห็นพลังอย่างนี้สำหรับคนรุ่นใหม่ ๆ บ้าง


โดย: BFP IP: 68.22.192.143 วันที่: 9 มีนาคม 2548 เวลา:23:01:25 น.  

 
บล็อกนี้ คุยกันสนุกจริงๆ...
...
แวะมาอวยพรให้ BFP เรื่องสอบ..
ว่าแต่ทำไม final เร็วจังเลยล่ะ


โดย: ซีบวก วันที่: 10 มีนาคม 2548 เวลา:1:45:03 น.  

 
It's a pretty interesting idea, having a learned society or something similar.

However, this doesn't seem to be something entirely new to me. In fact, I should say that there are a few attempts in the past (partly sponsored by a government agency) that were expected to enhance communication and even collaboration (if possible) among young Thai scientists around the world. Unfortunately, many years passed and these attempts seem to have failed miserably. I'm not sure if I completely understand the reasons behind the failure, except that the people seem to have drifted apart and found some new "interests" in their lives. This is not to discourage anyone, but I think it's something to keep in mind.

About Thai journals, I really don't want to get started on this topic. It doesn't appear to me that the Thai scientific community cares so much about them. Thai scientists don't seem to care about strengthening their very own community, don't really care to be dedicated and committed--that is. There is an exception though when it comes to fame and reputation. It only seems that they are just driven by these factors for perhaps a better social status (or even a pretentious academic status) and couldn't care less about the science and research. A good example is a website of a Thai scientific society which hasn't been updated for years. The last time I checked, it looked like the information on the site was at least two years old.

Isn't that unbelievable? Any takers?


โดย: CIT IP: 131.215.11.190 วันที่: 10 มีนาคม 2548 เวลา:3:44:21 น.  

 
Interesting, isn't? Enjoy.

*****
Harvard Rejects Those Who Saw Admissions
By THE ASSOCIATED PRESS

Published: March 9, 2005

Filed at 3:11 p.m. ET

BOSTON (AP) -- His decision came late at night, with his laptop propped in front of him in bed. Instructions on a Web site promised business school applicants like him an early online peek at whether they'd been accepted. Intrigued, he began typing.

A minute later he'd accessed the Harvard Business School's admission site, though all he saw was a blank page. That split-second decision cost the 28-year-old New Yorker a chance to attend the school this year.

And he wasn't the only one to get turned down for doing what he did -- using a method detailed in a BusinessWeek online forum to try to get an early glimpse at admissions decisions in top business schools.

In a blanket rejection issued Monday, Harvard dashed the hopes of 119 applicants. MIT followed suit Tuesday, rejecting 32 applicants. Carnegie Mellon was the first to act, delivering the bad news to its "hacker'' applicants last week.

The New York applicant said he spent months completing Harvard's rigorous application process. He and two others who spoke to The Associated Press on condition of anonymity said they did not consider their actions to be unethical.

Admissions sites of at least six schools were accessed by applicants for about 10 hours March 2 after a hacker posted instructions on the online forum. Some applicants saw blank pages and others viewed rejection letters before access was denied.

The instructions told people to log onto their admissions Web page and find their identification numbers in source material that was available on the site. By plugging those numbers into another Web page address, they were directed to a page where their admissions decision would be found.

MIT's Sloan School of Management Dean Richard Schmalensee likened the hacking to an applicant using the keys to the admissions office to enter at night and see how his or her application fared.

"It seemed to us you would have to have pretty bad judgment or pretty bad ethics not to know you were doing something wrong,'' Schmalensee said. "If you don't realize you shouldn't do that, something's off.''

Stanford hasn't made a decision and urged applicants to explain their actions. Dartmouth said it would meet Friday with ethics professors, deans and admissions officials as part of its ongoing investigation. Duke said only one applicant attempted to get into its site and failed, and that applicant's case was still under consideration.

Lee Metheny, chief executive and president of ApplyYourself, a Fairfax, Va.-based online application and notification program company used by all the schools, said those who accessed the restricted pages did so knowing they were unauthorized.

"These students had a choice. They could have waited until the published date of their decision. They chose to exercise these steps,'' Metheny said.

Sanford Kreisberg of Cambridge Essay Service, which helps students apply to elite U.S. business schools, said the applicants made a stupid mistake, but added Harvard was guilty of "ethics grandstanding.''

He said that while the business world is getting battered by stories of ethical failures -- such as fraud or excessive salaries -- Harvard can make a point by taking on an easy target.

"They can swat it hard and preen,'' he said.

But MIT's Schmalensee said the decision was about more than posturing.

"Our mission statement talks about principled, innovative leaders,'' Schmalensee said, "and we take the principled part seriously.''
*****

Curiosity always kills the cat (and oysters), I guess.


โดย: CIT IP: 131.215.11.190 วันที่: 10 มีนาคม 2548 เวลา:7:50:56 น.  

 
Sanford Kreisberg, an admissions consultant who is president of Cambridge Essay Service, said the institutions that have made a blanket decision not to admit the applicants involved were overreacting. He said that he had talked to many of the applicants, and that many did not think that what they did was wrong.

"It's somewhere between a prank and a hack," Mr. Kreisberg said. "Some people said they didn't realize it was wrong until later. Some people were notified by an e-mail or by others saying, 'Check this out.'"

He also said that many people who grew up using the Web view the Internet differently than do older counterparts, who look down on the more freewheeling aspects of online life.

"There's a generational issue," Mr. Kreisberg said. "The judges in this case have not grown up with the Internet. It's kind of like the traffic-court judge who doesn't know how to drive."


โดย: Bad luck.. IP: 128.135.133.5 วันที่: 10 มีนาคม 2548 เวลา:9:58:08 น.  

 
โอ้ว....แวะมาเยี่ยมนะครับ


โดย: Due_n วันที่: 11 มีนาคม 2548 เวลา:0:58:42 น.  

 
จริงๆ คงต้องยอมรับอย่างหนึ่งแหละครับว่า บรรยากาศทางวิชาการในมหาวิทยาลัยสมัยนี้ มันเหงามากๆ ผมว่างานวิชาการดีๆ มันมีรากฐานมาจากปัจจัยหลายๆ อย่างนะ

แต่พักหลังๆ ผมรู้สึกว่า อะไรบางอย่าง มันขาดหายไป เด็กๆ ในห้องเรียนก็ไม่กล้าโต้เถียงอาจารย์ อาจารย์ก็พยายามสอนให้ตรงกับข้อสอบที่จะออกเพื่อเอาใจเด็กๆ ที่ขยันเข้าเรียน จนบางทีการศึกษาในมหาวิทยาลัยมันก็ไม่ต่างอะไรกับสมัยประถมหรือมัธยม

แปลกแฮะ จู่ๆ ผมก็รู้สึกคิดถึง อ.ป๋วยขึ้นมาอย่างบอกไม่ถูก...


โดย: KMS&หมาป่าสำราญ วันที่: 11 มีนาคม 2548 เวลา:1:17:48 น.  

 
เมื่อไหร่วงการการศึกษา
บ้านเราจะพัฒนาเสียทีนะ
คิดแต่ว่าให้ศึกษากันแบบยากๆสุดๆ
แต่เวลาเอามาใช้ ทำไมมันใช้ไม่ค่อยได้

มันแบบว่าเรียนหนักหนาสาหัสมากๆๆๆ
ไม่รู้แหะ ถ้าเทียบกับเพื่อนเราที่เรียน
จบจากเมืองนอกอ่ะ

จริงมั้ยอ่ะคุณ BF.....

แล้วที่เหนๆเลย เหนด้วยกับคุณkmsนะ
ที่ว่าเดกๆก็ยังไม่มีสิทธิโต้แย้งอาจารย์
มากเท่าที่ใจต้องการ เราเหนด้วยแหะ....


โดย: prncess วันที่: 11 มีนาคม 2548 เวลา:8:22:06 น.  

 
มาปิดกระทู้ละกัน ขอบคุณครับสำหรับทุก ๆ ความเห็น มีประโยชน์และสร้างสรรค์มากจริง ๆ ทำยังไงถึงจะ สานต่ออุดมการณ์ของพวกเราได้ดีล่ะเนี้ย อยากจะหา forum แบบนี้คุยกันอีกนะ เอาเป็นเป็นกลาง ๆ ใคร ๆ ก็เข้ามาโพสต์ได้

ยังอยากคุยกันต่อนะครับ....ต้องมองหาช่องทางในการติดต่อสื่อสารกันต่อไป

ตอนนี้ยังไงถ้าอยากจะคุยกับผม ก็ อีเมล์มาได้ที่ pantipmarathon@yahoo.com นะครับ เผื่อมี idea อะไรที่น่าสนใจ

แล้วพบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ


โดย: B.F.Pinkerton IP: 68.21.7.157 วันที่: 17 มีนาคม 2548 เวลา:22:57:33 น.  

 
ผมคิดว่าพัฒนาการของInternet จะมาช่วยยกระดับการถกเถียงและการร่วมมือร่วมใจกันสร้างสิ่งต่างของสังคมไทยโดยเฉพาะในชุมชนวิชาการ แต่เราควรจะหาพันธมิตรในเครือข่ายวิชาการสาขาต่างๆก่อน โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เพื่อได้ที่สุดประเด็นสำคัญๆที่ผ่านการถกกันทางความคิดจะได้นำเสนอเป็นวาระแก่สังคมและผู้มีอำนาจร่วมกันพิจารณา

ผมนึกได้ว่าเมื่อก่อนมีนักวิชาการอย่าง ดร.ปราโมทย์ นครทรรพ ที่เสาะแสวงหา The Best and Brightest ตามมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก เพื่อมาถกกันและเอาความคิดมาร่วมกันพัฒนาประเทศไทย

ประเทศไทยในวันนี้ ใช่ว่าจะแตกต่างจากในอดีตเมื่อ30-40ปีที่แล้ว ที่ดร.ปราโมทย์ลงมือในวันนี้ ประเทศไทย มีปัญหาใหม่ๆที่ท้าทายต่อการแสวงหาภูมิปํญญา แนวทางแก้ไข โดยไม่จำเป็นต้องอนุญาตให้รัฐแบกภาระความรับผิดชอบและผลลัพธ์แต่เพียงลำพัง

ผมเชื่อว่ามิตรสหายทุกท่านหรือมิตรสหายของมิตรสหายทุกท่านทำได้ดีกว่านี้ ถ้าร่วมมือกันถกกันทางปัญญา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ข้อสรุปและลงมือปฏิบัติการในรูปของเสนอวาระต่อสังคมและสื่อมวลชน

ผมเชื่อว่าโดยพลังของเทคโนโลยีในการสื่อสาร เราทั้งหมดทำได้ดีกว่านี้แน่นอน


โดย: ปริเยศ (Pariyed ) วันที่: 18 มีนาคม 2548 เวลา:13:02:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

B.F.Pinkerton
Location :
Midway United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add B.F.Pinkerton's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.